กลยุทธ์การลงทุน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 19 Oct 2021 00:13:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เอสซี แอสเสท : COVID-19 ทำให้ต้องแก้แผน พลิกกลับไปเน้นตลาดบน ชะลอลงทุนโรงแรม https://positioningmag.com/1357188 Mon, 18 Oct 2021 14:28:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1357188 วิกฤต COVID-19 ทำให้หลายบริษัทต้องปรับจนถึงรื้อแผนใหม่ รวมถึง “เอสซี แอสเสท” ที่กำลังเตรียมตัวกลับเข้าสู่แผนการเติบโต แต่ต้องปรับรายละเอียดใหม่ให้ตรงกับสถานการณ์ หลังจากโรคระบาดเปลี่ยนชีวิตคน ทำให้ “บ้านคือทุกอย่าง” และ “ทุกที่คือที่ทำงาน”

ย้อนกลับไปช่วงต้นปี 2563 ก่อนเกิดโรคระบาด COVID-19 “เอสซี แอสเสท” เพิ่งประกาศแผนการเติบโต กลุ่มที่อยู่อาศัยจะเน้นบ้านราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาทมากขึ้น ส่วนกลุ่มรายได้ประจำ (recurring income) จะเพิ่มพอร์ตโรงแรม 5 แห่งภายในปี 2566

แต่โรคระบาดที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นไม่นาน ทำให้บริษัทต้องรับมือกับวิกฤตให้รอดพ้นก่อน แล้วจึงกลับมาเขย่าแผนกันใหม่อีกครั้ง

“ณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กางวิสัยทัศน์เล่าถึงการรับมือกับวิกฤตเมื่อปีก่อน จนถึงการเตรียมพร้อมของปีนี้ และการเติบโตที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของบริษัท

“ณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

โดย “เฟสแรก” คือ “การเอาตัวรอด” ในช่วง 3-6 เดือนหลังเกิดโรคระบาดขึ้นเมื่อปี 2563 สิ่งสำคัญที่สุดขณะนั้นคือ “สภาพคล่องทางการเงิน” เนื่องจากนักลงทุนหยุดลงทุนในพันธบัตรกะทันหัน ขณะที่เอสซีฯ เป็นบริษัทที่พึ่งพิงต้นทุนการเงินจากการออกหุ้นกู้

“ทำให้เราต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ต้องเข้าหาสถาบันการเงิน โชคดีที่เรามีสัมพันธ์อันดีกับธนาคารจึงผ่านมาได้ จนกระทั่งถึงไตรมาส 4/63 ที่เรากลับมาออกหุ้นกู้ได้ใหม่” ณัฐพงศ์กล่าว

ปีนี้ เอสซี แอสเสทจะเน้นการซื้อที่ดินสะสม ตั้งงบไว้ 10,000 ล้านบาท

มาถึง “เฟสสอง” คือ “การเตรียมพร้อม” เข้าปี 2564 บริษัทประเมินฉากทัศน์ที่เป็นไปได้คือเศรษฐกิจและตลาดจะยังไม่ฟื้นตัวดีจนกว่าจะถึงปี 2566 ทำให้ในช่วง 2 ปีนี้ (2564-65) จะเป็นช่วงที่บริษัทต้องเตรียมพร้อมทุกเรื่อง ได้แก่

  • แหล่งเงินทุน เตรียมรองรับความผันผวน หากมีเหตุระบาดซ้ำ
  • ที่ดิน บริษัทตั้งงบปี’64 ไว้ 10,000 ล้านบาทเพื่อซื้อสะสมที่ดินโครงการแนวราบเป็นหลัก ส่วนปี’65 งบซื้อที่ดินจะไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
  • สินค้า ปรับเพิ่มสต็อกสินค้าที่ขายดีคือ กลุ่มบ้านเดี่ยวราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป และเน้นการลด defect เมื่อส่งมอบบ้าน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ซึ่งสำคัญมากที่สุด
  • ทีมงาน ดูแลความปลอดภัยด้านสุขอนามัย เตรียมบูสเตอร์โดสเข็ม 3-4 ให้พนักงานและครอบครัว เปลี่ยนเป็นที่ทำงานไฮบริด เข้าออฟฟิศ 3 วันและทำงานจากที่ไหนก็ได้ 2 วัน รวมถึงจัดการสื่อสารเปิด ‘Town Hall’ ทุกเดือน เพื่อให้พนักงาน 1,000 คนเข้าใจเป้าหมายตรงกันและได้ถามคำถามตรงกับซีอีโอ
  • เทคโนโลยี รวบรวมดาต้าลูกค้าทั้งหมดตั้งแต่งานขาย ซ่อม ดูแลหลังขาย ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ทรัพยากรคุ้มค่า ลดขั้นตอนทำงาน ลดค่าใช้จ่าย

ส่วน “เฟสสาม” คือ “การเติบโต” ในช่วงปี 2566 เป็นต้นไปซึ่งเชื่อว่าตลาดจะฟื้นตัวแล้ว เอสซี แอสเสทวางเป้ามีรายได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี และรายได้ประจำ (recurring income) จะมีสัดส่วนในกำไรบริษัทเพิ่มเป็น 1 ใน 3 ภายใน 7 ปี จากปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ 20%

 

ปรับไปเน้นตลาดบน ชะลอลงทุนโรงแรม

แผนการเติบโตของเอสซีฯ มีการปรับเปลี่ยนจากเดิม แม้โดยรวมจะยังเหมือนเดิมคือต้องการมีพอร์ตทั้งที่อยู่อาศัยเพื่อขายและรายได้ประจำ แต่บางอย่างเปลี่ยนไปตามสถานการณ์

อย่างแรกคือการเน้น “แนวราบ” มากขึ้น จากเดิมอาจจะมีสัดส่วนราว 60-65% ปัจจุบันเพิ่มเป็น 70%

บางกอก บูเลอวาร์ด พระราม 9 หนึ่งในโครงการบ้านเดี่ยวระดับบนของเอสซีฯ

อย่างที่สองคือ เน้นบ้านเดี่ยว 10 ล้านบาทขึ้นไปมากขึ้น จากเดิมอยู่ที่ 50% และแผนเดิมบริษัทเคยจะเน้นโครงการแนวราบราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และจะเจาะลงไปถึงต่ำกว่า 5 ล้านบาท แต่ปัจจุบันพลิกกลับมาเน้นบ้านระดับบนจนสัดส่วนขึ้นเป็น 65% แล้ว

“ตลาดบ้านเดี่ยวโดยเฉพาะที่ราคามากกว่า 10 ล้านบาทมีช่วงช็อกไปแค่ช่วงแรกๆ หลังเกิด COVID-19 เมื่อปีก่อน จากนั้นคนเริ่มรู้สึกแล้วว่า ‘Home is everything’ เราต้องทำทุกอย่างกันในบ้าน ทำให้สินค้ากลุ่มนี้ไม่มีผลกระทบเลย ขายดีขึ้นด้วย ปีนี้ก็ยังขายดีเหมือนเดิม” ณัฐพงศ์กล่าว “เราต้องปรับไปลงตลาดส่วนที่ลูกค้าเชื่อมั่นเรามากที่สุดก่อน”

สุดท้ายคือการปรับแผนธุรกิจรายได้ประจำประเภท “โรงแรม” แผนเดิมเอสซีฯ จะเปิดโรงแรมแบรนด์ใหม่ที่บริหารเอง 5 แห่งภายในปี 2566 ปัจจุบันลดเหลือ 2 แห่งที่จะเดินหน้าก่อน ได้แก่ ทำเลราชวัตร จะเปิดต้นปี 2565 และทำเลพัทยา คาดจะเปิดปี 2567-68

 

“บ้านคือทุกอย่าง” + “ทุกที่คือที่ทำงาน”

COVID-19 ยังทำให้การออกแบบสินค้าเปลี่ยนไปด้วย เพราะวิถีชีวิตคนจะเปลี่ยนไปทำงานแบบไฮบริดมากขึ้น

“เมื่อ Home is everything ทำให้ต่อไปปัจจัยการเลือกที่อยู่อาศัยจะไม่ใช่ ‘ทำเล ทำเล ทำเล’ แต่เป็น ‘ทำเล ทำเล สเปซ’ เพราะอนาคต Workplace is anywhere แล้ว ฟังก์ชันทั้งบ้าน คอนโดฯ ออฟฟิศ โรงแรม จะเปลี่ยนหมด ทุกที่ทำงานได้หมด” ณัฐพงศ์กล่าว

“เมื่อ Home is everything ทำให้ต่อไปปัจจัยการเลือกที่อยู่อาศัยจะไม่ใช่ ‘ทำเล ทำเล ทำเล’ แต่เป็น ‘ทำเล ทำเล สเปซ’ เพราะอนาคต Workplace is anywhere แล้ว ฟังก์ชันทั้งบ้าน คอนโดฯ ออฟฟิศ โรงแรม จะเปลี่ยนหมด ทุกที่ทำงานได้หมด”

จะเห็นว่าปีนี้เอสซีฯ เริ่มมีบ้านซีรีส์ใหม่ออกมาตอบโจทย์แล้ว เช่น Lanai เป็นบ้านที่มีชานระเบียงแบบกึ่งกลางแจ้งขนาดใหญ่ เหมาะเป็นที่พักผ่อนระหว่างวันเมื่อคนเราอยู่บ้านมากขึ้น

หรือในคอนโดฯ เองก็จะมีการปรับให้เข้าเทรนด์ มีส่วนกลางที่รองรับ co-working space แต่ไม่ใช่แบบเดิมที่เป็นพื้นที่โล่ง ต้องเป็นส่วนกลางที่ยังมีความเป็นส่วนตัว โดยจะได้เห็นการออกแบบคอนโดฯ แนวใหม่ของเอสซีฯ ปีหน้าที่ “เซ็นทริค วงเวียนใหญ่”

บ้านซีรีส์ใหม่ Lanai เน้นพื้นที่ระเบียงใหญ่แบบกึ่งกลางแจ้ง

ส่วนในโรงแรม จะเกิดขึ้นที่โรงแรมทำเลราชวัตร ซึ่งออกแบบให้รองรับเทรนด์ ‘Workation’ อย่างเต็มที่ การดีไซน์คำนึงถึงที่ทำงานที่ต้องเก็บเสียง แสงเข้าอย่างเหมาะสมเพื่อการประชุมออนไลน์ และกำลังวางกลยุทธ์จัดให้มีโปรแกรม collaboration กันระหว่างคนที่มาทำงานในโรงแรม

 

เตรียมเปิดรับ “คริปโต” ซื้อบ้าน

อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวสำคัญคือ ภายในปีนี้เอสซี แอสเสทจะเริ่มรับชำระเป็นสกุลเงินคริปโตแล้ว โดยกำลังวางแพลตฟอร์มหลังบ้าน และคาดว่าจะรับเป็นสกุลเงิน BTC (บิตคอยน์) เป็นหลัก อาจเสริมด้วยสกุลเงินอื่นๆ อีก 2 สกุลที่มีความเสถียร ราคาไม่แกว่งมากเกินไป

“เราไม่ได้จะเก็งกำไรจากตรงนี้ ไม่ต้องการรับความเสี่ยง เพราะฉะนั้นเราจะรับซื้อแล้วเทรดเงินคริปโตเป็นเงินบาททันที ไม่ถือไว้” ณัฐพงศ์กล่าว

โดยมองว่าตลาดกำลังจะเข้าสู่จังหวะที่สุกงอม เชื่อว่าปี 2565 จะเริ่มเห็นการโอนชำระด้วยคริปโตอย่างชัดเจนมากขึ้น มีกลุ่มที่เป็นเป้าหมายคือ กลุ่มต่างชาติ กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในไทย

แม้วันนี้ตลาดคริปโตในไทยจะเทรดกันวันละ 3,000-4,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่ณัฐพงศ์เล็งเห็นว่า ตลาดโตเร็ว และเริ่มมีนักลงทุนคริปโตที่ได้กำไรสูงแล้ว ต้องการย้ายทุนไปไว้ในอสังหาริมทรัพย์

“การรับเงินคริปโตไม่ใช่กิมมิกการตลาด สิ่งเหล่านี้ล้วนขับเคลื่อนด้วยความเชื่อ เริ่มจากกลุ่มที่เป็น early adopter กลุ่มเล็กๆ ที่เชื่อ และค่อยๆ ขยายไปจนเป็นตลาดแมส นั่นคือจุดที่เราเหมาะจะเข้าไป” ซีอีโอเอสซี แอสเสทกล่าว

]]>
1357188
‘จีน’ เบียด ‘สหรัฐฯ’ ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่ง ประเทศที่ต่างชาติแห่ลงทุน FDI สูงสุดในปี 2020 https://positioningmag.com/1316351 Mon, 25 Jan 2021 13:56:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316351 หลังเป็นประเทศเเรกที่ติด COVID-19 เเละฟื้นตัวได้ก่อนใคร ทำให้ ’จีน’ เบียดยักษ์ใหญ่อย่าง ‘สหรัฐฯ’ ขึ้นเเท่นประเทศที่ต่างชาติแห่ลงทุน FDI มากที่สุดในปี 2020

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) เปิดเผยรายงานเกี่ยวกับการลงทุนโลกประจำปี 2020 พบประเด็นที่น่าสนใจคือ ประเทศจีนมีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ‘ไหลเข้า’ กว่า 1.63 เเสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มสูงขึ้น 4%

โค่นเเชมป์เก่าที่ยังมียอดผู้ติดเชื้อไวรัสเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่าง ‘สหรัฐฯ’ ซึ่งมี FDI ประมาณ 1.34 เเสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวหนักถึง 49%

หากเทียบกับปี 2019 ก่อนเกิดวิกฤตโรคระบาด พบว่า สหรัฐฯ เคยมีเม็ดเงินลงทุนต่างชาติสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งที่ 2.51 เเสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนจีนตามมาเป็นที่สองที่ 1.40 เเสนล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ เเม้จีนจะขึ้นเป็นเเชมป์ ‘แหล่งลงทุน FDI ’ จากต่างประเทศมากที่สุดในปี 2020 เเต่หากดูภาพรวมทั้งอดีตถึงปัจจุบันเป็นต้นมา สหรัฐฯ ยังคงเป็นอันดับหนึ่งในการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด

จากสถานการณ์ COVID-19 ที่สะเทือนหลายประเทศ ทำให้ FDI ของทั่วโลกในปี 2020 ทั่วโลก หดตัวถึง 42% มาอยู่ที่ 8.59 เเสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะนานาชาติต่างระงับหรือชะลอการลงทุน

(Photo by Getty Images)

UNCTAD พบว่า เหล่าประเทศพัฒนาแล้วได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤตนี้มากกว่าปีก่อนหน้า และรับผลกระทบหนักกว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่ปรับตัวลดลงที่ 12%

สำหรับปัจจัยที่ต่างชาติเลือกที่จะเข้ามาลงทุนในจีนมากขึ้น ในปี 2020 หลักๆ มาจากมาตรการควบคุมโรคระบาดที่เข้มงวดเเละได้ผลเร็ว เมื่อเทียบกับชาติมหาอำนาจอื่นๆ อย่างสหรัฐฯ เเละสหภาพยุโรป เศรษฐกิจจีนถือว่าฟื้นตัวได้เร็วกว่ามาก

นอกจากนี้ เม็ดเงินลงทุน FDI มักจะมาพร้อมกับการเปิดโรงงานใหม่เเละการเข้าซื้อกิจการท้องถิ่น ซึ่งจีนก็ได้รับความสนใจจากบริษัทใหญ่ฝั่งตะวันตกมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของจีนในปี 2020 เติบโตได้ถึง 2.3%

อย่างไรก็ตาม IMF ปรับลดคาดการณ์การเติบโต ‘เศรษฐกิจจีน’ ในปี 2021 เหลือ 7.9% จากที่เคยประเมินไว้ที่ 8.2% เเม้จีนจะเป็นประเทศมหาอำนาจประเทศเดียวที่ยังเติบโตเป็น ‘บวก’ ได้ ท่ามกลางโรคระบาด COVID-19 เเต่ก็เป็นการเติบโตที่ยังไม่สมดุล

 

 

ที่มา : Reuters , CNBC , WSJ

]]>
1316351
กลยุทธ์การบุก “พอดคาสต์” ของ Spotify กำลังไปผิดทางหรือเปล่า? https://positioningmag.com/1314559 Fri, 15 Jan 2021 16:35:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314559 Citi เตือนการลงทุนของ Spotify ในกลุ่มคอนเทนต์ “พอดคาสต์” ว่าอาจจะกำลังไปผิดทางและไม่ได้ผลอย่างที่คิด หลังจากบริษัททุ่มทุนรวมไปมากกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อจะเป็นเจ้าตลาดพอดคาสต์ โดยเชื่อว่าคอนเทนต์กลุ่มนี้จะช่วยดึงให้สมาชิกสมัครระบบพรีเมียมเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ผ่านมาแล้วเกือบ 2 ปีก็เหมือนจะยังไม่เกิดผล

Citi ร่อนบทวิเคราะห์ให้ลูกค้านักลงทุนเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2021 ถึงกลยุทธ์ของ Spotify ที่ทุ่มลงทุนซื้อบริษัทผลิตคอนเทนต์พอดคาสต์ไปหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐมาตั้งแต่ปี 2019 ว่าอาจจะไม่ได้ผล

“แนวโน้มกำไรจากการสมัครสมาชิกประเภทพรีเมียม (ช่วงไตรมาส 3/2020) และยอดดาวน์โหลดแอปฯ (ช่วงไตรมาส 4/2020) ไม่ได้แสดงให้เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนจากการลงทุนในพอดคาสต์ (ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2019)” บทวิเคราะห์รายงาน และบริษัทยังเคาะ “ขาย” หุ้นตัวนี้จากเดิมที่แนะนำให้ “เก็บ” ทั้งนี้ ราคาหุ้น Spotify ปรับลงมาแล้ว 3.5%

บริษัท Spotify เริ่มทุ่มซื้อกิจการ “พอดคาสต์” ในช่วงต้นปี 2019 เริ่มจากการไล่ซื้อกิจการ Gimlet Media,  Anchor และ Parcast กลุ่มนี้เป็นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตคอนเทนต์พอดคาสต์ โดยใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 396 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากนั้นเข้าซื้อบริษัท The Ringer ซึ่งทำคอนเทนต์ข่าวกีฬาและบันเทิงด้วยเม็ดเงิน 196 ล้านเหรียญ ตามด้วยการซื้อ Megaphone ในราคา 235 ล้านเหรียญ โดยบริษัทนี้จะมาเสริมทัพด้านเทคโนโลยี “โฆษณา” ในพอดคาสต์

สิริรวมการลงทุนในธุรกิจพอดคาสต์ของ Spotify พุ่งไปมากกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว ทั้งที่ในปี 2019 บริษัทเพิ่งจะมีกำไร 107 ล้านเหรียญเท่านั้น นี่ยังไม่นับการเข้าเซ็นสัญญา ‘exclusive’ กับคนดังจำนวนมากให้มาลงพอดคาสต์ใน Spotify เพียงแห่งเดียว เช่น คิม คาร์เดเชียน เวสต์, มิเชล โอบามา, เจ้าชายแฮร์รี่และเมแกน มาร์เคิล ซึ่งคาดกันว่าจะต้องใช้เงินทำสัญญาอีกหลายล้านเหรียญทีเดียว

ตัวอย่างคอนเทนต์ exclusive จาก มิเชล โอบามา อดีตสตรีหมายเลข 1 แห่งสหรัฐฯ

กลยุทธ์แต่ดั้งเดิมของ Spotify ในการกว้านซื้อธุรกิจพอดคาสต์คือ บริษัทมองว่าพอดคาสต์ ‘กำลังมา’ และถ้าบริษัทมีคอนเทนต์ระดับ exclusive แต่เพียงผู้เดียว บริษัทจะมีฐานรายได้โฆษณาที่แข็งแรงขึ้น พร้อมกับการดึงสมาชิกให้
สมัครพรีเมียมได้มากขึ้นด้วย

ครั้งนั้นนักลงทุนพอใจในกลยุทธ์ของบริษัท ทำให้หุ้นราคาพุ่งขึ้น 31.76% ในปี 2019 และยิ่งทะยานขึ้นอีก 110.4% ในปี 2020

เริ่มแรกดูเหมือนกลยุทธ์จะสำเร็จ เพราะมีรายงานจาก Voxnest พบว่า รอบ 5 เดือนแรกของปี 2020 นั้น Spotify วิ่งแซงเป็นผู้นำในตลาดพอดคาสต์ประมาณ 60 ประเทศทั่วโลก แทนที่เจ้าตลาดเดิมคือ Apple Podcasts

แต่ขณะนี้นักวิเคราะห์เริ่มร้อนรนที่จะเห็นความสำเร็จที่แท้จริง นั่นคือ “ตัวเลข” ผลประกอบการที่ดีขึ้น “จนถึงบัดนี้ เรายังไม่เห็นการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในแง่ของจำนวนสมาชิกพรีเมียมหรือยอดดาวน์โหลดเลย” นักวิเคราะห์จาก Citi เขียนในรายงาน

“เรากังวลว่า ถ้าหากการลงทุนพอดคาสต์ไม่สามารถเปิดเส้นทางใหม่ให้ Spotify เปลี่ยนตัวเองจากการพึ่งพิงเฉพาะคอนเทนต์ดนตรี นักลงทุนตลาดหุ้นน่าจะมีการปรับการตีมูลค่าบริษัทใหม่ และนั่นจะเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายของ Spotify” Citi กล่าว

Source

]]>
1314559