Liverpool: Big Deal Big Idea

การทุ่มเงินเป็นจำนวนถึง 4,500 ล้านบาท เพื่อแลกกับการได้มาของสัดส่วนหุ้น 30% ในสโมสร Liverpool ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพันธมิตร เป็นสิ่งยืนยันชัดเจนถึงอิทธิพลของกีฬาฟุตบอลที่อยู่ในจิตใจของผู้คนในหลากหลายมิติ

Liverpool เป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่ และมีความยิ่งใหญ่อยู่ในอันดับต้นๆ ของเกาะอังกฤษ อิทธิพลจากพัฒนาการของการสื่อสาร ทำให้แฟนฟุตบอลของทีมนี้ มิใช่มีเพียงอยุ่เฉพาะในเกาะอังกฤษ แต่ยังกระจายไปทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย

การได้มีส่วนเป็นเจ้าของสโมสรที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ คุณค่าที่ได้รับจึงไม่สามารถประเมินได้เพียงแค่เม็ดเงินจำนวนมากที่ได้ลงทุนไปเมื่อเปรียบเทียบกับเม็ดเงินที่เป็นผลตอบแทนกลับคืนมาในรูปของเงินปันผล

“เราต้องมอง Liverpool ว่ามีมูลค่ามากกว่าการเป็นแค่ทีมฟุตบอลเพียงอย่างเดียว” วรวุฒิ โรจนพานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัททศภาค ซึ่งมุ่งเน้นทำธุรกิจด้านกีฬา และเป็นผู้ที่รู้เรื่องเกี่ยวกับ deal การซื้อหุ้นในครั้งนี้ดีที่สุด จนแทบเรียกได้ว่าเป็นผู้อยู่ “เบื้องหลัง” ที่แท้จริงของ deal นี้ กล่าวกับ “Positioning”

ในมุมมองของวรวุฒิ เฉพาะสินทรัพย์ของ Liverpool ที่ได้มา ก็เกินคุ้ม กับเงิน 4,500 ล้านบาทที่ลงไป ที่สำคัญ การได้เป็นเจ้าของสโมสรแห่งนี้ ยังหมายถึงการได้มาของสิทธิต่าง ที่สโมสรครอบครองอยู่ ไม่ว่าจะเป็นลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันของทีม รวมถึงสิทธิในการใช้ brand Liverpool ไปหาผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ “เฉพาะแค่ brand อย่างเดียว ก็เอามาทำประโยชน์ได้มากแล้ว”

วรวุฒิมองว่าคนที่จะได้รับผลประโยชน์จากการได้เป็นเข้าของสโมสร Liverpool ไม่ใช่มีเพียง พ.ต.ท.ทักษิณ และพันธมิตร แต่ประเทศไทยโดยรวมกลับจะได้รับผลประโยชน์ดังกล่าวไปด้วย

สินค้าของที่ระลึกต่างๆ ที่สโมสรนำออกมาจำหน่าย หากย้ายฐานการผลิตมาไว้ในเมืองไทย ก็สามารถรองรับการผลิตของโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ได้อย่างเพียงพอ “เสื้อกีฬาของเขาที่เอามาขายตัวเป็นพันๆ ดูแล้วในเมืองไทยก็ทำได้ ทำไมจะต้องไปผลิตที่อื่น”

ยังไม่รวมถึงผลประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยว “ลองคิดดู ในอนาคตหากมีเด็กไทยได้ลงเป็นตัวจริงในทีมชุดใหญ่ของ Liverpool สักคน ผลที่ได้รับจะตามมาอีกเป็นจำนวนมาก เพระคนทั่วโลกจะได้ยินชื่อประเทศไทยทุกครั้งที่ทีมนี้ลงแข่งขัน”

หากเปรียบเทียบกับการที่จีนเร่งพัฒนาสร้างนักฟุตบอลของตนเอง จนทำให้ หลี่เถีย หรือซุนจีไห่ ได้ไปเล่นเป็นตัวจริงในสโมสร Everton กับ Manchester City ของเกาะอังกฤษ ซึ่งมีผลทำให้พื้นที่โฆษณาข้างสนามของทั้ง 2 สโมสรมีภาษาจีนอยู่เต็มไปหมดทุกครั้งที่มีการถ่ายทอดสดการแข่งขัน และยังมีผลให้ ESPN เคเบิลทีวีเน้นการถ่ายทอดรายการกีฬาเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องออก version ภาษาจีนขึ้นมาโดยเฉพาะ

การเข้าไปซื้อหุ้นในสโมสร Liverpool ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพันธมิตร อาจจะเป็น model ที่เรียนลัดกว่า

การแข่งขันฟุตบอลของทวีปยุโรป มีพลังมากกว่าที่หลายคนคิด

มองเกมธุรกิจหงส์ผ่าน Liverpool.tv

Liverpool

นับตั้งแต่ที่ประเทศอังกฤษเริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลแบบลีกอาชีพขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1888 สนาม Anfield เป็นหนึ่งในสนามที่ใช้แข่งขัน แต่ทีมที่ใช้สนาม Anfield สำหรับเกมเหย้าในยุคแรก ไม่ใช่ทีมที่ใส่ชุดสีแดง Liverpool แต่เป็นทีมที่ใส่ชุดสีน้ำเงินที่ชื่อว่า Everton สโมสรฟุตบอล Liverpool เริ่มต้นขึ้นในปี 1892 เมื่อสโมสร Everton มีปัญหาในการตกลงสัญญาเช่าสนาม Anfield จึงตัดสินใจที่จะไม่ใช้ Anfield เป็นสนามสำหรับเกมเหย้าอีกต่อไป และได้ตัดสินใจออกไปสร้างสนามใหม่ของตัวเองคือ Goodison Park แต่ John Houlding นายกเทศมนตรีเมือง Liverpool ในขณะนั้นต้องการที่จะให้มีทีมฟุตบอลใน Anfield ต่อไป เขาจึงได้ก่อตั้งทีมฟุตบอลใหม่ขึ้นมาอีกทีมชื่อ Liverpool นับเป็นจุดเริ่มต้นของทั้งสโมสร และตำนานของ Liverpool มาจนถึงปัจจุบัน กว่า 112 ปี

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ Liverpool
ชื่อสโมสร Liverpool Football Club
สนาม Anfield (ความจุ 45,362 ที่นั่ง)
ประธานสโมสรคนปัจจุบัน Davide R.Moores

ความสำเร็จของ Liverpool

League Champions European Cup FA Cup League Cup
Liverpool 18 Real Madrid 9 Man-United 10 Liverpool 7
Man-United 15 AC Milan 6 Spurs 8 Aston Villa 5
Arsenal 12 Liverpool 4 Arsenal 8 Notts Forest 4
Everton 9 Ajax 4 Aston Villa 7 Leicester 3
Aston Villa 7 Bayern Munich 4 Liverpool 6 Spurs 3
Newcastle 6
Blackburn 6