กรณี “Swatch” จัดเป็นแบรนด์หนึ่งที่ใช้ Limited Edition (รุ่นพิเศษ) มาเป็นกลยุทธ์หลักในการทำตลาด ที่คุ้นเคยเป็นอย่างดีก็มี ” รุ่นนักสะสม – รุ่นคอลเลกชั่นประจำปี” ซึ่งเป็น 2 ใน 3 ไลน์สินค้าที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องมาตลอด เห็นได้ชัดจาก บรรดาสาวก (ตัวจริง) ของ Swatch มักจะตั้งหน้าตั้งตาคอยและไม่พลาดที่จะเข้าไปเป็นผู้ครอบครองอย่างภาคภูมิ
“รุ่นนักสะสม” ของนาฬิกา Swatch ได้วางจุดเด่นของรุ่นให้มี “มูลค่า” ทางความต้องการค่อนข้างสูง เพราะเป็นรุ่นที่ถูกเรียกว่ามีกาช่วงชิงสิทธิการจองซื้อมากเป็นพิเศษ เนื่องจากนาฬิการุ่นนี้จะถูกผลิตมาให้มีจำนวนจำกัด สำหรับบรรดากนักสะสมตัวจริง ที่สำคัญคอลเลกชั่นนี้จะถูกทำการตลาดแบบเทศกาลหรือฤดูกาลเท่านั้น หรือที่เรียกอีกอย่างว่า เป็น Seasonal Marketing อาทิ เทศกาล คริสต์มาส ปีใหม่ เป็นต้น
อีกรุ่นหนึ่งได้แก่ “รุ่นคอลเลกชั่นประจำปี” หรือ Swatch the club เป็นรุ่นที่ถูกผลิตออกมาเพียงปีละครั้งเท่านั้น โดยล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่นานมานั้น จัดเป็น “คอลเลกชั่นที่ 19” ซึ่งประเทศไทยได้สิทธิในการจำหน่ายก่อนเป็นชาติแรก และที่น่าสนใจไม่น้อย คือ การตลาดแบบคู่ขนานที่ Swatch “จงใจ” สร้าง “ความแตกต่าง” ในการทำตลาดสำหรับการขายนาฬิการุ่นนี้ โดยทำคู่ไปกับการสร้างฐานสมาชิก (Data Base) ใหม่ เมื่อลูกค้าซื้อนาฬิการุ่นนี้จะได้สิทธิ “อัตโนมัติ” ในการสมัครเป็นสมาชิกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (ปกติเสีย 1,000 บาทต่อปี) ของ The swatch club
กลยุทธ์นี้ ยังถูกเติม “Limited Version” อีกชั้น ด้วยนาฬิกาอีกรุ่นที่เรียกว่า “Surprise Watch” ที่ผู้ผลิตนำเข้าตรงมาจาก สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเป็นการเซอร์ไพรส์ เป็นรุ่นที่ไม่มีวางจำหน่าย และบางรุ่นถูกวางตำแหน่ง “รุ่นหายาก” ดังนั้น จึงยากปฏิเสธว่าความสำเร็จในการตอบโจทย์ “โดนใจ” ผู้บริโภคของ Swatch ทุกวันนี้ มาจากกลยุทธ์การตลาดแบบของจำกัด “Limited Edition Marketing”