8 Do’s + 2 Don’t
1. สร้างเอกลักษณ์ให้สินค้าด้วย “คุณภาพ” “ความสร้างสรรค์” และ “Craftsmanship” พร้อมกับระบบตรวจสอบคุณภาพที่เชื่อถือได้
2. มีการรับประกันสินค้าแบบสุดๆ ยิ่งรับประกันดีและนาน แบรนด์ก็ยิ่งหรูมากขึ้น เช่น Hermes หรือLouis Vuitton ที่รับซ่อมสินค้านานจนแทบจะเรียกว่า “ตายกันไปข้างหนึ่ง”
3. คอนเซ็ปต์การตกแต่งร้านที่นิยมก็หลากหลาย แต่บรรยากาศโดยรวมก็เพื่อสร้างอารมณ์หรูหรา เป็นกันเอง และเข้าถึงง่าย โดยเน้นดิสเพลย์เรียบง่ายที่จะยิ่งส่งให้สินค้าดูมีมูลค่า และน่าหยิบมาลอง
4. พนักงานหน้าร้านต้องทำได้หลายหน้าที่ เช่น พรีเซ็นเตอร์แบรนด์ สไตลิสต์ และที่ปรึกษาด้านแฟชั่น ซึ่งคำแนะนำต้องจริงใจและเหมือนเพื่อน แทนการยัดเยียด “ขายของ” เพียงอย่างเดียว
5. บริการยิ่งกว่า “ร้านขายเสื้อผ้า” เช่น บริการอาหารเครื่องดื่ม จองร้านอาหาร แนะนำที่ท่องเที่ยว เป็นต้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นเขตปลอดคำว่า “ไม่”
6. ระบบ CRM เป็นเครื่องมือรักษาความภักดีต่อแบรนด์ของลูกค้า โดยบริษัทเจ้าของแบรนด์หรูเหล่านี้ล้วนแต่ลงทุนกับระบบนี้สูงมาก
7. ผู้จัดการของแบรนด์หรูเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นไฮโซ และเป็นลูกค้าไฮเอนด์ของแบรนด์อยู่แล้ว (เพื่อความเข้าใจและการพูดคุยภาษาเดียวกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย)
8. แบรนด์เหล่านี้มักใช้ กลยุทธ์ Limited Edition เป็นสีสันและสร้างความรู้สึก “more premium & exclusive” ที่มักใช้ได้ผลดีกับลูกค้า VIP แต่ต้องไม่มากและบ่อยเกินไป
2 Don’t
1. แบรนด์สินค้าหรูเหล่านี้ เรียกได้ว่า เกือบจะไม่มีการทำ License หรือ Franchise การผลิต ยกเว้น กรณีของ Louis Vuitton ที่ให้สิทธิกับบริษัท French Company ผลิตและจำหน่ายกระเป๋าบางรุ่นขายในอเมริกา
2. แบรนด์สินค้าพรีเมียมเหล่านี้ ไม่มี wholesale agent เพื่อง่ายต่อการควบคุมปริมาณของ supply และ demand ซึ่งจะทำให้สินค้ากลายเป็นที่ต้องการและหายาก