ธุรกิจธนาคาร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 10 Nov 2023 04:12:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ดาวเหนือ” ดวงใหม่ของ “SCB” กับทฤษฎี “เก้าอี้ 3 ขา” ภายใต้ยุคซีอีโอ “กฤษณ์​ จันทโนทก” https://positioningmag.com/1451316 Thu, 09 Nov 2023 13:57:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1451316
  • กลยุทธ์ใหม่ภายใต้ยุคซีอีโอ “กฤษณ์ จันทโนทก” ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มุ่งสร้างชื่อเป็นเบอร์ 1 เรื่องการจัดการ “ความมั่งคั่ง” (Wealth Management) และตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จาก “ดิจิทัล” (Digital Revenue) เป็น 25% ของรายได้รวม
  • “Digital Bank with Human Touch” สโลแกนใหม่ในการให้บริการ เมื่อ “คน” ยังเป็นจุดแข็งของธนาคาร แต่ปรับการบริหารภายในด้วยทฤษฎี “เก้าอี้ 3 ขา” พร้อมยกเครื่อง “เทคโนโลยี” ใหม่หมดให้ทุกอย่างสะดวกขึ้น
  • “เราประชุมกันแล้วพบว่าคู่แข่งแบงก์อื่นเขามีภาพที่ชัดมากว่าเขาจับกลุ่มเป้าหมายแบบไหน แล้วเราล่ะ? พอถามไปในที่ประชุมก็พบว่า SCB เราไม่ชัดเจนว่าเป้าหมายเราคือใคร” กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวย้อนถึงช่วงแรกหลังเข้ามารับตำแหน่งเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2565 อยู่ในช่วงวางกลยุทธ์-เป้าหมายของธนาคาร และพบว่า SCB ต้องการเป้าหมายที่ชัดว่าจะมุ่งไปทางไหน

    ภาพที่เห็นนี้ไม่ใช่เป็นเพราะว่าธนาคารไทยพาณิชย์ไม่เข้มแข็ง แต่เป็นเพราะธนาคารมีผลิตภัณฑ์และกลุ่มเป้าหมายหลากหลายมากจนไม่ได้มีภาพชัดเจนในด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ

    “แต่ระหว่างประชุม เราพบว่าเรามีลูกค้า wealth (กลุ่มบริหารจัดการความมั่งคั่ง) สูงเป็นอันดับต้นๆ ของไทย และเรามีการลงทุน offshore (การลงทุนในต่างประเทศ) เยอะมาก เราจึงมองเรื่องนี้ว่าสามารถเป็น ‘ดาวเหนือ’ ดวงใหม่ของธนาคารได้” กฤษณ์กล่าว

    SCB กฤษณ์ จันทโนทก
    กฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

    ปัจจุบัน SCB จึงมีกลยุทธ์สำคัญ 2 กลยุทธ์ที่วางไว้เป็นเป้าหมายในปี 2568 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า ได้แก่

    1) ขึ้นสู่ “เบอร์ 1” ด้านการจัดการ “ความมั่งคั่ง” (Wealth Management)

    การเป็นเบอร์ 1 วัดจากหลายด้านทั้งด้านสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM), การเป็นที่หนึ่งในใจลูกค้า และสามารถสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับพอร์ตลูกค้าได้

    แนวโน้มความเป็นไปได้นั้นมีสูง เพราะ SCB หันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจจัดการความมั่งคั่งมาตั้งแต่ 5 ปีก่อน โดยแยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มที่มีสินทรัพย์ 2-100 ล้านบาท และ กลุ่มที่มีสินทรัพย์มากกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มหลังจะบริหารด้วยบริษัทร่วมทุน “SCB Julius Baer”

    ทิศทางการเติบโตจากปี 2560 กลุ่มธุรกิจบริหารจัดการความมั่งคั่งทำรายได้คิดเป็นสัดส่วน 7% ของรายได้รวม แต่ในปีนี้พุ่งขึ้นมาเป็น 20% ของรายได้รวม จึงเป็นธุรกิจที่กลายเป็นคีย์สำคัญของแบงก์

    เราพบว่าเรามีลูกค้า wealth สูงเป็นอันดับต้นๆ ของไทย และเรามีการลงทุน offshore เยอะมาก เราจึงมองเรื่องนี้ว่าสามารถเป็น ‘ดาวเหนือ’ ดวงใหม่ของธนาคารได้

    2) เพิ่มสัดส่วนรายได้จากดิจิทัล (Digital Revenue) ขึ้นเป็น 25%

    เนื่องจากผู้บริหารและพนักงาน SCB ทุกคนเห็นตรงกันว่า “ดิจิทัล” คือโจทย์ใหม่ทางธุรกิจในอนาคต และต้องทำเพื่อให้ธนาคารออกตัวนำหน้าดิจิทัลแบงก์รายใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดอย่างน้อย 5-10 ปี

    เป้าสร้างรายได้จากดิจิทัลที่จะเพิ่มให้เป็น 1 ใน 4 ของรายได้รวมนี้ถือเป็นเป้าที่ท้าทายมาก เพราะเมื่อปีก่อนในช่วงซีอีโอกฤษณ์รับตำแหน่ง รายได้จากดิจิทัลยังมีสัดส่วนเพียง 3-4% ของรายได้รวมเท่านั้น

    กฤษณ์ระบุว่า รายได้ดิจิทัลของธนาคารนิยามแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ “กลุ่มรายได้ทางตรง” เป็นการนำโปรดักส์ที่เคยต้องขายผ่านสาขาหรือผ่านพนักงาน เช่น กองทุน ประกัน ไปขายผ่านช่องทางดิจิทัล เช่น SCB Easy ได้สำเร็จ และอีกกลุ่มคือ “กลุ่มรายได้ทางอ้อม” หมายถึงรายได้นั้นเกิดจากการที่พนักงานใช้เครื่องมือ AI ของธนาคารช่วยในการเปิดการขายและขายได้สำเร็จ ถือว่าดิจิทัลมีส่วนช่วยให้พนักงานทราบความต้องการของลูกค้า

     

    เรื่อง “คน” ยังเป็นจุดแข็ง…แต่ต้องยกเครื่อง “เทคโนโลยี”

    เป้าหมายวางไว้เรียบร้อย แต่การจะไปให้ถึง ‘ดาวเหนือ’ ต้องมาดูสิ่งที่มีในองค์กร และจะปรับอย่างไรให้ร่วมสมัยโดยไม่ต้องละทิ้งสิ่งเดิม

    กฤษณ์มองว่า จุดแข็งของธนาคารไทยพาณิชย์คือเรื่อง “คน”

    “พนักงานที่นี่มีมากกว่า 20,000 คน และผมพบว่าคนไทยพาณิชย์รักองค์กรมาก บางคนอยู่ที่นี่มานานกว่า 20 ปี” กฤษณ์กล่าว

    SCB กฤษณ์ จันทโนทก

    ขณะที่สิ่งใหม่ที่จะต้องนำมาผสมผสานคือ “เทคโนโลยี” ให้การบริการเป็นเนื้อเดียวกัน จึงเกิดเป็นสโลแกน “Digital Bank with Human Touch” คือ การบริการที่ SCB จะยังมี “คน” ทำหน้าที่สร้างความเชื่อใจกับลูกค้า แต่มี “เทคโนโลยี” มาเสริมทัพเพื่อสร้างความสะดวกสบาย และทำให้คนรู้ใจลูกค้าได้ดีขึ้น

    แนวทางการบริหารของกฤษณ์จึงวางไว้ด้วยทฤษฎี “เก้าอี้ 3 ขา” คือ

    ขาแรก“ลูกค้า” ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการทำงาน ลูกค้าต้องมีความสุขในการใช้บริการ

    ขาที่สอง“พนักงาน” พนักงานจะต้อง ‘สนุก สามัคคี สำเร็จ’ สร้างความเชื่อมั่นว่าแบงก์จะยังคงอยู่และไปต่อ ให้ทุกคนสนุกและสามัคคีกันในการทำงาน เพื่อสร้างความสำเร็จ

    ขาที่สาม“ผู้ถือหุ้น” เมื่อพนักงานมีความสุข และลูกค้ามีความสุข ผู้ถือหุ้นจะได้กำไรคืนกลับไปอย่างแน่นอน

    ในส่วน “เทคโนโลยี” เป็นอีกกุญแจสำคัญที่ SCB จะยกเครื่องครั้งใหญ่ โดยวางงบไว้ปีละ 8,000 ล้านบาทในช่วง 4 ปีข้างหน้า (2567-70) เพื่อปรับระบบภายในให้สอดรับกับการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ธนาคารจะต้องใช้ดาต้าและ AI ได้เต็มประสิทธิภาพ

     

    3Q แรกกำไรพุ่ง 21% จากการคุมต้นทุน

    หลังเข้ามาคุมทัพ SCB ได้ 1 ปีกว่า กฤษณ์ประกาศผลประกอบการล่าสุดของธนาคารไทยพาณิชย์ช่วง 3 ไตรมาสแรก ปี 2566 ทำกำไรสุทธิ 3.66 หมื่นล้านบาท เติบโต 21% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

    แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากรายได้ที่เติบโตขึ้นทั้งตลาด หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง

    แต่อีกส่วนหนึ่งมาจาก “การควบคุมค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (Cost to Income)” ได้สำเร็จ ลดลงจากปีก่อนอยู่ที่ 41% ปีนี้เหลือ 37.4% ซึ่งทำได้เพราะมีการปรับการทำงานให้เป็นดิจิทัล (digitize) ในองค์กร ตามปรัชญา ‘ทำงาน 20% แต่ได้ผลลัพธ์ 80%’ รวมถึงมีการลดลำดับชั้นบริหารในองค์กร เพื่อให้การทำงานเข้าใจเป้าหมายเดียวกันได้ดีขึ้น และคล่องตัวกว่าในการทำงาน

    การปรับเปลี่ยนของไทยพาณิชย์จะยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นในปี 2567 เมื่อกลยุทธ์ในด้านต่างๆ ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อนั้นเราน่าจะได้เห็นเส้นทางที่ชัดขึ้นว่า SCB จะไปสู่ดาวเหนืออย่างไร!

    ]]>
    1451316
    Goldman Sachs เตรียม “เลย์ออฟ” พนักงานอีกหลายพันคน หวั่นเศรษฐกิจปี 2023 แย่ลง https://positioningmag.com/1412863 Sat, 17 Dec 2022 04:18:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412863 กระแสการปลดพนักงานยังไม่จบ ล่าสุด ‘Goldman Sachs’ เตรียม “เลย์ออฟ” พนักงานเพิ่มอีกหลายพันคน เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์เศรษฐกิจปีหน้าที่อาจจะย่ำแย่ลงมากกว่านี้

    การเลย์ออฟครั้งนี้เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าตลาดแรงงานของ Wall Street แหล่งธุรกิจการเงินของสหรัฐฯ กำลังเป็นขาลง รายได้ของกลุ่มวาณิชธนกิจตกต่ำลงมากในปีนี้เนื่องจากการควบรวมกิจการที่น้อยลง เป็นภาพมุมกลับของสถานการณ์ในปี 2021 ที่ธุรกิจธนาคารทำกำไรสูง

    สำหรับ Goldman Sachs มีพนักงานทั้งหมด 49,100 คนเมื่อสิ้นไตรมาส 3/2022 โดยบริษัทมีการเพิ่มพนักงานเป็นจำนวนมากในระหว่างเกิดโรคระบาด อย่างไรก็ตาม แม้จะเลย์ออฟอีกหลายพันคนแต่จำนวนพนักงานก็จะยังเหลือมากกว่าที่เคยมีในช่วงสิ้นปี 2019 (ก่อนเกิดโรคระบาด) เพราะขณะนั้นบริษัทมีจำนวนพนักงาน 38,300 คน

    จำนวนพนักงานที่จะถูกปลดนั้นยังอยู่ระหว่างพิจารณา โดยคาดว่ารายละเอียดชัดเจนจะออกมาในช่วงต้นปี 2023 แต่ก่อนหน้านี้มีรายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าววงในว่า จำนวนพนักงานที่ถูกเลย์ออฟน่าจะอยู่ที่ราวๆ 4,000 คน

    ขณะที่โบนัสสิ้นปีนี้ก็คาดว่าจะถูกตัดสูงมาก แหล่งข่าววงในกล่าวกับ Reuters ว่า เทียบกับปี 2021 นายธนาคารที่ทำผลงานได้ในระดับสูงในปีนั้นเคยได้รับโบนัสสูงกว่าปกติถึง 40-50% ปีนี้คงได้เห็นโบนัสตรงข้ามกับเมื่อปีที่แล้ว

    ด้านราคาหุ้นของ Goldman ปีนี้ลดลงไปเกือบ 10% แล้ว แต่ก็ยังถือว่าดีกว่าค่าเฉลี่ยรวมของดัชนี S&P 500 ซึ่งลดลง 24% นับตั้งแต่ต้นปี

     

    แผนกลูกค้ารายย่อยต้องดิ้นรน

    ในแผนการเลย์ออฟครั้งนี้ คาดว่าส่วนหนึ่งจะกระทบพนักงานแผนก ‘Marcus’ ซึ่งเป็นธนาคารสำหรับลูกค้ารายย่อยของ Goldman เนื่องจากเห็นสัญญาณมาสักพักแล้วว่า วิสัยทัศน์การเข้าสู่ตลาดธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยนั้นไม่สามารถทำกำไรได้ คาดกันว่า Marcus น่าจะถูกปลดพนักงานออกไปหลักหลายร้อยคน

    แผนกลูกค้ารายย่อยนั้นเกิดจากวิสัยทัศน์ของ เดวิด โซโลมอน ซีอีโอบริษัท เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2018 เพื่อกระจายพอร์ตโฟลิโอธุรกิจให้หลากหลาย จากปัจจุบัน Goldman ทำรายได้หลัก 65% มาจากธุรกิจวาณิชธนกิจ

    สัญญาณการปลดพนักงานของบริษัท Goldman นั้นเริ่มมาพักใหญ่แล้ว โดยเมื่อเดือนกันยายน 2022 บริษัทมีการเลย์ออฟพนักงานไป 500 คน และถ้าย้อนไปถึงเดือนกรกฎาคม 2022 บริษัทเคยเอ่ยถึงนโยบายการจ้างงานที่จะเริ่มชะลอการจ้างเพิ่ม เพื่อลดต้นทุนบริษัท

    ไม่ใช่แค่ Goldman Sachs ที่ได้รับผลกระทบ ธนาคารที่เป็นสถาบันการเงินระดับโลก เช่น Morgan Stanley, Citigroup ต่างก็เริ่มปลดพนักงานในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลังจากสถานการณ์ภาคการเงินไม่สู้ดีนัก ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ความตึงเครียดของสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ สงครามรัสเซีย-ยูเครน ตลอดจนอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง ไม่ใช่สัญญาณที่ดีกับเศรษฐกิจโลก

    Source

    ]]>
    1412863
    เเนวโน้ม ‘ธุรกิจเเบงก์’ ปี 65 ฟื้นตัวดี เเรงหนุนสินเชื่อโต เงินฝากชะลอลง คนไทยปรับการลงทุน  https://positioningmag.com/1363737 Wed, 24 Nov 2021 07:50:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363737 ttb analytics มองเเนวโน้ม ‘ธุรกิจแบงก์’ ในไทย ปี 65 ดีขึ้นต่อเนื่อง จากการเติบโตของ ‘สินเชื่อ’ ทั้งภาคธุรกิจรายใหญ่ SMEs และรายย่อย 
    “คาดว่าสินเชื่อโดยรวมมีแนวโน้มขยายตัวได้ราว 5.5% ขณะที่เงินฝาก มีทิศทางเติบโตอัตราชะลอลงจากการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ และการปรับเปลี่ยนการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ” 
     
    ด้านคุณภาพสินเชื่อโดยรวมยังทรงตัวอยู่ในระดับ 3.0% ได้รับการสนับสนุนจากนโยบายการปรับโครงสร้างหนี้ (debt restructuring) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
     
    ทั้งนี้ ประเมินอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมคงที่อยู่ในระดับต่ำ จากการปรับลดอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ทรงตัวในปี 65
    เเรงหนุนสินเชื่อรายย่อย – SMEs 

    สำหรับแนวโน้มสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในปี 65 จะมีปัจจัยสนับสนุนจากการเติบโตของสินเชื่อ ทั้งภาคธุรกิจและรายย่อย

    ในภาพรวมสินเชื่อธุรกิจ พบว่า สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่มีแนวโน้มขยายตัว 4.2% นำโดยสินเชื่อภาคการผลิตและภาคก่อสร้าง ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะใน EEC มาตรการส่งเสริมการลงทุนของ BOI และการค้าระหว่างประเทศที่เติบโตดี

    ส่วนสินเชื่อธุรกิจ SMEs คาดการณ์เติบโต 4.5% จากหลายปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ แนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีของธุรกิจภายหลังการเปิดประเทศ ความต้องการสภาพคล่องเพื่อกลับมาดำเนินธุรกิจ รองรับอุปสงค์ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

    รวมถึงแรงสนับสนุนของสินเชื่อฟื้นฟูของ ธปท.และสถาบันการเงินของรัฐ โดยสินเชื่อ SMEs ที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีในปีหน้า ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งออนไลน์ ธุรกิจการผลิตเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านอาหาร สุขภาพ เกษตรแปรรูป และบริการด้านธุรกิจดิจิทัล เป็นต้น

    ขณะที่ สินเชื่อรายย่อย มีแนวโน้มฟื้นตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น คาดการณ์การเติบโตปี 65 ที่ 6.5% จากการฟื้นตัวของสินเชื่อในทุกหมวดหมู่ ทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ และสินเชื่อส่วนบุคคล
    • สินเชื่อที่อยู่อาศัย มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น 7% จากการฟื้นตัวของกำลังซื้อภายในประเทศ ที่ได้รับผลบวกจากการผ่อนปรนมาตรการสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV) และกำลังซื้อจากต่างประเทศที่กลับมาพร้อมกับการเปิดประเทศ
    • สินเชื่อรถยนต์ มีแนวโน้มฟื้นตัวจากอุปสงค์คงค้าง (Pend up demand) จากปี 64 โดยเติบโต 4% และในปี 65 การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนจะช่วยสนับสนุนให้สินเชื่อส่วนบุคคลปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 8.5%

    คุณภาพสินเชื่อ ttb analytics ประเมินว่า มีแนวโน้มทรงตัวระดับเดิม จากนโยบายส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ของ ธปท. ที่ขยายเวลาการใช้หลักเกณฑ์การจัดชั้นและกันเงินสำรองอย่างยืดหยุ่นไปจนถึงสิ้นปี 66 เพื่อให้ธนาคารสามารถให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการเปลี่ยนโครงสร้างสินเชื่อ จากระยะสั้นเป็นระยะยาวร่วมกับการปรับโครงสร้างหนี้วิธีอื่นๆ โดยคาดการณ์ว่าอัตราส่วนยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL ratio) ในปี 65 จะอยู่ที่ระดับ 3.0% ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงปี 64 ในระดับ 3.1%

    ในส่วนอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมปี 65 มีแนวโน้มไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 64 เนื่องจากคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทรงตัวที่ระดับ 0.50% ต่อเนื่องตลอดปี 65 เพื่อเป็นการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ประกอบกับ ธปท. ได้ขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุน FIDF เหลือ 0.23% จาก 0.46% ต่อปี ออกไปจนถึงสิ้นปี 65 เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถส่งผ่านการลดต้นทุน เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจ และประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง

    เงินฝากโตชะลอลง คนไทยปรับการลงลงทุน 

    ด้านเงินฝากในปี 65 มีแนวโน้มขยายตัวได้ 3.0% ลดลงเล็กน้อยจากประมาณการที่ 3.5% ในปี 64 โดยปริมาณเงินฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ยังคงเติบโตอยู่ที่ 6.5% แต่ชะลอลงจากปี 64 ที่ขยายตัว 8.5% ตามแนวโน้มการบริโภคที่ฟื้นตัวได้เร็วหลังเปิดประเทศ

    ขณะที่ปริมาณเงินฝากบัญชีฝากประจำคาดว่าจะหดตัว 7% ในปี 65 ซึ่งเป็นทิศทางที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ปี 63 จากอัตราดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากประจำที่อยู่ในระดับต่ำ สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายทรงตัวที่ 0.50% ตั้งแต่กลางปี 63 เป็นต้นมา ทำให้ผู้ฝากทั้งประชาชนและภาคธุรกิจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลงทุน และเลือกลงทุนในรูปแบบอื่นๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

    “ในภาพรวมแนวโน้มเงินฝากที่ยังคงเติบโตในปี 65 จะทำให้สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในระดับสูงเกือบ 4 ล้านล้านบาท รวมทั้งการที่ยังคงมีเงินกองทุนในระดับสูง จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยได้” 

    ]]>
    1363737
    “แบงก์ชาติ” ยันไม่ได้ให้ “ร้านสะดวกซื้อดัง” ทำธนาคาร  https://positioningmag.com/1157411 Mon, 19 Feb 2018 03:54:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1157411 ธนาคารแห่งประเทศไทย แจงการแต่งตั้ง “ตัวแทนธนาคาร” ไม่ใช่ให้ทำธุรกิจธนาคาร แต่ให้ธนาคารพาณิชย์เลือกร้านค้าเป็นตัวแทน และมีขอบเขตการให้บริการจำกัด เตรียมชี้แจงวันนี้ ด้านปลัดคลังหนุน “ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง” เป็นตัวแทนธนาคาร ชี้ปกติให้จ่ายค่าน้ำไฟได้อยู่แล้ว หนุนกระตุ้นเศรษฐกิจ

    จากกรณีที่ในโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข่าวจากเว็บไซต์ประเภทคลิกเบท (Clickbait) ระบุว่า ร้านสะดวกซื้อชื่อดัง ได้รับการอนุมัติให้รับฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน 24 ชั่วโมง เหมือนธนาคารพาณิชย์ โดยอ้างถึงกรณีที่ น.ส.ดารณี แซ่จู ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในเร็วๆ นี้ จะมีการประกาศหลักเกณฑ์การเป็นตัวแทนธนาคาร (Banking Agent) หลังจากนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยลงนามแล้วนั้น

    นางฤชุกร สิริโยธิน รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า การเปิดให้มีตัวแทนการให้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ ไม่ได้เป็นการอนุญาตให้เอกชนมาขอใบอนุญาตทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ใหม่ ซึ่งปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไม่มีนโยบายให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่แต่อย่างใด

    อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับบริการการเงินได้สะดวก และทั่วถึงมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งตัวแทนธนาคารจะมีขอบเขตการให้บริการจำกัด ในกรณีนี้ธนาคารพาณิชย์ จะเป็นผู้เลือก โดยเปิดกว้างให้ได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลที่มีคุณสมบัติตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และธนาคารพาณิชย์ จะต้องจัดให้มีระบบควบคุมและบริหารความเสี่ยงสำหรับธุรกรรมที่ทำผ่านตัวแทนธนาคาร 

    สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สายนโยบายสถาบันการเงินจะชี้แจงสื่อในวันนี้ (19 ก.พ.) เวลา 14.00 น. ที่ห้องแถลงข่าว อาคาร 2 ชั้น 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย

    ด้าน นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังเห็นด้วยกับการจัดตั้งตัวแทนธนาคาร เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้รับฝากถอนเงิน เพราะปัจจุบันประชาชน ถอน โอนเงินฝากทางโทรศัพท์มือถือมากขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้บริษัทเอกชนที่เป็นตัวแทนธนาคาร ต้องมีคุณสมบัติในหลายด้าน ทั้งจำนวนเงินทุนตั้งสำรองดำเนินธุรกิจ จำนวนสาขา บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ หากเอกชนรายใดไม่พร้อมจะดำเนินการไม่ได้ เนื่องจากเป็นบริการทางการเงิน อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายอี-เพย์เมนต์ อำนวยความสะดวกบริการทางการเงินให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบมากขึ้น ขณะที่แบงก์รัฐ หรือธนาคารอื่นต้องปรับตัวรองรับบริการในยุคไทยแลนด์ 4.0

    ส่วนร้านสะดวกซื้อรายใหญ่แห่งหนึ่ง จะเข้ามาขอเป็นตัวแทนธนาคารนั้น นายสมชัย กล่าวว่า ถือว่าเหมาะสม เพราะที่ผ่านมาเปิดให้บริการชำระสาธารณูปโภคอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็จะมีหลักธรรมาภิบาลในการบริหารที่ดี และยังมีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ ช่วยกระตุ้นการใช้จ่าของประชาชนให้มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย อนุมัติให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นตัวแทนรับฝากเงินให้กับธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง ได้แก่ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารทิสโก้ และ ธนาคารยูโอบี และให้บริการมาตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถรับถอนเงินจากบัญชีธนาคารได้.

    สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/onlinesection/detail/9610000016801

    ]]>
    1157411
    21 เดือนแบงก์ปิด 220 สาขา 6 เดือน ลดพนักงานรวม 1,351 คน https://positioningmag.com/1144018 Fri, 20 Oct 2017 11:20:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1144018 ธนาคารหลายแห่งทยอยแจ้งผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2560 ออกมาแล้ว ต่างยิ้มกันได้ถ้วนหน้า เพราะกำไรพุ่งไม่หยุดทั้งแบงก์เล็กแบงก์ใหญ่ แต่อีกมุมหนึ่งหลายธนาคารก็ทยอยปิดสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่ามีการลดพนักงานไปโดยปริยาย

    มีข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ระบุว่าโมบายล์และอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมแล้วมีผู้ลงทะเบียนใช้บริการประมาณ 35 ล้านบัญชี ขณะเดียวกันล่าสุดหลายธนาคารก็ทยอยปิดสาขา โดยในรอบ 21 เดือนที่ผ่านมาปิดรวม 220 สาขา ธนาคารธนชาตแชมป์ปิดมากที่สุด ขณะที่ภาพรวม 6 เดือนแรกของปีนี้มีจำนวนพนักงานแบงก์ทั้งระบบลดลง 1,351 คน 

    ความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจธนาคาร ที่มีเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเป็นแรงผลักดัน ทำให้ทุกธนาคารต้องปรับตัว เพราะมีตัวเลขจากธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ผู้ใช้บริการธนาคารผ่านเทคโนโลยี อย่างอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งกับโมบายล์แบงก์กิ้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมกันกว่า 35 ล้านบัญชี จากจำนวนลูกค้าเงินฝากของธนาคารทั้งระบบประมาณ 90 ล้านบัญชีเมื่อปลายปี 2559 ซึ่งหมายถึงลูกค้า 1 ใน 3 ใช้ออนไลน์แบงกิ้งแล้ว

    นับเป็นจุดที่ธุรกิจธนาคารรอคอยมานาน เพราะหมายถึงต้นทุนการเปิดสาขาลดลง หรือสามารถชะลอเปิดสาขาใหม่ หรือถึงขั้นยุบสาขาเดิมที่มีคนน้อยลงได้ หรือหากจะเปิดสาขาก็รุกเปิดในห้างค้าปลีกมากกว่า และที่สำคัญคือการปรับตัวเพื่อดึงลูกค้าคนรุ่นใหม่ ที่พร้อมจ่ายโอนช้อปทุกที่ทุกเวลาผ่านเทคโนโลยี 

    เว็บไซต์ ธปท. ยังได้เผยแพร่ข้อมูลจำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์ทั้งไทยและต่างชาติที่อยู่ในไทย สิ้นสุดเดือน ก.. 2560 พบว่าจากจำนวนรวมกว่า 20 ธนาคาร มีจำนวนสาขาทั้งระบบลดลง แม้จะมีบางธนาคารทั้งขนาดกลางและใหญ่เปิดสาขาอย่างต่อเนื่อง แต่ยอดปิดโดยรวมมากกว่า ทำให้ยอดสาขาสุทธิเหลือลดลง 

    เดือน ส.. 2560 กว่า 20 ธนาคาร มีจำนวนสาขารวม 6,860 สาขา มาเดือน ก.. 2560 เหลือ 6,841 สาขา ลดลง 19 สาขา ถ้าเทียบกับเดือน ก.. 2559 ที่มีสาขารวม 7,033 สาขา เท่ากับลดลง 192 สาขา และถ้านับตั้งแต่เดือน ม.. 2560 ซึ่งมีสาขารวม 7,004 สาขา หรือ 10 เดือนแรกของปี 2560 ธนาคารปิดสาขาแล้วรวม 163 สาขา

    ถ้าย้อนเปรียบเทียบกับเดือน ธ.. 2558 หรือช่วง 21 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารทั้งระบบมีสาขารวม 7,061 สาขา ปิดสาขาไปแล้วรวม 220 สาขา โดยบางธนาคารปิดสาขาจำนวนมาก ทำให้ยอดสาขาสุทธิลดลงต่อเนื่องเหลือเพียง 6,841 สาขา

    ธนาคารที่มีการปิดสาขามากที่สุด 5 อันดับแรก คือธนาคารธนชาต ปิดไปแล้ว 84 สาขา รองลงมาคือ ธนาคารกรุงไทย ปิด 78 สาขา กสิกรไทย ปิด 74 สาขา ไทยพาณิชย์ ปิด 38 สาขา และซีไอเอ็มบีไทย ปิด 35 สาขา

    กลุ่มธนาคารที่ลดจำนวนสาขาลงให้เหตุผลว่า เพราะพฤติกรรมลูกค้าที่ใช้ระบบโมบายล์แบงกิ้ง หรืออินเทอร์เน็ตแบงกิ้งมากขึ้น

    สำหรับธนาคารที่เปิดสาขาเพิ่ม เพราะยังรุกเปิดสาขาในห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้าที่เปิดใหม่ นอกจากต้องรักษาฐานลูกค้าเดิม ยังต้องการจับกลุ่มธุรกิจรายย่อยมากขึ้น ทำให้มียอดสาขาสุทธิของธนาคารนั้น เพิ่มขึ้น คือ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย เพิ่ม 57 สาขา ธนาคารกรุงเทพ มีสาขาเพิ่ม 24 สาขา ธนาคารกรุงศรี เพิ่ม 24 สาขา L&H Bank เพิ่ม 7 สาขา และ ธนาคารเกียรตินาคิน เพิ่ม 2 สาขา 

    ทางด้านจำนวนพนักงานธนาคารทั้งระบบทั้งของไทยและต่างชาติ  สิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 แม้จะมีมากกว่าปี 2558 จำนวน 2,269 แต่หากเทียบกับสิ้นปี 2559 ซึ่งมีพนักงาน 154,490 คน ผ่านไปเพียงประมาณ 6 เดือน สิ้นไตรมาส 2 ปี 2560 มีพนักงานเหลือ 153,139 คน หรือลดลง 1,351 คน

    ]]>
    1144018