บริษัทสตรีมมิ่งเพลง “Spotify” รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2024 ทำรายได้ 3,810 ล้านยูโร เพิ่มขึ้น 20% YoY และทำกำไรสุทธิ 274 ล้านยูโร พลิกกลับจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่เคยขาดทุนถึง -302 ล้านยูโร
สาเหตุที่กลับมาทำกำไรได้เพราะต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทลดลง -16% YoY ปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นทุนลดเพราะ “ลดค่าบุคลากร และการใช้จ่ายด้านการตลาดลดลง” ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 29.2% เทียบกับปีก่อนที่ทำได้ 24.1%
Spotify เริ่มทำกำไรได้ทันทีหลังจากมีการเลย์ออฟพนักงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีก่อน ณ สิ้นปี 2023 บริษัทเคยมีพนักงาน 9,123 คนทั่วโลก มาถึงสิ้นไตรมาส 2 ปี 2024 จำนวนพนักงานลดเหลือ 7,372 คนเท่านั้น
ราคาหุ้นของ Spotify ดีดตัวขึ้น 12% ทันทีตอบรับข่าวดีจากการประกาศผลกำไรครั้งนี้
ในแง่จำนวนสมาชิกและยอดผู้ใช้งาน บริษัทรายงานว่าไตรมาสที่ผ่านมามีผู้สมัครสมาชิกระดับพรีเมียมสะสม 246 ล้านราย เพิ่มขึ้นมา 7 ล้านรายภายในไตรมาสเดียว ซึ่งถือว่าเกินเป้าหมายที่คาดการณ์ว่าจะมีสมาชิกเพิ่ม 6 ล้านราย อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้เป็นประจำรายเดือน (Monthly Active Users: MAU) อยู่ที่ 626 ล้านราย เพิ่มขึ้นมา 11 ล้านราย ซึ่งยังต่ำกว่าที่คาดว่าจะมี MAU เพิ่มขึ้น 16 ล้านราย
นอกจากการหาสมาชิกเพิ่มแล้ว Spotify ยังสร้างรายได้เพิ่มได้ด้วยการ “ขึ้นราคา” โดยมีการปรับขึ้นไปเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ราคาแพ็กเกจสมาชิกแบบบุคคลขึ้นจาก 10.99 เหรียญสหรัฐ เป็น 11.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ขณะที่แพ็กเกจสมาชิกแบบครอบครัว (เข้าใช้พร้อมกันได้ 6 คน) ขึ้นจาก 16.99 เหรียญสหรัฐ เป็น 19.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือน
ภายในไตรมาส 3 นี้ Spotify จะยังเดินหน้าตามเป้าหมายต่างๆ ต่อไป ได้แก่ เพิ่ม MAU ขึ้นอีก 13 ล้านราย, เพิ่มสมาชิกพรีเมียมอีก 5 ล้านราย, เพิ่มรายได้เป็น 4,000 ล้านยูโร (โต 19% YoY) และเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นเป็น 30.2%
จากแผนทั้งรัดเข็มขัดและเร่งไล่ล่าสมาชิกเพิ่ม อาจจะทำให้ Spotify มีสิทธิลุ้นให้ปี 2024 เป็นปีแรกที่บริษัทจะทำกำไรได้ตลอดปี หลังจากผลดำเนินงานขึ้นๆ ลงๆ มานาน
]]>Positioning รวบรวมผลประกอบการบริษัท “อสังหาริมทรัพย์” 10 บริษัท (ดูตามภาพประกอบ) พบว่าส่วนใหญ่ทำกำไรในช่วงครึ่งปีแรก 2566
7 ใน 10 บริษัทสามารถทำอัตรากำไรสุทธิได้แบบดับเบิลดิจิต โดยบริษัทที่สามารถทำอัตรากำไรสุทธิสูงสุด คือ บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) ซึ่งมีอัตรากำไรสุทธิถึง 19.97% ส่วนบริษัทที่สร้างเม็ดเงินกำไรสุทธิสูงสุด คือ บมจ.แสนสิริ (SIRI) โกยกำไรไป 3,203 ล้านบาท
ประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ “แอล ดับเบิลยู เอส” บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาฯ ในเครือ บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ ประเมินว่าในช่วงครึ่งปีแรก ทั้งตลาดอสังหาฯ มีการเปิดตัวโครงการใหม่กว่า 45,000 หน่วย ลดลง -13.0% YoY แต่มูลค่าโครงการเปิดตัวใหม่อยู่ที่กว่า 203,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 8% YoY
ดังที่เห็นว่าจำนวนหน่วยที่เปิดตัวลดลง แต่มูลค่ากลับเพิ่มขึ้น เป็นเพราะผู้ประกอบการหันมาเน้นโครงการบ้านเดี่ยวระดับไฮเอนด์มากขึ้น
โดยทางแอล ดับเบิลยู เอส พบว่า บ้านเดี่ยวราคาเกิน 10 ล้านบาทมีการเปิดตัวในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น 24.9% หากวัดจากจำนวนหน่วย และเพิ่มขึ้นถึง 61.45% ถ้าวัดจากมูลค่าโครงการ บ้านเดี่ยวหรูที่เปิดในช่วงครึ่งปีแรกปีนี้มีราคาเฉลี่ยกว่า 23 ล้านบาทต่อหลัง
ไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บมจ.ศุภาลัย (SPALI) เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งปีแรก 2566 รายได้ 65% ของบริษัทยังมาจากโครงการแนวราบเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก แต่อีก 35% ที่มาจากคอนโดฯ ก็สะท้อนให้เห็นว่า ตลาดคอนโดฯ เริ่มฟื้นแล้ว
สอดคล้องกับ วิชาญ วิริยะภูษิต ประธานผู้บริหารสายงานการเงิน บมจ.แสนสิริ ระบุว่ารอบครึ่งปีแรก 2566 สินค้าคอนโดฯ โดยเฉพาะที่เป็นคอนโดฯ พร้อมอยู่ (Ready to Move) ได้รับผลตอบรับที่ดีขึ้น มีสัญญาณฟื้นตัวทั้งจากกลุ่มซื้ออยู่เองและต้องการลงทุนปล่อยเช่า
ประพันธ์ศักดิ์ แห่งแอล ดับเบิลยู เอส ยังประเมินด้วยว่า สถานการณ์ครึ่งปีหลังของภาคอสังหาฯ ก็จะยังฟื้นตัวไม่มากต่อไป โดยเชื่อว่าทั้งปี 2566 นี้ภาคอสังหาฯ จะเติบโตไม่เกิน 5% จากปีก่อน
เหตุเพราะ “หนี้ครัวเรือนไทย” สูงมากทำให้ขาดกำลังซื้อ และ “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ยังเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง (ปัจจุบันอยู่ที่ 2.25% สูงสุดในรอบ 9 ปี) รวมถึง “ความไม่แน่นอนทางการเมือง” ทำให้ไตรมาส 3 นี้ผู้ประกอบการหลายบริษัทชะลอการเปิดตัวโครงการไปก่อน ซึ่งถ้าหากการเมืองมีความชัดเจนเมื่อใด อาจจะได้เห็นธุรกิจอสังหาฯ เร่งเปิดโครงการกันในไตรมาส 4 ทดแทน
อุเทน โลหชิตพิทักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บมจ.พฤกษา โฮลดิ้ง (PSH) กล่าวสอดคล้องกันว่า ครึ่งปีหลังตลาดจะยังคงได้รับผลกระทบทั้งหนี้ครัวเรือน อัตราดอกเบี้ยสูง และการเมืองไม่แน่นอน ซึ่งทางพฤกษาเองแก้กลยุทธ์ปรับไปเปิดโครงการระดับพรีเมียมมากขึ้นแล้วเพื่อจับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ และหวังว่าครึ่งปีหลังเมื่อมีรัฐบาลใหม่แล้วจะช่วยเร่งแก้ปัญหาลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชนก่อนเป็นอันดับแรก
]]>พิจินต์ อภิวันทนาพร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2565 OR และบริษัทในกลุ่มมีรายได้จากการขายและบริการ 177,291 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19,452 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 12.3% จากไตรมาสก่อนหน้า มาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกโดยเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้น ทำให้รายได้ขายของทั้งกลุ่มธุรกิจ Mobility และกลุ่มธุรกิจ Global เพิ่มขึ้น
สำหรับ EBITDA ในไตรมาส 1 อยู่ที่ 6,467 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,049 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 46.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยเพิ่มในทุกกลุ่มธุรกิจ ซึ่งกลุ่มธุรกิจ Mobility จากภาพรวมกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นจากทั้งธุรกิจตลาดพาณิชย์และธุรกิจขายปลีกน้ำมัน
ในขณะที่กำไรขั้นต้นของการขายน้ำมันดีเซลผ่านสถานีบริการชะลอตัวจากการลดภาระภาคประชาชนในการชะลอการปรับราคาหน้าสถานีบริการ ส่งผลให้ไตรมาส 1/2565 นี้ OR มีกำไรสุทธิจำนวน 3,845 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,491 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 63.3% คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.32 บาท สูงกว่าไตรมาสก่อน 0.12 บาท หรือเพิ่มขึ้น 60.0%
แต่เมื่อเปรียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนพบว่า ในไตรมาส 1/2565 OR มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,845 ล้านบาท ลดลง 3.9% จากไตรมาส 1/2564 ที่มีกำไรสุทธิ 4,003.20 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้ OR ได้เตรียมขยายการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า EV Station PluZ ที่ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ เดอะพรอมานาด และเทอร์มินอล 21 สาขาอโศก พระราม 3 พัทยา และโคราช รวม 24 จุดจ่าย ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้ใช้งานได้ในไตรมาส 3/2565 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถไฟฟ้าสามารถเข้าถึงสถานีชาร์จไฟฟ้า EV Statoin PluZ ได้สะดวกยิ่งขึ้น
อีกทั้งยังสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่นิยมมาใช้บริการที่ห้างสรรพสินค้าและให้ความสำคัญต่อการใช้พลังงานสะอาด และได้รวมกับไปรษณีย์ไทยและมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ในการศึกษาการใช้รถไฟฟ้าในการขนส่งไปรษณีย์และพัสดุ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขยายการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และเป็นอีกก้าวสู่การเป็นผู้นำในระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV Ecosystem) ต่อไปในอนาคต
สำหรับธุรกิจ Lifestyle บริษัทได้เปิดตัวร้านค้า “Your Space” หรือร้านค้ามัลติแบรนด์ที่เปิดโอกาสให้เจ้าของร้านค้าออนไลน์เช่าพื้นที่เพื่อจัดแสดงสินค้าให้ผู้ซื้อได้สัมผัสสินค้าจริงก่อนตัดสินใจซื้อ ช่วยเพิ่มการรับรู้แบรนด์และสร้างยอดขาย ตอบโจทย์การขายสินค้าออนไลน์ยุคใหม่ ตอบโจทย์ผู้ขายเรื่องความคุ้มค่าเช่า ช่วยลดต้นทุนเจ้าของสินค้าไม่ต้องสต๊อกสินค้าที่ร้าน ปัจจุบัน OR ยังได้ลงทุนในสตาร์ทอัพ 6 รายผ่าน ORZON Ventures ได้แก่ Pomelo, GoWabi, Freshket, Carsome, Protomate และ Hangry เพื่อสร้าง New S-Curve ต่อยอดการดำเนินธุรกิจด้าน Mobility และ Lifestyle รวมทั้งมอบประสบการณ์ใหม่ๆ และความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค
]]>จากปีแรกที่เกิดการระบาดระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้บริหารระดับสูงต้องลดค่าตอบแทนที่ได้ แต่พอสถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ รายได้ก็กลับมามากกว่าที่หายไป โดยจากผลสำรวจของ Equilar 100 พบว่าในปี 2021 CEO จากบริษัทใหญ่ ๆ ทำรายได้มากกว่าพนักงานทั่วไปเฉลี่ย 254 โดยเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
ในปี 2021 ค่าเฉลี่ยของค่าตอบแทน CEO อยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 31% จากปีก่อน โดยปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้ค่าตอบแทนสูงขึ้นเนื่องมากจากโบนัสและรางวัลหุ้นตามผลประกอบการของตลาดและผลิตภาพของบริษัท ซึ่งคิดเป็น 85% ของค่าตอบแทน อีก 15% เป็นเพียงเงินเดือนเท่านั้น
ขณะที่ค่าตอบแทนพนักงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 68,935 ดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 71,869 ดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นประมาณ 4% เท่านั้น โดย Equilar ระบุว่า การเติบโตส่วนหนึ่งมาเกิดจากบริษัทที่เสนอโบนัส แต่ในภาวะเศรษฐกิจที่แพร่ระบาดที่กำลังฟื้นตัว ซึ่งส่งผลให้อุปสงค์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นและอุปทานแรงงานที่ตึงตัวขึ้น
ช่องว่างที่กว้างขึ้นแสดงให้เห็นว่าผลกำไรขององค์กรอยู่ที่จุดสูงสุด แต่ในขณะที่ คนงานซึ่งหลายคนอยู่ในแนวหน้าของวิกฤตยังไม่ได้รับผลตอบแทน Sarah Anderson ผู้เชี่ยวชาญด้านค่าตอบแทนผู้บริหารของ สถาบัน Think Thank กล่าว
“ในปี 2564 บริษัทมุ่งเน้นไปที่การรักษาผู้บริหารให้มีความสุขและไม่ต้องกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนงาน แต่ในระยะยาว และแม้ในระยะสั้น มันจะไม่เป็นผลดีต่อผลประกอบการ”
ทั้งนี้ สถาบันนโยบายเศรษฐกิจ ประเมินค่าตอบแทนของ CEO เพิ่มขึ้น 1,322% ตั้งแต่ปี 1978 เทียบกับการเพิ่มขึ้น 18% สำหรับคนทำงานทั่วไปในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม ที่ค่าจ้างคนงานทั่วไปไม่ได้เพิ่มขึ้นเร็วเท่ากับที่ CEO นั้นมีเหตุผลหลายประการ ทั้งอัตราการว่างงานสูง การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล การพังทลายของสหภาพแรงงาน มาตรฐานแรงงานต่ำ การเพิ่มขึ้นของเงื่อนไขการไม่แข่งขันและการเอาท์ซอร์สในประเทศ
ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ พบว่า ข้อมูลค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นประมาณ 5% ในปีที่แล้ว เป็น 31.58 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง แต่การเติบโตของค่าจ้างดูเหมือนจะชะลอตัวลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยที่ประมาณ 8.5% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
]]>ธนา ไชยประสิทธิ์ รักษาการ CEO บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) หรือ OSP แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1/64 ของบริษัท ทำรายได้ 6,776 ล้านบาท โต 1.3% YoY และทำกำไรสุทธิ ‘นิวไฮ’ ที่ 1,004 ล้านบาท เติบโต 8.4% YoY มาจากนโยบาย Fit Fast Firm ที่ทำให้บริษัทบริหารต้นทุนได้ดีขึ้น
คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการบริษัทฯ แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุถึงสถานการณ์ตลาดรวมช่วงไตรมาส 1 ได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอก 2 ทำให้ตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง ฟังก์ชันนอลดริ้งก์ และของใช้ส่วนบุคคล ต่างหดตัวในช่วงเดือนมกราคม 2564 แต่กลุ่มเครื่องดื่มเริ่มมาฟื้นตัวดีในเดือนมีนาคม 2564 เหลือเพียงกลุ่มของใช้ส่วนบุคคลที่ยังซึมตัวอยู่
ในไตรมาสแรกของปี เครื่องดื่มวิตามินซี C-vitt ยังเป็น “พระเอก” ของโอสถสภา โดยทำรายได้เติบโต “ดับเบิล ดิจิต” สวนทางตลาดที่ซบเซา ทำให้มีมาร์เก็ตแชร์เพิ่มขึ้นเป็น 34.9% ในตลาดฟังก์ชันนอลดริ้งก์ และยังครองอันดับ 1 ในตลาด
การเติบโตของ C-vitt ยังทำให้กลุ่มสินค้าฟังก์ชันนอลดริ้งก์โดยรวมของโอสถสภาเติบโตถึง 16.1% YoY อีกด้วย
ธนากล่าวว่า ไตรมาส 2/64 บริษัทก็จะยังเสริมจุดแกร่งจุดนี้ โดยการออกผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคในช่วงการระบาดระลอก 3 โดยเมื่อเดือนเมษายน’64 บริษัทออกผลิตภัณฑ์ไซส์ใหม่ C-viit Big Pack ขนาด 1 ลิตร เหมาะกับการอยู่บ้าน
ขณะที่ตลาดเครื่องดื่มบำรุงกำลัง “M-150” ยังเป็นเบอร์ 1 ของตลาดเช่นกัน โดยมีส่วนแบ่งตลาด 54.9% พร้อมออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มาเสริมยอดขายคือ “M-150 ซ่าส์” เป็นเครื่องดื่มให้พลังงานอัดก๊าซแบบกระป๋อง น้ำตาลน้อย เสริมวิตามิน
สำหรับรายได้กลุ่มของใช้ส่วนบุคคลของ OSP ทำรายได้ไตรมาสแรก 500 ล้านบาท ลดลง -18.9% YoY เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยมาตั้งแต่ช่วงที่มีการระบาด โดยเฉพาะกลุ่มของใช้เสริมความงามของผู้หญิงจะหดตัวมากกว่ากลุ่มของใช้สำหรับเด็ก
ธนายังกล่าวถึงโมเดลธุรกิจการร่วมมือกับบริษัทอื่นๆ ที่มีมากขึ้นด้วย เช่น การจับมือกับ “ยันฮี” ปัจจุบันโอสถสภาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดจำหน่ายหลักของเครื่องดื่ม ยันฮี วิตามิน บี วอเตอร์ และมีความร่วมมือวางแผนลงทุนร่วมกันพัฒนาเครื่องดื่มผสมสารสกัดจากกัญชง (CBD) ในอนาคต
ที่ผ่านมา โอสถสภายังมีแคมเปญการตลาดร่วมกับ เครือเอสซีจี โดยออก “M-150 รุ่นลิมิเต็ด อิดิชั่น” ช่วยส่งเสริมการขายให้ ปูนตราเสือ ด้วยมีกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกันคือกลุ่มช่าง ผู้รับเหมา
ปีนี้น่าจะได้เห็นความเคลื่อนไหวของโอสถสภาในการจับมือพันธมิตรอื่นๆ เพิ่มอีก เพื่อหาโอกาสทางธุรกิจและขยายฐานตลาดต่อไป
]]>บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ผลประกอบการประจำไตรมาส 1 ปี 2564 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า มีรายได้รวม 133,431 ล้านบาท ลดลง 8.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วน กำไรสุทธิอยู่ที่ 2,599 ล้านบาท หรือ 0.26 บาทต่อหุ้น ลดลง 53.95% จากไตรมาส 1 ของปี 2563 ที่มีกำไร 5,645 ล้านบาท หรือ 0.60 บาทต่อหุ้น
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้รายได้ของ CPALL ลดลงคือยอดขายเเละและบริการในธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ ที่ลดลง จากผลกระทบโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบทางลบต่อภาวะเศรษฐกิจไทยอีกครั้งโดยเฉพาะในเดือนม.ค. ทำให้ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย กำลังซื้อลดลง รวมถึงการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัว นอกจากนี้ ยังมีภาระดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ยืมสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ สัดส่วน ‘รายได้’ จากธุรกิจร้านสะดวกซื้อและธุรกิจอื่นๆ คิดเป็น 61% และธุรกิจค้าส่งแม็คโคร 39% ส่วน ‘กำไร’ จากธุรกิจร้านสะดวกซื้อและธุรกิจอื่นๆ มีสัดส่วน 40% กำไรจากธุรกิจค้าส่งแม็คโคร สัดส่วน 60%
เมื่อเจาะลงไปใน ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ ในไตรมาส 1/64 มีรายได้ราวจากการขายสินค้าและบริการ รวม 70,450 ล้านบาท ลดลง 15% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 947 ล้านบาท ลดลงถึง 75.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
จำนวนลูกค้าลดลงมาอยู่ที่เฉลี่ย 845 คนต่อวัน และมียอดใช้จ่ายต่อบิลประมาณ 77 บาท ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อร้านต่อวันอยู่ที่ 65,024 บาท และยอดขายเฉลี่ยของร้านสาขาเดิมลดลง 17.1%
ที่ผ่านมา ‘เซเว่น อีเลฟเว่น’ ได้ขยายไปยังช่องทางการขายใหม่ๆอย่าง 7-Eleven Delivery, All Online และ 24Shopping แต่ก็ชดเชยรายได้ได้เพียงบางส่วน โดยได้เปิดสาขาใหม่ไปทั้งหมด 155 สาขา แบ่งเป็นร้านสาขาบริษัท 131 สาขา สาขา SBP และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 24 สาขา ทำให้มีสาขารวม 12,587 สาขา
สำหรับเเผนปีนี้ CPALL ยังคงยืนยันจะเดินหน้าลงทุนตามเเผนเดิม โดยตั้งเป้าจะเปิดร้านสะดวกซื้อสาขาใหม่อีกประมาณ 700 สาขา ใช้งบลงทุนประมาณ 11,500-12,000 ล้านบาท แบ่งเป็น
• เปิดร้านสาขาใหม่ 3,800-4,000 ล้านบาท
• ปรับปรุงร้านเดิม 2,400-2,500 ล้านบาท
• โครงการใหม่ บริษัทย่อย และศูนย์กระจายสินค้า 4,000-4,100 ล้านบาท
• สินทรัพย์ถาวร และระบบสารสนเทศ 1,300-1,400 ล้านบาท
CPALL มองแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกในปี 2564 ว่าสถานการณ์โควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบใน ‘เชิงลบ’ ต่อรายได้และค่าใช้จ่าย ยังมีความไม่เเน่นอนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและการดำเนินธุรกิจ จึงต้องปรับตัวตามสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
อ่านรายละเอียด : SET
]]>โดยในปี 2020 บริษัททำยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 326% สู่ระดับ 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีผลกำไรเพิ่มขึ้นเป็น 671.5 ล้านดอลลาร์ จากเพียง 21.7 ล้านดอลลาร์ในปี 2019 หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 30 เท่า
Zoom Video Communications Inc. เผยผลประกอบการไตรมาสที่ 4/2020 (พ.ย.2020 – ม.ค.2021) มีรายได้อยู่ที่ 882.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 369% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 69.7% เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสที่ 3/2020 ซึ่งอยู่ที่ 66.7%
‘Zoom’ ดังเป็นพลุเเตกชั่วข้ามคืน กลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มหลักที่หลายองค์กรเลือกใช้สำหรับสื่อสารทางไกลระหว่างการทำงาน ขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้
ในผีที่ผ่านมา การเเข่งขันเพื่อชิงตลาดของแอปพลิเคชันประชุมทางไกล เรียกได้ว่าถึงขั้น ‘ดุเดือด’ เมื่อ Zoom ต้องเจอคู่แข่งรายใหญ่ที่ก่อตั้งมานานอย่าง WebEx ของ Cisco, Google Hangouts และ Microsoft Teams
‘อีริค หยวน’ ผู้ก่อตั้ง Zoom ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง Zoom บอกว่า ตัวเลขยอดขายไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว เป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก นับเป็นปีที่มีสิ่งที่ ‘คาดไม่ถึง’ เกิดขึ้นมากมาย
เเม้ตอนนี้สถานการณ์โรคระบาดจะกลับดีมาดีขึ้น เเละมีการกระจายวัคซีนทั่วโลก เเต่เขาเชื่อว่า Zoom จะเติบโตได้ต่อเนื่อง ถึงจะไม่พุ่งเท่ากับปีก่อนก็ตาม “การทำงานของ Zoom เพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น”
อีริคมองว่าการ ‘ทำงานที่ไหนก็ได้’ เเบบ Remote Working จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นเทรนด์เเห่งอนาคต และแพลตฟอร์มของบริษัทจะยังคงตอบสนองกับเทรนด์นี้ เเละเตรียมความพร้อมให้กับผู้ใช้บริการต่อไป
โดยในปี 2021 บริษัทตั้งเป้าจะเติบโตมากกว่า 40% เพื่อทำยอดขายให้เเตะระดับ 3,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้อัตราการเติบโตจะไม่มากเท่ากับปี 2020 ที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ เเต่เชื่อว่าจะเป็นการเติบโตที่มั่นคงเเละยั่งยืนมากขึ้น
ต้องติดตามดูว่า Zoom จะมีกลยุทธ์เเละฟีเจอร์ใหม่ๆ อะไรออกมาดึงดูดลูกค้าในปีนี้ เมื่อผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติ พร้อมๆ กับที่บริษัทเทคเจ้าใหญ่ต่างเร่งเครื่องพัฒนาเเพลตฟอร์มวิดีโอคอล เพื่อเเข่งขันในตลาดนี้อย่างเต็มรูปเเบบ
]]>
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า
“จากวิกฤต COVID-19 ช่วงต้นปี 63 ที่ผ่านมา ทำให้ทุกภาคส่วนได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาด ฟื้นฟูภาคเศรษฐกิจ และเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศชาติให้เติบโตอย่างยั่งยืน เรายังเชื่อมั่นว่า โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล โดยเฉพาะเทคโนโลยี 5G
ซึ่งปัจจุบัน เอไอเอส ถือครองคลื่นความถี่ ทั้ง 4G และ 5G มากที่สุด ครอบคลุมมากที่สุดในไทย จำนวน 1420MHz และภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะได้รับใบอนุญาตคลื่น 26GHz ครบทั้ง 3 ย่านความถี่ สูง กลาง และต่ำ จะมีส่วนช่วยเสริมประสิทธิภาพของการขยายเครือข่าย 5G เพื่อรองรับการใช้งานของลูกค้าคนไทย และผลักดันส่งเสริมให้เกิดการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม หลังจากช่วงที่ผ่านมา เราได้ร่วมงานกับพาร์ตเนอร์ใน ecosystem หลายราย เพื่อทดลองทดสอบการใช้งานในพื้นที่จริงมาแล้วอย่างต่อเนื่อง”
ขณะที่ ธุรกิจอินเทอร์เน็ตบ้าน เอไอเอส ไฟเบอร์ ยังคงเติบโตเหนืออุตสาหกรรม ด้วยจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ เป็นผลให้คนไทยส่วนใหญ่ปลี่ยนวิถีชีวิตมา Work from Home และ Learn from Home เป็นจำนวนมาก
ตลอดปี 2563 มีลูกค้าเพิ่มขึ้น 29% หรือกว่า 299,300 ราย ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่เติบโตเฉลี่ย 10-12% โดยปัจจุบันมีลูกค้า อยู่ที่ 1.3 ล้านราย พร้อมตั้งเป้าหมายที่จะก้าวสู่ Top 3 ผู้นำอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ของไทยให้ได้ภายในปี 2564
ธุรกิจบริการลูกค้าองค์กร การทำตลาด Enterprise ยังได้รับความสนใจจากลูกค้า Corporate และ SME อย่างต่อเนื่อง โดยมีความสนใจในกลุ่ม Telecom Services ซึ่งเป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการติดต่อสื่อสาร และเครือข่ายขององค์กรต่างๆ และบริการ Digital Enabler สำหรับธุรกิจต่างๆ เพื่อนำ Digital Technologies ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจยุคใหม่ เช่น IT, Cloud, IoT, Cyber Security, Digital Marketing รวมถึง เทคโนโลยี 5G ในอนาคต
โดยภาพรวม จากการบริหารต้นทุนที่ดี ทั้งด้านต้นทุนการให้บริการ และค่าใช้จ่ายด้านการขายและบริหาร ส่งผลให้เอไอเอสมีกำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย และค่าเสื่อม (EBITDA) อยู่ที่ 76,619 ล้านบาท ลดลง 2.7% ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าการลดลงของรายได้ และมีกำไรสุทธิ 28,423 ล้านบาท ลดลง 8.9% เทียบกับปีก่อน โดยเอไอเอสจะจ่ายเงินปันผลจากผลประกอบการครึ่งปีหลังที่ 3.68 บาทต่อหุ้น หรือประมาณ 75% ของกำไรสุทธิ ในวันที่ 20 เมษายน 2564
]]>ในไตรมาส 3 มีตัวเลขสำคัญ ดังนี้
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า
“การลงทุนเครือข่าย โดยเฉพาะ 5G ในปีนี้ เราไม่ได้มองเห็นแค่ผลประโยชน์ในระยะสั้น แต่ความมุ่งหวังของเอไอเอส คือการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับประเทศไทย ที่จะดึงดูดความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติได้ ขณะที่ในระดับ Mass Scale อาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะเห็นประโยชน์ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากการนำไปใช้งานจริง
นอกจากคุณภาพของเครือข่ายแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้อีก 2 อย่าง คือการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับการใช้งานในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งการสร้างแอปพลิเคชันเฉพาะด้านที่จะเกิดประโยชน์กับกลุ่มผู้ใช้งานที่ชัดเจน สุดท้ายนี้ เราเชื่อมั่นว่า ด้วยคุณภาพของเครือข่าย งานบริการที่ประทับใจและตอบโจทย์ความต้องการ เทคโนโลยีล้ำสมัย สิทธิพิเศษที่ลงตัวกับทุกไลฟ์สไตล์”
]]>ธนาคาร และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 3/2563 เท่ากับ 16,572 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นจากรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ นอกเหนือจากการบริหารจัดการทางการเงิน ท่ามกลางสภาวะดอกเบี้ยขาลง ประกอบกับรายได้จากการดำเนินงานอื่นๆ เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายพิเศษจากการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงาน ในไตรมาส 3/2562 ส่งผลให้ Cost to Income ratio ลดลงเป็น 45.3% จาก 53% ในไตรมาส 3/2562
ธนาคารได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 12,414 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 103.6% เมื่อเทียบกับการตั้งสำรองในไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ส่งผลให้กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร ลดลงเป็น 3,057 ล้านบาท หรือลดลง 51.9%
ธนาคารมีกำไรจากการดำเนินงาน 9 เดือนปี 2563 เพิ่มขึ้น 12.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเท่ากับ 68,023 ล้านบาท ขยายตัวขึ้น 0.6% ท่ามกลางสภาวะดอกเบี้ยนโยบายที่ถูกปรับลดจนต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีสาเหตุหลักจากการได้รับรายได้ดอกเบี้ยพิเศษ นอกเหนือจากการบริหารจัดการทางการเงิน จึงช่วยลดผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้
รายได้จากการดำเนินงานอื่นเติบโต 13.3% และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลง 13.8% จากรายการพิเศษสำรองด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายฯ และการตั้งสำรองผลประโยชน์พนักงานในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ Cost to Income ลดลงเป็น 42.2% จาก 48.8% ในช่วงเดียวกันของปี 2562
จากการพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ ประมาณการภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงอย่างรุนแรงและมีความไม่แน่นอน ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพสินเชื่อ ธนาคารจึงได้ตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จำนวน 35,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 87.7% จากค่าใช้จ่ายสำรองในช่วงเดียวกันของปี 2562 ส่งผลให้มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 13,279 ล้านบาท ลดลง 39.2%
ณ 30 กันยายน 2563 ธนาคารมียอดสินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับสุทธิ 2,149,620 ล้านบาท โดยธนาคาร (งบการเงินเฉพาะ) มีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ร้อยละ 15.01 และอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์ถ่วงน้ำหนักตามความเสี่ยงที่ร้อยละ 18.42 ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
]]>