ฐานการผลิต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 29 Oct 2023 12:13:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Google” กระจายฐานผลิตสมาร์ทโฟน “Pixel” เข้าสู่ “อินเดีย” เริ่มผลิตเครื่องแรกต้นปี 2024 https://positioningmag.com/1449636 Sun, 29 Oct 2023 05:20:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449636 Sundar Pichai ซีอีโอ Alphabet ประกาศเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2023 ว่า สมาร์ทโฟน “Pixel 8” ของ Google จะเริ่มต้นผลิตเครื่องแรกใน “อินเดีย” ช่วงต้นปี 2024 โดยขณะนี้กำลังเจรจากับซัพพลายเออร์อย่าง “Dixon Technologies” สัญชาติอินเดีย และ “Bharat FIH” บริษัทในเครือ Foxconn ของไต้หวัน

การกระจายฐานผลิตเข้าสู่ “อินเดีย” ของ Google ได้รับการตอบรับอย่างดีจากรัฐบาลอินเดีย เนื่องด้วยสอดคล้องกับเป้าหมายของอินเดียที่ต้องการจะเป็นฮับการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก

“เราให้คำมั่นที่จะเป็นพาร์ทเนอร์ที่เชื่อถือได้ในการเติบโตด้านดิจิทัลของอินเดีย” Pichai ระบุในบัญชี X (ทวิตเตอร์) ของเขา

Google มีการลงทุนเทคโนโลยีด้านอื่นๆ ในอินเดียมาก่อนแล้ว เช่น Google Pay ระบบปล่อยกู้สินเชื่อดิจิทัลของค่ายนี้ถือเป็นรายใหญ่อันดับ 2 ในตลาด มีมาร์เก็ตแชร์ 33.3% เป็นรองเพียงแค่ PhonePe บริษัทที่มี Walmart เป็นเจ้าของ ซึ่งครองตลาดสินเชื่อดิจิทัลในอินเดียอยู่ 47%

นอกจากนี้ Google ยังสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลอินเดีย โดยมีการจับมือเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลหลายแห่ง เช่น Open Network for Digital Commerce (ONDC), Bhashini โปรแกรม AI ด้านภาษา, DigiKavach โครงการป้องกันการถูกหลอกลวงทางไซเบอร์ และมีกการร่วมมือกับ Fintech Association for Consumer Empowerment (FACE) เพื่อช่วยกลั่นกรองแอปพลิเคชันหลอกให้กู้เงิน

Google Pixel 8 Pro

“สิ่งที่ Google ประกาศวันนี้นั้นดีทั้งกับ Google และดีกับอินเดียด้วย” Ashwini Vaishnaw รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และไอทีกล่าว โดยการมาของ Google จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมผลิตฮาร์ดแวร์ของอินเดียเข้มแข็งยิ่งขึ้น

ในแง่ของซัพพลายเชนการผลิต ข่าววงในรายงานโดยสำนักข่าว ET Tech ระบุว่า Google มีการพูดคุยทั้งกับ “Dixon Technologies” ของอินเดีย และ “Bharat FIH” บริษัทในเครือ Foxconn ของไต้หวัน ซึ่งคาดว่าในเบื้องต้นอาจจะได้เป็นพาร์ทเนอร์ผลิตกันทั้งสองเจ้า แต่ในอนาคตเป็นไปได้ว่าเจ้าใดเจ้าหนึ่งจะได้โอกาสรวบทั้งซัพพลายเชนไว้ในมือ

แหล่งข่าวอีกรายหนึ่งระบุว่า สมาร์ทโฟน Pixel ลอตแรกที่ผลิตในอินเดียน่าจะวางจำหน่ายจริงช่วงไตรมาส 2 ปี 2024

ก่อนหน้าที่ Google จะประกาศการลงทุนในอินเดีย “Apple” ก็เป็นยักษ์ใหญ่อีกเจ้าหนึ่งที่ประกาศการลงทุนเพิ่มในอินเดียไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยบางส่วนของสมาร์ทโฟนซีรีส์ iPhone 15 จะมาผลิตในอินเดียควบคู่ไปกับบางส่วนที่ยังผลิตในจีน

ส่วนสมาร์ทโฟนเกาหลีอย่าง “Samsung” ก็ปักหมุดฐานผลิตในอินเดียมาก่อนแล้วเช่นกัน รวมถึง HP ก็ประกาศการผลิต Chromebooks ในอินเดีย สะท้อนให้เห็นว่านโยบายการผลักดันการเป็นฮับผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของอินเดียนั้นได้รับการตอบสนองจากแบรนด์ใหญ่ทั่วโลก

รัฐมนตรี Vaishnaw ยังกล่าวกับสื่อด้วยว่า รัฐบาลอินเดียกำลังชักชวนให้ Google ขยายการลงทุนด้านการผลิตชิป Tensor เข้ามาในอินเดียด้วย รวมถึงขยายไลน์ผลิตสมาร์ทโฟน Google Fold เพื่อขยายระบบนิเวศของบริษัทในอินเดียให้ลึกมากขึ้น

Source

]]>
1449636
ล็อกดาวน์ ‘เวียดนาม’ นานเกินไป สะเทือนเเบรนด์ ‘เเฟชั่น’ ยักษ์ใหญ่ทั่วโลก https://positioningmag.com/1354069 Wed, 29 Sep 2021 10:49:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1354069 การล็อกดาวน์ที่เข้มงวดเเละยาวนานเกินไปของเวียดนามจุดชนวนการขาดแคลนสินค้าเเบรนด์ดังทั่วโลก ตั้งแต่รองเท้า เสื้อกันหนาว ไปจนถึงชิ้นส่วนรถยนต์และกาแฟ

โรงงานเวียดนามต่างๆ ในเวียดนาม เป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น และสร้างความกังวลต่อเนื่องไปถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

การระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุดในเวียดนามที่มีความรุนเเรง ทำให้รัฐบาลต้องประกาศมาตรการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด ทำให้กำลังผลิตของโรงงานต่างๆ ลดลงถึง 50%

เหล่านี้ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอเเละเเบรนด์เเฟชั่นยักษ์ใหญ่อย่าง Nike และ Gap ที่ต่างพึ่งพาผู้ผลิตในประเทศเเถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ความล่าช้าและข้อจำกัดต่างๆ ในการเดินทาง ทั้งการนำเข้าสินค้าและส่งออก สร้างความปวดหัวครั้งใหญ่ให้กับธุรกิจต่างชาติที่หลายเจ้าได้ย้ายฐานผลิตจากจีน มายังอาเซียนมากขึ้น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อหลีกเลี่ยงสงครามการค้าระหว่างจีนสหรัฐฯ

Nike กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนสินค้าอุปกรณ์กีฬาและได้ปรับลดการคาดการณ์ยอดขายลงมา จากสาเหตุหลักๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโรงงานผลิตในเวียดนามกว่า 80% ในภาคใต้ และเกือบครึ่งหนึ่งของโรงงานผลิตเสื้อผ้าที่ต้องปิดทำการชั่วคราว

แม้ว่าโรงงานบางเเห่งจะปรับระบบให้พนักงานสามารถกินทำงานและนอนค้างคืน ในพื้นที่โรงงานได้เพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดการล็อกดาวน์ เเต่ก็ยังมีกำลังผลิตที่น้อยกว่าเดิมมาก

เเละถึงแม้ว่ามาตรการล็อกดาวน์จะค่อยๆ คลี่คลายลงเเล้ว เเต่เเบรนด์ต่างๆ ก็ยังกังวลกับผลกระทบระยะยาวต่อการผลิตในเวียดนาม โดย Nike และ Adidas ยอมรับว่าพวกเขาต้องการโรงงานผลิตแห่งอื่นชั่วคราว

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอเท่านั้น แต่ยังลุกลามไปยังซัพพลายของวงการกาแฟด้วย

โดยเวียดนามเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟโรบัสต้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มักใช้ในกาแฟสำเร็จรูปทำให้ตอนนี้ราคากาแฟขึ้นสูงสุดในรอบ 4 ปี

ด้านบริษัทรถยนต์ก็มีการปรับลดการผลิตลงเช่นกัน โดยยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้าเพิ่งลดการผลิตประจำเดือน ก..และต..ลง โดยส่วนหนึ่งมาจากปัญหาโรครบะบาดที่ส่งผลกระทบหนักในเวียดนาม มาเลเซีย รวมถึงไทย

 

ที่มา : AFP , news.com.au 

]]>
1354069
เวียดนาม ลุยเเผนเศรษฐกิจ 5 ปี ลบภาพ ‘แรงงานถูก’ เร่งเป็น ‘ศูนย์กลางใหม่’ เทคโนโลยีไฮเทค https://positioningmag.com/1317386 Mon, 01 Feb 2021 07:41:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317386 รัฐบาลเวียดนาม ประกาศเเผนเศรษฐกิจ 5 ปี ฟื้นฟูประเทศจากพิษ COVID-19 ตั้งเป้าจีดีพีเติบโตสูงสุดถึง 7% เร่งพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางใหม่ของการลงทุนเทคโนโลยีไฮเทค

พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ร่วมประชุมใหญ่ในรอบ 5 ปี มีมติรับรองพิมพ์เขียวแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศ ในช่วงปี 2021-2025 กำหนดเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ที่ 6.5-7.0% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยตั้งเป้าไว้ที่ 6%

ในแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว เน้นไปที่ข้อตกลงการค้าเสรีที่ดึงดูดบรรดาบริษัทเทคโลโลยีระดับโลกให้มาตั้งโรงงานในเวียดนาม เร่งพัฒนาให้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตของเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ จากการเป็นประเทศที่ได้รับการเลือกลงทุนเพราะที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานถูกให้กลายเป็นจุดมุ่งหมายใหม่ของธุรกิจและอุตสาหกรรมด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

(Photo by Linh Pham/Getty Images)

ช่วงการระบาดของ COVID-19 เวียดนามได้อนุมัติใบอนุญาตให้Foxconn’ บริษัทอิเล็กทรอนิกส์จากไต้หวัน ผู้ผลิตสินค้าให้กับเเบรนด์ ‘Apple’ สร้างโรงงานในจังหวัดทางตอนเหนือ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน ราว 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8 พันล้านบาท) เพื่อผลิตสินค้ายอดนิยมอย่าง iPad และ MacBook โดยจะมีกำลังการผลิตราว 8 ล้านเครื่องต่อปี

Foxconn มีการลงทุนในเวียดนามไปเเล้วกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.5 หมื่นล้านบาท) เเละมีมีแผนลงทุนเพิ่มอีก 700 ล้านดอลลาร์ (ราว 2.1 หมื่นล้านบาท) พร้อมสร้างตำแหน่งงานเพิ่มอีก 10,000 ตำแหน่ง

ขณะเดียวกันผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของสหรัฐฯ อย่าง ‘Intel’ ก็ประกาศว่าจะเพิ่มการลงทุนในเวียดนามจาก 475 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเช่นกัน

เเม้ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของเวียดนามจะขยายตัวได้เป็นบวกที่ 2.9% ถือว่าดีกว่าหลายประเทศที่ต้องเจอผลกระทบอย่างสาหัสจากโรคระบาด แต่ก็ถือเป็นปีที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ซึ่งเวียดนามจะต้อง
เตรียมรับมือกับอุปสรรคมากมายที่รออยู่ข้างหน้า

โดยหลังวิกฤตเวียดนามจะต้องพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น เเละต้องมีการบริหารจัดการให้มีความยั่งยืน รวมถึงคำนึงถึงปัญหาสิ่งเเวดล้อมที่มาพร้อมกับการเติบโตของโรงงานในประเทศ

 

 

ที่มา : Reuters , Japantimes

]]>
1317386
50% ของบริษัทญี่ปุ่นเลือก “เวียดนาม” ตั้งโรงงานใหม่ หลังรัฐอัดฉีดเงินหนุนย้ายฐานจากจีน https://positioningmag.com/1288644 Tue, 21 Jul 2020 09:44:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288644 สื่อเวียดนามรายงานว่า ภายใต้โครงการสนับสนุนเงินทุนช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่นต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศ เพื่อส่งเสริมให้บริษัทย้ายฐานการผลิตออกจากจีนไปประเทศอื่นนั้น มีบริษัทญี่ปุ่น 15 แห่ง เลือกที่จะย้ายฐานมายังเวียดนาม

15 บริษัทที่ย้ายมาเวียดนามอยู่ในรายชื่อบริษัท 30 แห่ง ที่จะได้รับเงินทุนสนับสนุนสำหรับย้ายการผลิตออกจากจีน และตั้งโรงงานแห่งใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไทย และลาว

องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (Jetro) กล่าวว่า 6 บริษัทจาก 15 บริษัทที่เลือกเวียดนามนั้น เป็นบริษัทขนาดใหญ่ ส่วน 9 บริษัทที่เหลือเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ นอกจากนั้น เป็นการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ อุปกรณ์เสริมโทรศัพท์ เครื่องปรับอากาศ และเพาเวอร์โมดูล แต่ยังไม่แน่ชัดว่าบริษัทเหล่านี้จะย้ายการผลิตมาทั้งหมดหรือเป็นบางส่วนจากจีน

หนึ่งในบริษัทของญี่ปุ่นที่ย้ายออกจากจีนคือบริษัทโฮยา (Hoya Corporation) ผู้ผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดไดรฟ์ ที่คาดว่าจะไปตั้งโรงงานทั้งในเวียดนาม และลาว

(Photo by Kiyoshi Ota – Pool/Getty Images)

Jetro ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้เงินทุนช่วยเหลือบริษัทละ 100-5,000 ล้านเยนสำหรับการย้ายฐาน

เงินอุดหนุนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสร้างความหลากหลายให้แก่ซัปพลายเชนของญี่ปุ่น ที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศไว้เมื่อเดือนเม.ย. ว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 243,500 ล้านเยน เพื่อช่วยเหลือกิจการของประเทศย้ายการผลิตออกจากจีน

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ 2 ถัดจากไต้หวันที่ดำเนินการความเคลื่อนไหวดังกล่าวเพื่อสร้างความหลากหลายของซัปพลายเชนและลดการพึ่งพาจีน โดยเมื่อปีก่อนไต้หวันได้สนับสนุนจูงใจให้บริษัทต่างๆ ย้ายฐานการผลิตกลับมาที่บ้านเกิด ทั้งเม็ดเงินสนับสนุน ที่ดิน และการลดหย่อนภาษี

ญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 4 ของเวียดนาม ในแง่ของทุนจดทะเบียนในปีที่ผ่านมา รองจากเกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์

Source

]]>
1288644
จับตา! นักลงทุนมั่นใจ “เวียดนาม” สร้างฐานผลิตใหม่ ปลอดโรคระบาด หนีสงครามการค้าจากจีน https://positioningmag.com/1277745 Sun, 10 May 2020 15:46:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277745 หลังประกาศความสำเร็จในการควบคุมไวรัส COVID-19 เวียดนามกำลังวางตำแหน่งของประเทศเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับการดำเนินธุรกิจ และกำลังได้ประโยชน์จากความต้องการของผู้ผลิตต่างชาติที่มองหาความหลากหลายของห่วงโซ่อุปทานนอกเหนือไปจากจีน

รับมือได้ดี มั่นใจในการลงทุน

แม้เวียดนามจะมีประชากรมากกว่า 96 ล้านคนและมีพรมแดนติดกับจีน แต่กลับมีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19 สะสมอยู่เพียง 288 คน และยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสนี้ ผลจากการควบคุมการแพร่ระบาดที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้อยู่บนเส้นทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศเร็วกว่าประเทศอื่นๆ

“ด้วยการตอบสนองอย่างรวดเร็วของเวียดนามดังกล่าว เราคาดว่าการลงทุนจากต่างชาติจะหลั่งไหลเข้าสู่เวียดนามหลังการระบาด” บริษัท Kizuna Joint Development Corp ที่สร้างโรงงานพร้อมใช้ในเวียดนาม กล่าวกับรอยเตอร์

บริษัท Kizuna Joint Development Corp ที่มีฐานลูกค้าเป็นนักลงทุนชาวญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นส่วนใหญ่ ระบุว่า บริษัทกำลังเร่งดำเนินการโครงการก่อสร้างโรงงานขนาด 100,000 ตารางเมตร ที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของเวียดนามให้เสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากคาดการณ์ว่าความต้องการหลังการระบาดของโรคจะเพิ่มสูงขึ้น

“พื้นที่โรงงานจะพร้อมใช้งานภายในเดือน ก.ค.นี้”

ไมเคิล ซีเบิร์ก จากบริษัทที่ปรึกษา YCP Solidiance ระบุว่า ความสำเร็จของเวียดนามในการรับมือต่อการระบาดได้เพิ่มความมั่นใจให้แก่นักลงทุนต่างชาติในประเทศ

รัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการลงทุนของเวียดนามกล่าวในการประชุมออนไลน์ระหว่างนายกรัฐมนตรีเหวียน ซวน ฟุ้ก และธุรกิจต่างๆ เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ว่า การควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพของประเทศจะส่งผลดีต่อบรรยากาศการลงทุน และยังวางประเทศอยู่ในตำแหน่งใหม่บนเวทีโลก ช่วยบรรดาผู้ผลิตที่กำลังมองหาฐานการผลิตแห่งใหม่

หนีจีน มาเวียดนาม

ก่อนการระบาดของโรค COVID-19 ธุรกิจที่มีฐานในจีนหลายรายกำลังหาทางหลีกหนีค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น และผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน พวกเขามุ่งมองมาที่เวียดนาม และการบรรลุข้อตกลงทางการค้าต่างๆ ของประเทศ เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนอีกด้วย

รายงานของคณะกรรมาธิการด้านเศรษฐกิจของรัฐสภา ระบุว่า นักลงทุนต่างชาติกำลังพิจารณาการย้ายการลงทุนมาที่เวียดนามเนื่องจากความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของเวียดนามท่ามกลางการระบาด โดยบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ของสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ กำลังผลักดันให้การผลิตของพวกเขามีความหลากหลายขึ้นนอกเหนือไปจากการพึ่งพาจีน และบางบริษัทเลือกเวียดนามเป็นปลายทาง เช่น

แอปเปิล อิงค์ (Apple Inc.) วางแผนที่จะผลิตแอร์พอดส์ (AirPods) อุปกรณ์หูฟังไร้สายในเวียดนาม 3-4 ล้านเครื่อง หรือประมาณ 30% ของการผลิตแอร์พอดส์ทั้งหมด ในช่วงไตรมาสนี้ ตามการรายงานของนิตยสารนิกเกอิ เอเชียน รีวิว ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่แอร์พอดส์จะถูกผลิตในเวียดนาม ส่วนซัมซุงก็กำลังพิจารณาที่จะย้ายไลน์การผลิตบางส่วนของสมาร์ทโฟนรุ่นไฮเอนด์มายังเวียดนามเช่นกัน

ความสำเร็จของเวียดนามในการควบคุมการระบาด ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการดำเนินการตรวจหาเชื้อและการกักกันโรคคนหมู่มาก แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง มาตรการป้องกันที่เข้มงวดของทางการเหล่านี้ก็ส่งผลกระทบต่อการลงทุนเช่นกัน แม้ฮานอยจะยกเว้นการกักตัวกับกลุ่มวิศวกรของซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ และผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันชาวต่างชาติ แต่ดูเหมือนไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับบริษัทต่างๆ ที่จะขยายกิจการอย่างรวดเร็ว

ผลสำรวจของรัฐบาล พบว่า 85.7% ของบริษัท 126,565 แห่งที่ดำเนินการสำรวจในเวียดนามระบุว่า พวกเขาได้รับผลกระทบเชิงลบจากการระบาดของโรค โดยบริษัทที่ดำเนินกิจการในภาคการบิน การท่องเที่ยว อาหาร และการศึกษาได้รับผลกระทบมากที่สุด

หลัง 5 ปีของการเติบโต การลงทุนจากต่างชาติในเวียดนามลดลง 15.5% ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ที่ 12,300 ล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ แต่อย่างไรก็ตาม เวียดนามตั้งเป้าอัตราการเติบโตของจีดีพีไม่น้อยกว่า 5% ในปีนี้ แม้เป้าหมายดังกล่าวดูจะเป็นเรื่องยากในช่วงที่เศรษฐกิจโลกเผชิญต่อภาวะถดถอย

แต่เฟร็ด เบิร์ก จากบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย Baker McKenzie กล่าวว่าการตอบสนองต่อการระบาดได้สร้างความมั่นใจให้แก่ธุรกิจในประเทศ ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว

Source

]]>
1277745
“คุมาโมโตะ” ฐานผลิตเครื่องดื่ม “ซันโทรี่” และถิ่นหมี “คุมะมง” https://positioningmag.com/1219197 Mon, 11 Mar 2019 23:07:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1219197 “คุมาโมโตะ” (Kumamoto) เป็นอีก 1 จังหวัดใหญ่บนเกาะคิวชู ซึ่งอยู่ตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นฐานการผลิตสำคัญของกลุ่มเครื่องดื่ม “ซันโทรี่” (Suntory) ซึ่งก่อตั้งธุรกิจในปี 1899 หรือกว่า 120 ปี   

ซันโทรี่ เริ่มต้นธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากโรงกลั่นวิสกี้ ต่อยอดเป็นเบียร์และซอฟต์ดริ้งก์ หลากหลายของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำระดับโลก  

กลุ่มเครื่องดื่ม “นอนแอลกอฮอล์” ถือเป็นจุดแข็งและผลักดันการเติบโตของซันโทรี่มาต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่ม LRB (Liquid Refreshment Beverage) เครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นและดูแลสุขภาพ 

ปัจจุบัน “ซันโทรี่” เป็นผู้ผลิตน้ำดื่มอันดับ 1 ในญี่ปุ่น ที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท ด้วยมาร์เก็ตแชร์ 35% จากนวัตกรรมที่หลากหลายทั้งน้ำแร่ธรรมชาติ, น้ำดื่มอัดลม และกลุ่ม Flavored Water หรือ Water Plus น้ำแต่งกลิ่นรส รูปแบบ “น้ำใส”                     

จุดแข็ง R&D-แหล่งผลิตน้ำภูเขาไฟ

โงงานซันโทรี่
โงงานซันโทรี่

การก้าวสู่ผู้นำตลาดน้ำดื่มของซันโทรี่ในญี่ปุ่น คือ นวัตกรรม ที่สร้างความแตกต่างในหลายแคทิกอรี่ของกลุ่มเครื่องดื่ม รวมทั้งการเข้าใจผู้บริโภค (Consumer needs) เพื่อพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ โดยเฉพาะเทรนด์สุขภาพ ที่ขยายตัวจากสัดส่วนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นจุดแข็งของซันโทรี่  

ปัจจุบัน ซันโทรี่มีฐาน R&D Center 3 แห่ง โอซากา เกียวโต คาวาซากิ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ นวัตกรรม แพ็กเกจกิ้ง เทคโนโลยี และการควบคุมคุณภาพ

กระบวนการพัฒนา “สินค้าใหม่” เริ่มจากการรับฟังความเห็นจากผู้บริโภคและวิจัยความต้องการลูกค้าในตลาด จากนั้นเป็นการวางคอนเซ็ปต์และพัฒนาสินค้าต้นแบบ ซึ่งจะอยู่ ภายใต้ One Team เป็นการทำงานร่วมกันของ 3 ฝ่าย อาร์แอนด์ดี การตลาด และทีมสร้างสรรค์ ในปี 2017 มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่กว่า 100 โปรดักต์

ซันโทรี่ กาแฟ Boss

สำหรับฐานการผลิตเครื่องดื่มซันโทรี่ คือโรงงานที่เมือง คุมาโมโตะ เป็นโรงงานผลิตน้ำแร่ธรรมชาติ เบียร์ พรีเมียม มอลต์ กลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, กาแฟกระป๋อง Boss, เครื่องดื่มชา, วอเตอร์ พลัส รวมกว่า 63 ผลิตภัณฑ์

เมืองคุมาโมโตะ ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดน้ำสำคัญของญี่ปุ่น โดยการันตีว่าน้ำในพื้นที่คุมาโมโตะทั้ง 100% มาจาก “น้ำแร่” และโรงงานซันโทรี่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำแร่จากภูเขาไฟอะโสะ (Aso) ที่นำมาใช้ผลิตเครื่องดื่มประเภทต่างๆ 

“น้ำแต่งกลิ่นรส” เทรนด์แรง

ตลาดเครื่องดื่มที่พัฒนาจากนวัตกรรมและอาร์แอนด์ดีของซันโทรี่ และเป็นเทรนด์ที่มาแรงในญี่ปุ่นในช่วง 5 ที่ผ่านมา ต้องยกให้กลุ่ม วอเตอร์ พลัส ซึ่งเป็นเครื่องดื่มให้ความสดชื่นและดูแลสุขภาพด้วยปริมาณน้ำตาลต่ำ เป็นแคทิกอรี่น้ำดื่มที่อยู่ตรงกลางระหว่างน้ำเปล่าและเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวาน   

วอเตอร์ พลัส ในญี่ปุ่นที่เริ่มทำตลาดในปี 2007 จากสินค้านำเข้า ในปี 2010 โคคา-โคล่า เริ่มทำตลาดแบรนด์ I-Lohas น้ำดื่มแต่งกลิ่นรส กลุ่มรสชาติผลไม้ จากนั้น ซันโทรี่ ได้เริ่มเปิดตลาดในปี 2014 ภายใต้แบรนด์ Tennensui เริ่มด้วยกลิ่นรสผลไม้

ซันโทรี่ Tennensui น้ำดื่มกลิ่นรสโยเกิร์ต

จากนั้นพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมมาต่อเนื่อง ปี 2015 เปิดตัวน้ำดื่มแต่งกลิ่นรส “โยเกิร์ต” ที่เรียกว่าได้ว่าสร้างความตื่นเต้นให้กับตลาด ด้วยนวัตกรรมนำ โยเกิร์ต มาพัฒนาแต่งกลิ่นรสในรูปแบบเครื่องดื่มน้ำใสเป็นครั้งแรก จากนั้นตามมาด้วย รสชาติโยเกิร์ตผสมอโลเวรา และโยเกิร์ตผสมบลูเบอร์รี่

ปี 2017 เปิดตัวกลิ่นและรสชาติกลุ่ม “ชานม” ด้วยความแตกต่างเรื่องนวัตกรรมของรสชาติโยเกิร์ตและชานมที่ไม่มีในตลาด ทำให้ซันโทรี่ขึ้นมาครองอันดับ 1 ตลาดวอเตอร์ พลัส ในญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี 2015 ถึงปัจจุบัน โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 50%

พื้นที่ชั้นวางขนาดใหญ่ เครื่องดื่ม วอเตอร์พลัส

ด้วยความนิยมเครื่องดื่ม “วอเตอร์ พลัส” ในญี่ปุ่นและเทรนด์ที่เติบโตสูง จึงเป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับการจัดสรรพื้นที่ชั้นวางขนาดใหญ่ ในช่องทางค้าปลีกต่างๆ ทั้ง ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และตู้กดเครื่องดื่มอัตโนมัติในญี่ปุ่น ก็ต้องมีสินค้าวอเตอร์ พลัสไว้เป็นตัวเลือก

ซันโทรี่ คุมะมง

“คุมะมง” หมีดังประจำเมือง

นอกจาก “คุมาโมโตะ” เป็นฐานการผลิตเครื่องดื่มซันโทรี่แล้ว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง คือปราสาทที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของญี่ปุ่น ยังเป็นเมืองออนเซนในป่าเขาบรรยากาศธรรมชาติ ภูเขาไฟอะโสะ และเจ้าหมีหน้าตาใจดี ตัวดำ แก้มแดง “คุมะมง” (KUMAMON)

“คุมะมง” ถือกำเนิดเมื่อ 12 มีนาคม 2011 พร้อมการเปิดใช้บริการรถไฟความเร็วสูงชินคันเซนสายคิวชู ในจังหวัดคุมาโมโตะ โดยมี “คุมะมง” เป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองและมาสคอตประจำจังหวัด เพื่อรอต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังจังหวัดคุมาโมโตะ

ในปี 2016 คุมาโมโตะเผชิญกับสถานการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ “คุมะมง” มีบทบาทสำคัญออกมาช่วยผู้ประสบภัยและทำหน้าที่กอบกู้เศรษฐกิจของจังหวัดคุมาโมโตะ ผ่านสินค้าเมอร์เชนไดส์หลากหลาย ตั้งแต่ของที่ระลึก เครื่องเขียน ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไปจนถึงผักผลไม้ในตลาดสดที่ติดโลโก้คุมะมง ไม่เพียงแต่ในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ “คุมะมง” ได้ออกมาขยายอาณาจักรในต่างประเทศผ่านธุรกิจลิขสิทธิ์ เมอร์เชนไดส์ หมีดังประจำเมือง “คุมาโมโตะ” ที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ที่ “ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล” ในเครือสหกรุ๊ป ให้เป็นผู้ดูแลไลเซ่นส์.

คุมะมง ในร้านอาหาร

]]>
1219197