“ทักษิณ ชินวัตร” สร้างแบรนด์ตัวเองให้มีค่ามากขึ้น ด้วยการแนะนำหนังสือให้คณะรัฐมนตรีอ่านเป็นระยะ และรัฐมนตรีก็มาบอกต่อผ่านสื่อ รวมไปถึงการแนะนำให้แก่ผู้บริหารในกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด โดยเฉพาะหนังสือในแนวการบริหาร และจัดการ กลยุทธ์ธุรกิจในยุคใหม่ รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ
อย่างเช่นหลังประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2545 “ทักษิณ” ได้แนะนำหนังสือเรื่อง As the Future Catches you แต่งโดย Juan Enriquez ที่มีเนื้อหาหลักที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอถึงพัฒนาการของ 3 สิ่งที่มีอิทธิพลต่อโลก Digital Technology, Genmics (รหัสพันธุกรรมมนุษย์) และNano Technology
หรืออย่างเรื่อง Young Millionaires แต่งโดย Reeva Lesonsky, Gayle Sato Stodder มีเนื้อหาหลักที่เขียนถึง “มหาเศรษฐีรุ่นใหม่ นั้นรวยมาก รุ่งมาก ซึ่งอย่าเพิ่งไปเกลียดพวกเขา แต่ควรร่วมมือกับพวกเขา” (They are young , they are rich , they are hot , don?t hate them, join them.) ซึ่งการทำธุรกิจนั้นควรฟังแล้วค่อยคิดในด้านความเป็นจริง มิควรใช้อารมณ์ในการต่อต้าน นั่นถือว่าเป็นคนโง่ ตั้งแต่วินาทีแรกที่ทำแบบนั้น
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเรื่อง จนมีผู้รวบรวมอยู่ในเว็บไซต์บางแห่งระบุว่า มีถึง 109 เล่มตัวอย่างเช่น
-Rethinking the Future
-The future of Asia
-Life Matters
-When you say yes but mean no
-Leading at the Speed of Growth
-Re imagine! (Business Excellence in a Disruptive Age)
-Beyond Budgeting
-How to change the world
การสร้างแบรนด์ในลักษณะ เพื่อเป็นการ “ตอกย้ำ” ให้เห็นถึงความสามารถในการบริหารจัดการ วิสัยทัศน์แห่งอนาคต ซึ่งเป็นจุดขายที่สำคัญของ “ทักษิณ ชินวัตร” ที่พยายามสะท้อนออกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ในที่สุดแล้ว ภาพลักษณ์เหล่านี้ก็ไม่ได้ช่วย “ทักษิณ” แต่อย่างใด