ในช่วงเปิดเทอมนับว่าเป็นช่วงโอกาสทองในการเพิ่มยอดขายของบรรดาผู้ประกอบการที่จำหน่ายชุดนักเรียน เนื่องจาก เป็นช่วงที่มียอดจำหน่ายสูงสุดของปี ดังนั้น ในช่วงเปิดเทอมบรรดาผู้ประกอบการในธุรกิจชุดนักเรียน จะมีการทำกลยุทธ์การตลาดที่หลากหลายเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดที่มีมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าปีนี้จะมีปัจจัยหนุนหลายประการไม่ว่าจะเป็นการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการ การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อมากขึ้น แต่เนื่องจาก ปัญหาค่าครองชีพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในปัจจุบัน อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้น จึงทำให้คาดการณ์ว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่น่าจะยังคงมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ยังมีอีกหนึ่งกิจกรรมใหญ่นั่นคือ “โครงการเรียนฟรี 15 ปี” ซึ่งในปีนี้ทางภาครัฐได้มีการจัดสรรงบประมาณที่มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งจากการจัดสรรงบประมาณที่เพิ่มขึ้นนี้ น่าจะช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองท่ามกลางการเผชิญกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้น จากปัจจัยหนุนดังกล่าว น่าจะทำให้ตลาดชุดนักเรียนในปีนี้ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้
ตลาดชุดนักเรียน ปี ‘54…มูลค่าตลาดกว่า 5,000 ล้านบาท
โดยปกติแล้วในช่วงก่อนเปิดเทอม บรรดาผู้ปกครองจะต้องเตรียมหาเงินเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการเปิดภาคการศึกษาใหม่ ภาระค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมนี้ นับว่าเป็นปัญหาหนักหน่วงสำหรับผู้ปกครอง อีกทั้งในปีนี้ “ทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก” และ “ราคาสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ยังคงปรับเพิ่มสูงขึ้น” ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่รายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ทำให้ปีนี้ บรรดาผู้ปกครองอาจจะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อชุดนักเรียน ซึ่งจากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า พฤติกรรมในการซื้อชุดนักเรียนของบรรดาผู้ปกครองในปี 2554 สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ลดจำนวนซื้อชุดนักเรียนเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งจากการสำรวจ พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 60 ของจำนวนผู้ปกครองที่ถูกสัมภาษณ์ จะมีพฤติกรรมการซื้อชุดนักเรียนอยู่ในกลุ่มนี้ โดยผู้ปกครองกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีรายได้ไม่สูงนัก จะปรับพฤติกรรมโดยการลดจำนวนที่ซื้อ หรือพยายามให้ใส่ชุดนักเรียนที่ยังคงใช้ได้อยู่ไปก่อน เนื่องจาก มีค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ที่จำเป็นเพิ่มขึ้น โดยจำนวนการซื้อเฉลี่ยต่อคนของผู้ปกครองในกลุ่มนี้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา กล่าวคือ ในปีนี้จะซื้อไม่เกิน 2 ชุด/คน หรืออาจจะซื้อเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ซื้อเสื้อนักเรียนเพียงอย่างเดียว และจะตั้งงบไว้อยู่ที่ประมาณไม่เกิน 1,000 บาท/คน
กลุ่มที่ยังคงปริมาณการซื้อชุดนักเรียนเท่ากับในปีที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวนไม่ถึงร้อยละ 40 ของจำนวนผู้ปกครองที่ถูกสัมภาษณ์ โดยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีระดับรายได้อยู่ในเกณฑ์สูง และมีการเตรียมรับมือกับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมไว้เป็นอย่างดี แต่กลุ่มนี้ก็ปรับพฤติกรรมโดยการเลือกซื้อสินค้าในช่วงใกล้กับเวลาที่จำเป็นต้องใช้มากที่สุด กล่าวคือ ในปีนี้บรรดาผู้ปกครองจะเริ่มออกมาจับจ่ายซื้อชุดนักเรียน และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป และจำนวนการซื้อเฉลี่ยต่อคนของผู้ปกครองจะซื้อประมาณ 4-5 ชุด/คน หรือตั้งงบไว้อยู่ที่ประมาณไม่เกิน 2,000 บาท/คน
โครงการเรียนฟรี 15 ปี…ปัจจัยหนุนสำคัญในการเพิ่มยอดขายชุดนักเรียน
ถึงแม้ว่าในปีนี้ บรรดาผู้ปกครองจะต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ยังมีอีกหนึ่งกิจกรรมใหญ่ที่เข้ามาช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายเปิดเทอมของผู้ปกครองได้ในระดับหนึ่ง นั่นคือ “โครงการเรียนฟรี 15 ปี” ของรัฐบาล โดยในปี 2554 จะมีการเพิ่มงบประมาณเป็น 8.0 หมื่นล้านบาท จากงบประมาณ 7.3 หมื่นล้านบาท ในปี 2553 หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า ในส่วนของงบประมาณในการซื้อชุดนักเรียนต่อคน ยังคงกำหนดให้มีเท่าเดิมเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่จากงบประมาณที่เพิ่มขึ้นในปีนี้ สามารถช่วยลดภาระของผู้ปกครองในส่วนอื่นๆได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในส่วนของหนังสือเรียน รวมทั้งข้อยืดหยุ่นในการซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน คือ สามารถนำงบประมาณในส่วนของการซื้อชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนมาถัวเฉลี่ยได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปซื้อชุดอื่นๆ ได้ด้วยนอกจากชุดนักเรียน ซึ่งจากข้อแตกต่างดังกล่าว คาดว่าจะช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในปีนี้ได้มากขึ้น และอาจจะทำให้ผู้ปกครองยังคงมีเงินที่จะไปใช้จ่ายในส่วนของชุดนักเรียนได้
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
style=”vertical-align: top; width: 118px;”>ค่าใช้จ่ายเครื่องแบบนักเรียนปี
2553-2554
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold; width: 165px;”>ชั้น
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold; width: 118px;”>ค่าเครื่องแบบนักเรียน
(บาท/คน)
1-3
1-6
1-3
4-6
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
align=”center”>
style=”vertical-align: top; width: 570px;”>
size=”3″>ข้อแตกต่างของเงื่อนไขการใช้งบประมาณปี
2553
และ
2554
style=”vertical-align: top; width: 349px; font-weight: bold; font-family: monospace;”>2553
style=”vertical-align: top; width: 570px; font-weight: bold; font-family: monospace;”>2554
style=”vertical-align: top; width: 349px; font-family: monospace;”>-
หนังสือยืมเรียน
style=”vertical-align: top; width: 570px; font-family: monospace;”>-
แจกหนังสือตำรา โดยไม่ต้องคืน
style=”vertical-align: top; width: 349px; font-family: monospace;”>-งบประมาณที่จัดสรรให้สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อชุดนักเรียนใช้ได้เฉพาะชุดนักเรียนเท่านั้น
style=”vertical-align: top; width: 570px; font-family: monospace;”>-งบประมาณที่จัดสรรให้สำหรับค่าชุดนักเรียนสามารถนำมาซื้อชุดอื่นๆได้มากขึ้น
เช่น ชุดลูกเสือเนตรนารี ถุงเท้า รองเท้า
ดังนั้น จากปัจจัยหนุนในเรื่องของ “โครงการเรียนฟรี 15 ปี” ของทางภาครัฐ ที่ในปีนี้มีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีข้อยืดหยุ่นในเรื่องของการใช้จ่ายที่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา อาจจะช่วยผลักดันให้ตลาดชุดนักเรียนยังคงมีแนวโน้มขยายตัว นอกจากนี้ การขยายตัวของตลาดชุดนักเรียนส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจาก ราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น กอปรกับการเข้ามาทำการตลาดของสินค้าแบรนด์ใหม่ๆ รวมทั้งการขยายสาขาของผู้ประกอบการที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ตลาดชุดนักเรียนในปี 2554 มีมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาอัตราการขยายตัว พบว่า มีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ ที่มีอัตราการขยายตัวกว่าร้อยละ 20 ทั้งนี้เนื่องมาจาก ฐานที่สูงในช่วง 2 ปีก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นปีที่เริ่มมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปีของทางภาครัฐเกิดขึ้น (ปี 2552) ส่งผลให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้ปกครองมีความตื่นตัว ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมาที่มีแนวโน้มดีขึ้น นอกจากนี้ จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ถึงแม้ผู้ปกครองจะได้รับการช่วยเหลือจากทางภาครัฐผ่านนโยบายโครงการเรียนฟรี 15 ปี แต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็ยังคงประหยัดค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม อันเนื่องมาจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในส่วนของชุดนักเรียน เนื่องจากเห็นว่า ยังสามารถใส่ชุดเดิมได้ ยกเว้นบางกรณีที่ผู้ปกครองจำเป็นต้องซื้อชุดนักเรียนใหม่ให้กับบุตรหลาน ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เปลี่ยนสถานศึกษาใหม่ หรือต้องเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียน เช่น จากชั้นอนุบาลเป็นชั้นประถม ชั้นประถมเป็นมัธยม เป็นต้น จึงทำให้คาดการณ์ว่าในปี 2554 นี้ ภาพรวมของตลาดชุดนักเรียนน่าจะมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง
แข่งขันรุนแรง…แย่งชิงกำลังซื้อผู้ปกครอง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การแข่งขันของตลาดชุดนักเรียนในปี 2554 นี้ ยังคงมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจาก ผู้ประกอบการแต่ละรายต่างก็เร่งทำกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อช่วงชิงกำลังซื้อของบรรดาผู้ปกครองที่คาดว่า จะมีแนวโน้มลดลงจากภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
นอกเหนือจากผู้ประกอบการที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันด้วยกันเองแล้ว ปัจจุบันผู้ประกอบการยังต้องเผชิญกับการแข่งขันกับบรรดาห้างค้าปลีก โดยเฉพาะในกลุ่มดิสเคาน์สโตร์ที่หันมาจัดจำหน่ายชุดนักเรียนภายใต้แบรนด์สินค้าของตนเอง หรือที่เรียกว่าสินค้าเฮาส์แบรนด์ ซึ่งมีราคาถูกกว่าชุดนักเรียนที่มีแบรนด์ทั่วไปประมาณร้อยละ 5-20 ซึ่งนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของบรรดาผู้ปกครองที่ต้องเผชิญกับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้ปกครองยังคงนิยมซื้อชุดนักเรียนที่มีแบรนด์เป็นที่รู้จักในท้องตลาด เนื่องจาก ได้รับความน่าเชื่อถือมานาน อีกทั้งยังมั่นใจในคุณภาพของสินค้า กล่าวคือ สามารถใส่ได้นานหลายปี เนื่องจากชุดนักเรียนจะต้องใส่เกือบทุกวัน ดังนั้น การคำนึงถึงคุณภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ปกครอง
สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายชุดนักเรียน พบว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายชุดนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด แต่จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังคงนิยมพาบุตรหลานไปซื้อชุดนักเรียนตามร้านค้าปลีกที่เป็นตัวแทนจำหน่ายชุดนักเรียนที่มีแบรนด์เป็นที่รู้จักในตลาด โดยให้เหตุผลว่า มีความคุ้นเคยกับทางร้านมานาน มีความน่าเชื่อถือและมั่นใจในคุณภาพของสินค้า และเชื่อมั่นว่าทางร้านสามารถให้คำแนะนำในเรื่องของรูปแบบชุดนักเรียนที่ถูกกฎระเบียบของทางโรงเรียนได้ นอกจากนี้ ยังมีบริการเสริมอื่นๆ เช่น บริการปักชื่อนักเรียน และมีสินค้าอื่นๆ ที่ครบวงจร เช่น กระเป๋า รองเท้า ถุงเท้า เข็มขัด เป็นต้น
cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>ร้านค้าปลีกตัวแทนจำหน่ายชุดนักเรียน
style=”vertical-align: top; text-align: center; font-weight: bold;”>รายละเอียด
style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>
ร้านค้าปลีกตัวแทนจำหน่าย
ทำให้ผู้ปกครองสามารถเข้าไปซื้อได้ง่ายและสะดวก
ทำให้หาซื้อไม่สะดวก
style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>
ห้างสรรพสินค้า
style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>
ดิสเคาน์สโตร์
ทั้งที่เป็นแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักในตลาด และเป็นเฮาส์แบรนด์
style=”vertical-align: top; font-weight: bold;”>
จำหน่ายในโรงเรียน
ส่วนใหญ่จะเป็นชุดนักเรียนมากกว่า
วันประกาศผล วันมอบตัว เป็นต้น
ทำให้บางครั้งผู้ปกครองอาจจะยังไม่ตัดสินใจซื้อ
ผู้บริโภคเน้นประหยัด…ผู้ประกอบการเพิ่มกลยุทธ์กระตุ้นการใช้จ่าย
เนื่องจาก ราคาน้ำมัน และราคาสินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก จึงคาดการณ์ว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่ก็ยังคงเน้นประหยัดค่าใช้จ่าย ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า นับเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทำกลยุทธ์ดึงดูดให้ผู้ปกครองออกมาจับจ่ายซื้อชุดนักเรียน โดยเฉพาะในช่วงก่อนเปิดเทอม ซึ่งถือเป็นช่วงโอกาสทองในการสร้างยอดขายสำหรับธุรกิจนี้ ซึ่งนอกจากโครงการเรียนฟรี 15 ปีของทางภาครัฐจะช่วยผลักดันให้ตลาดชุดนักเรียนขยายตัวแล้ว ผู้ประกอบการควรที่จะมีกลยุทธ์ทางการตลาดอื่นๆ เช่น
-มีบริการปักชื่อฟรี ถือเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองได้ส่วนหนึ่ง
-จัดเซตชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนอื่นๆ จำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าการซื้อแยกชิ้น
นอกจากนี้ บรรดาร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า หรือดิสเคาน์สโตร์ที่มีการจำหน่ายชุดนักเรียน อาจจะทำโปรโมชั่นอื่นๆ เพิ่มเติมจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น อาจจะเพิ่มรูปแบบของสิทธิประโยชน์ที่ได้รับผ่านบัตรสมาชิก และบัตรเครดิต รวมถึงโปรโมชั่นที่จัดร่วมกับผู้ออกบัตรเครดิต และมีลุ้นชิงโชครางวัลต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก หรือคูปองแทนเงินสด ซึ่งคาดว่าผู้ปกครองน่าจะให้ความสนใจมากขึ้น เป็นต้น
กล่าวโดยสรุปแล้ว จากภาวะค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้บรรดาผู้ปกครองต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมมากขึ้น ผู้ปกครองมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย และจากการสำรวจพบว่า “ชุดนักเรียน” ถือเป็นสินค้าที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่เลือกที่จะทำการประหยัด เนื่องจากมีความเห็นว่า สามารถใส่ชุดเดิมได้ ยกเว้นกรณีที่บุตรหลานเปลี่ยนสถานการศึกษา หรือต้องเปลี่ยนเครื่องแบบนักเรียน เช่น จากชั้นอนุบาลเป็นชั้นประถม ชั้นประถมเป็นมัธยม ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การสร้างรายได้จากยอดจำหน่ายสินค้าชุดนักเรียนในปีนี้ นับว่าเป็นโจทย์ข้อใหญ่ของบรรดาผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล Back to School (ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป) ซึ่งถือเป็นช่วงโอกาสทองของบรรดาผู้ประกอบการในการเพิ่มยอดขาย ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องวางแผน และเร่งทำกลยุทธ์ต่างๆ ให้เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม เพื่อกระตุ้นอารมณ์การจับจ่ายใช้สอยของผู้ปกครอง ทำให้คาดการณ์ว่า สถานการณ์การแข่งขันของธุรกิจชุดนักเรียนในปี 2554 จะเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงพอสมควร เพื่อช่วงชิงกำลังซื้อของผู้ปกครองที่ยังคงมีความระมัดระวังการใช้จ่ายอยู่ค่อนข้างมาก