กลุ่มธุรกิจค้าปลีก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 02 Oct 2020 11:36:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ปรับรับลูกค้าเปลี่ยน “ช้อปเสื้อผ้าออนไลน์” มาเเรง H&M ตัดสินใจปิดสาขา 250 แห่งทั่วโลก https://positioningmag.com/1299764 Fri, 02 Oct 2020 09:14:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299764 กระเเสผู้บริโภคหันมาซื้อเสื้อผ้าออนไลน์กันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วง COVID-19 เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ H&M ยักษ์ฟาสต์เเฟชั่นอันดับ 2 ของโลกจากสวีเดน ตัดสินใจปิดร้าน 250 สาขาทั่วโลก คิดเป็นกว่า 5% ของจำนวนร้านสาขาทั้งหมด 5,000 แห่ง

H&M เริ่มกลยุทธ์ปิดร้านเพิ่มขึ้นเปิดน้อยลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคที่หันมาซื้อออนไลน์ ท่ามกลางการเเข่งขันของวงการค้าปลีกเสื้อผ้าเเฟชั่นที่ดุเดือด เเละยิ่งประสบปัญหาใหญ่ เพราะผลกำไรของปีนี้ต้องลดลงอย่างมาก จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19

H&M ระบุในเเถลงการณ์ว่าลูกค้าเริ่มช้อปปิ้งทางออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆโดยในช่วงที่แบรนด์ต้องปิดสาขาชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ ปรากฏว่า ยอดการสั่งซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ กลับพุ่งสูงขึ้นกว่า 80% เมื่อเทียบกับยอดขายของหน้าร้านตามปกติ

ยอดขายของบริษัทในไตรมาส 3 ตั้งแต่เดือนมิ..ถึงเดือนส.. เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น หลังผ่านช่วงวิกฤต จากการที่สามารถเปิดร้านได้อีกครั้ง และการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เติบโตและทำกำไรอย่างไรก็ตาม ยอดขายเดือนก.. ลดลง 5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

ผลประกอบการในช่วง 9 เดือนจนถึงวันที่ 31 .. ของ H&M มีกำไรก่อนหักภาษีลดลงเหลือ 2.37 พันล้านโครนาสวีเดน (ราว 8.3 พันล้านบาท) ถือว่าดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้

แม้ความท้าทายต่างๆ จะยังไม่สิ้นสุด แต่เราเชื่อว่าบริษัทได้ผ่านพ้นจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเราจะฟื้นตัวจากวิกฤตได้อย่างแข็งแกร่ง” Helena Helmersson ซีอีโอของ H&M กล่าว

H&M สาขาแมนฮัตตัน นิวยอร์ก (photo: Shutterstock)

โดยเเผนต่อไป H&M จะเพิ่มการลงทุนในส่วนดิจิทัลเพื่อรองรับผู้บริโภคทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนจะมีการปรับเเผนการดำเนินงานใหม่ ทั้งการลงทุน ค่าเช่า การจัดหาพนักงาน และการจัดหาเงินทุน 

กลุ่มสินค้าเเฟชั่น เริ่มมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยผู้นำฟาสต์เเฟชั่นอย่าง Inditex เจ้าของเเบรนด์ดังอย่าง Zara ก็สามารถพลิกกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง ในช่วงไตรมาส 2 โดยมียอดขายออนไลน์” ที่พุ่งกระฉุดกว่า 74% เป็นพระเอก บ่งชี้ว่าการปรับกลยุทธ์ของธุรกิจฟาสต์เเฟชั่น ที่ผสมทั้งออนไลน์เเละสาขาเข้าด้วยกันนั้นประสบความสำเร็จ

ช่วงที่ผ่านมา Inditex มีการ “ลดต้นทุน” ปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ถึง 21% รวมถึงการจัดการสินค้าคงคลัง เน้นการผลิตในสเปนเเละประเทศใกล้เคียง อีกทั้งยังตั้งเป้าจะปิดร้านค้าขนาดเล็กประมาณ 1,000-1,200 สาขาทั่วโลก ภายในช่วง 2 ปีนี้เพื่อโฟกัสเฉพาะสาขาใหญ่เท่านั้น เเละหันมาบุกออนไลน์อย่างเต็มสูบ

โดย Inditex ตั้งเป้าว่าจะทำยอดขายออนไลน์ให้เพิ่มขึ้นมากกว่า 25% ของยอดรวมภายในปี 2022 เมื่อเทียบกับ 14% ที่สามารถทำได้ในปี 2019

ไม่ใช่เเค่เจ้าใหญ่อย่าง H&M และ Inditex เท่านั้น ตอนนี้ค้าปลีกเเฟชั่นอย่าง American Eagle Outfitter (AEO) และ GameStop (GME) ก็เพิ่งประกาศแผนการปิดสาขาไปหลายร้อยแห่ง เนื่องจากกระเเสช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กระตุ้นให้เเบรนด์ต่างๆ ต้องรีบมาทุ่มลงทุนด้านดิจิทัลเเทนนั่นเอง

]]>
1299764
CBRE พบสัญญาณ “ค้าปลีก” หลัง COVID-19 ทบทวน “ลดสาขา” เกือบทุกกลุ่มธุรกิจ https://positioningmag.com/1294684 Mon, 31 Aug 2020 07:46:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1294684
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดต่ำสุดในเดือนเมษายน 2563 ก่อนจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 50.1 ในเดือนกรกฎาคม 2563
  • ช่วงล็อกดาวน์ศูนย์การค้า ทำให้เจ้าของร้านค้าปลีกคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มออนไลน์ และจะย้ายไปรุกตลาดออนไลน์มากขึ้นหลังวิกฤต รวมถึงวิกฤตครั้งนี้ยังทำให้ร้านค้าปลีกต้องคำนึงถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
  • ส่งผลให้ร้านค้าปลีกทบทวนการลดสาขาหรือลดขนาดพื้นที่เช่าศูนย์การค้าลงเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นกลุ่มค้าปลีกเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาซึ่งมีสัดส่วนผู้ที่ต้องการเพิ่มสาขาสูงกว่าการลดสาขา
  • ซีบีอาร์อี ประเทศไทย (CBRE) อ้างอิงข้อมูลของ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงสู่จุดต่ำสุดในเดือนเมษายน 2563 ซึ่งลดลงมาเหลือ 47.2 เท่านั้น เป็นดัชนีที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2541 หลังจากนั้นทยอยปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ขึ้นมาสู่ระดับ 50.1 ในเดือนกรกฎาคม 2563

    CBRE ยังคาดการณ์ว่า การเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (Same-store-sales Growth : SSSG) ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้น่าจะติดลบทั้งธุรกิจค้าปลีกอาหารและธุรกิจอื่นๆ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการล็อกดาวน์ศูนย์การค้า

    หลังจากผ่อนคลายล็อกดาวน์ในช่วงเดือนมิถุนายน ห้างค้าปลีกพยายามกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคหลายแนวทาง เช่น จัดกิจกรรมโปรโมชันยาวนานและบ่อยครั้งขึ้น ห้างค้าปลีกบางแห่งยังยอมปรับเงื่อนไขให้ยืดหยุ่นขึ้นด้วยสำหรับผู้เช่าเดิม เพื่อช่วยเหลือให้ผู้เช่าฟื้นฟูธุรกิจได้เร็วขึ้น

    อย่างไรก็ตาม CBRE ได้สำรวจตลาดพื้นที่ค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกเมื่อเดือนพฤษภาคมในหัวข้อ “COVID-19 จะส่งผลต่อร้านค้าของคุณอย่างไรในช่วงที่เหลือของปีนี้” พบว่า จากมาตรการล็อกดาวน์ดังกล่าว ทำให้ช่วงที่ผ่านมาเจ้าของร้านค้าปลีกต่างหันไปใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการทำธุรกิจจนมีความคุ้นเคย และมีแนวโน้มจะใช้ช่องทางออนไลน์ต่อเนื่องหลังผ่านพ้นวิกฤต โดยแยกแนวโน้มการปรับตัวทางธุรกิจออกเป็น 2 กลุ่มคือ

    1) กลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการสร้างยอดขายออนไลน์ให้เติบโต ได้แก่ ธุรกิจสินค้าราคาแพง, ธุรกิจเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬา, ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค, ธุรกิจสินค้าไลฟ์สไตล์ และธุรกิจแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย สัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 40-80% จะใช้กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายออนไลน์เป็นหลักในการทำธุรกิจครึ่งปีหลัง

    2) กลุ่มธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการรวมสาขา ได้แก่ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, ธุรกิจค้าปลีกอื่นที่เน้นสร้างประสบการณ์ และธุรกิจสุขภาพและความงาม สัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 30-60% จะใช้กลยุทธ์หลักคือการลดสาขา

    ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบเฉพาะคำตอบเรื่องการลดสาขาหรือเพิ่มสาขาในช่วงครึ่งปีหลัง พบว่าทุกกลุ่มธุรกิจมีผู้ตอบว่าจะลดสาขามากกว่าเพิ่มสาขา ยกเว้นธุรกิจเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาซึ่งจะเพิ่มสาขามากกว่าการลดสาขา

    “เมื่อสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ การปรับลดขนาดพื้นที่เช่าเดิมจะกลายเป็นแนวทางที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้เช่าจะต้องประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่มีขนาดเล็กและขนาดกลาง ห้างสรรพสินค้าจึงจำเป็นต้องปรับรูปแบบการจัดวางผังร้านค้า และจัดส่วนผสมของผู้เช่าแต่ละประเภท (Tenant Mix) ให้ละเอียดและรอบคอบมากขึ้น” จริยา ถ้ำตรงกิจกุล หัวหน้าแผนกพื้นที่ค้าปลีก ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็น

    จริยายังกล่าวด้วยว่า การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 จะเร่งให้ค้าปลีกออนไลน์เติบโต และค้าปลีกแบบดั้งเดิมต้องปรับตัว

    ผู้พัฒนาโครงการห้างสรรพสินค้าแห่งใหม่จะต้องทบทวนแนวคิดการทำโครงการเพื่อให้เหมาะกับพฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภค และมองว่าธุรกิจค้าปลีกไทยยังต้องใช้เวลาก่อนฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ยกเว้นว่าจะมีการเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาได้เท่ากับช่วงก่อนเกิดการระบาด โดยเฉพาะศูนย์การค้าใจกลางกรุงเทพฯ ที่พึ่งพิงกำลังซื้อต่างชาติสูง

    ]]>
    1294684
    Tesco ในอังกฤษ สวนกระเเสจ้างงานเพิ่ม 1.6 หมื่นคน ขยายรับเทรนด์ซื้อของออนไลน์พุ่ง https://positioningmag.com/1293894 Mon, 24 Aug 2020 14:39:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293894 ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกอย่าง Tesco ในสหราชอาณาจักร ประกาศจ้างพนักงานเพิ่มกว่า 16,000 ตำแหน่ง เพื่อกระตุ้นภาคการค้าปลีกของประเทศ ตอบสนองความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคทางออนไลน์ที่พุ่งสูงขึ้น จากวิกฤต COVID-19

    Tesco ระบุในเเถลงการณ์ว่า บริษัทจะว่าจ้างพนักงานประจำในสหราชอาณาจักรเพิ่มอีก 16,000 ตำแหน่ง โดยในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เคยเป็นพนักงานชั่วคราวที่บริษัทจ้างในช่วงการระบาดของ COVID-19 เพื่อให้บริการเดลิเวอรี่ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในมาตรการล็อกดาวน์

    Jason Tarry ซีอีโอของเทสโก้ในอังกฤษและไอร์แลนด์ เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เริ่มเกิดเเพร่ระบาดของ COVID-19 ยอดขายออนไลน์ของบริษัทในอังกฤษ เพิ่มสูงขึ้นกว่า 2 เท่า เเละได้ให้บริการกับลูกค้าเกือบ 1.5 ล้านคนต่อสัปดาห์ โดยพนักงานประจำที่จะจ้างใหม่ 16,000 คนนี้ เป็นส่วนเพิ่มจากประมาณ 4,000 คน ที่รับเข้าทำงานในช่วงโรคระบาด นอกเหนือจากพนักงานชั่วคราวที่มีประมาณ 47,000 คน

    ทั้งนี้ ก่อนเกิดโรคระบาด COVID-19 ยอดขายออนไลน์ของ Tesco คิดเป็นประมาณ 9% ของรายได้ทั้งหมด เเละตอนนี้เติบโตขึ้นมากว่า 16% โดยบริษัทคาดว่ายอดขายออนไลน์ในปีนี้จะสูงกว่า 5.5 พันล้านปอนด์  (ราว 7.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ / 2.2 เเสนล้านบาท)

    ช่วงที่ผ่านมา บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหราชอาณาจักร ต่างพากันประกาศปลดพนักงานหลายพันตำเเหน่ง โดยเฉพาะในธุรกิจการบิน พลังงานและธุรกิจค้าปลีก เนื่องจากผลกระทบจาก COVID-19

    ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร กำลังเผชิญกับ “ภาวะถดถอยทางเทคนิค” ครั้งเเรกในรอบ 11 ปี หลังตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 2 หดตัวถึง 20.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้

    การที่รัฐบาลอังกฤษบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ ระหว่างช่วงเดือน เม.. – มิ.ซึ่งถือว่า “ช้ากว่า” ประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่ดำเนินการมาก่อนหน้า มีผลทำให้ในช่วงไตรมาส 2 อังกฤษกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจหนักที่สุดในยุโรป รุนแรงกว่าเยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี 

    โดยการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนยังลดลงต่อเนื่อง เพราะร้านค้าต่างๆ ต้องปิดทำการชั่วคราว ขณะที่ภาคการบริการ การก่อสร้าง และการผลิต ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่มีอัตราสูง

    ยังเป็นที่น่าจับตามองว่าในเดือนต..ที่จะถึงนี้ รัฐบาลอังกฤษกำลังจะยกเลิกโครงการลาพักงานของเจ้าหน้าที่รัฐประมาณ 10 ล้านคนที่ได้เงินสูงสุด 80% ของเงินเดือนประจำในช่วงการระบาด โดยนักวิเคราะห์มองว่า อาจจะส่งผลให้การว่างงานพุ่งสูงขึ้นทั่วสหราชอาณาจักร

     

    ที่มา : BBC , AFP

    ]]>
    1293894
    ค้าปลีกพระราม 2-มหาชัยเดือด เมื่อ “เซ็นทรัล” ตีโอบ กวาดเศรษฐีชานเมืองทั้งสาย https://positioningmag.com/1147759 Wed, 22 Nov 2017 21:55:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1147759 เซ็นทรัลพระราม 2 ไม่พอ ต้องตามต่อด้วย เซ็นทรัล มหาชัย ที่ตัดริบบิ้นเปิดตัววันนี้ 23 พฤศจิกายน จะทำให้เส้นพระราม 2 เป็นถนนสายเดียวที่เซ็นทรัลมีศูนย์การค้าถึง 2 แห่ง เพื่อดักลูกค้าเศรษฐีชานเมือง และนักท่องเที่ยวตลอดทั้งสาย

    ตลอดสองข้างทางถนนพระราม 2 จากกรุงเทพมหานคร ยาวไปถึงจังหวัดสมุทรสาคร โมเดลปั๊มน้ำมันที่ครบเครื่องด้วย “ค้าปลีก” ร้านกาแฟ ศูนย์อาหาร ร้านขายของฝากของที่ระลึกของ “ปั๊ม ปตท.” ดูจะกินรวบตลาดเสียส่วนใหญ่

    เพราะไล่เลียงข้อมูลคร่าวๆ ปตท.มีปั๊มน้ำมันขนาบข้างทางซ้ายขวาและกินทั้งจังหวัดสมุทรสาครมีเกือบ 20 สาขา

    ปั๊ม ปตท. ปัจจุบันเป็นมากกว่าปั๊มขายน้ำมัน แต่เป็น “จุดพักรถ” (Rest Area) สำหรับประชาชน นักเดินทางที่เข้าไปช้อปสินค้า เข้าห้องน้ำ รับประทานอาหาร ฯ ทำเกือบทุกอย่างในปั๊ม

    นอกจากปั๊มน้ำมัน ปตท.ที่ดักกำลังซื้อตลอดทางทั้ง “ขาเข้า-ขาออก” จากกรุงเทพฯ สู่เมืองท่องเที่ยว ชะอำ หัวหินแล้ว ล่าสุดโมเดลธุรกิจของ ปตท.ได้สร้างปั๊มให้เป็น The Living Community คือคนในชุมชนเข้ามาใช้ชีวิตได้ครบครันในปั๊มนั่นเอง

    ทว่า ทำเลพระราม 2 ไปจนถึงมหาชัย สมุทรสาคร ก็ไม่ได้มีแค่ ปตท.ที่ทำค้าปลีก เพราะยังมีโปรเจคเด่นๆ เข้ามาแบ่งเค้กอย่างต่อเนื่อง ทั้งคอมมูนิตี้มอลล์ พอร์โต้ ชิโน่, เดอะ ไบรท์, นุศาอเวนิว, แลนด์มาร์ค มหาชัย จุดพักรถรูปแบบใหม่ เดอะ สเตชั่น, มีโมเดิร์นเทรด เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี มีห้างสรรพสินค้าท้องถิ่น น้ำพุ พลาซ่า รวมถึงห้างสเปเชียลตี้สโตร์อื่นๆ เช่น โฮมโปร บุญถาวร ไทวัสดุ ที่ทำตลาดจับกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกันไป

    ฮือฮาเวลานี้ ต้องยกให้การเปิดตัวโปรเจกต์ใหญ่ของพี่เบิ้มในวงการค้าปลีก “บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอ็น” หลังควักงบลงทุนก้อนโต 5,000 ล้านบาท ปักหมุด “เซ็นทรัล พลาซา มหาชัย” ภายใต้คอนเซ็ปต์ “มหานาวา” (MAHANAVA) วันที่ 23 พ.ย. 2560

    เพราะนี่นับเป็นการ “ชิงเค้กค้าปลีก” ก้อนใหญ่ในสมุทรสาคร จังหวัดที่ประชากรมีรายได้ต่อหัวที่ระดับ 359,566 บาท (ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2559) เรียกว่าสูงสุดอันดับ 7ของประเทศ

    นอกจากศักยภาพประชากรที่มี “รายได้มาก” สะท้อนกำลังซื้อสูงแล้ว สมุทรสาคร ยังขนานนามเป็น “เมืองอุตสาหกรรมและอาหารทะเล” เพราะมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 5,700 แห่ง โดยเฉพาะโรงงานผลิตอาหารทะเล “รายใหญ่” จำนวนมาก ทั้งซีพี, ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ที่ส่งออกทำเงินให้กับประเทศแต่ละปีมูลค่ามหาศาล 191,005.6 ล้านบาท คิดเป็น 20.2% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด

    ปัจจัยเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการ “ขยายห้างค้าปลีก” ของเซ็นทรัลในการเข้ามาโกยขุมทรัพย์นักช้อปจากเดิมที่ปล่อยให้มีเพียง “เซ็นทรัลพระราม 2” อบโจทย์ผู้บริโภคมานาน แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

    หนึ่งในคำยืนยันว่าสมุทรสาคร มีห้างค้าปลีกน้อย!คือนักธุรกิจ “เจ้าถิ่น” อย่าง “อิสระ บุญยัง” นายกกิตติมศักดิ์และที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผู้ปักธงพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดสมุทรสาครป้อนตลาดมาเกือบ 10,000 ยูนิต

    เขาย้ำภาพห้างค้าปลีกย่านนี้มีไม่พอ ยิ่งถามหา “ห้างขนาดใหญ่” แบรนด์ดังก็มีแค่ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัสไว้ให้บริการลูกค้า ทั้งที่เทียบกับศักยภาพของจังหวัด ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของโรงงานจำนวนมาก และมีแรงงานที่มี “กำลังซื้อมหาศาล” แสดงให้เห็นดีมานด์และซัพพลายยังเขย่งกันอยู่ “ดีมานด์สูงซัพพลายต่ำ”

    ถ้าไล่ดูถนนพระราม 2 กม.ตั้งแต่ 14 จุดสิ้นสุดรอยต่อกรุงเทพฯ ขยับไปถึง กม.11-18 ถ้าประชาชนย่านนี้อยากช้อปปิ้ง ต้องไปใช้บริการที่เซ็นทรัลพระราม 2 เท่านั้น การเปิดเซ็นทรัล พลาซา มหาชัย จึงเติมความคึกคักให้ย่านมหาชัยและสมุทรสาครได้อย่างมาก เพราะคราวนี้ประชาชนไม่ต้องแห่ไปกระจุกช้อปปิ้งเพียงที่เดียวอีกต่อไป

    นอกจากนี้ การเปิดเซ็นทรัล มหาชัย ยังสามารถเก็บเกี่ยวขุมทรัพย์นักช้อปปิ้งในอนาคตได้ด้วย เพราะแนวโน้มที่อยู่อาศัยแห่งนี้ “หนาแน่น” ขึ้นเรื่อยๆ หลังจากมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคต่างๆ เข้ามา เช่น ด้านการศึกษา เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญ พระราม 2 เปิดให้บริการ มีห้างใหญ่มาเปิด เอื้ออำนวยให้ลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคสะดวกสบายขึ้น

    นั่นจึงเห็นขาใหญ่วงการอสังหาฯ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ แสนสิริ พฤกษา ตบเท้ามาเปิดโปรเจคที่อยู่อาศัยใหม่ๆ และที่ซุ่มเงียบมีอีกมาก

    หากดูลักษณะ “ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย” ในย่านมหาชัย สมุทรสาคร บอกเลยว่า “มีกำลังซื้อสูงขึ้นเรื่อยๆ” เมื่อเทียบอดีต เพราะผลพวงของเมืองอุตสาหกรรม การเติบโตของอุตสาหกรรมส่งออกอาหารทะเล ทำให้คนงานมีเงินในกระเป๋าเพิ่ม สิ่งที่บ่งชี้ว่าคนมหาชัย สมุทรสาคร รวยขึ้น คือสถิติลูกค้าของกานดา เดิมเคยซื้อบ้านราคา 900,000-1,000,000 บาท ปัจจุบันซื้อบ้านราคา 5-6 ล้านบาทได้สบาย

    รวมถึงเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม ที่เคยซื้อบ้านระดับราคา 10 ล้านบาท ก็พร้อมควักเงินซื้อบ้านหลังใหม่เพิ่มราคา 7 ล้านบาท ให้ลูกหลานมาอยู่อาศัยได้อีกหลัง

    ด้วยทำเลที่ตั้งของเซ็นทรัล มหาชัย ตั้งอยู่บริเวณ กม.24-25 หากขยับไปไกลถึง กม.28-29 จะพบว่ายังมีกลุ่มเป้าหมายใหญ่อยู่อีก เพราะแถบนั้นมีนิคมอุตสาหกรรมสินสาคร นิคมอุตสาหกรรมสินสาครแหล่งรวมโรงงานอีกนับร้อยของนักลงทุนไทย จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ฯ

    รัศมีการกินรวบเค้กค้าปลีกจึงไกลเป็นสิบกิโลเมตร

    นอกจากคนในพื้นที่มหาชัย สมุทรสาครทั้งจังหวัดแล้ว“ขาจร” นักเดินทางต่างๆ เป็นอีกกลุ่มที่เซ็นทรัลต้อง “ดักกิน” ให้เรียบ เมื่อการพัฒนาห้างแห่งนี้นำเอา “จุดแข็ง” ของบรรดาคู่แข่งในย่านนี้มารวมไว้ในที่เดียว เพื่อเป็น “จุดขาย” เช่น การชูคอนเซ็ปต์ “Semi-Outdoor Lifestyle” หวังสร้างสีสันให้มหาชัย แบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนด้วย HIGHWAY DESTINATION ให้เป็นจุดแวะพัก (Rest Area) สำหรับนักเดินทาง ไม่ต่างจากปั๊มใหญ่ที่ครบครันด้วยร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ร้านกาแฟ ศูนย์รวมของฝากของที่ระลึกฯ

    “MAHACHAI MARCHÉ” ที่ขนของดีประจำจังหวัดทั่วไทยมาเสิร์ฟครบ ขาดไม่ได้คือของขึ้นชื่อสมุทรสาคร อาหารทะเล มะนาวเปลือกบางน้ำเยอะ ปลาทูก้างนิ่ม เกลือสมุทร ใบชะคราม มีมาหมดไม่ตกหล่น ซึ่งแม้ว่า “ทำเล” ของเซ็นทรัลที่ตั้งอยู่บริเวณขาเข้ากรุงเทพฯ และถูกมองว่าอาจแข่งขันเป็นจุดพักรถสู้ “พอร์โต้ ชิโน่” ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามบน กม.24-25 ไม่ได้ เพราะได้เปรียบตรงที่เป็นขาออกสู่เมืองท่องเที่ยว ชะอำ หัวหิน และลงใต้

    แต่อย่าประมาท! เพราะอย่าลืมว่าไม่ใช่แค่ห้างค้าปลีกขาออกเท่านั้นที่คนแวะพัก แต่ขากลับจากชะอำ หัวหิน แม้กระทั่งขึ้นมาจากภาคใต้ ใครที่ผ่านมาสมุทรสาคร ก็ต้องแวะเช่นกัน จะแวะซื้อของฝากสารพัดอาหารทะเลติดไม้ติดมือก่อนกลับเข้ากรุงเทพฯ เป็นด่านสุดท้ายได้ด้วย

    ไหนๆ เซ็นทรัล มหาชัย เป็นจุดพักรถแล้ว ถ้าคู่แข่ง ”ปั๊ม ปตท.” มีดีที่ “ห้องน้ำสะอาด” เป็นหนึ่งในจุดขาย เซ็นทรัลก็ท้าชนเรื่องห้องน้ำเหมือนกัน

    เรียกว่า “คู่แข่ง” มีอะไรดี มีกลยุทธ์ไหนเด็ด เซ็นทรัล พลาซา มหาชัย ทำด้วย แต่จะดักลูกค้าได้เยอะดังหวังไหม ต้องติดตาม.

    ]]>
    1147759
    ห้างล้น กทม. ที่ดินแพง ทุนใหญ่พาเหรดลุย ตจว. https://positioningmag.com/1145373 Fri, 03 Nov 2017 10:22:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1145373 “โคราช” นับเป็นภูมิภาคทำเลทองล่าสุดที่กลุ่มธุรกิจค้าปลีกไปลงทุนกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจทุนหนาระดับมหาเศรษฐีของไทย และของโลก ไปรวมตัวกันครบแล้ว

    อย่างล่าสุด “เซ็นทรัล” ที่กำลังจะเปิดตัวที่โคราช หลังรอมานาน 16 ปี ของตระกูล “จิราธิวัฒน์” ก็ร่วมลงสนามแล้ว จากก่อนหน้านี้ แม้จะมีศูนย์การค้ารูปแบบที่ต่างกันไปรออยู่แล้ว อย่างทุนจากเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ปักธง “บิ๊กซี” ไปแล้ว ทุนจากเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เปิดแนวรบเป็นเพื่อนโชห่วยด้วย “แม็คโคร” แล้ว และยังมีทุนจากกลุ่มเดอะมอลล์ และทุนต่างชาติ อย่าง “เทสโก้ โลตัส” รวมถึงเจ้าพ่อแลนด์แอนด์เฮาส์ “อนันต์ อัศวโภคิน” ที่จุดพลุห้างแนวใหม่ อย่างเทอร์มินอล 21 เมื่อปีที่แล้ว

    ในมุมมองของ สุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยคอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ระบุว่า ที่ดินใน กรุงเทพฯ และปริมณฑล เริ่มหายาก และแพง แต่ธุรกิจค้าปลีกก็ต้องลงทุนเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ของตนเองให้ต่อเนื่อง ทุกบริษัทที่มีทุน ก็รุกเต็มที่ในต่างจังหวัด

    ลักษณะการบุกต่างจังหวัดหลายปีที่ผ่านมาไปลงทุนในเมืองท่องเที่ยวกันจำนวนมาก เช่น ที่เชียงใหม่ ภูเก็ต จากนั้นก็ไปบุกลงทุนในหัวเมืองใหญ่ ที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงอย่างโคราช ล่าสุด ที่มีห้างไปเปิดบริการกันมาก บนถนนมิตรภาพ ที่เปรียบเทียบได้ว่าเป็นย่านธุรกิจของเมือง เหมือนซีบีด

    แม้ว่า ณ ปัจจุบันจำนวนลูกค้าจะยังไม่สามารถทำให้เกิดการคุ้มทุนได้เร็ว และยังต้องรอโครงสร้างระบบการคมนาคมอย่างรถไฟความเร็วสูง และรถไฟรางเบา (โมโนเรล) แต่ธุรกิจค้าปลีกต้องมองระยะยาว คือ การซื้ออนาคต รอเวลาการคุ้มทุน และที่ได้แน่ๆ ในปัจจุบัน คือการครอบครองที่ดิน

    นอกจากการลงทุนในเมืองใหญ่ๆ กระแสที่กำลังมาคือการไปลงทุนในหัวเมืองรองมากขึ้น เช่น บางรายไปลำพูน ตาก เชียงราย พิษณุโลก แล้ว

    ขณะที่การลงทุนในกรุงเทพฯ กลุ่มห้างสรรพสินค้าเริ่มชะลอตัว เพราะที่ดินแพง หายากดังกล่าว และยังรองรับกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลาย ขณะที่กลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ต ก็จะขยายสาขาในขนาดพื้นที่เล็กลง

    ดังนั้น พื้นที่ค้าปลีกทั่วประเทศไทยปี 2560 ที่มีประมาณ 18.7 ล้านตารางเมตร อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 7 ล้านตารางเมตร อยู่ในต่างจังหวัด 1.1 ล้านตารางเมตร ในปีหน้าพื้นที่ค้าปลีกทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 300,000-400,000 ตารางเมตร ที่เหลือจึงมุ่งหน้าสู่ต่างจังหวัดกันอย่างคึกคัก

    เทรนด์นี้ จากการสำรวจของ Positioning พบว่า แผนการขยายสาขาของแต่ละแบรนด์ จะมีสัดส่วนในต่างจังหวัดมากกว่า หรือพอ ๆ กัน อย่างเช่นเซ็นทรัล ปี 2560 มีท้ังหมด 30 แห่ง อยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 13 แห่ง ในต่างจังหวัด 17 แห่ง ส่วนใน 5 ปี ช่วงปี 2560-2564 เซ็นทรัล มีแผนขยายสาขาในต่างจังหวัด 7 จังหวัด กรุงเทพฯ และปริมณฑล 7 แห่ง และที่มาเลเซีย 1 แห่ง

    นอกจากนี้ยังมีโรบินสันที่รุกต่างจังหวัด นอกจากไปกับห้างเซ็นทรัลแล้ว หากแยกตั้งเอง ก็จะเน้นความเป็นห้างไลฟ์สไตล์ ที่มีแผนเปิดใน 3 จังหวัดในปีนี้

    ขณะที่แม็คโคร ที่เป็นห้างที่ต้องใช้พื้นที่กว้าง หยุดขยายสาขาในกรุงเทพฯ มาแล้วหลายปี โดยตั้งแต่ปี 2557 มีสาขาในกรุงเทพฯ 9 แห่ง แต่ขยายสาขาในต่างจังหวัดในช่วงปี 2557-2562 แล้ว 48 แห่ง

    ส่วนบิ๊กซี ก็มีแผนการขยายห้างขนาดใหญ่ 9 แห่งในปีนี้ ที่เกือบทั้งหมดอยู่ในต่างจังหวัด.

    ]]>
    1145373