นักลงทุน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 19 Sep 2024 10:38:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก orbix INVEST ผู้ช่วยมือโปรของคริปโตเนียน https://positioningmag.com/1490901 Thu, 19 Sep 2024 11:50:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1490901

ในยุคปัจจุบันเป็นโลกแห่งการลงทุนมีการเปิดกว้างมากมาย ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การลงทุนแบบดั้งเดิม โลกดิจิทัลเข้ามามีบทบาท และเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่งคั่งได้ด้วยเช่นกัน การเกิดขึ้นของ “สินทรัพย์ดิจิทัล” จึงเป็นโอกาสสำคัญของนักลงทุนรุ่นใหม่ แต่จะลงทุนอย่างไรให้ปลอดภัย คือความท้าทายอย่างที่สุด


ทำความรู้จัก orbix INVEST จิ๊กซอว์ตัวใหม่

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล หรือที่หลายๆ คนเรียกกันง่ายๆ ว่าคริปโตฯ มีการเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล ข้อมูลจาก CoinGecko พบว่า ในปี 2566 มูลค่าตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ที่ 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าในปี 2567 จะมีมูลค่าอยู่ที่ 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มีการเติบโตถึง 140,000% สะท้อนว่าภาพรวมของตลาดยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ในประเทศไทยมีการประเมินว่ามีผู้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมากกว่า 4 ล้านราย แสดงให้เห็นว่าในตลาดนี้ยังมีนักลงทุนที่ให้ความสนใจ และยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก ทั้งนักลงทุนอาชีพ ไปจนถึงนักลงทุนหน้าใหม่ โดยความต้องการของคนกลุ่มนี้ก็คือ แพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ ไว้ใจได้

กลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคารกสิกรไทย จึงเปิดตัวบริษัทลูก “ยูนิต้า แคปิทัล” ก่อตั้งขึ้นเพื่อดูแลบริการให้ครอบคลุมระบบนิเวศด้านสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Ecosystem) มากขึ้น ล่าสุดได้เปิดตัว ออร์บิกซ์ อินเวสท์  (orbix INVEST) ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Fund Manager) เป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับนักลงทุน โดยก่อนหน้านี้ยูนิต้า แคปิทัลมีการเปิดให้บริการ ออร์บิกซ์ (orbix) ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล, ออร์บิกซ์ เทคโนโลยี (orbix TECHNOLOGY) ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีบล็อคเชนของประเทศ และออร์บิกซ์ คัสโทเดียน (orbix CUSTODIAN) เพื่อรองรับการประกอบธุรกิจผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมเพื่อรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ

orbix INVEST ได้เปิดให้บริการเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลจากกระทรวงการคลัง ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เมื่อเดือนมกราคม 2567

เรียกได้ว่า orbix INVEST เป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ที่สำคัญในการขยายขอบเขตบริการเพื่อเติมเต็มระบบนิเวศด้านสินทรัพย์ดิจิทัล และเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุน ด้วยการนำเสนอกลยุทธ์จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้การจัดการของบริษัท รวมถึงพัฒนาแอปพลิเคชันให้ใช้งานง่าย ภายใต้แนวคิด Strategist for Kryptonian ผู้ช่วยมือโปรของคริปโตเนียน


มั่นใจได้มาตรฐาน เพราะผู้ช่วยมือโปร

orbix INVEST วางจุดยืนเป็นผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Fund Manager) หรือเรียกได้ว่าเป็นบุคคลซึ่งเข้าจัดการเงินทุน หรือแสดงต่อบุคคลทั่วไปว่าพร้อมจะรับจัดการเงินทุนให้แก่บุคคลอื่น เพื่อแสวงหาประโยชน์จากสินทรัพย์ดิจิทัล โดยกระทำเป็นทางค้าปกติ แต่ไม่รวมถึงการจัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัลในลักษณะที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

ซึ่งเชื่อถือได้ เพราะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) orbix INVEST ทำหน้าที่ในการคัดเลือกสินทรัพย์ ออกแบบ รวมทั้งบริหารกลยุทธ์ และบริหารความเสี่ยงของกลยุทธ์จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างมูลค่าให้กับพอร์ตลงทุนได้ ใช้งานง่ายผ่านแอปพลิเคชั่น

ถ้าถามว่าการลงทุนในรูปแบบ Digital Asset Fund Manager ผ่าน orbix INVEST มีความพิเศษจากการลงทุนประเภทอื่นอย่างไร ต้องบอกว่าการลงทุนในยุคปัจจุบันไม่เพียงแต่อยู่ในตลาดหุ้น พันธบัตร หรืออสังหาริมทรัพย์เท่านั้น แต่ยังมีสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets) ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น การกระจายการลงทุนมาลงทุนใน Digital Asset Fund นั้นมีประโยชน์หลายอย่าง เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลกำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบการเงินของโลก มีมูลค่า และสามารถเก็บได้ในระยะยาว

อีกทั้งการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลก็ง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก เพราะมีผู้เชี่ยวชาญค่อยดูแลจัดการให้ แถมยังติดตามการลงทุนได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว ช่วยเพิ่มโอกาสของพอร์ตการลงทุนให้มากขึ้นกว่าเดิม

กระจายความเสี่ยงอย่างสมดุล

การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไร และบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากแบ่งสัดส่วนมาลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลประมาณ 1-5% ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมด ก็เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนโดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญเลยทีเดียว

เพราะสินทรัพย์ดิจิทัลมักมีการเคลื่อนไหวของราคาที่ไม่สัมพันธ์กับสินทรัพย์อื่นๆ เช่น หุ้นและพันธบัตร ดังนั้น การกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ดิจิทัลจะช่วยปรับสมดุลพอร์ตและลดความผันผวนได้ แถมยังเปิดโอกาสให้พอร์ตมีศักยภาพในการทำผลตอบแทนและมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงในระยะยาว

การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างพอร์ตที่สมดุลและมีโอกาสรับผลตอบแทนสูงขึ้น ทำให้นักลงทุนสามารถเติบโตในตลาดการเงินยุคใหม่ได้


ฟังก์ชันสุดล้ำจาก orbix INVEST

ฟังก์ชั่นหลักของ orbix INVEST ก็คือ สามาถเลือกลงทุนกลยุทธ์จัดการเงินทุนได้ตามความเสี่ยงและเป้าหมายการลงทุน โดยที่ orbix INVEST มีแบบประเมินความเสี่ยงที่ช่วยให้ผู้ลงทุนทราบความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้ และเข้าใจเป้าหมายการลงทุนของตนเอง เพื่อให้นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนในกลยุทธ์จัดการเงินทุนได้อย่างเหมาะสม

ทาง orbix INVEST มีกลยุทธ์จัดการเงินทุนหลากหลาย และแนะนำไว้ในแอปพลิเคชัน เพื่อให้ตามทันเทรนด์การลงทุนในตลาด และเลือกลงทุนได้ตามความสนใจ

นักลงทุนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของกลยุทธ์การลงทุน รวมถึงติดตามความเคลื่อนไหวของราคา สัดส่วนการลงทุน ได้ ผ่านแอปพลิเคชัน orbix INVEST ที่ทำให้มีข้อมูลครบถ้วนและสามารถตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ

ลงทุนกับ orbix INVEST

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เชื่อได้ว่าต้องมีนักลงทุนที่สนใจลงทุนกับ orbix INVEST อย่างแน่นอน เพราะทั้งสะดวก ปลอดภัย และเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. ดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน orbix INVEST มีให้ดาวน์โหลดทั้ง App Store และ Play Store
  2. การเตรียมตัวก่อนการเปิดบัญชี
  • เตรียมบัตรประชาชน ข้อมูลบนบัตรและรวมถึงเลข laser หลังบัตร
  • อยู่ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพ
  • ไม่สวมแว่นตาหรือสิ่งปิดบังใบหน้าในขณะทำการยืนยันตัวตน
  1. หลังจากนั้นลงทะเบียนโดยยืนยันตัวตนผ่านทาง K Plus หรือยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (NDID) กรอกข้อมูลส่วนตัว และทำแบบทดสอบประเมินความเสี่ยง รวมถึงผูกบัญชีรับเงิน เมื่อเจ้าหน้าที่อนุมัติเปิดบัญชีภายใน 1-2 วันทำการ จึงสามารถทำการเพิ่มทุน/ลดทุนได้

หมายเหตุ * คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุน ให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

]]>
1490901
Beacon VC มอง ESG มีความสำคัญกับทุกภาคส่วนมากขึ้น สตาร์ทอัพไทยจะปรับตัวได้อย่างไร https://positioningmag.com/1447453 Tue, 10 Oct 2023 03:50:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447453

ปัจจุบัน ESG มีความสำคัญอย่างมากในโลกธุรกิจ เราเห็นข่าวด้านธุรกิจเริ่มพูดถึงประเด็นของ ESG เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนเองก็อาจสงสัยว่าเรื่องดังกล่าวมีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร ปัจจัยดังกล่าวทำให้ธุรกิจหรือแม้แต่สตาร์ทอัพเองก็อาจสงสัยว่าทำไมบริษัทของตนจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

Positioning และ Beacon VC จะพาไปหาคำตอบว่าเรื่องของ ESG กับสตาร์ทอัพนั้นเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร และประเด็นใดที่สตาร์ทอัพไทยควรจะรู้


ESG คืออะไร

ESG นั้นย่อมาจาก Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) เป็นแนวคิดในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว ถ้าหากธุรกิจยุคใหม่จะเติบโตก็ต้อง Do Good Do well ไปด้วยกัน เป็นโจทย์ที่ธุรกิจต้องคิดว่าทำอย่างไรให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปอย่างยั่งยืนพร้อมกับยังคงความสามารถในการสร้างกำไรให้กับองค์กรตัวเองไปได้พร้อมกัน

การคำนึงถึง ESG ในการทำธุรกิจ เป็นการชวนให้ทุกคนกลับมาทบทวนการดำเนินงานตลอดทั้ง Supply Chain ของตนเองว่ามีผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลในส่วนใดบ้าง เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจความเสี่ยงของการลงทุนกับบริษัทที่ส่งผลกระทบต่อเรื่อง ESG กล่าวคือแม้บริษัทจะมีกำไรสูง แต่หากมีกิจกรรมที่ส่งผลกระทบกับกติกาที่โลกกำลังให้ความสำคัญอย่าง ESG ก็จะถูกมองในแง่ลบและอาจไม่มีใครอยากลงทุนด้วย


เมื่อนักลงทุนสนใจ ESG มากขึ้น สตาร์ทอัพเองก็ต้องปรับตัว

สตาร์ทอัพที่กำลังมองหาการลงทุนจากเหล่านักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการนำ ESG มาปรับใช้กับนโยบายและการดำเนินงานของตน แม้ว่าการกระทำดังกล่าวอาจดูเหมือนเป็นการเพิ่มภาระให้กับธุรกิจของตัวเอง แต่หากมองในระยะยาว จะเห็นว่าการเริ่มปรับตัวให้เข้ากับหลักเกณฑ์ด้าน ESG ตั้งแต่ตอนนี้ถือเป็นเรื่องที่สตาร์ทอัพควรทำเป็นอย่างมาก เนื่องจากกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ จะถูกบังคับใช้และมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นในอนาคต

จากข้อมูลของ EY ในปี 2565 ที่ผ่านมานั้น ได้แสดงว่า มีนักลงทุนถึง 26% เลือกที่จะไม่ลงทุนกับธุรกิจที่ไม่สามารถให้ความชัดเจนในนโยบายด้าน ESG นอกจากนั้นยังพบว่า 56% ของ Hedge Funds และ Private Equity และ 20% ของ Venture Capital ได้นำเกณฑ์ ESG มาเป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญในการพิจารณาลงทุน

เรื่องของสิ่งแวดล้อม หนึ่งในประเด็นของ ESG ที่กำลังถูกจับตามองอย่างมาก – ภาพจาก Unsplash


โอกาสที่จะได้ ถ้าสตาร์ทอัพหันมาสนใจเรื่อง ESG  

จากงานวิจัยของ McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก พบว่าบริษัทที่นำแนวคิดด้าน ESG มาประกอบในการดำเนินธุรกิจนั้น จะเพิ่มความสามารถให้บริษัทนั้นเปิดตลาดใหม่ๆ ในทวีปยุโรปที่กำลังมองหา Sustainability Index จากบริษัทที่จะเข้าไปทำตลาดมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้ธุรกิจหากเลือกที่จะใส่ใจเรื่อง ESG ก่อนคนอื่น นอกจากนั้นการให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG จะช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุนการผลิตและแข่งขันได้ในระยะยาว มากกว่าการแสวงหากำไรระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืน และแน่นอนที่สุดคือจะได้รับการสนับสนุนจากผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น รวมถึงยังช่วยป้องกันการโดนลงโทษจากกฎหมายตามมาตรฐานของประเทศต่างๆ ที่จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ดังนั้นในฐานะคนทำธุรกิจไม่เว้นแม้แต่สตาร์ทอัพเองก็ควรจะต้องให้ความสนใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ไม่เพียงเท่านี้ คนรุ่นใหม่ยังให้ความสนใจกับประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นรวมถึงมองหาโอกาสในการ ทำงานกับองค์กรที่แสดงให้เห็นได้ว่าไม่ได้มุ่งแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียว ดังนั้นบริษัทที่ทำเรื่อง ESG ได้ดี ก็จะมีโอกาสที่จะดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรได้มากขึ้น พนักงานในองค์กรเองก็จะภูมิใจที่องค์กรจัดการกับประเด็นเหล่านี้ได้ดี

คุณธนพงษ์ ณ ระนอง Managing Director จาก Beacon VC เจ้าของโครงการ KATALYST By KBank ได้กล่าวในงานสัมมนา ESG A Lasting Game Changer ว่าเรื่องของ ESG เป็นสิ่งที่กำลังมาและมีความสำคัญจริง ๆที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงเรื่องของเทรนด์ใหม่ๆ บางครั้งคนอาจจะกลัวว่าเป็นแค่ Buzz Words คือเรื่องที่มีการพูดถึงมากๆ แต่มาไม่นานแล้วก็หายไป คนกลัวว่าESG จะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ แต่จากที่ได้ไปงานสัมนาด้าน ESG ต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศถ้าเราเข้าไปดูในฝั่งนักลงทุน จะเห็นว่านักลงทุนที่มาในงาน ESG จะเป็นนักลงทุนจากสถาบันที่มีการก่อตั้งมานานแล้วและมีความที่จริงจังในการลงทุนมาก เชื่อได้ว่าเรื่อง ESGจะเป็นการลงทุนที่เป็น Long Term Investment มากๆ แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือเรื่อง ESG ยังเป็นเรื่องใหม่มากๆ โดยเฉพาะในประเทศไทย

ดังนั้น กฎ ระเบียบต่างๆ และด้านตลาดยังมีความไม่ชัดเจนอยู่มากๆ ถ้าเรายังไม่เข้าใจเรื่องทั้งหมดดีพอ เราจะเข้าไปจับโอกาสนั้นได้ยาก

คุณธนพงษ์ ณ ระนอง – กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (Beacon VC)


สตาร์ทอัพจะปรับตัวกับ ESG ได้อย่างไร  

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาคธุรกิจจะมีทางเลือกในการดำเนินการเพื่อรับมือต่อประเด็นความยั่งยืนที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน อาทิ ความพร้อมของกิจการทั้งความรู้ความเข้าใจ สภาพคล่องและเงินลงทุน เป็นต้น และปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็น ฐานลูกค้า มาตรการของคู่ค้าและทางการ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ซึ่งแต่ละธุรกิจคงต้องชั่งน้ำหนักถึงผลบวกและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งผลที่จะตามมาจากการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการต่อผลการดำเนินการในช่วงเวลาต่างๆ ว่าคุ้มค่าหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมองว่า ธุรกิจหรือสตาร์ทอัพอาจเริ่มต้นจากการลดส่วนสูญเสียในกระบวนการผลิต แยกขยะและนำวัสดุอุปกรณ์เหลือทิ้งมาใช้ซ้ำ หรือ รีไซเคิล วางแผนก่อนการใช้สิ่งต่างๆ เลือกใช้วัสดุ หรือวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการประหยัดไฟฟ้าและน้ำ การใช้ไฟฟ้าช่วง Off-Peak ที่มีค่าไฟต่อหน่วยต่ำ การเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน การออกแบบเส้นทางการใช้รถยนต์ การเปลี่ยนรถยนต์น้ำมันเป็นรถยนต์ไฟฟ้า การลดการขนส่งเที่ยวเปล่า การใช้โซลูชั่นหรือเทคโนโลยีเพื่อลดความสิ้นเปลือง เป็นต้น แนวทางเหล่านี้ธุรกิจอย่างสตาร์ทอัพหรือแม้แต่ธุรกิจทั่วไปก็น่าจะทยอยปรับเปลี่ยนเมื่อถึงจังหวะเวลาที่เหมาะสมได้โดยมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง และยังมีเคล็ดลับจากงาน ESG A Lasting Game Changer ได้แนะนำให้สตาร์ทอัพเริ่มจากศึกษาเรื่อง ESG และดูว่าคนที่อยู่ใน Ecosystem นี้ทำอะไรอยู่บ้าง เราสามารถที่จะเรียนรู้สิ่งดีๆ เพื่อเป็นแนวทางและนำมาปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองก่อน

ถ้ามองภาพรวมใหญ่ของบริษัท เรื่อง ESG มีการทำในบริษัทอยู่แล้ว แต่บางเรื่องอาจจะยังไม่นึกมาก่อนว่านี่ก็คือการทำ ESG เช่น การดูแลพนักงานดีหรือไม่ การดูแลสวัสดิการต่างๆ เป็นอย่างไร นี่คือสิ่งเล็กๆ ง่ายๆ ที่อาจจะยังไม่เคยมอง ให้เลือกทำในสิ่งที่อยากทำ และโดดเด่นจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นด้านไหนของ ESG โดยอยากเน้นย้ำว่าถึงแม้ในปัจจุบันตลาดโดยรวมอาจจะให้ความสำคัญหลักไปที่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือตัว E แต่ในเรื่องของ S หรือการปฏิบัติต่อพนักงานและสังคมรอบข้าง และเรื่องของ G หรือความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อธรรมภิบาลที่ดี ก็เป็นสิ่งที่นักลงทุนมองหาและมีสำคัญไม่แพ้กัน

งานสัมมนา ESG A Lasting Game Changer โดย Beacon VC


Beacon VC มีส่วนช่วยเหลือธุรกิจสตาร์ทอัพในด้าน ESG ได้อย่างไร

ปัจจุบัน Beacon VC ส่งเสริมให้สตาร์ทอัพปรับตัวและมองหาโอกาสจากเทรนด์ด้าน ESG โดยส่งมอบการสนับสนุนในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การให้ความรู้เรื่อง ESG ผ่านการจัดงานสัมมนาและหลักสูตรอบรมเข้มข้นประจำปี KATALYST Startup Launchpad 2023 การร่วมมือกับพันธมิตรจัดตั้ง Climate Tech Club เป็นต้น และการจัดอบรมร่วมกับ Wavemaker Impact เพื่อให้ความรู้กับกลุ่มสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับ Climate Tech เป็นต้น

รวมถึงการสนับสนุนเงินลงทุนผ่านกองทุน Beacon Impact Fund ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น ราว 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการลงทุน 3 ปี โดยมุ่งเน้นการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่แสวงหาผลกำไร ที่มีแนวคิดดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างผลกระทบเชิงบวกในมิติต่างๆ ของ ESG สามารถวัดผลได้ พร้อมศักยภาพที่จะขยายผลไปในวงกว้าง โดยกองทุน Beacon Impact Fund มีนโยบายลงทุนในบริษัทที่อยู่ในช่วงที่บริษัทสามารถสร้างรายได้แล้ว มีฐานลูกค้าที่ชัดเจน และสามารถเติบโตได้ดี

พอร์ตการลงทุนของ Beacon VC – ภาพจาก Beacon VC

ซึ่งพอร์ตการลงทุนของ Beacon Impact Fund นั้นมีบริษัทที่ลงทุนอยู่ เช่น Algbra ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเงินเพื่อให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศอังกฤษสามารถเข้าถึงบริการทา งการเงินที่สอดคล้องกับหลักทางศาสนาได้ Wavemaker Impact ธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่มีเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก หรือแม้แต่ กองทุน Siam Capital ซึ่งเป็นกองทุนที่มุ่งเน้นที่จะช่วยเป็นส่วนนึงในการทำให้การบริโภคอย่างยั่งยืน ผ่านการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพ หลากหลายแขนง อาทิ วัสดุที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม ระบบการซื้อขายที่ลดการปล่อยคาร์บอน เป็นต้น

คุณธนพงษ์ยังได้กล่าวว่า Beacon VC หวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงผลักดันและให้การสนับสนุนผู้คิดค้นนวัตกรรมรุ่นใหม่ที่มีปณิธานในการแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ที่พวกเราทุกคนและโลกใบนี้กำลังเผชิญ ตามเจตนารมณ์ของธนาคารกสิกรไทยที่มีความมุ่งมั่นจะยกระดับการดำเนินธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการปูทางให้สังคมไทยและโลกใบนี้มุ่งสู่ความยั่งยืนที่แท้จริงไปด้วยกัน

]]>
1447453
เดอะวิสดอมกสิกรไทย ชวนกูรูสายวีไอ เฟ้นกลยุทธ์ลงทุนช่วงตลาดผันผวน ดอกเบี้ยขาขึ้น https://positioningmag.com/1433968 Wed, 14 Jun 2023 10:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433968

ภายใต้สภาวะตลาดหุ้นไม่เป็นใจ ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนจากธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรง และรวดเร็ว ทำให้สินทรัพย์หลายประเภทเกิดความผันผวนอย่างมาก ขณะเดียวกันตลาดหุ้นไทยเองก็ได้รับผลดังกล่าวด้วยเช่นกัน และยังรวมถึงปัจจัยสำคัญก็คือการเลือกตั้งในช่วงที่ผ่านมา

คำถามที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงนี้เราควรจะลงทุนอะไรดี?

Positioning ได้รวบรวมแนวความคิดจากกูรูชื่อดังอย่าง คุณเฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ ซึ่งเป็นนายกสมาคมนักลงทุน เน้นคุณค่า (ประเทศไทย) หรือที่เรารู้จักดีคือไทยวีไอ (Thai VI) คุณทิวา ชินธาดาพงศ์ เซียนหุ้นสายวีไอชื่อดังของเมืองไทย รวมถึง คุณวีระพล บดีรัฐ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า ของธนาคารกสิกรไทย เข้าร่วมให้ความรู้ ในงาน THE WISDOM WEALTH DECODED EXCLUSIVE DINNER TALK ที่บริการเดอะวิสดอม ธนาคารกสิกรไทย จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยการเชิญนักการเงิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนมาแลกเปลี่ยนมุมมองและโอกาสการลงทุนในช่วงสถานการณ์สำคัญๆ


การเมืองส่งผลกระทบลงทุนระยะสั้น

คุณเฉลิมเดช ได้กล่าวถึงคำตอบในงานนี้อาจไม่เหมือนที่เคยได้ยินมาก่อน เนื่องจากตัวเขาเองเป็นนักลงทุนสายวีไอ ที่เน้นการลงทุนระยะยาว ทำให้แนวคิดการลงทุนอาจแตกต่างกับนักลงทุนทั่วไป โดยดูได้จากจำนวนสมาชิกของสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) นั้นมีสมาชิกเพียงแค่ 10,000 คน เทียบกับจำนวนของบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ 500,000 กว่าบัญชี

นายกสมาคมไทยวีไอ ยังได้ชี้ถึงหลักการของการลงทุนแนวเน้นคุณค่าว่าเหมือนกับนักธุรกิจ คือดูธุรกิจเป็นหลัก หาธุรกิจที่ดี มีหนี้น้อย มีกระแสเงินสด แตกต่างกับนักลงทุนทั่วไปที่ดูกราฟเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็มองการลงทุนเหมือนกับการทำธุรกิจเป็นระยะยาวสิบปีขึ้นไป เขาชี้ว่าการเมืองไม่ได้สร้างผลกระทบต่อการลงทุน ไม่ว่าจะมีการรัฐประหาร หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเชื่อว่าประเทศไทยไม่ว่าจะพรรคการเมืองไหนมา ก็ไม่ต้องตกใจ  เพราะธุรกิจก็ต้องเดินหน้าทำต่อไป

ถ้ามองระยะสั้นนโยบายการเมืองก็อาจกระทบกับบริษัทบ้าง แต่ภาพใหญ่การเปลี่ยนแปลงนั้นค่อยเป็นค่อยไป อย่าไปมองข่าวสารแล้วตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นมากเกินไป ต้องพิจารณาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปได้หรือไม่ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเชื่อว่าประเทศไทยไม่ว่าจะพรรคการเมืองไหนมา ก็ไม่ต้องตกใจ  เพราะธุรกิจก็ต้องเดินหน้าทำต่อไป

ถ้ามองระยะสั้นนโยบายการเมืองก็อาจกระทบกับบริษัทบ้าง แต่ภาพใหญ่การเปลี่ยนแปลงนั้นค่อยเป็นค่อยไป อย่าไปมองข่าวสารแล้วตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นมากเกินไป ต้องพิจารณาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปได้หรือไม่

คุณเฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ – นายกสมาคมนักลงทุน เน้นคุณค่า (ประเทศไทย)

ท่องเที่ยวไทย แหล่งรายได้ของประเทศไทย

คุณเฉลิมเดช มองว่า ประเทศไทย มีอุตสาหกรรมหลักคือภาคการท่องเที่ยว และภาคการท่องเที่ยวยังเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่นไม่ว่าจะเป็นโรงแรม สปา หรือแม้แต่สนามบิน โดยประเทศไทยได้รับความนิยมต่อเนื่องเพราะระยะทางการบินราว 6 ชั่วโมงเท่านั้น ถือว่าใกล้เคยงกับประเทศอื่น เช่น ญี่ปุ่น จีน อินเดีย ทำให้การท่องเที่ยวยังเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศไทย โดยถ้าเทียบกับ GDP นั้น ถือว่าสูงมาก


ตลาดหุ้นจีนและสหรัฐอเมริกายังน่าสนใจ

“เซียนมี่”หรือคุณทิวา ชินดาพงศ์ เซียนหุ้นชื่อดังของเมืองไทย มองว่าตลาดจีนมีอนาคต หากมองภาพการลงทุนในระยะยาวๆ โดยเปรียบตลาดหุ้นจีนเหมือนตลาดหุ้นอเมริกาเมื่อ 40 ปีที่แล้ว หากพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนของมหาเศรษฐี แผนการเพิ่มชนชั้นกลางของรัฐบาลจีน หรือแม้แต่จีนมีคนที่จบการศึกษาด้าน STEM (Science, Technology, Engineering และ Mathematics) สาขาละ 4.6 ล้านคนต่อปี

คุณทิวา มองว่า ปัจจัยดังกล่าวเป็นแรงส่งเศรษฐกิจจีนเติบโตแบบก้าวกระโดด และคาดว่าจะไปอยู่ในจุดที่อเมริกายืนอยู่ในอีก 10 ปีข้างหน้าได้ แต่ในการเข้าลงทุนสำหรับตลาดที่ใหญ่อย่างจีนนั้น ต้องอาศัยจังหวะและกลยุทธ์ที่ดี เนื่องจากหุ้นจีนนั้นเวลาขึ้นก็ขึ้นแรง เวลาลงก็ลงลึกกว่าที่คิด จึงควรศึกษาเป้าหมายของผู้บริหาร ความสามารถทางการแข่งขัน กลยุทธ์ที่จะนำพาธุรกิจเติบโตในระยะยาว

คุณทิวา ชินดาพงศ์ เซียนหุ้นชื่อดังของเมืองไทย แลกเปลี่ยนมุมมองกับ คุณวีระพล บดีรัฐ – ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า ธนาคารกสิกรไทย

ขณะที่หุ้นสหรัฐอเมริกาดัชนีฟื้นตัวขึ้นจากบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Meta, NVIDIA, Microsoft, Tesla, Google  ที่ออกมาตรการรัดเข็มขัดปลดพนักงานทั่วโลก เพื่อลดต้นทุนให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ปีนี้คาดว่าจะเกิดเศรษฐกิจถดถอย

แต่คุณทิวามองว่าในรอบนี้เป็นเศรษฐกิจถดถอยที่สามารถควบคุมได้ และผู้เล่นรายใหญ่มองข้ามช็อตไปยังศึกเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าแล้ว เขามองว่าอเมริกาจึงนับเป็นอีกตลาดที่น่าสนใจ แต่ต้องตัดสินใจเข้าตลาดให้ถูกจังหวะและถูกกลุ่มอุตสาหกรรมด้วย


ลงทุนในสิ่งที่ตัวเองรู้

คุณเฉลิมเดช ได้ชี้ว่า การลงทุนลองคิดว่าเหมือนเราใส่เงินลงทุนในธุรกิจหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโรงงาน แล้วคิดว่าเงินที่ลงทุนไปนั้นจะได้กำไรกลับมาเท่าไหร่ ภายในระยะเวลาที่ต้องการ ซึ่งเขาชี้ว่าการลงทุนแบบวีไอก็คิดแบบนักธุรกิจเช่นกัน แค่ดูหุ้นทั้งตลาดหุ้น และมองว่ามีธุรกิจไหนที่มองแล้วเข้าใจ มองระยะยาวว่าลงทุนอะไรที่จะได้กำไรหรือไม่ ถ้าหากคาดการณ์ถูกเราก็จะได้ตังค์ แต่ถ้าคาดการณ์ผิดก็เสียเงิน ไม่ต่างอะไรกับการทำธุรกิจ จำนวนหุ้นในตลาดหุ้นไทยมีราวๆ 800 บริษัท ก็เท่ากับ 800 ธุรกิจ ทำให้เลือกได้ว่าจะลงทุนตัวไหน ตัวไหนระยะยาวจะมีกำไร เพราะท้ายที่สุดหุ้นจะขึ้นได้ก็เพราะบริษัทเหล่านี้มีกำไร และยังรวมถึงลงทุนในราคาที่เหมาะสม

เขาได้ยกตัวอย่างหุ้นเครื่องสำอางที่เคยลงทุนจากมูลค่าบริษัทหลักร้อยล้านบาททุกวันนี้บริษัทมีมูลค่าตลาดถึงหนึ่งหมื่นล้านบาท ภายในระยะเวลา 15 ปี และมองว่าเครื่องสำอางของไทยไม่แพ้กับเครื่องสำอางแบรนด์ดัง ของต่างประเทศ

นายกสมาคมนักลงทุน เน้นคุณค่า (ประเทศไทย) ยังได้กล่าวว่าแนวทางการลงทุนแบบวีไอก็เปรียบเหมือนกับลูกค้าเดอะวิสดอมที่ทำธุรกิจประสบความสำเร็จเช่นกัน สำหรับการดูวิธีว่าบริษัทที่เราลงทุนจะประสบความสำเร็จหรือไม่เขาได้ชี้ว่าต้องดูว่าบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันแค่ไหน แต่ละธุรกิจก็ไม่เหมือนกัน โดยการหาข้อมูลจากหลายแห่ง หรือแม้แต่การถามคู่แข่ง ซัพพลายเออร์ ฯลฯ ทำให้เราจะเห็นข้อมูลลึกมากขึ้น และจะเห็นว่าบริษัทไหนเป็นผู้ชนะ

คุณเฉลิมเดชชี้ว่าถ้าหากเรารู้ในธุรกิจต่างๆ เราจะเข้าใจในอุตสาหกรรมเป็นยังไง เช่น ถ้าหากเราเป็นซัพพลายเออร์อาหารสัตว์ เราจะรู้ว่าบริษัทที่ผลิตอาหารสัตว์แต่ละรายเป็นเช่นไร ซึ่งเขาแนะนำว่าให้ลงทุนกับอุตสาหกรรมที่เรารู้ก่อน ก่อนที่จะไปลงทุนในอุตสาหกรรมอื่น


ลงทุนสไตล์ VI ยุคนี้ ต้องทำอย่างไร

สำหรับเรื่องพอร์ตการลงทุนสายวีไอนั้น คุณเฉลิมเดชได้ให้แนวคิดว่าส่วนใหญ่แล้วจะมีหุ้นจำนวนไม่มาก และหุ้น 3 ตัวที่มีสัดส่วนการลงทุนมากที่สุดนั้นจะทำผลตอบแทนให้พอร์ตการลงทุนมากที่สุด

เขายังชี้ว่าแต่ถ้าหากใครไม่ชอบลงทุน ชอบทำธุรกิจมากกว่า แล้วพอมีเหลือเงินบ้าง แนะนำให้กระจายการลงทุน ผ่านการซื้อกองทุนรวม หรือแม้แต่การลงทุนในพันธบัตร แต่เขาได้ชี้ว่าจะต้องลดความคาดหวังในการลงทุนลงมาด้วย เช่น ค่าเฉลี่ยหุ้นไทยนั้นเติบโตได้ 7-9% ต่อปี แล้วเรามีความสุขในการลงทุนหรือไม่

สำหรับการลงทุนในต่างประเทศ เขามองว่าโอกาสที่เศรษฐกิจในต่างประเทศจะถดถอยมีสูง แต่ในไทยกลับกำลังฟื้นตัวจากโควิด แต่การฟื้นตัวนั้นเป็นแบบ K-Shape ควรที่จะลงทุนในช่วงเวลาที่คนไม่สนใจ ไม่เป็นกระแส

แต่ถ้าหากลงทุนแล้วไม่เป็นตามที่คิดคุณเฉลิมเดชแนะนำให้ขาย ไม่ควรเก็บสิ่งที่แย่ๆ ในพอร์ตไว้ เพราะจะทำให้สุขภาพจิตเสีย ถ้าซื้อแล้วควรซื้อกิจการที่ดี เพราะซื้อแล้วจะขึ้นเสมอ ของห่วยไม่ควรเก็บไว้ และไม่ควรที่จะแห่ลงทุนตามคนอื่น อะไรที่คนอื่นแห่กันลงทุนก็เหมือนกับแห่ทำธุรกิจ เพราะท้ายที่สุดแล้วจะขาดทุนหมด

ในกรณีของกองทุนต่างประเทศ คุณวีระพล บดีรัฐ – ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า ธนาคารกสิกรไทย แนะนำว่า กรณีของกองทุนรวมที่ลงทุนในจีน หรือกลุ่มเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกา แล้วลูกค้าขาดทุนมากนั้น ถ้าหากมีสัดส่วนในการลงทุนในพอร์ตการลงทุนมากเกินไป ต่อให้สถานการณ์ดีขึ้น ก็ยังไม่ทำให้ผลตอบแทนของเรากลับมาเท่าเดิม และไม่ควรลงทุนเพิ่มเติมในสิ่งที่เรากำลังกังวลอยู่ แถมไม่มีใครการันตีให้ด้วย

นอกจากนี้คุณวีระพล ยังแนะนำให้ฟังข้อมูลหลายแหล่ง และถ้าหากมีสัดส่วนการลงทุนที่น้อยมาก ก็ค่อยๆ ซื้อเพิ่มได้ อย่าลงทุนเหมือนกับการแทงหวย และอย่าเชื่อในสิ่งที่คนอื่นบอกว่าดี ควรจะติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด ถ้าอยากลงทุนแล้วประสบความสำเร็จเราจะต้องรู้ลึกในการลงทุนหรือถ้าอยากลงทุนแบบสบายใจก็ควรกระจายความเสี่ยงการลงทุนออกมาบ้าง

]]>
1433968
จับตา ยุค ‘ตื่นทอง’ ของสตาร์ทอัพอาเซียน เงินระดมทุนเพิ่มขึ้นเท่าตัว ปั้นยูนิคอร์นรุ่นใหม่ https://positioningmag.com/1372526 Tue, 01 Feb 2022 09:44:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372526 เหล่าสตาร์ทอัพดาวรุ่งในอาเซียน ระดมทุนได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 2.57 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2021 เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีก่อนหน้านี้

ช่วงวิกฤตโควิด-19 นักลงทุนทั่วโลกอที่ถือครองเงินสดจำนวนมาก ต่างพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในตลาดอาเซียน ที่เป็นเหมือนขุมทองด้านเทคโนโลยีเเห่งใหม่ของโลก จากศักยภาพการเติบโตท่ามกลางการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจดิจิทัล

บรรดากองทุนต่างๆ เเละบริษัทร่วมทุนขนาดใหญ่ กำลังแสวงหาโอกาสการลงทุนที่จะช่วยให้ได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญจึงประเมินว่า ยุคตื่นทอง” (Gold Rush) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะยังคงดำเนินต่อไปในปีนี้ หลังปั้นยูนิคอร์นได้ถึง 25 บริษัท เเละเงินลงทุนกำลังจะเข้าหากลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ที่ยังมีต่ำกว่ามูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์มากขึ้น 

อาเซียน เนื้อหอมดึงดูดเงินทุนทั่วโลก 

รายงานของ SE Asia Deal Review ที่รวบรวมโดย DealStreetAsia แพลตฟอร์มข้อมูลสตาร์ทอัพของสิงคโปร์ ระบุว่า ในปี 2021 ที่ผ่านมาสตาร์ทอัพในภูมิภาคนี้สามารถระดมทุนได้ถึง 2.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.7 เท่า จาก 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 และมากกว่าปี 2018 ที่เคยมีมีการระดมทุนสูงสุดที่ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตัวเลขการระดมทุนที่เพิ่มขึ้น เป็นสัญลักษณ์ของตลาดใหม่ที่กำลังเติบโต เเละยังเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกที่มีต่อตลาดอาเซียน ทั้งในแง่การเป็นตลาดเกิดใหม่สำหรับธุรกิจและศูนย์กลางนวัตกรรมทางเทคโนโลยีระดับโลก” DealStreetAsia กล่าวในบทวิเคราะห์

ยุค Gold Rush เเห่งอาเซียน 

ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพในอาเซียน เริ่มเติบโตในช่วงต้นปี 2010 ตามหลังจีนอยู่ประมาณ 5-10 ปี ท่ามกลางช่วงธุรกิจสมาร์ทโฟนที่เข้ามาเจาะตลาดอาเซียน 

จนกระทั่งก่อนเกิดโรคระบาด เงินทุนส่วนใหญ่เริ่มตกไปอยู่กับกลุ่มสตาร์ทอัพใหม่ที่เติบโตอย่างโดดเด่นอย่าง Grab ของสิงคโปร์ เเละ Gojek คู่แข่งจากอินโดนีเซีย

โดยหนึ่งในนักลงทุนรายใหญ่ที่เข้ามาบุกอาเซียน ก็คือ ‘SoftBank Group’ ของญี่ปุ่น ที่ทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับ Grab และ Tokopedia แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของอินโดนีเซีย

สำหรับบริษัทที่ระดมทุนได้มากในปี 2021 คือGoTo’ ของอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นบริษัทเทคฯ ที่เกิดขึ้นจากการควบรวมกิจการระหว่าง Gojek เเละ Tokopedia ซึ่งระดมทุนได้ราว 1,600 ล้านดอลลาร์ รวมถึงเงินทุนที่ Gojek ระดมทุนได้ก่อนรวมกิจการกันทำให้เป็นบริษัทที่ระดมทุนได้มากที่สุดอันดับสองของภูมิภาค 

Photo : Shutterstock

ขณะที่ Grab ระดมทุนได้ 675 ล้านดอลลาร์ ก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ในเดือนธ..ที่ผ่านมา ขึ้นเป็นบริษัทใหญ่สุดอันดับที่ 4

เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดของการระดมทุนในปี 2018 เราได้เห็นการกระจายตัวของแหล่งเงินทุนไปยังบริษัทที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในตลาดและภาคส่วนต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพและการเติบโตของระบบนิเวศ

Yinglan Tan ผู้จัดการกองทุน Insignia Ventures เเสดงความคิดเห็นของเขาในรายงาน DealStreetAsia โดยเขาอธิบายสถานการณ์ปัจจุบันว่าเป็น “ยุคตื่นทองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

ปี 2021 ปั้นยูนิคอร์น 25 ตัว จับตาสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ 

เมื่อแยกตามภาคธุรกิจเเล้ว สตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทคถือเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการระดมทุนมากที่สุดในปี 2021 โดยระดมทุนได้กว่า 5,830 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4 เท่าจาก 1,460 ล้านดอลลาร์ในปี 2020

โดยการระบาดของโควิด-19 ได้กระตุ้นให้เกิดการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากขึ้นและบริการทางการเงินออนไลน์อื่นๆมากขึ้น

บริการเหล่านี้มีผลกระทบทางสังคมนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมากหากเทียบกับตลาดที่พัฒนาแล้วจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชนรายใหม่เเละการเปิดบัญชีออนไลน์มากขึ้น

ยกตัวอย่าง เช่น สตาร์ทอัพ Mynt ของฟิลิปปินส์ หรือที่รู้จักกันในชื่อกระเป๋าเงินเคลื่อนที่ GCash ที่ได้รับการสนับสนุนโดยบิ๊กเทคของจีนอย่าง Ant Group ระดมทุนได้ 475 ล้านดอลลาร์ในปี 2021 จากบรรดานักลงทุนระดับโลก ซึ่งรวมถึง Warburg Pincus กองทุนเพื่อการลงทุนหุ้นนอกตลาดจากสหรัฐฯ

ด้านภาคโลจิสติกส์ตามมาเป็นอันดับสอง ด้วยยอดการระดมทุนได้ประมาณ 5,560 ดอลลาร์ในปี 2021 ด้วยปัจจัยหนุนการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จากความต้องการของผู้บริโภคที่ช้อปปิ้งออนไลน์เเละส่งพัสดุเพิ่มขึ้นมาก  

การลงทุนที่เพิ่มขึ้น ก็มาพร้อมกับการประเมินมูลค่าที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยบริษัททั้ง 4 แห่ง ได้แก่ Mynt, MoMo, J&T Express และ Ninja Van ก็มีมูลค่าทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์ได้ปีที่แล้ว นับเป็นอีกกลุ่มสตาร์ทอัพยูนิคอร์นที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้

DealStreetAsia ระบุว่า มีสตาร์ทอัพ 25 แห่งจาก 6 ประเทศอาเซียน ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทยูนิคอร์นได้ในปี 2021 โดยทั้งหมดมีมูลค่ารวมอยู่ที่ราว 55,400 ล้านดอลลาร์ และส่วนใหญ่เป็นบริษัทสตาร์ทอัพในอินโดนีเซียและสิงคโปร์

นอกจากนี้ ยังมียูนิคอร์นที่เพิ่งเกิดใหม่ที่น่าสนใจอย่าง Carro แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับรถยนต์มือสอง ของสิงคโปร์ , บริษัทโลจิสติกส์ของไทย Flash Express และร้านกาแฟในเครือ Kopi Kenangan ของอินโดนีเซีย

เหล่าผู้เชี่ยวชาญ มองว่าการไหลเข้ามาของเงินทุนจะดำเนินต่อเนื่องในปี 2565 เนื่องจากมีเงินทุนจากภายนอกเข้ามาให้ความสนใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ยังมีต่ำกว่ามูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์

]]>
1372526
“ศุภาลัย” ประเดิมปี’65 เปิดคอนโดฯ “ห้องลอฟต์” ย่านวงศ์สว่าง ทำราคาถูกกว่าทำเล 20% https://positioningmag.com/1369786 Fri, 07 Jan 2022 11:06:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369786
  • ศุภาลัยเปิดคอนโดฯ แรกของปี 2565 “ศุภาลัย ลอฟต์ รัชดา-วงศ์สว่าง” ชูจุดขาย “ห้องลอฟต์” ราคาเฉลี่ยทั้งโครงการถูกกว่าทำเลเดียวกัน 20%
  • ตลาดคอนโดฯ เชื่อว่ากลุ่มราคาต่ำ 3 ล้านบาทที่เป็นเรียลดีมานด์ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว ส่วนคอนโดฯ ตลาดบนยังต้องรอพึ่งนักลงทุน
  • “ไตรเตชะ ตั้งมติธรรม” กรรมการผู้จัดการ บมจ.ศุภาลัย และ “ชัยจักร วทัญญู” ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ บมจ.ศุภาลัย ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวคอนโดมิเนียม “ศุภาลัย ลอฟต์ รัชดา-วงศ์สว่าง” คอนโดฯ แรกของบริษัทที่เปิดตัวปี 2565

    คอนโดฯ โครงการนี้ตั้งอยู่บน ถ.รัชดาภิเษก ห่างจาก MRT วงศ์สว่าง 1.1 กิโลเมตร เนื้อที่โครงการ 9 ไร่ เป็นอาคารชุด 17 ชั้น 3 ทาวเวอร์ จำนวนห้องชุดรวม 1,309 ยูนิต มูลค่าโครงการรวม 3,200 ล้านบาท ราคาเริ่มต้น 1.7 ล้านบาท เตรียมเปิดพรีเซลวันที่ 22-23 มกราคมนี้

    โครงการเรียงเป็นแนวยาวจากถนนเข้าไป 3 ทาวเวอร์

    ชัยจักรกล่าวถึงจุดเด่นของโครงการนี้เป็นคอนโดฯ ที่ปรับดีไซน์ให้เหมาะกับคนรุ่นใหม่และชีวิตหลังผ่าน COVID-19 จากการวิจัยของบริษัทพบว่าคนรุ่นใหม่ 56% ต้องการห้องชุดที่ใหญ่ขึ้นเป็น 30-40 ตร.ม. เพราะต้องการพื้นที่ไว้สำหรับทำงานหรือทำกิจกรรมอดิเรกอื่นๆ

    ทำให้โครงการศุภาลัย ลอฟต์ รัชดา-วงศ์สว่าง มีไทป์ห้องให้เลือกหลากหลายขึ้น พื้นที่ห้องชุดตั้งแต่ 28-65 ตร.ม. แบบห้อง 1 ห้องนอน, 1 ห้องนอนพลัส และ 2 ห้องนอน

    ศุภาลัย ห้องลอฟต์
    ห้องลอฟต์ของ ศุภาลัย ลอฟต์ รัชดา-วงศ์สว่าง

    รวมถึงไฮไลต์พิเศษของโครงการคือ “ห้องลอฟต์” 48 ตร.ม. ชั้นลอยในห้องไทป์นี้จะได้รับโฉนดตามจริงทั้งชั้นบนและชั้นล่าง ซึ่งหาได้ยากในตลาด โดยห้องลอฟต์มีเพียง 24 ยูนิตเท่านั้น

    ไตรเตชะกล่าวถึงจุดแข็งของโครงการคือ “ราคา” ที่ทำได้ถูกกว่าในย่านประมาณ 20% โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 65,000 บาทต่อตร.ม. เทียบกับคอนโดฯ ที่เปิดขายช่วงปี 2560-64 ในทำเลบางซื่อ-วงศ์สว่าง-ติวานนท์ จะอยู่ในช่วงราคา 78,000-95,000 บาทต่อตร.ม. ในแพ็กเกจราคาใกล้เคียงกัน ลูกค้าจะได้ห้องขนาดใหญ่กว่า

    ส่วนทำเลที่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้า ทางโครงการมีชัตเติลบัสรับ-ส่ง และมีที่จอดรถ 53% ของจำนวนยูนิต ทำให้ตอบโจทย์กับกลุ่มคนเมืองที่ใช้รถยนต์ด้วย โดยทำเลโครงการอยู่ใกล้กับทางขึ้น-ลงทางด่วน

    แม้จะได้รับผลกระทบบ้างจากการระบาดของไวรัสโรค COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน แต่จากยอดลงทะเบียนล่วงหน้า คาดว่าจะเห็นยอดพรีเซล 40-50% ได้ภายใน 2 เดือน

     

    ตลาดคอนโดต่ำกว่า 3 ล้านบาทผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว

    ไตรเตชะกล่าวต่อถึงสถานการณ์ตลาดคอนโดมิเนียม มองว่าควรมองแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคอนโดฯ ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท และ คอนโดฯ ราคามากกว่า 3 ล้านบาท

    ศุภาลัย ห้องลอฟต์
    บรรยากาศห้องชุดพื้นที่ 35 ตร.ม. แบบหน้ากว้าง โครงการศุภาลัย ลอฟต์ รัชดา-วงศ์สว่าง

    โดยตลาดราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทเป็นตลาดที่คนส่วนใหญ่อยู่อาศัยจริง หลายรายซื้อเพื่อเป็นบ้านหลังแรก ขณะที่ตลาดคอนโดฯ ราคามากกว่า 3 ล้านบาท ส่วนใหญ่ซื้อเป็นบ้านหลังที่สอง และเป็นนักลงทุนจำนวนมาก โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ

    จากการสำรวจตลาดหลัง COVID-19 ระบาด พบว่า ปี 2564 ทั้งยอดเปิดตัวโครงการใหม่และยอดขายคอนโดฯ ต่ำ 3 ล้านบาทฟื้นตัวขึ้นแล้วจากปี 2563 โดยมีอัตราการขาย 65-70%

    สะท้อนให้เห็นว่าผู้ซื้อที่ต้องการซื้ออยู่เองมีความต้องการ เพียงแต่บริษัทต้องพัฒนาให้ตอบโจทย์ให้ได้ นั่นคือต้องทำราคาอยู่ในช่วงไม่เกิน 3 ล้านบาท ได้ห้องใหญ่ 30-40 ตร.ม. และใกล้สถานีรถไฟฟ้า

     

    ลูกค้านักลงทุนยังเงียบยาว

    กลับกันกับคอนโดฯ ราคามากกว่า 3 ล้านบาท ไตรเตชะกล่าวว่ายังค่อนข้างขายยาก เนื่องจากลูกค้าที่เป็นนักลงทุนจะต้องการซื้อเมื่อได้ ‘ดีล’ ราคาดีเท่านั้น รวมถึงนักลงทุนต่างชาติหายจากตลาด จากก่อน COVID-19 มีสัดส่วนผู้ซื้อชาวต่างชาติถึง 20-25% แต่เมื่อปี 2563-64 ลดลงมาเหลือ 5-6%

    ปี 2565 นี้สำหรับคอนโดฯ ตลาดบนก็น่าจะยังไม่กระเตื้องมากนัก โดยนักลงทุนต่างชาติหลักคือ “ชาวจีน” ไม่น่าจะเดินทางออกนอกประเทศได้เร็ว ตามนโยบายของรัฐบาล แต่อาจมีลุ้นในช่วงปลายปีนี้อาจจะกลับออกมาได้ตามปกติ หากไม่มีการระบาดใหญ่ทั่วโลกอีก

    โดยภาพรวมตลาดคอนโดฯ ไตรเตชะเชื่อว่าปีนี้น่าจะดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท คาดว่าจะเห็นการเปิดตัวโครงการใหม่มากกว่าปีก่อน แต่การฟื้นตัวที่จะไปเทียบเท่าจุดพีคก่อนเกิด COVID-19 ไม่น่าจะได้เห็นภายใน 2-3 ปีนี้อย่างแน่นอน

    ]]>
    1369786
    ย้อนรอย Theranos ตำนาน “ลวงโลก” แห่งวงการสตาร์ทอัพ ขายฝันเทคโนโลยีที่ไม่มีจริง https://positioningmag.com/1369323 Tue, 04 Jan 2022 11:19:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369323 Theranos (เธรานอส) คือบริษัทที่เคยเป็นดาวจรัสแสง เป็นสตาร์ทอัพที่มาแรงที่สุดของซิลิคอน วัลเลย์ “Elizabeth Holmes” ผู้ก่อตั้งสตรีของบริษัทเคยถูกขนานนามว่าเป็น “Steve Jobs” คนต่อไป แต่ในที่สุด เทคโนโลยีที่บริษัทให้คำมั่นว่าจะมาพลิกโฉมวงการการแพทย์ กลับกลายเป็นตำนาน “ลวงโลก” ครั้งใหญ่

    วันที่ 3 มกราคม 2022 อดีตผู้ประกอบการชื่อดัง “Elizabeth Holmes” ในวัย 37 ปี ถูกตัดสินให้มีความผิดใน 4 ข้อหา โดย 1 ข้อหาเกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงนักลงทุน และอีก 3 ข้อหาเป็นการฉ้อโกงทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ละข้อหานั้นมีโทษสูงสุดจำคุก 20 ปี (ขณะนี้ศาลยังไม่ระบุโทษ และเธอได้รับอนุญาตให้ประกันตัว)

    โดย Holmes ถูกตั้งข้อหาทั้งหมด 11 ข้อหา มีการตัดสินให้ไม่มีความผิดไปแล้ว 4 ข้อหา และยังเหลืออีก 3 ข้อหาที่ต้องรอฟังคำตัดสินต่อไป

    คดีของ Holmes ถือเป็นหนึ่งในเรื้องอื้อฉาวที่ใหญ่ที่สุดแห่งวงการสตาร์ทอัพ เธอเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Theranos (เธรานอส) บริษัทที่ให้คำมั่นว่าได้คิดค้นเทคโนโลยี “เครื่องตรวจเลือด” ขนาดเล็กพอๆ กับเตาอบเครื่องหนึ่งได้สำเร็จ ซึ่งจะช่วยปฏิวัติวงการการตรวจเลือด สามารถใช้เลือดเพียงไม่กี่หยดจากปลายนิ้วของผู้ป่วยในการตรวจก็รู้ได้ถึงโรคเป็นร้อยๆ โรคของคนผู้นั้น

    เครื่องตรวจเลือดของบริษัท Theranos ขนาดเล็กเหมือนกับเป็นเตาอบเครื่องหนึ่ง

    บรรดานักลงทุนรายใหญ่ที่ได้ฟังการนำเสนอของ Holmes ต่างให้ความเชื่อมั่นจนเธอสามารถระดมทุนได้มากกว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐ (เกือบ 30,000 ล้านบาท) และ ณ จุดสูงสุดของบริษัท Theranos เคยถูกประเมินมูลค่าว่ามีมูลค่าสูงถึง 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (เกือบ 3 แสนล้านบาท) ส่งให้ Holmes เป็นเศรษฐินีที่สร้างเนื้อสร้างตัวด้วยตนเองที่มีอายุน้อยที่สุดในโลก

    ตำนานการลวงโลกของ Holmes เกิดขึ้นได้อย่างไร ไปย้อนอ่านประวัติเส้นทางของเธอและการก่อตั้งบริษัทกัน

     

    Elizabeth Holmes นักฝันผู้ทะเยอทะยาน

    Elizabeth Holmes เป็นลูกสาวในตระกูลคนรวยเก่าในวอชิงตันดีซี เทียดของเธอเป็นผู้ก่อตั้งยีสต์ทำขนมปังยี่ห้อ Fleischmann ซึ่งพลิกโฉมอุตสาหกรรมทำขนมปังในสหรัฐอเมริกาขณะนั้น

    ตัว Holmes เองมีความฝันที่จะสร้างชื่อให้กับตนเองมาตั้งแต่เด็ก โดยประวัติส่วนตัวของเธอระบุว่าตอนอายุ 9 ขวบ เธอเคยเขียนจดหมายถึงพ่อว่า “สิ่งที่เธอต้องการจริงๆ ในชีวิตนี้คือการค้นพบสิ่งใหม่บางอย่าง เป็นอะไรที่มนุษยชาติไม่เคยรู้ว่าสามารถทำได้”

    ช่วงรุ่งโรจน์ที่สุดของ Elizabeth Holmes เธอได้ขึ้นปกนิตยสาร Fortune และเป็นประตูบานใหญ่เข้าถึงนักลงทุนรายใหญ่อีกจำนวนมาก

    Holmes มีไอดอลในใจคือ Steve Jobs และทะเยอทะยานที่จะเป็นนักประดิษฐ์ผู้พลิกโฉมบางสิ่งบางอย่าง ในปี 2002 เธอได้เข้าเรียนในภาควิชาวิศวกรรมเคมีที่ Stanford University ระหว่างที่เรียนอยู่ เธอพยายามคิดค้นแผ่นแปะที่สามารถสแกนอาการติดเชื้อของผู้ป่วยแล้วปล่อยยาฆ่าเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้อัตโนมัติ

    อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ Phyillis Gardner ที่ปรึกษาของเธอ มองว่าสิ่งประดิษฐ์ที่เธอคิดไม่มีทางเป็นจริงได้ แต่ Gardner ระบุว่า Holmes มีความมั่นใจในตนเองมาก และในที่สุดเธอตัดสินใจเลิกเรียนกลางคันเพื่อไปก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัพด้วยวัยเพียง 19 ปี

     

    Theranos ระดมทุนได้มหาศาล

    บริษัทที่เธอออกมาก่อตั้งคือ Theranos แต่ปรับสิ่งประดิษฐ์จากเดิมเป็นแผ่นแปะ กลายเป็นเครื่องตรวจเลือด “Edison” ขนาดเท่าเตาอบที่ใช้เพียงหยดเลือดเล็กๆ จากปลายนิ้วผู้ป่วยก็สามารถตรวจสอบโรคได้นับร้อยๆ โรค

    ความสำคัญของมันที่จะปฏิวัติวงการคือ เมื่อใช้เพียงหยดเลือดปลายนิ้ว ผู้ป่วยก็จะไม่ต้องเจ็บปวดกับการหาเส้นเลือดที่ข้อพับ และทำให้การทำแล็บรวดเร็วขึ้น ใช้พื้นที่เล็กลงจนการตรวจเลือดนี้ทำได้ในร้านขายยา ไม่ต้องไปถึงโรงพยาบาลกันอีกต่อไป

    คาแรกเตอร์ของ Elizabeth Holmes คือชุดสีดำล้วน คอเต่า ท่านั่งแมนๆ และเสียงบาริโทนทุ้มต่ำที่น่าเชื่อถือ (Photo by Mike Windle/Getty Images for Vanity Fair)

    ความน่าเชื่อถือของ Elizabeth Holmes ในการพิชชิ่งกับนักลงทุน มาจากคำพูดที่จูงใจ ประวัติส่วนตัว จนถึงบุคลิกภาพของนักธุรกิจหญิงทรงพลัง รวมถึงรายชื่อบอร์ดบริษัท และการลงสื่อหัวใหญ่อย่าง Fortune ทำให้หลายคนมั่นใจว่าเธอจะพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้สำเร็จได้

    ไม่ว่าจะเป็น George Shultz อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ (รายนี้เข้าไปนั่งในบอร์ดบริหารด้วย), Rupert Murdoch เจ้าพ่อธุรกิจสื่อระดับโลก, ครอบครัว Walton เจ้าของห้างฯ Walmart และ Larry Ellison ผู้ก่อตั้งบริษัท Oracle ต่างลงทุนกับ Theranos

    ตลอดเส้นทางของ Theranos สามารถระดมทุนได้กว่า 900 ล้านเหรียญสหรัฐ (เกือบ 30,000 ล้านบาท) ทั้งที่นักลงทุนไม่เคยเห็นภายในสิ่งประดิษฐ์ชื่อ Edison ตัวจริงเลย และไม่เคยเห็นเอกสารทางการเงินของ Theranos

    จุดสูงสุดของบริษัท Theranos เกิดขึ้นในปี 2014 บริษัทถูกประเมินมูลค่าว่าสูงถึง 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (เกือบ 3 แสนล้านบาท) ขณะนั้น Holmes มีอายุได้ 30 ปีพอดี เธอได้ขึ้นปกสารพัดนิตยสารธุรกิจระดับโลก ทั้ง Forbes, Fortune และ Time ต่างจับตามองเธอ ถึงกับมีคนขนานนามว่าเธอจะเป็น ‘Steve Jobs’ คนต่อไป เธอเดินสายขึ้นพูดถึงความสำเร็จของสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้หลายเวที หลายสื่อ ขายความฝันที่จะพลิกโฉมการตรวจเลือดให้ง่ายเพียงปลายนิ้ว

     

    ความแตก…เทคโนโลยีใช้ไม่ได้จริง

    แต่จุดพีคของบริษัทอยู่ได้เพียงปีเดียว ในปี 2015 มีคนให้ข้อมูลวงในกับสื่อ The Wall Street Journal นำมาสู่การเล่นข่าวเป็นซีรีส์เกี่ยวกับ Theranos ที่ป่วนจนทำให้บริษัทพังครืนลงมา

    มหกรรมแฉ Theranos เกิดจากบริษัทมีสัญญากับเชนร้านขายยา Walgreens เพื่อทดลองการใช้งานระบบตรวจเลือดในหน้างานจริงตั้งแต่ปี 2013 และผู้ใช้บริการที่มีโอกาสได้ตรวจสอบระบบพบว่า “ผลการตรวจเลือดที่ได้ไม่ตรงกับผลจากแล็บปกติ” และยิ่งนานวันเข้า Theranos ก็เริ่มเจาะเลือดจากข้อพับแขนเป็นหลอดๆ เหมือนไปตรวจที่โรงพยาบาล ไม่ได้ตรวจจากปลายนิ้วดังที่โฆษณาไว้

    ข้อมูลวงในในเวลาต่อมาปรากฏว่า Theranos ยังไม่สามารถพัฒนาจนเครื่อง Edison สำเร็จได้จริงดังกล่าวอ้าง สิ่งที่พวกเขาทำกับเลือดของผู้มาใช้บริการ คือรีบนำเลือดไปตรวจในแล็บแบบปกติของบริษัท แล้วส่งผลตรวจมาให้ที่ร้าน แต่เนื่องจากเลือดปลายนิ้วมีน้อยเกินไปจนตรวจไม่แม่นยำ ในระยะหลังจึงต้องเก็บตัวอย่างเลือดปกติผ่านข้อพับแขนแทนเพื่อลดคำครหา

    การตรวจสอบของนักลงทุนหรือใครก็ตามที่มาเยี่ยมชมสำนักงานของ Theranos ก่อนหน้านี้ก็ถูกตบตาด้วยวิธีเดียวกัน ด้วยการหลอกลวงว่าใช้เครื่อง Edison ในการตรวจเลือด ทั้งที่จริงแล้วใช้แล็บปกติตรวจ แถมยังจัดตั้งแล็บปลอมไว้สำหรับการทัวร์ชมสำนักงานเหล่านี้ด้วย แม้กระทั่ง “Joe Biden” รองประธานาธิบดีในขณะนั้นก็เคยผ่านทัวร์ตบตาที่บริษัทนี้มาแล้ว

    หลังจากถูกแฉครั้งใหญ่ นักลงทุนต่างถอนตัวอย่างรวดเร็ว และในปี 2016 หน่วยงานกำกับควบคุมของสหรัฐฯ ก็แบนไม่ให้บริษัทดำเนินบริการตรวจเลือด 2 ปี สินทรัพย์สุทธิของ Holmes ร่วงจาก 4,500 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1.5 แสนล้านบาท) เหลือ “0” ในที่สุดบริษัทประกาศปิดตัวไปเมื่อปี 2018 ตามด้วยการฟ้องร้องตามมาเป็นพรวน

     

    สัมพันธ์รัก…หรือการกดขี่

    เรื่องราวของ Theranos ยังเข้มข้นไปกว่านั้น เพราะนอกจากตัว Elizabeth Holmes ที่อยู่ใต้แสงสปอตไลต์ของสื่อ ในเงาใกล้ๆ ข้างเธอคือ Ramesh “Sunny” Balwani ซีโอโอคีย์แมนของ Theranos และคู่รักของ Holmes ในเวลาต่อมา

    ที่น่าสนใจคือ Balwani อายุมากกว่า Holmes ถึง 19 ปี เขาทำงานในวงการคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์มาตั้งแต่ปี 1998 และมาเรียนต่อปริญญาโทที่ Stanford University ทำให้ได้พบกับ Holmes วัยรุ่นวัย 18 ปีที่เพิ่งเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี

    Holmes กับ Ramesh Balwani ที่สำนักงานของ Theranos เมื่อปี 2015

    หลังเกิดคดีความฟ้องร้องและเริ่มไต่สวนเมื่อเดือนสิงหาคม 2021 เป็นที่ฮือฮาในสังคมเพราะทนายฝั่ง Holmes ใช้แนวทางสู้คดีว่าเธอตกอยู่ในอาณัติบังคับควบคุมของ Balwani จนไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองในการบริหารบริษัท และมีอาการทางจิต

    ข้อมูลในการสู้คดีนั้น Holmes ระบุว่า Balwani ควบคุมชีวิตเธอทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัว บุคลิก คัดกรองคนที่จะเข้าถึงตัวและพูดคุยกับเธอได้ นอกจากนี้ยังกระทำชำเราทางเพศเธอด้วย

    Ramesh Balwani จะถูกไต่สวนด้วยข้อกล่าวหาเดียวกับ Holmes เร็วๆ นี้ ส่วน Holmes นั้นหลังจากบริษัทพังทลาย เธอพบรักใหม่กับ William “Billy” Evans วัย 27 ปี ทายาทตระกูลเจ้าของเชนโรงแรม Evans Hotel Group และเพิ่งกำเนิดบุตรคนแรกไปเมื่อปีก่อน (บางกระแสโจมตีว่า Holmes จงใจตั้งครรภ์ในช่วงที่จะมีการไต่สวนเพื่อเรียกคะแนนสงสาร)

     

    ตั้งใจหลอก…หรือแค่ฝันที่ทำไม่สำเร็จ

    วงการสตาร์ทอัพและซิลิคอน วัลเลย์นั้นมีวัฒนธรรมที่แตกต่างจากธุรกิจปกติ เพราะสตาร์ทอัพทุกรายต่างมาเพื่อขาย “วิมานในอากาศ” ให้กับนักลงทุน ขายความฝันว่าสิ่งที่ตนเองคิดค้นขึ้นจะสร้างความยิ่งใหญ่ในอุตสาหกรรม (และทำให้นักลงทุนรวยถ้วนหน้า)

    ผู้ลงทุนกับสตาร์ทอัพจึงเป็นการพนันกับความไม่แน่นอน ดังคำกล่าวกันในวงการว่าสตาร์ทอัพที่สำเร็จจริงๆ อาจจะมีเพียง 1 ใน 100

    แต่กรณีของ Theranos นั้นอาจจะมีเส้นแบ่งบางๆ ระหว่าง “การขายฝัน” กับการสื่อสารว่า “ฝันนั้นทำได้สำเร็จแล้ว” จนทำให้สิ่งที่บริษัทกล่าวอ้างกลายเป็นความหลอกลวงไป ตามที่ศาลได้ตัดสินแล้วว่าเธอมีความผิดฐานฉ้อโกงนักลงทุน

    อย่างไรก็ตาม Michael Hiltzik คอลัมนิสต์ที่ Los Angeles Times ก็สรุปปรากฏการณ์ของ Theranos ไว้ว่า เหตุการณ์นี้ไม่น่าจะทำให้นักลงทุน ‘เข็ด’ กับสตาร์ทอัพไปได้สักเท่าไหร่ เพราะสุดท้ายวัฒนธรรมของวงการนี้ก็คือการมาฟัง ‘พิชชิ่งความฝัน’ ของผู้ประกอบการ และแห่ลงทุนตามๆ กันเพราะกลัวโอกาสทองจะหลุดมือไป และเราคงจะได้เห็นมหกรรมลวงโลกกันอีกนับครั้งไม่ถ้วน…

    Source: BBC, สารคดี The Inventor: Out for Blood in Silicon Valley, LA Times

    ]]>
    1369323
    นักลงทุนอาเซียนลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น หวังชดเชยความไม่แน่นอนจาก COVID-19 https://positioningmag.com/1367726 Mon, 20 Dec 2021 04:41:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1367726
  • นักลงทุนมากกว่า 1 ใน 3 มีแนวโน้มลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง แม้ส่วนใหญ่จะจัดสรรการลงทุนเพื่อการออม หรือลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ
  • อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำมีส่วนดึงดูดให้นักลงทุนหันไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น จากความเห็นของนักลงทุนมากกว่าครึ่งที่ร่วมตอบแบบสำรวจ
  • นักลงทุนหลายรายลงทุนในสินทรัพย์ใหม่ๆ ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องจากมุ่งหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น
  • Global Investor Study ผลงานวิจัยระดับโลกโดย Schroders เผยว่า ปัจจุบันนักลงทุนหันมาลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมากขึ้นท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19

    ผลจากการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนสำหรับนักลงทุนรายย่อยของ Schroders จากการสำรวจความคิดเห็นของนักลงทุนเกือบ 24,000 คนจาก 33 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก รวมถึงประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย พบว่า 40% ของนักลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสนใจที่จะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมากขึ้น (เทียบกับค่าเฉลี่ยของผลสำรวจทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 37%)

    โดยผลการวิจัยชี้ว่า นักลงทุนหลายคนรู้สึกถึงความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นเพื่อชดเชยจากสภาวะความไม่แน่นอนที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 รวมถึงความกังวลจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทัศนคติเช่นนี้สะท้อนออกมาอย่างชัดเจนในประเทศไทย (42%) ตามด้วยอินโดนีเซีย (40%) สิงคโปร์ (40%) และมาเลเซีย (38%)

    ในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ พบว่า 56% ของผู้ตอบแบบสำรวจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เทียบกับ 53% ของค่าเฉลี่ยของผลสำรวจทั่วโลก) กล่าวว่าพวกเขาจะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่นกองทุนหุ้นที่เน้นลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ในขณะที่ 46% ของนักลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เทียบกับ 33% ของค่าเฉลี่ยของผลสำรวจทั่วโลก) ก็จะตัดสินใจลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโต (cryptocurrencies) ที่มีความเสี่ยงสูงแต่มีการเติบโตสูงด้วย

    แนวโน้มความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเกิดขึ้น แม้ว่า 68% ของนักลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เทียบกับ 63% ของค่าเฉลี่ยของผลสำรวจทั่วโลก) จะยอมรับว่าผลการดำเนินงานของการลงทุนมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพวกเขาโดยตรง

    ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ในขณะที่นักลงทุนรุ่นใหม่ทั่วโลกที่มีอายุระหว่าง 18-37 ปี สนใจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นเพื่อเน้นสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้นในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ (หรือติดลบในบางภูมิภาค) แต่แนวโน้มดังกล่าวกลับแตกต่างออกไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวคือ นักลงทุนหลากหลายช่วงอายุในภูมิภาคนี้สนใจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงแตกต่างกัน

    โดยนักลงทุนในมาเลเซียที่มีอายุ 38-50 ปี มีแนวโน้มที่จะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ขณะที่นักลงทุนที่มีอายุน้อยในอินโดนีเซียและสิงคโปร์ และนักลงทุนที่มีอายุมากกว่าในประเทศไทย คือกลุ่มที่พร้อมรับความเสี่ยงจากการลงทุนมากกว่า

    หมายเหตุ: ไม่มีข้อมูลที่ครอบคลุมเพียงพอเกี่ยวกับนักลงทุนในช่วงอายุ 71 ปีขึ้นไป ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์

    เมื่อมองในระดับภูมิภาคทั่วโลก 59% ของนักลงทุนในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มที่จะลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นมากที่สุดเมื่ออัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำ ซึ่งสูงกว่านักลงทุนในแถบภูมิภาคอเมริกา (53%) และยุโรป (49%)

    ด้วยเป้าหมายที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้น นักลงทุนหลายคนจึงตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น รวมถึงสินทรัพย์ประเภทใหม่ๆ เป็นครั้งแรก

    สินทรัพย์ประเภทใหม่ๆ ที่ได้รับความนิยมลงทุนในอันดับต้นๆ ที่นักลงทุนตัดสินใจลงทุนเป็นครั้งแรกในรอบปีที่ผ่านมา ได้แก่ หุ้นเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและสกุลเงินดิจิทัล (28%) ที่ครองอันดับหนึ่งร่วมกัน ตามมาด้วย กองทุนเทคโนโลยีชีวภาพหรือเภสัชกรรม (26%) และ หุ้นเกี่ยวกับธุรกิจอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี (25%)

    แม้ว่าในปีที่ผ่านมา นักลงทุนส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะให้ความสนใจในหุ้นเกี่ยวกับธุรกิจอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี (63%) ค่อนข้างมาก แต่อัตราสัดส่วนการลงทุนที่ค่อนข้างสูงในกลุ่มโลหะที่มีค่า เช่นทองคำ (60%) แสดงให้เห็นคนกลุ่มนี้ก็ยังคงมีความระมัดระวังในมุมมองการลงทุนที่ไม่ได้มองโลกในแง่ดีจนเกินไปนัก ในขณะที่ 59% ของนักลงทุนเหล่านี้ยังสนใจลงทุนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ด้วย

    เลสลีย์-แอน มอร์แกน หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนแบบประเภทสินทรัพย์ที่หลากหลาย ของ Schroders ให้ความเห็นว่า:

    “ผลการวิจัยล่าสุดของเราชี้ให้เห็นว่า นักลงทุนหลายคนรู้สึกถึงความจำเป็นที่พวกเขาจะต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างผลตอบแทนให้สูงขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ดังที่เราได้พบเจอเมื่อปีที่ผ่านมาเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นแนวโน้มทัศนคติดังกล่าว นอกจากนี้ ในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นนักลงทุนได้ตัดสินใจที่จะเลือกลงทุนที่มีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น”

    “นักลงทุนหลายคนยังมุ่งสนใจที่จะกระจายการลงทุนในประเภทสินทรัพย์ที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้นด้วย”

    “กล่าวโดยสรุปแล้ว ผลการวิจัยเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า สัดส่วนของนักลงทุนที่เปิดรับความเสี่ยงในการลงทุนที่สูงขึ้นมีเพิ่มมากขึ้น ทว่าการที่ 68% ของนักลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เทียบกับ 63% ของค่าเฉลี่ยของผลสำรวจทั่วโลก) ยอมรับว่าผลการดำเนินงานของการลงทุนของพวกเขามีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพวกเขาโดยตรง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พวกเขาต้องตัดสินใจเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่พวกเขายอมรับได้”

    ]]>
    1367726
    เปิดเหตุผล คนไทยสนใจลงทุน ‘คริปโต’ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เน้นเก็งกำไร ทำใจรับความเสี่ยงได้ https://positioningmag.com/1350690 Tue, 07 Sep 2021 10:00:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350690 ส่องตลาดคริปโตเคอร์เรนซี’ ในไทย คนสนใจลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ เเตะ 1.37 ล้านบัญชี ขยายตัวที่ 27.6% ต่อเดือน โตเร็วกว่าตลาดหุ้น เเต่ยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนเมืองที่มีรายได้และเงินออมสูง ส่วนใหญ่มุ่งเน้นเก็งกำไร ยอมรับความเสี่ยงได้ เเนะหาข้อมูล-เพิ่มทักษะต่อเนื่อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความรู้เพื่อพัฒนาตลาด 

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดบทวิเคราะห์การลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีหรือสกุลเงินดิจิทัลในไทย รวมถึงความเห็นของเหล่านักลงทุน ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าจับตามองไม่น้อย

    ด้วยความที่คริปโตเคอร์เรนซีหรือเรียกสั้นๆ ว่าคริปโตยังคงมีความผันผวนสูง เเละเป็นสินทรัพย์ใหม่ที่อาจยังมีมูลค่าไม่ชัดเจน เมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่น แต่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ตลาดคริปโตกลับมีการเติบโตเป็นอย่างมาก

    ปัจจัยอะไรที่ทำให้ตลาดคริปโตพุ่ง ? 

    จากกระเเสข่าวเชิงบวกเเละความต้องการลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่ ทำให้คริปโตให้ผลตอบแทนสูง เมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่นๆ เเต่ก็ต้องเเลกมาด้วยความเสี่ยงสูงเช่นกัน

    คริปโตเคอร์เรนซี ได้กลายเป็นสินทรัพย์ทางเลือกใหม่ในหมู่นักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนที่พยายามแสวงหาสินทรัพย์ใหม่ๆ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้น หรือ Search for Yield จากภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่ยังอยู่ในระดับต่ำ

    รวมถึงในกลุ่มนักลงทุนที่ชื่นชอบความเสี่ยง และต้องการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนไปยังสินทรัพย์ใหม่ๆ ท่ามกลางภาวะความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ

    ความน่าสนใจของตลาดคริปโตเคอร์เรนซีที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง ทำให้เป็นที่ดึงดูดกลุ่มนักลงทุนรายใหม่เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง

    เเนวโน้มคนไทยลงทุนคริปโต เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

    สำหรับประเทศไทยนั้นก็มีนักลงทุนรายย่อยรายใหม่ๆเข้ามาในตลาดเพิ่มขึ้นแต่ยังอยู่ในวงจำกัด ปัจจุบันมีจำนวนบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลในไทยทั้งหมด 1,379,373 บัญชี ซึ่งน้อยกว่าบัญชีซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ราว 2.1 เท่า

    แต่มีอัตราการขยายตัวสูงอยู่ที่ 27.6% ต่อเดือน ขณะที่บัญชีซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีอัตราการเติบโตเพียง 2.9% ต่อเดือน สะท้อนให้เห็นถึงความนิยมลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีในไทย

    ในช่วงที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ดำเนินการสำรวจการลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีกับกลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชนที่มีรายได้สูง อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่น่าจะเป็นกลุ่มที่มีความเข้าใจด้านนี้ ขณะเดียวกัน เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดทำให้มีจำนวนตัวอย่างที่จำกัด

    ทั้งนี้ จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในการตีความเชิงสถิติเนื่องจากผลทางสถิติ อาจจะเปลี่ยนแปลงตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้

    เเม้ผลทางสถิติอาจไม่ได้สะท้อนถึงประชากรทั้งประเทศ และจากผลสำรวจดังกล่าวได้มีผลทางสถิติที่น่าสนใจหลายประการที่น่าจะสามารถบ่งชี้ลักษณะ มุมมอง และความคาดหวังของนักลงทุนไทยในเบื้องต้นได้ ดังนี้

    ผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ว่า กลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปรู้จักคริปโตเคอร์เรนซีสูงถึง 69.4% มีคนสนใจลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีมากถึง 52.0% และลงทุนจริงในปัจจุบันอยู่ที่ 24.3%

    กลุ่มนักลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซียังอยู่ในวงจำกัด โดยมักเป็นกลุ่มคนเมืองที่มีรายได้ และเงินออมอยู่ในระดับสูง

    โดยกลุ่มตัวอย่างที่ยังไม่ได้ลงทุนจริงในปัจจุบัน เเต่มีความสนใจที่จะลงทุนคริปโตเคอร์เรนซีในอีก 1 ปีข้างหน้า มีถึง 42.0% สะท้อนว่าจะมีนักลงทุนรายใหม่ๆ เข้ามาในตลาดคริปในไทยจำนวนมากในระยะข้างหน้า

    Photo : Shutterstock

    ส่วนใหญ่เน้น ‘เก็งกำไร’ ทำใจรับความเสี่ยงได้

    ปัจจุบันคนไทยที่ลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซี มักเน้นมิติการเก็งกำไรเป็นหลัก

    อย่างไรก็ดี กลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปส่วนใหญ่ ค่อนข้างเข้าใจในภาวะเสี่ยงจากการลงทุนในตลาด แต่ขณะเดียวกัน ก็มีนักลงทุนบางส่วนที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงสภาวะเสี่ยงนั้น เพราะมีความคาดหวังและมีความเชื่อมั่นว่าจะได้รับผลตอบแทนในระดับสูงต่อเนื่อง

    ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปที่รู้จักคริปโตเคอร์เรนซี ส่วนใหญ่ราว 26.6% คาดหวังว่าคริปโตเคอร์เรนซีจะสามารถนำมาเก็งกำไรระยะสั้นได้

    โดยนักลงทุนคริปโตเคอร์เรนซีในกลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปกว่า 76.3% สามารถรับได้ หากเงินลงทุนจะหายไปมากกว่า 50% ภายใน 1 วัน สะท้อนถึงความมั่นใจอีกมุมหนึ่งว่าราคาคริปโตจะสามารถผันตัวกลับมาได้โดยเร็ว

    ขณะเดียวกัน มีนักลงทุนบางส่วนที่คาดว่าคริปโตจะสามารถสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ราว 18.6% เเละสามารถทดแทนการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินแบบดั้งเดิม อย่าง หุ้น ตราสารหนี้ได้ 16% 

    พร้อมกันนั้น กลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปที่ลงทุนในคคริปโตเคอร์เรนซีส่วนใหญ่ราว 56.7% เปรียบการลงทุนในคริปโตเหมือนเช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้น

    เหตุผลที่เลือกลงทุนในคริปโต ?

    นักลงทุนไทยในกลุ่มสำรวจ กว่า 21% บอกว่าพวกเขาเข้ามาลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซี เพราะมีความเชื่อมั่นว่าราคาจะขึ้นไปอีกเรื่อยๆ และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนสูง

    ส่วนอีก 11.5% เห็นเพื่อนหรือคนรอบข้างลงทุนและได้ผลตอบแทนสูง 11.5% หรือเพื่อนหรือคนรอบข้างชักชวนลงทุน 9.0%

    จากเหตุผลต่างๆ ดังกล่าวสะท้อนถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดความเสียหายจากการลงทุนในตลาดสูง เนื่องจากความไม่เข้าใจในทิศทางตลาดที่อยู่ในภาวะความผันผวนสูง และอาจเป็นเป้าหมายต่อการถูกชักชวนให้เข้าร่วมลงทุนแบบผิดกฎหมาย

    Photo : Shutterstock

    เงินลงทุนมาจากไหน ?

    การลงทุนส่วนใหญ่ใช้เงินลงทุนจริงในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีไม่มาก จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า กลุ่มตัวอย่างโฟกัสกรุ๊ปที่ลงทุนในคริปโต ส่วนใหญ่ราว 48.5% ใช้เงินลงทุนในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของเงินออม นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่จะป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดจากการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีได้ในระดับหนึ่ง หากตลาดเกิดความผันผวนรุนแรงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ

    ให้ความรู้ ทำความเข้าใจ เพื่อพัฒนาตลาด 

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การจะลดความเสี่ยงจากภาวะความผันผวนในตลาด หรือสร้างโอกาสจากการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี จำเป็นต้องอาศัยทักษะความรู้ทางการเงินและความรู้เท่าทันต่อเทคโนโลยีดิจิทัลด้วย นับว่าเป็นโจทย์สำคัญต่อทั้งกลุ่มนักลงทุนและทางการ

    โดยนักลงทุนที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในตลาดคริปโตเคอร์เรนซี ก็ควรต้องเร่งเสริมสร้างทักษะความรู้และความเข้าใจในเรื่องสกุลเงินดิจิทัลอย่างคริปโตเคอร์เรนซีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเทรนด์เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีสกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซีใหม่ๆ เข้ามาในตลาดอย่างต่อเนื่อง

    ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็อาจต้องเพิ่มแหล่งการเรียนรู้ที่จะเป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น เพื่อลดความสูญเสียอันจะเกิดกับนักลงทุนในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่หรือนักลงทุนมือใหม่ที่มุ่งหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับสูง ท่ามกลางอัตราผลดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ที่จะยังอยู่ในระดับต่ำอย่างน้อยในอีก 1-2 ปีข้างหน้าตามทิศทางดอกเบี้ยนโยบาย

    “ความรู้ความเข้าใจในสินทรัพย์ดิจิทัล ควบคู่กับความรู้ทางการเงินที่ดีขึ้น ยังน่าจะช่วยปูทางไปสู่การใช้เงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง และนวัตกรรมทางการเงินที่จะตามมาอีกมากในอนาคตด้วย”

     

     

    ]]>
    1350690
    จุดเปลี่ยน เมื่อโลก ‘ไม่สนใจ’ ไทย นักลงทุนหาย ส่งออก-ผลิตเทคฯ ล้าหลัง ติดหล่มคอร์รัปชัน https://positioningmag.com/1343221 Tue, 20 Jul 2021 12:32:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343221 เมื่อไทยไม่น่าดึงดูดส่งสัญญาณต่างชาติเทขายหุ้นต่อเนื่อง นักลงทุนไทยหนีไปต่างประเทศกว่า 3 แสนล้าน การลงทุน FDI ลดลงเรื่อยๆ ติดหล่มคอร์รัปชัน สูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านส่งออกผลิตเทคโนโลยีล้าหลัง-ตกยุค ทำเเค่รับจ้างผลิต เวียดนามเเซงขึ้นมาชิงส่วนเเบ่งตลาด เเนะรัฐต้องเร่งส่งเสริม 4 ด้าน เพราะ ‘ถึงเวลาต้องเปลี่ยน’ 

    KKP Research กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ออกบทวิเคราะห์ จุดเปลี่ยนการส่งออก เมื่อโลกเริ่มไม่สนใจไทยอีกต่อไป โดยจับสัญญาณความสนใจการลงทุนที่ลดลงในหลายมิติ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

    มิติแรก คือ การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น ตลาดหุ้น ที่นักลงทุนต่างชาติมีสัญญาณขายสุทธิอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันนักลงทุนในไทยก็เริ่มออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในปี 2021 ที่ในไตรมาส 1 นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในต่างชาติแล้วกว่า 3 แสนล้านบาท

    มิติที่สอง คือ การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) พบว่าในปัจจุบันต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค ในขณะที่บริษัทไทยก็เริ่มออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นเช่นกัน

    มิติที่สาม เป็นหนึ่งในส่วนสำคัญ คือ การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก โดยในปี 2021 การส่งออกทั่วภูมิภาคขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวได้เร็ว แต่สัญญาณที่เราเห็น คือ การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในโลก

    “โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทย มีสัดส่วนของสินค้าส่งออกที่ใช้เทคโนโลยีต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง ซึ่งสะท้อนว่าไทยมีคู่แข่งที่น่ากลัวเพิ่มขึ้น และต่างชาติกำลังมีความต้องการสินค้าไทยลดน้อยลง” 

    สินค้าส่งออกไทย กำลังจะ ‘ตกยุค’ 

    สำหรับปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันที่ ‘ลดลง’ มาจากปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยที่ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ดังต่อไปนี้

    สาเหตุในชั้นแรก เกิดจากสินค้าส่งออกหลักของไทยปัจจุบันกำลังเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ โดย สินค้าใน 5 กลุ่มหลัก คือ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ สินค้าเกษตร และปิโตรเคมี มีสัญญาณชะลอตัวลงหรือไม่สามารถขยายตัวได้ดีเท่ากับในอดีต

    เมื่อพิจารณาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Revealed Comparative Advantage) พบว่าสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว มีความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงชัดเจนที่สุด

    [เวียดนามชิงส่วนเเบ่งตลาดโลก เเซงไทย]

    ส่วนแบ่งตลาดโลกในกลุ่มสินค้าหลักทั้งหมดเริ่มคงที่ในระยะหลัง ในขณะที่ประเทศคู่แข่งอย่าง ‘เวียดนาม’ มีส่วนแบ่งตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นและแซงไทยในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดของสินค้ากลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่ คือ 1.42% ในปี 1995 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.45% ในปี 2018

    “ขณะที่เวียดนาม เริ่มจากไม่มีสินค้าส่งออกกลุ่มนี้เลยในปี 1995 กลับมีส่วนมีส่วนแบ่งตลาดถึง 4.1% ในปี 2018 สอดคล้องกับโครงสร้างการส่งออกของเวียดนามที่มีการพัฒนาต่อเนื่อง”

    และในปัจจุบันมีการส่งออกสินค้าในกลุ่มโทรศัพท์แบบเครื่องและพกพาถึงประมาณ 20% ของการส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ส่วนแบ่งตลาดโลกในสินค้าเกษตรของเวียดนามเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนอยู่ที่ระดับ 1.48% ในระดับใกล้เคียงกับไทยที่ 1.99% ในปี 2018

    [ผลิตเทคฯ ล้าหลัง ]

    ยิ่งไปกว่านั้นสินค้าส่งออกของไทยหลายอย่างกำลังเผชิญความท้าทายจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ และปัจจัยสนับสนุนทั้งจากในประเทศและต่างประเทศที่เริ่มแย่ลงเรื่อย ๆ เช่น

    1) สินค้าอิเลกทรอกนิกส์ ที่ไทย ‘ไม่มีการส่งออก’ ใหม่ ๆ เช่น เช่น ชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) ที่กำลังเป็นที่ต้องการทั่วโลก และไทยยังเป็นฐานการผลิต Hard Disk Drive เป็นหลักซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ เช่น Solid State Drive

    2) ‘เครื่องใช้ไฟฟ้า’ ที่ได้รับอานิสงส์จากการลงทุนทางตรงจากญี่ปุ่น เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลงที่ชัดเจนขึ้น และบริษัทญี่ปุ่นเริ่มมีกำไร

    3) ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบเก่า ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

    4) สินค้าเกษตรกำลังเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่มากขึ้น ในขณะที่ผลิตภาพการผลิตของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ

    5) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี มีความเสี่ยงจากต้นทุนที่อาจสูงขึ้นในอนาคต ในขณะที่ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เริ่มมีปริมาณการผลิตลดลงเรื่อยๆ

    ไม่ได้เป็นเจ้าของ ไม่มีเทคขั้นสูง ทำแค่ ‘รับจ้างผลิต’ 

    สาเหตุในชั้นที่สอง ไทยไม่มีสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง และทำหน้าที่เพียงรับจ้างผลิต เมื่อพิจารณาโครงสร้างการเติบโตของสินค้าส่งออกไทยในช่วงกว่า 25 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีการเติบโตในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นกลางเฉพาะรถยนต์

    “ไม่มีทิศทางการพัฒนาไปสู่การส่งออกในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่ชัดเจน เมื่อเทียบกับต่างประเทศเเล้ว ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงที่น้อยกว่าภูมิภาค คือ 19%” 

    เมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมดเท่านั้นในปี 2019 เทียบกับเวียดนามที่ 28% และเอเชียที่ 26% ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการเติบโตเฉลี่ยในช่วงปี 2010-2019 ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เพียง 2.2% ขณะที่เอเชียโตเฉลี่ยถึง 6.6% โครงสร้างการส่งออกที่ยังเป็นสินค้าแบบเก่าทำให้ในช่วงที่ผ่านมา การส่งออกไทยฟื้นตัวได้ช้ากว่าหลายประเทศในภูมิภาค

    อีกประเด็นที่น่ากังวล คือ ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตสินค้าและไม่ได้เป็นเจ้าของเทคโนโลยี เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มจากการผลิต (Value added) ที่บริษัทไทยสร้างได้ พบว่าอยู่ในสัดส่วนคงที่มาโดยตลอด สะท้อนว่าในช่วงที่ผ่านมายังไม่เกิดกระบวนการถ่ายโอนเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาสู่ประเทศไทย

    นอกจากนี้ ปัจจัยเชิงโครงสร้างอื่น ๆ โดยเฉพาะประเด็นการเข้าสู่ สังคมสูงอายุ’ ที่เลี่ยงไม่ได้ จะเป็นอีกปัจจัยลบต่อการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจ ทั้งมิติขนาดของตลาดและความพร้อมของแรงงาน ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น การขาดการลงทุนเพื่อวิจัยและพัฒนาใหม่ ๆ ทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนในไทยลดน้อยลงไป

    ผูกขาดสินค้า ติดหล่มคอร์รัปชัน

    สาเหตุในชั้นสุดท้าย คือ นโยบายของรัฐยังไม่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาระยะยาว เมื่อพิจารณาจากดัชนีความสามารถในการแข่งขันที่จัดทำโดย IMD (World Competitiveness Index) ไทยอยู่ในลำดับที่ 40 ในปี 2019 ซึ่งแม้ไทยไม่อยู่ในลำดับที่แย่มาก แต่มีอุปสรรคใหญ่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้น ๆ และส่งผลไปถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่สามารถพัฒนาไปตามเทรนด์โลก ทั้งในช่วงที่ผ่านมาและต่อเนื่องถึงอนาคต

    ไม่ว่าจะเป็นการผูกขาดของตลาดสินค้าในประเทศจาก ‘ปัญหาการคอร์รัปชัน’ การเอื้อประโยชน์พวกพ้องทำให้ไม่เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ เพราะไม่คุ้มค่าสำหรับบริษัท ปัญหาด้านคุณภาพแรงงาน ที่แรงงานยังไม่ถูกพัฒนาไปเป็นแรงงานที่มีทักษะสูง และไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและท้าทายของเศรษฐกิจระยะยาว ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐในไทยยังไม่ให้ความสำคัญในการมีโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล และการปฏิรูปกฎระเบียบที่เหมาะสมพร้อมดึงดูดการลงทุน

    Photo : Shutterstock

    พึ่งพาท่องเที่ยวไม่ได้อีกต่อไป

    จากปัญหาความสามารถในการแข่งขันเหล่านี้ อาจกำลังผลักให้เศรษฐกิจไทยก้าวเข้าสู่ ‘จุดเปลี่ยน’ ในอย่างน้อยใน 2 ประเด็นสำคัญ คือ

    เศรษฐกิจไทยในอดีตที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวอาจไม่ได้ผลอีกต่อไปในอนาคต

    หากประเทศไทยยังไม่มีการปรับปรุงโครงสร้างการส่งออกที่ชัดเจนอาจทำให้สินค้าส่งออกไทยไม่สามารถเติบโตได้ดีเท่าเดิม หรืออาจหดตัวลงในบางกรณี เช่น หากทั่วโลกหันไปใช้รถยนต์ไฟฟ้าแทน จะกระทบภาพการส่งออกรถยนต์และการจ้างงานในประเทศอย่างมหาศาล

    ดุลการค้าของไทยอาจจะเกินดุลลดลงและสร้างความเสี่ยงกับฐานะการเงินระหว่างในระยะยาว

    ในวันนี้หลายฝ่ายยังเชื่อว่าดุลบุญชีเดินสะพัดที่ขาดดุลอยู่จะกลับมาเกินดุลจากนักท่องเที่ยวที่จะทยอยกลับมาในปี 2564 และ 2565

    KKP Research ต้องการชี้ให้เห็นว่ายังมีความเสี่ยงใน ‘กรณีเลวร้าย’ ที่ความสามารถในการแข่งขันของไทยแย่ลงไปเรื่อย ๆ และไทยเสียส่วนแบ่งตลาดในสินค้าส่งออกหลักของไทย ทำให้รายได้ของคนในประเทศลดลงและไทยต้องหันมานำเข้าสินค้าที่เคยส่งออก เป็นไปได้ที่จะทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเปลี่ยนจากเกินดุลเป็นขาดดุล สร้างความเสี่ยงให้เงินบาทเปลี่ยนทิศทางจากแข็งค่าเป็นอ่อนค่าลงได้

    อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกไทยยังมีข้อได้เปรียบในแง่ความซับซ้อนของสินค้าที่อยู่ในระดับค่อนข้างดีและสามารถต่อยอดสู่สินค้าใหม่ ๆ ได้ แนวทางการพัฒนาสินค้าของไทยยังสามารถต่อยอดจากสินค้ากลุ่มเดิมทั้งจากการเร่งให้เกิดการถ่ายโอนเทคโนโลยีมาสู่ผู้ประกอบการไทย และการขยายการผลิตสินค้าไปในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีใกล้เคียงเดิม โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้ายานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์

    เเนะรัฐส่งเสริม 4 ด้าน 

    KKP Research เเนะนำว่าเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีได้ ภาคเอกชนต้องมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน และรัฐก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง ส่งเสริม และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญใน 4 ด้าน คือ

    1) การพัฒนาคุณภาพปัจจัยการผลิต ลดกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ พัฒนาการศึกษาและคุณภาพแรงงานให้มีทักษะที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการ

    2) การเข้าถึงตลาดและเพิ่มขนาดของตลาด เพื่อขายสินค้าผ่านการทำข้อตกลงการค้าเสรี อย่างไรก็ตาม ไทยยังต้องพัฒนาเศรษฐกิจและสินค้าในประเทศให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก

    3) โครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่ทันสมัย เช่น การขนส่ง การปรับปรุงกฎระเบียบด้านภาษีและการใช้สิทธิทางภาษีให้วางแผนและเข้าใจง่าย การเตรียมความพร้อมด้าน ICT และ High Speed Broadband

    4) สถาบันเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมการแข่งขันที่เสรี ปราศจากการคอร์รัปชัน ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้

    KKP Research ระบุว่า ในระยะต่อไปรัฐจำเป็นต้องดำเนินโยบายเชิงรุกมากขึ้นเพื่อพูดคุยและทำความเข้าใจความต้องการของนักลงทุน ออกนโยบายเพื่อดึงดูดการลงทุนต่างชาติรายใหม่ ๆ ที่ตรงจุดเพื่อสร้างจุดเริ่มต้นให้ไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ๆ ได้

    “แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอาจใช้เวลายาวนานกว่าจะเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามมา การไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจและหวังพึ่งพาเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจเดิม ๆ อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับวันนี้” 

     

     

     

     

    ]]>
    1343221
    สรุปข้อมูลจาก “วอร์เรน บัฟเฟตต์” บอกใบ้นักลงทุนหุ้นหน้าใหม่ ในประชุมประจำปีล่าสุด https://positioningmag.com/1332606 Mon, 17 May 2021 11:50:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332606 วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett) เจ้าพ่อนักลงทุนชื่อดังเผยมุมมองน่าสนใจในการประชุมประจำปีครั้งล่าสุด แง่มุมนี้เทียบได้กับบทเรียนพิเศษที่ปู่เซียนหุ้นมอบให้หลานนักลงทุนมือใหม่ ซึ่งอาจจะช่วยแนะให้เหล่าเม่าน้อยได้เห็นภาพกว้างของการลงทุนแบบมีหลักการอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

    หนึ่งในบทสรุปข้อมูลสำคัญจากเวทีนี้ คือวอร์เรน บัฟเฟตต์ชี้ให้เห็นว่าไม่มีหุ้น Top 20 ของโลกตัวใดในปี 1989 ที่ยังยืนหยัดอยู่ในตาราง Top 20 ได้ในวันนี้ แปลว่าบริษัทรายใหญ่ที่สุดในโลก 20 อันดับแรกในขณะนี้ล้วนเป็นบริษัทเกิดใหม่อายุไม่เกิน 32 ปี ภาวะนี้ปู่มองว่าเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของโลกในรูปแบบที่น่าทึ่ง ดังนั้นใครหรือบริษัทไหนในวอลล์สตรีมที่เคยมั่นใจในตัวเองเหมือนช่วง 30 ปีที่แล้ว อาจจะต้องคิดนอกกรอบและมองมุมใหม่ให้เร็วก่อนจะตกขบวน

    วันนี้ Berkshire Hathaway บริษัทโบรกเกอร์รายย่อยของวอร์เรน บัฟเฟตต์กำลังถูกจับตา เพราะบริษัทรายงานว่ามีลูกค้าเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่มีการระบาดของโรค Covid-19 โดยจำนวนไม่น้อยเป็นผู้ลงทุนครั้งแรก ตรงกับการสำรวจล่าสุดในหลายประเทศ เช่นสหรัฐฯ ที่พบว่า 15% ของนักลงทุนในตลาดหุ้นนั้นเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ที่เพิ่งเริ่มลงทุนในปี 2020

    ล่าสุดมีคำเรียกกลุ่มนักลงทุนในวงกว้างว่า Generation Investor หรือคน Gen I ที่ต่างจาก Gen X, Gen Y, baby boomers หรือคนรุ่นอื่น เพราะ Gen I จะไม่เกี่ยวกับอายุ แต่เป็น Gen ที่เกี่ยวข้องกับลำดับเวลาเริ่มลงทุน โดย Gen I จะใช้เรียกผู้ลงทุนที่เพิ่งเริ่มต้นหลังจากกุมภาพันธ์ปี 2020

    Gen I ต้องเข้าใจ

    วอร์เรน บัฟเฟตต์ ใช้เวทีงานประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีของ Berkshire Hathaway เมื่อวันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมาเพื่อพูดคุยกับนักลงทุนรายใหม่ที่เข้ามาในตลาดมากเป็นประวัติการณ์ เนื้อหาหลักคือการฉายให้เห็นความไม่แน่นอนของหุ้นแต่ละตัว โดยเปรียบเทียบกับหุ้น Top 20 อันดับแรกของโลกตามมูลค่าตลาด วันที่ 31 มีนาคมของปีนี้

    เมื่อเปรียบเทียบกับตาราง Top 20 ของปี 1989 ปีนั้นมีบริษัทจำนวนมากจากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับความนิยมจากตลาดหุ้นจนหุ้นฮอตพอกับบางบริษัทในสหรัฐอเมริกา การเปรียบเทียบพบว่าบริษัทชั้นนำในปี 1989 ได้แก่ Industrial Bank of Japan ซึ่งมีมูลค่าตลาด 104,000 ล้านดอลลาร์ รวมถึง Sumitomo Bank, Exxon, General Electric และ IBM 

    แต่วันนี้รายชื่อในตารางประกอบด้วย Apple, Saudi Aramco, Microsoft และ Amazon มหาเศรษฐีอย่างวอร์เรน บัฟเฟตต์ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่ามูลค่าของบริษัทชั้นนำของโลกนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น Apple ที่มีมูลค่าตลาดเกิน 2 ล้านล้านดอลลาร์ไปแล้ว และที่สำคัญคือ ไม่มีบริษัทใดเลยที่เคยมีรายชื่อในตาราง Top 20 ของปี 1989

    ภาวะโลกเปลี่ยนคือเหตุผลหลักที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ นั่นคือบริษัทตัวท็อปของโลกมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนปัจจุบันหลายบริษัทมีมูลค่าตลาดหลักล้านล้านดอลลาร์แทนที่จะเป็น พันล้านแบบสมัยก่อน สิ่งนี้ปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์มองว่าเป็นไปได้ทั้งความเท่าเทียมกันของระบบลงทุน และอัตราเงินเฟ้อ

    แม้เซียนการเงินส่วนใหญ่จะบอกว่า วันนี้ระบบทุนนิยมได้ผลดีอย่างไม่น่าเชื่อ จนทำให้ธุรกิจของหลายบริษัทขยายตัวได้รวดเร็ว แต่วอร์เรน บัฟเฟตต์กำลังมองไปในทางเดียวกับผู้บริหารจำนวนมาก ว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงหลังจากที่โลกมีวัคซีนโควิด-19 โลกจะต้องเผชิญกับระดับเงินเฟ้อที่รุนแรง เนื่องจากเศรษฐกิจของหลายประเทศจะกลับมาฟื้นตัวจากภาวะตกต่ำเพราะพิษโควิด-19

    บัฟเฟตต์อธิบายเรื่องอัตราเงินเฟ้อได้อย่างเห็นภาพ โดยยกตัวอย่างว่าสินค้าในสหรัฐฯ กำลังขึ้นราคา และการขึ้นราคานั้นก็จะได้รับการยอมรับแต่โดยดี ตรงนี้มีการจุดประเด็นเรื่องต้นทุนเหล็กที่สูงขึ้นมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในธุรกิจที่อยู่อาศัยและเฟอร์นิเจอร์ของ Berkshire ด้วย

    บัฟเฟตต์เชื่อว่าคนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จะมีเงินในกระเป๋า และบางคนจะยอมจ่ายในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการซื้อที่บ้าคลั่ง นำไปสู่ภาพรวมเศรษฐกิจที่กำลังจะร้อนแรงในช่วงหลังวัคซีน

    สำคัญคือหลากหลายและไม่หวังมาก

    บทเรียนหลักที่บัฟเฟตต์บอกต่อนักลงทุนรายใหม่ คือการเปลี่ยนแปลงของหุ้นตัวท็อปแต่ละตัวเมื่อเวลาผ่านไป นี่จึงแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีหน่วยลงทุนหรือพอร์ตโฟลิโอที่หลากหลายและมีโอกาสเจ็บตัวน้อย เช่น การลงทุนผ่านกองทุนดัชนีหรือ passive index fund

    passive fund คือกองทุนรวมที่มีเป้าหมายสร้างผลตอบแทนให้เท่าดัชนีในตลาด ไม่ต้องได้ผลตอบแทนโดดเด่นเหมือน active fund ซึ่งปู่บัฟเฟตต์ย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจโลก จะเป็นสถานการณ์ที่แสดงให้เห็นโดยบังเอิญว่า กองทุนดัชนีเป็นทางออกที่สำคัญ และสิ่งที่นักลงทุนหน้าใหม่ต้องทำคือขึ้นเรือให้ทันก่อนเรือจะออก

    ในการประชุมครั้งนี้ Berkshire Hathaway บริษัทโบรกเกอร์ลงทุนรายย่อยได้รายงานจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้นการระบาดของโรค Covid-19 โดยกลุ่มผู้ใช้เหล่านี้จำนวนมากเป็นนักลงทุนครั้งแรก เบื้องต้นคาดว่าการเพิ่มขึ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ส่วนบุคคลในสหรัฐอเมริกา และการที่ผู้คนเบื่อเหงา ขาดตัวเลือกความบันเทิงในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่บ้านเพื่อยับยั้งการระบาด

    ไม่เพียง Berkshire Hathaway แต่กระแสนักลงทุนหน้าใหม่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นปีนี้ ท่ามกลางกระแสการซื้อขายหุ้นบริษัทสหรัฐฯ อย่าง GameStop และแอป Robinhood ที่ทำให้มีการซื้อขายหุ้นผ่านผู้ใช้มากกว่า 5.7 ล้านรายในช่วง 2 เดือนแรกของปี นอกจากนี้ Charles Schwab บริษัทโบรกเกอร์อิเล็กทรอนิกส์ยังเผยว่าได้เพิ่มบัญชีในไตรมาสแรกของปี 2021 ในจำนวนที่มากกว่ายอดรวมในปี 2020 ทั้งหมด

    ที่สุดแล้ว บัฟเฟตต์เอ่ยปากเตือนนักลงทุนว่าการระบุตัวผู้ชนะของโลกอุตสาหกรรมใหม่ยังเป็นเรื่องยากในวันนี้ รวมถึงอีกหลายพื้นที่ธุรกิจที่กำลังเติบโต โดยยกตัวอย่างบริษัทจำนวนมากที่ผลิตรถยนต์ในช่วงต้นทศวรรษ 1900 ซึ่งวันนี้ส่วนใหญ่ปิดตัวลงหรือเลิกทำธุรกิจรถยนต์ไปก่อนเวลาอันควร

    การเลือกหุ้น ยังมีอีกหลายแง่มุมที่ต้องดู ไม่ใช่แค่การหาว่าอะไรจะเป็นอุตสาหกรรมที่ยอดเยี่ยมในอนาคต ปู่บัฟเฟตต์กล่าวทิ้งท้าย.

    ที่มา

    ]]>
    1332606