ดาต้า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 19 Nov 2022 02:07:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “กระเป๋ายา” ของ “บาร์บีคิวพลาซ่า” เจาะเบื้องหลังขุมพลัง “ดาต้า” ดึงลูกค้าเข้าร้าน https://positioningmag.com/1409009 Fri, 18 Nov 2022 10:45:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409009 “บาร์บีคิวพลาซ่า” จะทำอย่างไรให้คนยังเดินเข้าร้านในยุคที่บรรดาหมูกระทะ ปิ้งย่างเกาหลี-ญี่ปุ่น ผุดเป็นดอกเห็ด คำตอบของเรื่องนี้ต้องไปคุยกับ “รัฐ ตระกูลไทย” แม่ทัพการตลาดคนใหม่ เราขอแย้มให้ฟังก่อนว่า เคล็ดลับของบาร์บีก้อนคือการใช้ “ดาต้า” เพื่อจัดทำ “กระเป๋ายา” เตรียมโปรโมชันไว้พร้อมให้กับลูกค้าที่มีพฤติกรรมแตกต่างกัน

“รัฐ ตระกูลไทย” เพิ่งรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่เขาไม่ใช่คนแปลกหน้าในวงการ เพราะเคยทำการตลาดให้กับ ยัม เรสเทอรองตส์ มานับ 10 ปี

ด้วยฐานด้านการตลาดและแบรนด์ของ “บาร์บีคิวพลาซ่า” ที่แข็งแรงมากเป็นทุนเดิม การเข้ามาของรัฐน่าจะช่วยต่อยอดได้อย่างน่าสนใจ โดยเราได้พูดคุยกับรัฐในงานแถลงข่าวทิศทางธุรกิจ ‘Go Beyond’ ของฟู้ดแพชชั่น ถึงทิศทางการตลาดของแบรนด์ที่เริ่มเป็นระบบ ‘Automated’ และแยกย่อยตามความต้องการของผู้บริโภคเป็นรายบุคคลแล้ว (Personalized)

“ผมเรียกมันว่า ‘กระเป๋ายา’ เรามียาเตรียมไว้เป็นสิบอย่าง เลือกใช้กับลูกค้าแล้วแต่คน แล้วแต่ช่วงเวลา” รัฐกล่าว “เช่น ลูกค้าที่มักจะใช้จ่ายสูงต่อบิล แต่นานๆ มาที เราจะทราบว่าเขาเป็นกลุ่ม ‘Party’ คือมาทานเฉพาะหน้าเทศกาลหรือมีการฉลอง ดังนั้น พอถึงหน้าเทศกาล เราต้องส่งโปรโมชันไปชวนเขากลับมาที่ร้าน”

 

ฐานสมาชิกที่ ‘active’ คือกุญแจสำคัญ

การสร้างการตลาดแบบ Personalized ได้สำเร็จแบบนี้ ต้องย้อนกลับไปที่การเก็บและวิเคราะห์ “ดาต้า” ลูกค้าให้ได้เสียก่อน เรื่องนี้ฟู้ดแพชชั่นมีฐานมานานจากการลงทะเบียน “สมาชิก” GON Member ตั้งแต่ยุคบัตรสมาชิกจนมาถึงยุคทำสมาชิกใน LINE ซึ่งบาร์บีคิวพลาซ่าเป็นเจ้าแรกๆ ในไทยที่นำ CRM มาเข้าระบบของ LINE

บาร์บีคิว พลาซ่า การตลาด
ตัวอย่างการทำโปรโมชันของ บาร์บีคิวพลาซ่า

รัฐบอกว่า ฟู้ดแพชชั่นมี “คลังดาต้า” มาตั้งแต่ 6-7 ปีก่อน และเริ่มมีการใช้แมชชีน เลิร์นนิ่งเข้าวิเคราะห์ข้อมูลมาแล้ว 2 ปี

ปัจจุบันบาร์บีคิวพลาซ่ามีสมาชิกถึง 1.9 ล้านราย ตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีนี้จะขึ้นไปแตะ 2.1 ล้านราย

แน่นอนว่าตัวเลขสมาชิกจะเยอะแค่ไหนอาจไม่สำคัญเท่ามีสมาชิก ‘active’ แค่ไหน ซึ่งส่วนนี้บาร์บีคิวพลาซ่าทำได้ ด้วยอัตราส่วนลูกค้าที่มาทาน 70% เป็น GON Member และ 50% ของสมาชิกทั้งหมด ‘ไม่บล็อก’ การแจ้งเตือนและรับข่าวสารทาง LINE จากร้าน

บาร์บีคิว พลาซ่า
ตัวอย่างการส่งโปรโมชันผ่านทาง LINE ของบาร์บีคิวพลาซ่า

เมื่อคนส่วนใหญ่ที่มาทานเป็นสมาชิกอยู่แล้ว ทำให้ร้านเก็บข้อมูลได้หมดว่าสมาชิกรายนี้มาทานบ่อยแค่ไหน สั่งเยอะสั่งน้อย ยิ่งมีการบล็อกรับการแจ้งเตือนน้อย การส่งโปรโมชันไปหาก็จะส่งไปถึงและเข้าเป้า

 

แยกลูกค้าไว้ถึง 11 ประเภท

รัฐกล่าวว่า ฟู้ดแพชชั่นมีการใช้แมชชีน เลิร์นนิ่งแบ่งลูกค้าตาม ‘Persona’ หรือแบ่งตามพฤติกรรมการมาใช้จ่ายที่ร้าน โดยแบ่งได้มากกว่า 11 ประเภท

ซีเอ็มโอไม่ได้แจกแจงให้ฟังทั้งหมดว่ามีกลุ่มอะไรบ้าง แต่ยกตัวอย่างดังที่กล่าวข้างต้นเป็นกลุ่ม ‘Party’ ที่มาไม่บ่อยแต่ใช้จ่ายสูง และยังมีกลุ่มลูกค้าที่มาบ่อยๆ แต่ใช้จ่ายต่อบิลน้อย เห็นได้ว่ากลุ่มนี้เป็นขาประจำแต่อ่อนไหวเรื่องราคา ดังนั้น โปรโมชันต้องแรงเพื่อชวนมาร้าน

สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เรียกว่าเป็น “ครีม” ของร้านก็คือกลุ่ม ‘Champion’ ลูกค้าที่มาบ่อยและยังใช้จ่ายสูงต่อครั้งด้วย แต่การจะเปลี่ยนทุกคนให้เป็น Champion คงเป็นไปได้ยาก จึงต้องมีโปรโมชันที่ตรงใจเตรียมพร้อมไว้เป็นสิบอย่างในกระเป๋ายานั่นเอง

บาร์บีคิว พลาซ่า ดาต้า
การนำดาต้ามาจัดแบ่งประเภทลูกค้าได้ 11 ประเภท

ที่เหนือไปกว่านั้นในการใช้แมชชีน เลิร์นนิ่งติดตามคือ ลูกค้าแต่ละคนอาจไม่ได้อยู่ในประเภทนั้นๆ ตลอดไป เพราะพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนแปลงเสมอ

“สมมติว่าลูกค้าที่เคยเป็น Champion ของเรา อยู่ๆ เขาหายจากร้านเราไปมากกว่า 100 วันแล้ว เขาจะเข้าไปอยู่ในกลุ่ม ‘Cannot Lose Them’ แทน และเราต้องหาคำตอบว่าทำไมเขาไม่กลับมา และเราจะชวนเขากลับมาได้อย่างไร” รัฐกล่าว

 

กระเป๋ายาอัตโนมัติ

รัฐกล่าวว่า กระเป๋ายาส่งโปรโมชันของ “บาร์บีคิวพลาซ่า” ถูกใช้มาพักใหญ่แล้ว แต่ก่อนหน้านี้จะเป็นการเลือกมาหนึ่งกลุ่มในแต่ละช่วงเวลา เช่น ช่วงนี้ต้องการชวนกลุ่ม Party มา ก็ส่งโปรฯ สำหรับกลุ่มนี้

แต่ล่าสุดกระเป๋ายาบาร์บีก้อนเริ่มมีการ Automated ได้ละเอียดมากขึ้น นั่นคือการส่งโปรโมชันที่แตกต่างกันให้แต่ละกลุ่ม โดยส่งในช่วงเวลาเดียวกันเลย

เมื่อบาร์บีคิวพลาซ่าสามารถออกโปรฯ โดนๆ ได้เป็นรายบุคคลแบบนี้ ไม่ส่งแบบหว่านแห ก็จะทำให้ลูกค้าชอบที่จะรับข่าวสารโปรโมชัน อัตราการบล็อกใน LINE จะลดลงไปอีก เพิ่มโอกาสขายยิ่งขึ้น เห็นได้ว่าทุกอย่างจะส่งเสริมซึ่งกันและกัน

นับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในการทำการตลาดด้วย “ดาต้า” ของยุคนี้!

]]>
1409009
จีนประกาศ “ชัยชนะ” ขั้นแรก “กวาดล้าง” บริษัทละเมิดดาต้า สั่ง “ลบแอปฯ” แล้วกว่า 600 ราย https://positioningmag.com/1366374 Sat, 11 Dec 2021 05:57:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1366374 หลังการเริ่มต้นนโยบายกวาดล้างแอปฯ จีนของรัฐบาล ล่าสุดหน่วยงานรัฐประกาศ “ชัยชนะ” ขั้นแรกในการเข้ากำกับควบคุมแอปฯ จีนมากกว่า 1.12 ล้านรายการ มิให้มีการจัดเก็บดาต้าประชาชนมากเกินควร โดยมีคำสั่ง “ลบแอปฯ” ไปแล้วมากกว่า 600 รายการ

นโยบายรัฐบาลจีนที่จะเข้าตรวจสอบแอปพลิเคชันบนมือถือมากกว่า 1.12 ล้านรายการที่บริการอยู่ในแดนมังกร เริ่มประสบความสำเร็จขั้นต้นแล้ว โดยมีการกวาดล้างลบแอปฯ เจ้าปัญหาออกไปเป็นจำนวนมาก พร้อมกับการตรากฎหมายด้านดาต้าฉบับใหม่ขึ้นมากำกับควบคุม

ทีมงานตอบสนองเชิงเทคนิคต่อเหตุฉุกเฉินในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (CNCERT) รายงานเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2021 ว่า สำนักงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์แห่งประเทศจีน (CAC) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบโลกอินเทอร์เน็ตของประเทศ เริ่มการตรวจสอบแอปฯ ยอดนิยม 1,425 รายการ มาตั้งแต่ต้นปี 2021 และพบว่ามีแอปฯ 351 รายการที่ “ละเมิดกฎหมายและระเบียบอย่างร้ายแรง” จนถูกแจ้งเตือนให้แก้ไขปัญหาไปแล้ว

แม้ว่า CNCERT จะระบุว่าตนเองเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรและไม่ใช่องค์กรของรัฐ แต่จากประกาศรับสมัครงานเมื่อปี 2019 มีการระบุไว้ว่าองค์กรทำงานตรงภายใต้กำกับของ CAC จึงนับได้ว่า นี่เป็นรายงานที่ออกมาจากรัฐบาลจีน

Photo : Shutterstock

ที่ผ่านมา CAC มีเป้าหมายแก้ปัญหาการ “จัดเก็บดาต้าที่ไม่จำเป็น” ของประชาชนจีน และการที่แอปฯ ย่อหย่อนด้านการรักษาความเป็นส่วนตัวให้ลูกค้า มีการระบุให้ลูกค้าเลือก ‘ยินยอม’ รับเงื่อนไขการใช้บริการแบบรวมครั้งเดียว ไม่มีให้แยกเลือกยอมรับหรือปฏิเสธเป็นรายข้อ

ในหมู่แอปฯ ชื่อดังที่ปรากฏในรายงานว่าละเมิดกฎหมายและได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว เช่น WeChat ซูเปอร์แอปฯ ยอดนิยมจากค่าย Tencent, แอปฯ หางานรายใหญ่ 51job สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลจีนกำลังกวาดล้างแอปฯ จีนทุกระดับ โดยเฉพาะบิ๊กเทคคัมปะนีที่ไม่เพียงแต่ถูกเพ่งเล็งเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชน แต่ยังมีพฤติกรรมผูกขาดตลาดอีกด้วย

 

จีนอาจมีจุดประสงค์อื่นแอบแฝง?

ในวันเดียวกับที่ CNCERT ออกรายงาน กระทรวงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีข้อมูล (MIIT) มีคำสั่งใหม่ออกมาให้แอปสโตร์ต่างๆ ระงับการเข้าถึงแอปฯ 106 รายการ ในจำนวนนี้รวมถึงแอปฯ ยอดฮิต เช่น Douban แพลตฟอร์มเขียนกระทู้ถามตอบออนไลน์, Changba แอปฯ ร้องคาราโอเกะ และ Aihuishou บริการรีไซเคิลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งหมดถูกประกาศชื่อว่ามีการเก็บดาต้าผู้ใช้เกินควร และไม่ได้แก้ไขตามที่รัฐต้องการ

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนรัฐบาลจีนอาจมีจุดประสงค์อื่นแฝงด้วยในการกวาดล้าง South China Morning Post รายงานจากข้อสังเกตของผู้ใช้แอปฯ Douban รายหนึ่งที่มองว่า แอปฯ นี้เป็นศูนย์รวมของกลุ่มเฟมินิสต์ที่มีชื่อเสียง และเคยถูกกดดันให้ปิดแอปฯ มาแล้ว

ก่อนหน้าคำสั่งครั้งล่าสุด MIIT เคยประกาศชื่อแอปฯ ละเมิดกฎหมายไปมากกว่า 2,000 รายการ และสั่งลบแอปฯ จากแอปสโตร์ไปแล้ว 540 รายการ

CNCERT ยังระบุในรายงานด้วยว่า 95% ของแอปฯ ในจีนมีผู้ใช้ไม่ถึง 1 ล้านคน และแอปฯ เหล่านี้เองที่มักจะหละหลวมในการปกป้องดาต้าของผู้ใช้ ทำให้ต้องกระตุ้นให้ฝั่งแอปสโตร์พัฒนาขั้นตอนกลั่นกรองแอปฯ ที่จะขึ้นมาเผยแพร่ให้มีความรับผิดชอบมากกว่านี้

Source

]]>
1366374
Google Maps เปิดดาต้า “การรวมกลุ่มของประชาชน” ทั่วโลก พบคนไทยเดินทางลดลง 61% https://positioningmag.com/1271705 Fri, 03 Apr 2020 17:35:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271705 Google เปิดบิ๊กดาต้าที่เก็บได้จากการติดตามโลเคชันผู้ใช้บน Google Maps แสดงผลการเดินทางและการรวมกลุ่มของประชาชนในช่วงเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทั้งหมด 131 ประเทศ เพื่อช่วยรับมือกับไวรัส COVID-19 สำหรับประเทศไทย พบว่าคนไทยลดการเดินทางผ่านขนส่งมวลชน 61% และอยู่บ้านมากขึ้น 16%

Google Maps เก็บข้อมูลผู้ใช้จาก 131 ประเทศทั่วโลก เพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของผู้ใช้ตั้งแต่มีการเว้นระยะห่างทางสังคมหรือการล็อกดาวน์เพื่อต่อสู้กับการระบาดของไวรัส COVID-19

บริษัท Google หวังว่าข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่รัฐในการปกป้องประชาชน โดยตัวอย่างการนำไปใช้ เช่น เจ้าหน้าที่รัฐสามารถวิเคราะห์สถานที่ที่คนยังเดินทางไปเยือนจำนวนมากและอาจจะมีคำสั่งเปลี่ยนเวลาเปิดปิด หรือสถานีขนส่งมวลชนสามารถวิเคราะห์ช่วงเวลาที่มีคนใช้บริการมาก เพื่อเติมรอบรถให้เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้คนบนรถสามารถเว้นระยะห่างจากกันได้มากขึ้น

การเปิดเผยข้อมูลครั้งนี้ Google ยังเปิดเผยกับสาธารณชนด้วย เพื่อความโปร่งใสว่าข้อมูลที่บริษัทเก็บและนำมาเปิดเผยคืออะไรและถูกนำไปใช้อย่างไร บริษัทยังย้ำด้วยว่า จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงบุคคล ทั้งนี้ บริษัทไม่ได้แจ้งว่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลบ่อยครั้งแค่ไหน แต่ระบุว่าข้อมูลจะเปิดดาวน์โหลดในเวลาจำกัด

ด้านวิธีการเก็บข้อมูล มาจากข้อมูลผู้ใช้ Google Maps เมื่อมีการเคลื่อนที่และมีการตั้งค่าเปิด “location history” ไว้ ซึ่งข้อมูลนี้ Google Maps มีการเก็บและนำไปใช้ในฟีเจอร์ต่างๆ อยู่แล้ว เช่น ฟีเจอร์แสดงผลว่าร้านค้าหรือร้านอาหารนั้นๆ กำลังมีคนอยู่มากแค่ไหน หรือคนมักจะเยอะในช่วงเวลาใด

สำหรับ ข้อมูลประเทศไทย เป็นข้อมูล ณ วันที่ 29 มีนาคม 2563 สองวันหลังจากมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และยังผลให้แต่ละจังหวัดทยอยออกประกาศปิดสถานที่ที่เป็นแหล่งชุมนุมชนต่างๆ ตามมา โดย Google Maps เปิดข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้ไทยไปยังสถานที่ต่างๆ ดังนี้

  • ศูนย์การค้า และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ร้านกาแฟ โรงภาพยนตร์ สวนสนุก พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด ลดลง 55%
  • โชห่วย ตลาดสด และร้านขายยา ลดลง 27%
  • สวนสาธารณะ ชายหาด ลดลง 54%
  • สถานีขนส่งสาธารณะ เช่น ป้ายรถเมล์ สถานีรถไฟฟ้า สถานีรถไฟ ลดลง 61%
  • สถานที่ทำงาน ลดลง 21%
  • สถานที่พักอาศัย เพิ่มขึ้น 16%

(ข้อมูลเปรียบเทียบจากช่วง 3 ม.ค.- 6 ก.พ. 63)

ตามไปดูข้อมูลทุกประเทศจาก Google Maps กันได้ที่นี่

Source

]]>
1271705
เริ่มแล้ว! สหรัฐฯ ติดตามดาต้าบนมือถือประชาชน สืบหาว่าคนแอบไปรวมกลุ่มกันที่ไหน https://positioningmag.com/1270872 Mon, 30 Mar 2020 12:57:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270872
  • สหรัฐฯ เปิดระบบศึกษาการเคลื่อนไหวและรวมตัวกันของกลุ่มคน เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดไวรัส COVID-19
  • รัฐบาลกลางและหน่วยงานปกครองระดับรัฐกำลังใช้ข้อมูล “โลเคชัน” ของบุคคลที่ได้จากอุตสาหกรรมโฆษณาออนไลน์
  • ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลนิรนามซึ่งเจ้าหน้าที่นำมาใช้เพื่อศึกษาการเคลื่อนไหวของกลุ่มคน มากกว่าการติดตามแบบรายบุคคล
  • สำนักข่าว The Wall Street Journal (WSJ) รายงานว่า สหรัฐอเมริกาเริ่มใช้ข้อมูลโลเคชันจากการติดตามสมาร์ทโฟนมาช่วยรับมือป้องกันไวรัส COVID-19 แล้ว โดย ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) และหน่วยงานระดับรัฐเริ่มโครงการรับข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโลเคชันเพื่อตามหาว่าคนไป “ชุมนุม” รวมตัวกันที่ไหนบ้าง

    เป้าหมาย ณ ขณะนี้ของโครงการ คือการตามหาว่าสถานที่ใดบ้างที่คนยังไปรวมตัวกัน และจะกลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อไวรัส ตัวอย่างเช่น นักวิจัยในโครงการนี้พบว่าคนมักจะไปรวมตัวกันที่สวนสาธารณะพรอสเพ็ค ในย่านบรู๊กลีน เมืองนิวยอร์ก ข้อมูลที่ได้นี้จะถูกส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเข้าไปตรวจสอบ

    ข้อมูลเหล่านี้ค่อนข้างสำคัญมาก เนื่องจากประชาชนอเมริกันบางส่วนยังคงไม่ระมัดระวังในการหลีกเลี่ยงที่ชุมนุมชน แม้ว่ายอดผู้ติดเชื้อวันที่ 29 มี.ค. 63 ของสหรัฐฯ จะพุ่งเกิน 140,000 รายไปแล้ว

    แหล่งข่าวกล่าวว่า เป้าหมายขั้นต่อไปของโครงการ คือการสร้างศูนย์รวมข้อมูลที่ให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ ภายในศูนย์นี้จะพบข้อมูลโลเคชันประชาชนจากมากกว่า 500 เมืองในสหรัฐฯ

    รายงานจาก WSJ ไม่ระบุว่าแหล่งข้อมูลของผู้ให้บริการโฆษณาออนไลน์ที่ว่าคือบริษัทใดบ้าง แต่เป็นไปได้ว่าบริษัทเหล่านี้นำข้อมูลโลเคชันบุคคลมาจากแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ประชาชนกดอนุญาตให้เข้าถึงโลเคชันได้นั่นเอง

    ข้อมูลนี้มีมูลมากยิ่งขึ้น เพราะกฎหมายเพื่อให้เงินเยียวยาชดเชยจากเหตุการณ์ระบาดไวรัสโคโรนาของสหรัฐฯ เพิ่งจะลงนามเมื่อสัปดาห์ก่อน และหนึ่งในรายการใช้จ่ายของกฎหมายนี้คืออัดฉีดเงิน 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้ CDC สร้าง “ระบบรวบรวมข้อมูลและตรวจตราความปลอดภัย” เพื่อติดตามการแพร่ระบาดของไวรัส

    นอกจากนี้ เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมายังมีรายงานว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ติดต่อกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ เช่น Google และ Facebook เพื่อสร้างเครื่องมือติดตามในลักษณะดังกล่าว แต่มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ซีอีโอ Facebook ปฏิเสธในภายหลัง

    อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ถูกนำไปใช้เหล่านี้เป็นข้อมูลแบบไม่ระบุตัวตน หมายถึงข้อมูลจะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นของใคร และวันเดือนปีเกิดอะไร แต่นักกิจกรรมด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลยังคงกังวลว่า ข้อมูลนิรนามเหล่านี้ยังสามารถหาทางประกอบกับเพื่อระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลได้อยู่ดี

    รัฐนิวยอร์กเริ่มสร้างที่เก็บศพชั่วคราวไว้นอกโรงพยาบาลหลายแห่งตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 63 หลังจากผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นจากการระบาดของไวรัส COVID-19 โดย ณ วันที่ 29 มี.ค. 63 รัฐนิวยอร์กมีผู้เสียชีวิตทะลุ 1,000 รายแล้ว จากผู้ติดเชื้อทั้งหมด 59,513 ราย โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อในมหานครนิวยอร์ก (photo: Ron Adar / Echoes Wire/Barcroft Media via Getty Images)

    แซม วู้ดแฮมส์ นักวิจัยด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เปิดเผยกับ Business Insider ว่า การที่รัฐทำงานร่วมกับธุรกิจเทคโนโลยีอย่างใกล้ชิดเพื่อติดตามการเคลื่อนที่ของประชาชนนั้นทำให้เกิดข้อกังวลอย่างมาก

    “ธุรกิจนี้มีชื่อเสียงว่ามีความโปร่งใสต่ำ เริ่มด้วยข้อแรกเช่น ผู้ใช้แอปฯ จำนวนมากไม่ทราบว่าแอปฯ ที่ตนติดตั้งกำลังติดตามการเคลื่อนที่ของเจ้าของเครื่องอยู่ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐบาลและใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูลอ่อนไหวเหล่านี้ต้องสร้างความโปร่งใสว่า พวกเขากำลังปฏิบัติการอย่างไร และใช้วิธีการใดบ้างเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสิทธิความเป็นส่วนตัวของประชาชนจะได้รับการปกป้อง” วู้ดแฮมส์กล่าว

    สหรัฐฯ ไม่ใช่ประเทศแรกที่ใช้ดาต้าแบบนิรนามในการศึกษาการแพร่ระบาดของไวรัส ทั้งอิตาลี เยอรมนี อังกฤษ ต่างนำกลยุทธ์นี้มาใช้หรือกำลังวางแผนจะใช้วิธีการนี้แล้ว แต่ในขณะที่กลุ่มประเทศดังกล่าวร่วมมือกับเครือข่ายโทรคมนาคมเพื่อขอดาต้า สหรัฐฯ เลือกที่จะใช้ดาต้าจากธุรกิจโฆษณาออนไลน์แทน

    โลกตะวันตกอาจมีเส้นแบ่งเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่โลกตะวันออกนำระบบนี้มาใช้เข้มข้นกว่ามาก ยกตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้ ซึ่งเก็บข้อมูลโลเคชันของผู้ติดเชื้อแบบรายบุคคล สืบละเอียดว่าเคยเดินทางไปที่ไหนมาบ้าง หรือ ไต้หวัน ที่จะติดตามโลเคชันบนมือถือของผู้ที่ถูกสั่งกักตัวในบ้าน เมื่อใดก็ตามที่บุคคลนั้นออกจากบ้าน จะมีสัญญาณแจ้งเตือนไปที่เจ้าหน้าที่ทันที (อ่านรายละเอียดทั้งหมดที่ 10 ประเทศที่ติดตาม “ดาต้ามือถือ” ประชาชน เช็กประวัติเดินทางเพื่อรับมือไวรัส COVID-19)

    ]]>
    1270872
    10 ประเทศที่ติดตาม “ดาต้ามือถือ” ประชาชน เช็กประวัติเดินทางเพื่อรับมือไวรัส COVID-19 https://positioningmag.com/1269536 Mon, 23 Mar 2020 13:11:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1269536 ความเป็นส่วนตัว vs ความปลอดภัย ? เป็นคำถามที่มาถึงตัวอย่างชัดเจนขึ้นในยุคการระบาดของไวรัส COVID-19 เพราะในห้วงเวลาวิกฤตเช่นนี้ หลายประเทศเลือกที่จะเข้าถึงข้อมูลประชาชนผ่านการติดตามดาต้ามือถือ เพียงแต่ระดับการเข้าถึงข้อมูลแตกต่างกันไป บ้างก็ใช้ข้อมูลแบบองค์รวมเพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนที่ของประชากร แต่บางประเทศก็เจาะลึกถึงระดับบุคคลว่าเดินทางไปไหนบ้าง

    Top10VPN ประเมินสถานการณ์ว่ามีประเทศใดบ้างที่เริ่มนำกลยุทธ์การติดตามการใช้ดาต้าสมาร์ทโฟนมาใช้สู้ไวรัส ซึ่งมีตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลภาพกว้างเพื่อให้เห็นการเคลื่อนที่ของกลุ่มประชากร จนถึงแบบแคบที่สามารถติดตามได้ว่าเจ้าของสมาร์ทโฟนเครื่องนั้น (โดยมากคือผู้ติดเชื้อหรือต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อ) เดินทางไปไหนมาบ้างและติดต่อใกล้ชิดกับใครบ้าง

    ซามูเอล วู้ดแฮมส์ หัวหน้าทีมสิทธิดิจิทัลจาก Top10VPN เปิดเผยกับ Business Insider ว่า จากเหตุการณ์นี้อาจทำให้ภาครัฐทั่วโลกเดินไปสู่การสอดส่องประชาชนทางดิจิทัลอย่างถาวรได้

    “หากไม่มีการติดตามที่พอเหมาะพอควร มีความเป็นไปได้ที่อันตรายว่า วิธีการใหม่อันบุกรุกความเป็นส่วนตัวอย่างมากนี้จะกลายเป็นมาตรฐานไปทั่วโลก แม้ว่าบางครั้งวิธีการนี้จะดูมีเหตุผลสมบูรณ์ แต่ส่วนมากแล้วจะกลายเป็นความเสี่ยงต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน”

    เพราะบางประเทศจะกำหนดข้อจำกัดในวิธีการฉุกเฉินครั้งนี้ แต่หลายๆ ประเทศอาจจะเลือกเก็บอำนาจรัฐครั้งนี้ไว้ใช้ต่อในอนาคต “เรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญมาก เนื่องจากวิธีการใหม่หลายอย่างสามารถหลีกเลี่ยงข้อวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองและจากสาธารณชนไปได้ และไม่มีการบรรจุจุดสิ้นสุดการใช้งานไว้”

    เหล่านี้คือตัวอย่าง 10 ประเทศที่ติดตาม “ดาต้ามือถือ” ของประชาชน เพื่อนำข้อมูลมาใช้รับมือไวรัส COVID-19

     

    “เกาหลีใต้”

    • ติดตามดาต้ามือถือเป็น “รายบุคคล” จากนั้นนำมาสร้างเป็นแผนที่การเดินทางเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนรายอื่นสามารถตรวจสอบได้ว่าตนเองอาจเคยอยู่ในสถานที่เดียวกับผู้ติดเชื้อ
    • นอกจากดาต้ามือถือแล้ว รัฐบาลเกาหลียังเก็บดาต้าจากบัตรเครดิต และการสัมภาษณ์ เพื่อนำข้อมูลมาลงในแผนที่ดังกล่าวด้วย
    • รัฐบาลใช้แผนที่นี้เพื่อส่ง SMS เตือนในภูมิภาคนั้นๆ ให้ระมัดระวังบุคคลที่อาจติดเชื้อ
    • ดาต้านี้สามารถระบุละเอียดระดับชื่อร้านค้าที่บุคคลนั้นไป พร้อมเวลาที่ชัดเจน
    • หากมองในมุมลบ วิธีการเช่นนี้ทำให้หากมีผู้ใดติดเชื้อจะทำให้ข้อมูลการเดินทางทุกอย่างของบุคคลถูกเปิดเผยต่อสาธารณะทันที โดยข้อมูลบางอย่าง บุคคลนั้นอาจต้องการเก็บเป็นความลับก็ได้
    ตัวอย่างภาพจากเว็บไซต์ http://coronamap.site/ แสดงผลจุดที่มีผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในเกาหลีใต้

    “อิหร่าน”

    • อิหร่านใช้วิธีส่ง SMS บอกประชาชนให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันชื่อ AC19 ซึ่งจะมีแบบสอบถามให้ตรวจสอบด้วยตัวเองก่อนว่า ตนเองมีแนวโน้มจะติดไวรัส COVID-19 หรือไม่ ก่อนที่จะไปโรงพยาบาล
    • แอปฯ นี้ไม่ได้มีไว้ตอบแบบสอบถามเท่านั้น แต่ยังมีฟังก์ชันติดตามโลเคชันมือถือได้แบบเรียลไทม์ด้วย (ปัจจุบันแอปฯ ถูกลบออกจาก Google Play Store ไปแล้ว)

    “อิสราเอล”

    • ผ่านกฎหมายฉบับใหม่เพื่อให้หน่วยงานความมั่นคงติดตามดาต้ามือถือประชาชนได้ทันทีโดยไม่ต้องขอคำสั่งศาล อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่เก็บมาจะต้องลบทิ้งภายใน 30 วัน
    • เบนจามิน เนทานยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ยอมรับว่า กฎหมายใหม่นี้จะ “รุกล้ำ” ความเป็นส่วนตัวประชาชนระดับเดียวกับปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย แต่รัฐจำเป็นต้องทำ

    “สิงคโปร์”

    • ทางการสิงคโปร์เปิดตัวแอปฯ TraceTogether เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 63 โดยแอปฯ นี้จะสามารถระบุได้ว่ามีใครที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อในระยะน้อยกว่า 2 เมตร เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 30 นาที
    • เทคโนโลยีที่ใช้ไม่ใช่การระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ เป็นแค่การใช้ ระบบบลูทูธ ของเครื่องเพื่อเก็บข้อมูล เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นส่วนตัวในระดับหนึ่ง

    “ไต้หวัน”

    • ใช้การติดตามดาต้ามือถือเพื่อสร้าง “รั้วไฟฟ้า” เสมือนจริงในการควบคุมผู้อยู่ระหว่างกักกันตัวในบ้าน
    • หากบุคคลที่ถูกกักกันออกจากบ้าน ข้อมูลจะถูกส่งไปแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่รัฐให้ไปถึงตัวได้ใน 15 นาที

    “ออสเตรีย”

    • Telekon Austria AG ค่ายเครือข่ายมือถือที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรีย ให้ข้อมูลโลเคชันผู้ใช้แบบไม่เปิดเผยตัวบุคคลกับรัฐบาล
    • จากนั้นข้อมูลจะส่งต่อให้สตาร์ทอัพจากมหาวิทยาลัย Graz ทำแผนที่เพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวของคนโดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยว

    “เบลเยียม”

    • เช่นเดียวกับออสเตรีย แต่เบลเยียมเก็บข้อมูลโลเคชันแบบนิรนามจากผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทุกราย

    “เยอรมนี”

    • ในทำนองเดียวกัน Deutsche Telekom ประกาศว่าจะให้ข้อมูลกับหน่วยงานรัฐเพื่อนำไปทำแผนที่การเคลื่อนไหวของประชาชนได้ลึกในระดับชุมชน

    “อิตาลี”

    • เช่นเดียวกับเบลเยียม อิตาลีเก็บข้อมูลโลเคชันแบบนิรนามจากผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทุกราย

    “ไทย”

    • ประเทศไทยใช้มาตรการแบบอ่อนๆ เฉพาะกับผู้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย (ทั้งชาวไทยและต่างชาติ) หากมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง จะต้องดาวน์โหลดแอปฯ AoT Airport
    • นอกจากจะต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว แอปฯ ยังติดตามโลเคชันของเจ้าของเครื่องได้ ในกรณีที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น จะสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ว่าเจ้าของเครื่องไปที่ใดมาบ้าง

    สำหรับประเทศอื่นๆ ที่กำลังพิจารณาใช้มาตรการตรวจสอบดาต้ามือถือ เช่น สหราชอาณาจักร คาดว่าจะใช้วิธีเดียวกับประเทศแถบยุโรป คือรับข้อมูลแบบนิรนามจากเครือข่ายมือถือเพื่อนำมาทำแผนที่การเดินทาง ส่วนสหรัฐฯ มีข่าวลือว่ารัฐกำลังเจรจากับ Facebook และ Google เพื่อขอเก็บข้อมูลโลเคชันแบบนิรนาม แต่มาร์ค ซักเกอร์เบิร์กปฏิเสธข่าวนี้

    ในประเทศไทย เท่าที่มีการรายงานยังไม่มีการใช้ข้อมูลดาต้ามือถือมาติดตามตัวผู้ติดเชื้อนอกจากแอปฯ AoT Airport ที่ได้กล่าวไป แต่มีทีมเอกชน 5Lab ใช้ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขและข่าวต่างๆ มาทำระบบแผนที่เรียลไทม์ เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ง่ายว่าตนเคยเดินทางไปในละแวกเดียวกับพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อหรือไม่ สามารถเช็กกันได้ผ่านเว็บไซต์ covidtracker.5lab.co

    Source

    ]]>
    1269536
    “ดาต้า” กลยุทธ์เจาะลูกค้า ตัดสินธุรกิจ “แพ้-ชนะ” https://positioningmag.com/1220142 Sun, 17 Mar 2019 23:07:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1220142 ในยุคดิจิทัล “คู่แข่ง” ธุรกิจมาจากทุกทิศทางและสนามการแข่งขันในโลกออนไลน์เปิดกว้างสำหรับทุกราย ไม่ว่าจะเป็นเอสเอ็มอี แบรนด์เล็ก หรือโกลบอลแบรนด์ วันนี้ใครเข้าถึงผู้บริโภคได้เร็วกว่า แม่นยำกว่า จึงเป็น “ผู้ชนะ” และหากต้องอยู่ในฝั่ง “ผู้แพ้” อาจไม่มีที่ยืน 

    ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า ในยุคดิจิทัลการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของธุรกิจที่เห็นได้ชัดเจน เกิดจากการนำเทคโนโลยีข้ามาใช้งาน ทั้งการพัฒนาสินค้า กลยุทธ์การตลาด การเข้าถึงผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถและประสิทธิภาพการทำรายได้และกำไรของธุรกิจอย่างชัดเจน

    ศิวัตร เชาวรียวงษ์

    เดิมการทำธุรกิจของ ร้านค้าออฟไลน์ ประสิทธิภาพการขายจะต้องอาศัยความเก่งของพนักงาน ในการจดจำลูกค้าและสินค้า ทักษะที่เก่งมากขึ้นอีกขั้น ก็อาจรู้ว่าลูกค้าคนไหน ชอบสไตล์ไหน ความเก่งของพนักงานขายเกิดขึ้นจากการสะสมความรู้ข้อมูลและประสบการณ์ ดังนั้นร้านที่มีพนักงานขายเก่ง ก็จะมียอดขายมากขึ้น

    แต่ในยุคดิจิทัลการซื้อขายสินค้าเปลี่ยนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ทักษะการขายมาจากเทคโนโลยีที่มีการวิเคราะห์ “ดาต้า” ซึ่งเรียนรู้จากพฤติกรรมและความสนใจของผู้บริโภค ความสามารถของเทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซ คือจำลูกค้าได้ แม้คลิกเข้ามาเพียงครั้งเดียว อีกทั้งยังจดจำสินค้าได้ทุกไอเท็ม

    “เรียกว่าเทคโนโลยีสามารถรู้จักลูกค้าเป็นล้านคน รู้จักสินค้าเป็นแสนเป็นล้านไอเท็ม ที่สำคัญรู้ว่าแพทเทิร์นการดูและซื้อสินค้าของลูกค้า จึงเลือกแสดงสินค้าที่ตรงกับความชอบได้อย่างแม่นยำ”

    Cr.pixabay

    ขณะที่การจัดโปรโมชั่นของร้านค้าออฟไลน์ ทุกคนจะเห็นสินค้าและโปรโมชั่นเดียวกันหมด แต่อีคอมเมิร์ซสามารถจัดโปรโมชั่นได้แบบรายบุคคลตามความสนใจ จากการใช้ดาต้ามาวิเคราะห์ ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความสามารถในการดูแลลูกค้า ทำให้ผู้ประกอบการเหลือเพียงต้นทุนผลิตสินค้าและเทคโนโลยีที่เข้าถึงลูกค้า ที่เหลือคือกำไร ดังนั้นใครทำได้เก่งกว่า หรือบริหารงบประมาณได้ดีกว่าก็จะมี “กำไร” มากกว่า

    “ในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและดาต้า คนชนะก็จะยิ่งชนะมากขึ้น คนแพ้ก็จะแพ้หนักขึ้น ช่องว่างระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้จะยิ่งห่างขึ้นเรื่อยๆ และหากอยู่ในฝั่งผู้แพ้แล้ว จะไม่แพ้แบบนิดหน่อย แต่จะแพ้แบบหมดรูปถึงขั้นปิดกิจการ”  

    สูตรลับแพ้-ชนะที่ “ดาต้า”  

    Cr.pixabay

    ในยุคนี้ “ดาต้าและเทคโนโลยี” ทำให้เกิด “สูตรสำเร็จ” หรือ “สูตรลับ” ที่ทำให้ธุรกิจสามารถชนะกันได้แบบขาดลอย เพราะคนที่มีดาต้าจำนวนมาก หากพบว่ามีลูกค้าอยู่เซ็กเมนต์หนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มมีจำนวนมากพอในการทำตลาด แต่คู่แข่งมองไม่เห็น เพราะมี “ดาต้า” ไม่เท่ากัน

    คนที่มีดาต้ามากกว่า จึงเข้าใจสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ นำเสนอกลยุทธ์เจาะลูกค้าได้แม่นยำ และทำให้ขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น มีกำไรมากขึ้น ท้ายที่สุดก็จะมีเงินมาทำการตลาดได้มากกว่าคู่แข่ง การใช้เทคโนโลยีในยุคนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก เพราะเทคโนโลยีถูกลงและบางเครื่องมือเปิดให้ใช้ฟรี

    ปัจจุบันผู้ประกอบการที่ไม่ได้มองเรื่องการใช้เทคโนโลยีและดาต้า เมื่อสินค้าขายได้ลดลง มักสรุปเองว่ามาจากปัจจัยเศรษฐกิจถดถอย แต่ที่จริงแล้วลูกค้าอาจไปอยู่ในมือคู่แข่งแล้ว จากการใช้ดาต้าที่เข้าถึงและเสนอสินค้าได้ตรงกับความต้องการ หรือบางรายอาจเห็นถึงความสำคัญของการใช้ดาต้าและเทคโนโลยีแล้วแต่ปรับตัวไม่ทัน

    ในอดีตการแพ้ชนะของธุรกิจอาจขึ้นอยู่กับการยึดครอง “พื้นที่” ในฐานะเจ้าถิ่น แต่ปัจจุบันอีคอมเมิร์ซทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการซื้อสินค้าได้หลากหลายโดยไม่มีข้อจำกัดของพื้นที่ในการเข้าถึง

    วันนี้แม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนซื้อสินค้าหรือกับร้านค้าในพื้นที่คุ้นเคย ยังถูกบั่นทอนด้วยเทคโนโลยี เพราะการซื้อออนไลน์ไม่ต้องพบปะผู้คน

    ขณะที่ระบบจ่ายเงินและการส่งสินค้าพัฒนามาต่อเนื่อง จึงไม่มีอุปสรรคในการซื้อสินค้าออนไลน์อีกต่อไป เป็นการดึงเงินออกจากกระเป๋าผู้บริโภคได้มากและบ่อยขึ้น จนทำให้การซื้อสินค้าในช่องทางอื่นๆ ลดลง

    โอกาส “แบรนด์เล็ก” ชิงลูกค้า

    cr.pixabay

    ในโลกออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ ได้สร้างพื้นที่ “ค้าขาย” และทำการตลาดให้กับผู้ประกอบการทุกราย ทั้งเอสเอ็มอี แบรนด์เล็ก และรายใหญ่

    ปัจจุบันพบว่าบริษัทขนาดใหญ่ถูกกดดันมากขึ้น จากการเกิดขึ้นของ “แบรนด์เล็ก” ที่ค้าขายอยู่บน “โซเชียล คอมเมิร์ซ” แพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมจากคนไทย แม้แบรนด์เล็กและเอสเอ็มอีไม่ได้เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดอย่างมีนัยสำคัญกับแบรนด์ใหญ่

    แต่หากเป็นแบรนด์เล็กที่มีจำนวนเป็น 10,000 ราย เข้าไปดึงเงินในกระเป๋าของผู้บริโภค เมื่อรวมหลายๆ แบรนด์เล็กก็ถือเป็นสัดส่วนที่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาด ที่เดิม “โกลบอล แบรนด์” เป็นผู้ครองตลาดนี้ ต้องเรียกว่าการแข่งขันค่อยๆ โหดขึ้นเรื่อยๆ

    แบรนด์หั่นงบโฆษณาทีวี

    ศิวัตร เชาวรียวงษ์

    สำหรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อโฆษณา ศิวัตร กล่าวว่า ที่ผ่านมาลูกค้าแบรนด์ใหญ่ ที่มีงบโฆษณาจำนวนมาก ยังไม่กล้าตัดงบโฆษณาทีวีมากนัก แต่ปี 2018 เริ่มการตัดงบโฆษณาทีวี ทั้งแบบที่ตัดทิ้งทั้งหมดในกลุ่มระดับกลาง และเริ่มตัดงบบางส่วนในกลุ่มรายใหญ่

    เดิมแบรนด์ที่มีงบโฆษณาจำนวนมาก ไม่กล้าเสี่ยงที่จะเทงบประมาณไปที่ด้านใดด้านหนึ่ง เพราะหากใช้งบโฆษณาดิจิทัลอย่างเดียว เงินก็จะเหลือ หรืองบประมาณที่ใช้อยู่ในสื่อดิจิทัล ถือว่าได้ผลที่ดีแล้ว หากใช้มากขึ้นผลลัพธ์ก็ไม่แตกต่างจากเดิม จึงกระจายเงินไปใช้กับสื่ออื่นๆ

    “แบรนด์ระดับกลางที่มีงบโฆษณาต่อปีไม่ถึง 50 ล้านบาท วันนี้เริ่มไม่ลงโฆษณาทีวี หรือเลือกลงทีวี ไม่กี่ครั้งต่อปี ส่วนแบรนด์ใหญ่งบโฆษณากว่า 100 ล้านบาทต่อปี เริ่มตัดงบทีวีเช่นกัน ขณะที่แบรนด์เล็กและเอสเอ็มอี ใช้งบโฆษณาและการตลาดผ่านสื่อดิจิทัล 100% 

    ]]>
    1220142