รีแบรนด์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 06 May 2024 08:54:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กรณีศึกษา: แก้วน้ำ “Stanley” แบรนด์อายุร่วมร้อยปี “รีแบรนดิ้ง” อย่างไรให้ยอดขายโต 10 เท่าใน 4 ปี! https://positioningmag.com/1472169 Sun, 05 May 2024 14:07:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472169 แก้วน้ำเก็บอุณหภูมิยี่ห้อ “Stanley” อยู่ๆ ก็กลายเป็นแก้วน้ำสุดฮิตที่สาวอเมริกันต้องมีกันทุกคน บางคนตามเก็บสะสมเป็นคอลเล็กชัน มีตลาดมือสองซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเป็นจริงเป็นจัง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นกับแบรนด์แก้วน้ำที่จริงๆ แล้วอยู่ในตลาดมานานมากกว่าร้อยปี! แต่เพิ่งจะมาขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเพราะความกล้าที่จะเปลี่ยน “กลุ่มเป้าหมาย” โดยสิ้นเชิง

เมื่อต้นปี 2024 เกิดปรากฏการณ์ “ห้างแตก” ที่ห้างสรรพสินค้า Target หลายสาขาในสหรัฐฯ เหตุเพราะเป็นวันวางจำหน่ายแก้วน้ำเก็บอุณหภูมิยี่ห้อ “Stanley” รุ่น Quencher 40 ออนซ์ ที่คอลแลปกับ Starbucks และ Target มีการทำสีพิเศษออกวางจำหน่ายแบบ Limited Edition หมดแล้วหมดเลย

สินค้าที่มีจำกัดตัวนี้ทำให้แฟนคลับของแก้ว Stanley ต่างแห่แหนกันไปต่อคิวซื้อ และในที่สุดแก้วรุ่นนี้ก็ขายเกลี้ยงภายในไม่กี่นาทีทั้งในห้างฯ และบนออนไลน์

Stanley รุ่น Quencher สีออริจินอล

ความน่าสนใจของปรากฏการณ์นี้คือ Stanley ไม่ใช่แบรนด์ใหม่ในตลาด แบรนด์นี้ก่อตั้งมานานตั้งแต่ปี 1913 คือมีอายุเก่าแก่ถึง 111 ปีแล้วในปีนี้ แต่จุดเปลี่ยนที่ทำให้แบรนด์โตแบบก้าวกระโดดเพิ่งมาเกิดในยุคศตวรรษใหม่ของแบรนด์

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2019 บริษัท Stanley ยังทำรายได้ได้เพียง 70 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2,580 ล้านบาท) แต่มาถึงปี 2023 รายได้นั้นพุ่งขึ้นไปถึง 700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 25,800 ล้านบาท) หรือโตขึ้น 10 เท่าในเวลาแค่ 4 ปี!

Stanley ทำได้อย่างไร?

 

เหตุเกิดจาก “แฟนคลับ” ที่เป็น “ผู้หญิง”

ปูพื้นก่อนว่า Stanley ถือกำเนิดโดยนักประดิษฐ์ชื่อ “William Stanley Jr.” เป็นคนคิดค้นกระบอกน้ำสเตนเลสและระบบสุญญากาศที่ทำให้กระบอกน้ำสามารถรักษาอุณหภูมิได้ดีมาก และมีการโฆษณาสินค้ามุ่งเป้ากลุ่มคนรักการใช้ชีวิตกลางแจ้ง เช่น เดินป่า แคมป์ปิ้ง ตกปลา พกเข้าไร่เข้าสวน ส่วนใหญ่คนที่ใช้ชีวิตแบบนี้ก็มักจะเป็น “ผู้ชาย”

Stanley
ภาพลักษณ์ดั้งเดิมของ Stanley คือสินค้าสำหรับไปแคมป์ปิ้ง

สรุปง่ายๆ คือ กระบอกน้ำ Stanley มีภาพความเป็นชายสูงมาก ตัวกระบอกน้ำรุ่นออริจินอลก็มักจะเป็นสีทึมๆ เช่น สีเขียวขี้ม้า สีดำ และต่อมาไลน์สินค้าอื่นๆ ของ Stanley ก็จะอิงกับการไปแคมป์ปิ้งเป็นหลัก เช่น ชุดเครื่องครัวสำหรับแคมป์ปิ้ง

ชีวิตของแบรนด์ Stanley ดำเนินเรื่อยมาจนมาถึงปี 2019 มีบล็อกเกอร์เว็บไซต์แนะนำสินค้ารายหนึ่งชื่อ “The Buy Guide” ชื่นชอบและแนะนำสินค้าบนเว็บไซต์ของเธอ เรื่องคงไม่มีอะไรถ้าเว็บไซต์นี้เน้นแนะนำของสำหรับแคมป์ปิ้ง แต่เผอิญว่าเว็บไซต์นี้เน้นเป้าหมายไปที่ “ผู้หญิง” ทั่วๆ ไปต่างหาก

ทีมงาน The Buy Guide บอกว่าพวกเขา ‘รัก’ สินค้ารุ่น Stanley Adventure Quencher ขนาด 40 ออนซ์ มาก และแนะนำต่อให้คนอื่นๆ เพราะแก้วน้ำรุ่นนี้เป็นที่สุดแห่งการพกพา ด้วยความสามารถรักษาอุณหภูมิได้นาน 12 ชั่วโมง ดีไซน์แก้วให้ลงล็อกหลุมวางแก้วน้ำในรถพอดี มีหลอด มีหูจับ ใส่เครื่องล้างจานได้ ทำให้บรรดาสาวๆ สามารถพกมันไปได้ทุกที่ในชีวิตประจำวัน

Stanley
แก้วน้ำที่ใช้สะดวกทุกที่

เรื่องก็คงจะไม่มีอะไรอีก ถ้าหากว่า Stanley ไม่อยู่ๆ ก็ประกาศเปรี้ยงออกมาว่าจะ เลิกผลิต’ แก้วน้ำรุ่น Adventure Quencher และทางเจ้าของบล็อก The Buy Guide เซ็งมากจนถึงขนาดติดต่อหาบริษัท Stanley และขอเสนอไอเดียว่าบล็อกนี้จะขอสั่งซื้อแก้วน้ำ Adventure Quencher เพื่อมา ‘ขายเอง’ จำนวน 5,000 ใบ

บล็อกของ The Buy Guide เล่าถึงขั้นตอนนี้ไว้ว่า เรารู้ว่าสินค้าตัวนี้พิเศษ และเผอิญว่าเราสามารถหาลูกค้าที่พวกเขาคิดไม่ถึงได้ นั่นก็คือผู้หญิง เราเห็นสินค้าตัวนี้เป็นของใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าของใช้เวลาไปแคมป์ปิ้ง แต่มันถูกขายรวมกับสินค้าตัวอื่นของ Stanley ในหมวดแคมป์ปิ้งมาตลอด เรารู้ว่าถ้าผู้หญิงเราสามารถขายแก้วน้ำนี้ให้กับผู้หญิงคนอื่นได้ นั่นจะเป็นชัยชนะ

 

รีแบรนดิ้ง เปลี่ยนสี และการใช้อินฟลูเอนเซอร์

ปรากฏว่า The Buy Guide ขายแก้วลอตแรก 5,000 ใบหมดใน 5 วัน!

เจ้าของบล็อกเล่าว่าทาง Stanley ก็ยังลังเลที่จะเชื่อว่าแก้วของตัวเองมีเป้าหมายใหม่แล้ว ทำให้ทีมสาวๆ กลุ่มนี้สั่งเพิ่มอีก 5,000 ใบแล้วก็ขายหมดอีก ทีนี้ทางซีอีโอของ Stanley จึงเริ่มเชื่อว่ามีตลาดใหม่รออยู่

The Buy Guide ร่วมประชุมกับ Stanley และแนะนำให้เริ่มลงทุนทำเว็บไซต์ใหม่ขึ้นมาเพื่อขายแก้วน้ำนี้โดยเฉพาะ พร้อมวางระบบ ‘Affiliate Program’ ไว้ด้วย เพราะทางบล็อกจะขน ‘กองทัพอินฟลูเอนเซอร์ มาช่วยขายแก้วและรับค่าคอมมิชชัน กลยุทธ์การขายผ่านออนไลน์นี้เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2020 และเป็นจุดเริ่มต้นน่านน้ำใหม่ของ Stanley

Stanley
ทำสีใหม่ๆ ให้ถูกใจผู้หญิงมากขึ้น

จนถึงช่วงปลายปี 2020 ทางแบรนด์ Stanley เริ่มมีการปรับสินค้าให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายใหม่นี้ นั่นคือการปรับ ‘สี’ จากเดิมที่ดูทะมัดทะแมงเหมาะกับแคมป์ปิ้ง ให้มาเป็นเฉดสีสดใส น่ารัก เหมาะกับวางไว้ในครัว ในบ้าน ให้ผู้หญิงหิ้วไปทำกิจกรรมต่างๆ อย่างไม่ขัดเขิน

และนั่นคือช่วงรุกฆาตที่ทำให้แก้วน้ำ Stanley ดังจนผลิตไม่ทัน ในปี 2021 แก้วน้ำ Stanley เคยมีช่วงที่ผู้บริโภคลงชื่อต่อคิวซื้อ ยาวถึง 150,000 รายชื่อ!

Stanley
อินฟลูเอนเซอร์ต่างโพสต์ถึงแบรนด์จนเกิดกระแส

โปรดักส์พร้อมแล้ว การตลาดก็พร้อมเช่นกัน จากการวางระบบอินฟลูฯ ที่กล่าวข้างต้น โดยให้อินฟลูฯ เสนอภาพที่ไปในทิศทางเดียวกัน คือคนที่ใช้แก้วน้ำ Stanley จะดูเป็นผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จ มีสไตล์ ดูดีมีเสน่ห์ และให้อินฟลูฯ นำเสนอคุณสมบัติที่เป็นคุณค่าหลักของสินค้า เช่น ทนทาน ใช้ได้ทุกที่ ทำให้เกิดกระแสฮิต ใครๆ ก็อยากจะได้แก้วน้ำนี้มาครอง

 

ออกคอลเล็กชัน “มีจำนวนจำกัด”

หลังจากแก้วน้ำ Stanley ติดลมบนไปแล้ว กลยุทธ์การตลาดขั้นต่อมาคือการสร้างคอลเล็กชันที่มี “จำนวนจำกัด” ออกมา ไม่ว่าจะเป็นรุ่นคอลแลปพิเศษกับแบรนด์อื่น หรือการออกสีพิเศษ ซึ่งทำให้แฟนคลับเริ่มไล่ล่าแก้วน้ำจนกลายเป็นกึ่งของสะสม ทำให้แบรนด์ดูมีคุณค่ายิ่งขึ้น

ตัวอย่างคอลเล็กชันพิเศษร่วมกับห้าง Target

ทั้งหมดทำให้ Stanley ทำรายได้โต 10 เท่าระหว่างปี 2019-2023 เฉพาะช่วงปี 2022-2023 หมวดแก้วน้ำและถ้วยของบริษัททำยอดขายโต 926% และส่วนแบ่งตลาดของแบรนด์บนมาร์เก็ตเพลส Amazon พุ่งขึ้นจากเดิมมีแค่ 2.13% เป็น 15.89% วิ่งจ่อรดต้นคอผู้นำตลาดอย่าง “Yeti” ที่มีส่วนแบ่งตลาด 16.00%

เรื่องราวของ Stanley พิสูจน์ว่าแบรนด์เก่าแก่ที่มี มรดก แบรนด์มายาวนานก็สามารถเติบโตก้าวกระโดดได้ ถ้าหากเปิดใจรับฟังกลุ่มผู้บริโภคอยู่เสมอ กล้าที่จะเสี่ยงทำสิ่งใหม่ที่มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ไม่กลัวที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ถ้าเปลี่ยนแล้วสามารถจับตลาดใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมได้แบบนี้

ที่มา: The Buy Guide, Inc.com, Medium, DITP

ขอบคุณภาพจาก : Facebook@StanleyBrand

]]>
1472169
“เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์” รีแบรนด์ใหญ่ในรอบ 18 ปี สู่ “เซ็ปเป้ บิวติ” ผู้นำเทรนด์การสื่อสาร Beauty Standard ใหม่ ที่มองว่า “ความหลากหลาย” คือ “ความสวย” https://positioningmag.com/1470674 Tue, 23 Apr 2024 09:00:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470674

ตลาดเครื่องดื่มในประเทศไทยมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดมากขึ้นทุกปี เนื่องจากมีผู้เล่นรายใหม่ๆ ในตลาด อีกทั้งยังแข่งขันเรื่องโปรโมชั่นกันอย่างรุนแรง ผู้เล่นในตลาดจึงต้องแข่งขันกันด้วยเรื่องของแบรนด์ดิ้ง รวมไปถึงชูเรื่องฟังก์ชันนอลของสินค้า เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น

แต่ถ้าพูดถึงตลาดเครื่องดื่มฟังก์ชันนอล ดริ้งค์ จะไม่พูดถึง “เซ็ปเป้” หรือบริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) เลยคงไม่ได้ เพราะเป็นหนึ่งในผู้นำตลาด และเป็นผู้สร้างกระแสเครื่องดื่มฟังก์ชันนอล ดริ้งค์ในประเทศไทย ซึ่งแบรนด์ได้ทำตลาดมา 18 ปีแล้ว ตั้งแต่ปี 2558 และครองใจผู้บริโภคมาแล้วหลายเจนเนอเรชั่น

ในปีนี้เซ็ปเป้ถือโอกาสฉลองครบรอบ 18 ปี ด้วยการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ จาก “เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์” (Sappe Beauti Drink) สู่ “เซ็ปเป้ บิวติ” (Sappe Beauti) นับเป็นก้าวสำคัญของแบรนด์ในการเปลี่ยนทั้งชื่อแบรนด์, Brand Mission และแพ็คเกจจิ้ง เพื่อต้องการสร้างอาณาจักรบิวติที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่เครื่องดื่มอีกต่อไป

อีกทั้งเซ็ปเป้ บิวติ ยังต้องการเป็น Trend Setter ในการสื่อสารเรื่อง Beauty Standard แบบใหม่ ว่าความหลากหลายคือ ความสวยที่แท้จริง ซึ่งไม่จำเป็นต้องสวยตาม Beauty Standard ของสังคมที่จะต้องขาว ผอม หุ่นดี แต่ทุกคนสวยได้ในแบบของตัวเอง โดยได้อินไซต์จากผู้บริโภคในยุคนี้ที่รักตัวเองในแบบที่เป็นตัวเองได้ โดยที่ไม่ต้องสวยตามแบบมาตรฐานของคนทั่วไป โดยที่เซ็ปเป้จะเป็นผู้สนับสนุนความสวยนั้นเอง

นางสาวปิยจิต รักอริยะพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) หรือ SAPPE กล่าวว่า

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เซ็ปเป้เดินหน้าคิดค้นและพัฒนาสูตรเครื่องดื่มเซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความแตกต่างด้วยการใส่นวัตกรรมรูปแบบใหม่ๆ ในเครื่องดื่ม เพิ่มคุณประโยชน์ที่หลากหลาย ในรสชาติที่อร่อย ผสานความสดชื่นอย่างลงตัว เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของผู้บริโภคอย่างตรงจุด จึงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง และยังครองความเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความสวยมายาวนานต่อเนื่อง 18 ปี

ในปีนี้เซ็ปเป้ก้าวไปอีกขั้นสู่การเป็นแบรนด์เครื่องดื่มที่เข้าใจผู้บริโภค Gen Z ด้วยการปรับโฉมรีแบรนด์ครั้งสำคัญจาก เซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์ สู่การเป็น “เซ็ปเป้ บิวติ” อย่างเป็นทางการ พร้อมต่อยอดสู่การเป็นแบรนด์เพื่อสุขภาพและความสวยที่จะตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้นในหลากมิติ โดยออกสตาร์ทด้วยแคมเปญ สวยเรา ไม่ต้องสวยใคร”

แคมเปญ “สวยเรา ไม่ต้องสวยใคร” เป็นแคมเปญทางการตลาดที่สื่อสารเพื่อเข้าถึงกลุ่ม Gen Z โดยหยิบยกประเด็นร้อนในสังคมอย่างเรื่องมาตรฐานความสวย (Beauty Standard) มาบอกเล่าในมุมมองใหม่ ผ่านโปรเจค The Rejected Casts ภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่สร้างจากเรื่องจริงของกลุ่ม Gen Z หลากหลายเพศ จำนวน 7 แคสต์ ผ่านการให้สัมภาษณ์ถึงประสบการณ์ตรงและเหตุผลที่ไม่ผ่านแคสต์ติ้งงานโฆษณา

ซึ่งล้วนเป็นเพราะรูปร่าง สีผิว ใบหน้า ดวงตา และรอยยิ้มที่ไม่ตรงตามพิมพ์นิยม ก่อนจะเฉลยว่าทุกคนผ่านการแคสต์งานในครั้งนี้ และได้ร่วมเป็นตัวแทนความสวยในแบบฉบับของตัวเองที่ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับใครของแบรนด์เซ็ปเป้ บิวติ เพื่อสื่อถึงการให้คุณค่ากับทุกความสวย พร้อมฉีกค่านิยมความสวยในกรอบเดิมๆ ของสังคม ด้วยการให้โอกาสนักแสดงที่เคยถูกปฏิเสธงานมามากมาย เพียงเพราะพวกเขาสวยไม่ตรงตามมาตรฐานความสวยที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบ

นางสาวปิยจิต เสริมอีกว่า “แต่เดิมเซ็ปเป้ บิวติ ดริ้งค์วางจุดยืนเป็นเครื่องดื่มฟังก์ชันนอล ดริ้งค์ที่ขายฟังก์ชันนอลเป็นหลัก เช่น สูตรที่ดื่มแล้วขาวอมชมพู สูตรที่ดื่มแล้วสวย สูตรที่ดื่มแล้วหุ่นดี แต่ตอนนี้เราเข้าใจผู้บริโภค และ Beauty Standard ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย”

และเพื่อให้โดนใจกลุ่ม Gen Z มากยิ่งขึ้น เซ็ปเป้ บิวติ ยังเปิดตัวบรรจุภัณฑ์ดีไซน์ใหม่ล่าสุด ซึ่งได้นักออกแบบชื่อดังที่กวาดรางวัลด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์มาแล้วทั่วโลก มารับหน้าที่ดีไซน์ฉลากบรรจุภัณฑ์ใหม่ทั้ง 4 รสชาติ ในคอนเซ็ปต์ “โอบกอดตัวเอง (Embrace Yourself)” ที่นำดอกไม้ที่มีความหมายสื่อถึงความรักที่ให้กับตัวเอง มาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการออกแบบ ได้แก่

  • สูตรคอลลาสกิน (Collaskin) ขวดสีชมพู ใช้ดอกคาเนชั่นแทนสัญลักษณ์ของความรักอย่างบริสุทธิ์ใจ
  • สูตรเอส-ลิม (S-lim) ขวดสีเขียวอ่อน ใช้ดอกลิลลี่แทนสัญลักษณ์ของความรักอย่างอ่อนหวาน อ่อนโยน
  • สูตรบิวติท็อกซ์ (Beautitox) ขวดสีเขียวเข้ม ใช้ดอกทานตะวันแทนสัญลักษณ์แห่งความรักที่ให้กำลังใจ
  • สูตรบิวติ อายส์ (Beauti Eyes) ขวดสีแดง ใช้ดอกเบญจมาศแทนสัญลักษณ์ของความรักที่มีชีวิตชีวา สดใส

ซึ่งช่วยสะท้อนตัวตน และความชื่นชอบของกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ในแต่ละลายจะมีการสอดแทรกรูปการ์ตูนของคนที่มีความหลากหลายทั้งรูปร่าง เพศ และสีผิวเอาไว้บนฉลาก เพื่อให้สอดคล้องกับภาพรวมของแคมเปญอีกด้วย

“เพราะความสวยคือความหลากหลาย เซ็ปเป้ บิวติ จึงอยากจุดประกายมุมมองเรื่องความสวยในรูปแบบใหม่ พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม เพื่อให้คนรุ่นใหม่มีความมั่นใจในตัวเอง มีความรักตัวเอง (Self-Love) ตลอดจนกล้าที่จะเป็นตัวเองให้เต็มที่ เพราะเราเชื่อว่าทุกคนสามารถเปล่งประกายความสวยในแบบของตัวเองได้อย่างเท่าเทียมกัน” นางสาวปิยจิต กล่าวเพิ่มเติม

สัมผัสกับเครื่องดื่ม เซ็ปเป้ บิวติ โฉมใหม่ ทั้ง 4 รสชาติ ได้แล้ววันนี้ที่ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ทุกสาขา และร้านค้าทั่วไปทั่วประเทศ ในราคา 20 บาท หรือสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ Line: @sappeonline และShopee: Sappe Official Store หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: Sappe Beauti Drink และ Tiktok: Sappeonline

]]>
1470674
ไม่แก่แล้ว! “โอซีซี” พลิกโฉม “KMA” และ “Guy Laroche” ให้โดนใจวัยรุ่น นำเข้าแบรนด์ทดแทน “Shiseido” https://positioningmag.com/1436169 Fri, 30 Jun 2023 08:11:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1436169
  • โอซีซี บริษัทในเครือ “สหพัฒน์” ประกาศรีเฟรชแบรนด์ในระดับองค์กรให้ทันสมัย และนำร่องพลิกโฉมแบรนด์เครื่องสำอาง “KMA” และชุดชั้นใน “Guy Laroche” ให้โดนใจวัยรุ่น
  • KMA มีการปรับโลโก้และแพ็กเกจจิ้งใหม่หมด และวางตำแหน่งทางการตลาดเป็นแบรนด์เครื่องสำอาง “Genderless” ดึงนักร้องสาว “โบกี้ไลอ้อน” เป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้ากลุ่มรองพื้น
  • ด้านกลยุทธ์หลังเสียสิทธิจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เส้นผมของ “Shiseido” ไปเมื่อปีก่อน โอซีซีได้คว้าสิทธิจัดจำหน่ายแบรนด์ทดแทนคือ “Wella” จากเยอรมนี และ “Demi” จากญี่ปุ่น
  • บริษัท โอซีซี จำกัด (มหาชน) หนึ่งในปีกสินค้าแฟชันของเครือ “สหพัฒน์” ที่ต้องผ่านมรสุมในช่วงโควิด-19 จนมีผลขาดทุนติดต่อกัน 2 ปี โดยปี 2564 ขาดทุน -1.97 ล้านบาท และปี 2565 ขาดทุน -22.82 ล้านบาท เฉพาะปีที่ผ่านมามีปัจจัยลบเพิ่มอีกหนึ่งอย่างคือการเสียสิทธิจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เส้นผมของ Shiseido (ชิเซโด้) เพราะการเปลี่ยนแปลงในบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น

    ในปี 2566 นี้บริษัทจึงต้อง “ปรับใหญ่” โดยแม่ทัพหญิง “ธีรดา อำพันวงษ์” กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารแห่งโอซีซี ประกาศการปรับโลโก้บริษัทให้ทันสมัย และปีนี้จะมีการนำร่องปรับแบรนด์ในเครือ 2 แบรนด์

    โอซีซี
    “ธีรดา อำพันวงษ์” กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โอซีซี จำกัด (มหาชน) กับโลโก้ใหม่ของบริษัท

     

    KMA พลิกโฉมหมดจด “มินิมอล ทันสมัย และ Genderless”

    เริ่มจากเครื่องสำอาง “KMA” เริ่มปรับลุคใหม่หมดตั้งแต่โลโก้จนถึงแพ็กเกจจิ้ง ทำให้ลุคแอนด์ฟีลของผลิตภัณฑ์ดูมินิมอล ทันสมัย ให้ภาพที่พรีเมียมขึ้น เข้ากับรสนิยมคนรุ่นใหม่ในยุคนี้ รวมถึงปรับจุดยืนของแบรนด์ให้เป็น “Genderless” เครื่องสำอางของคนทุกเพศ

    ธีรดายังแย้มด้วยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ บริษัทจะมีแคมเปญใหญ่ดึงตัว “โบกี้ไลอ้อน” นักร้องสาวชื่อดัง มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับผลิตภัณฑ์รองพื้นของ KMA ช่วยกระตุ้นแบรนด์ให้เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภค

    KMA โอซีซี
    ดีไซน์โลโก้และแพ็กเกจจิ้งเปลี่ยนโฉมใหม่ ฉีกแนวแตกต่างจากเดิม

     

    Guy Laroche ไม่ใช่ชุดชั้นในสูงวัยอีกต่อไป

    ขณะที่อีกแบรนด์ในเครือที่เป็นผลิตภัณฑ์สำคัญอย่างชุดชั้นในและชุดว่ายน้ำ “Guy Laroche” (กีลาโรช) ธีรดากล่าวว่า บริษัททำการศึกษาตลาดพบว่า แบรนด์ยังถือเป็น Top of Mind ของผู้บริโภค หากคิดถึงชุดชั้นในลูกไม้ชั้นสูงจากฝรั่งเศส แต่โจทย์สำคัญของแบรนด์คือ ผู้บริโภคมองว่าเป็นชุดชั้นในที่ ‘สูงวัย’ ทำให้โอซีซีเริ่มปรับการสื่อสารแบรนด์ให้เชื่อมโยงกับวัยรุ่นมากขึ้น

    จะเห็นได้ว่าแบรนด์เริ่มมีแคมเปญถ่ายแบบที่เปลี่ยนจากการใช้นางแบบลุคชาวต่างชาติ มาเป็นลุคคนไทยวัยรุ่น สวมใส่ชุดชั้นในในลักษณะที่เป็นแฟชันหนึ่งในชีวิตประจำวัน

    โอซีซี Guy Laroche
    ปรับการสื่อสารผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้ากับคนรุ่นใหม่มากขึ้น

     

    คว้าแบรนด์ “Demi” ทดแทน “Shiseido”

    ธีรดายังกล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อปีก่อนที่บริษัท Henkel ในเยอรมนี เข้าซื้อกิจการกลุ่ม “Hair Professional” หรือกลุ่มดูแลเส้นผม เฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของแบรนด์ “Shiseido” ซึ่ง Henkel เลือกที่จะจัดสรรสิทธิจัดจำหน่ายในเขตเอเชียแปซิฟิกใหม่ทั้งหมด โอซีซีจึงเสียสิทธิในแบรนด์สำคัญไป

    อย่างไรก็ตาม โอซีซีได้นำเข้าและได้สิทธิจัดจำหน่ายแบรนด์มาทดแทนตลาด ได้แก่ “Wella” แบรนด์ดูแลเส้นผมจากเยอรมนี และ “Demi” แบรนด์ดูแลเส้นผมจากญี่ปุ่น

    ผลิตภัณฑ์กลุ่มทำสีผม

    โดยเฉพาะ Demi นี้ธีรดามองว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนได้เป็นอย่างดี เพราะแบรนด์มีชื่อเสียงในด้านการทำสีผม และกลุ่มแชมพูระดับพรีเมียม ซึ่งเหมาะกับช่องทางจำหน่ายประเภทร้านทำผม/ซาลอนที่โอซีซีมีเครือข่ายอยู่มากกว่า 600 แห่ง

    ธีรดายังกล่าวปิดท้ายถึงการเพิ่มศักยภาพอีคอมเมิร์ซในปีนี้ บริษัทจะเร่งปั้นแบรนด์ในเครือผ่านการทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบิวตี้บล็อกเกอร์ ดารานักแสดง เซเลป นางงาม ช่างแต่งหน้า ฯลฯ

    ทั้งนี้ แบรนด์ภายใต้โอซีซีนั้นมีมากกว่า 10 แบรนด์ ที่เป็นพอร์ตโฟลิโอสำคัญ เช่น กลุ่มเครื่องสำอาง Covermark, KMA กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม Demi, Wella, BSC Hair Care และกลุ่มผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า เช่น Guy Laroche สำหรับไตรมาส 1/2566 โอซีซีทำรายได้ 232 ล้านบาท และทำกำไร 0.31 ล้านบาท

    ]]>
    1436169
    รีแบรนด์ในรอบ 20 ปี! “Supalai Parc เอกมัย-พัฒนาการ” ปรับลุคคอนโดฯ – เพิ่มฟังก์ชัน “โฉนดห้องเก็บของ” https://positioningmag.com/1431814 Thu, 25 May 2023 14:53:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431814 “ศุภาลัย” รีแบรนด์คอนโดฯ ที่อยู่ในตลาดมานาน 20 ปี จาก “Supalai Park” เป็น “Supalai Parc” เปิดทำเลแรกที่เอกมัยพัฒนาการ ปรับลุคให้ทันสมัยกลิ่นอายฝรั่งเศส เพิ่มฟังก์ชัน “โฉนดห้องเก็บของ” พ่วงไปกับห้องชุด

    ปีนี้ศุภาลัยมีหนึ่งโครงการสำคัญในเชิงแบรนด์และการตลาดที่กำลังจะเปิดตัว คือ Supalai Parc เอกมัยพัฒนาการ” เหตุที่เป็นหมุดหมายสำคัญ เพราะโครงการนี้ “รีแบรนด์” จาก “Park” เป็น “Parc” เปลี่ยนแค่ตัวอักษรเดียวแต่ทำให้เหมือนมีแบรนด์ใหม่เกิดขึ้น

    แบรนด์เดิม Supalai Park นั้นอยู่ในตลาดมานาน 20 ปี โครงการแรกที่เปิดคือ “Supalai Park พหลโยธิน” และเป็นตัวตั้งคอนเซ็ปต์ของ ‘Park’ ที่มักจะเป็นคอนโดฯ ขนาดใหญ่ เน้นพื้นที่สีเขียว ตกแต่งแบบธรรมชาติ

    Supalai Parc เอกมัย-พัฒนาการ
    ส่วนโคเวิร์กกิ้งสเปซใน Supalai Parc เอกมัย-พัฒนาการ

    ส่วนการรีแบรนด์ใหม่เป็น ‘Parc’ คอนเซ็ปต์พื้นที่สีเขียวในโครงการจะยังอยู่เช่นเดิม เพราะคำนี้เป็นภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า ‘สวน’ เหมือนกัน แต่ดีไซน์จะถูกปรับใหม่ให้ทันสมัยถูกใจคน Gen Y มีโค้งประตูและการเล่นแสงเงาในสไตล์ฝรั่งเศส

    “สาเหตุที่ต้องรีแบรนด์ด้วย ไม่ใช่แค่เปลี่ยนดีไซน์ เพราะเรามองว่าแบรนด์ Park อยู่มานาน 20 ปีจนเกิดภาพจำ ทำให้เราต้องรีแบรนด์ให้ทันสมัย ให้ลูกค้าเปลี่ยนภาพว่าเรามีอะไรใหม่ๆ เราวางเลย์เอาต์ห้องใหม่หมดไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บมจ.ศุภาลัย กล่าว

     

    ฟังก์ชันใหม่ “โฉนดห้องเก็บของ”

    สำหรับโครงการแรกภายใต้แบรนด์ใหม่ Supalai Parc เอกมัยพัฒนาการ” เป็นโครงการขนาดใหญ่ เนื้อที่ 13 ไร่ มูลค่าโครงการ 4,920 ล้านบาท ออกแบบเป็นอาคารไฮไรส์ 2 อาคาร สูง 27-30 ชั้น จำนวนห้องชุดรวม 1,635 ยูนิต

    ทำเลที่ตั้งบนถนนพัฒนาการ ห่างจากซอยเอกมัย 4 กิโลเมตร และจาก ARL สถานีรามคำแหง 1 กิโลเมตร แต่อยู่ใกล้กับทางขึ้นลงทางด่วน ทำให้เป็นคอนโดฯ ที่จับกลุ่มผู้พักอาศัยที่เน้นการใช้ถนนเป็นหลัก จึงเตรียมที่จอดรถไว้ให้ 1,000 คัน

    Supalai Parc เอกมัย-พัฒนาการ
    สระบัวส่วนกลางของโครงการ

    ไฮไลต์ของคอนโดฯ คือการจัดพื้นที่สวนใหญ่ 4.5 ไร่ บริเวณตรงกลางระหว่าง 2 อาคารจะเป็น​ “สระบัว” ส่วนด้านหน้าโครงการเป็นสวนสไตล์ฝรั่งเศส และด้านหลังเป็นสวนป่าปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ พร้อมลู่วิ่งรอบโครงการยาว 800 เมตร

    รวมถึงมีฟังก์ชันพิเศษอย่าง “โฉนดห้องเก็บของ” เป็นการนำเอาพื้นที่เศษเหลือจากการซอยห้องชุดในแต่ละชั้นมาขายเป็น “Parc Storage” ห้องเก็บของขนาด 2.5 – 5 ตารางเมตรต่อห้อง ซึ่งจะขายเป็นโฉนดประกบคู่กับห้องชุดในลักษณะเดียวกับการขายโฉนดที่จอดรถประจำ

    Parc Storage ห้องเก็บของมีโฉนด สามารถซื้อเพิ่มประกบกับห้องชุดได้

    ในแต่ละชั้นจะมีห้อง Parc Storage ไม่เกิน 5 ห้องต่อชั้น ขณะที่ห้องชุดมีประมาณ 20 ห้องต่อชั้น ทำให้การขายห้องเก็บของนี้จะเป็นลักษณะ ‘จองก่อนได้ก่อน’ โดยขายในราคาต่ำกว่าห้องชุดปกติในราคา 30,000 บาทต่อตร.ม.

    ไตรเตชะอธิบายการพัฒนาฟังก์ชันนี้ เพราะพฤติกรรมผู้พักอาศัยคอนโดฯ ยุคนี้มีของในห้องเยอะขึ้น หรือบางคนทำธุรกิจค้าออนไลน์และต้องการที่เก็บของ ขณะที่การออกแบบคอนโดฯ มักจะมีเศษพื้นที่เหลือ จึงเห็นโอกาสประกบคู่ความต้องการ สร้างเป็นโฉนดห้องเก็บของเพิ่มเติมแยกจากตัวห้องชุด

    Supalai Parc เอกมัยพัฒนาการ” จะเปิดขายวันที่ 11-12 มิ.ย.นี้ ราคาเริ่มต้น 1.89 ล้านบาท ห้องชุดเริ่มต้นไซส์ 30 ตร.ม. ราคาเฉลี่ยทั้งโครงการ 70,000 บาทต่อตร.ม.

    ]]>
    1431814
    Cute Press รีแบรนด์ครั้งใหญ่! ย้ำจุดยืน “อยู่เมืองร้อน..อยากสวยต้องได้สวย” ร้อนแค่ไหนก็เอาอยู่ https://positioningmag.com/1418751 Tue, 14 Feb 2023 04:00:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1418751

    ต้องบอกว่าในการทำการตลาดในปัจจุบัน การเข้าใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างทั้งทางกายภาพ และจิตใจ เราจึงได้เห็นหลายแบรนด์เริ่มทำการตลาดแบบ Personalize หรือเจาะตามความต้องการของแต่ละบุคคล

    ในตลาดบิวตี้ก็เช่นเดียวกัน ทั้งในกลุ่มของสกินแคร์ และเครื่องสำอาง ได้เริ่มเห็นทิศทางในการทำตลาดแบบปัจเจกบุคคลมากขึ้น เพราะหนุ่มๆ สาวๆ ทั่วโลกมีความแตกต่างกัน ภูมิประเทศ ภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสภาพผิวของแต่ละคนอีกด้วย อย่างประเทศไทยที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปี ส่งผลทำให้หน้ามัน ผิวคล้ำ ถ้าเลือกสกินแคร์ หรือเครื่องสำอางไม่ตรงกับสภาพผิว ก็อาจจะทำให้ผิวพังไปเลยก็ได้

    สิ่งที่น่าสนใจในตลาดตอนนี้ก็คือ แบรนด์ Cute Press ที่หลายคนรู้จักกันอย่างดี ได้เข้าใจพฤติกรรมคนไทยที่ต้องเผชิญปัญหาผิวของคนเมืองร้อนได้อย่างดี ได้พัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์กับสภาพอากาศเมืองร้อนโดยเฉพาะ

    Cute Press ได้ทำตลาดมากว่า 47 ปี มีความเข้าใจความต้องการของคนในเขตร้อนชื้นอย่างลึกซึ้ง จากประสบการณ์ทั้งในด้าน R&D และ Customer insight research จึงได้พัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์สูตรเฉพาะที่ตอบโจทย์ Tropical Lifestyle เพื่อให้ทุกคนสามารถมีความสุขใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจ และสวยชนะสภาพอากาศร้อนชื้นได้ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมตั้งแต่หัวจรดเท้า ไม่ว่าจะเป็นเมคอัพ, สกินแคร์, บอดี้แคร์, น้ำหอม หรือผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถเอาชนะปัญหาผิวของคนเมืองร้อนได้จริง

    ในปีนี้ Cute Press ได้โอกาสรีแบรนด์ครั้งใหญ่ในรอบ 10 ปี ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Tropical Life is Beautiful” ประกาศจุดยืนเป็นแบรนด์เครื่องสำอางที่คิดค้นมาเพื่อคนเมืองร้อนโดยเฉพาะ มาพร้อมแอตติจูดสุดเริ่ด “อยู่เมืองร้อน อยากสวยต้องได้สวย” โดยปล่อยภาพยนตร์โฆษณาที่ encourage ให้ทุกคนออกไปใช้ชีวิตเริงร่าท้าเมืองร้อนเหนือจรดใต้ เพราะมีผลิตภัณฑ์ Cute Press เคียงข้างทุกคนให้สวยมั่นใจได้ตั้งแต่หัวจรดเท้า

    โดยเนื้อหาภาพยนตร์โฆษณาเรื่องนี้มีไอเดียแหวกแนวจากตลาดบิวตี้ ใช้โอกาสเปิดประเทศหลังสถานการณ์ COVID-19 และกระแสการท่องเที่ยวที่กำลังบูม เพื่ออวดของดีเมืองไทยเปรียบเทียบความสวยของผู้คน และความงามของเมืองร้อนเช่นเมืองไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ต้องได้คนที่เข้าใจจริงๆ ถึงจะคิดค้นผลิตภัณฑ์ความงามที่ตอบโจทย์คนเมืองร้อนได้ โดยมีแบรนด์ Cute Press เป็นคำตอบสุดท้าย

    ไม่ว่าจะเป็นแป้งผสมรองพื้นที่สวยเป๊ะได้ทั้งวัน หรือ กันแดด Tone-up ที่ไม่ไหล ไม่มันเยิ้มต่อให้เผชิญสภาพอาการของเมืองไทย แม้แต่ Hair Mist ที่หอมชนะเลิศหน้าเตาปิ้งย่าง ไปจนถึงเซรั่มที่เนื้อบางเบาไม่เหนอะหนะติดหมอน แต่ยังฟื้นบำรุงผิวอย่างเข้มข้น ฯลฯ เรียกว่าเป็นการคิดค้นมาเพื่อคนเมืองร้อนโดยเฉพาะ บริโภคแบบครบลูป

    ถือว่าเป็นก้าวสำคัญของแบรนด์ที่ออกมาประกาศ Brand concept ใหม่ และยังวางแผนเดินหน้าบุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นไม่ต่างจากบ้านเรา เรียกได้ว่าเป็น Beauty Solution สำหรับ Tropical Life

    ไม่ว่าอากาศร้อนจะเป็นอุปสรรคขนาดไหน Cute Press ก็พร้อมซัพพอร์ตให้ทุกคนมั่นใจและออกไปใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ด้วยความเชื่อที่ว่า “Tropical Life is Beautiful” “อยู่เมืองร้อน อยากสวยต้องได้สวย”

    ร่วมเอาใจช่วยและร่วมสนับสนุนแบรนด์ความงามคุณภาพของไทยสามารถติดตามข้อมูลผลิตภัณฑ์และกิจกรรมต่างๆของ Cute Press ได้ที่ Facebook Cute Press หรือชมโฆษณาฉบับเต็มที่


    ]]>
    1418751
    แซวกันเยอะ! แต่ปรากฏว่า Facebook เปลี่ยนชื่อเป็น Meta คือเรื่องที่ดีในเชิงการตลาด https://positioningmag.com/1404357 Sat, 15 Oct 2022 11:07:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404357 ตั้งแต่ Facebook เปลี่ยนชื่อเป็น Meta เพื่อสะท้อนวิสัยทัศน์ใหม่ขององค์กรที่จะเข้าสู่โลกเมตาเวิร์ส ใครๆ ต่างเพ่งเล็งและวิพากษ์วิจารณ์ แต่ปรากฏว่าการเปลี่ยนชื่อบริษัทและแบรนดิ้งกลายเป็นเรื่องที่ดีในเชิงการตลาด

    เสียงโจมตี “มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก” ยิ่งดังมากขึ้นตั้งแต่บริษัทเปลี่ยนไปมุ่งเน้นโลกเมตาเวิร์ส ทำให้ดูราวกับว่าการเปลี่ยนชื่อและจุดประสงค์บริษัทจาก Facebook Inc. เป็น Meta นั้นเป็นความผิดพลาดในเชิงแบรนดิ้ง

    ทว่าความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น อ้างอิงจากดัชนี FutureBrand Index ที่จัดอันดับ Top 100 บริษัทระดับโลกมานาน 8 ปี โดยวัดจากชื่อเสียงของบริษัทในหลายแง่มุม เช่น ในมุมมองของคนทั่วไปเห็นว่าบริษัทเป็นแหล่งรวมผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้สูงหรือไม่ หรือในเชิงมาร์เก็ตแคปก็นำมารวมด้วย โดยตัวเลขมูลค่านี้ประเมินโดย PwC

    ดัชนีนี้ที่จัดในปี 2022 Meta พุ่งขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ 5 เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2021 ขณะที่บริษัทยังใช้ชื่อ Facebook ปีนั้นบริษัทอยู่ในอันดับที่ 49

    ใครๆ ต่างก็วิพากษ์วิจารณ์การเปลี่ยนชื่อ แต่การวัดผลของดัชนีนี้บอกให้เรารู้ว่าการเปลี่ยนชื่อคือการพัฒนาแบรนด์ Meta อาจจะถูกนำไปทำเป็นมุกตลก ทั้งจากโร้ดแมปการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดูไม่ชัดเจน อวาตาร์ไร้ขาที่ถูกปล่อยออกมา หรือความพยายามล่าสุดที่จะเปลี่ยนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของตัวเองให้กลายเป็น TikTok สาขาสอง แต่สุดท้ายแล้ว หากมองเฉพาะ “ชื่อแบรนด์” การเปลี่ยนไปเรียก Meta แทนคือเรื่องที่เป็นผลดี

    Mark Zuckerberg ขึ้นให้การต่อสภาคองเกรสในสหรัฐอเมริกา กรณี Cambridge Analytica นำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ไปใช้ประโยชน์ในโฆษณาทางการเมือง (photo: MARTINEZ MONSIVAIS / wired.com)

    การเลื่อนขั้นในการจัดอันดับอาจจะไม่น่าแปลกใจก็ได้ เพราะชื่อ Facebook ดั้งเดิมนั้นเปรอะเปื้อนไปด้วยข่าวฉาวมากมายตลอดหลายปีที่ผ่านมา Facebook ถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นตัวการเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะปลูกความร้าวฉานระหว่างกัน การเป็นเครื่องมือให้กับเผด็จการทั่วโลก การเป็นตัวกลางปล่อยข่าวปลอมเพื่อหวังผลทางการเลือกตั้ง และยังทำให้เด็กวัยรุ่นสูญเสียความมั่นใจ แบรนด์ Facebook จึงกลายเป็นแบรนด์ที่มีภาพเป็นลบไปแล้วตั้งแต่ปีก่อน

    การจัดอันดับของ FutureBrand ทำให้เห็นว่า การที่บริษัทเปลี่ยนตัวเองให้มีภาพลักษณ์ของการพัฒนา VR เป็นหลัก มากกว่าการพัฒนาโซเชียลมีเดีย อาจจะสลัดหลุดจากสิ่งเหล่านี้ได้ จากการสำรวจผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามพบว่า Meta ได้คะแนนที่ดีขึ้นมากเพราะคนมองว่าบริษัทกำลังมองไปที่อนาคต มากกว่าจะยึดติดอยู่กับอดีต

    ทั้งนี้ การเก็บข้อมูลมาตลอดของ FutureBrand จะเห็นได้ว่าการรีแบรนด์ของเทคคัมปะนีรายใหญ่ไม่ได้จะส่งผลดีทุกครั้งไป ตัวอย่างเช่น Google เมื่อครั้งที่เปลี่ยนชื่อบริษัทแม่เป็น Alphabet กลับกลายเป็นว่าทำให้อันดับตกลง

    สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของการจัดอันดับปี 2022 คือ 10 อันดับแรกที่อยู่ในลิสต์ส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่บริษัทที่ผลิตสินค้าในชีวิตประจำวัน ดังที่เห็นตามอันดับด้านล่างนี้

    อันดับ 1 NextEra Energy บริษัทโฮลดิ้งผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
    อันดับ 2 Reliance Industries Limited  บริษัทมหาชนที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ทำธุรกิจหลากหลาย เช่น พลังงาน ค้าปลีก โทรคมนาคม
    อันดับ 3 CATL บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าของจีน
    อันดับ 4 Tata Consultancy Services บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นส่วนหนึ่งของเครือ Tata จากอินเดีย
    อันดับ 5 Meta บริษัทโซเชียลมีเดียจากสหรัฐฯ ที่กำลังผันตัวไปสู่โลกเมตาเวิร์ส
    อันดับ 6 Nvidia บริษัทเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จากสหรัฐฯ
    อันดับ 7 Apple บริษัทเทคโนโลยี เชี่ยวชาญด้านฮาร์ดแวร์สมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์
    อันดับ 8 Abbvie บริษัทด้านเภสัชกรรมจากสหรัฐฯ
    อันดับ 9 TSMC บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวัน
    อันดับ 10 ASML บริษัทสัญชาติดัตช์ผู้ผลิตระบบลิโทกราฟีแบบใช้แสงที่ใหญ่ที่สุดในโลก

    สามารถติดตามลิสต์ Top 100 FutureBrand ได้ที่นี่

    Source

    ]]>
    1404357
    เปิดเบื้องหลัง ‘Burger King’ รีเฟรชแบรนด์ในรอบ 20 ปี มากกว่าแค่ ‘Back To Classic’ https://positioningmag.com/1316892 Thu, 28 Jan 2021 10:38:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316892 เป็นที่ฮือฮาไปทั่วโลก เมื่อแบรนด์เบอร์เกอร์เจ้าดังอย่าง ‘Burger King’ ได้รีเฟรชแบรนด์ครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี โดยหยิบเอา ‘โลโก้’ เก่ายุค 60s มาปรับใหม่ให้ดู ‘มินิมอล’ และเข้ากับโลกดิจิทัลมากขึ้น โดยปรับสีและฟอนต์ใหม่ให้ยังดูร่วมสมัย และสำหรับประเทศไทยเองก็ถือเป็น ‘รายแรกในเอเชีย’ ที่ปรับมาใช้รูปลักษณ์ใหม่นี้

    โดย ธนวรรธ ดำเนินทอง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ออกมาเปิดเผยถึงแนวคิดเบื้องหลังการรีเฟรชแบรนด์ในครั้งนี้ รวมถึงเปิดเผยถึงก้าวต่อไปของ Burger King ในไทยที่ยังต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19

    ธนวรรธ ดำเนินทอง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เบอร์เกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

    เตรียมยลโฉมอีก 15 สาขาในปีนี้

    สำหรับร้าน Burger King สาขาแรกของไทยที่ใช้โฉมใหม่นั้นตั้งอยู่ที่ ปั๊มน้ำมันเชลล์ บนถนนกาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี ในรูปแบบสาขาสแตนด์อโลน พร้อมบริการไดรฟ์ทรู โดยพร้อมให้บริการตั้งแต่วันที่ 29 มกราคมเป็นต้นไป นอกจากนี้ ยังมีสาขาที่ ปั๊มน้ำมันคาลเท็กซ์ รังสิต-นครนายก ที่ปรับมาใช้โลโก้ใหม่แล้ว

    ภายในสิ้นปี บริษัทคาดว่าจะได้เห็นสาขาโฉมใหม่อีกประมาณ 10-15 สาขาภายในปีนี้ โดยราว 10 สาขาเป็นการเปิดใหม่ อีก 5 สาขาจะเป็นการ ‘รีโนเวต’ (ร้านจะรีโนเวตทุก ๆ 5-7 ปี) ซึ่งการปรับนั้นจะเป็นการ ‘ทยอยปรับ’ เป็นส่วน ๆ ไป เพราะต้องใช้สต๊อกของให้หมดเสียก่อน

    ดังนั้น ต้นทุนในการปรับจึงไม่สูงมาก เบื้องต้น การปรับโฉมจะเริ่มต้นที่ ‘โลโก้’ และ ‘ป้ายเมนู’ ส่วนแพ็กเกจจิ้งและยูนิฟอร์มใหม่จะเริ่มเปลี่ยนหลังจากใช้สต๊อกเก่าหมด โดย Burger King คาดว่าจะใช้เวลาในการปรับโฉมทุกสาขาทั้งหมดก่อนปี 2030

    ไม่ใช่แค่ Classic แต่ต้อง Authentic

    ธนวรรธ กล่าวว่า ไม่อยากให้มองว่า Burger King กลับไปใช้โลโก้ยุค ‘เรโทร’ แต่อยากให้เรียกว่า ‘คลาสสิก’ มากกว่า เพราะถ้าสังเกตจะเห็นว่าแบรนด์ส่วนใหญ่จะมีการปรับแบรนด์ให้ดู ‘มินิมอล’ เพื่อให้เป็นที่จดจำได้ง่าย เข้ากับยุคสมัยใหม่ที่เป็นยุคของเทคโนโลยี

    และอีกแนวคิดที่ใส่ในโลโก้ใหม่ของ Burger King ก็คือความ ‘Authentic’ หรือรู้สึก ‘จริง’ โดยจะเห็นว่าโลโก้เก่านั้นตัวเบอร์เกอร์จะ ‘เงา’ และมีสี ‘น้ำเงิน’ ซึ่งในความเป็นจริงนั้น อาหารของ Burger King ไม่มีสีน้ำเงินอยู่เลย อีกทั้งเบอร์เกอร์ก็ไม่ได้เงา ดังนั้น โลโก้ใหม่ของ Burger King จึงสะท้อนความจริง

    โดยจากนี้ สีที่ Burger King ใช้ก็จะสะท้อนถึงเบอร์เกอร์จริง ๆ โดยแบรนด์ได้ทำพาเลตต์สีใหม่มาใช้ได้แก่ สีแดงเพลิง สีส้มเปลวไฟ และสีน้ำตาลบาร์บีคิว ซึ่งจะเป็นกลุ่มสีหลัก และจะมีสีรองลงมาที่ใช้งาน คือ สีขาวไข่มายองเนส สีเหลืองเยิ้ม และสีเขียวกรุบกรอบ นอกจากนี้ การตกแต่งก็จะแสดงถึงความ ‘เรียล’ โดย Burger King ในไทยเตรียมนำเครื่องย่างเนื้อแบบใหม่ที่จะทำให้ลูกค้าเห็นเปลวไฟที่ตอนย่างเนื้อ เพื่อแสดงถึงจุดเด่นของแบรนด์

    “อดีตเราจะเห็นว่าโลโก้ต้องมีสีสันเยอะ ต้องดูสนุก ดูเท่ แต่ปัจจุบันมันไม่ใช่แล้ว และตอนนี้ผู้บริโภคก็รู้เรื่องว่าอะไรจริงไม่จริง อย่างรูปโปรโมตอาหารจากนี้ก็ต้องดูจริงมากที่สุด แม้เขาจะไม่พูด แต่เรามองว่ามันเป็นสิ่งที่เขาต้องการ”

    ยูนิฟอร์มใหม่พนักงานร้าน

    เข้าถึงคนไทย โจทย์ใหญ่ที่ยังต้องแก้

    แม้ว่า Burger King จะเข้ามาทำตลาดในไทยกว่า 20 ปี แต่เพิ่งจะมีสาขาแรกในกรุงเทพฯ มีปี 2015 ขณะที่ปัจจุบัน Burger King มีเพียง 116 สาขา โดนคู่แข่งทิ้งห่างอยู่มากทีเดียว ดังนั้น การรับรู้จึงสู้คู่เเข่งยาก อีกทั้ง ช่วงที่ผ่านมาก็ต้องยอมรับว่า Burger King นั้นพึ่งพา ‘ชาวต่างชาติ’ มากทีเดียว แล้วไหนจะภาพลักษณ์ที่ดู ‘พรีเมียม’ อีก นับเป็นโจทย์ใหญ่ของแบรนด์อย่างมาก

    ที่ผ่านมา Burger King ประเทศไทยก็พยายามที่จะเข้าถึงคนไทยมาโดยตลอด ไม่ว่าการที่มีสินค้าที่ตอบโจทย์คนไทยอย่าง ‘ข้าว’ ซึ่งปัจจุบันยอดขายของเมนูโลคอลคิดเป็น 20% ของทั้งหมด และในปีนี้จะทยอยเพิ่มเมนูใหม่ ๆ ออกมาอย่างน้อยเดือนละ 1 เมนู ในส่วนของ ‘ราคา’ ก็ต้องปรับมาให้เข้าถึงคนไทยมากขึ้น โดยเริ่มต้นที่ 59 บาท นอกจากนี้ยังมีเรื่องของโปรโมชัน ‘1 แถม 1’ รวมถึงการปรับชื่อเมนูให้เป็นภาษาไทย และเร็ว ๆ นี้จะได้เห็น ‘โลโก้ภาษาไทย’

    “แม้ว่าที่ผ่านมาเราจะมีลูกค้าคนไทย 70-80% แต่ต้องยอมรับว่าต้องพึ่งนักท่องเที่ยวอยู่มาก แต่ตอนนี้ลูกค้าไทยคิดเป็นเกือบ 100% ดังนั้นเราก็ต้องปรับ แต่ไม่ได้มองว่ามันเป็นความยากหรืออะไร เพราะถ้าจะทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้ต้องปรับตัวตลอดเวลาอยู่แล้ว”

    มั่นใจสิ้นปีทำรายได้เท่าปี 2019

    ในปี 2019 Burger King สามารถทำรายได้ราว 2,000 ล้านบาท ส่วนในปี 2020 ที่เกิดผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ปีรายได้ของ Burger King หายไปประมาณ 2 หลัก เนื่องจากต้องปิดร้านไปในช่วงเดือนเมษายน ขณะที่สาขาในสนามบิน 17 สาขา และในแหล่งท่องเที่ยวอีก 14 สาขา ยังไม่สามารถกลับมาเปิดให้บริการได้ ส่วนช่วงเดือนมกราคมปี 2021 นี้คาดว่ารายได้ตกลงประมาณ 1 หลัก

    “อาจมีบางสาขาต้องปิดถาวร แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ เพราะการปิดถาวรเป็นตัวเลือกสุดท้ายที่จะทำ ตอนนี้ก็ต้องประคองตัวไปก่อน”

    นอกจากรายได้แล้ว COVID-19 ยังส่งผลต่อพฤติกรรมลูกค้า จากเดิมที่ทานที่ร้านมีสัดส่วน 50% ปัจจุบันก็ลดลงเหลือ 25% ส่วนซื้อกลับบ้านจาก 35% ก็เพิ่มขึ้นเป็น 50% ส่วนเดลิเวอรี่จาก 15% ก็เพิ่มเป็น 25% ดังนั้น กลยุทธ์ของ Burger King จึงมีการปรับพื้นที่ร้านให้เล็กลงบ้างในบางสาขา รวมถึงเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการ Food Delivery ทุกราย

    “เรามั่นใจว่าทุกอย่างที่เราทำมา เรามาถูกทางแล้ว แต่ถามว่าพอใจหรือยัง เรายังไม่พอใจ เราคาดว่าเรายังไปได้ไกลกว่านี้อีก ด้วยจำนวนสาขาที่ยังสามารถขยายได้อีกหลายจังหวัด โอกาสยังมีอีกเยอะ และในปีนี้ที่กำลังจะมีวัคซีน เราก็คาดว่าจะสามารถกลับมาทำรายได้เท่ากับปี 2019”

    ]]>
    1316892
    Burger King รีแบรนด์! ดึง “โลโก้” เก่ายุค 60s มาปัดฝุ่นใหม่ให้เข้ากับโลกดิจิทัล https://positioningmag.com/1313359 Fri, 08 Jan 2021 03:30:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313359 เชนฟาสต์ฟู้ดดัง Burger King รีแบรนด์ใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี โดยดึงเอา “โลโก้” เก่าจากยุค 60s มาปรับเปลี่ยนใหม่ให้เข้ากับโลกดิจิทัล ปรับสีและฟอนต์ใหม่ให้ยังดูร่วมสมัย พร้อมคงคาแร็กเตอร์ “กวนๆ” แบบฉบับของร้านอาหารเจ้านี้

    ทีมครีเอทีฟภายในบริษัทร่วมกับทีมออกแบบจาก JKR New York เปิดเผยการรีแบรนด์ครั้งล่าสุดของ Burger King ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมานาน 20 ปี ถึงจะบอกว่าเป็นโลโก้ใหม่ แต่ต้นแบบของโลโก้นี้เป็นการดึงเอาโลโก้เก่าที่เริ่มใช้ในยุคทศวรรษ 1960s กลับมาใช้ แต่มีการปรับเปลี่ยนฟอนต์ รูปร่าง และสีสันให้ทันสมัยขึ้น

    โดยรูปร่างโลโก้ใหม่จะล้อตามลักษณะของเบอร์เกอร์ของร้าน มีขนมปังประกบด้านบนและด้านล่าง ตรงกลางเป็นฟอนต์ใหม่ชื่อ Flame ซึ่งจะถูกนำไปใช้ในส่วนอื่นๆ ของร้านด้วย นอกจากปรับโลโก้แล้ว ยูนิฟอร์มพนักงานและแพ็กเกจก็จะเปลี่ยนการออกแบบใหม่ทั้งหมดเช่นกัน

    โลโก้เก่าที่เป็นตัวต้นแบบนั้นถูกนำมาใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1969 และใช้ยาวจนถึงปี 1999 ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นโลโก้แบบที่เราคุ้นตากันในปัจจุบัน

    โลโก้เก่าเทียบกับโลโก้ใหม่ของ Burger King

    เมื่อกลับไปใช้โลโก้แบบเรโทร ทำให้สีน้ำเงินถูกดึงหายไปจากโลโก้ที่เราคุ้นเคย และให้ความรู้สึก “มินิมอล” มากขึ้น เป็นการระลึกถึงมรดกของแบรนด์นี้ที่ส่งต่อกันมา ไม่ว่าจะเป็นความเป็นเอกลักษณ์ มั่นใจ เรียบง่าย สนุกสนาน และเป็นมิตร

    ตัวฟอนต์ ‘Flame’ นั้นออกแบบโดย Colophon Foundry ปรับให้มีความมนกลม หนา และอร่อย เหมือนกับเบอร์เกอร์ของ Burger King โดย “ราฟาเอล เอบรือ” หัวหน้าฝ่ายออกแบบสากลของ Restaurant Brands International บริษัทแม่ของร้าน กล่าวกับเว็บไซต์ It’s Nice That ว่า ฟ้อนต์นี้ต้องการสร้างความรู้สึกให้คนอยากจะลองกัดดูสักคำ

    ด้านสีที่ใช้นั้น เอบรือบอกว่าแบรนด์ได้ทำพาเลตต์สีใหม่มาใช้ได้แก่ สีแดงเพลิง สีส้มเปลวไฟ และสีน้ำตาลบาร์บีคิว ซึ่งจะเป็นกลุ่มสีหลัก และจะมีสีรองลงมาที่ใช้งาน คือ สีขาวไข่มายองเนส สีเหลืองเยิ้ม และสีเขียวกรุบกรอบ

    โลโก้และดีไซน์ในร้านที่เปลี่ยนไป ตามด้วย “ยูนิฟอร์มพนักงาน” ที่จะมีผสมผสานสไตล์ “สตรีทแวร์ร่วมสมัย” มากขึ้นด้วย

    ยูนิฟอร์มใหม่พนักงานร้าน

    “การออกแบบคือหนึ่งในเครื่องมือการสื่อสารที่สำคัญที่สุด เพื่อแสดงออกว่าเราคือใครและเราให้คุณค่ากับอะไร รวมถึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างความอยากอาหาร และสร้างประสบการณ์สูงสุดให้กับลูกค้าของเรา” เอบรือกล่าว

    “ตั้งแต่ปี 1999 ที่โลโก้อันก่อนของเราออกสู่ตลาด จนถึงวันนี้โลกของแบรนดิ้งได้เปลี่ยนไปมาก ทุกวันนี้แบรนด์ต่างใช้พื้นที่บนโลกดิจิทัลเป็นสนามแข่งขัน ตัวตนที่เป็นมิตรกับยุคดิจิทัลและความขึ้นกล้องของแบรนด์กลายเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งกว่าที่เคย ในปี 1999 นั้นการดีไซน์ยังไม่เป็นประเด็น ก็วันนั้นเรายังใช้มือถือ Nokia ของเราเล่นเกมงูอยู่เลย!”

    เขากล่าวด้วยว่า Burger King กำลังปรับโฉมแบรนด์ใหม่ตั้งแต่รากฐาน ลดการใช้สารกันบูดและสีสังเคราะห์ในอาหารทุกชนิด และยังลงทุนอย่างหนักในด้านเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนประสบการณ์ในร้าน รวมถึงบนมือถือด้วย ดังนั้น ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่เกิดขึ้นทำให้โลโก้และการดีไซน์ร้านแบบเดิมๆ ไม่ได้สะท้อนตัวตนของแบรนด์อีกต่อไป และเราจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ทางสายตาใหม่หมดให้สอดคล้องกัน

    ตัวตนแบรนด์แบบใหม่ของ Burger King เริ่มมีให้เห็นแล้วบนเว็บไซต์ทางการ และจะเริ่มทยอยเปลี่ยนบนโซเชียลมีเดีย เมนูอาหาร และการตกแต่งภายในร้าน ครบทั้ง 18,800 สาขาทั่วโลก ภายใน 2-3 ปีข้างหน้า

    Source

    ]]>
    1313359
    เหล้าเก่าในขวดใหม่? รื้อเหตุผล ทำไม ‘Get’ ถึงต้องเป็น ‘Gojek’ https://positioningmag.com/1297514 Thu, 17 Sep 2020 08:59:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297514 เข้ามารุกตลาดไทยด้วยชื่อ ‘GET’ ไปเมื่อต้นปี 2019 ในที่สุดก็ถึงเวลากลับมาใช้ชื่อเดิม หรือ ‘Gojek’ ซึ่งหลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดี เพราะเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นรายแรกของอินโดนีเซีย แต่ทำไมถึงไม่ใช่ชื่อ Gojek ตั้งแต่แรก และทำไมถึงมารีแบรนด์เอาตอนนี้ รวมถึงเป้าหมายต่อจากนี้ คุณภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Gojek ประเทศไทย จะมาอธิบายให้ฟังกัน

    ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ Gojek ประเทศไทย

    รู้จัก Gojek

    อย่างที่รู้ว่า Gojek เป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นของอินโดนีเซีย แต่จุดเริ่มนั้นไม่ได้เริ่มจากการเป็นแอปพลิเคชัน แต่เริ่มจากเป็น Call Center เรียกวินมอเตอร์ไซค์ในปี 2010 และเริ่มทำแอปฯ Gojek ในปี 2015 พร้อมกับขยายบริการไปสู่ บริการส่งอาหาร ส่งสิ่งของต่าง ๆ รวมถึงใช้ซื้อสินค้าตามร้านค้าต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถดูหนังหรือใช้บริการทางการเงินได้อีกด้วย ซึ่งรวม ๆ แล้ว ปัจจุบัน Gojek มีบริการให้ใช้งานกว่า 20 บริการ จากเดิมที่ใช้แค่เรียกรถมอเตอร์ไซค์และรถแท็กซี่ พูดง่าย ๆ ว่าเป็น ‘ซูเปอร์แอปฯ’ แบบที่ใคร ๆ ก็อยากเป็น

    หลังจากที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดจนมียอดการดาวน์โหลดไปแล้วกว่า 190 ล้านครั้ง มีพาร์ตเนอร์คนขับมากกว่า 2 ล้านคน และมีการใช้งานกว่า 100 ล้านครั้ง/เดือน แน่นอนว่าการเติบโตดังกล่าวสามารถดึงดูดเงินจากนักลงทุนได้มากมายไม่ว่าจะเป็น Google กับ Facebook จากฝั่งอเมริกา และ Tencent จากจีน และยังไม่รวมอื่น ๆ อีกเพียบ จนในที่สุดปี 2019 Gojek ก็ได้ขยับตัวออกจากแค่อินโดนีเซีย โดยขยายธุรกิจมายังเวียดนามในชื่อ ‘Go-Viet’ ส่วนไทยใช้ชื่อ ‘Get’ และสิงคโปร์ใช้ชื่อ Gojek เหมือนเดิม

    ทำไมต้องเป็น ‘Get’ ก่อน

    จะมีใครเข้าใจถึงปัญหาและรู้ถึงพฤติกรรมคนในประเทศได้ดีเท่าคนในประเทศเองจริงไหม? ดังนั้น หลักการบริหารของ Gojek คือ จะเลือกให้คนในประเทศนั้น ๆ บริหารเอง เพื่อทำให้บริการเหมาะสมกับพฤติกรรมของคนในประเทศนั้น รวมถึงเป็นการ ‘ทดลอง’ ตลาดก่อนว่าสามารถไปได้ดีแค่ไหน ซึ่งไทยเองก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพ เพราะในช่วงเวลาปีครึ่ง Get ได้ส่งอาหารกว่า 20 ล้านออเดอร์ มีพาร์ตเนอร์ผู้ขับกว่า 5 หมื่นราย และพาร์ตเนอร์ร้านอาหารกว่า 3 หมื่นร้าน

    และในที่สุดก็ถึงเวลาที่ Get จะรีแบรนด์กลับไปเป็น Gojek เหมือนเดิม และไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้น Go-Viet ของเวียดนามก็รีแบรนด์กลับเป็น Gojek ด้วยเช่นกันเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเหมือนเป็นการส่งสัญญาณว่า พร้อมแล้วที่ Gojek จะลุยตลาดโลกอย่างเต็มตัว พร้อมกับตั้งเป้าที่จะ บาลานซ์สัดส่วนรายได้ จากตลาดอินโดนีเซียและต่างประเทศให้ได้ 50-50 ซึ่งปัจจุบันตลาดไทยและเวียดนามถือเป็นตลาดนอกประเทศที่ใหญ่ที่สุด

    “ประโยชน์ของความเป็น Global คือ ทุกฟีเจอร์และเทคโนโลยีจะเป็นระดับโลก ดังนั้นในทุกประเทศจะได้ใช้งานแอปที่มีคุณภาพเหมือนกัน แต่การบริหารยังต้องเป็น Local เพื่อให้เข้าใจตลาดอยู่”

    ย้ำเป็นแบรนด์ไทย เเม้ใช้ชื่อ Gojek ก็ตาม

    แม้จะเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Gojek แต่บริษัทยังย้ำว่าเป็นของ ‘ไทย’ แน่นอน และการรีแบรนด์ในครั้งนี้ที่ต้องหันไปใช้ ‘สีเขียว’ ที่แทบจะเหมือนกับคู่เเข่งในตลาด จากที่เคยใช้ สีเขียวสะท้อนแสง ซึ่งแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน แต่ทาง คุณภิญญา ก็มั่นใจว่าผู้บริโภคจะไม่สับสน เพราะเชื่อว่าชื่อ Gojek เป็นที่รู้จักอยู่เเล้ว และมั่นใจว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน ในการที่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกครั้ง เพราะแค่ระยะเวลา 15 วัน ยอดดาวน์โหลดแอปฯ Gojek ก็ทะยานไปหลัก แสนครั้ง เรียบร้อย จากเดิมที่ Get มีผู้ดาวน์โหลด 3 ล้านครั้ง

    อย่างไรก็ตาม หลังจากที่รีแบรนด์ไป ทาง Gojek เองก็ได้ทุ่มงบการตลาดมหาศาล แม้จะไม่สามารถเปิดเผยเป็นตัวเลขได้ แต่สามารถรับรู้ได้ผ่านแคมเปญการตลาดใหม่ ๆ อาทิ มอบคูปองส่วนลดมูลค่าสูงสุดถึง 2,500 บาทให้กับผู้ใช้งานใหม่ พร้อมดีลส่วนลดค่าอาหารสุดคุ้ม ลดสูงสุดถึง 50%, คูปองส่วนลดมูลค่า 12 บาทในส่วนของบริการเรียกรถจักรยานยนต์จำนวน 5 ครั้ง และแจกฟรีโดนัท Krispy Kreme แก่ผู้ใช้บริการ 10,000 ราย วันที่ 17 กันยายน ตั้งแต่ช่วงเที่ยงวันไปจนถึง 6 โมงเย็น

    33% ของผู้บริโภคไทยต้องการความหลากหลาย 27% ชอบโปรโมชัน 13% ต้องการความเร็วในการจัดส่ง และ 10% ต้องการความง่ายในการใช้งาน ดังนั้น เรายังคงลงทุนในไทยต่อเนื่อง ทั้งโปรโมชัน การเพิ่มพาร์ตเนอร์ร้านอาหารและพาร์ตเนอร์ผู้ขับ”

    วางเป้าโต 10 เท่า พร้อมก้าวเป็น Super Apps

    หลังจากรีแบรนด์เป็น Gojek ส่งผลให้ชื่อของบริการต่าง ๆ ก็ต้องเปลี่ยนตาม ได้แก่ ‘GoFood’ บริการส่งอาหาร ‘GoRide’ บริการเรียกรถจักรยานยนต์ ‘GoSend’ บริการรับส่งพัสดุ และ ‘GoPay’ บริการอีวอลเล็ต และได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่อีก 2 ฟีเจอร์ ได้แก่ GoFood Pickup บริการสั่งอาหารล่วงหน้า แล้วไปเองที่ร้าน โดยสาเหตุที่ออกฟีเจอร์นี้ก็เพราะพบว่าผู้ใช้งานในเมืองกว่า 55% เข้าถึงบริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน ในขณะที่กว่า 75% นิยมการไปซื้ออาหารที่ร้านค้า ซึ่งปัจจุบันมีร้านอาหารกว่า 500 แห่งในกรุงเทพฯ เข้าร่วม

    และอีกฟีเจอร์ที่เป็นเหมือน ‘ก้าวต่อไป’ ที่ทำให้ Gojek เข้าใกล้คำว่าซูเปอร์แอปก็คือฟีเจอร์ ‘แชท’ โดยผู้ใช้สามารถพูดคุยกับเพื่อนรวมถึงแชร์ข้อมูลร้านอาหารที่ชื่นชอบร่วมกันได้ หรือจะสร้าง Wishlist สำหรับบันทึกร้านอาหาร หรือเมนูที่ชื่นชอบเอาไว้สำหรับการสั่งอาหารในครั้งต่อไป โดยคุณภิญญาอธิบายว่า เมื่อมีแชทให้ใช้สื่อสาร ผู้บริโภคก็ไม่ต้องออกจากแอปไปคุยเรื่องอาหารกันอีกต่อไป แถมยังช่วยให้อยู่ในแอปฯ นานขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูว่าจะมีฟีเจอร์อะไรใหม่ ๆ เข้ามาอีก เพราะหากพิจารณาจากบริษัทเเม่ที่มีฟีเจอร์กว่า 20 รายการ Gojek ในไทยก็ถือว่ายังห่างไกล

    ทั้งนี้ เป้าหมายหลังจากที่รีแบรนด์เป็น Gojek ก็คือ เติบโตให้ได้ 10 เท่า ในทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นรายได้, ผู้ใช้งาน, จำนวนผู้ขับ, จำนวนร้านอาหาร โดยใช้จุดแข็งก็คือ ‘เทคโนโลยี’ และ ‘Passion’ ที่กระหายความสำเร็จซึ่งเปรียบเหมือนวัฒนธรรมขององค์กร และเร็ว ๆ นี้ Gojek ได้เตรียมที่จะขยายตลาดสู่พื้นที่ต่างจังหวัด จากที่ให้บริการเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงเตรียมผุด ‘คลาวด์ คิทเช่น’ ไว้อัดกับคู่แข่งแน่นอน

    ]]>
    1297514
    การเมืองเป็นเหตุ! Disney ตัดคำว่า “Fox” ออกจากชื่อสตูดิโอหนัง เหลือแค่ “20th Century” https://positioningmag.com/1261166 Sat, 18 Jan 2020 09:26:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261166 Disney ตัดคำว่า “Fox” ออกจากชื่อ “20th Century Fox” รีแบรนด์ใหม่เหลือแค่เพียง “20th Century Studios” รวมถึงสตูดิโอโปรดักชั่นหนังที่ซื้อมาพร้อมกันคือ Fox Searchlight Pictures ก็จะตัดชื่อเหลือเพียง “Searchlight Pictures” ด้วยเช่นกัน การรีแบรนด์เหล่านี้ประเมินกันว่าเป็นเพราะต้นสังกัดเดิมคือ Fox Corporation ยังทำธุรกิจข่าวซึ่งมีความเอนเอียงทางการเมืองสูง Disney จึงไม่ต้องการติดภาพลักษณ์นั้นมาด้วย

    เมื่อปี 2019 Disney เข้าซื้อสตูดิโอนี้จาก Fox Corporation มาในราคา 7.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เป็นดีลยักษ์ที่ทำให้ Disney ได้ครอบครองโลโก้อันเป็นเอกลักษณ์แห่งฮอลลีวู้ด ผู้ผลิตภาพยนตร์มานานถึง 85 ปี ตั้งแต่ยุคภาพยนตร์เรื่อง The Sound of Music, Star Wars, Die Hard และ Alien แต่ในปี 2020 เป็นต้นไป คำว่า “Fox” จะไม่อยู่ในชื่อและโลโก้ที่เราคุ้นเคยกันอีกแล้ว

    โลโก้ใหม่ของ “Searchlight Pictures” จะเริ่มใช้ครั้งแรกในภาพยนตร์ดราม่าคอมเมดี้เรื่อง Downhill ซึ่งจะเข้าโรงในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ ต่อจากนั้น โลโก้ “20th Century Studios” จะปรากฏครั้งแรกใน The Call of the Wild ภาพยนตร์แนวผจญภัยนำแสดงโดย Harrison Ford ที่จะเข้าโรงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2020

    การเปลี่ยนโลโก้และชื่อคาดการณ์กันว่าเกิดขึ้นจาก Fox Corporation เจ้าของเดิม ยังทำธุรกิจสื่ออยู่ไม่ว่าจะเป็น Fox Entertainment, Fox Sports และ Fox News ซึ่งล้วนไม่เกี่ยวข้องอะไรกับ Disney ทำให้การตัดชื่อ Fox ออกน่าจะทำให้เกิดความชัดเจนกว่า

    นอกจากนี้ กลุ่ม Fox โดยเฉพาะ Fox News นั้นมีความเอนเอียงทางการเมืองชัดเจน ขณะที่ Disney มีนโยบายภาพลักษณ์เป็นกลางทางการเมืองและเป็นมิตรกับครอบครัว ทำให้การลบชื่อ Fox ออกจากแบรนด์ที่ใช้มาหลายทศวรรษอาจจะเป็นการตัดสินใจที่เข้ากับภาพลักษณ์ของ Disney มากกว่า

    แต่ในอีกมุมหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงนี้ก็อาจมีผลทางการตลาดเช่นกัน เพราะแบรนด์เป็นที่รู้จักมานาน “ชื่อของ 20th Century Fox มีรากฐานที่ลึกมากในวงการภาพยนตร์ (การเปลี่ยนชื่อ) จึงเป็นการดึงเอาประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งออกไปจากฮอลลีวู้ด” Leonard Martin นักวิจารณ์ภาพยนตร์ให้สัมภาษณ์กับ CNN “โลโก้นี้เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ชมภาพยนตร์ไปแล้ว แม้แต่คนที่ไม่ใช่แฟนหนังตัวยงยังรู้จักโลโก้และเสียงประกอบที่ขึ้นมาพร้อมกันของ 20th Century Fox”

    Source: CNN, The Verge

    ]]>
    1261166