คืนช่อง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 29 May 2019 09:16:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สปริงนิวส์ “จอดำ” ช่องแรก ส.ค.นี้ ให้ทีวีดิจิทัล “ทุกช่อง” รับแบงก์การันตีคืน https://positioningmag.com/1232037 Wed, 29 May 2019 08:23:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232037 มีความคืบหน้าการคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล” 7 ช่องที่แจ้งหนังสือไว้กับ กสทช. เมื่อวันที่ 10 .. 2562 โดยมีเวลา 60 วันในการส่งเอกสารงบการเงินเพื่อให้ คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาขั้นตอนเยียวยาผู้บริโภคและพนักงานสปริงนิวส์เป็นช่องแรก ที่ส่งแผนและเข้าสู่กระบวนการจอดำในเดือน ..นี้

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังจากทีวีดิจิทัล 7 ช่อง คือ ช่อง 13, ช่อง 28, MCOT Family, สปริงนิวส์ 19, สปริง 26, วอยซ์ทีวีและไบรท์ทีวี ได้แจ้งคืนใบอนุญาตกับ กสทช. ล่าสุด “สปริงนิวส์” ช่อง 19 เป็นรายแรกที่ส่งเอกสารงบการเงิน, แผนเยียวยาผู้บริโภค และแผนเยียวยาพนักงาน เข้ามาให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณา

โดย สปริงนิวส์ ได้แจ้งแผนเยียวยาพนักงานที่ต้องถูกเลิกจ้างจากการคืนใบอนุญาต โดยจ่ายเงินชดเชยเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และบวกเพิ่มอีก 1 เดือน โดยไม่ได้ระบุถึงจำนวนพนักงานที่จะถูกเลิกจ้าง

ฐากร ตัณฑสิทธิ์

ขั้นตอนการพิจารณาหลังจากนี้ สำนักงาน กสทช.จะส่งเอกสารของสปริงนิวส์ให้คณะอนุกรรมการเยียวยาพิจารณาในวันที่ 4 มิ.ย.นี้ รวมทั้งคณะกรรมการ กสทช. เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนเยียวยาผู้บริโภค คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการเยียวยาผู้บริโภค คือการแจ้งเป็นตัววิ่งที่หน้าจอสปริงนิวส์ว่าจะยุติให้บริการ โดยน่าจะใช้เวลาแจ้ง 30 วัน คือจบในสิ้นเดือน ก.ค. ดังนั้น สปริงนิวส์ จะยุติให้บริการเป็นช่องแรก ในเดือน ส.ค. 2562 และรับเงินชดเชยการคืนช่อง  

แต่ระหว่างนี้หากทีวีดิจิทัลช่องที่ขอคืนใบอนุญาตรายอื่นๆ ส่งเอกสารเข้ามาเพิ่มเติม สำนักงานจะบรรจุวาระ เพื่อพิจารณาพร้อมกับช่องสปริงนิวส์ ในวันที่ 4 มิ.ย.นี้ เช่นกัน และอาจมีช่องที่ยุติให้บริการเพิ่มเติม

ออกประกาศฯ คืนแบงก์การันตี “ทุกช่อง”

วันนี้ (29 พ.ค.) สำนักงาน กสทช.ได้ออกประกาศ หลักเกณฑ์คืนหนังสือค้ำประกันการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการทีวีดิจิทัล ซึ่งเป็นไปตาม คำสั่ง คสช. มาตรา 44 แก้ปัญหาทีวีดิจิทัล โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญ คือ

  1. ให้ทีวีดิจิทัล “ทุกช่อง” ส่งหนังสือต่อสำนักงาน กสทช. เพื่อขอคืนหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) งวดที่ 5 และ 6 ตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย. 2562 เป็นต้นไป  โดย กสทช.จะพิจารณาคืนให้ภายใน 7 วัน ซึ่งเป็นไปตาม มาตรา 44 ที่สนับสนุนเงินค่าประมูลใบอนุญาตงวดที่ 5 และ 6
  2. สำหรับทีวีดิจิทัลช่องที่จ่ายเงินค่าใบอนุญาตงวดที่ 4 แล้ว โดยไม่ได้ใช้สิทธิพักชำระหนี้ ตามมาตรา 44 เมื่อปี 2561 ซึ่งมีเพียง 3 ช่อง คือ ช่อง 7, เวิร์คพอยท์ทีวีและสปริงนิวส์ 19 ทั้ง 3 ช่องนี้ ให้ส่งหนังสือแจ้งขอคืนแบงก์การันตี งวดที่ 4 พร้อมงวดที่ 5 และ 6 ได้ทันที
  3. ทีวีดิจิทัลอีก 19 ช่อง ที่ใช้สิทธิพักชำระจ่ายเงินค่าใบอนุญาตงวดที่ 4 ในกลุ่มที่ “ไม่ได้คืนใบอนุญาต” ให้นำเงินงวดที่ 4 มาจ่ายให้ กสทช.ภายในวันที่ 8 ส.ค. 2562 แต่หากยังไม่สามารถจ่ายเงินได้ ให้จ่ายดอกเบี้ยอัตรา 7.5% ต่อปี ได้ถึงวันที่ 23 พ.ค. 2564 ซึ่งเป็นไปตามสิทธิการพักจ่ายค่าใบอนุญาตตามมาตรา 44 ปี 2561 กำหนดระยะเวลาไว้ 3 ปี หลังครบกำหนดพักชำระหนี้และจ่ายเงินงวดที่ 4 ให้ กสทช.แล้ว จะคืนแบงก์การันตี
  4. ส่วนทีวีดิจิทัลช่องที่ “คืนใบอนุญาต” หลัง กสทช.อนุมัติแผนเยียวยาผู้บริโภค และยุติการให้บริการแล้ว จะได้รับเงินค่าชดเชยคืนช่องจาก กสทช. โดยจะหักกลบลบหนี้ งวดที่ 4 ก่อนจะคืนเงินชดเชยส่วนที่เหลือ และแบงก์การันตีงวดที่ 4 ภายใน 15 วัน
  5. ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล 4 บริษัท 7 ช่อง คือ ไทยรัฐทีวี, โมโน, อสมท 2 ช่อง และ บีอีซี 3 ช่อง ที่วางหนังสือค้ำประกันค่าใบอนุญาตรวม 3 งวดไว้ในแบงก์การันตีใบเดียว ในกลุ่มนี้ให้นำแบงก์การันตีค่าใบอนุญาตเฉพาะงวดที่ 4 มาเปลี่ยน เพื่อลดวงเงินงวดที่ 5 และ 6 ที่จะได้รับคืน
]]>
1232037
อวสานโลกสวย..ทีวีดิจิทัล กสทช. กลืนเลือด กว่า 3 หมื่นล้าน ปิดฉาก 7 ช่อง 15 ช่องขอไปต่อ https://positioningmag.com/1229276 Fri, 10 May 2019 13:04:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1229276 หลังจาก กสทช.จัดประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่อง ในเดือน ธ.ค. 2556 ได้เงินไปกว่า 50,862 ล้านบาท ภายใต้ใบอนุญาต 15  ปี แต่หลังจากเริ่มต้นออกอากาศในเดือน เม.ย.2557 เพียงปีเดียว “ไทยทีวี” เลิกกิจการ 2 ช่อง เมื่อผ่านไป 5 ปี วันนี้ (10 พ.ค.) มีทีวีดิจิทัลแจ้ง “คืนช่อง” รวม 7 ช่อง ประเมินเงินชดเชยอยู่ที่ 4,000 ล้านบาท ต้องใช้งบแก้ปัญหาทีวีดิจิทัลครั้งนี้กว่า 3 หมื่นล้าน และสถานการณ์นี้หลีกเลี่ยงไม่ได้กับผลกระทบที่จะเกิดกับพนักงานที่ต้องถูกเลิกจ้างราว 2,000 คน

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังจากสิ้นสุดเวลา 16.30 น. ของวันที่ 10 พ.ค. 2562 ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่ต้องการ “คืนใบอนุญาต” ตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44 มาแจ้งสิทธิการขอคืนช่อง และรับเงินชดเชยราว 55% ของใบอนุญาตงวดที่ 1-4 ที่ได้จ่ายให้ กสทช.มาแล้ว

สรุปวันนี้มีช่องทีวีดิจิทัลแจ้งคืนใบอนุญาตรวม 7 ช่อง ประกอบด้วย  1.สปริงส์นิว 19 2.วอยซ์ทีวี 3.สปริง 26 4. MCOT Family (อสมท) 5.ไบรท์ทีวี 6.ช่อง 3 SD (ช่อง 28)  และ 7.ช่อง 3 Family (ช่อง13)

โดยขั้นตอนหลังจากนี้ ผู้ประกอบการที่แจ้งคืนช่อง ต้องส่งเอกสารหลักฐานผลประกอบการภายใน 60 วัน และแผนเยียวยาผู้ชมด้วยการขึ้นตัววิ่ง แจ้งให้ผู้ชมรับรู้ว่าจะยุติบริการเมื่อไหร่ โดยต้องแจ้งอย่างน้อย 30 วัน ดังนั้นกระบวนการหลังแจ้งคืนช่องถึงยุติบริการน่าจะอยู่ในเดือน ส.ค.นี้ จากนั้น กสทช.จะจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ประกอบการคืนช่อง และหลังจากนั้นจะเหลือผู้ให้บริการทีวีดิจิทัล ช่องธุรกิจ 15 ช่อง นอกจากนี้ยังมีช่องบริการสาธารณะอีก 4 ช่อง คือ ช่อง 5 ช่อง 11 ไทยพีบีเอส และช่องรัฐสภา

คนสื่อตกงาน 2,000 คน

จากจำนวนช่องทีวีดิจิทัลที่แจ้งคืนใบอนุญาต 7 ช่อง ฐากรบอกว่าแต่ละช่องน่าจะมีพนักงานช่องละ 300 คน การเลิกกิจการทีวีดิจิทัลครั้งนี้ จะทำให้มีพนักงานถูกเลิกจ้างราว 2,000 คน จึงต้องการให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลที่คืนช่อง พิจารณาจ่ายเงินชดเชยการเลิกจ้างให้เหมาะสม โดยอาจจ่ายให้มากกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด

สิ่งสำคัญที่นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ออกมาตรา 44 มาแก้ปัญหาทีวีดิจิทัลและจ่ายเงินชดเชย ก็เพื่อให้นำไปช่วยเหลือพนักงานที่ได้รับกระทบถูกเลิกจ้างและตกงาน จึงขอให้ทีวีดิจิทัลนำเงินเยียวยากลับคืนพนักงานให้ดีกว่ากฎหมายแรงงานกำหนดไว้

จ่ายเงินชดเชย 4,000 ล้าน

จากการประเมินของโบรกเกอร์ วิเคราะห์การคืนช่อง “ทีวีดิจิทัล” 7 ช่อง คาดว่าจะต้องจ่ายเงินชดเชยประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยมีการคำนวณจากสูตรชดเชยคืนช่อง ของ 7 ช่อง ประกอบด้วย ช่อง 3 family มูลค่า 246 ล้านบาท, MCOT family 243 ล้านบาท, สปริงนิวส์ มูลค่า 520 ล้านบาท, ไบรท์ทีวี 517 ล้านบาท, วอยซ์ทีวี 530 ล้านบาท, สปริง 26 (NOW26) มูลค่า 917 ล้านบาท และช่อง 3 SD 946 ล้านบาท

ฐากร กล่าวว่าการแก้ไขปัญหาทีวีดิจิทัลด้วยการคืนในอนุญาต ถือเป็นมาตรการครั้งสุดท้ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ไม่สามารถแข่งขันได้ออกจากตลาด ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการที่ถือใบอนุญาตมากกว่า 1 ช่องได้มาหารือแนวทางแก้ไข และบอกว่า “ขาดทุน” ไปแล้วนับ “หมื่นล้านบาท” 

ทีวีดิจิทัลคืนช่อง แจง “ขาดทุน”

สำหรับทีวีดิจิทัลที่แจ้ง “คืนใบอนุญาต” ระบุเหตุผลว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมาประสบปัญหา “ขาดทุน” และต้องการปรับตัวสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์ม

อารักษ์ ราษฎร์บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทนิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ NEWS แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ “คืนใบอนุญาต” ทีวีดิจิทัล ช่องข่าว “สปริงนิวส์ 19” เนื่องจาก 5 ปีที่ผ่านมาผลประกอบการขาดทุนมาต่อเนื่อง การคืนช่องทำให้ได้รับเงินสด กสทช. มูลค่า 730.10 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินชดเชยคืนช่อง 456.5 ล้านบาท และเงินประมูลงวด 5 จำนวน 219.60 ล้านบาท

โดยแผนธุรกิจของ “นิวส์” หลังคืนช่องทีวีดิจิทัล จะเป็นผู้ให้บริการคอนเทนต์ผ่านสื่อดิจิทัล โซเชียลมีเดีย และสื่อนอกบ้าน รวมทั้งผลิตรายการทีวีให้กับช่องอื่นๆ

ด้าน บมจ. เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป หรือ NMG แจ้งคืนใบอนุญาตช่องวาไรตี้ SPRING 26 ยื่นหรือชื่อเดิม NOW 26 เหตุผลการคืนช่องเพราะไม่มีความชำนาญในการผลิตเนื้อหาประเภทวาไรตี้ และมีผลประกอบการ “ขาดทุน” ต่อเนื่องในช่วง 5 ปี รวม 2,405 ล้านบาท

เมฆินทร์ เพ็ชรพลาย

ขณะที่ เมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทวอยซ์ทีวี จำกัด เปิดเผยว่า ได้ยื่นคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล กับ กสทช.แล้ว หลังคืนช่องทีวีดิจิทัล วอยซ์ทีวี ยังคงดำเนินงานต่อ แต่ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มสู่สื่อออนไลน์ ทั้งในเว็บไซต์ ยูทูบ เฟซบุ๊กเพจ ไลน์ อินสตาแกรม และทวิตเตอร์

ตามแผนดำเนินงาน วอยซ์ทีวี 21 จะออกอากาศทีวีดิจิทัลถึงวันที่ 31 ก.ค. นี้ และระหว่างวันที่ 1-31 ก.ค. จะดำเนินการออกอากาศคู่ขนานผ่านระบบดิจิทัล ดาวเทียม และแพลตฟอร์มออนไลน์หลัก คือเฟซบุ๊กและยูทูบ

ทางด้าน สมชาย รังษีธนานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สถานีโทรทัศน์ไบรท์ทีวี กล่าวว่า การคืนใบอนุญาต ไบรท์ทีวีจะได้รับเงินชดเชยประมาณ 400 ล้านบาท ที่ผ่านมามีผลประกอบการขาดทุนสะสม 700 ล้านบาท หลังจากนี้จะปรับตัวสู่ช่องแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องทั้งยอดผู้ชมและรายได้

ปิดฉากช่องเด็ก

ในการประมูลทีวีดิจิทัล เมื่อปลายปี 2556 มีสัดส่วนช่องเด็ก 3 ช่อง พบว่าหลังออกอากาศได้ 1 ปี ช่องโลก้าของ “เจ๊ติ๋ม พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย” ขอยกเลิกประกอบกิจการพร้อมช่องไทยทีวี

สำหรับมาตรการแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล ตามมาตรา 44 ด้วยการเปิดให้คืนช่อง มีผู้รับใบอนุญาตช่องเด็กอีก 2 ช่องที่เหลือแจ้ง “คืนช่อง” คือ ช่อง 3 Family ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ และช่อง MCOT Family ช่อง 14

เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังคืนช่องเด็กแล้ว อสมท จะมุ่งเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้รายการของช่อง 9 MCOT HD กลับมาครองความนิยมจากผู้บริโภคในอับดับท็อป 10 อีกครั้ง ในปี 2562-2565 เน้นการพัฒนาคอนเทนต์ ดาต้า และปรับปรุงกระบวนการภายใน รวมทั้งหารายได้ จากแหล่งอื่นๆ ทดแทนควบคู่กันไป

ด้าน บมจ.บีอีซี เวิลด์ ชี้แจงการคืนช่อง 3 Family และช่อง 3SD ว่ามาจากการแข่งขันสูงขึ้นในธุรกิจทีวีดิจิทัล จากจำนวนช่องที่มากเกินไป ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่กลับหดตัวลง และได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ชมที่หันไปรับชมรายการต่างๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลหลายรายได้ตัดสินใจ “คืนใบอนุญาต” ทีวีดิจิทัล

3 ค่ายมือถือรอเคาะราคาคลื่น 700 MHz

วันนี้ (10 พ.ค.) เป็นวันสุดท้ายที่กำหนดให้ผู้ประกอบการค่ายมือถือมายื่นใช้สิทธิขยายเวลาจ่ายเงินค่าใบอนุญาตคลื่น 900 MHz จาก 4 งวด เป็น 10 งวด ซึ่งค่ายมือถือทั้ง 3 ราย คือ ทรู, ดีแทค และเอไอเอส ได้มายื่นใช้สิทธิครบทั้ง 3 ราย

แต่ทั้ง 3 ค่ายมือถือ ได้ขอสงวนสิทธิพิจารณาการรับจัดสรรคลื่น 700 MHz หลังจาก กสทช.กำหนดราคาคลื่นอีกครั้ง โดยทรูระบุว่าหากราคาคลื่น 700 MHz สูงเกินไป จะไม่รับจัดสรรคลื่น เช่นเดียวกับดีแทค ที่บอกว่า ราคาคลื่น 700 ที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ยังสูงไป ขณะที่ เอไอเอส ระบุว่าหากราคาคลื่น 700 MHz สูงมาก อาจเปลี่ยนใจไม่รับจัดสรร

ตามเงื่อนไขการขอใช้สิทธิขยายเวลาจ่ายค่าคลื่น 900 MHz ตามมาตรา 44 หากทั้ง 3 ค่ายมือถือ “ไม่รับการจัดสรรคลื่น 700 MHz จะไม่ได้รับสิทธิขยายเวลาจ่ายเงินค่าประมูล และต้องกลับไปจ่ายเงินตามเงื่อนไขเดิม คือ 4 งวด 5 ปี

จัดสรรคลื่น 700 MHz คาดได้เงิน 7.5-8 หมื่นล้าน

สำหรับคลื่น 700 MHz ซึ่งเป็นการใช้งานในฝั่งทีวีและจะนำมาจัดสรรใหม่ในกิจการโทรคมนาคม เพื่อทำคลื่น 5G เบื้องต้น กสทช.กำหนดการจัดสรรคลื่น 700 MHz จำนวน 45 MHz ใบอนุญาตละ 15 MHz ราคา 25,000-27,000 ล้านบาท จำนวน 3 ใบอนุญาต รวมมูลค่า 75,000-81,000 ล้านบาท เงื่อนไขแบ่งชำระค่าใบอนุญาต 10 ปี

  • เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2562 สำนักงาน กสทช.ได้ประกาศกำหนดกรอบระยะเวลาในการจัดสรรคลื่นความถี่ในย่าน 700 MHz ดังนี้
  • วันที่ 14 พ.ค. 2562 นำร่างประกาศหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz รับฟังความคิดเห็นสาธารณะทางเว็บไซต์สำนักงาน กสทช.ซึ่งเป็นวันที่จะเปิดราคาค่าคลื่น 700 MHz
  • วันที่ 14–30 พ.ค. 2562 เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
  • วันที่ 22 พ.ค. 2562 จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
  • วันที่ 1–7 มิ.ย. 2562 คาดนำส่งประกาศหลักเกณฑ์ฯ ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา
  • วันที่ 8 มิ.ย. 2562 ออกประกาศฯ ขอรับจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz โดยผู้ที่สนใจรับจัดสรรคลื่น 700 MHz จะต้องวางหลักประกันแบงก์การันตีซึ่งจะรู้ว่ามีรายใดสนใจรับจัดสรรคลื่นในวันดังกล่าว
  • วันที่ 19 มิ.ย. 2562 เปิดให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตและจัดสรรคลื่นความถี่ 700 MHz

รับคลื่น 700 MHz รายเดียวจ่ายพอ

ฐากร กล่าวว่าในการจัดสรรคลื่น 700 MHz หากมีค่ายมือถือขอรับจัดสรรคลื่น เพียงรายเดียวซึ่งเชื่อว่ามีผู้สนใจอย่างน้อย 1 รายแน่นอน ก็น่าจะได้เงินประมาณ 25,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเพียงพอกับการจ่ายเงินชดเชยให้กับทีวีดิจิทัลที่ยื่นคืนช่องทั้ง 7 ช่อง และจ่ายเงินค่าใบอนุญาตทีวีดิจิทัลงวดที่ 5 และ 6 ให้กับผู้ประกอบการทุกรายราว 13,622 ล้านบาท

รวมทั้งจ่ายค่าโครงข่าย Mux ได้บางส่วนแต่อาจไม่ครอบคลุมระยะเวลาใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่เหลืออยู่ และ กสทช.ต้องจ่ายให้เป็นระยะเวลา 9.5 ปี แต่เนื่องจากเป็นการจ่ายรายปี ดังนั้นสามารถนำคลื่น 700 ที่เหลืออยู่ออกมาประมูลได้อีก โดยจะประมูลใบอนุญาตละ 5MHz ราคาอาจจะอยู่ที่ 7,000-8,000 ล้านบาท

โดย กสทช. ประเมินมูลค่าที่ต้องใช้แก้ปัญหาทีวีดิจิทัลทั้งหมด ไม่เกิน 32,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายโครงข่าย Mux จะใช้ลดลงจากเดิมที่คาดว่าอยู่ที่ 18,000 ล้านบาท เนื่องจากมีทีวีดิจิทัลคืนใบอนุญาต 7 ช่อง จึงไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย Mux.

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1229276