พลังงานหมุนเวียน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 28 Oct 2023 00:50:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “สิงคโปร์” ดีลสั่งซื้อ “ไฟฟ้า” คาร์บอนต่ำจาก เวียดนาม อินโดฯ กัมพูชา มุ่งเป้าลดโลกร้อน https://positioningmag.com/1449606 Fri, 27 Oct 2023 11:51:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449606 ตั้งแต่ปี 2033 เป็นต้นไป “สิงคโปร์” จะนำเข้า “ไฟฟ้า” คาร์บอนต่ำจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และกัมพูชา เพื่อไปสู่เป้าการนำเข้าพลังงานหมุนเวียนให้ได้ครบ 4GW ภายในปี 2035

Energy Market Authority (EMA) เปิดเผยว่า “สิงคโปร์” ตกลงดีลสั่งซื้อ “ไฟฟ้า” คาร์บอนต่ำ นำเข้าจากเวียดนาม 1.2 กิกะวัตต์ (GW) ซึ่งจะส่งผ่านสายเคเบิลใต้ทะเลมาเป็นระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร

พลังงานไฟฟ้าที่จะนำเข้าจากเวียดนามนี้คิดเป็นสัดส่วน 10% ของความต้องการไฟฟ้าในสิงคโปร์ในแต่ละปี

ก่อนหน้านี้สิงคโปร์ก็มีการเซ็นดีลในลักษณะเดียวกันกับ “อินโดนีเซีย” โดยจะนำเข้าไฟฟ้าคาร์บอนต่ำจากอินโดฯ 2GW รวมถึงจะนำเข้าไฟฟ้าคาร์บอนต่ำจาก “กัมพูชา” อีก 1GW

ไฟฟ้าคาร์บอนต่ำเหล่านี้ผลิตขึ้นจากหลายรูปแบบผสมกัน ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าพลังน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม

เมื่อนำเข้าไฟฟ้าคาร์บอนต่ำเหล่านี้ได้ครบถ้วน จะทำให้สิงคโปร์ใช้ไฟฟ้าคาร์บอนต่ำเป็นสัดส่วน 30% ของความต้องการพลังงานภายในปี 2035

การนำเข้าไฟฟ้าคาร์บอนต่ำจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของสิงคโปร์นี้ เกิดขึ้นจากการทำการศึกษาโครงการร่วมกันระหว่างสิงคโปร์และสหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ยังมีแผนที่จะนำเข้าไฟฟ้าคาร์บอนต่ำจากแหล่งอื่นๆ ในภูมิภาคเพิ่มอีกในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนมิถุนายน 2022 สิงคโปร์เริ่มศึกษาโครงการนำเข้าไฟฟ้าพลังงานน้ำจากลาวขนาดประมาณ 100 เมกะวัตต์ (MW) แล้ว โดยจะส่งผ่านมาทางประเทศไทยและมาเลเซีย

ส่วนการผลิตไฟฟ้าคาร์บอนต่ำเองบนเกาะสิงคโปร์ เนื่องด้วยพื้นที่เกาะอันจำกัด ทำให้สิงคโปร์เลือกใช้พลังงานโซลาร์เป็นหลัก โดยมีเป้าหมายจะผลิตพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์ให้ได้ 2GW ในปี 2030 เพื่อสนองความต้องการใช้งานให้ได้ 350,000 ครัวเรือน

ปัจจุบันนี้สิงคโปร์สามารถผลิตไฟฟ้าโซลาร์ได้แล้ว 1GW หรือไปได้ครึ่งทางของเป้าหมายแล้ว และกำลังพยายามหาทางเพิ่มประสิทธิภาพให้พื้นที่หนึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าโซลาร์ได้สูงยิ่งขึ้น หรือสามารถติดแผงโซลาร์บนผนังด้านนอกของตัวอาคารให้ได้ รวมถึงจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานด้วย เพราะพลังงานโซลาร์จะผลิตได้เฉพาะช่วงกลางวันเท่านั้น

source

]]>
1449606
“สยามพิวรรธน์” เดินหน้าสู่ Net Positive Impact ตั้งเป้าศูนย์การค้าแรกในไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในปี 2030 https://positioningmag.com/1446422 Tue, 03 Oct 2023 01:45:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446422

เทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เป็นเพียงแค่กระแสอีกต่อไป ในโลกธุรกิจนั้นได้กลายเป็นประเด็นใหญ่ที่ถูกหยิบยกมาพูดคุยเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมกับตั้งเป้าเป็นเป้าหมายใหญ่ขององค์กรอีกด้วย เราจึงได้เห็นหลายองค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG หรือตั้งเป้าหมายเรื่อง Net Zero กันถ้วนหน้า


สร้าง Net Positive Impact พร้อมจับมือพันธมิตรทุกภาคส่วน

“สยามพิวรรธน์” เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการรายใหญ่ เจ้าของและผู้บริหาร สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมมายาวนาน ไม่ใช่เพิ่งเริ่มทำเมื่อเป็นกระแส แต่ทำมากว่า 10 ปีแล้ว ได้เดินหน้าสู่ Net Positive Impact ตั้งเป้าศูนย์การค้าแรกในไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ในปี 2030 และเป้าหมายใหญ่คือ Net Zero ในปี 2050

พร้อมกับเตรียมนำนำร่องยกระดับย่าน “ปทุมวัน” สู่แนวคิดการสร้างสรรค์เมืองให้เป็นย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะ ซึ่งสยามพิวรรธน์ไม่ได้สร้างแค่ศูนย์การค้าอย่างเดียวอีกต่อไป แต่สร้างเมืองขนาดย่อมๆ สร้างพื้นที่ให้คนใช้ชีวิต

นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า

“สยามพิวรรธน์ใช้แนวคิดและมาตรฐานการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนจนได้รับการยอมรับจากแบรนด์ชั้นนำของโลกมาอย่างยาวนาน  ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับคนจำนวนมาก และเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย สยามพิวรรธน์จึงใช้ธุรกิจเป็นแพลตฟอร์มแห่งโอกาสและพัฒนาศักยภาพของคน ส่งเสริมให้ผู้คนที่มีส่วนร่วมกับสยามพิวรรธน์ได้เติบโตและประสบความสำเร็จไปพร้อมๆ กับเรา  คำนึงถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกๆ พื้นที่ที่ได้เข้าไปดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า  การนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

ในปีนี้  สยามพิวรรธน์ยังมีความมุ่งมั่นที่จะใช้ศักยภาพ และเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ ร่วมขับเคลื่อนเมืองต้นแบบมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางที่ใส่ใจฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมใจกลางเมือง ผลักดันเรื่องพลังงานหมุนเวียน บริหารจัดการขยะแบบ 360 องศา และเตรียมพร้อมประกาศลงนามความร่วมมือเรื่องความยั่งยืนกับแบรนด์ระดับโลกในต้นปี 2024 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ภายในปี 2050”

สยามพิวรรธน์จะเป็นค้าปลีกแห่งแรกในประเทศไทยที่ร่วมมือกับแบรนด์ดังและองค์กรชั้นนำระดับโลก ผนึกกำลังด้านความยั่งยืนเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติร่วมกันอันเป็นการดำเนินธุรกิจตาม Global Standard ซึ่งเป็นมาตรฐานในระดับสากล


พลังงานสะอาด-จัดการขยะ เป้าหมาย Net Zero

นราทิพย์เสริมว่า สยามพิวรรธน์ประกาศเป็นศูนย์การค้ารายแรกที่จะทำ Net Zero ภายในปี 2050 แต่แนวทางที่จะทำไม่ใช่เพิ่งเริ่มทำ มีการทำมามากกว่า 10 ปีแล้ว พร้อมกับมีพันธมิตรมากมายทำให้เกิดพลังงานทางเลือก

ที่ผ่านมา สยามพิวรรธน์ได้บรรจุการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานสะอาด พลังงานทางเลอืก การจัดการบริหารขยะ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

โดยเริ่มต้นจากการอนุรักษ์พลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟ LED ช่วยประหยัดพลังงาน และการใช้ระบบ AI ในการควบคุมการทำงานของระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคาร เป็นต้น ตลอดจนขยายผลไปสู่การใช้พลังงานสะอาด โดยการนำนวัตกรรมโซลาร์รูฟท็อปมาติดตั้งที่ไอคอนสยาม สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่า 1 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อ/ปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 550 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ต่อปี

ร่วมมือกลุ่มบริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ร่วมกันพัฒนาและติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป (Solar Rooftop) บนพื้นที่สยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ กว่า 20,000 ตารางเมตร ให้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้กว่าปีละ 4,800,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 4,300 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายองค์กรในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) ให้กับโลกของเราโดยร่วมมือกับพันธมิตรติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่มาใช้บริการที่ศูนย์การค้า

ในขณะนี้ สยามพิวรรธน์กำลังศึกษาร่วมกับองค์กรชั้นนำทางด้านพลังสะอาดของประเทศไทยอีกหลายแห่ง อาทิ บริษัท เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ จำกัด บริษัทในเครือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท  บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) โดยมุ่งเพื่อให้ทุกศูนย์การค้าภายในกลุ่มสยามพิวรรธน์ใช้พลังงานหมุนเวียน หรือ Renewable Energy (RE) โดยร่วมมือกับองค์กรชั้นนำ ในการจัดหาพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการผลิตที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ในพื้นที่ศูนย์การค้าต่างๆ โดยมีเป้าหมายใช้พลังงานหมุนเวียน 30% ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ที่สยามพิวรรธน์บริหารจัดการเอง ภายในปี 2026 และ 100% ภายในปี 2030

นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการขยะต่างๆ ผ่านโครงการ Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste ส่งเสริมให้คนไทยจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยจุดบริการรับขยะ (Recycle Collection Center ; RCC) ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร นำขยะที่ทำความสะอาด และคัดแยกแล้วส่งต่อเข้ากระบวนการรีไซเคิล (Recycle) เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือนำมาเข้าสู่กระบวนการอัพไซเคิล (Upcycle) เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยส่วนหนึ่งยังกลับมาวางจำหน่ายบนพื้นที่สำหรับสินค้ารักษ์โลก “อีโค่โทเปีย” (ECOTOPIA) โดยมีเป้าหมายลดปริมาณการฝังกลบของขยะจากการดำเนินงาน 50% ภายในปี 2030

รวมไปถึงปัญหาของขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) จึงร่วมสนับสนุน Synnex ในโครงการ ทิ้งให้ถูกที่่กับ Trusted By Synnex E-Waste โดยจะเปิดจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือ Electronic Waste (E-waste) ณ. บริเวณ NextTech สยามพารากอน


เปิดยุทธศาสตร์พัฒนาย่านปทุมวัน

สยามพิวรรธน์เป็นหัวหอกในการนำร่องยกระดับย่านปทุมวันสู่ย่านต้นแบบอัจฉริยะภายใต้แนวคิด SMART ECO -DISTRICT ผ่านความร่วมมือกับ “รศ.ดร. นิรมล เสรีสกุล” ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC-CEUS) ขับเคลื่อนย่านปทุมวันสูย่านต้นแบบนิเวศอัจฉริยะ เพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรักษาบทบาทการเป็นผู้นำย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป

“ปทุมวันเป็นศูนย์กลาง Shopping Destination สำหรับชาวไทย ชาวต่างประเทศ ทุกเพศ ทุกวัย โดยมี ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ทั้งแนวดิ่งและแนวราบหลากหลายให้เลือกเดินตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน และพื้นที่แห่งนี้ยังมีสถานศึกษา สถาบันกวดวิชา สำนักงาน อาคารมิกซ์ยูส และอื่นๆ อีกมากมาย การที่สยามพิวรรธน์เป็นหัวหอกในการนำร่องยกระดับย่านปทุมวันสู่ย่านต้นแบบอัจฉริยะภายใต้แนวคิด SMART ECO-DISTRICT จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมรักษาบทบาทการเป็นผู้นำย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป” 

มีการวางโรดแมปของยุทธศาสตร์นี้ ตั้งแต่ปัจจุบัน ไปจนถึงช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 เริ่มจัดทำวิสัยทัศน์ และผังยุทธศาสตร์ย่านปทุมวันก่อน

สยามพิวรรธน์มีพันธกิจสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืนเพื่อให้บรรลุ “เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย” และ เพื่อโลกที่ดีขึ้นของทุกคน

 

]]>
1446422
“Tesla” แย้มพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ 2 รุ่น เคาะแผน “เม็กซิโก” ที่ตั้งโรงงานผลิตแห่งต่อไป https://positioningmag.com/1421663 Thu, 02 Mar 2023 12:47:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421663 ครั้งแรกที่ Tesla จัดงานพบปะนักลงทุน ฉายภาพวิสัยทัศน์ “มาสเตอร์แพลนที่ 3 ที่จะเปลี่ยนโลกให้หันมาใช้พลังงานสะอาด ในงานนี้ยังแย้มให้เห็นด้วยว่าบริษัทจะมีรถยนต์ออกมาอีก 2 รุ่น พร้อมยืนยันการตัดสินใจตั้งโรงงาน Gigafactory แห่งต่อไปที่ “เม็กซิโก”

Elon Musk ขึ้นเวทีพบปะนักลงทุน (Investor Day) เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2023 ที่โรงงาน Gigafactory ในออสติน สหรัฐฯ งานนี้ฉายภาพใหญ่ “มาสเตอร์แพลนที่ 3” ของบริษัท Tesla ต่อเนื่องจากมาสเตอร์แพลนที่ 1 และ 2 ที่เคยประกาศไว้ในปี 2006 และ 2016

แผนระยะยาวครั้งก่อนๆ ของ Tesla มีเนื้อหามุ่งเน้นการพัฒนายานพาหนะหลายรุ่น แนวคิดการพัฒนานวัตกรรมกักเก็บพลังงาน และเทคโนโลยีพาหนะไร้คนขับ แต่มาสเตอร์แพลนที่ 3 ครั้งนี้ ธีมอนาคตของ Tesla จะเป็นเรื่องของ “พลังงานหมุนเวียนเพื่อโลกทั้งมวล”

“ผมอยากให้วันนี้ไม่ได้เป็นวันของนักลงทุนผู้ถือหุ้น Tesla เท่านั้น แต่อยากจะให้เป็นวันของทุกๆ คนที่ลงทุนกับโลกใบนี้” Musk กล่าว “สิ่งที่เราต้องการจะสื่อคือข้อความแห่งความหวังและการมองโลกในแง่บวก และการมองโลกในแง่บวกนี้คือพื้นฐานของการคำนวณและฟิสิกส์ที่เกิดขึ้นได้จริง ไม่ใช่แค่ความคิดที่เต็มไปด้วยความฝัน”

แผนของ Musk จะเปลี่ยนโลกให้เป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพิงพลังงานหมุนเวียนภายในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ใช้ขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้น เริ่มจากการเปลี่ยนการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดจากที่เคยใช้ไฟฟ้าพลังงานถ่านหินมาเป็นไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ไปจนถึงขั้นสุดท้ายคือเปลี่ยนเชื้อเพลิง “เครื่องบิน” และ “เรือ” มาใช้แหล่งพลังงานที่ยั่งยืน

มาสเตอร์แพลนที่ 3 ของ Tesla กับ 5 ขั้นตอนเปลี่ยนโลกสู่พลังงานหมุนเวียน

ที่ผ่านมา Tesla ไม่เคยพูดถึงเครื่องบินและเรือมาก่อน แต่เมื่อสิ่งเหล่านี้ถูกระบุไว้ในมาสเตอร์แพลนที่ 3 เป็นไปได้หรือไม่ว่า Tesla อาจจะสนใจผลิตเครื่องบินและเรือในอนาคต

หลังฉายภาพการพัฒนาในขั้นต่อไป Musk ยังเล่นมุกบนเวทีด้วยว่า วันหนึ่งการขับขี่รถยนต์สันดาปและไม่ใช่พาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ จะถูกมองเป็นเหมือน “การขี่ม้าและการใช้มือถือฝาพับ” ในวันนี้ คือเป็นเรื่องที่สุดจะอนาล็อกนั่นเอง

 

รถยนต์รุ่นใหม่อยู่ในแผนแล้ว 2 รุ่น

ระหว่างการนำเสนอของ Musk มีข้อมูลที่สื่อให้เห็นว่า Tesla กำลังซุ่มพัฒนารถยนต์เพิ่มอีก 2 รุ่น และจะมีอย่างน้อยรุ่นหนึ่งที่เล็กลงและถูกลงจากรุ่น Model 3 ซึ่งขณะนี้ขายในราคา 42,990 เหรียญสหรัฐ (ประเทศไทยนำเข้ามาจำหน่ายในราคา 1.759 ล้านบาท)

2 รุ่นที่ยังไม่เปิดตัว (Photo: Business Insider)

เรื่องนี้สอดคล้องกับที่ Musk เคยแย้มๆ ว่า บริษัทกำลังมีแผนจะพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในราคาต่ำลง ลงมาอยู่ที่ประมาณคันละ 25,000 เหรียญ หรือคิดเป็นเงินไทยที่ 8.71 แสนบาท

ส่วนรถกระบะรุ่นที่เคยเปิดตัวเมื่อปี 2019 อย่าง Cybertruck ปีนี้ Tesla ก็ย้ำอีกครั้งว่า “มาแน่” ภายในปี 2023 จะวางจำหน่ายแน่นอน

 

ตั้งโรงงานใหม่ที่ “เม็กซิโก”

ด้านแผนการผลิตของ Tesla งานนี้ก็มีการคอนเฟิร์มกันในงานแล้วว่า Gigafactory แห่งต่อไปจะตั้งอยู่ใน “เม็กซิโก” บริเวณใกล้เมืองมอนเตอร์เรย์ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ รวมถึงปีนี้ทุกโรงงานที่มีจะต้องเพิ่มไลน์ผลิตแน่นอน

บริษัทยังกล่าวถึงการเร่งการผลิตให้ได้ตามที่ตั้งใจไว้ด้วย โดยวิธีการคือจะต้องปรับไลน์การผลิตใหม่ให้มนุษย์กับหุ่นยนต์สามารถทำงานกับตัวรถยนต์พร้อมกันได้ในคราวเดียว หากทำเช่นนั้นได้จะทำให้การผลิตลื่นไหลมากยิ่งขึ้น

Source

]]>
1421663
รู้จัก ReAcc บริษัทในกลุ่ม ปตท. ตัวกลางจับคู่ซื้อขาย “เครดิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด” https://positioningmag.com/1410308 Tue, 29 Nov 2022 10:21:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1410308 รู้จัก ReAcc บริษัทในกลุ่ม ปตท. ตัวกลางด้านการซื้อขาย “ใบรับรองพลังงานสะอาด” หรือ RECs เป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้ การใช้งาน และการผลิตพลังงานสะอาดให้มากขึ้นในประเทศไทย
.
RECs คืออะไร? ซื้อขายกันอย่างไร? เหมือนกับคาร์บอนเครดิตหรือไม่? ติดตามได้ที่นี่

.

.


#ReAcc #PTT #ปตท #พลังงานสะอาด #พลังงานหมุนเวียน

]]>
1410308
Atlas Copco ผู้บุกเบิกนวัตกรรมประหยัดพลังงานกับโครงการ Water for All น้ำสะอาดเพื่อทุกคน https://positioningmag.com/1378499 Thu, 24 Mar 2022 04:00:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378499

Atlas Copco กับเป้าหมายด้านความยั่งยืนเนรมิตโครงการ Water for All หรือน้ำสะอาดเพื่อทุกคนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงน้ำสะอาดเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับทุกคน บริษัทยังคงดำเนินโครงการเพื่อสังคมพร้อมกับนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า


รู้จัก Atlas Copco

ถ้าในมุมผู้บริโภคทั่วไปอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับชื่อ Atlas Copco (แอตลาส คอปโก้) มากนักแต่ถ้าใครที่อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมรับรองว่าต้องรู้จักเป็นอย่างดีเพราะ Atlas Copco ผู้นำเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านงานอุตสาหกรรมสัญชาติสวีเดนที่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าโดยแนวคิดมุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักรซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการลงทุนของการทำธุรกิจ

Atlas Copco ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2416 หรือมีอายุ 149 ปีแล้วเริ่มต้นจากเทคโนโลยีอากาศอัดแบบ Oil-free air และเครื่องยนต์ระบบไอน้ำที่มีประสิทธิภาพตลอดจนการพัฒนาเครื่องมือลม (Pneumatic tools) และเครื่องมือสำคัญในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ

ปัจจุบันเราได้พัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดร์ออกไซต์ผ่านนวัตกรรมที่ต่างๆ ที่ช่วยประหยัดพลังงานไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือไฟฟ้าปั๊มสุญญากาศระบบจัดเก็บพลังงานรวมไปถึงเครื่องอัดอากาศหรือปั๊มลมแบบ VSD ซึ่งทางบริษัทมีความมุ่งมั่นเพื่อที่จะสร้างอนาคตที่ดีกว่าด้วยการเป็นผู้นำในด้านระบบอัดอากาศเครื่องมือลมเครื่องจักรก่อสร้างรวมไปถึงระบบสูญญากาศและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ได้มีการแพร่ระบาดมากกว่า 2 ปีแล้วทาง Atlas Copco ยังคงพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและได้นำเสนอเทคโนโลยีในการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรในด้านการประหยัดพลังงาน และการตรวจสอบระยะไกลของเครื่องจักรแก่ลูกค้าซึ่งช่วยให้เรา และลูกค้าสามารถดูการทำงานหลักของเครื่องได้จากระยะไกลเพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งเทคโนโลยีนี้มีความสำคัญมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดเนื่องจากบางครั้งการเข้าทำงานในโรงงานลูกค้าอาจจะติดขัดและมีผลกระทบต่อการผลิตได้เนื่องจากการแพร่ระบาดยังคงมีอยู่

สิ่งที่ Atlas Copco มุ่งมั่นเป็นพิเศษก็คือการเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์รักษาโลกสีเขียว เพราะเราทุกคนทราบดีกว่าทรัพยากรบางอย่างบนโลกใช้แล้วหมดไป ดังนั้นการนำพลังงานหมุนเวียนมามีส่วนร่วมในการผลิตจึงเป็นส่วนสำคัญของการสร้างโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน ซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทไม่ว่าจะเป็นปั๊มสูญญากาศเครื่องอัดอากาศ หรือปั๊มลมเครื่องมืออุตสาหกรรมที่ใช้ในการประกอบยานยนต์ และเครื่องมือขุดเจาะล้วนมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้มีส่วนช่วยประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์

เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนได้เพื่อผลักดันให้เกิดสังคมที่มีก๊าซคาร์บอนต่ำ และยังส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจใหญ่หรือโอกาสที่จะช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างๆเพราะจุดประสงค์คือการลดสภาวะก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานและพลังงานที่ใช้ซึ่งบริษัทมีเป้าหมายว่าเราจะช่วยลดการปล่อยมลพิษเพื่อช่วยจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่สูงสุด 1.5 °C (2.7 °F) เพื่อให้บรรลุสิ่งนี้ Atlas Copco จะสามารถลดการปล่อยมลพิษที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ลง 46% ภายในปี 2030

สำหรับในประเทศไทย Atlas Copco ได้ดำเนินธุรกิจมา 30 ปีแล้วมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของหลายๆ บริษัทแต่บริษัทของเรายังคงเติบโตเนื่องจากเราได้ทำการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับเป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตโดยมุ่งเน้นเรื่องการประหยัดพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการลดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟฟ้าในการผลิตให้ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพราะว่าตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักรค่าไฟฟ้าตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักรคิดเป็น 75%-80% ซึ่งเป็นต้นทุนหลักเมื่อเทียบกับราคาเครื่องจักรและค่าบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งประมาณ 20%-25%

ในหลายธุรกิจอาจได้รับผลกระทบและบริษัทเหล่านั้นมีอาจจะการปลดพนักงานเพื่อควบคุมรายจ่ายแต่สำหรับ Atlas Copco ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาได้มีการเพิ่มจำนวนบุคลากรขึ้น 9% สำหรับหน่วยงานบริษัทแอตลาสคอปโก้ (ประเทศไทย) จำกัด และได้ทำการปรับปรุงอาคารสำนักงานของเราในเมืองไทยเพื่อตอบสนองกับนโยบายพลังงานหมุนเวียนซึ่งเรามั่นใจว่าพลังงานที่ใช้ 70% ที่ใช้ในอาคารสำนักงานของเรานั้นเป็นการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อการประหยัดพลังงานอย่างยั่งยืน

และสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทยก็คือการที่ประเทศไทยถูกแต่งตั้งเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียย้ายฐานจากประเทศสิงคโปร์ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยและเพิ่มความเชื่อมั่นของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นด้วย


บิ๊กโปรเจ็คต์ Water for All น้ำสะอาดเพื่อทุกคน

นอกจากนวัตกรรมต่างๆ ของ Atlas Copco จะตอบโจทย์เรื่องการประหยัดพลังงาน และความยั่งยืนแล้วสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือการทำโครงการเพื่อสังคมหรือ CSR ซึ่งจะมีโครงการ Water for All เป็นโครงการใหญ่ในระดับโกลบอลที่ทำต่อเนื่องอย่างยาวนานในแต่ละประเทศจะมีโครงการย่อยๆ ทั้งในระดับภูมิภาค และทั่วโลกอีกด้วย

ฮอสท์ปีเตอร์วูล์ฟกังวาเซล Vice President Holding Atlas Copco SE-Asia & Oceania กล่าวว่า

“โครงการน้ำเพื่อทุกคน (Water for All) ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2527 ในประเทศสวีเดน เป็นโครงการการกุศลไม่แสวงหาผลกำไร (CSR) เพื่อคืนกำไรสู่สังคมในการส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงน้ำดื่มที่สะอาดมีสุขาภิบาล และอนามัยที่ดีตามหลักสิทธิมนุษยชนเป็นโครงการที่พนักงานของเราทุกคนให้ความสำคัญอย่างยิ่งด้วยการบริจาคเงินของพนักงานโดยความสมัครใจ และบริษัทจะทำการสมทบเพิ่มให้อีกเป็นสองเท่าเพื่อจัดหาน้ำดื่ม และน้ำเพื่อการสุขาภิบาลที่สะอาดให้กับผู้คนที่ต้องการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดในถิ่นทุรกันดารต่างๆ ทั่วโลก”

นอกจากการบริจาคเงินแล้วยังรวมไปถึงการพัฒนา และการเข้าถึงแหล่งน้ำที่สะอาดนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) ที่องค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UN Thailand) ได้กำหนดไว้เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจช่วยให้มีระบบนิเวศที่ดีและเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิต

จากการวิจัยของ World Bank พบว่ายังมีประชากรทั่วโลกกว่า 2.2 พันล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดเพื่อบริโภคได้ประชากรกว่า 4.2 พันล้านคนที่ไม่ได้รับบริการด้านสุขอนามัยที่ดีและประชากรอีกกว่า 3 พันล้านคนไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือขั้นพื้นฐานช่องว่างในการเข้าถึงแหล่งน้ำและการสุขาภิบาลเกิดจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการใช้น้ำมากขึ้นรวมถึงความแปรปรวนของสภาพอากาศในปัจจุบันซึ่งส่งผลให้เกิดกระทบในหลายพื้นที่ทั่วโลกน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจและช่วยในการพัฒนาแหล่งชุมชนอย่างยั่งยืน

โครงการ Water for All ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกที่เมือง Anden ในอเมริกาใต้ต่อมาก็ได้ขยายไปไปยังถิ่นธุรกันดารอีกหลายประเทศทั่วโลกอาทิประเทศจีนประเทศอินเดียรวมถึงประเทศต่างๆ ในแถบแอฟริกา

ทาง Atlas Copco มีความเชื่อว่าแค่น้ำก็สามารถเปลี่ยนชีวิตได้คนทั่วโลกต้องการเข้าถึงน้ำสะอาดต้องการช่วยให้ผู้คนเหล่านี้บรรลุเป้าหมายเพราะเชื่อว่าน้ำสะอาดเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน

ทางด้าน ซานเจย์ ซาฟายา กรรมการผู้บริหารบริษัท แอตลาส คอปโก้ (ประเทศไทย) จำกัด เสริมว่า

“สำหรับโครงการ Water for All ในประเทศไทยได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 แล้วในปี พ.ศ. 2564 ได้เดินทางไปพัฒนาระบบน้ำประปา และก่อสร้างถังเก็บน้ำให้กับหมู่บ้านบนดอยจำนวน 3 หมู่บ้านในจังหวัดเชียงรายได้แก่หมู่บ้านแม่ตาซาง, หมู่บ้านบาลาห์และหมู่บ้านร่วมใจ ครอบคลุมช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2564 โครงการได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท แอตลาส คอปโก้ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นจำนวนเงินรวมทั้งหมดประมาณ 400,000 บาท”

โครงการนี้จะช่วยลดปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำทั้ง 3 หมู่บ้าน เพื่อให้มีน้ำเพียงพออย่างน้อย 50 ลิตรต่อวันตามที่ระบุไว้ในมาตรฐานสากล (มาตรฐานด้านมนุษยธรรม SPHERE) สำหรับการใช้งานต่อวันสำหรับการบริโภค และการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล

ด้วยการสนับสนุนการเงินจาก Atlas Copco และการช่วยเหลือด้านการจัดการของบริษัทแพลนอินเตอร์เนชั่นแนลประเทศไทยได้ส่งเสริมชุมชนเพื่อสร้างถังเก็บน้ำในบ้านร่วมใจและท่อส่งน้ำแรงโน้มถ่วงที่บ้านแม่ตาช้างและบ้านบาลาร์ได้สำเร็จ ส่งผลให้โครงการตอบสนองการเข้าถึงแหล่งน้ำสำหรับประชากรในหมู่บ้านจำนวน 1,969 คน

ซึ่งหมายความว่ามีน้ำเพียงพอตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งซึ่งจะมีปริมาณน้ำที่พอเพียงสำหรับสมาชิกในครัวเรือนเพื่อที่จะสามารถทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้มากขึ้นสำหรับชุมชนเหล่านี้อีกทั้งยังจะช่วยให้เด็กและเยาวชนมีความปลอดภัยโดยไม่จำเป็นต้องไปตักน้ำจากแหล่งน้ำที่ไกลจากชุมชนอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า Atlas Copco มีความมุ่งมั่นในการสร้างความยั่งยืนในทุกมิติทั้งการพัฒนาสินค้าและนวัตกรรมต่างๆเพื่อประหยัดพลังงานนำไปสู่การลดต้นทุนลดการปล่อยสารพิษได้อย่างมหาศาลอีกทั้งยังมีโครงการที่สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชมและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย

 

]]>
1378499
‘ION’ จับโอกาสธุรกิจโซลาร์ ดีลเเบรนด์อสังหาฯ บุกตลาด ‘ครัวเรือน-องค์กรเล็ก’ ทุนน้อย https://positioningmag.com/1370724 Fri, 21 Jan 2022 14:51:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370724 เทรนด์ของ ‘พลังงานหมุนเวียน’ กำลังได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลก ด้วยเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อช่วยให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น รัฐบาลประเทศต่างๆ องค์กรทั้งหลาย ต่างมุ่งสู่นโยบาย ‘Net Zero’ หน่วยงานขนาดใหญ่เริ่มปฏิรูปการใช้พลังงานรูปแบบดั้งเดิมไปสู่พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประชาชนผู้เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย และองค์กรขนาดกลาง-ขนาดย่อม ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียน เนื่องจากราคาอุปกรณ์และการติดตั้งยังมีต้นทุนสูง

จาก Pain Point ของผู้บริโภคเหล่านี้ ทำให้ ‘ไอออน เอนเนอร์ยี่’ หรือ ION บริษัทจัดหาโซลูชันพลังงานโซลาร์ครบวงจรในกลุ่มบางกอกเคเบิ้ล ผู้ผลิตสายไฟฟ้ารายใหญ่ในประเทศไทย มองเห็นโอกาสตลาด เปิดตัวโมเดลธุรกิจใหม่ ให้กลุ่มผู้ใช้รายย่อย ภาคครัวเรือน และองค์กรธุรกิจ เข้าถึงพลังงานสะอาดได้ ด้วยการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปโดย ‘ไม่มีค่าใช้จ่าย’ ในการจัดซื้ออุปกรณ์และค่าติดตั้ง

โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบ Private PPA ที่ลูกค้าจ่ายเพียงค่าใช้ไฟตามจริงด้วยราคาที่ต่ำกว่าการไฟฟ้า 20-50% เเละเมื่อครบสัญญา 15 ปีก็จะได้รับโอนแผงโซลาร์ให้กับผู้ใช้ไฟฟรี ทำให้สามารถใช้ไฟได้ฟรีไปได้อีก 10 ปี หรือตลอดอายุการใช้งาน

บุกตลาด ‘รายย่อย’ ด้วยข้อเสนอติดตั้งฟรี 

“ตอนนี้ยังไม่มีผู้เล่นรายใหญ่ลงมาลงเล่นในตลาดเล็กมากนัก เพราะโฟกัสกับโปรเจกต์ใหญ่ (3MW ขึ้นไป) มากกว่า ซึ่งนับเป็นโอกาสของเราที่จะเข้าเจาะตลาดรายย่อย เน้นงานที่อยู่อาศัย ดีลกับภาคอสังหาฯ รวมถึงบริษัทขนาดเล็กเเละขนาดกลาง เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานสะอาดให้ได้มากที่สุด” พีรกานต์ มานะกิจ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ จำกัด กล่าว

สำหรับรูปแบบการให้บริการของไอออน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้เเก่

  • Private PPA

ติดตั้งโซลาร์ฟรี ผ่านสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เหมาะกับองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีค่าไฟตั้งแต่ 500,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป โดยที่ ION จะให้บริการจัดหาและติดตั้งแผงโซลาร์และระบบสายไฟฟ้า รวมถึงเชื่อมต่อการให้บริการผ่านแอปพลิเคชัน ให้กับผู้ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งลูกค้าจะมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นแค่ในส่วนของค่าไฟฟ้าที่ใช้จริงในแต่ละเดือนเท่านั้น

ทั้งนี้ค่าไฟฟ้าจากการใช้บริการแบบ PPA นี้จะมีราคาต่ำกว่าการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าขั้นต่ำประมาณ 20-50% (ขึ้นกับขนาดการติดตั้ง) โดย ION จะทำสัญญาการใช้ไฟฟ้ากับลูกค้าเป็นระยะเวลา 15 ปี เมื่อครบสัญญาลูกค้าจะสามารถใช้ไฟฟ้าได้ฟรีไปอีกถึง 10 ปี หรือตามอายุของแผงโซลาร์ ซึ่งปัจจุบันมีอายุการใช้งานขั้นต่ำ 25 ปี

  • EPC

เป็นการให้บริการในรูปแบบ “รับเหมา” ออกแบบ จัดหา และติดตั้งระบบโซลาร์ให้กับลูกค้า ด้วยการบริการแบบมืออาชีพ และอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน พร้อมการขออนุญาตกับหน่วยงานรัฐ สามารถติดตั้งได้ทุกขนาดตั้งแต่ 1.5 กิโลวัตต์ขึ้นไป เหมาะสำหรับบ้านเดี่ยว ภาคครัวเรือนและโครงการอสังหาริมทรัพย์ เช่นบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม โฮมออฟฟิศ รวมไปถึงองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ธุรกิจโซลาร์ เติบโตเร็ว 

สำนักวิจัยธนาคารกรุงไทยได้คาดการณ์ว่า ธุรกิจโซลาร์ภาคเอกชนแบบ PPA จะเติบโตขั้นต่ำ 30% ต่อปีหรือเติบโต 13.4 เท่า ภายใน 10 ปี จากปี 2563 ที่มีอยู่ 670 เมกะวัตต์ เป็น 9,000 เมกะวัตต์ในปี 2573

สำหรับผลงานในปี 2564 บริษัทได้ทำการติดตั้งโซลาร์โซลูชันให้ลูกค้าไปแล้วกว่า 400 โครงการ คิดเป็นกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 5 เมกะวัตต์ ซึ่งเน้นเจาะตลาดลูกค้าติดตั้งโซลาร์ขนาดไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ มีทั้งลูกค้ากลุ่ม PPA และ EPC ทั้งภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และบ้านเดี่ยว ยกตัวอย่างเช่น บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) โรงแรมเดอะสแตนดาร์ด หัวหิน บริษัทโรงงานแม่รวย (ผู้ผลิตและจำหน่ายถั่วลิสง “โก๋แก่”) รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอีกหลายแห่ง

ในปีนี้ ION ตั้งเป้าหมายเจาะกลุ่มลูกค้าควบคู่กันทั้งธุรกิจโซลาร์ภาคประชาชนทั้งแบบ PPA และ EPC คาดว่าจะมีโครงการติดตั้งใหม่รวมกำลังผลิตไฟฟ้า 25 เมกะวัตต์ หรือเป็นการติดตั้งราว 2,000 โครงการ รวมมูลค่าโครงการ 625 ล้านบาท แบ่งเป็น PPA จำนวน 15 เมกะวัตต์ และ EPC จำนวน 10 เมกะวัตต์ ซึ่งจะประกอบไปด้วยลูกค้าภาคครัวเรือนและบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ “พร้อมตั้งเป้าหมายในระยะยาวให้มีสัดส่วนลูกค้า PPA 70% และ EPC 30%”

ด้านเป้าหมายการเติบโตในระยะ 5 ปี นับจากปี 2565-2570 จะมีการติดตั้งโซลาร์โซลูชันกำลังการผลิตไฟฟ้า 150 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นมูลค่าโครงการ 3,750 ล้านบาท สอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมโซลาร์

โดยรายได้หลักของ ION ส่วนใหญ่จะมาจาก ‘ส่วนลดค่าไฟ’ เเละข้อได้เปรียบเรื่องต้นทุนการผลิตที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับระยะเวลาการใช้งาน

เปิดเเพลตฟอร์มให้ใช้ได้หลายๆ เเบรนด์ 

อีกหนึ่งความน่าสนใจคือ แอปพลิเคชั่น solar monitoring & payment platform ซึ่งพัฒนามาเพี่อรองรับไลฟ์สไตล์ผู้ใช้งานในปัจจุบัน ที่สามารถตรวจสอบการทำงานของระบบโซลาร์ ทั้งการผลิตและการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงกำลังการใช้ไฟฟ้า และยังสามารถชำระค่าไฟฟ้าผ่านแอปพลิเคชันได้ด้วย

ในอนาคตจะพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบ IoT เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เเละ เปิดระบบให้ใช้ได้กับหลากหลายเเบรนด์ทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะการติดตั้งของ ION เท่านั้น

ลุยจับมือเเบรนด์อสังหาฯ พร้อมกลยุทธ์บอกต่อ 

เมื่อถามถึงกลยุทธ์การตลาดที่จะทำให้พลังงานโซลาร์ครบวงจรให้เข้าถึงลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นนั้น ผู้บริหาร ION ตอบว่า

ในส่วนของกลุ่มที่อยู่อาศัย จะเน้นไปที่การจับมือกับเเบรนด์อสังหาฯ ทั่วประเทศ เพื่อเสนอเเพ็กเกจราคารวมการติดตั้งให้สำหรับบ้านใหม่

ส่วนกลุ่มที่อยู่อาศัยที่เป็น ‘บ้านเก่า’ จะมุ่งทำการตลาดโดยสื่อสารกับรายย่อยมากขึ้น อย่างการโปรโมตเเละให้ความรู้ผ่านสื่อโซเชียล รวมไปถึงจะมีการนำสินค้าไปโชว์ตามโมเดิร์นเทรดเพื่อให้ลูกค้าได้เห็นของจริง

ด้านธุรกิจขนาดเล็กเเละขนาดกลาง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ บริษัทจะใช้กลยุทธ์ ‘ป่าล้อมเมือง’ ไม่จำกัดเฉพาะหัวเมืองใหญ่ เเต่จะไปรอบนอกก่อน ด้วยการส่งทีมที่ปรึกษาไปหาลูกค้าเอง

นอกจากนี้ ยังมีกลยุทธ์บอกต่อเเบบ ‘ปากต่อปาก’ โดยจะมีการให้ค่าเเนะนำสำหรับผู้ที่บอกเพื่อน ญาติมิตรหรือคนรู้จักที่ใช้ค่าไฟตั้งแต่ 500,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปมาติดตั้งโซลาร์เเบบ PPA กับบริษัทด้วย

“การเจาะตลาดกลุ่มผู้ใช้รายย่อย โดยเฉพาะการติดตั้งตามที่อยู่อาศัย ถือเป็นตลาดที่คู่แข่งบริษัทขนาดใหญ่ไม่สนใจลงมาแข่งขัน เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้มีข้อจำกัดด้านเงินทุน ซึ่งหากสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนให้เป็นพลังงานสะอาดได้ ก็จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมหาศาล”

 

]]>
1370724
ส่องบทบาท VISTEC มหาวิทยาลัยแนวหน้าแห่งวงการนวัตกรรมไทย ส่งนักวิทย์คว้ารางวัลระดับประเทศ https://positioningmag.com/1356107 Tue, 12 Oct 2021 10:00:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356107

6 ปีหลัง “สถาบันวิทยสิริเมธี” หรือ VISTEC ก่อตั้งขึ้น จากการมุ่งเป้าเป็นมหาวิทยาลัยแนวหน้าของไทยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม วันนี้ผลงานของสถาบันฯ ผลิดอกออกผล “ศ.ดร.วินิช พรมอารักษ์” บุคลากรของสถาบันได้ “นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2564” ด้วยผลงานการคิดค้นเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ยุคใหม่และนวัตกรรมไฟส่องสว่างอนาคตเพื่อการปฏิรูปพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน (New Solar Cell and Innovative Lighting Technology for Renewable Energy Transformation) โดยสถาบันฯ ยังมีผลงานวิจัยอีกมากที่จะพลิกวงการวิทยาศาสตร์ไทย เช่น แบตเตอรีลิเธียมไอออน หุ่นยนต์ เศรษฐกิจหมุนเวียนจากขยะอินทรีย์

คำกล่าวที่ว่า “ประเทศไทยมีนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยน้อยเกินไป” ไม่ใช่คำกล่าวเกินจริงเลย วัดได้จากข้อมูลของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) พบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาที่ทำวิจัยเทียบเท่าเต็มเวลาอยู่เพียง 20 คนต่อประชากร 10,000 คน และถ้าคิดสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยต่อจีดีพีประเทศ จะคิดเป็นเพียง 1.11% เท่านั้น

จากความขาดแคลนนักวิจัยดังนี้ กลุ่ม ปตท. และผู้ร่วมสนับสนุน จึงจัดตั้ง “สถาบันวิทยสิริเมธี” หรือ VISTEC ขึ้นเมื่อปี 2558 ตั้งอยู่ในวังจันทร์ วัลเลย์ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EECi) จ.ระยอง เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนเฉพาะระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และสนับสนุนนักวิจัยเป็นรายโครงการ เรียกได้ว่าพุ่งเป้าไปที่การศึกษาขั้นสูงและการวิจัย ตรงจุดความต้องการของประเทศ


สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)

นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ที่กำลังหาสถานที่เรียนต่อหรือทำวิจัย VISTEC จึงเป็นหนึ่งสถาบันการศึกษาที่น่าสนใจ ที่นี่จะมี 4 สาขาวิชาให้เลือก คือ 1) สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล (School of Molecular Science and Engineering: MSE) 2) สำนักวิชาวิทยาการพลังงาน (School of Energy Science and Engineering: ESE) 3) สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชีวโมเลกุล (School of Biomolecular Science and Engineering: BSE) และ 4) สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (School of Information Science and Technology: IST) ซึ่งตามการคาดการณ์ของ OECD Megatrends ความรู้ทางด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ไบโอเทค วัสดุขั้นสูง และดิจิทัล จะเป็นวิทยาการสำคัญของโลก!


ตัวอย่างการวิจัยภายในสาขาต่างๆ ที่เปิดสอน

เป้าหมายระยะยาวของ VISTEC ต้องการเป็นผู้นำการสร้างองค์ความรู้และนักวิทยาศาสตร์นักวิจัยรุ่นใหม่ในด้านต่างๆ ให้กับประเทศ มีความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำของไทย ทำให้งานของนักวิจัยจะถูกนำไปใช้กับภาคอุตสาหกรรมจริง เกิดประโยชน์ต่อมนุษยชาติ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาไปสู่การเป็นประเทศผู้พัฒนานวัตกรรมได้

ผลงานด้านวิชาการของ VISTEC ยังได้รับการยอมรับ โดย Nature Index เมื่อปี 2563 จัดอันดับให้สถาบันวิทยสิริเมธีเป็นอันดับ 1 ของไทยและอันดับ 3 ของอาเซียนในด้านสาขาเคมี เป็นอันดับ 2 ของไทยในภาพรวมทุกสาขาวิชา ปัจจุบัน พฤษภาคม 2564 เป็นอันดับหนึ่งของไทยในทุกสาขาวิชา และถือเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 12 ของโลกในหมวดมหาวิทยาลัยที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี

ล่าสุด อีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่า VISTEC ได้สนับสนุนสร้างผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ คือการที่คณะกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประกาศให้ “ศ.ดร. วินิช พรมอารักษ์” นักวิจัยวัสดุนาโน สำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล (School of Molecular Science and Engineering) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ผู้คิดค้น “เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ยุคใหม่และนวัตกรรมไฟส่องสว่างอนาคตเพื่อการปฏิรูปพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน” (New Solar Cell and Innovative Lighting Technology for Renewable Energy Transformation) ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2564 และได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 400,000 บาท


“ศ.ดร. วินิช พรมอารักษ์” นักวิจัยวัสดุนาโนสำนักวิชาวิทยาการโมเลกุล สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)

ศ.ดร.วินิช อธิบายว่า “เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ยุคใหม่และนวัตกรรมไฟส่องสว่างอนาคตเพื่อการปฏิรูปพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน” เป็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวัสดุกึ่งตัวนำอินทรีย์แบบใหม่ วัสดุกึ่งตัวนำอินทรีย์นี้เป็นสารประกอบของคาร์บอน นำมาออกแบบใหม่ในระดับโมเลกุลให้มีคุณสมบัติเปล่งแสงได้ดี ดูดกลืนแสงได้ดี หรือนำไฟฟ้าได้ดี เป้าหมายคือนำมาใช้แทนวัสดุกึ่งตัวนำซิลิคอนที่ใช้กันในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมวัสดุใหม่ที่นำไปใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น หน้าจอ OLED, เซลล์แสงอาทิตย์, วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ยืดหยุ่นพับงอได้ (แบบที่ใช้ในหน้าจอสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ) การวิจัยครั้งนี้ต้องใช้ความรู้ทั้งด้านเคมี วัสดุศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่จะต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์


ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เยี่ยมชมบูธนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น

งานวิจัยของ ศ.ดร.วินิช ไม่ใช่หัวข้อเดียวที่เกิดขึ้นในสถาบันวิทยสิริเมธี ทั้งนักศึกษาและนักวิจัยใน VISTEC ต่างเลือกหัวข้อวิจัยที่จะมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ยกตัวอย่างหัวข้องานวิจัยปี 2564 ด้านพลังงานมีการวิจัยเรื่อง “เทคโนโลยีกักเก็บพลังงานไฟฟ้า” พัฒนาแบตเตอรีลิเธียมไอออนให้เก็บพลังงานได้มากขึ้น อายุใช้งานนานขึ้น ซึ่งสำคัญมากในยุคนี้ที่ความต้องการใช้แบตเตอรีเติบโตสูง หรือด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ มีการวิจัย “ระบบอัจฉริยะของโครงกระดูกรยางค์ล่างภายนอก” สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยที่ต้องฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวตัวช่วงล่าง

ด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมก็น่าสนใจเช่นกัน เพราะมี “โครงการขยะเพิ่มทรัพย์ C-ROS” เข้าเทรนด์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เป็นงานวิจัยที่รวมความรู้แบบสหวิทยาการ ต้องการเปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ไบโอเทคได้แบบมีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าทำสำเร็จ ประเทศไทยเราก็จะเป็น “สังคมไร้ขยะ” ได้จริง

อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับดิจิทัล หุ่นยนต์ ไบโอเทค ฯลฯ คือความหวังการสร้างเศรษฐกิจ “New S-Curve” ในประเทศไทย และนักศึกษา-นักวิจัยใน VISTEC ทั้งที่จบการศึกษาแล้วหลายรุ่น รวมถึงที่ยังศึกษาอยู่กว่า 300 คนขณะนี้ จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวงการนวัตกรรมแห่งอนาคต!

]]>
1356107
ไม่ได้ขายแค่หลอดไฟ! IKEA จะขาย “ไฟฟ้า” พลังงานสะอาด เริ่มประเทศแรกที่สวีเดน https://positioningmag.com/1347689 Thu, 19 Aug 2021 07:24:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347689 IKEA ยักษ์เฟอร์นิเจอร์สแกนดิเนเวีย ขยายธุรกิจสู่การขาย “ไฟฟ้า” โดยรับรองว่าเป็นไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดเท่านั้น เริ่มที่แรกในสวีเดน และมีแผนขยายไปทุกประเทศที่บริษัทดำเนินการอยู่ภายในปี 2025 ก่อนหน้านี้ IKEA เริ่มก้าวเข้าสู่วงการพลังงานโดยขายโซลาร์เซลล์อยู่แล้วใน 11 ประเทศ

บริษัท Ingka เจ้าของแบรนด์ร้านเฟอร์นิเจอร์ IKEA ประกาศเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2021 ว่า บริษัทเตรียมเปิดรับสมัครสมาชิกเพื่อใช้กระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยเรียกบริการนี้ว่า STRÖMMA (สเตรียมม่า) จะเริ่มให้บริการครั้งแรกที่สวีเดน ก่อนจะขยายไปยังทุกประเทศที่ Ingka ดำเนินการอยู่ภายในปี 2025

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า การเปิดบริการใหม่ของ IKEA ทำได้เพราะบริษัทแม่ Ingka เป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัท Svea Solar ผู้ผลิตโซลาร์พาเนลที่วางขายกับ IKEA อยู่แล้ว และ Svea Solar จะจัดซื้อไฟฟ้าจากบริษัท Nord Pool ผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนไฟฟ้า นำมาบริการแก่สมาชิกที่จะรับซื้อไฟฟ้าเข้าบ้านเรือนโดยไม่มีการคิดค่าไฟฟ้าเพิ่มเติมจากต้นทุน แต่มีค่าธรรมเนียมคงที่ต่อเดือน

พลังงานไฟฟ้าที่ IKEA จำหน่ายจะมาจากพลังงานหมุนเวียน เช่น โซลาร์ พลังงานลม โดยมีแอปพลิเคชันให้ติดตามการใช้ไฟฟ้าของตัวเองได้ด้วย

(Photo : Ingka Group)

บริการใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจของ IKEA ที่ต้องการผลักดันด้านพลังงานสะอาดมาตั้งแต่ปี 2016 โดยมีการเปิดขายโซลาร์พาเนลใน IKEA ทั้งหมด 11 ประเทศ สำหรับให้ลูกค้านำไปติดตั้งใช้เองที่บ้าน และใช้แอปฯ ติดตามการใช้ไฟฟ้าได้เช่นกัน

IKEA มีการลงทุนไปแล้ว 2,500 ล้านยูโร (ประมาณ 97,600 ล้านบาท) เพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟ 935,000 ชิ้นบนหลังคาร้านและโกดังของบริษัท รวมถึงลงทุนฟาร์มโซลาร์ 10 แห่งและกังหันลม 547 ตัว เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าใช้ในบริษัท ร้านค้า โกดังของตนเอง

ล่าสุดเมื่อเดือนเมษายนปีนี้ บริษัทประกาศตั้งงบลงทุนเพิ่มอีก 4,000 ล้านยูโร (ประมาณ 1.56 แสนล้านบาท) เพื่อใช้พัฒนาด้านพลังงานสะอาดจนถึงปี 2030 งบก้อนนี้จะพัฒนาการติดตั้งแบตเตอรี่กักเก็บไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และติดตั้งแท่นชาร์จรถ EV และรถพลังงานไฮโดรเจน เนื่องจากจะเริ่มเปลี่ยนรถตู้ขนส่งสินค้าของ IKEA เป็นรถพลังงานหมุนเวียน

“ที่ IKEA เราต้องการเป็นบริษัทที่ใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างสมบูรณ์และสร้างผลเชิงบวกให้กับภูมิอากาศภายในปี 2030 โดยใช้พลังงานและทรัพยากรหมุนเวียน เราเชื่อมั่นว่าอนาคตของพลังงานคือพลังงานหมุนเวียน และเราต้องการทำให้ไฟฟ้าจากแหล่งที่มีความยั่งยืนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและราคาถูกลงสำหรับทุกคน” ยาน การ์ดเบิร์ก ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจรีเทลใหม่ Ingka Group กล่าว

สินค้าที่ขายใน IKEA ยังตอบรับภารกิจเพื่อโลกนี้ด้วย โดยบริษัทงดขายหลอดไฟที่ไม่ใช่ไฟ LED ไปแล้ว และกำลังจะหยุดขายถ่านอัลคาไลน์ที่ไม่สามารถชาร์จซ้ำได้

Source: TechCrunch, Electrek, The Guardian

]]>
1347689
รู้จักโซลาร์เซลล์ 3 ชนิด ข้อดี-ข้อด้อยคืออะไร? และทำไมยุคนี้โซลาร์ฟาร์มมักลอยอยู่ในน้ำ? https://positioningmag.com/1320970 Tue, 02 Mar 2021 04:00:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320970

ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับการใช้ “พลังงานหมุนเวียน” แทนฟอสซิล เพราะเป็นพลังงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและยั่งยืนกว่าในการผลิต โดยมี “พลังงานแสงอาทิตย์” เป็นหนึ่งในประเภทพลังงานหมุนเวียนที่ได้รับความนิยม ในอนาคตเราจะได้เห็นแผง “โซลาร์เซลล์” อยู่รอบตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่กลางที่โล่งกว้าง บนผืนน้ำ ไปจนถึงบนหลังคาบ้าน

เมื่อพลังงานแสงอาทิตย์เป็นที่นิยม แผงโซลาร์เซลล์ก็ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นและมีตัวเลือกหลากหลายขึ้น โซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่จะผลิตขึ้นจากธาตุซิลิคอนซึ่งมักจะพบในทราย ส่วนแหล่งผลิตแผงโซลาร์เซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือ ประเทศจีนนี่เอง

แม้แผงโซลาร์เซลล์ส่วนใหญ่จะผลิตจากธาตุซิลิคอนเหมือนกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างในรายละเอียด ปกติโซลาร์เซลล์ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิดและมีข้อดีข้อด้อยต่างกัน ดังนี้

1. “โมโน” – แผงโซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Solar Cells)

แผงโมโนเป็นชนิดที่ดีที่สุดในท้องตลาด สามารถสังเกตหน้าตาได้จากลักษณะจะเป็นช่องสี่เหลี่ยมตัดมุมเรียงต่อกัน ทำให้ดูเหมือนมีจุดขาวๆ อยู่ตลอดทั้งแผง

แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้ผลิตจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง เพราะใช้ซิลิคอนชิ้นเดียวในการผลิตเซลล์แต่ละชิ้น ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงตามไปด้วยโดยอยู่ที่ 17-20% และมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด สามารถใช้ได้นานมากกว่า 25 ปี

แต่ข้อเสียที่มาพร้อมกับประสิทธิภาพที่ดีก็คือ “ราคา” จะสูงตามไปด้วย รวมถึงเป็นชนิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าในการผลิต เพราะการใช้ซิลิคอนชิ้นเดียว ทำให้ต้องมีการตัดซิลิคอนให้ได้รูป และจะมีซิลิคอนเหลือเป็นขยะระหว่างกระบวนการผลิต

ทั้งนี้ เนื่องจากราคาที่สูงทำให้การใช้งานส่วนใหญ่จะใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น แผงโซลาร์เซลล์แบบพกพา กระเป๋าโซลาร์เซลล์ แต่ประเทศแถบยุโรปมีการใช้แผงแบบโมโนในการตั้งโซลาร์ฟาร์มเช่นกัน

2. “โพลี” – แผงโซลาร์เซลล์แบบโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Solar Cells)

แผงโพลีมีคุณภาพรองลงมาจากแผงโมโน หน้าตาของแผงแบบนี้จะดูเหมือนตารางสี่เหลี่ยม โดยบริเวณเหลี่ยมจะไม่มีการตัดมุมเหมือนแผงโมโน

การผลิตแผงโพลีจะใช้ซิลิคอนอัดรวมกันเป็นแผง ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ 15-19% เห็นได้ว่าประสิทธิภาพแตกต่างกับแผงโมโนไม่มากนัก แถมยังมีราคาถูกกว่า และลดการทิ้งขยะเศษเหลือของซิลิคอนระหว่างผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อายุการใช้งานก็ยาวนานไม่แพ้กันนัก โดยใช้ได้นานประมาณ 20 ปี

แผงโพลียังมีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดี ทำให้เป็นชนิดโซลาร์เซลล์ที่นิยมมากในโซลาร์ฟาร์มเขตเมืองร้อนรวมถึงประเทศไทยด้วย

3. “อมอร์ฟัส” – แผงโซลาร์เซลล์แบบอมอร์ฟัส (Amorphous Solar Cells)

แผงแบบอมอร์ฟัสนั้นเป็นประเภทที่ไม่ได้ใช้ซิลิคอนผลิต แต่เป็นการใช้ Thin Film Technology เคลือบ “สาร” ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้ไว้บนแผงที่ทำมาจากแก้วหรือพลาสติก หน้าตาของแผงจะมีลายเส้นตรงถี่ๆ เรียงต่อกัน ไม่ได้เป็นตารางเหมือนอีกสองชนิดข้างต้น

ข้อดีของแผงแบบนี้คือราคาถูกที่สุด และสามารถทำงานได้แม้จะอยู่ในที่แสงน้อย รวมถึงการเคลือบสารบนพลาสติกได้ ทำให้ถูกนำไปปรับใช้กับพื้นที่ที่มีความโค้งมน เช่น ติดตั้งบนพื้นผิวของยานพาหนะ แน่นอนว่าเป็นสารเคลือบ ไม่ใช่ซิลิคอน ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าของแผงอมอร์ฟัสจะไม่สูงนัก และอายุการใช้งานสั้นประมาณ 5 ปีเท่านั้น

ปัจจุบันแผงแบบอมอร์ฟัสมักจะใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ต้องการไฟฟ้าต่ำ เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกา

โซลาร์ฟาร์ม “ลอยน้ำ” กำลังมาแรง

ดังที่กล่าวไปว่าทั่วโลกให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนสูงขึ้นมาก จนหลายประเทศตั้งเป้าให้พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งไฟฟ้าหลักแล้ว มิใช่เป็นเพียงแหล่งพลังงานเสริมเท่านั้น

นอกจากนี้ ในหลายประเทศมีการตั้งโซลาร์ฟาร์มเพื่อผลิตพลังงาน และหนึ่งในการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มที่นิยมกันคือแบบ “ลอยน้ำ” เพราะมีข้อดีที่เหนือกว่าการติดตั้งบนบกคือ ลดการใช้พื้นที่ดินที่สามารถนำไปทำประโยชน์อื่นได้ และลดการถางป่าหรือโยกย้ายบ้านเรือนประชาชนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว รวมถึงการลอยในน้ำยังมีผลดีกับตัวแผงโซลาร์เซลล์ด้วยเพราะช่วยลดโอกาสเกิดความร้อนเกินขีดจำกัดของแผง

โดยแผงโซลาร์ลอยน้ำสามารถติดตั้งได้ทั้งในอ่างเก็บน้ำ เขื่อน ทะเล ฯลฯ หรือกรณีตัวอย่างในประเทศจีน มีการใช้เหมืองเก่าเมืองหวยหนาน มณฑลอันฮุย ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้วและมีน้ำท่วมขัง นำพื้นที่มาติดตั้งโซลาร์ฟาร์มแบบลอยน้ำแทน ทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาอีกครั้ง

เมืองไทยก็มีแล้ว! โครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำทะเล กลุ่ม ปตท.

ไม่เฉพาะต่างประเทศที่พัฒนาโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำ ในประเทศไทยก็มีการพัฒนาแล้วเช่นกัน โดย กลุ่ม ปตท. เพิ่งเปิดตัว “โครงการระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดลอยน้ำทะเล” (Floating Solar on Sea) ไปเมื่อปี 2563 โดยโครงการนี้ตั้งอยู่ที่ บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด ต.มาบตาพุด อ.เมือง จ.ระยอง และถือเป็นโครงการโซลาร์ลอยน้ำทะเลแห่งแรกของประเทศไทย

โซลาร์ฟาร์มลอยน้ำทะเลโครงการนำร่องนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100 กิโลวัตต์ และเป็นโครงการที่เกิดจากการนำความเชี่ยวชาญหลายแขนงของบริษัทในกลุ่ม ปตท. มาร่วมมือกันผลิตแผงโซลาร์ลอยน้ำ โดยให้ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เป็นผู้พัฒนานวัตกรรมเมล็ดพลาสติกเกรดพิเศษ InnoPlus HD8200B เพื่อผลิตทุ่นลอยน้ำ โดยมีการเพิ่มสารต้านการยึดเกาะและลดการสะสมของเพรียงทะเล ซึ่งมีความปลอดภัยเพราะเป็นวัสดุที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานการสัมผัสอาหาร ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ทะเล รวมทั้งทนทานต่อการใช้งานกลางแจ้งด้วยสารเติมแต่งที่ป้องกันรังสี UV ทำให้มีอายุการใช้งานนาน 25 ปี ส่วนการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าเป็นนวัตกรรมของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด (CHPP) ในเครือ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ความท้าทายของโครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำทะเล คือต้องมีความทนทานต่อรังสี UV ความชื้น และความเค็มในทะเล สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มีคุณภาพ เป็นมิตรกับสัตว์น้ำ การติดตั้งต้องคำนึงถึงการขึ้นลงของน้ำทะเลและคลื่นลม ซึ่งก่อนจะติดตั้งโครงการ ปตท. ได้พัฒนาจนผ่านการทดสอบทั้งหมดแล้ว

นับจากนี้ ปตท. จะมีการนำไฟฟ้าใช้ในกลุ่มบริษัทเพื่อศึกษาข้อมูลการใช้งาน โดยมุ่งหวังยกระดับให้เป็นธุรกิจพลังงานรูปแบบใหม่ (New Energy Business) ของกลุ่ม เพื่อสร้างแหล่งพลังงานใหม่ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโลกใบนี้

]]>
1320970
เอาจริง! “เวียดนาม” ตั้งเป้าเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าจาก “พลังงานทดแทน” เป็นเท่าตัวภายในปี 2030 https://positioningmag.com/1300606 Thu, 08 Oct 2020 08:01:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300606 “เวียดนาม” ตั้งเป้าเปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้าจาก “พลังงานทดแทน” สูงขึ้นเป็นเท่าตัว หรือคิดเป็น 15-20% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศภายในปี 2030 เพื่อลดการพึ่งพิงถ่านหินและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สาเหตุโลกร้อน

รัฐบาลเวียดนามเปิดเผยเป้าหมายด้านพลังงานบนเว็บไซต์รัฐบาลเมื่อวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานทดแทนรูปแบบอื่นๆ จะคิดเป็นสัดส่วน 15-20% ของซัพพลายพลังงานในเวียดนามภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ จากปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 10%

เป้าหมายนี้จะทำให้รัฐบาลสามารถทำตาม ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เมื่อปี 2015 ได้สำเร็จ โดยคำมั่นสัญญาที่เวียดนามให้ไว้ขณะนั้นคือ ภายในปี 2030 เวียดนามจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยตนเองเป็นสัดส่วน 8% หรือจะเพิ่มเป็น 25% หากได้รับการสนับสนุนทุนจากต่างประเทศ

เป้าหมายแรกคือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 15% ภายในปี 2030 และยังตั้งเป้าขั้นถัดไป ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20% ภายในปี 2045

ที่ผ่านมาเวียดนามมีการสนับสนุนการลงทุนด้านพลังงานทดแทนในหลายทิศทาง เช่น เงินสนับสนุนจากรัฐให้กับเอกชนหรือบุคคลที่ลงทุนผลิตพลังงานทดแทนเอง รวมถึงสิทธิให้บริษัทเอกชนสามารถจำหน่ายพลังงานตรงแก่ผู้บริโภคได้

 

เวียดนามใช้ไฟฟ้าเพิ่มปีละ 10%

สถานการณ์การใช้พลังงานปัจจุบันของเวียดนามยังต้องพึ่งพิงถ่านหินเป็นหลัก และมีแนวโน้มการใช้พลังงานเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละ 10% เนื่องจากเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วของประเทศ ส่วนแหล่งพลังงานอันดับสองของเวียดนามคือไฟฟ้าพลังงานน้ำจากเขื่อน

ประเทศเวียดนามกำลังเติบโตและต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงขึ้นปีละ 10% จากโรงงานผลิตที่ย้ายฐานเข้ามา และชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น (Photo : Shutterstock)

แม้ว่าจะมีเป้าหมายสนับสนุนพลังงานทดแทน รวมถึงความกังวลต่อปัญหามลพิษของประเทศ ความต้องการพลังงานก็ทำให้เวียดนามยังมีแผนสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มอีกตาม แผนการพัฒนาพลังงานฉบับที่ 7

อย่างไรก็ตาม เซซิเลีย เจิ้ง นักวิเคราะห์ด้านธุรกิจพลังงานจาก IHS Markit มองว่า ครึ่งหนึ่งของแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตามแผน 7 นี้ยังมีโอกาสถูกยกเลิกหรือเลื่อนออกไปได้ ท่ามกลางเสียงเรียกร้องของนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมให้รัฐบาลยกเลิกแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยมีปัจจัยจูงใจเพิ่มคือแหล่งทุนอย่าง OCBC ธนาคารสิงคโปร์ กับ รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ถอนตัวจากการลงทุนไปแล้ว

เจิ้งยังระบุด้วยว่า แผนการพัฒนาพลังงานฉบับที่ 8 ที่กำลังร่างขึ้น แสดงให้เห็นกลยุทธ์ด้านพลังงานใหม่ของเวียดนามที่กำลังมุ่งไปสู่แหล่งพลังงานทดแทน

 

ดีมานด์ไฟฟ้าสูง แต่ต้องลดถ่านหินเพื่ออนาคต

นอกจากการเปลี่ยนแหล่งพลังงาน เจิ้งมองว่าเวียดนามยังจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพระบบกริดในการจ่ายไฟฟ้า จากขณะนี้ที่ระบบมักจะถูกใช้เกินพิกัดบ่อยครั้ง ทำให้อาจเกิดไฟฟ้าขาดแคลนได้ภายใน 5 ปีข้างหน้า เมื่อโรงงานผลิตต่างๆ ยังคงย้ายออกจากจีนมาเวียดนามอย่างต่อเนื่อง และชนชั้นกลางของเวียดนามกำลังเติบโต ทำให้มีการบริโภคและการก่อสร้างสูงขึ้น

ด้วยดีมานด์ขนาดนี้ เวียดนามวางแผนจะเพิ่มกำลังผลิตพลังงานไฟฟ้าในประเทศเป็น 60 กิกกะวัตต์ภายในสิ้นปี 2020 และเป็น 96 กิกกะวัตต์ภายในปี 2025 แต่ธนาคารโลกประเมินเมื่อเดือนมกราคม 2020 ว่าประเทศเวียดนามมีกำลังผลิตไฟฟ้าอยู่เพียง 47 กิกกะวัตต์เท่านั้น

เวียดนามมีความใส่ใจต่อปัญหาโลกร้อนค่อนข้างสูง เนื่องจากมองว่าภูมิศาสตร์ของตนเองทำให้เวียดนามเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่เสี่ยงต่อภาวะโลกร้อนมากที่สุด ด้วยภูมิประเทศมีชายฝั่งเป็นแนวเส้นยาว เป็นเขตพื้นที่รับมรสุม เสี่ยงต่อภาวะการแทรกตัวของน้ำเค็มเข้าสู่ชายฝั่ง และการกัดกร่อนดินชายฝั่ง ทำให้ประเทศหวังว่าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้

Source

]]>
1300606