ธุรกิจขนส่ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 22 Dec 2021 08:22:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มอง ‘ธุรกิจขนส่ง’ ปี 65 กลับมาโต 10.5% เเต่โครงสร้าง ‘ต้นทุนขนส่งไทย’ ยังเเพงกว่าคู่แข่ง https://positioningmag.com/1368223 Wed, 22 Dec 2021 06:50:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368223 เเนวโน้มธุรกิจขนส่งไทยมีเเววรุ่งในปีหน้า หลังได้รับเเรงหนุนจากภาคการผลิตที่กลับสู่ระดับปกติ ความต้องการสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้น เเต่ปัจจัยที่คนทำงานออนไลน์-ท่องเที่ยวไม่ฟื้น ยังกดดันกระแสการเดินทาง ด้านโครงสร้างต้นทุนขนส่งไทยยังสูงกว่าคู่แข่ง ผู้ประกอบการต้องเเบกต้นทุน

คาดธุรกิจขนส่งปี 65 ขยายตัว 10.5% 

“ธุรกิจขนส่ง” เป็นอีกฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยในช่วง 2 ปีของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ธุรกิจการขนส่งสินค้าในภาคการค้าและภาคการเดินทางได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทำให้ภาคธุรกิจขนส่งชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

สะท้อนได้จากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติในภาคขนส่งที่หดตัวกว่า 24% และกลับมาขยายตัวได้เล็กน้อยที่ 1.6% ในปี 2564 จากผลของเศรษฐกิจโลกและในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นตามลำดับ รวมไปถึงความกังวลต่อการระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยลงกว่าปี 2563 การฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมมากขึ้น และการเปิดประเทศได้มากขึ้น ทั้งหมดนี้ได้สะท้อนผ่านมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกของไทยที่มีมูลค่าสูงขึ้น 22% ในปี 2564 และจะเพิ่มขึ้นอีก 3.6% ในปี 2565 ตามทิศทางเศรษฐกิจโลก

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินแนวโน้มภาคการขนส่งไทยในปี 2565 ว่าจะเติบโตกว่า 10.5% โดยได้รับอานิสงส์หลักมาจากการฟื้นตัวของการขนส่งสินค้าที่เติบโตต่อเนื่อง 10.4% ซึ่งเป็นผลจากภาคการผลิตกลับสู่ระดับปกติ และแรงหนุนจากความต้องการสินค้าส่งออก เร่งให้เกิดอุปสงค์การขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรมทางการค้าที่สูงขึ้น จึงทำให้ธุรกิจมีรายได้สูงกว่าระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 (ปี 2562)

คนทำงานออนไลน์เพิ่ม – ท่องเที่ยวยังฟื้นช้า 

อย่างไรก็ตาม ด้วยแนวโน้มการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังมีอยู่ต่อในอนาคต สถานการณ์การเปิดประเทศทั่วโลกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น ทำงานแบบออนไลน์เพิ่มขึ้น กดดันให้กระแสการเดินทางที่ควรจะเพิ่มขึ้นเป็นไปได้ช้ากว่าที่คาดการณ์

“ภาคการท่องเที่ยวยังไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติได้ จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่ฉุดภาคขนส่งผู้โดยสาร ถึงแม้ว่าจะฟื้นตัวได้ถึง 22.3% ในปี 2565 แต่เป็นผลมาจากฐานต่ำช่วงการระบาดระลอก 1-2 ที่ผ่านมา โดยคาดว่าระดับรายได้จากการขนส่งจะอยู่ที่ 25% ของรายได้ก่อนโควิดเท่านั้น” 

Photo : Shutterstock

 ‘ขนส่งไทย’ เเพงกว่าคู่เเข่ง ผู้ประกอบการเเบกต้นทุน

แม้ว่าในภาพรวมแนวโน้มจะดีขึ้น แต่เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับปัจจัยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องรับมือ

โครงสร้างต้นทุนขนส่งไทยยังสูงกว่าคู่แข่ง

ปัญหาโครงสร้างการขนส่งของไทยที่เน้นขนส่งทางถนน ซึ่งมีต้นทุนต่อระยะทางต่อตันต่อกิโลที่สูงกว่าระบบราง และระบบการขนส่งทางน้ำ ส่งผลให้ต้นทุนขนส่งต่อจีดีพีภาพรวมไทย คิดเป็นสัดส่วนที่สูง 14.1% (ปี 2563) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ 12.8%

ดังนั้น ภาครัฐควรเร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งที่เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมมากขึ้น โดยเฉพาะทางรางและทางน้ำ และยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการให้สูงขึ้น เพื่อช่วยลดต้นทุนขนส่งของภาคธุรกิจได้

ต้นทุนขนส่ง ของผู้ประกอบการมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับสูง

 
จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าระวางเรือที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนต้องแบกภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น กลายเป็นปัจจัยหลักที่กระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจในระยะต่อไป ผู้ประกอบการควรนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสามารถเชื่อมห่วงโซ่อุปทานเข้าด้วยกันโดยระบบอินเทอร์เน็ต (Internet of Things: IoT)
 
และนำมาประมวลผลจัดการระบบขนส่งและคลังสินค้าแบบเรียลไทม์ (Real Time) ช่วยให้วางแผนการขนส่ง การคาดการณ์ปริมาณสินค้า ประเมินโอกาสในการเชื่อมโยงการขนส่งในรูปแบบ ถนน ราง และทางน้ำ เข้าด้วยกัน ซึ่งในที่สุดจะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้นและแข่งขันได้

พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของคนและภาคธุรกิจไม่เหมือนเดิม

หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย การปรับตัวให้เข้ากับบริบทโลกออนไลน์ทั้งในรูปแบบของการค้าและการทำงาน ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและปริมาณการใช้ในระบบขนส่ง เป็นเรื่องที่ธุรกิจต้องทำความเข้าใจและปรับตัวรองรับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น

โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนรายได้สูงจากการขนส่งผู้โดยสาร ยิ่งจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับแนวโน้มที่ภาคการขนส่งมีทิศทางสนับสนุนภาคการค้าเพิ่มมากขึ้น โดยใช้ประสบการณ์และทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

“เป็นความท้าท้ายที่สำคัญในช่วงโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ธุรกิจจำเป็นต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามศักยภาพของระบบขนส่งในประเทศและใช้เทคโนโลยีช่วยมากขึ้น จะสามารถทำให้ธุรกิจปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ พร้อมกับการแสวงหาโอกาสในช่วงปัจจัยอุปทานขนส่งที่เพิ่มขึ้นไม่ทันกับความต้องการจากพฤติกรรมของธุรกิจและการเดินทางที่เปลี่ยนแปลงไป”

 

 

]]>
1368223
ยักษ์อีคอมเมิร์ซ ‘Amazon’ เตรียมจ้างพนักงานเพิ่ม 10,000 ตำเเหน่งใน UK รับเศรษฐกิจฟื้น https://positioningmag.com/1332375 Sun, 16 May 2021 08:48:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332375 ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซอย่าง ‘Amazon’ วางเเผนจะจ้างพนักงานเพิ่ม 10,000 ตำเเหน่งในสหราชอาณาจักร หลังประกาศจ้างพนักงานส่งของและพนักงานคลังสินค้ากว่า 75,000 คนในสหรัฐฯ และแคนาดา เชื่อมั่นลงทุนหลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้น

โดยตำแหน่งงานใหม่ของ Amazon ที่จะเปิดรับสมัครในสหราชอาณาจักรนั้น จะรวมถึงพนักงานประจำคลังสินค้า 4 แห่งใหม่และพนักงานประจำสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอน, แมนเชสเตอร์, เอดินเบอระ และแคมบริดจ์ รวมไปตำแหน่งงานไอทีใน Amazon Web Services ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้งของ Amazon ด้วย

อย่างไรก็ตาม Amazon ปฏิเสธที่จะระบุถึงจำนวนการเพิ่มตำแหน่งใหม่ ในส่วนพนักงานขับรถจัดส่งและพนักงานคลังสินค้า หลังมีการประท้วงเรื่องค่าเเรงต่ำและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ไม่ดีนัก

สำหรับค่าเเรงในการทำงานของ Amazon ในสหราชอาณาจักร จะเริ่มต้นที่ 10.80 ปอนด์ ต่อชั่วโมง (ราว 477 บาท) ในพื้นที่กรุงลอนดอน และ 9.70 ปอนด์ต่อชั่วโมงในส่วนอื่นๆ

โดยตั้งเป้าว่าพนักงานทั้งหมดในสหราชอาณาจักรจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 5.5 หมื่นราย ได้ภายในสิ้นปี 2021 ซึ่งจะทำให้ Amazon บริษัทกลายเป็นหนึ่งเป็นในบริษัทข้ามชาติที่มีพนักงานมากที่สุดในอังกฤษ เหมือนยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีอื่น ๆ ของสหรัฐฯ อย่าง Google, Microsoft, Facebook และ Apple

นอกจากนี้ Amazon วางเเผนจะทุ่มงบประมาณราว 10 ล้านปอนด์ในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า เพื่อใช้ฝึกอบรมทักษะใหม่ๆ ให้พนักงานในสหราชอาณาจักรราว 5,000 คน เพื่อเสริมความสามารถในการประกอบอาชีพทั้งในเเละนอกองค์กร พร้อมร่วมงานกับหอการค้าอังกฤษและธุรกิจในท้องถิ่น เพื่อเเก้ปัญหาการขาดแคลนทักษะในส่วนภูมิภาค

เรามีความเชื่อมั่นอย่างมากว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะดีขึ้นเรื่อยๆ หลังการระบาดใหญ่ ถือเป็นการลงทุนที่สำคัญในภาคการค้าปลีกของเรา

เเม้ว่า Amazon จะเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่สร้างงานมากมายในสหราชอาณาจักร แต่บริษัทก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงภาษีที่จ่ายโดยบริษัทจ่ายจ่ายภาษีเเค่ 293 ล้านปอนด์ในปี 2019 จากยอดขายมีมากถึง 1.37 หมื่นล้านปอนด์

 

 

ที่มา : CNBC , BBC

]]>
1332375
J&T Express บิ๊กขนส่งอินโด เตรียมขาย IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดระดมทุน 1 พันล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1326898 Wed, 07 Apr 2021 10:53:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326898 ‘J&T Express’ บริษัทโลจิสติกส์ยักษ์ใหญ่ของอินโดนีเซีย เร่งการเติบโตไปอีกขั้น เตรียมเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ คาดเกิดขึ้นช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ประเมินระดมทุนได้ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์

Bloomberg รายงานโดยอ้างเเหล่งข่าวว่า J&T Express กำลังทำงานร่วมกับที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อยื่นเสนอขายหุ้น IPO ในตลาดสหรัฐฯ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในไตรมาส 4 ของปีนี้

เบื้องต้นมีการประเมินว่า การขาย IPO ครั้งนี้ จะระดมทุนได้ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.1 หมื่นล้านบาท) ซึ่งจะทำให้มูลค่าบริษัทของ J&T Express เพิ่มขึ้นไปเเตะ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.56 เเสนล้านบาท)

แหล่งข่าวเปิดเผยอีกว่า J&T Express กำลังจะมีการระดมทุนรอบใหม่หลังเพิ่งระดมทุนได้ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 9.4 พันล้านบาท) ไปเมื่อไม่นานมานี้

โดยการเสนอขายหุ้น IPO ของ J&T Express ในตลาดนิวยอร์กครั้งนี้ ถือเป็นการท้าชิงตำแหน่งเเชมป์ของบริษัทอินโดนีเซียที่สามารถระดุมทุนได้มากที่สุดในตลาดหุ้นสหรัฐฯ กับ ‘PT Indosat’ โทรคมนาคมรายใหญ่ ที่เคยขาย IPO ได้ราว 1.05 พันล้านดอลลาร์ มาตั้งเเต่ปี 1994

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดและไทม์ไลน์ของการเสนอขายหุ้น IPO ของ J&T Express อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งทางบริษัทยังปฎิเสธที่จะให้ความคิดเห็นต่อข่าวนี้

สำหรับ J&T Express ก่อตั้งในปี 2015 โดยสองผู้บริหารอย่าง Jet Lee เเละ Tony Chen ให้บริการธุรกิจโลจิสติกส์ในอินโดนีเซีย ต่อมาขยายไปในประเทศเเถบอาเซียนอย่าง มาเลเซีย เวียดนาม ไทย สิงคโปร์ กัมพูชา และจีน มีพนักงานมากกว่า 350,000 คน เเละมีผู้ใช้บริการมากกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก

ที่ผ่านมา บริษัทมีการถึงร่วมมือเป็นพันธมิตรกับอีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ๆ ของอินโดนีเซียอย่าง PT Tokopedia และ Bukalapak.com รวมถึง Shopee ของสิงคโปร์

ดีมานด์ของธุรกิจโลจิสติกส์และคลังสินค้า เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้บริการขนส่งเติบโตตามไปด้วย

สำหรับในประเทศไทยนั้น J&T Express เข้ามาเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2019 โปรโมตด้วย ‘Entertainment Marketing’ โดยเลือกนักเเสดงชื่อดังอย่างมาริโอ้ เมาเร่อเป็นพรีเซ็นเตอร์คนแรกพร้อมกลยุทธ์การขึ้นป้ายหน้าร้านสาขา

โดยบริษัทได้ลงทุนในไทยไปแล้วราว 6,000 ล้านบาท เเละในปี 2564 มีเเผนจะลงทุนเพิ่มอีกราว 3,000 ล้านบาท ในด้านเทคโนโลยีการคัดแยก ยานพาหนะ และพนักงาน

 

ที่มา : Bloomberg

 

 

]]>
1326898
Rakuten ขายหุ้น 8.3% ให้ ‘ไปรษณีย์ญี่ปุ่น’ เสริมแกร่งอีคอมเมิร์ซ-ขนส่ง ดึง Tencent ร่วมลงทุน https://positioningmag.com/1323231 Fri, 12 Mar 2021 10:46:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323231 อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ ‘Rakuten’ ผนึกกำลัง ’Japan Post’ ไปรษณีย์ญี่ปุ่น รับตลาดช้อปปิ้งออนไลน์บูม วางเเผนระดมทุน 2.2 พันล้านเหรียญ ดึงพันธมิตรร่วมลงทุนอย่าง Tencent บิ๊กเทคของจีน เเละห้างค้าปลีก Walmart ในสหรัฐฯ ขยายสู่ธุรกิจ AI การเงิน เกม เเละเครือข่ายมือถือ

โดย Rakuten จะขายหุ้น 8.32% ให้กับไปรษณีย์ญี่ปุ่น เป็นมูลค่าประมาณ 150 พันล้านเยน (ราว 1.38 พันล้านเหรียญ) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ ช้อปปิ้งออนไลน์และบริการดิจิทัลอื่น ๆ

การบรรลุข้อตกลงเป็นพันธมิตรด้านเงินทุนระหว่าง Rakuten เเละไปรษณีย์ญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นโอกาสที่ Rakuten จะได้ประโยชน์จากเครือข่ายขนส่งพัสดุของไปรษณีย์ญี่ปุ่น ที่มีฐานลูกค้ากว่า 100 ล้านคน มีที่ทำการไปรษณีย์ 24,000 แห่ง เข้าถึงทุกครัวเรือนในประเทศ อีกทั้งยังมีบริษัทลูกเป็นสถาบันการเงินและบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ ที่มีลูกค้าเปิดบัญชีออมทรัพย์กว่า 120 ล้านบัญชี

ขณะเดียวกัน Rakuten ก็ตั้งเป้าจะเข้ามาพลิกโฉมไปรษณีย์ญี่ปุ่นให้มีความทันสมัย เเละปรับการทำงานไปสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของทั้งสองบริษัท เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคยุค New Normal ที่หันมาสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ เเละมีการส่งพัสดุไปยังที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19

หากไปรษณีย์ญี่ปุ่นรวมบริการออนไลน์ของ Rakuten เข้ากับเครือข่ายทั่วประเทศ ก็จะเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของทั้งสองบริษัท Amir Anvarzadeh นักวิเคราะห์จาก Asymmetric Advisors ระบุ

สำหรับเเผนของ ‘Rakuten’ เเละไปรษณีย์ญี่ปุ่นนั้น คาดว่าจะมีสร้างศูนย์โลจิสติกส์ร่วมกัน เเชร์ระบบจัดส่งเเละรับสินค้า พร้อมแบ่งปันข้อมูลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ

โดยที่ทำการไปรษณีย์ จะเพิ่มเคาน์เตอร์ให้ผู้คนสามารถสมัครใช้บริการโทรศัพท์เครือข่ายมือถือของ Rakuten และใช้บริการอื่นๆ ได้ รวมถึงจะขยายบริการชำระเงินแบบไม่ใช้เงินสด และบริการประกันภัย ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมของความร่วมมือดังกล่าว จะมีการเปิดเผยอีกครั้งในเดือนเมษายนนี้

ในปีที่ผ่านมา Rakuten ผู้บุกเบิกอีคอมเมิร์ซในญี่ปุ่น ได้รับประโยชน์จากการช้อปปิ้งออนไลน์ที่เฟื่องฟูในช่วงระบาดใหญ่ แต่ก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง จากคู่เเข่งต่างชาติที่เข้ามารุกตลาดเเดนปลาดิบอย่าง Amazon

โดยผลประกอบการของ Rakuten ในปี 2020 ยังคงขาดทุนอยู่ เนื่องจากบริษัทนำเงินจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ไปทุ่มลงทุนในบริษัทลูกที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือเเละพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งยังคงอยู่ในช่วงที่ต้องจัดโปรลดค่าบริการเพื่อขยายฐานลูกค้าเเละแข่งขันกับบริษัทรายอื่นๆ ในตลาด

นอกจาก Japan Post เเล้ว Rakuten กำลังเจรจากับพันธมิตรใหม่ๆ อย่างห้างค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ อย่าง Walmart ที่เคยร่วมโปรเจกต์จัดส่งสินค้าสดในญี่ปุ่นด้วยกันมาเเล้ว เมื่อ 3 ปีก่อน ส่วน Tencent บริษัทเทคยักษ์ใหย่ของจีนนั้นเพิ่งมีการพูดคุยกันเมื่อไม่กี่เดือนมานี้

โดยมีความเป็นไปได้ว่า Rakuten จะร่วมมือกับ Tencent ในการพัฒนาเกม เเละมองหาโอกาสในการเชื่อมโยงแบรนด์และร้านค้าเข้ากับแพลตฟอร์ม WeChat เพื่อขยายธุรกิจทั้งในจีนเเละญี่ปุ่นต่อไป

 

ที่มา : Bloomberg , Kyodonews 

]]>
1323231
รู้จัก MAERSK เจ้าแห่งชิปปิ้ง สายเรือขนส่ง “ตู้คอนเทนเนอร์” รายใหญ่ที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1307614 Wed, 25 Nov 2020 12:08:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307614 กลายเป็นข่าวฮือฮาไม่น้อย หลังมีการเเชร์ภาพตู้คอนเทนเนอร์ ที่ทางการไทยนำมาวางเป็นเเนวกั้น เพื่อสกัดผู้ชุมนุม จุดประเด็นที่ถูกถกเถียงกันอย่างเเพร่หลายในโลกโซเชียล เมื่อตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าว ปรากฏ “ชื่อเเบรนด์ของบริษัทชิปปิ้งชื่อดังชาวเน็ตเริ่มตั้งคำถามว่า เเบรนด์นี้มีความเกี่ยวข้องอย่างไร

ล่าสุด MAERSK ผู้ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์รายใหญ่ที่สุดของโลก ออกมาชี้เเจงว่า ตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกนำมาใช้เป็นสิ่งกีดขวางกิจกรรมในประเทศไทยนั้นไม่ได้อยู่ในการครอบครองบริษัท เพราะได้ขายต่อไปในตลาด ให้บุคคลที่ 3 แล้ว” 

วันนี้ เราจะพามารู้จัก MAERSK ผู้ให้บริการการขนส่งสินค้าทางทะเลเบอร์ 1 ของโลกจากเดนมาร์ก ให้มากขึ้นกัน

Photo : mgronline

MAERSK คือใคร ? 

โลจิสติกส์เป็นหนึ่งในธุรกิจดาวรุ่งเมื่อโลกปัจจุบันเชื่อมต่อกัน ทำให้การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศง่ายเเละเร็ว” กว่าสมัยก่อนมาก โดยเฉพาะธุรกิจเรือขนส่ง “ตู้คอนเทนเนอร์” ที่เฟื่องฟูมาเรื่อยๆ

MAERSK (เมอส์ก) หรือ A.P. Moller Maersk บริษัทขนส่งสัญชาติเดนมาร์ก ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1904 ถึงตอนนี้ก็อายุราวๆ 116 ปี เริ่มต้นด้วยการเป็นธุรกิจครอบครัวของตระกูล Møller เป็นที่รู้จักในวงกว้างในวงการเดินเรือสมุทรมานับศตวรรษ

ปัจจุบันให้บริการกว่า 130 ประเทศ มีพนักงานมากกว่า 88,000 คน และให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางทะเลเเละทางบกเเบบครบวงจร

ธุรกิจหลักๆ ของ MAERSK ส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งและพลังงาน นอกนั้นจะเป็นธุรกิจค้าปลีก อู่ต่อเรือ การทำธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น เเละสนใจการลงทุนในธุรกิจการเงินด้วย

การขนส่งสินค้าทางทะเล เป็นส่วนที่ทำรายได้ให้ MAERSK มากที่สุด โดยบริษัทเปิดให้บริการทั้งเเบบขนสินค้าใส่ตู้คอนเทนเนอร์ เเละเเบบ Bulk cargo (เรือสินค้าเเบบเทกอง ขนส่งครั้งละมากๆ เเต่ไม่มีภาชนะบรรจุสินค้า)

ปัจจุบันมีเรือในสังกัดมากกว่า 786 ลำ รวมไปถึงเปิดให้บริการที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือซึ่งมีท่าเรือที่ให้ทั้งหมด 65 แห่งทั่วโลก

จากนั้น MAERSK มีธุรกิจบริการขนส่งเเบบครบวงจรใน “ทางบก” ทั้งการบริหารสินค้าคงคลัง และให้บริการโกดังสินค้าให้กับโรงงานต่างๆ

Photo : MAERSK

ในส่วนของธุรกิจตู้คอนเทนเนอร์นั้น บริษัทมีการผลิตเพื่อใช้งานภายในกลุ่มธุรกิจตัวเอง เเละผลิตขายให้ลูกค้าภายนอก มีฐานผลิตที่ประเทศจีน โดยในปี 2018 สามารถผลิตตู้คอนเทนเนอร์ได้ถึง 1.5 เเสนตู้

ข้อมูลจากเว็บไซต์ ship-technology ประเมินว่า MAERSK เป็นบริษัทขนส่งทางเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ถึง 4.1 ล้านทีอียู ตามมาด้วย Mediterranean Shipping Company (MSC) ด้วยขนาด 3.8 ล้านทีอี เเละ COSCO Shipping Lines อยู่ที่ 3.1 ล้านทีอียู

ดีมานด์ “ตู้คอนเทนเนอร์” ร่วงจากพิษ COVID-19 

เมื่อช่วงเดือนพ..ที่ผ่านมา โลกต้องเผชิญกับโรคระบาด COVID-19 ทาง MAERSK ออกมาเตือนว่า ปริมาณการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ทั่วโลกจะ “ร่วงลง” อย่างรุนแรงในปีนี้ จากที่เคยคาดว่าจะขยายตัว 1-3%

สำหรับผลประกอบการของ MAERSK ในไตรมาสที่ 2/2020 พบว่า บริษัทมีผลกำไรก่อนหักภาษีอยู่ที่ 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.1 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 25% จากไตรมาสก่อนหน้า ที่มีผลกำไรอยู่ที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.5 หมื่นล้านบาท) แม้จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการระบาดของ COVID-19

ส่วนไตรมาสที่ 3/2020 การส่งออกทั่วโลกเริ่มมีการฟื้นตัว เป็นผลดีต่อผลประกอบการของ MAERSK ทำให้มีผลกำไรก่อนหักภาษีอยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์ (6.9 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 39% จากไตรมาสก่อนหน้า

โดยในสถานการณ์โรคระบาด ธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเล เเละการให้บริการท่าเรือ มีรายได้ลดลงเเต่บริษัทมีรายได้ชดเชยจากธุรกิจขนส่งคงคลัง (Logistics & Services Segment) ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก

 

Source
Source
source

]]>
1307614
“ไทย” ยึดแชมป์ส่งสินค้าธุรกิจ “อีคอมเมิร์ซ” เร็วสุดในอาเซียน https://positioningmag.com/1241242 Fri, 02 Aug 2019 12:17:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241242 การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซนอกจากมีปัจจัยหนุนจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัลแล้ว จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีการขนส่งมาช่วยเสริมศักยภาพอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดได้อย่างต่อเนื่อง

ผลสำรวจของ Google&Temasek ระบุว่าปี 2025 มูลค่าอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจแตะ 240 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ งานวิจัยของ iPrice เรื่องเทรนด์สายงานอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า อัตราการจ้างงานในสายอาชีพนี้เพิ่มขึ้น 40.7% จากปี 2016 ถึงปี 2018

ปัจจัยสนับสนุนธุรกิจอีคอมเมิร์ซ “เติบโต” มาจากกระบวนการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและน่าเชื่อถือตรวจสอบได้ ถือเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนการสั่งซื้อสินค้าผ่านช้อปปิ้ง ออนไลน์

“อีคอมเมิร์ซ” ไทยส่งเร็วสุด 2.5 วัน

iPrice ร่วมมือกับ Parcel Perform ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ในด้านการเช็กสถานะสินค้าให้กับบริษัทขนส่งสินค้าที่เชื่อมโยงกับธุรกิจอีคอมเมิร์ซกว่า 600 รายทั่วโลก รายงานความพึงพอใจของลูกค้าอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากผลสำรวจลูกค้า 80,000 คน ทั้งในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย

ข้อมูลที่น่าสนใจคือ ไทยเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีระบบขนส่งสินค้าเร็วที่สุดเฉลี่ย 2.5 วัน ขณะที่มาเลเซียใช้ระยะเวลาขนส่งสินค้านานที่สุดโดยเฉลี่ย 5.6 วัน หากนับระยะเวลาขนส่งโดยเฉลี่ยทั่วทั้งภูมิภาคจะอยู่ที่ 3.8 วัน

อินโดนีเซีย เป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีค่าเฉลี่ยระยะเวลาขนส่งสินค้าตามมาตรฐานอีคอมเมิร์ซอาเซียน อยู่ที่ 3.8 วัน นับเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ เพราะอินโดนีเซียประกอบด้วยหมู่เกาะจำนวนมาก มีประชากรมากที่สุดและการจราจรติดขัดมากที่สุด ขณะที่สิงคโปร์ประเทศมีพื้นที่เล็กที่สุดในภูมิภาคแต่มีระยะเวลาขนส่งสินค้าเฉลี่ยถึง 3.3 วัน

3 ประเทศลูกค้าพอใจจัดส่งสินค้า

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 34% ของผู้บริโภค เห็นว่าการจัดส่งพัสดุยังคงเป็น “จุดด้อย” ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ กว่า 90% มีคำร้องเรียนและข้อเสนอแนะเชิงลบจากลูกค้าเกี่ยวกับการจัดส่ง “ล่าช้า” รวมไปถึงการสื่อสาร และการติดตามพัสดุ ซึ่งการจัดส่งพัสดุที่รวดเร็วมักสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

หากเปรียบเทียบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้พบว่า ลูกค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศสิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ได้รับความพึงพอใจกับกระบวนการจัดส่งสินค้ามากกว่าลูกค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย

การจัดส่งสินค้า “รวดเร็ว” มีผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า หากเวลาส่งสินค้ามากขึ้น ความพึงพอใจจะลดลง 10 – 15% ในแต่ละครั้ง โดยมีลูกค้า 34% ในอาเซียนไม่ประทับใจการบริการขนส่งสินค้าปัจจุบัน

พบว่าการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าด้านการคาดคะเนระยะเวลาการขนส่งสินค้า และอัพเดตการขนส่ง และสามารถดำเนินการได้ตามกำหนดเวลาจะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มคะแนนความพึงพอใจจากลูกค้าได้

อย่างไรก็ตาม มีการร้องเรียนจากลูกค้ากว่า 90% ที่มาพร้อมคำติชมในด้านลบ ทั้งความล่าช้าในการจัดส่งสินค้า การไม่ติดต่อสื่อสารในเรื่องสถานะของสินค้า รวมไปถึงคุณภาพสินค้าที่ได้รับความเสียหายระหว่างการขนส่ง ส่วนใหญ่ร้านค้าจะรับผิดชอบด้วยการคืนเงิน หรือเปลี่ยนสินค้า ซึ่งกว่าผู้ซื้อจะได้รับสินค้าที่ตนเองต้องการจริงๆ อาจต้องเสียเวลาเป็นสองเท่า บางกรณีอาจนานเป็นเดือน

เขียนและวิเคราะห์โดย ขนิษฐา สาสะกุล

]]>
1241242
ธุรกิจขนส่งมีสะเทือน!! ’Amazon’ ปั้น “สตาร์ทอัพ” ส่งพัสดุเดลิเวอรี่ หวังคุมโลจิสติกส์เบ็ดเสร็จ https://positioningmag.com/1229750 Tue, 14 May 2019 07:40:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1229750 Amazon (แอมะซอน) อีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ เตรียมเสนอเงิน 10,000 ดอลลาร์ (ราว 310,000 บาท) ให้พนักงานลาออก แล้วผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการอิสระขนส่งพัสดุแบบเดลิเวอรี ในขณะที่ยักษ์ใหญ่ออนไลน์แห่งนี้ยกระดับความพยายามควบคุมระบบโลจิสติกส์ของตนเอง

Amazon ระบุว่าข้อเสนอจูงใจล่าสุดจะรวมถึงค่าจ้าง 3 เดือนสำหรับพนักงานที่ต้องการเริ่มต้นประกอบการธุรกิจขนส่งพัสดุของตนเอง โดยพวกเขาเหล่านั้นจะต้องปฏิบัติตามค่านิยมในการขนส่งสินค้าที่สอดคล้องกับทางบริษัท

“ความคิดริเริ่มนี้เป็นการสานต่อคำสัญญาที่มีมานานของ Amazon สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานในการแสวงหาความทะเยอทะยานทางอาชีพ” บริษัทระบุในถ้อยแถลง ขณะที่ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่ Amazon กำลังหาทางลดการพึ่งพิงผู้ให้บริการรายใหญ่ต่างๆ อย่างเช่นการไปรษณีย์แห่งสหรัฐฯ และเฟดเอ็กซ์

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เคยกล่าวหาแอมะซอนว่าฉวยประโยชน์จากการไปรษณีย์แห่งสหรัฐฯ โดยใช้อัตราขนสินค้าแบบเทกองสำหรับพัสดุต่างๆ แต่พวกนักวิเคราะห์โต้แย้งว่าเป็นทางการไปรษณีย์แห่งสหรัฐฯ เองต่างหากที่ได้ประโยชน์จากรายได้ของบริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่แห่งนี้

Amazon เริ่มโครงการหุ้นส่วนขนส่งสินค้าในปี 2018 โดยกำหนดให้พนักงานต้องลงทุนเองในการเริ่มธุรกิจและประมาณการว่าจะมีรายได้สูงสุด 300,000 ดอลลาร์

นับตั้งแต่ปีที่แล้ว มีคนเริ่มต้น สตาร์ทอัพเดลิเวอรี่กับ Amazon ราว 200 ราย และทางบริษัทคาดหมายว่าจะมีผู้เข้าร่วมอีกหลายหลายร้อยคนในสหรัฐฯ, อังกฤษ และสเปน ภายใต้แรงจูงใจเพิ่มเติม

“เราได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นจากบุคคลหลายหมื่นราย ซึ่งยื่นขอเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพันธมิตรบริการส่งมอบสินค้าของเรา ในนั้นหลายคนเป็นพนักงาน” เดฟ คล้าก รองประธานอาวุโสฝ่ายธุรกิจทั่วโลก ระบุ “เราได้ยินจากเพื่อนร่วมงานว่าพวกเขาต้องการเข้าร่วมโครงการนี้ แต่มีปัญหาด้านการเปลี่ยนผ่าน ตอนนี้เรามีเส้นทางสำหรับเพื่อนร่วมงานเหล่านั้น ด้วยโอกาสแห่งความปรารถนามีธุรกิจเป็นของตนเองแก่พวกเขา”

Amazon บอกว่าพวกเขามอบการเข้าถึงเทคโนโลยีการส่งมอบพัสดุ การฝึกฝนแก่พนักงานผู้ให้ความสนใจ เช่นเดียวกับลดราคาสินทรัพย์และการบริการต่างๆ อย่างเช่นรถตู้ที่มีตราแอมะซอน, ชุดเครื่องแบบและประกันภัย

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นความพยายามของ Amazon ในการขยายการควบคุมเครือข่ายโลจิสติกส์อันกว้างใหญ่ไพศาลของพวกเขา ในนั้นรวมถึงพนักงานของตนเอง, พนักงานสัญญาจ้าง และผู้ให้บริการภายนอกที่นำส่งพัสดุแทนพวกเขา นอกจากนี้แล้วแอมะซอนยังมีเครื่องบินขนส่งสินค้าของตนเอง และอยู่ระหว่างการทดสอบโดรนและหุ่นยนต์นำส่งสินค้า.

Source

]]>
1229750