สังคมญี่ปุ่นทุกวันนี้เป็นภาพสะท้อนทั้งของข้อดีและข้อเสียที่ชัดเจนของระบบทุนนิยมสำหรับคนเอเชียและยังอาจเป็นภาพจำลองของสังคมไทยในอีก 30-50 ปีข้างหน้าได้อีกด้วย การที่คนญี่ปุ่นส่วนมากโดยเฉพาะที่อาศัยในเมืองใหญ่ๆ มีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ ใช้เวลาอยู่ในที่ทำงานโดยเฉลี่ยนานกว่าชนชาติอื่น 1.5 เท่า ส่งผลทางอ้อมให้ภาคธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ด้วยความชำนาญเฉพาะด้านบวกกับบริการที่ดีเลิศในแบบฉบับญี่ปุ่น
ในญี่ปุ่นมีธุรกิจที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันแทบทุกอย่างตั้งแต่ตื่นยันหลับ ตั้งแต่เกิดจนตาย บริการรับจัดงานศพก็จัดเป็นตัวอย่างหนึ่งของธุรกิจดังกล่าวที่สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการอย่างเป็นกอบเป็นกำ ว่ากันว่าการจัดงานศพ 1 งานอย่างน้อยก็ต้องใช้งบประมาณ 2-3 แสนเยนขึ้นไป (100 เยนประมาณ 37 บาท : ตุลาคม 2547)
ธุรกิจหลังความตายนี้มีทั้งแบบที่เป็นบริษัทเอกชน (local) และแบบ franchise ซึ่งมีรูปแบบการดำเนินงานที่คล้ายกันคือ ทำเป็น package ที่เลือกได้ตามกำลังทรัพย ์ซึ่งอำนวยความสะดวกและช่วยประหยัดเวลาให้กับสมาชิกครอบครัวผู้ตายได้อย่างมาก ยิ่งถ้าเลือก package ที่มีบริการเต็มรูปแบบ (full option) ด้วยแล้ว สมาชิกของครอบครัวผู้ตายเพียงแค่มาร่วมงานตามที่บริษัทแจ้งไว้อย่างเดียวก็พอ
ขั้นตอนดำเนินงานของธุรกิจลังความตาย
หลังจากที่โทรศัพท์ติดต่อบริษัทที่รับจัดงานศพ ทางบริษัทก็จะจัดรถมารับศพ (จากบ้านหรือโรงพยาบาลหรืออื่นๆ) ไปส่งให้ยังสถานที่ที่จัดงาน จากนั้นทางบริษัทจะส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำแนะนำเกี่ยวกับ package ต่างๆของงานพร้อมทั้งตกลงราคากับครอบครัวของผู้ตาย
งานเริ่มจากพิธีอำลาผู้ตายโดยสมาชิกของครอบครัวอยู่เฝ้าศพทั้งคืน และมี staff จากบริษัทเป็นคนคอยให้บริการจัดหาอาหาร เครื่องดื่ม และอาจจะมีที่ให้นอนงีบพักผ่อนตลอดคืน
พิธีสวดศพ ในกรณีของการจัดงานแบบศาสนาพุทธ ทางบริษัทก็จะจัดรถไปเชิญพระมาสวดตาม package ที่ตกลงกันไว้ว่าจะสวดนานเท่าไร ซึ่งเป็นธุรกิจร่วมกันระหว่างบริษัทกับวัด (หมายเหตุ : หน้าที่หลักของพระญี่ปุ่นคือการทำหน้าที่สวดในงานศพ) ครอบครัวของผู้ตายเพียงแค่ทำหน้าที่ต้อนรับแขกที่มางานและฟังพระสวดพร้อมแขก ที่เหลือเป็นหน้าที่ของ staff ทั้งหมด
เมื่อถึงเวลาออกศพ ทางบริษัทจะจัดขบวนรถที่ประกอบด้วยรถพิเศษสำหรับบรรทุกโลง ตามด้วยรถสำหรับครอบครัวผู้ตายที่ทำหน้าที่ถือภาพผู้ตาย และรถสำหรับญาติที่จะไปร่วมพิธีอำลาสุดท้ายก่อนงานเผา
ท้ายสุด staff ก็จะนำอัฐิที่บรรจุในโกศมาส่งให้ครอบครัวผู้ตายที่รออยู่พร้อมหน้าในงานเลี้ยงสุดท้ายก่อนที่จะแยกย้ายกันไปทำงานกันตามปกติ
package ของงาน
ธุรกิจการรับจัดงานศพให้บริการความสะดวกสบายกับลูกค้า (ครอบครัวของผู้ตาย) ด้วย package ที่ให้เลือกตามงบประมาณและความพอใจ พร้อมทั้งมีอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในพิธีและหลังพิธีให้เลือกแบบครบวงจร ลูกค้าสามารถเลือกได้ตั้งแต่
สถานที่ใช้จัดงาน :
ในญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะจัดงานศพในสถานที่พิเศษที่เรียกว่า seremoa (มาจากภาษาอังกฤษว่า ceremony hall) แทนที่จะเป็นวัด นอกจากนี้การจัดงานศพที่บ้านก็ไม่ได้รับความนิยมเพราะไม่มีบริเวณเพียงพอสำหรับรองรับแขกที่จะมางาน seremoa แต่ละที่จะมีราคาต่างกันตามพื้นที่ใช้สอยและทำเลที่ตั้ง
พิธีของงานศพ :
ซึ่งมีให้เลือก 3 แบบ คือ แบบศาสนาพุทธ ชินโต และคริสต์ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นพิธีตามแบบศาสนาพุทธ
Accessory :
อย่างเช่น ดอกไม้ประดับ การตั้งศพ โลง ขบวนรถส่งศพ โกศ ตู้สำหรับตั้งป้ายวิญญาณที่บ้าน เป็นต้น
การเผาและสุสาน :
ไม่ว่าจะเลือกจัดงานตามแบบพิธีในศาสนาใด สุดท้ายมักจะจบด้วยการเผา จากนั้นสุสานก็เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่มีผลต่องบประมาณ ปกติแล้วสุสานจะสามารถบรรจุอัฐิของครอบครัวได้เพียง 1 ครอบครัวซึ่งหมายถึงแค่สามีภรรยาและลูกที่ไม่ได้แต่งงาน ซึ่งราคาของที่ดินในสุสานนั้นอยู่ในระดับแสนเยนทั้งสิ้น
งานเลี้ยง :
มีอาหารและเครื่องดื่มที่จัดบริการในพิธีอำลาผู้ตาย พิธีสวด และงานเลี้ยงสุดท้ายระหว่างญาติหลังเผาเสร็จ
เมื่อเลือก package แล้วธุรทั้งหมดเป็นหน้าที่ของ staff