ซีเอ็นเอ็นดึงผู้เชี่ยวชาญชื่อดังทั่วโลก ร่วมถกเรื่องโลกอนาคตใน ‘CNN Future Summit’

เวลาออกอากาศ :
วันพฤหัสที่ 15 มิถุนายน เวลา 21.00 น.
วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน เวลา 04.00 น. และ 21.00 น
วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน เวลา 13.00 น.และ 21.00 น
วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน เวลา 02.00 น.และ 13.00 น
วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน เวลา 02.00 น.

ซีเอ็นเอ็นรวบรวมกลุ่มอัจฉริยะในด้านต่างๆในยุคนี้ เพื่อเข้าร่วมงาน ‘CNN FUTURE SUMMIT: OF MAN AND MACHINE’. เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของซีเอ็นเอ็น ซึ่งจะออกอกาศในวันที่ 15 มิถุนายนนี้ 2 ใน 4 ของผู้ร่วมอภิปรายในครั้งนี้มาจากหนึ่งในทีมงานทำโคลนนิ่งแกะชื่อ ดอลลี่ และหญิงที่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นจิตแพทย์ด้านโรบอทคนแรกของโลก โดยผู้ร่วมอภิปรายทั้ง 4 ท่านที่ได้ถูกคัดสรรมาเป็นอย่างดีเพื่อการนี้โดยเฉพาะ จะร่วมกันสำรวจว่า การพัฒนาทางด้านพันธุวิศวกรรม การวิจัยเรื่อง Stem Cell การวิทยากรด้านหุ่นยนต์ (Robotic) และวิทยาการที่ควบคุมการสื่อสารในคอมพิวเตอร์(Cybernetics) มีส่วนในการปรับเปลี่ยนของเครื่องจักรมนุษย์อย่างรวดเร็วอย่างไร และมนุษย์จะมีปฎิสัมพันธ์ในอนาคตอันใกล้นี้อย่างไรกับการที่หุ่นยนต์จะเข้ามามีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนโลกของเรา

การอภิปรายนี้เป็นการอภิปรายครั้งแรกครั้งสำคัญที่สุดของการอภิปรายทั้งหมดจำนวน 4 ครั้งที่จัดโดยซีเอ็นเอ็น ในประเทศสิงคโปร์ ดำเนินรายการโดย ไมเคิล โฮมส์ การอภิปรายนี้ถูกออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้มีเกิดการถกเถียงกันในเรื่องของเทคโนโลยีระดับสูงที่มีผลต่อโลกในอนาคตของเรา และด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดียที่นำเสนอในเว็บไซด์http://cnn.com/futuresummit ที่เปิดกว้างแก่ผู้ชมจากทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอภิปรายผ่านทางเว็บไซด์ซึ่งผู้ชมสามารถแสดงความคิดเห็นและยังสามารถติดตามประเด็นต่างๆที่จะทำการอภิปรายได้

รีน่า โกลเด้น รองประธานอาวุโสของซีเอ็นเอ็น อินเตอร์แนชั่นเนลกล่าวว่า “ผู้ร่วมอภิปรายทั้ง 4 ที่เข้าร่วมการอภิปรายในครั้งแรกนี้จะเป็นผลของความสำเร็จในการจัดการอภิปราย CNN Future Summit ที่เป็นการรวบรวมกลุ่มคนสองกลุ่มอันได้แก่ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์และคนทั่วไปเข้าไว้ด้วยกัน เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่บุคคลที่มีชื่อเสียงกลุ่มนี้ได้รับการคัดเลือกมาจากคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่นำการอภิปรายพร้อมทั้งช่วยในการจัดรูปแบบของโลกในอนาคตของเรา”

ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์ชาวเกาหลีใต้ จุนโฮโอ กับหุ่นยนต์ ฮิวโบ้ (HUBO) จะให้เกียรติมาปรากฏตัวในรายการ CNN FUTURE SUMMIT: หัวช้อ MAN AND MACHINE นี้ ฮิวโบ้เป็นหนึ่งในกลุ่มหุ่นยนต์ที่มีความเสมือนมนุษย์มากที่สุดในโลก ได้รับการออกแบบโดย ดร. โอ และสถาบัน The Korea Advanced Institute of Science & Technology ฮิวโบ้ได้รับการเปิดตัวเป็นครั้งแรกในเดือนธันวาคมปี 2004 โดยฮิวโบ้สามารถเคลื่อนที่ จับมือ และเต้นรำได้

ผู้ร่วมอภิปราย
– อลัน โคลแมน (Alan Colman) ซีอีโอและหัวหน้ากลุ่มนักวิทยาศาสตร์ของ ESI ในสิงคโปร์ และเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากงานของเขาในการทำโคลนนิ่งแกะที่ชื่อว่า ดอลลี่ในปี 1997 “ผมคิดว่าการโคลนนิ่งดอลลี่เป็นการตัวอย่างที่นำไปสู่เปลี่ยนแปลงมุมมองที่ว่า Stem Cells ที่เติบโตเต็มที่จะทำอะไรได้บ้าง” อลันเสริมว่า “วิวัฒนาการขั้นสูงในเรื่องการยีน และ การวิจัยเรื่อง Stem Cell จะนำไปสู่ “การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีคุณภาพชิวิตที่ดีขึ้น” อย่างแน่นอน

– ได้รับการขนานนามว่าเป็นจิตแพทย์ด้านหุ่นยนต์คนแรกของโลก Joanne Pranksy ได้สังเกตุพัฒนาการทางด้านหุ่นยนต์ และทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่องค์กรและบริษัททั่วโลก “เมื่อคิดถึงการที่หุ่นยนต์จะเข้ามามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของเรานั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโลกของเราอย่างรวดเร็วแน่นอน” Pranksy กล่าว อัตราการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีแบบยกกำลังที่เกิดขึ้นนี้หมายถึงว่าปัจจุบันอัตราเปลี่ยนแปลงเท่ากับ “ความก้าวหน้าภายใน 100 ปีสามารถทำได้ภายในเวลาเพียง 25 ปี” Pranksy เสริม “และในคริสศัตวรรษที่ 21 เราจะรู้สึกเหมือนมีการก้าวหน้าของเทคโนโลยีไปแล้วถึง 2หมื่นปี”

– Daniela Cerqui เป็นนักมนุษยวิทยาด้านสังคมและวัฒนธรรมจากมหาวิทยาลัยลอซานน์ (University of Lausanne) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เชี่ยวชาญทางด้านการบรรจบกันระหว่างสังคมและเทคโนโลยี “เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ควรถูกทำความเข้าใจในลักษณะที่แยกตัวออกไป” Cerqui กล่าว “ในปัจจุบันมันถูกทำให้รวมกันเพื่อให้เกิดการปรับปรุงของมนุษยชาติ เราควรจะยืนถอยหลังออกไป 1 ก้าวและควรจะตั้งคำถามว่าสิ่งเหล่านี้มีความหมายอะไรต่อสังคม ถ้าทุกคนสามารถทดแทนส่วนต่างๆที่เสียหายล้มเหลวในร่างกายได้ และยิ่งไปกว่านั้นคือการดัดแปลงแก้ไขตัวของเราอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนั่นยอมหมายความถึงว่าเราอาจเปลี่ยนแปลงไปสู่เผ่าพันธุ์ใหม่ ที่อาจจะเป็นเผ่าพันธุ์อะไรก็ได้ที่ไม่ใช่มนุษย์!!อีกต่อไป

– Jay Keasling ทำงานด้านการแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบกับคนมันล้านคนทั่วโลก ด้วยการออกแบบจีนของจุลชีพใหม่ๆเพื่อใช้ในการผลิตยาสำหรับช่วยชีวิตมนุษย์ Keasling เป็นผู้อำนวยการที่ก่อตั้งแผนก Synthetic Biology ในมหาวิทยาลัย California at Berkeley นอกจากนี้ Keasling และลูกทีมของเขาได้ทำนำยีนของ 3 สปีซีส์ มาผลิต Artemisnin ที่ใช้ในการต่อสู้โลกมาเลเรีย Artemisnin นั้นสามารถพบได้ตามธรรมชาติในต้น Wormwood แต่ว่าะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากรวมถึงเวลาในการสกัด หน่วยงาน CDC (Centers of Diseases Control) ประมาณการว่าในแต่ละปี จะมีคนทั่วโลกมากถึง 2.7 ล้านคนตายเพราะมาเลเรีย ดังนั้นทางออกของ Keasling จึงช่วยเพิ่มทางเลือกของแหล่งที่มาของยาได้มากขึ้น

สามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CNN Future Summit ได้ที่ http://cnn.com/futuresummit

ซีเอ็นเอ็น อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมงชั้นนำของโลก โดยให้บริการแก่ผู้คนมากกว่า 2 พันล้านคนกว่า 200 ประเทศทั่วโลกใน 7 ภาษาที่แตกต่างกัน ซีเอ็นเอ็น อินเตอร์เนชั่นแนลได้ถูกรับชมผ่านโทรทัศน์ทั้งจากตามบ้านและโรงแรมไม่น้อยกว่า 190 ล้านเครื่อง ซึ่งรวมถึงกว่า 30 ล้านเครื่องในเขตเอเชียแปซิฟิค