ทีวีดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 08 Jun 2022 23:53:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ส่องเทรนด์ ‘ทีวี’ ยุคดิจิทัล ชี้คนไทยใช้ Smart TV เพิ่ม 147% รายการ ‘ข่าว’ มาแรงเทียบชั้น ‘ละคร’ https://positioningmag.com/1388186 Wed, 08 Jun 2022 09:56:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388186 แม้ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้ดิจิทัลจะมีเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าทีวียังเป็นช่องทางที่เข้าถึงคนไทยได้มากที่สุด ซึ่ง 95% ของครัวเรือนไทยที่สามารถเข้าถึงทีวีได้ แต่ผู้ใช้ส่วนหนึ่งได้เปลี่ยนจากการดูผ่านเครื่องเล่นทีวีแบบดั้งเดิมมาเป็นช่องทางดิจิทัล ซึ่งอาจไม่ได้รับชมแค่ช่องทีวีปกติอีกต่อไป

การสำรวจของ นีลเส็น พบว่า การรับชมทีวีผ่าน Smart TV ของคนไทยเติบโตขึ้นถึง 147% เมื่อเทียบกับปี 2019 หรือช่วงก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 และกว่า 45% ดูทีวีผ่าน โทรศัพท์มือถือ ซึ่งโตถึง 83% แสดงให้เห็นว่าเมื่อเทรนด์ของผู้ชมเริ่มไปทางฝั่งออนไลน์มากขึ้น ทีวีเริ่มมีการปรับตัว

โดยทีวีหลายสำนักมีการทำเนื้อหาในรูปแบบออนไลน์ สร้างแพลตฟอร์มของตัวเองเพื่อดึงผู้ชม ทำให้ตลาดสตรีมมิ่งปัจจุบันจึงมีความสนุกและเข้มข้นมาก ผู้ชมมีตัวเลือกเยอะมากขึ้น จากผลสำรวจเมื่อปี 2019 ถึงจำนวนผู้ใช้งานแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง หรือ OTT (Over the top) พบว่ามีประมาณ 29% ของคนไทยทั้งประเทศที่ใช้งาน แต่จากข้อมูลล่าสุดได้ทำการสำรวจช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 59%

จากจำนวนผู้ใช้ในตลาดสตรีมมิ่งที่โตแบบก้าวกระโดด ผู้ชมจำนวนมากยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อติดตามเนื้อหา ถึงแม้ว่าปัจจุบันมีจำนวนแพลตฟอร์มจำนวนมาก โดยการสำรวจของนีลเส็นสหรัฐฯ พบว่าปัจจุบัน คนส่วนใหญ่จ่ายเงินเพื่อติดตามเนื้อหาสตรีมมิ่ง 2-3 แพลตฟอร์มต่อคน

รายการ ข่าว มาแรง

นอกจากเทรนด์ของรับชมทีวีเปลี่ยนไป เนื้อหาที่คนไทยรับชมผ่านทีวีก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ในปี 2019 เนื้อหาที่คนไทยดูผ่านทีวีมากที่สุด คือ ละคร ซีรีส์ (54%) แต่ข้อมูลในปีล่าสุดพบว่า เนื้อหาที่คนไทยดูมากที่สุดตอนนี้คือ รายการข่าว (52%) คนไทยหันมาสนใจข่าวมากขึ้น โดยสาเหตุหนึ่งคาดว่ามาจากสถานการณ์โควิดมีส่วนทำให้พฤติกรรมเปลี่ยน โดยช่วงเริ่มแรกคนติดตามข่าวการรายงานรายวันและสถานการณ์รอบโลก และปัจจุบันรายการข่าวหลายรายการมีการถ่ายทอดสดผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเอื้ออำนวยให้ผู้ชมเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

เรื่องเล่าเช้านี้

ยกระดับการวัดเรตติ้ง

ความท้าทายในปัจจุบันคือ ประเทศไทยผู้ชมจำนวนมากที่ยังนิยมดูรายการทีวีอยู่ แต่ผู้ชมเหล่านั้นกระจัดกระจายไปตามช่องทางต่าง ๆ ทั้งคนที่ดูผ่านจอทีวีและจอออนไลน์ ซึ่งผู้ชมในแต่ละแพลตฟอร์มมีพฤติกรรมการชมที่แตกต่างกันไป เพื่อความเข้าใจผู้ชมมากขึ้นและเพื่อที่จะได้สะท้อนภาพของผู้ชมที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร อุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีระบบการวัดเรตติ้งที่สามารถวัดรวมทั้งทางทีวีและทางดิจิทัลไปพร้อมกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปพัฒนารูปแบบรายการ และมีเดียเอเจนซี สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์วางแผนในการซื้อสื่อโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นีลเส็น ประเทศไทย กำลังพัฒนา การวัดเรตติ้งข้ามแพลตฟอร์ม (Cross Platform) ซึ่งเป็นโครงการร่วมกับ สมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิตอลประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช). โดยนีลเส็น ได้ดำเนินการตามแผนงานโดยมีการติดตั้งและปรับปรุงระบบและอุปกรณ์ เพื่อรองรับการวัดการรับชมผ่านออนไลน์เรียบร้อยแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนการเก็บผลสำรวจและทดสอบระบบ ซึ่งจะได้รายงานผลสำรวจความนิยมของรายการโทรทัศน์แบบข้ามแพลทฟอร์มชุดแรกในช่วง ไตรมาส 3 ของปี

สำหรับการสำรวจความนิยมรายการโทรทัศน์แบบข้ามแพลตฟอร์มนี้ เป็นเทคโนโลยีระบบการวิจัยล่าสุดที่นีลเส็นได้พัฒนาและเริ่มใช้แล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก โดยประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในอาเซียน

“พฤติกรรมของผู้ชมกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมในการนำการวัดเรตติ้งข้ามแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพมาสู่ประเทศไทย มาตรวัดนี้จะเป็นค่ามาตรฐานที่ช่วยให้นักการตลาดและเจ้าของสื่อเข้าใจในพฤติกรรมของคนไทย อีกทั้งยังช่วยสร้างสรรค์โอกาสใหม่ให้กับผู้ลงโฆษณา และผลักดันการผลิตเนื้อหาที่มีความสอดคล้องกับกลุ่มผู้ชมมากยิ่งขึ้น” อารอน ริกบี้ กรรมการผู้จัดการ นีลเส็นประเทศไทย กล่าว

]]>
1388186
จากกระทะเกาหลี สู่ยุค “ถั่งเช่า” ครองเมือง สะท้อนความอยู่รอดของ “สถานีโทรทัศน์” https://positioningmag.com/1318314 Mon, 08 Feb 2021 15:49:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318314 ยุคที่ถั่งเช่า คอลลาเจน และโฮมช้อปปิ้งครองหน้าจอทีวี แน่นอนว่าหลายคนอาจจะไม่ชอบใจมากนัก แต่ถ้าดูดีๆ แล้ว แบรนด์เหล่านี้ต่างทุ่มงบโฆษณามหาศาล เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภค แลกมาด้วยยอดขายถล่มทลาย ในทางกลับกัน ก็เป็นบทสะท้อนให้เห็นถึงความเอาตัวรอดของสถานีโทรทัศน์ ที่ต้องขายพื้นที่โฆษณาให้ได้มากที่สุดด้วย

ย้อนรอยกระทะเกาหลีฟีเวอร์

ย้อนกลับไปยุคหนึ่งเมื่อหลายปีมาแล้ว หลายคงต้องเคยได้เห็นปรากฏการณ์ “กระทะโคเรียคิง” (Korea King) ครองเมือง เรียกได้ว่าได้เห็นโฆษณาตลอดทั้งวันทั้งเช้าทั้งเย็น อีกทั้งยังมีคนดังอย่าง “วู้ดดี้ วุฒิธร มิลินทจินดา” เป็นพรีเซ็นเตอร์ ยิ่งสร้างความน่าเชื่อถือเข้าไปใหญ่ เชื่อว่าในตอนนี้เหล่าแม่บ้านต้องมีกระทะในครอบครองเป็นแน่

ในตอนนั้นหลายคนอาจจะเรียกว่ากระทะวู้ดดี้ก็ได้ แม้ตอนหลังวู้ดดี้จะออกมาปฏิเสธว่าเป็นเพียงแค่พรีเซ็นเตอร์ แต่วู้ดดี้เคยให้สัมภาษณ์ว่าจริงๆ แล้วโคเรียคิงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจอีคอมเมิร์ซ อยู่ในขาของวู้ดดี้เวิลด์ และเป็น Business Partner กับแบรนด์ แสดงให้เห็นว่ามีความมุ่งมั่นในธุรกิจนี้อย่างมาก แต่ตอนนี้วู้ดดี้ได้ปรับโครงสร้างไปพอสมควรแล้ว

กระแสของโคเรียคิงได้เริ่มที่ประมาณปี 2558 ที่แบรนด์เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ชูจุดเด่นที่เป็นกระทะเกาหลี ใช้นวัตกรรมเคลือบ 8 ชั้น ทำให้ไม่ต้องใช้น้ำมันในการทำอาหาร แน่นอนว่าเรียกเสียงว้าวได้อย่างถล่มทลาย เพราะในช่วงนั้นกระแสดูแลสุขภาพกำลังมาแรงมาก หลายๆ ธุรกิจไม่ว่าจะอาหาร เครื่องดื่ม ต่างงัดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เข้ากับเทรนด์นี้

ทางแบรนด์ได้เริ่มอัดงบโฆษณาอย่างถล่มทลายมาอย่างต่อเนื่อง มีการลงสื่อทีวี โฮมช้อปปิ้ง จนทำให้โคเรียคิงขึ้นแท่นแบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาสูงที่สุดในปี 2559 มูลค่า 1,651 ล้านบาท และในปี 2560 ใช้งบมูลค่า 1,059 ล้านบาท

เมื่อกระทะไม่ต้องใช้น้ำมัน ตอบโจทย์เทรนด์สุขภาพอย่างมาก สร้างความแปลกใหม่ให้ตลาดที่นอกเหนือจากกระทะเทฟลอนทั่วไปที่ยังต้องใช้น้ำมันอยู่ ทำให้กระทะโคเรียคิงกลายเป็นไอเทม “ของมันต้องมี” ให้กับแม่บ้านชาวไทยในขณะนั้นเลยทีเดียว

แต่แล้วดราม่าเริ่มบังเกิดแก่โคเรียคิง มีหลายประเด็นที่ชาวเน็ตออกมาตั้งคำถามทั้งเรื่อง “ราคา” หลักหมื่น แล้วหั่นราคาเหลือหลักพัน เป็นการปลอมราคาจริง ในตอนแรกกระทะโคเรียคิงถือว่ามีการตั้งราคาไว้สูงมาก 15,000-18,000 บาท แต่มีการจัดโปรโมชันมากขึ้นทั้งซื้อ 1 แถม 1 ลดราคาเหลือใบละ 3,000 กว่าบาท หรือพันกว่าบาท แม่บ้านตัดสินใจได้ง่ายขึ้น หารกับเพื่อนได้สบายๆ

[2 รุ่นกระทะ ที่ขายในไทย และกำลังเจอดรามาอย่างหนัก เมื่อพบว่าเคลือบไม่ถึง 8 ชั้นอย่างที่โฆษณาไว้]
รวมถึงการโฆษณาเกินจริงเพราะตัวประทะไม่ได้มีการเคลือบ 8 ชั้นอย่างที่บอกในโฆษณา จึงทำให้โคเรียคิงงานเข้าอย่างจัง ต้องถูกระงับโฆษณาชั่วคราว จนกว่าจะมีการปรับแก้ถ้อยคำในโฆษณา ทำให้ทางแบรนด์ออกมาชี้แจง

เมื่อเกิดปัญหาครั้งใหญ่ แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของแบรนด์อย่างมาก กลายเป็นว่าชื่อของโคเรียคิงเริ่มหายไปจากหน้าจอทีวี ไม่มีการโฆษณา แต่ยังคงมีจำหน่ายสินค้าอยู่

ส่งไม้ต่อโฮมช้อปปิ้ง

หลังจากปรากฏการณ์ “กระทะเกาหลี” ผ่านพ้นไป หน้าจอทีวีได้ถูกเติมเต็มด้วยเหล่าบรรดา “ทีวีโฮมช้อปปิ้ง” ซึ่งต้องบอกว่าในปี 2560 เป็นยุคทองของตลาดโฮมช้อปปิ้งอย่างมาก มีผู้เล่นในตลาดถึง 9 บริษัท มีกลุ่ม “ทีวี ไดเร็ค” ครองอันดับ 1 ตามมาด้วย โอ ช้อปปิ้ง และ 1781 ของค่ายอาร์เอส ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นอาร์เอส มอลล์แล้ว

ซึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญก็คือ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทีวีดิจิทัลได้มีการปรับตัวอย่างมากในช่วงที่รายได้จากค่าโฆษณาลดลง เพราะคู่แข่งมากขึ้น จึงต้องมองหารายได้จากช่องทางอื่น โดยธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้งเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ทำให้ทีวีดิจิทัลสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยผ่านเครือข่ายทีวีที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วประเทศ

ธุรกิจ “ทีวีโฮมช้อปปิ้ง” รายการแนะนำสินค้า มีการนำเสนอ 2 รูปแบบ คือ “โฮม ช้อปปิ้ง” เป็นช่องรายการ 24 ชั่วโมง ทั้งช่องทีวีดาวเทียม และช่องทางออนไลน์ ส่วน “ทีวี ช้อปปิ้ง” คือ การเช่าเวลา หรือซื้อเวลาโฆษณาทางสถานีทีวี เพื่อออกอากาศรายการแนะนำสินค้าเป็นช่วงๆ ปัจจุบัน “ทีวีดิจิทัล” ถือเป็นหนึ่งในช่องทางหลักรายการแนะนำสินค้าของธุรกิจไดเร็คเซลส์

เมื่อทีวีดิจิทัลต้องการหารายได้จากสล็อตโฆษณาที่หดลงไป ทีวีโฮมช้อปปิ้งจึงเข้ามาทดแทนในส่วนนั้นได้ เพราะสามารถเหมาซื้อแอร์ไทม์ได้เยอะ จนเมื่อปี 2560 ทีวี ไดเร็คได้ใช้งบโฆษณามากที่สุดเป็นอันดับ 2 มูลค่า 880 ล้านบาท รองจากโคเรียคิง ได้อัดงบโฆษณาช่วงปลายปีผ่านทีวีดิจิทัล

ร้าน TVD Shop สาขาโรบินสัน ราชบุรี (photo: Facebook@TVDirect)

ปรากฏการณ์โฮมช้อปปิ้งเกลื่อนเมืองในตอนนั้น เกิดจากสถานการณ์ของธุรกิจทีวีที่เปลี่ยนไป ตลาดมีผู้เล่นใหม่และจำนวนช่องมากขึ้น ทำให้ช่องเก่าและช่องใหม่มีสล็อตเวลาการออกอากาศช่วงต่างๆ ยังว่างอยู่ 20-30% และบางช่องว่างถึง 50% จึงต้องขายโฆษณาเพื่อถมเวลาให้เต็ม ส่วนการซื้อเวลาของโฮมช้อปปิ้งเป็นไปได้ทั้งรูปแบบของไทม์แชริ่ง ให้ส่วนลด และแถม เป็นต้น

ทำให้โฮมช้อปปิ้งติดท็อป 5 ธุรกิจที่ใช้เงินซื้อสื่อโฆษณามากที่สุด และออกอากาศทุกช่วงเวลาตั้งแต่เช้า บ่าย ค่ำ และยึดเวลาไพรม์ไทม์ขายสินค้าด้วย จากเดิมจะเห็นออกอากาศหลังเที่ยงคืนเท่านั้น

ยุคถั่งเช่า คอลลาเจนครองเมือง

มาถึงปี 2563 และในช่วงเวลาขณะนี้ ปรากฏการณ์ใหญ่ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยคงจะเป็นเรื่องของบรรดาอาหารเสริมต่างๆ ที่ยึดหน้าจอทีวีเป็นที่เรียบร้อย โดยเฉพาะ “ถั่งเช่า” และ “คอลลาเจน” ไม่ว่ะจเปิดทีวีช่องไหนต่างโดนยึดแอร์ไทม์ ทั้งโฆษณา และไทอินสินค้าต่อเนื่อง

จริงๆ แล้วถั่งเช่าในตลาดมีอยู่ 2 แบรนด์ที่ได้เห็นโฆษณาบ่อยๆ ก็คือ “CORDYPLUS” หรือ ถั่งเช่าอ.วิโรจน์ และ Cordyceps Plus Multi Vitamin B หรือ “ถั่งเช่ายิ่งยง” ที่มี “ยิ่งยง ยอดบัวงาม” เป็นพรีเซ็นเตอร์

ต้องบอกว่าถั่งเช่ายิ่งยง หรือคอลลาเจนของ Amado ต่างใช้กลยุทธ์เดียวกันกับทีวีช้อปปิ้ง ก็คือการซื้อช่วงเวลาในรายการทีวีต่างๆ ยิ่งรายการไหนมีเรตติ้งสูง หรือกลุ่มเป้าหมายตรงกับสินค้า ก็มีการซื้อเยอะ ทางสถานีโทรทัศน์เองก็ต้องการรายได้ ต้องขายช่วงเวลาเพื่อให้มีเม็ดเงินโฆษณา

ทำให้ในปี 2563 กลุ่มธุรกิจวิตามินและอาหารเสริมได้ใช้งบโฆษณามากที่สุดเป็นอันดับ 2 มีมูลค่าถึง 2,235 ล้านบาท มีการใช้เพิ่มขึ้นถึง 46% เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ใช้งบเพียง 1,535 ล้านบาทเท่านั้น (ที่มา : Nielsen) ถ้าถามว่าเยอะแค่ไหน… มีการใช้งบเยอะกว่าอุตสาหกรรมใหญ่ๆ อย่างเครื่องดื่ม รถยนต์ และสินค้า FMCG เสียอีก เพราะหลายแบรนด์มีการหั่นงบโฆษณาลงในช่วงวิกฤต

ยิ่งในปี 2563 ในช่วงที่มีการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 บวกกับกระแสของการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทำให้คนอยู่บ้านดูทีวีมากขึ้น ได้เห็นโฆษณาของถั่งเช่ามากขึ้น และไม่ว่าจะเปลี่ยนช่องไปรายการไหน ก็จะมีการไทอินสินค้าทุกรายการ

สิ่งที่ทำให้ถั่งเช่ายิ่งยงแมสมากๆ ก็คือ การโฆษณาเยอะๆ สร้างการจดจำ การใช้คนดังในวงการบันเทิงมาพูดถึงสรรพคุณ รวมถึงใช้วิธีสื่อสารว่า “ยิ่งยงแนะนำ” เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ พร้อมกับจัดโปรโมชันลดแลกแจกแถม ครบสูตรการตลาดแบบไทยๆ เช่นเคย ลดราคาตาแตกจากหลายพัน เหลือแค่พันกว่าบาท ผู้บริโภคเห็นก็เกิดความรู้สึกว่า “คุ้มค่า”

แน่นอนว่าถั่งเช่าครองเมือง ก็ตามมาด้วย “ดราม่า” ครองเมืองเช่นกัน ไม่แพ้เวอร์ชั่นกระทะโคเรียคิงเท่าไหร่นัก เพราะหลายคนทั้งนักวิชาการ หรือชาวเน็ตต่างหาข้อมูลเชิงวิชาการว่าจริงๆ ถั่งเช่าไม่ได้ช่วยรักษาโรคได้ อีกทั้งผู้ป่วยโรคไตอาจจะเสี่ยงไตวายได้อีก

หลายคนถามหาว่าทำไม กสทช. หรือ อย.ไม่มีการควบคุมโฆษณา ปล่อยให้เกิดการโฆษณาแบบนี้อยู่เรื่อยๆ ทำให้วันที่ 20 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา กสทช. กับ อย. ได้ตั้งโต๊ะแถลงข่าวถึงประเด็นดังกล่าว พร้อมกับบอกว่าเป็นโฆษณาลวงโลก เริ่มจากทำการเตือนก่อน แล้วค่อยเอาเรื่องกับสถานีโทรทัศน์ มีค่าปรับอยู่ที่ 5 แสน-5 ล้านบาท

ทีวีต้องเอาความอยู่รอด

ทีวีดิจิทัลได้เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมาก็มีการตะลุมบอนมากมาย อีกทั้งธุรกิจนี้ไม่ได้เป็นไปตามคาดหมายมากนัก เมื่อช่องมากขึ้น การแข่งขันมากขึ้น ผู้ชมจำนวนเท่าเดิม แบรนด์ก็มีการใช้งบโฆษณาเท่าเดิม บางแบนด์ก็หั่นงบลงไปด้วย เพราะไปใช้กับช่องทางอื่นอย่างออนไลน์มากขึ้น

ทำให้ทีวีดิจิทัลส่อแววมีปัญหาขาดรายได้ ขาดสภาพคล่อง มีการปลดคน ปรับผังองค์กร ซื้อกิจการ และปิดช่องกันมาเรื่อยๆ ตั้งแต่นั้นมา

ปรากฏการณ์โฆษณาของสินค้าต่างๆ ที่ครองหน้าจอทีวีตลอดทั้งวัน ก็มาจากสาเหตุที่ไม่แตกต่างกันนัก ทีวีเองก็ต้องการความอยู่รอด ต้องการรายได้จากโฆษณา ช่องทางขายแบบนี้ถูกจริตคนไทย ยิ่งอัดงบโฆษณามากขึ้น

ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า

“เห็นประเด็นโฆษณาถั่งเช่า หรือคอลลาเจนครองเมืองนี้ สะท้อนถึงความถดถอยของทีวี เป็นผลจากความถดถอยของเม็ดเงินโฆษณา ทุกคนวิ่งหาแบรนด์เหล่านี้ บางแบรนด์เข้าด้วยโมเดลเป็นส่วนแบ่งรายได้ หรือแบ่ง GP กันเลย จริงๆ ทีวีทราบดีว่าไม่ดี และอาจจะไม่ได้ต้องการมีโฆษณาเยอะด้วย แต่จำเป็นต้องทำ สื่อทีวีได้เปรียบ เป็นสื่อหลักที่จูงใจได้ดี ทำให้เกิดการอยากลองได้”

เมื่อถามถึงประเด็นที่ว่า มีการควบคุมการโฆษณาหรือไม่ ภวัตบอกว่า ตอนนี้ยังไม่ได้รับข้อมูลในการควบคุม เราเห็นโฆษณาเป็นปีแล้ว แต่จะมาเข้มข้นในช่วง 2 เดือนหลัง มีถี่ขึ้น ดาราเข้ามาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เลยเข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น จากเดิมอาจจะมีนิดเดียว แต่โฆษณามากขึ้น เลยขยายวงกว้าง พอสินค้าแมสขึ้น เรื่องลบๆ ก็มีมากขึ้น คอมเมนต์ด้านลบมากขึ้นเช่นกัน

ล่าสุดมีการยื่นฟ้อง “ยิ่งยง ยอดบัวงาม” ข้อหาโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณถั่งเช่าเกินจริงต่อผู้บริโภค ศาลตัดสินจำคุกรวม 2 ปี ปรับ 5 หมื่น แต่รับสารภาพลดโทษเหลือ ติดคุก 1 ปี ปรับ 2.5 หมื่น โดยให้รอลงอาญา

แต่ในแง่ของกฎหมายในการควบคุมโฆษณา หรือสินค้ายังไม่มีออกมาอย่างชัดเจน ทำให้ต้องติดตามกันต่อไปว่า หมดยุคกระทะเกาหลี ถั่งเช่า แล้วยุคต่อไปจะต้องเจอโฆษณาอะไรครองเมืองอีก…

]]>
1318314
ถอดแนวคิด ‘Single Content Multiple Platform’ โอกาสฟื้น ‘ช่อง 3’ ให้ทำ ‘กำไร’ อีกครั้ง https://positioningmag.com/1308987 Thu, 03 Dec 2020 13:32:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308987 ย้อนไปเมื่อปี 2560 หลายคนคงจำได้ว่า ‘สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์’ หนึ่งในผู้บริหารของกลุ่มช่อง 3 ได้ย้ายไปรับตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ที่ช่อง PPTV และเมื่อวันที่ 5 มิถุนายนปีนี้ สุรินทร์ก็ได้ ‘Comeback’ กลับมาสู่วิก 3 ในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ สายธุรกิจโทรทัศน์ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) แทนที่ ‘บี๋ อริยะ พนมยงค์’ ที่ลาออกไป

สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์

ครึ่งปีแรกขาดทุนอ่วม

ย้อนไปช่วงไตรมาสแรก ผลประกอบการของ ‘บีอีซี เวิลด์’ หรือ ‘กลุ่มช่อง 3’ มีรายได้รวม 1,636.5 ล้านบาท ติดลบ -19.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019 ที่มีรายได้รวม 2,023.8 ล้านบาท แม้รายได้ที่ลดลงจะน่าช็อก แต่ที่ช็อกกว่าคือ ‘3 ผู้บริหารระดับสูง’ ที่ทยอย ‘ลาออก’ อย่าง ‘ประชุม มาลีนนท์’ ที่ออกจากตำแหน่ง ‘G-CEO’ และ ‘อริยะ พนมยงค์’ ที่ออกจากตำแหน่ง ‘President’

ขณะที่ผลประกอบการไตรมาส 2 ก็ยังสาหัด โดยมีรายได้รวม 1,183.8 ล้านบาท ติดลบ -43.4% เมื่อเทียบกับปี 62 ที่ทำได้ 2,092.3 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจาก COVID-19 ส่วนในไตรมาส 3 ทำรายได้ 1,322.8 ล้านบาท ติดลบ -39% เมื่อเทียบกับปี 62 ที่มีรายได้ 2,169.8 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากการลดต้นทุนที่เข้มข้นช่อง 3 สามารถกลับมามีกำไรที่ 60 ล้านบาท

ปีหน้าพร้อมทวงตำแหน่ง ‘เบอร์ 1’

ยอมรับว่าในปีนี้จะเห็นว่าสถานีมีละคร ‘รีรัน’ ค่อนข้างมาก ซึ่งสาเหตุมาจากทั้งสภาวะเศรษฐกิจ การระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้การถ่ายทำคอนเทนต์ได้น้อยลง พนักงานก็ต้อง Work from Home ส่งผลให้ไม่มีรายการใหม่ ๆ มาป้อนช่อง รวมถึงโฆษณาที่ถูกถอดออกไป แต่ในปีหน้า ช่อง 3 จะค่อนข้างรุกมากขึ้น โดยเฉพาะละครที่จะค่อย ๆ เติมละคร First Run ให้มากขึ้น โดยเชื่อว่า หากมีคอนเทนต์ดี ละครดี ช่อง 3 ก็จะกลับมาทวงตำแหน่ง ‘เบอร์ 1’ ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่

“เราโชคดีที่มีคอนเทนต์จำนวนมากทำให้รีรันได้ ต่างจากหลายช่อง ซึ่งหลังหมดช่วงล็อกดาวน์เราก็เริ่มมีละคร First Run มาเติมมากขึ้น อย่างในเดือนกันยายนที่ผ่านมาก็เริ่มเข้าสู่สถานการณ์ปกติ และสะท้อนกลับมาสู่รายได้ที่ดีขึ้น”

ให้ความสำคัญ ‘คอนเทนต์’ อันดับ 1

จากนี้ไปช่อง 3 จะเน้นที่ ‘คุณภาพเนื้อหา’ เป็นหลัก อาจจะลดค่าใช้จ่ายด้านอื่น เช่น ขนาดองค์กรและต้นทุนที่ไม่จำเป็นอื่น ๆ แต่คุณภาพของรายการจะต้องไม่ลดลง เพราะทุกวันนี้การแข่งขันไม่ได้อยู่ว่าเหลือกี่สถานี แต่แข่งที่คุณภาพคอนเทนต์ใครดีกว่ากัน โดยช่อง 3 จะเน้นที่ ‘ละคร’ ‘ข่าว’ และ ‘วาไรตี้’ โดยในแต่ละปีช่อง 3 ผลิตละครปีละ 30-40 เรื่อง และจากนี้ละครช่อง 3 จะมีความหลากหลายและเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น

เช่นเดียวกับรายการข่าวจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบผู้ประกาศให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้นเพื่อให้กลับมา ‘ดัง’ แต่ความชัดเจนอาจต้องรอช่วงต้นปีหน้า เพราะเป็นช่วง Post COVID-19 อีกครั้ง ส่วน ‘วาไรตี้’ ที่ปัจจุบันความนิยมลดน้อยไปเยอะเพราะมีหลายแพลตฟอร์มให้เลือกเสพ และถ้าไม่มีความแปลกใหม่ก็จะไม่ดึงดูด ดังนั้นส่วนนี้ทางช่องก็จะมีการคุยกับผู้จัดให้มากขึ้น ขณะที่รายการที่ยังแข็งแรงอย่างศึก 12 ราศี, 3 แซ่บ และตีท้ายครัวก็ยังเป็นกำลังสำคัญของช่อง

Single Content Multiple Platform โอกาสพลิกทำกำไร

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป คือ ยังเสพคอนเทนต์ทีวีแต่เปลี่ยนแพลตฟอร์ม ดังนั้นช่อง 3 จึงมีแนวคิด ‘Single Content Multiple Platform’ โดยต้องมองการเปลี่ยนแปลงให้เป็นโอกาสมากกว่าอุปสรรค โดยใช้จุดแข็งของละครที่มีกว่า ‘พันเรื่อง’ มีคอนเทนต์รวมกัน ‘หลายหมื่นชั่วโมง’ ที่ไม่มีใครมีเท่า รวมถึงดาราระดับเอลิสต์ และผู้จัดที่แข็งแรงเป็นพาร์ตเนอร์ ซึ่งนี่คือสิ่งที่คนอื่นไม่มี และช่อง 3 กระจายคอนเทนต์เหล่านี้ไปในหลายช่องทาง ซึ่งเป็นการต้นทุนครั้งเดียวแต่ขายได้หลายครั้ง

“การที่มีผู้เล่น OTT เข้ามาในบ้านเราเยอะแยะเราไม่ได้มองเป็นคู่แข่ง แต่มองเป็นคู่ค้าที่เพิ่มมากขึ้น เพราะแต่ละแพลตฟอร์มที่เข้ามาก็จะดึงคอนเทนต์ฮอลลีวูด คอนเทนต์เกาหลี แต่คนไทยก็ยังต้องการดูคอนเทนต์ไทย ซึ่งต่อไปแพลตฟอร์ม 3Plus ของเราจะมีการปรับรูปแบบใหม่ในปีหน้าด้วย”

ไม่ใช่แค่ออนไลน์ แต่ตลาด ‘ต่างประเทศ’ ก็เป็นส่วนสร้างรายได้สำคัญ โดยเฉพาะประเทศ ‘จีน’ และ ‘อาเซียน’ ซึ่งจากนี้ช่อง 3 จะมีเริ่มสำรวจความชอบ ความนิยมของคู่พระนาง และข้อกำหนดกฎหมายเพื่อผลิตคอนเทนต์ได้ตรงใจ โดยปัจจุบันรายได้ของขายการลิขสิทธิ์คอนเทนต์ไปต่างประเทศและ New Media จะเพิ่มเป็น 25% ในปีหน้า จากปีนี้มีสัดส่วน 20% และในอนาคตช่อง 3 จะไม่ใช่สถานีทีวีแต่มั่นใจว่าจะกลายเป็นบริษัทผลิตคอนเทนต์รายใหญ่ของไทย

มั่นใจผ่าน ‘จุดต่ำสุด’ แล้ว

แม้ว่าจะมีการประเมินว่าอุตสาหกรรมโฆษณาทีวีจะหดตัวต่อเนื่องถึงปี 2566 ขณะที่ปีนี้คาดว่าจะหดตัวถึง 40% เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้มีการชะลอการใช้งบโฆษณารวมทั้งการโยกการใช้เงินสื่อโฆษณาจากออฟไลน์ แต่ไตรมาส 3 ช่อง 3 ก็กลับมาทำกำไรได้ และเชื่อว่าในไตรมาส 4 ช่อง 3 จะรักษาโมเมนตั้มการทำกำไรไว้ได้ ขณะที่ในปีหน้า ช่อง 3 ก็มั่นใจว่าจะสามารถเติบโตได้ 2 หลักจากแนวคิด Single Content Multiple Platform นี้

“ผมคิดว่าเราผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว อย่างไตรมาสที่แล้วก็เริ่มเห็นกำไร และจากนี้เราหวังว่าจะมีกำไรเพราะโมเมนตั้มมันกำลังดีเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ลงทุน เพราะแม้เราจะเป็นธุรกิจขาลง คนลดงบโฆษณาแต่ไม่ได้แปลว่า เลิก แต่ เลือก ดังนั้น ขอแค่เขาไม่ตัดเรา เราอาจจะได้งบโฆษณาเท่าเดิมหรือดีดว่าเดิม ซึ่งเหตุผลเดียวที่เขาจะลงเงินก็คือ คอนเทนต์ ซึ่งเมื่อก่อนเราอาจจะโฟกัสที่ปลายทางมาก ไปโฟกัสที่การสร้างแพลตฟอร์มโดยที่ไม่ได้มองว่าคอนเทนต์ที่ดีจะนำเราไปสู่ทุกอย่าง”

]]>
1308987
ไปอีกราย! ช่อง GMM 25 หยุดดำเนินกิจการสิ้นปี ยุบฝ่ายข่าว มีให้ในเครือเช่าเวลา https://positioningmag.com/1307753 Wed, 25 Nov 2020 17:15:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307753 สะเทือนตึกแกรมมี่ ทีวีดิจิทัล “GMM 25” ประสบปัญหาขาดทุน หยุดดำเนินกิจการสิ้นปีนี้ พนักงาน 190 ชีวิตพ้นสภาพ บางส่วนได้ไปต่อ ส่วนช่องมึไว้ให้บริษัทในเครือแกรมมี่เช่าเวลา ให้ทีมข่าวช่องวันผลิตรายการแทน สะพัดก่อนหน้านี้กลุ่มเบียร์ช้างถอนตัว ให้แกรมมี่ซื้อหุ้นคืน เหลือไว้เฉพาะช่องอมรินทร์

รายงานข่าวจากสถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็ม 25 ระบุว่า บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด เตรียมที่จะหยุดดำเนินกิจการในวันที่ 31 ธ.ค. 2563 เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุน ส่งผลทำให้พนักงานประมาณ 190 คน โดยเฉพาะฝ่ายข่าว GMM 25 ต้องพ้นสภาพ โดยมีพนักงานประมาณ 50 คน ที่จะย้ายไปทำงานต่อกับบริษัทในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ส่วนพนักงานประจำที่เหลือ จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานทุกประการ

สำหรับสถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็ม 25 นับจากนี้จะมีไว้สำหรับให้บริษัทในเครือเช่าเวลาของสถานี เพื่อผลิตรายการต่างๆ ส่วนรายการข่าวจะมีทีมข่าวช่องวันมาผลิตแทน โดยรายการข่าวของจีเอ็มเอ็ม 25 จะออกอากาศวันสุดท้ายถึง 31 ธ.ค. 2563

ด้านเฟซบุ๊กที่ใช้นามว่า Preeya luck ระบุว่า ยอมรับว่า เรื่องนี้ส่งผลกระทบทางจิตใจพอสมควร เพราะทีมงานทุกคนก็ชวนกันมาจากที่ทำงานเก่าบ้าง หรือชวนกันมาเพิ่มเป็นทอดๆ แม้จะมีปัญหาเกิดขึ้นบ้างระหว่างการทำงาน แต่ตั้งใจ ทุ่มเท และสร้างสรรค์ผลงาน เรตติ้งเพิ่มขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อท้ายที่สุดจะต้องแยกย้ายกันไปก็ต้องยอมรับ เพราะเป็นเรื่องที่เหนือการควบคุมจริงๆ

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 มีรายงานจากเว็บไซต์ tvdogitalwatch.com ระบุว่า มีการซื้อขายหุ้นคืนระหว่างเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กับครอบครัวสิริวัฒนภักดี (ผู้ผลิตเครื่องดื่มตราช้าง) หลังเข้ามาถือหุ้นใหญ่ในสถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็ม 25 เมื่อปี 2560 โดย จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จะเข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โฮลดิ้ง จำกัด แทนตระกูลสิริวัฒนภักดี ถึงกระนั้นตระกูลสิริวัฒนภักดี ยังคงถือหุ้นใหญ่ในบริษัท อมรินทร์ เทเลวิชั่น จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์อมรินทร์ทีวี ช่อง 34

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด

  • ในปี 2562 มีรายได้รวม 823.13 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 350.30 ล้านบาท
  • เทียบกับปี 2561 มีรายได้รวม 858.02 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 413.22 ล้านบาท

ขณะที่บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของช่องจีเอ็มเอ็ม 25

  • ในปี 2562 มีรายได้รวม 220.74 ล้านบาท กำไรสุทธิ 44.74 ล้านบาท
  • เทียบกับปี 2561 มีรายได้รวม 328.22 ล้านบาท กำไรสุทธิ 194.22 ล้านบาท

Source

]]>
1307753
เปิดใจ “อริยะ พนมยงค์” ภารกิจพลิกช่อง 3 มีกำไร ขอลีนองค์กรให้คล่องตัว https://positioningmag.com/1263163 Tue, 04 Feb 2020 14:11:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263163 เปิดแผน 2020 ของ “อริยะ พนมยงค์” กับความท้าทายบทใหม่ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ในปีนี้บอกเลยว่า ขอพาช่อง 3 กลับมามีกำไร ขอลีนองค์กรให้คล่องตัวด้วยความเร็ว อาจมีปลดคนเพิ่มจากการยุติทีวีแอนะล็อก

Mission 2023 ต้องลีนองค์กรให้คล่องตัว

เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก… เริ่มต้นเข้าสู่ปี 2020 เป็นช่วงที่ทุกองค์กรต่างมีแผนธุรกิจเป็นของตัวเอง สำหรับสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ถูก Disrupt ด้วยเทคโนโลยีอย่างหนัก มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์มากมาย ไปจนถึงระดับผู้บริหาร ได้ดึงตัว “อริยะ พนมยงค์” MD คนแรกของ LINE ประเทศไทย มานั่งแท่น กรรมการผู้อำนวยการ บมจ.บีอีซี เวิลด์

การเข้าของอริยะถือเป็นการที่ช่อง 3 ได้เชิญคนนอกตระกูล “มาลีนนท์” ขึ้นบริหารในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เพราะหวังกู้วิกฤตของช่อง จนถึงปัจจุบันอริยะได้อยู่ในครอบครัวช่อง 3 มาแล้ว 9 เดือน

แน่นอนว่าการเข้ามาบริหารช่อง 3 ต้องเจองานหินมากมาย ก่อนหน้านี้อริยะได้เจอภารกิจใหญ่ด้วยการผ่าตัดองค์กรครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคน ที่มีการปลดคนครั้งใหญ่เกือบ 200 คน รวมไปถึงการปรับโครงสร้างของช่อง มีการขอคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัลช่อง 13 แฟมิลี่ และ 28SD เพื่อให้ความสำคัญกับช่อง 33HD เป็นช่องเดียว

ถ้าถามว่าตอนนี้ช่อง 3 “ลีน” หรือมีความหมายที่ว่าได้รีดไขมันส่วนเกินออกไปแล้วหรือยังนั้น อริยะบอกว่าขอลีนด้วยความรวดเร็ว คล่องตัว

“Vision ใหม่ของ BEC World คือการเป็นผู้นำด้านคอนเทนต์ และธุรกิจบันเทิงของประเทศไทย โดยที่ Mission ภายในปี 2023 ต้องการปรับให้ BEC World เป็นองค์กรที่มีคคล่องตัว เคลื่อนไหวให้เร็ว ยกระดับ DNA ความคิดสร้างสรรค์ของช่อง 3 เพื่อส่งมอบความสดใหม่ด้วยคอนเทนต์ และใช้เทคโนโลยีนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ และต้องเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพทุกช่องทาง เพราะตอนนี้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการดูหลายหน้าจอ ต้องทำอย่างไรให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่มให้ได้”

6 ยุทธศาสตร์ ต้องครองใจคนทุกวัย

สำหรับแผนของอริยะในปีนี้ ที่จะกอบกู้วิกฤตของช่อง 3 มีด้วยกัน 6 ข้อ ครอบคลุมทั้งเรื่องคอนเทนต์ แพลตฟอร์ม ศิลปิน และธุรกิจใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้ช่อง 3 มากขึ้น

1. New Media

มีการปรับสื่อแบบดั้งเดิมให้มีประสิทธิภาพ ไม่ได้มีแค่โฆษณา 15-20 วินาที แต่ต้องสร้างยอดขาย การเข้าถึงผ่านจอ และออนไลน์ได้มากขึ้น ช่อง 3 ได้เริ่มพัฒนารูปแบบสื่อที่สามารถขายสินค้าได้แบบ D2C ได้เริ่มทดลองแคมเปญแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นการจับมือร่วมกันกับเซเว่นฯ ในลักษณะที่ว่าระหว่างช่วงเบรกโฆษณาจะมี QR Code ให้ผู้ชมสแกนแล้วได้รับส่วนลดเมื่อซื้อสินค้าที่เซเว่นฯ เป็นรูปแบบการปรับสื่อให้เข้าหาลูกค้า และดึงทราฟฟิกไปที่เซเว่นฯ มากขึ้นด้วย

ความสำคัญของสื่อรูปแบบใหม่นี้คือการได้ “ดาต้า” ของผู้บริโภค หรือผู้ชม เป็นการหาพาร์ตเนอร์ร่วมกันในการทำแต่ละแคมเปญ จะเป็นช่องทางค้าปลีก หรือแบรนด์สินค้าก็ได้ ขึ้นอยู่กับโจทย์ของแบรนด์ ทางช่อง 3 ได้มีเตรียมรองรับเรื่องระบบหลังบ้าน ระบบโลจิสติกส์ส่งสินค้าให้ได้ จะเปิดแคมเปญอย่างทางการสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้

2. Go Inter

เป็นกลยุทธ์ในการส่งละครช่อง 3 ไปยังต่างแดนมากขึ้น โดยที่ในปี 2019 ได้ส่งละครโกอินเตอร์แล้ว 23 ประเทศในเอเชีย เจาะกลุ่มประเทศเกาหลี มาเลเซีย อินโดนีเซีย ในปีนี้ได้เน้นตลาดประเทศจีน และอินโดไชน่ามากขึ้น ยิ่งหลังจากจับมือกับพาร์ตเนอร์อย่าง WeTV ยิ่งช่วยตีตลาดประเทศจีนได้ง่ายขึ้น สร้างความรู้จักได้มากขึ้น ตั้งเป้าในปีนี้ต้องเติบโต 2 เท่า

3. พลิกโฉม Mellow สู่ 3+

จากแพลตฟอร์ม Mellow ที่เป็นเหมือนแพลตฟอร์มสำหรับดูทีวีออนไลน์ ทีวีย้อนหลังของช่อง 3 ที่เริ่มทำตลาดเมื่อปี 2560 ในปีนี้ได้ทำการยกเครื่องสู่ชื่อใหม่ว่า 3+

อริยะบอกถึงสาเหตุในการเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้แบบง่ายๆ ว่า “ชื่อ Mellow ไม่ใช่ชื่อที่ทุกคนจะจำได้ แต่ 3+ จำง่าย เป็นเหตุผลง่ายๆ เลย” ส่วนคอนเทนต์ข้างในมีการปรับเล็กน้อย จะเป็นศูนย์รวมคอนเทนต์ของช่อง 3 ทั้งหมด ได้แก่ ละคร บันเทิง ข่าว จากเดิม Mellow มีแค่ละครรีรันเท่านั้น

3+ จะเป็นแพลตฟอร์มที่บุกด้านดิจิทัลของช่อง 3 จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการช่วงเดือนสิ้นเดือนมีนาคม มีการตั้งเป้าเติบโตขึ้น 2 เท่า

4. ปรับคอนเทนต์ ดึงไพรม์ไทม์ลากยาวตั้งแต่ 6 โมง – 4 ทุ่ม

มีการปรับผังรายการโดยเฉพาะช่วงไพรม์ไทม์ที่เรียกว่าเป็นช่วงโกยเรตติ้ง โกยค่าโฆษณา แต่เดิมช่วงไพรม์ไทม์ของทีวีจะเป็นช่วงละครสองทุ่ม แต่ในปีนี้ช่อง 3 ปรับให้ยืดมาตั้งแต่ช่วง 6 โมง – 4 ทุ่มครึ่ง

โดยที่จะมีรายการเข้ามาใหม่เพื่อดึงผู้ชม ช่วง 6 โมงเป็นช่วงที่ทุกคนกำลังกลับบ้าน ส่วนกลุ่มครอบครัวจะดูทีวีด้วยกัน และช่วง 1 ทุ่ม – 2 ทุ่ม จะเป็นช่วงพีคที่สุด เพราะเป็นช่วงเวลากินข้าวพร้อมหน้ากัน คอนเทนต์จึงต้องเป็นตลาดแมสที่ทุกคนต้องดูได้

หลังจากนั้นช่วงหลัง 2 ทุ่ม เป็นช่วงของละคร ผู้ชมจะมีความแตกต่างกัน คอนเทนต์หลากหลาย มีการปรับรูปแบบการนำเสนอ ละครต้องเล่าเรื่องกระชับ เช่น ซ่อนเงารัก ดำเนินเรื่องเร็วขึ้น ส่วนช่วงเวลาอื่นอาจจะไม่ได้เปลี่ยนมาก

5. เพิ่มพื้นที่ให้ศิลปินบนหน้าจอ และออนไลน์

ในอดีตแฟนๆ ของศิลปิน ดาราจะได้ชมผลงานของดาราที่ตัวเองชอบก็ต่อเมื่อมีงานละคร หรือรายการทีวีเท่านั้น แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไปทำให้ศิลปิน ดารามีช่องทางของตัวเองมากขึ้น ทางช่องก็ต้องปรับตัวให้ดารามีพื้นที่มากขึ้น ไม่ใช่แค่ช่วงละคร

ปัจจุบันช่อง 3 มีศิลปิน ดาราในสังกัดเกือบ 200 คน พบว่าแฟนๆ อยากเห็นศิลปินไม่ใช่แค่ช่วงละคร จึงเริ่มสร้างรายการที่มีดาราเป็นผู้ดำเนินรายการมากขึ้น ได้แก่ The Brother รายการเรียลลิตี้ค้นหาไอดอลชาย ที่จับมือร่วมกับ i AM หรือชื่อเดิมคือ BNK48 Office มีติ๊ก เจษฎาภรณ์, มาริโอ้, อนันดา และนิชคุณ เป็นเมนเทอร์

รวมถึงมีการปรับทาเลนต์ของศิลปิน ดึงความสามารถอื่นๆ นอกเหนือจากแสดง สร้างโอกาสใหม่ๆ และพาศิลปินไปเติบโตในต่างแดนมากขึ้น

6. ต่อยอดจากดาต้า

จากรูปแบบของ D2C ที่ดูคอนเทนต์จากหน้าจอ แล้วดึงทราฟฟิกไปยังร้านค้าพันธมิตรผ่าน QR Code สิ่งที่ได้กลับมาคือดาต้าของผู้ชม เพราะแต่ก่อนได้เพียงแค่เรตติ้งของการชมรายการเท่านั้น ไม่สามารถได้ข้อมูลของผู้ชมเท่าไรนัก การที่ได้ดาต้ามาเพิ่มสามารถต่อยอดในการทำกิจกรรม หรือการปรับคอนเทนต์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปีนี้ต้องมีกำไร!

ถ้าพูดถึงเรื่องผลประกอบการของช่อง 3 อริยะอาจจะต้องปาดเหงื่อเล็กน้อย แต่ก็ประกาศกร้าวว่า “ปีนี้จะต้องมีกำไร” โดยที่ผลประกอบการของ BEC World ช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2019 ยังคงติดลบ -138 ล้าน ส่วนรายได้ทั้งปียังไม่เปิดงบประมาณ แต่ในปี 2020 จะพากลับมามีกำไรให้ได้

ปัจจุบันช่อง 3 มีสัดส่วนรายได้ 83% จากโฆษณาหน้าจอทีวี และ 17% จากธุรกิจอื่นๆ (ดิจิทัล ต่างประเทศ รูปแบบโฆษณาอื่นๆ) มีการตั้งเป้าว่าภายในปี 2023 รายได้จากทีวีจะเหลือ 65% และอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นมาเป็น 35%

อริยะ พนมยงค์

อริยะบอกว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง “รูปแบบธุรกิจจะต้องเป็น Beyond TV ต้องสร้างธุรกิจใหม่อย่างยั่งยืน” และต้องสร้างการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ให้ได้

อริยะทิ้งท้ายว่า “ปีนี้ต้องมีกำไร ต้องเกาให้ถูกจุด อยากให้บุคลากรปรับตัวเร็วกว่านี้ เวลาไม่ได้เข้าข้างเรา ดำเนินธุรกิจพวกนี้ให้เร็วที่สุด ลีนของเรา คือความเร็ว เน้นความคล่องตัว เน้นกระชับ เพราะคนสมาธิสั้น ตอนนี้ไม่ได้มองแค่ทีวีเป็นคู่แข่ง แต่ทุกแพลตฟอร์มที่แย่งเวลาลูกค้าเป็นคู่แข่งทั้งหมด ในปีนี้อาจจะมีลดคนลงบ้างตอนปิดทีวีแอนะล็อก ส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานที่อยู่ตามเสาที่ไม่ได้ใช่งานแล้ว”

]]>
1263163
MONO เขย่าผังองค์กรครั้งใหญ่! เลย์ออฟพนักงานกว่า 200 คน หลังรายได้ไม่เข้าเป้า https://positioningmag.com/1261122 Fri, 17 Jan 2020 17:13:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261122 MONO เจ้าของช่องทีวีดิจิทัล MONO29 หรือ บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) เขย่าโครงสร้างองค์กร ปรับลดพนักงาน 200 คน ยอมรับรายได้พลาดเป้าหมายในปีนี้

ฝ่ายบริหารงานบุคคล MONO29 ได้เรียกพนักงานฝ่ายต่างๆ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ โดยต้องลดจำนวนคนรวมแล้วประมาณ 200 คน ถือว่าเป็นการปรับใหญ่ที่สุดครั้งแรกของ MONO ซึ่งปัจจุบันฝ่ายข่าวมีพนักงานอยู่ประมาณ 80 คน และฝ่ายอื่นๆ ที่ต้องปรับรวมถึงฝ่ายบันเทิง ฝ่ายบริการลูกค้า

ขณะเดียวกันมีการตั้งบรรณาธิการบริหารฝ่ายข่าวคนใหม่ เบญจวรรณ สมสิน จากช่อง 3 แทนบรรณาธิการคนเดิมซึ่งได้ออกไปก่อนหน้านี้ราวกลางเดือนมกราคม

สำหรับโครงสร้างธุรกิจ MONO ประกอบด้วย 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มธุรกิจสื่อ สื่อทีวี สื่อออนไลน์ บริการสมัครรับข้อมูลข่าวสาร สื่อวิทยุ และ กลุ่มธุรกิจการให้บริการคอนเทนต์ ประกอบด้วย ธุรกิจภาพยนตร์ ธุรกิจกีฬา ธุรกิจเพลง ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจเกม ธุรกิจคอมเมิร์ซ

ทั้งนี้ MONO รายงานผลประกอบการล่าสุดในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 งวด 3 เดือน รายได้สื่อโฆษณาทีวี ลดลง 32.56 ล้านบาท คิดเป็น 7.85% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และลดลง 123.40 ล้านบาท คิดเป็น 24.40% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีเดียวกัน

เนื่องจากไตรมาส 3 มี การแข่งขันที่รุนแรง เป็นผลจากช่องในอันดับ Top 5 มีเรตติ้งเติบโตขึ้นมาก อีกทั้งยังมีการจัดโปรโมชั่นเพื่อดึงเงินโฆษณาในช่วงเวลาดังกล่าว

ขณะที่รายได้จากการให้บริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ประจำไตรมาส 3 อยู่ที่ 18.62 ล้านบาท ลดลง 20.37 ล้านบาท คิดเป็น 52.24% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่มีแนวโน้มทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม รายได้บริการ Monomax มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยเพิ่มขึ้น 3.62 ล้านบาท คิดเป็น 30.65% เมื่เทียบกับไตรมาสที่แล้วของปีเดียวกัน รายได้สปอนเซอร์ชิปเพิ่มขึ้น 34.74 ล้านบาท คิดเป็น 228.85% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 19.08 ล้านบาท คิดเป็น 61.87% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีเดียวกัน

สรุปผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ของปี62 บริษัทฯ มี EBITDA ลดลง 30.44% และขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 86.34% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปีเดียวกัน ปัจจัยหลักเป็นผลจากรายได้การให้บริการสื่อโฆษณาลดลง

เมื่อรวม 9 เดือนของปี 2562 ขาดทุนสุทธิ 384.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่ขาดทุนสุทธิ 36.86 ล้านบาท โดย ราคาหุ้น MONO ปิดตลาดวันนี้ (17 ม.ค.) ปิดตลาดที่ 1.08 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง ด้วยมูลค่าซื้อขาย 3.63 แสนบาท

ก่อนหน้านี้ นายปฐมพงศ์ สิรชัยรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุว่าบริษัทวางแผนในช่วง 3 ปี (ปี 2563-65) โดยตั้งเป้ารายได้จะปรับขึ้นไปแตะ 5 พันล้านบาทในปี 2565 แม้ว่าในปีนี้คาดว่ารายได้จะพลาดเป้าหมายที่วางไว้ในระดับ 3.5 พันล้านบาท

พร้อมทั้งคาดว่าจะสามารถล้างขาดทุนสะสมที่มี 1.58 พันล้านบาทภายใน 3 ปีนี้ โดยจะพลิกกลับมามีกำไรในปี 2563

Source

]]>
1261122
เปลี่ยนคู่แข่งเป็นคู่ค้า MONO ผนึก GMM ผลิตคอนเทนต์ทั้งเพลงและซีรีส์ https://positioningmag.com/1251933 Fri, 01 Nov 2019 07:51:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1251933 MONO ประกาศผนึกกำลัง GMM Grammy-GMM Studios ในการผลิตคอนเทนต์ และขยายฐานลูกค้าซึ่งกันและกัน ผลิตเพลง ซีรีส์ และการตลาด

คู่หูใหม่วงการทีวีดิจิทัล

ยุคที่วงการสื่อยังอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วงโดยเฉพาะสื่อดั้งเดิมทั้งโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ ที่พฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำเอาสื่อต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ตัวเองอยู่รอดจากวิกฤติต่างๆ

ในวงการทีวีดิจิทัลก็สร้างบาดแผลให้กับผู้เล่นหลายราย ซึ่งมีบางรายที่ถอยทัพขอถอนใบอนุญาตคืนไปแล้วเพื่อตั้งตัวตั้งหลักกันใหม่ ส่วนรายที่ยังอยู่ก็ต้องสู้กันต่อไป ต้องพัฒนาอะไรใหม่ๆ เพื่อดึงความสนใจจากผู้บริโภคให้ได้

ความน่าสนใจอยู่ที่กลยุทธ์ในตอนนี้เป็นการผนึกกำลังกัน อาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกัน จะช่วยสร้างการเติบโตได้ดีกว่าการที่ทำตลาดคนเดียว

ล่าสุด MONO ได้ประกาศความร่วมมือกับ GMM Grammy ในการลุยศึกทีวีดิจิทัลอย่างเต็มสูบ เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย

โดยงานนี้มีการวางแผนทั้งด้านการผลิตคอนเทนต์ ด้านกลยุทธ์ทางการตลาด และการขยายช่องทางการเข้าถึงคอนเทนต์ เป็นการลบภาพคู่แข่งในตลาด แต่เป็นการเปลี่ยนเป็นพันธมิตรช่วยกันเสริมตลาด

ปฐมพงศ์ สิรชัยรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บมจ. โมโน เทคโนโลยี เปิดเผยว่า     

ถือเป็นความร่วมมือที่พิเศษในการดึงจุดแข็งของทั้ง 2 มาผนึกกำลังกัน MONO เองมีการผลิตสื่อ และให้บริการด้านความบันเทิง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้านของ GMM Grammy มีคอนเทนต์ที่แข็งแกร่งทั้งเพลง ศิลปิน ซีรีส์ มาตลอดระยะเวลายาวนานหลายสิบปี วันนี้เรามีเป้าหมายเดียวกัน ในการผลิตเนื้อหาและคอนเทนต์ต่างๆ ที่สนุกสนาน มีคุณภาพ แถมยังรับชมได้หลากหลายช่องทางในเครือ MONO

ผลิตคอนเทนต์ร่วมกัน 5 กลุ่ม

ในส่วนของเนื้อหาและคอนเทนต์ที่จะร่วมมือกันจะมีทั้งในส่วนของนักแสดง ศิลปิน เพลง Original Content และคาราโอเกะ

1. ปั้น Girl Group

ร่วมมือสร้างศิลปินกลุ่มใหม่ ภายใต้รหัสลับ “Girl Universe” ตั้งเป้าปีแรกที่จะผลิต 2 กลุ่ม จำนวน 4 อัลบั้ม (20 ซิงเกิล)

2. Original Content 

จะเป็นการผลิตซีรีส์ร่วมกัน 6-8 เรื่องต่อปี ภายใต้การผลิตของ GMM Studios เป็นซีรีส์แนว Action, Drama, Horror และ Romantic Comedy โดยใช้นักแสดงหลักจาก GMM Grammy ร่วมกับ นักแสดงจาก MONO คาดหวังการเติบโตและความหลากหลายให้กับ MONO29 และ MONOMAX

การจับมือในส่วนนี้จะเป็นการทำงานร่วมกันเป็นระยะเวลา ปี มีจำนวนซีรีส์ที่วางแผนกันเบื้องต้นมากถึง 20-22 เรื่อง

3. เสริมทัพในแพลตฟอร์มอื่นๆ

ซีรีส์บางส่วน และคาราโอเกะ MONO จะนำเข้ามาเสริมทัพคอนเทนต์ให้กับแพลตฟอร์ม 3BB TV (โดยเทคโนโลยีจาก KT Corporation ประเทศเกาหลีใต้) MONO ทำหน้าที่ Master Content Provider ให้กับ 3BB เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ตั้งเป้าผู้ใช้งานบริการนี้ 1.5 ล้านรายในหนึ่งปี (3BB TV จะเปิดให้บริการภายในไตรมาส 2 ปี 2020)

4. ทำการตลาดร่วมกัน

เป็นการตลาดร่วมกันด้วยสื่อ ฐานลูกค้า และแฟนคลับทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค ของทั้งสองฝ่าย

5. แท็กทีมการขายโฆษณา

วิเคราะห์การขายโฆษณาทางทีวีดิจิทัลร่วมกัน เพื่อให้เกิดการกำหนดมาตรฐานราคาที่เหมาะสมกับเรตติ้ง และส่งเสริมอุตสาหกรรมสื่อทีวีของไทย ซึ่งทาง MONO เตรียมปรับขึ้นค่าโฆษณาถึง 200% ในปีหน้าอีกด้วย

สำหรับแผนกลยุทธ์คอนเทนต์ที่ทั้ง 2 ได้วางไว้ 3 ปี ต่อจากนี้จะสร้าง 10 Artists, 10 Digital Albums, 12 Concerts, 30 Road tour Events, 20,000 Karaoke Songs

สรุปง่ายๆ ก็คือ การผนึกกำลังกันครั้งนี้เรียกว่าเป็นการดึงเอาจุดแข็งของแต่ละคนออกมา และเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างการเติบโตด้วยกัน

ทาง GMM Grammy มีจุดแข็งในการผลิตคอนเทนต์ที่หลากหลาย และสามารถจับจริตคนไทยได้อยู่หมัดว่ามีความชอบอะไร สนใจอะไร แต่ยังขาดแพลตฟอร์มในการเผยแพร่คอนเทนต์ที่หลากหลาย

ทาง MONO เองมีกลยุทธ์ในการปั้นช่องทีวีดิจิทัลได้ค่อนข้างประสบความสำเร็จ มีเรตติ้งในอันดับต้นๆ ได้ แต่ยังขาด Original Content ของตัวเอง การได้คอนเทนต์ที่ทำร่วมกับ GMM Grammy มาช่วยเสริมจะช่วยสร้างความน่าสนใจได้อีก แถม MONO เองก็มีแพลตฟอร์มอื่นๆ ทั้ง MONOMAXX อีกทั้งยังเตรียมคลอด 3BBTV ในปีหน้าอีกด้วย.

]]>
1251933
“RS” คว้าลิขสิทธิ์ “ไทยไฟท์” มวยไทยระดับโลก ลงผังช่อง 8 https://positioningmag.com/1251261 Mon, 28 Oct 2019 10:25:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1251261 วงการทีวีดิจิทัลสะเทือนอีกครั้ง เมื่อ “เฮียฮ้อ-สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์” จับมือ “มด-นพพร วาทิน” ผู้จัดรายการมวยไทยดังระดับโลก “ไทยไฟท์” เตรียมลงผังรายการมวยช่อง 8 วางเป้าหมายขึ้นแท่นเป็นช่องมวยอันดับหนึ่งของประเทศ

ช่อง 8 ประกาศจับมือพันธมิตรยักษ์ใหญ่แห่งวงการมวย มด-นพพร วาทิน โปรโมเตอร์เจ้าของรายการมวยไทยระดับโลก “ไทยไฟท์” เป็นอีกรายการที่มีเรตติ้งค่อนข้างสูง มาลงจอช่อง 8 เป็นการดวลเดือดของนักมวยไทยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ บนสังเวียนที่เต็มไปด้วยนักสู้ระดับแชมป์เปี้ยน โดยช่อง 8 ถ่ายทอดสดให้แฟนมวยไทยทั่วประเทศช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ต้นปี 2563 

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ตลอด 5 ปี เราได้ประกาศแผนธุรกิจเชิงรุก ตั้งเป้าขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตไปตามเป้าหมายโดยเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารทีมช่อง 8 ให้แข็งแกร่ง โดยมุ่งเน้นการบริหารงานเชิงรุก ด้วยกลยุทธ์ Horizontal Integration การขยายธุรกิจในแนวราบ จากการหาพันธมิตรที่แข็งแกร่งเข้ามาร่วมเสริมทัพ ภายใต้การแข่งขันของทีวีดิจิทัลที่เป็นไปอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะรายการประเภทถ่ายทอดสดกีฬาสำคัญๆ อย่างมวย ที่ถือว่าได้รับความนิยมจากผู้ชมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นรายการ Sport Entertainment ที่ผสมผสานความน่าสนใจในเกมกีฬาและความบันเทิงเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันเป็นตลาดใหญ่ที่มีมูลค่าราว 1.2 แสนล้านบาท (ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) ทำให้กระแสมวยจอตู้เข้มข้น กลับมาช่วงชิงคอนเทนต์กระชากเรตติ้งกันอย่างดุเดือด

ปัจจุบันทางช่อง 8 มีรายการมวยประจำอยู่ 2 รายการ ในวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 19.00 น. คือ “มวยฮาร์ดคอร์-มวยพันธุ์ดุ” โดยทำการถ่ายทอดสดวันแรกไปเมื่อวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา ทำเรตติ้งพุ่งแรงแตะหลักล้าน และศึก “มวยไทยซุปเปอร์แชมป์” ซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้นำรายการมวยระดับแนวหน้าของประเทศ 

การเข้ามาของรายการมวย ไทยไฟท์ จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ช่อง 8 มีคอนเทนต์รายการที่หลากหลาย ดันเรตติ้งพุ่งทะยานรับช่วงไฮซีซั่น และยังเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่จะช่วยส่งให้ช่อง 8 เป็นที่สุดของคอนเทนต์มวยไทย.

]]>
1251261
ยุติ 2 ช่องทีวีดิจิทัล! “ช่อง 3” เดินหน้าชิงบัลลังก์รายการข่าว ปรับผังเฟสแรกประกาศยึดเรตติ้งเบอร์ 1 ยกแผงทั้งสถานี https://positioningmag.com/1248094 Mon, 30 Sep 2019 12:26:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248094 หลังเที่ยงคืนวันนี้ (30 ..) ช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD ทีวีดิจิทัล 2 ช่อง ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ถึงคิวยุติออกอากาศ จากการคืนใบอนุญาตกับ กสทช. ประกาศพร้อมกลับมาโฟกัสคอนเทนต์ช่อง 3” ประเดิมปรับผังรายการข่าวใหม่ กับเป้าหมายเรตติ้งเบอร์ 1” ทั้งสถานี  

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังยุติออกอากาศทีวีดิจิทัล 2 ช่อง จะกลับมามุ่งบริหารรายการบนช่อง 3 หรือ ช่อง 33 เพียงช่องเดียวให้แข็งแกร่ง โดยเฟสแรกได้ปรับโฉม “รายการข่าว” ทุกรายการ เดือนต.ค.นี้เริ่มที่ 3 รายการ คือ เที่ยงวันทันเหตุการณ์ เรื่องเด่นเย็นนี้ และ ข่าว 3 มิติ และจะปรับโฉมครบทุกรายการข่าวที่มีจำนวน 11 รายการในไตรมาส 4 ปีนี้

อริยะ พนมยงค์

นอกจากนี้มีอีก 2 รายการกลุ่มข่าวจากช่อง 28 คือ โหนกระแส และ ข่าวนอกลู่ ย้ายมาออกอากาศที่ช่อง 3 ส่วนรายการประเภทอื่นๆ กลุ่มวาไรตี้และละคร จะปรับผังช่วงต้นปี 2563

ปัจจุบันเรตติ้งรายการข่าวช่อง 3 “ส่วนใหญ่” เป็นที่หนึ่งเกือบทุกรายการ อาทิ เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง เที่ยงวันทันเหตุการณ์ เรื่องเด่นเย็นนี้ เป็นต้น เป้าหมายหลังจากปรับโฉมรายการข่าวใหม่ในปีนี้ คือการผลักดันให้ช่อง 3 เป็นผู้นำเรตติ้งรายการข่าวทั้งสถานีในทุกช่วงเวลา โดยเฉลี่ยเรตติ้งจะต้องอยู่ระดับ 1.5 – 2

“น่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ไตรมาส กับเป้าหมายการขึ้นมาครองเรตติ้งข่าวเบอร์ 1 ทั้งสถานี ทั้งการนำเสนอบนจอทีวีและบนออนไลน์ ปัจจุบันเพจข่าวช่อง 3 ทุกรายการ บน Facebook มีผู้ติดตามกว่า 14 ล้านคนแล้ว”

ชูจุดขายทัพผู้ประกาศ 50 คน

การปรับโฉมรายการข่าวใหม่ วาง Positioning ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของผู้ชม “ช่อง 3” ด้วยแนวคิด “ข่าวจริง ทันเหตุการณ์ พึ่งพาได้” ซึ่งก็มาจากการเป็น “สื่อหลัก” ที่ต้องทำหน้าที่นำเสนอข่าวจริงที่มีความน่าเชื่อถือ มีทีมงานลงพื้นที่รายงานข่าวในสถานการณ์สำคัญ และเป็นสื่อที่พึ่งพาได้

กลยุทธ์การนำเสนอคอนเทนต์ข่าว โฟกัสข่าว 3 ประเภทที่อยู่ในความสนใจของฐานผู้ชม “ช่อง 3” คือ ข่าวสังคม อาชญากรรม และข่าวบันเทิง ซึ่งมีฐานผู้ชมมากที่สุด

“จุดแข็งของข่าวช่อง 3 คือการมีผู้ประกาศที่เป็นที่รู้จักถึง 50 คน นอกจากเป็นผู้ประกาศข่าว จะทำหน้าที่ช่วยเหลือสังคมและผู้ชมเมื่อเกิดเหตุการณ์เดือดร้อน”

ดันรายได้ข่าวสัดส่วน 10%

ที่ผ่านมา ช่อง 3 ถือเป็นผู้ครองบัลลังก์รายการข่าว รายได้จากรายการข่าวเคยขึ้นไปสูงสุดที่สัดส่วน 10% ของรายได้ ปัจจุบันลดลงมาเป็นตัวเลขหลักเดียว จากคู่แข่งขันที่เพิ่มขึ้น เป้าหมายการปรับโฉมรายการข่าวครั้งนี้ ก็เพื่อผลักดันรายได้จากรายการข่าวให้กลับไปมีสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 10% เหมือนเดิม เป้าหมายแรกต้องทำเรตติ้งให้ขยับขึ้นก่อน จากนั้นจึงเป็นโอกาสของการปรับขึ้นราคาโฆษณา

ปัจจุบันรายได้หลักของช่อง 3 มาจากรายการละคร 80% ที่เหลือเป็นวาไรตี้ และข่าว นอกจากผลักดันรายการข่าวให้มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว จะหาโอกาสสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ๆ เช่น ออนไลน์ การขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ต่างประเทศ ให้มีสัดส่วน 10% ของรายได้ในอนาคต

สำหรับสถานการณ์การแข่งขันธุรกิจทีวีดิจิทัลหลังจาก 7 ช่องคืนใบอนุญาต ยุติออกอากาศ มองว่าการแข่งขันยังคงเหมือนเดิม โดยอยู่ที่ 10 อันดับเรตติ้งแรก ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะแข่งขันช่วงชิงเม็ดเงินโฆษณาทีวี.

]]>
1248094
2 ช่องสุดท้ายบีอีซี “ลาจอ” กสทช. สรุป 5 ปี “ทีวีดิจิทัล” ปิดฉาก 9 ช่อง “เลิกจ้าง” กระทบคนสื่อ-ครอบครัวเกือบ 15,000 คน https://positioningmag.com/1247989 Mon, 30 Sep 2019 00:59:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247989 ปิดฉากลาจอทีวีดิจิทัลคืนใบอนุญาตตามมาตรา 44 กันครบทั้ง 7 ช่องหลังเที่ยงคืนวันนี้ (30 ..) “2 ช่องอำลาส่งท้าย เป็นคิวของกลุ่มบีอีซีช่อง 3 Family” และช่อง 3 SD” หากย้อนกลับไปนับตั้งแต่เริ่มต้นทีวีดิจิทัลปี 2557 มีผู้ประกอบการพ่ายสมรภูมิทีวีดิจิทัลรวม 9 ช่อง จาก 24 ช่องที่เปิดประมูลและเกือบทั้งหมด ขาดทุน

เส้นทาง “ทีวีดิจิทัล” กว่า 5 ปี นับจากเริ่มออกอากาศครั้งแรกในเดือน เม.ย. 2557 มาถึงวันที่รัฐdddเปิดทาง “คืนใบอนุญาต” ก่อนจบอายุใบอนุญาต 15 ปี ในปี 2572 ถึงวันนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะ “ขาดทุน” หนัก และนั่นเป็นสาเหตุให้ 7 ช่อง ที่ประกอบไปด้วย สปริงนิวส์ 19, สปริง 26, ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี, MCOT Family 14, ช่อง 3 Family และช่อง 3 SD ขอคืนใบอนุญาต ตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44 เพื่อรับเงินชดเชย จากการใช้ใบอนุญาตไม่ครบตามอายุ

ก่อนหน้าในปี 2558 เพียง 1 ปี ในยุคทีวีดิจิทัล 2 ช่อง “ไทยทีวีและโลก้า” ของ พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” ได้บอกคืนใบอนุญาตเป็นรายแรก ปัจจุบันยังมีคดีฟ้องร้อง กสทช. ที่ศาลปกครอง สรุปช่วง 5 ปีแรก มีทีวีดิจิทัลปิดตัวรวม 9 ช่อง

ฐากร ตัณฑสิทธิ์

ช่องเยอะ-เทคโนโลยีดิสรัปชั่น

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หากย้อนกลับไปดูสถานการณ์ “ทีวีดิจิทัล” ก็ต้องยอมรับว่ามีช่องที่เปิดประมูล “จำนวนมาก” เพราะเพิ่มขึ้นจากยุคแอนะล็อก 6 เท่าตัว ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาทีวีไม่ได้เพิ่มขึ้น

สิ่งสำคัญที่หลายอุตสาหกรรมก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากทีวีดิจิทัล คือ “เทคโนโลยี ดิสรัปชั่น” ทำให้มีดิจิทัลแพลตฟอร์มใหม่ๆ มาเป็นตัวเลือกเสพสื่อและคอนเทนต์ เห็นได้จากแนวโน้มการใช้งานดาต้าในฝั่งโทรคมนาคมที่เพิ่มขึ้นทุกปี

พบว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7% นับตั้งแต่ปี 2557 ที่เริ่มต้นออกอากาศทีวีดิจิทัล ตัวเลขผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถืออยู่ที่ 53.7 ล้านราย ปี 2562 อยู่ที่ 75.9 ล้านราย เช่นเดียวกับปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต หรือดาต้าผ่านมือถือ จากปี 2557 อยู่ที่ 4.9 แสน terabyte ปี 2561 เพิ่มเป็น 5.8 ล้าน terabyte หรือเพิ่มขึ้น 10 เท่า

บริการผ่านออนไลน์ที่เติบโตสูงคือ OTT (Over The Top) ทั้งโซเชียล มีเดีย, วิดีโอ สตรีมมิ่ง, Massaging ปี 2561 Facebook มี 61 ล้านบัญชี ใช้งาน 655 ล้านครั้งต่อเดือน, YouTube 60 ล้านบัญชี ใช้งาน 409 ล้านครั้งต่อเดือน และ Line 55 ล้านบัญชี ใช้งาน 126 ล้านครั้งต่อเดือน

“ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมสื่อเป็นเรื่องของเทคโนโลยีดิสรัปชั่น การเกิดขึ้นของ 3G 4G และปีหน้าจะมี 5G วันนี้ทั้งเฟซบุ๊กไลฟ์ ยูทูบไลฟ์ ดูได้สะดวก ทุกที่ทุกเวลา และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของสื่อทีวี หากสื่อไม่มีการปรับตัว อนาคตข้างหน้าจะอยู่ยาก”

“เลิกจ้าง” กระทบเกือบ 1.5 หมื่นคน

สถานการณ์ทีวีดิจิทัลตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งการแข่งขันจากจำนวนช่องที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบจากเทคโนโลยีดิสรัปชั่น จะเห็นได้ว่าการเติบโตของสื่ออยู่ในฝั่ง “ออนไลน์” เป็นหลัก สะท้อนจากเม็ดเงินโฆษณาสื่อออนไลน์เติบโตทุกปี ปี 2562 คาดการณ์กันที่มูลค่า 20,000 ล้านบาท ส่วนโฆษณาทีวีดิจิทัลปีนี้ สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) ประเมินมูลค่าอยู่ที่ 64,680 ล้านบาท ติดลบ 2%

นับตั้งแต่ทีวีดิจิทัลเริ่มต้นในปี 2557 เม็ดเงินโฆษณาก็ไม่ได้เติบโตจากยุคแอนะล็อก เพียงแต่เม็ดเงินก้อนเดิม ย้ายจากช่องฟรีทีวีเดิมไปยังทีวีดิจิทัลช่องใหม่ และมีส่วนที่ไหลไปยังสื่อออนไลน์ด้วยเช่นกัน ขณะที่ทีวีดิจิทัลเป็นสื่อที่ลงทุนสูง เมื่อรายได้ไม่คุ้มต้นทุน ตลอดช่วง 5 ปีนี้ จึงเห็นหลายช่องทยอย “ลดต้นทุน” ด้วยการ “เลิกจ้าง” พนักงานมาต่อเนื่อง และสุดท้ายมาจบลงที่การคืนใบอนุญาตของ 7 ช่องทีวีดิจิทัล

จากการรวบรวมตัวเลขของสำนักงาน กสทช. ฐากร บอกว่า ทีวีดิจิทัลส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะ “ขาดทุน” นับตั้งแต่ 2 ช่อง “ไทยทีวีและโลก้า” ปิดตัวในปี 2558 และมีการเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด พบว่าแต่ละสถานีจะมีพนักงาน ช่องละ 200 คน มีพนักงานประจำราว 30 – 40% ที่เหลือเป็นการจ้างผลิตหรือเอาท์ซอร์ส

การปิดตัวของทีวีดิจิทัล 9 ช่อง ทั้ง “ไทยทีวีและโลก้า” และ 7 ช่องคืนใบอนุญาต มีพนักงาน “ทางตรง” ที่เป็นพนักงานประจำและส่วนที่เอาต์ซอร์ส ทั้งผู้ผลิตรายการอิสระ ธุรกิจตัดต่อ ผู้ผลิตโฆษณา ได้รับผลกระทบจากการ “เลิกจ้าง” จำนวน 3,472 คน อีกทั้งยังมีผลกระทบทางอ้อม” จากครอบครัวคนที่ถูกเลิกจ้างอีก จำนวน 11,458 คน รวมผู้ที่ได้รับผลกระทบ 14,930 คน

โดยทั้ง 7 ช่องที่คืนใบอนุญาต กสทช.จ่ายเงินชดเชยให้จำนวน 2,933 ล้านบาท ในจำนวนผู้ประกอบการนำไปจ่ายเป็นเงินเยียวยาเลิกจ้างพนักงานตามกฎหมายแรงงานและบวกเพิ่มให้ รวม 1,400 ล้านบาท แต่ก็บพบว่ากลุ่มที่เป็นลูกจ้างเอาต์ซอร์ส ได้รับผลกระทบเพราะไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน เมื่อมีการยกเลิกประกอบกิจการจึงไม่ได้รับสิทธิการจ่ายเงินค่าเลิกจ้าง ซึ่งมีการส่งเรื่องร้องเรียนมาที่ กสทช.จำนวนมาก

“วันที่ 30 ก.ย. นี้ หลังเที่ยงคืน ทีวีดิจิทัล 2 ช่องสุดท้าย คือ ช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD จะยุติออกอากาศ ครบทั้ง 7 ช่องที่คืนใบอนุญาต หลังจากนี้จะเหลือทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ 15 ช่อง และทีวีบริการสาธารณะอีก 4 ช่อง ที่ต้องขอให้ทุกช่องโชคดีในการทำทีวีดิจิทัลต่อไป”

2 ช่องกลุ่มบีอีซี “ลาจอ”

วันนี้ (30 ก.ย.) หลังเที่ยง เป็นคิวของทีวีดิจิทัล 2 ช่องของกลุ่มบีอีซี หรือช่อง 3 ที่จะยุติออกอากาศ คือช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD

สำหรับ ช่อง 3 Family ประมูลมาด้วยมูลค่า 666 ล้านบาท ในกลุ่มเด็ก เยาวชนและครอบครัว ออกอากาศหมายเลข 13 ช่วงแรกเน้นซื้อรายการลิขสิทธิ์มาออกอากาศ ทั้งซีรีส์ต่างประเทศ การ์ตูนเด็ก และละครรีรันช่อง 3 จากนั้นเริ่มผลิตรายการข่าว วาไรตี้ รายการการแข่งขันกีฬาถ่ายทอดสด และปล่อยเช่าเวลา แต่ด้วยการแข่งขันสูงและข้อจำกัดการลงโฆษณาของรายการเด็ก ทำให้รายได้โฆษณา แต่ละปีอยู่หลักร้อยล้านบาทเท่านั้น ตลอดช่วง 5 ปีทำรายได้รวม 636 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.083 ในปี 2558 และต่ำสุด 0.012 ปี 2557

ส่วนช่อง 3 SD ประเภทช่องวาไรตี้ SD หมายเลข 28 ประมูลมาด้วยมูลค่า 2,275 ล้านบาท ช่วงเริ่มต้นใช้คอนเทนต์รีรันจากช่อง 3 หลังจากนั้นเติมรายการข่าวและวาไรตี้ เข้ามาในผัง แต่รายการที่ทำเรตติ้งได้ดี คือ ละครรีรัน ช่อง 3 ทำให้เรตติ้งขึ้นมาอยู่ในกลุ่มท็อปเท็น ตลอด 5 ปี ทำรายได้รวม 1,930 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.279 ในปี 2560 และต่ำสุด 0.011 ปี 2557


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1247989