Tag: พรรคประชาธิปัตย์
กรณ์ จาติกวณิช มุมใหม่ประชาธิปัตย์
หากเปรียบ “กรณ์ จาติกวณิช” เจ้าของ ฉายา “หล่อโย่ง” จัดเป็นProduct ชั้นดีของพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ที่มีความโดดเด่นในเรื่อง ความรู้ทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งการศึกษาจากสถาบันการศึกษาชั้นดี และประสบการณ์ด้านการทำงาน เขาเคยได้ชื่อว่า มนุษย์ทองคำที่รุ่งเรืองที่สุด เคยเป็นผู้ก่อตั้งไฟแนนซ์ ที่ประสบความสำเร็จที่สุด และเมื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมือง กรณ์ก็สามารถใช้ประสบการณ์เหล่านี้ สร้างให้ส่วนผสมที่ลงตัวบนเส้นทาง เปิดใจ พลิกมุมใหม่ให้พรรค เจ้าของความสูง...
ประชาธิปัตย์ Classic Brand
“พรรคประชาธิปัตย์” ผ่านเส้นทางการเมืองมายาวนานถึง 61 ปี มีเรื่องราวเข้มข้น ทั้งเคยเฟื่องฟู และตกต่ำ จนถือเป็นตำนานบทหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ถ้าเปรียบเป็นสินค้า ก็ถือเป็นแบรนด์เก่าแก่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ผ่านมรสุมลูกแล้วลูกเล่า จนมาสู่การเริ่มรีแบรนด์อย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี 2548 และเวลานี้พรรคประชาธิปัตย์กำลังเดินแผนต่ออีกครั้ง อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และกระแสการยุบพรรค นับเป็นความท้าทายของพรรคประชาธิปัตย์ที่จะทำอย่างไรให้พรรคย่างก้าวขึ้นสู่ปีที่ 62 เป็นแบรนด์พรรคการเมืองที่ทันยุคสมัย ซึ่งเป็นโจทย์ที่ต้องหาคำตอบ เพราะไม่ว่าตุลาการรัฐธรรมนูญจะตัดสินอย่างไร “พรรคประชาธิปัตย์”...
ตามรอย คลาสสิก “แบรนด์” “ประชาธิปัตย์”
มีคำถามหนึ่งที่มักเกิดขึ้นเสมอ อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ “พรรคประชาธิปัตย์” กลายเป็นชื่อพรรคการเมืองที่ถูกจดจำได้มากที่สุด และมีความเป็น “สถาบัน” มากที่สุด เมื่อเทียบกับพรรคการเมืองอื่นๆ ทั้งที่พรรคนี้ไม่มีเจ้าของที่แท้จริง เปลี่ยนหัวหน้าพรรคมาแล้วถึง 7 คนในช่วง 61 ปีที่ผ่านมา และเปลี่ยนสมาชิกมามากหน้าหลายตา ยิ่งไปกว่านั้นบทบาททางการเมืองของพรรคไม่ประสบ “ความสำเร็จ” เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องประสบกับ “ความล้มเหลว” ในบางยุคสมัย 61 ปีของความเป็นประชาธิปัตย์...
ตัวอย่างเหตุการณ์ตอกย้ำอุดมการณ์ประชาธิปัตย์
ธันวาคม 2533 –ถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ในปี 2533 พรรคประชาธิปัตย์ได้สร้างความสนใจต่อพรรคอีกครั้ง หลังจากที่พรรคประชาธิปัตย์อยู่ในยุคที่ไม่มีบทบาทางการเมืองมากนัก โดยเป็นเพียง 1 ในพรรคร่วมรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เท่านั้น แต่ภายหลังเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ไม่นาน ในวันที่ 12 ธันวาคม 2533 พรรคประชาธิปัตย์ได้ขอถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลของพลเอกชาติชาย โดยประกาศต่อสาธารณชนว่า เพราะไม่ต้องการให้เกิดสภาพเผด็จการรัฐสภา เนื่องจาก...
Pocket Book : สื่อ “Remind” ในยุคเปลี่ยนผ่าน
ตามหลักการตลาดแล้ว เป้าหมายของการใช้สื่อโฆษณาสินค้าตัวหนึ่ง ย่อมต้องสอดคล้องกับวงจรชีวิตของสินค้าตัวนั้นๆ เช่นสินค้าใหม่ต้องใช้โฆษณาให้คนรู้จักและรับรู้ (Awareness) แต่กับสินค้าที่พ้นช่วงโปรโมตไปแล้ว หรืออยู่ระหว่างรอขั้นตอนปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือออกรุ่นใหม่ๆ หากจะไม่โฆษณาบ้างเลยก็เสี่ยงที่ผู้บริโภคจะลืมลบออกจากใจไป เป้าหมายที่ใช้จึงต้องเป็น "Remind" คือการเตือนไม่ให้ลืมแบรนด์ไปเสียก่อน ระหว่างที่รอการ Re-brand หรือแคมเปญใหม่ๆ ในช่วงที่ คมช. ห้ามพรรคการเมืองจัดกิจกรรมหรือโฆษณาหาเสียงนี่เอง พรรคประชาธิปัตย์ใช้วิธีการออกพ็อกเกตบุ๊กส่วนตัวของนักการเมืองคนสำคัญๆ ในพรรค เช่น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค...
หล่อ เนี้ยบ โชว์ ”เป็นงาน-ติดดิน”
ช่วงไพรม์ไทม์เกือบทุกวัน นาน 6 สัปดาห์ก่อนวันที่ 24 สิงหาคม 2549 ที่พระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งมีผลบังคับใช้ แฟนๆ หน้าจอทีวีได้เห็นหนังโฆษณาของพรรคประชาธิปัตย์ ยิงทุกวัน จนแบรนด์ ”ประชาธิปัตย์” ที่มีชื่อที่คุ้นหูรู้จักกันอยู่แล้ว เริ่มเข้าไปอยู่ในใจของคนบางคน แต่ในอีกบางกลุ่มอาจยังไม่เห็นอะไรที่ทำให้รู้จัก ”ประชาธิปัตย์” ไปมากไปกว่าเดิม หนังโฆษณาของพรรคประชาธิปัตย์ที่เห็นไปแล้ว จากการบอกเล่าของ ”สาทิต วงศ์หนองเตย”...