กำไรสุทธิ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 16 Jul 2021 15:08:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 KTC ดันกำไรครึ่งปีแรก 3,352 ล้านบาท โต 20.1% กำไรไตรมาส 2 โต 48% https://positioningmag.com/1342840 Fri, 16 Jul 2021 14:07:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342840 เคทีซีแจ้งกำไรสุทธิครึ่งปีแรกโต 20.1% เท่ากับ 3,352 ล้านบาท ส่วนของกำไรสุทธิไตรมาส 2 เท่ากับ 1,703 ล้านบาท เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ NPL อยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม พร้อมเดินหน้าครึ่งปีหลังขยายธุรกิจสินเชื่อมีหลักประกันให้ครบวงจร รักษาฐานสมาชิกและบริหารคุณภาพพอร์ตลูกหนี้

ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“ภาพรวมของอุตสาหกรรมสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนของปีนี้ยังคงเติบโต ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 สำหรับภาพรวมการดำเนินงานธุรกิจของเคทีซียังผ่านไปได้ดี โดยเรียนรู้จากประสบการณ์มาเป็นเข็มทิศในการปรับแผนกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 บริษัทฯ มีการขยายตัวของลูกหนี้บัตรเครดิตเท่ากับ 10.4% (อุตสาหกรรมโต 8.6%) ทำให้เคทีซีมีสัดส่วนของลูกหนี้บัตรเครดิตเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 13.7% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2563 ที่มีสัดส่วน 13.5% ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 5.4% (อุตสาหกรรมโต 2.2%) และสัดส่วนลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเทียบกับอุตสาหกรรมเท่ากับ 4.7%”

สถานการณ์แพร่รระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่องถึงระลอก 3 ได้ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและการจัดหาสมาชิกใหม่ทำได้ยากขึ้น รวมถึงการเติบโตของพอร์ตลูกหนี้รวมและปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรขยายตัวได้ไม่มาก เคทีซีจึงมีแผนสร้างโมเดลธุรกิจขยายตัวไปยังสินเชื่อมีหลักประกันมากขึ้น โดยได้เข้าซื้อหุ้น 75.05% ของบริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด (KTBL) เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2564 และภายหลังการตรวจสอบตามเงื่อนไขเสร็จสิ้นในเดือนพฤศจิกายน 2564 KTBL จะเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของเคทีซี

ผลการดำเนินงานสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เคทีซีมีกำไรสุทธิในช่วงครึ่งปีแรก 3,352 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.1% และมีกำไรสุทธิในไตรมาส 2 เท่ากับ 1,703 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.2%

แม้ว่าบริษัทฯ จะมีรายได้รวมลดลง แต่ยังสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายรวมให้ต่ำลง จากการลดค่าใช้จ่ายทางการเงินและผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงไปได้ อีกทั้งมีรายได้หนี้สูญได้รับคืนอยู่ในระดับที่ดีขึ้น และรักษาอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL) อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงเดิม ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีหลายปัจจัยผันแปร

จึงเป็นผลให้ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เคทีซีมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานรวมต่อรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย มีกำไรก่อนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงที่ -5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการมีพอร์ตลูกหนี้คุณภาพดี ทำให้ความจำเป็นในการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นน้อยลงไปด้วย ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทฯ เติบโตตามสัดส่วนข้างต้น

โดยที่เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวม 89,444 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ฐานสมาชิกรวม 3.3 ล้านบัญชี แบ่งเป็นพอร์ตสมาชิกบัตรเครดิต 2,544,573 บัตร เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้บัตรเครดิตและดอกเบี้ยค้างรับรวม 55,708 ล้านบาท

ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรครึ่งปีแรกเท่ากับ 94,160 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9% (ไตรมาส 2 มูลค่า 45,739 ล้านบาท ขยายตัว 13.1%) NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้รวมอยู่ที่ 4.4% เพิ่มขึ้นจาก 1.9% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2564 จากสาเหตุหลักของการนับรวมพอร์ตลูกหนี้สัญญาเช่าซื้อจาก KTBL ประกอบกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้ความสามารถในการชำระของลูกหนี้ลดลง และ NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บัตรเครดิตเท่ากับ 1.5%

พอร์ตสมาชิกสินเชื่อบุคคลเคทีซี 802,971 บัญชี เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้สินเชื่อบุคคลและดอกเบี้ยค้างรับรวม 29,480 ล้านบาท NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บุคคลอยู่ที่ 3.0% พอร์ตลูกหนี้ตามสัญญาเช่า 4,255 ล้านบาท NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้ตามสัญญาเช่าเท่ากับ 51.7%

เคทีซียังสามารถทำรายได้รวมในไตรมาส 2/2564 ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 5,406 ล้านบาท แบ่งเป็น

  • รายได้ดอกเบี้ยรวม (รวมรายได้ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน) 3,430 ล้านบาท (ธุรกิจบัตรเครดิต 1,639 ล้านบาท สินเชื่อบุคคล 1,766 ล้านบาท
  • รายได้ดอกเบี้ยจากลูกหนี้ตามสัญญาเช่าของ KTBL 25 ล้านบาท) ลดลง -5.6% จากการปรับลดเพดานดอกเบี้ยในธุรกิจบัตรเครดิตเป็น 16%
  • รายได้ค่าธรรมเนียม (ไม่รวมค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน) 1,042 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.6% จากรายได้ค่าธรรรมเนียม Interchange
  • รายได้ค่าธรรมเนียมส่วนลดจากร้านค้าผู้รับชำระบัตรที่เป็นสมาชิกของเคทีซีเพิ่มขึ้นเป็น 42,625 ร้านค้า
  • รายได้ค่าธรรมเนียมในการเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น แต่ค่าธรรมเนียมในการติดตามหนี้ลดลง
  • รายได้หนี้สูญได้รับคืน 833 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 19.3%) และรายได้อื่นๆ 100 ล้านบาท ในขณะที่รายได้รวมครึ่งแรกของปี 2564 อยู่ที่ 10,798 ล้านบาท ลดลง -2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • ค่าใช้จ่ายรวมในไตรมาส 2/2564 เท่ากับ 3,278 ล้านบาท ลดลง -17.3% แบ่งเป็นผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 1,144 ล้านบาท (ลดลง -45.1%) ต้นทุนทางการเงิน 359 ล้านบาท (ลดลง -5.3%) และค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานรวม 1,775 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 18.3%)
  • วงเงินสินเชื่อคงเหลือ (Available Credit Line) จำนวน 22,330 ล้านบาท ต้นทุนการเงิน 2.62% และอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 2.45 เท่า ต่ำกว่าภาระผูกพันที่กำหนดไว้ที่ 10 เท่า
]]>
1342840
กำไร “แบงก์ไทย” ลดฮวบ คาดไตรมาส 3 หดตัวลึก -66.5% หาย 6 หมื่นล้าน สิ้นปี “ทรุดกว่า” https://positioningmag.com/1300840 Fri, 09 Oct 2020 09:48:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300840 ธนาคารพาณิชย์ในไทย เจอพิษ COVID-19 ไตรมาส 3 ปีนี้ คาดกำไรสุทธิหดตัวลึก -66.5% หรือลดฮวบลงกว่า 6 หมื่นล้านบาท มองไตรมาสสุดท้าย “ทรุดหนักกว่า” จากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว คุณภาพหนี้แย่ลง หาทางรับมือหลังหมดมาตรการ “พักหนี้”

จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ยังคงกดดันความสามารถในการ “ทำกำไร” ของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/2563 โดยรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม มีแนวโน้มลดลงตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ภาคส่วน นอกจากนี้ รายได้ดอกเบี้ยของทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ยังได้รับผลกระทบมากขึ้น จากทิศทางขาลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 ด้วย

กำไร “เเบงก์ไทย” ลดฮวบ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ ถึงผลประกอบการระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ในไตรมาส 3 /2563 โดยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ จะยังเผชิญแรงกดดันต่อเนื่อง แม้ระดับกำไรสุทธิอาจจะขยับขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2563

โดยคาดว่า กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทย ในไตรมาส 3/2563 จะลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท หรือ -66.5% YoY เมื่อเทียบกับที่มีกำไรสุทธิสูงถึง 9.16 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 3/2562 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง มีกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทประกันซึ่งธนาคารถือหุ้นอยู่

อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิที่ระดับดังกล่าวขยับขึ้นเล็กน้อยประมาณ 3.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกันสำรองฯ ในไตรมาส 3/2563 ของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งอาจชะลอลงบางส่วน หลังจากที่มี
นโยบายการตั้งสำรองฯ เชิงรุกในระดับที่สูงมากในไตรมาส 2/2563 ที่ผ่านมา

ขณะที่ “รายได้จากธุรกิจหลัก” ยังคงไม่ฟื้นตัวขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ที่โดนกระทบหนักจากวิกฤต COVID-19

สำหรับแนวโน้มในไตรมาสที่ 4/2563 คาดว่า การประคองทิศทางรายได้และกำไรสุทธิ จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น เนื่องจากต้องรับมือกับการจัดการปัญหาหนี้เสีย การดูแลปรับโครงสร้างลูกหนี้ ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ และอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นไปพร้อมกัน

Photo : Shutterstock

สินเชื่อ ชะลอตัว – NIM ปรับลด – คุณภาพหนี้แย่ลง

KBANK มองว่า “สินเชื่อ” ของธนาคารพาณิชย์ไทย อาจเติบโตในอัตราที่ชะลอลงมาที่ 4.5-4.8% YoY ในไตรมาส 3/2563 จาก 5.1% YoY ในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากยังต้องประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้าที่มาขอสินเชื่อใหม่อย่างระมัดระวัง ประกอบกับมีการทยอยชำระคืนสินเชื่อของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่บางราย

ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนว่าหลังจากมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินทยอยครบกำหนดลง มีลูกหนี้ธุรกิจและรายย่อยบางส่วนเริ่มกลับมาชำระคืนหนี้ในช่วงไตรมาส 3/2563 นี้ด้วยเช่นกัน

โดย NIM ไตรมาส 3/2563 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 2.65-2.70% จาก 2.73% ในไตรมาส 2/2563 เป็นผลต่อเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงก่อนหน้านี้ ประกอบกับสินเชื่อปล่อยใหม่ส่วนใหญ่ รวมถึงสินเชื่อรีไฟแนนซ์ในระยะนี้ เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง นอกจากนี้ เพดานใหม่สำหรับดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ก็เริ่มมีผลบังคับแล้ว ตั้งแต่เดือนส.ค. 2563 ที่ผ่านมา

ด้าน “คุณภาพสินเชื่อ” ในพอร์ตถดถอยลง ตามสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจ คาดว่า สัดส่วน NPLs ของระบบธนาคารไทยในไตรมาส 3/2563 จะขยับขึ้นไปที่กรอบประมาณ 3.25-3.35% จากระดับ 3.21% ในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของมาตรการพักชำระหนี้ของภาคธุรกิจ ประกอบกับคาดว่า ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะเร่งจัดการปัญหาหนี้เสียในเชิงรุกมากขึ้น ทั้งด้วยวิธีการตัดขายหนี้ด้อยคุณภาพ และเร่งปรับโครงสร้างหนี้

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การตั้งสำรองฯ จะยังอยู่ในระดับสูงในไตรมาส 3/2563 แม้จะมีการตั้งสำรองฯ ก้อนใหญ่ไปแล้วในไตรมาส 2/2563 ดังนั้นสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ต่อสินเชื่อ (Credit Cost) อาจชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ในกรอบประมาณ 1.80-1.95% ในไตรมาส 3/2563 เทียบกับ 2.15% ในไตรมาส 2/2563

“ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ คงเตรียมความพร้อมในส่วนนี้ไว้เพื่อรองรับปัญหาคุณภาพหนี้ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ทยอยสิ้นสุดลงหลังในเดือนตุลาคมนี้” 

โจทย์ยาก เมื่อ SMEs หมดมาตรการ “พักหนี้”

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เมื่อจบไตรมาส 3/2563 สินเชื่อที่ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์จะมีสัดส่วนประมาณ 28.5% ต่อสินเชื่อรวม ลดลงเล็กน้อยจากสัดส่วนประมาณ 31.0% ต่อสินเชื่อรวมในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากลูกหนี้บางส่วนกลับมาชำระคืนหนี้ได้ตามปกติหลังมาตรการช่วยเหลือรอบแรกทยอยสิ้นสุดลง

“การประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้บุคคลและลูกหนี้ธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs หลังจากมาตรการพักหนี้สิ้นสุดลง ยังคงเป็นโจทย์ยากและมีความท้าทายสำหรับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากลูกหนี้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังมีสถานะทางการเงินที่เปราะบาง ขณะที่สัญญาณอ่อนแอทางเศรษฐกิจที่ลากยาวต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้กลุ่มนี้ได้อีกในอนาคต” 

ดังนั้น แม้มาตรการพักชำระหนี้ธุรกิจเป็นการทั่วไปจะทยอยสิ้นสุดลง แต่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะยังคงให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ทั้งลูกหนี้ธุรกิจและลูกหนี้รายย่อยในรูปแบบอื่นต่อไป ควบคู่ไปกับการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ตามแนวทางของธนาคาร หรือผ่านโครงการ DR BIZ มาตรการรวมหนี้ ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 ซึ่งยังสามารถเข้าโครงการได้จนถึงสิ้นปี 2563

โดยหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาความสอดคล้องกันระหว่างกระแสรายได้-ภาระหนี้ ซึ่งแยกตามลักษณะของลูกหนี้แต่ละกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและมีจังหวะและโอกาสในการฟื้นธุรกิจแตกต่างกัน

Photo : Shutterstock

ไตรมาสสุดท้าย “ทรุดหนักกว่า” 

การประคองความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ยังคงมีความท้าทายไม่น้อยไปกว่าหลายๆ ไตรมาสที่ผ่านมา เพราะแม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทยอยกลับมาหลังการคลายล็อกดาวน์ แต่ก็เป็นการฟื้นตัวที่เปราะบางมากเพราะแรงขับเคลื่อนพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ยังไม่สามารถฟื้นกลไกการทำงานกลับมาได้อย่างเต็มที่

“ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ คาดว่าจะยังเป็นช่วงที่ธนาคารมีค่าใช้จ่ายรวมสูงกว่าไตรมาสอื่นๆ เพราะมีทั้งค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ที่น่าจะยังอยู่ในระดับสูง ค่าแคมเปญการตลาด ค่าอุปกรณ์และสถานที่ และรายจ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งท้ายที่สุด คาดว่าจะมีผลกดดันให้กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยติดลบ YoY ต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยระดับกำไรสุทธิมีแนวโน้มลดต่ำลงกว่ากำไรสุทธิในไตรมาส 3/2563 ซึ่งคาดไว้ที่ประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท”

 

]]>
1300840
โลกแฟชั่นยังซึม Uniqlo คาดการณ์กำไรปีนี้ร่วง -50% แม้ยอดขายฟื้นตัวแรงในญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1287433 Mon, 13 Jul 2020 03:36:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287433 Uniqlo ปรับคาดการณ์กำไรจากการดำเนินงานและกำไรสุทธิรอบปีบัญชี 2019-2020 ลงจากเดิมที่เคยประเมินไว้เมื่อเดือนเมษายน คาดหดตัว -50% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าสถานการณ์ยอดขายในญี่ปุ่นและจีนจะดีขึ้นแล้วจากการเปิดเมืองและเทรนด์เสื้อผ้าฤดูร้อน สาเหตุที่กำไรยังทรุด เพราะยอดขายสาขาอื่นๆ รอบโลกยังไม่กระเตื้อง

Fast Retailing บริษัทแม่ของแบรนด์เสื้อผ้า Uniqlo ปรับคาดการณ์ผลกำไรประจำรอบบัญชีเดือนกันยายน 2019-สิงหาคม 2020 ลงอีก โดยกำไรจากการดำเนินการคาดว่าจะอยู่ที่ 1.3 แสนล้านเยน ลดลง -50% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนเมษายนว่ากำไรจากการดำเนินการปีนี้จะลดลง -44%

ส่วนกำไรสุทธิคาดว่าจะอยู่ที่ 8.5 หมื่นล้านเยน ลดลง -47.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์เมื่อเดือนเมษายนว่าจะทำกำไรสุทธิที่ 1 แสนล้านเยน

การปรับคาดการณ์ครั้งนี้เกิดจากผลขาดทุนจากการดำเนินงานสูงถึง 4 พันล้านเยนช่วงไตรมาสที่สามของรอบปีบัญชี (มีนาคม-พฤษภาคม 2020) ซึ่งเป็นช่วงที่หลายประเทศทั่วโลกใช้นโยบายล็อกดาวน์ ลดการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 และหากรวม 9 เดือนแรกของรอบปีบัญชี (กันยายน 2019-พฤษภาคม 2020) บริษัทมียอดขายลดลง -15.2% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน และกำไรสุทธิอยู่ที่ 9 หมื่นล้านเยน ลดลง -42.9%

หน้ากากผ้า AIRism ของ Uniqlo อีกหนึ่งสินค้าขายดีช่วยดันยอดขายในญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม Fast Retailing มั่นใจว่าบริษัทจะฟื้นตัวได้ดีในช่วงโค้งท้ายของรอบปีบัญชีนี้ เนื่องจากยอดขายในญี่ปุ่นและจีนเติบโตเหนือความคาดหมาย

เฉพาะใน ญี่ปุ่น ยอดขายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเติบโต 26% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดขายของ Uniqlo สามารถดีดตัวขึ้นมาได้หลังจากหดตัว -57% เมื่อเดือนเมษายน และหดตัว -18% ในเดือนพฤษภาคม อานิสงส์จากการยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้มีดีมานด์เสื้อผ้าคอลเลกชันฤดูร้อนเพิ่มขึ้น

ด้านตลาดประเทศจีนซึ่งเป็นอีกหนึ่งตลาดใหญ่ สาขา Uniqlo กว่า 90% ในจีนกลับมาเปิดทำการแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม ทำให้บริษัทเชื่อมั่นว่ายอดขายจะฟื้นตัวกลับมา

แต่เหตุที่บริษัทยังมองภาพรวมกำไรสุทธิจะลดลงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ เพราะตลาดต่างประเทศอื่นๆ เช่น เกาหลีใต้ อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ยุโรป สหรัฐอเมริกา จะยังไม่ฟื้น โดยคาดว่ายอดขายของตลาดเหล่านี้จะลดลง -40% ในไตรมาสสุดท้ายของรอบปีบัญชี โดยเฉพาะในสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ คาดว่าจะลดลงถึง -50%

Source: Nikkei, Hypebeast

]]>
1287433
KBank เปิดงบไตรมาส 1/63 กำไร 6,581 ล้านบาท ลดลง 34.47% จับตา NPL เพิ่ม https://positioningmag.com/1274510 Tue, 21 Apr 2020 04:54:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274510 พิษไวรัส COVID-19 กระทบเศรษฐกิจ “กสิกรไทย” แจ้งไตรมาส 1 ปี 63 กำไร 6,581 ล้านบาท ลดลง 34.47% รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลงจากมาตรฐานบัญชีใหม่ ธนาคารจับตา NPL เพิ่ม

พัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของธนาคารในไตรมาส 1 ปี 2563 โดยธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2563 จำนวน 6,581 ล้านบาท ลดลง 34.47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 28,082 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการเติบโตของสินเชื่อ และการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อด้วยวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) จากเดิมรับรู้ตามสัญญา ซึ่งเป็นการปฏิบัติตาม TFRS 9 รวมถึงการปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลง

ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (NIM) อยู่ที่ระดับ 3.49% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2562 ที่อยู่ระดับ 3.32%

ด้านรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ที่ 7,372 ล้านบาท ลดลง 39.78% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเนื่องมาจากผลกระทบของ COVID-19 รวมทั้ง TFRS 9 กำหนดให้จัดประเภทและวัดมูลค่าของเงินลงทุนใหม่ โดยสะท้อนในรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยนี้

ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ อยู่ที่ 17,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.19% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายในการจัดการหนี้ ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และค่าใช้จ่ายกิจกรรมทางการตลาด ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to Income Ratio) อยูที่ระดับ 49.31%

ธนาคารมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) เพิ่มขึ้นจำนวน 4,292 ล้านบาท จากปีก่อน โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบเพื่อให้สอดคล้องกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19

เงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (NPL gross) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 3.86% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2562 ที่อยู่ระดับ 3.65% โดยธนาคารได้มีการติดตาม ให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งควบคุมดูแลคุณภาพสินเชื่อของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างใกล้ชิด

ขณะที่อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 138.66% โดยสิ้นปี 2562 อยู่ที่ระดับ 148.60%

“กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาส 1 ปี 2563 หดตัวลงในเกือบทุกภาคส่วน เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส  COVID-19 โดยภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกหดตัวลงสอดคล้องกับสัญญาณถดถอยของเศรษฐกิจโลก ขณะที่มาตรการปิดเมืองของหลายประเทศมีผลกระทบต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ  นอกจากนี้ยังกดดันบรรยากาศการใช้จ่ายภายในประเทศ และสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินไทย ซึ่งทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และใช้มาตรการเพิ่มเติมในการดูแลเสถียรภาพของระบบการเงิน ขณะที่ภาครัฐเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19″ 

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 3,483,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.76% จากสิ้นปี 2562 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ และการเติบโตของสินเชื่อ สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 อยู่ที่ 18.53% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 15.17%

 

 

]]>
1274510
วิเคราะห์ผลกำไรแบงก์ 9 เดือนแรกโต 2.39% รายได้พิเศษช่วยหนุน-สินเชื่อยังแผ่ว https://positioningmag.com/1250729 Thu, 24 Oct 2019 05:29:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1250729 ผลการดำเงินกลุ่มธนาคารพาณิชย์ชะลอตัว ไตรมาส 3/62 กำไรสุทธิรวม 57,800 ล้านบาท ขยับเพียง 1.80% ขณะที่งวด 9 เดือนกำไรสุทธิ 170,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.39% โดยได้รับปัจจัยหนุนจากกำไรพิเศษจากการขายทรัพย์สินของแบงก์ ขณะที่รายได้หลักจากการปล่อยสินเชื่อยังไม่กระเตื้อง

แม้ว่าผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งจะทยอยออกมาตั้งแต่สัปดาห์ก่อนจนครบถ้วนในช่วงสัปดาห์นี้ แต่เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมของทั้งระบบจึงได้รวบรวมผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 11 แห่งพร้อมบทวิเคราะห์รายละเอียดมาให้พิจารณากันอย่างรอบด้านขึ้น

ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งประกอบไปด้วย ธนาคารกรุงเทพ (BBL), ธนาคารกรุงไทย(KTB), ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB), ธนาคารกสิกรไทย (KBANK), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY), ธนาคารธนชาต (TBANK), ธนาคารทหารไทย (TMB), ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMBT), ธนาคารทิสโก้ (TISCO), ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) และธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LHFG) ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2562

  • กำไรสุทธิ

จำนวนรวมทั้งสิ้น 57,811 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,024 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 56,878 ล้านบาท โดยธนาคาร 8 แห่งมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ได้แก่ BBL,SCB,KBANK,BAY,TBANK,CIMBT ,TISCO และ KKP ธนาคารที่เหลืออีก 3 แห่ง ได้แก่ KTB,TMB และ LHFG มีผลกำไรที่ลดลง

  • ส่วนผลประกอบการ

ในงวด 9 เดือนปี 2562 ธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งมีผลกำไรสุทธิ 170,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,973 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.39% โดยมีธนาคาร 6 แห่งมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ได้แก่ BBL,SCB,BAY,TBANK,CIMBT,TISCO และธนาคาร 5 แห่ง มีกำไรสุทธิลดลงได้แก่ KTB,KBANK,TMB,KKP และ LHFG

ปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีกำไรเพิ่มขึ้นมาจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ทั้งจากการธุรกิจแบงก์แอชชัวรันส์ ธุรกิจกองทุน ยกเว้นรายได้ค่าธรรมเนียมที่ยังไม่กระเตื้องขึ้นหลังจากที่ธนาคารได้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล

  • รายได้ที่มาจากดอกเบี้ย

ยังไม่ค่อยสดใสนักจากอัตราการตัวของสินเชื่อที่ยังอยู่ในระดับต่ำตามภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนของสินเชื่อธุรกิจ ขณะที่สินเชื่อรายย่อยยังคงเติบโตได้ดี รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพียงขาเดียวของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีธนาคารพาณิชย์ในบางแห่งที่มีผลกำไรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้รายการพิเศษ อาทิ การขายกิจการต่างๆ และในทางกลับกันก็มีธนาคารพาณิชย์บางแห่งทีมีผลกำไรลดลงในอัตราสูงเนื่องจากเทียบกับฐานที่สูงจากการรับรู้รายการพิเศษในช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • ค่าใช้จ่าย

ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังคงมีค่าใช้จ่ายจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ตามความเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละธนาคาร ขณะที่ค่าใช้จ่ายจากดำเนินงานยังเป็นไปตามแนวทางการดำเนินธุรกิจของแต่ละธนาคารที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายทางการตลาดและค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่แตกต่างกัน

ธนาคารกรุงเทพ (BBL)

รายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2562 จำนวน 9,438 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.5% จากไตรมาส 3 ปีก่อนที่มีกำไร 9,029 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 9.6% เป็นผลจากการเติบโตของค่าธรรมเนียมจากบริการประกันผ่านธนาคารและบริการกองทุนรวม

สำหรับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงเล็กน้อย 1.7% ตามการลดลงของสินเชื่อ ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจานวน 2,001,445 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 จากสิ้นเดือนมิถุนายน 2562 จากการลดลงของสินเชื่อลูกค้าธุรกิจ ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง และการชำระคืนหนี้ของสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)

แจ้งผลการดำเนินงานสำหรับงวด 9 เดือน ปี2562 เมื่อเปรียบเทียบกับงวด 9 เดือน ปี 2561ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 29,924ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน1,502 ล้านบาท หรือ 4.78% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 4,051 ล้านบาท หรือ 5.54%

ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยรับของเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 2,753 ล้านบาท หรือ6.20% ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยลดลง และการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล ทั้งนี้ ธนาคารมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบเพื่อให้สอดคล้องกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนNPL อยู่ที่ระดับ 3.53% จากสิ้นปี 2561 อยู่ที่ระดับ 3.34%

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

รายงานกำไรสุทธิของไตรมาส 3 ปี 2562จำนวน 14,798 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นผลจากกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจปกติจำนวน 10,484 ล้านบาทและกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตจำนวน 11,644ล้านบาท

ซึ่งในไตรมาสนี้ ธนาคารได้ตั้งสำรองเพิ่มเติมอีก 9,100 ล้านบาทจากสำรองปกติที่จำนวน 6,173 ล้านบาทรวมเป็นเงินสำรองทั้งสิ้น 15,273 ล้านบาท สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2562 ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 34,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็น 3.01% จาก 2.77% ณ เดือนมิถุนายน 2562 การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อด้อยคุณภาพเป็นผลมาจากความผันผวนของเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)

รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2562 มีกำไรสุทธิ 6.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปี 2562 โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 26.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.7% จากช่วงเดียวกันของปี 2561

โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ในการบันทึกกำไรจากการขายหุ้นของบริษัท เงินติดล้อ จำกัด และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุน และการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิตามการขยายตัวของสินเชื่อที่ 6.4% จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นการเติบโตของสินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ โดยมีสินเชื่อเพื่อรายย่อยยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก

Source

]]>
1250729
KBank ประกาศผลกำไร 9 เดือน 29,900 ล้าน ลดลง 4.78% https://positioningmag.com/1250533 Mon, 21 Oct 2019 18:37:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1250533 ธนาคารกสิกรไทยเปิดผลการดำเนินงานสำหรับงวด 9 เดือน ปี 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับงวด 9 เดือน ปี 2561 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 29,924 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน 1,502 ล้านบาท หรือ 4.78%

โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 4,051 ล้านบาท หรือ 5.54% ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยรับของเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin:NIM) อยู่ที่ระดับ 3.34%

สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 2,753 ล้านบาท หรือ 6.20% ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยลดลง และการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล ในขณะที่รายได้จากการจำหน่ายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 2,684 ล้านบาท หรือ 5.49% ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 43.41%

ทั้งนี้ ธนาคารมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบเพื่อให้สอดคล้องต่อความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

ส่วนผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 9,951ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนจำนวน 22 ล้านบาท หรือ 0.23% และเพิ่มขึ้น 2.13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 326 ล้านบาท หรือ 1.27%

โดยมีอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin:NIM) อยู่ที่ระดับ 3.34% รวมถึงรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจำนวน 2,139 ล้านบาท หรือ 15.68% ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากรายได้จากการจำหน่ายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น

ขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน โดยในไตรมาสนี้ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 42.52% อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบเพื่อให้สอดคล้องต่อความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 ธนาคารและบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมจำนวน 3,240,134 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2561 จำนวน 85,043 ล้านบาท หรือ 2.70% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนสุทธิและเงินให้สินเชื่อ สำหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPLgross) ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 อยู่ที่ระดับ 3.53%

ขณะที่สิ้นปี 2561 อยู่ที่ระดับ 3.34% อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 อยู่ที่ระดับ 153.58% โดยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ระดับ 160.60% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 อยู่ที่ 19.10% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 16.76%

Source

]]>
1250533
SCB ประกาศผลกำไรสุทธิไตรมาส 3 จำนวน 14,798 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.8% https://positioningmag.com/1250274 Fri, 18 Oct 2019 08:28:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1250274 ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทย่อยรายงานกำไรสุทธิของไตรมาส 3 ปี 2562 จำนวน 14,798 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจปกติจำนวน 10,484 ล้านบาท และกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตจำนวน 11,644 ล้านบาท 

ซึ่งในไตรมาสนี้ ธนาคารได้ตั้งสำรองเพิ่มเติมอีก 9,100 ล้านบาทจากสำรองปกติที่จำนวน 6,173 ล้านบาท รวมเป็นเงินสำรองทั้งสิ้น 15,273 ล้านบาท สำหรับเก้าเดือนแรกของปี 2562 ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 34,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2562 สินเชื่อโดยรวมมีการขยายตัวในระดับปานกลางที่ 2.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตามรายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2562 เพิ่มขึ้น 7.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นจำนวน 26,191 ล้านบาท จากกลยุทธ์ของธนาคารในการบริหารความเสี่ยงและการปรับพอร์ตสินเชื่อด้วยการเพิ่มสัดส่วนของสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง

รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาส 3 ปี 2562 (ที่ไม่รวมรายการพิเศษ) ค่อนข้างทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้หลักจากค่าธรรมเนียมสุทธิ (recurring fee) ยังคงเติบโต โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมจากการให้สินเชื่อและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับความมั่งคั่ง (wealth products)

รายได้จากการดำเนินงาน (ซึ่งรวมกำไรพิเศษเพิ่มขึ้น 74.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นจำนวน 60,452 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าการเติบโตของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงเป็น 29.1% ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562

ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ เพิ่มขึ้นเป็น 3.01% จาก 2.77% ณ เดือนมิถุนายน 2562 การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อด้อยคุณภาพเป็นผลมาจากความผันผวนของเศรษฐกิจในปัจจุบัน อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2562 อยู่ที่ 144% สำหรับเงินกองทุนตามกฎหมายของธนาคารอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18.0%

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“ในไตรมาสที่ 3 นี้ ธนาคารมีการบันทึกกำไรที่เกิดจากการขายบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต แต่เนื่องจากธนาคารเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความแข็งแกร่งเพื่อรองรับกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ธนาคารจึงได้เพิ่มระดับการตั้งสำรองเพื่อรองรับหนี้ด้อยคุณภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในขณะเดียวกัน ธนาคารเล็งเห็นศักยภาพในการขยายธุรกิจเพื่อที่จะเพิ่มรายได้ โดยเฉพาะจากธุรกิจความมั่งคั่ง และธุรกิจประกันชีวิตที่ธนาคารจะเริ่มต้นการทำงานร่วมกับพันธมิตร FWD Group ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 นี้เป็นต้นไป รวมถึงธนาคารยังคงแสวงหาโอกาสในการลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาวให้แก่ธนาคาร”

]]>
1250274
AIS เผย 9 เดือนแรกปี 61 ฟันกำไรสุทธิ 22,843 ล้านบาท https://positioningmag.com/1195495 Fri, 02 Nov 2018 05:24:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1195495 AIS ประกาศผลประกอบการช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 มีรายได้รวม 125,271 ล้านบาท เติบโตขึ้น 7.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

มาจากอัตราการใช้งาน 4G ที่เพิ่มขึ้น จำนวนลูกค้า AIS Fibre ที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการรวมธุรกิจ CSL ที่ให้บริการลูกค้าองค์กร ส่งผลให้มีรายได้รวม 125,271 ล้านบาท ทำให้มีกำไรสุทธิ 22,843 ล้านบาท เติบโตขึ้น 2.1% จากปีก่อน

ส่วนกำไรสุทธิของไตรมาสที่ 3 ทำได้ 6,800 ล้านบาท

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่เติบโต 1.4% หลังตลาดโดยรวมมีการชะลอการเติบโตจากการแข่งขันด้านราคา โดยเฉพาะในแพ็กเกจรูปแบบการใช้งานไม่จำกัดด้วยความเร็วคงที่ (fixed-speed unlimited)

ไตรมาส 3 ลูกค้ามือถือเพิ่ม 5.53 แสนเลขหมาย

ในไตรมาส 3 มีลูกค้าเพิ่มขึ้น 552,300 เลขหมาย การใช้งานดาต้าของลูกค้าเฉลี่ยยังคงเพิ่มขึ้นเป็น 10 กิกะไบต์ต่อเดือน และอัตราการใช้งาน 4G ขยายตัวมาอยู่ที่ 57% ของลูกค้ารวม 40.6 ล้านราย

ล่าสุด AIS ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ Jaymart เพื่อขยายช่องทางการเข้าถึงลูกค้าและเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz ความกว้าง 40 MHz (Super Block) ช่วยให้ 4G ของเอไอเอสมีความเร็วเพิ่มขึ้นถึง 15-30%

อินเทอร์เน็ตบ้าน ลูกค้า 6.76 แสนราย

ธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน AIS Fibre ยังคงมีรายได้เติบโต 48% เทียบกับช่วงเก้าเดือนของปีก่อน จากฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 676,700 ราย ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ โดยยังคงมีเป้าหมายหลักในการเป็นผู้ให้บริการรายสำคัญในอีก 2-3 ปี โดยสร้างความแตกต่างด้านเทคโนโลยีไฟเบอร์แท้ (Pure Fibre) และการผนวกรวมบริการของ AIS ทั้งอินเทอร์เน็ตบ้าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และดิจิทัลคอนเทนต์.

]]>
1195495