ลดต้นทุน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 05 Apr 2023 00:34:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เข้าสู่โหมดรัดเข็มขัด! Google เริ่มตัดงบสำนักงาน ตั้งแต่คอมพิวเตอร์จนถึงคลาสฟิตเนส https://positioningmag.com/1426055 Tue, 04 Apr 2023 05:49:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1426055 หมดเวลาอู้ฟู่ของหนึ่งในบริษัทที่ดูแลพนักงานดีที่สุดในโลก “Google” ส่งแจ้งเตือนถึงพนักงานว่าบริษัทจะต้องเริ่ม “รัดเข็มขัด” จึงต้อง “ตัดงบ” ภายในสำนักงาน ไม่ว่าจะเป็นงบคอมพิวเตอร์พกพาจนถึงที่เย็บกระดาษ หรือคลาสฟิตเนสฟรีของพนักงาน จะถูกลดงบประมาณลงทั้งหมด

The Wall Street Journal รายงานว่า “รูธ พอราต” ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงินของ Google แจ้งผ่านอีเมลถึงพนักงานทั้งบริษัทว่า บริษัทกำลังจะเริ่มตัดงบประมาณที่เกี่ยวกับการบริการพนักงานในองค์กร และจะเป็นนโยบายที่ใช้ทั้งบริษัท เป็นระยะเวลาต่อเนื่องหลายปี

ขณะที่สำนักข่าว CNBC รายงานจากเอกสารภายในของ Google พบว่า บริษัทกำลังตัดงบประมาณลง ทั้งคลาสฟิตเนส ที่เย็บกระดาษ เทปกาว และ ‘ความถี่’ ในการเปลี่ยนรุ่นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาให้กับพนักงาน

หนึ่งในเป้าหมายหลักของบริษัทในปี 2023 คือ “การประหยัดต้นทุนได้อย่างยั่งยืน ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงาน” พอราตกล่าวในอีเมล

การลดต้นทุนเหล่านี้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องหลังจาก Alphabet บริษัทแม่ เริ่มการเลย์ออฟพนักงานไปแล้วถึง 12,000 ตำแหน่ง คิดเป็น 6% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด ถือเป็นการลดต้นทุนหนักหน่วงที่สุดในรอบสองทศวรรษ นับตั้งแต่บริษัทเริ่มจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยจำเป็นต้องทำเพราะยอดขายที่เริ่มเติบโตช้าลง

สำนักงานใหญ่ Google ประจำเมืองวอเตอร์ลู ประเทศแคนาดา (Photo: Shutterstock)

อย่างไรก็ตาม พอราตกล่าวถึงสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในปี 2008 (วิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์) ว่า “เราเคยเผชิญเรื่องเหล่านี้มาก่อน เมื่อปี 2008 ต้นทุนของเราวิ่งนำหน้ารายได้ ทำให้เราต้องพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานอุปกรณ์ ลดการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ รัดเข็มขัดงบท่องเที่ยวและบันเทิง งบที่ใช้ในคาเฟ่ ครัวขนาดเล็ก ไปจนถึงปริมาณการใช้งานโทรศัพท์มือถือ และตัดงบอุดหนุนการเปลี่ยนมาใช้ยานพาหนะแบบไฮบริด”

“เหมือนกับที่เราเคยทำในปี 2008 เราจะดูข้อมูลและหาส่วนที่เราใช้จ่ายอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร” พอราตกล่าว โดยย้ำกับทาง CNBC ว่า แม้จะใช้ทรัพยากรอย่างรับผิดชอบมากขึ้น แต่จะยังคงให้สิ่งอำนวยความสะดวกและสวัสดิการพนักงานในระดับที่เป็น ‘ผู้นำ’ ในอุตสาหกรรมนี้เช่นเคย

 

ลดความถี่เปลี่ยนรุ่นคอมพิวเตอร์

ในงบอุปกรณ์สำนักงาน Google หยุดการเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ จอมอนิเตอร์ และคอมพิวเตอร์พกพา ให้พนักงานไปก่อน และจะมีการเปลี่ยนดัชนีชี้วัด “ความถี่” ว่าเมื่อไหร่ควรจะเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านี้

รวมถึงพนักงานที่ไม่ใช่ตำแหน่งด้านวิศวกรรม จะได้แล็ปท็อป Chromebook ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการชื่อ Chrome OS ระบบของ Google เอง

เงื่อนไขนี้แตกต่างจากที่เคยเป็นมา เพราะ Google เคยมีรุ่นแล็ปท็อปให้พนักงานเลือกมากมาย รวมไปถึง MacBooks ของ Apple ด้วย

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ Samsung Galaxy Chromebook

ด้านสมาร์ทโฟน พนักงานจะไม่สามารถขอเบิกซื้อเครื่องใหม่ได้ ถ้าภายในบริษัทมีเครื่องว่างให้ใช้อยู่แล้ว และหากต้องการจะซื้ออุปกรณ์ใดๆ ที่มีราคาสูงกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 34,000 บาท) จะต้องให้เจ้าหน้าที่ตำแหน่ง “ผู้อำนวยการ” หรือสูงกว่า เซ็นรับรองว่ามีความจำเป็น

แม้แต่ที่เย็บกระดาษและเทปกาว ก็จะไม่วางพร้อมไว้ให้ที่เครื่องพิมพ์ทุกเครื่องอีกแล้ว แต่ต้องไปเบิกยืมใช้ที่ฝ่ายต้อนรับ

 

อาหาร ฟิตเนส ค่าเดินทาง ถูกรัดเข็มขัด

“เราสร้างมาตรฐานการให้สวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในออฟฟิศไว้สูงมากในอุตสาหกรรมนี้ และเราจะทำเช่นนั้นต่อไปในอนาคต” พอราตกล่าวในอีเมล “อย่างไรก็ตาม บางโครงการจำเป็นต้องพัฒนาไปเพื่อให้เหมาะกับ Google ในวันนี้”

เอกสารภายในจากทีมบริหารที่ทำงานของ Google พบว่า ปัจจุบันค่าอาหาร ค่าฟิตเนส ห้องนวด ค่าเดินทาง ฯลฯ สวัสดิการเหล่านี้ที่ให้พนักงานเป็นการออกแบบสำหรับเมื่อครั้งที่พนักงานยังเข้าออฟฟิศสัปดาห์ละ 5 วัน

“ขณะนี้คนส่วนใหญ่มาทำงานแค่สัปดาห์ละ 3 วัน เราสังเกตเห็นว่าดีมานด์-ซัพพลายของสิ่งต่างๆ ไม่ค่อยตรงกันเท่าไหร่ เราอบขนมมัฟฟินมากเกินไปในวันจันทร์ เราเห็น GBuses (รถรับส่งพนักงาน) วิ่งไปรับผู้โดยสารแค่คนเดียว เรามีคลาสโยคะบ่ายวันศุกร์ซึ่งนั่นเป็นวันที่คนส่วนใหญ่ทำงานจากบ้าน” เอกสารภายในระบุ

ดังนั้น Google อาจจะพิจารณา “ปิด” คาเฟ่ในวันจันทร์และวันศุกร์ และปิดสิ่งอำนวยความสะดวกบางอย่างที่ “ไม่ค่อยได้ใช้งาน” เพราะตารางงานที่ไฮบริดมากขึ้นเหล่านี้

เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา หนึ่งในกลุ่มพนักงานที่ถูกเลิกจ้างนั้นรวมถึง “หมอนวด” มากกว่า 20 คนที่เคยอยู่ประจำในสำนักงานด้วย

การตัดสวัสดิการของบริษัทที่เป็นต้นแบบการดูแลพนักงาน ถือว่าเป็นสัญญาณสะท้อนว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้จะร้ายแรงเพียงใด!

Source

]]>
1426055
อัตรา ‘เลิกจ้างงาน’ เดือนม.ค.-ก.พ.ในสหรัฐฯ ทะลุ 1.8 แสนตำแหน่ง สูงสุดในรอบ 14 ปี https://positioningmag.com/1422889 Sun, 12 Mar 2023 05:17:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422889 ตั้งแต่ช่วงปลายปีจนถึงต้นปี จะเห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายรายของสหรัฐฯ ได้ทำการ ปลดพนักงาน เพื่อลดต้นทุนรับมือกับภาวะถดถอยของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่บริษัทเทคโนโลยีที่เลิกจ้างงาน โดยจากตัวเลขการเลิกจ้างทั้งหมดในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ระบุว่านับเป็นการ เลิกจ้างมากที่สุดในรอบ 14 ปี

การเลิกจ้างพนักงานของบริษัทสหรัฐฯ ในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์แตะระดับ สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2009 โดยการเลิกจ้างงานจากบริษัทด้านเทคโนโลยีมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนพนักงานทั้งหมดที่ถูกเลิกจ้างกว่า 180,000 ตำแหน่ง

ตามรายงานของบริษัทจัดหางาน Challenger, Grey & Christmas Inc. ระบุว่า เฉพาะการเลิกจ้างในเดือนกุมภาพันธ์เพียงเดือนเดียว มีตัวเลขอยู่ที่ 77,770 คน ซึ่งสูงกว่าการเลิกจ้าง 15,245 ตำแหน่งที่ประกาศเมื่อปีที่แล้วถึง 5 เท่า

“ตอนนี้การลดคนจำนวนมากกำลังเกิดขึ้นไม่ใช่แค่กับบริษัทด้านเทคโนโลยี แต่ยังมีธุรกิจค้าปลีกและการเงินที่กำลังลดคนเช่นกัน” Andrew Challenger รองประธานอาวุโสของบริษัท กล่าว

บริษัทเทคโนโลยีอย่าง Microsoft, Alphabet บริษัทแม่ของ Google รวมถึง PayPal Holdings ได้ปลดพนักงาน หลายพันคน ในปีนี้เพื่อพยายามควบคุมการใช้จ่ายและปกป้องส่วนต่างท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน

James Tierney หัวหน้าเจ้าหน้าที่การลงทุนของบริษัทจัดการสินทรัพย์ Alliance Bernstein กล่าวว่า การปลดพนักงานที่บริษัทเหล่านี้หลายแห่งกำลังทำ ก็เพื่อปรับขนาดโครงสร้างต้นทุนที่เหมาะสม การเติบโตอย่างมีเหตุผลเป็นการตอบแทนในตลาด

ไม่ใช่แค่การเลิกจ้างงาน แต่ประกาศแผนการจ้างงานของบริษัทต่าง ๆ ของสหรัฐฯ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ก็ลดลง 87% เหลือเพียง 28,830 คน จาก 215,127 ในปีที่ผ่านมา

]]>
1422889
‘Google’ เลื่อนจ่าย ‘โบนัส’ บางส่วน เนื่องจากต้องรัดเข็มขัดสู้วิกฤตศก. https://positioningmag.com/1416146 Fri, 20 Jan 2023 06:28:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416146 ต้องยอมรับว่าปีที่ผ่านมาไม่ใช่ปีที่ดีนักของเหล่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก ทำให้ต้องมีการปรับลดจำนวนพนักงาน รวมถึงบางบริษัทเองต้องลดการจ่ายโบนัสและการปรับขึ้นเงินเดือน เช่นเดียวกับ Google บริษัทลูกของ Alphabet ที่ต้องเลื่อนจ่ายโบนัสบางส่วนให้กับพนักงาน

โดยปกติแล้ว กูเกิล (Google) จะจ่ายโบนัสให้พนักงานภายในวันที่ 15 มกราคม อย่างในปี 2021 บริษัทก็แจกโบนัสพนักงานทั่วโลกถึงคนละ 1,600 ดอลลาร์ หรือกว่า 50,000 บาท อย่างไรก็ตาม ในปี 2022 ที่ผ่านมา จากภาวะตกต่ำของเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้บริษัทต้องรัดเข็มขัด ส่งผลให้พนักงานบางส่วนจะได้รับโบนัสที่ 80% ในเดือนมกราคมนี้ ส่วนอีก 20% เลื่อนจ่ายไปก่อน โดยคาดว่าจะได้อีกทีในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

“เราได้แจ้งพนักงานล่วงหน้าตั้งแต่ปีที่แล้ว ว่าเราจะจ่ายโบนัสล่วงหน้า 80% และส่วนที่เหลือจะจ่ายในช่วงเดือนมีนาคมหรือเมษายน”

ที่น่าสนใจคือ กูเกิลประกาศถึงนโยบายการจ่ายโบนัสใหม่ โดยนับตั้งแต่ปี 2024 การจ่ายโบนัสจะถูกเลื่อนไปภายในเดือนมีนาคมแทน ซึ่งนโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากบริษัทพยายามที่จะจำกัดการใช้จ่ายท่ามกลางความต้องการที่ชะลอตัวในวงกว้างและสภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่

นโยบายลดการใช้จ่ายเริ่มเห็นตั้งแต่ปีก่อน Sundar Pichai CEO ของ Google ที่จำต้องลิกจ้างพนักงานกว่า 200 คนในแผนกวิทยาศาสตร์สุขภาพ, ยกเลิกการพัฒนา Google Pixelbook รุ่นใหม่ และเลิกให้บริการเกมดิจิทัล Stadia โดยทั้งหมดที่ทำเพื่อให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น 20%

ทั้งนี้ Alphabet มีกำหนดจะรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ โดยนักวิเคราะห์คาดว่ารายได้จะเติบโตน้อยกว่า 2% จากปีก่อนหน้า ตามรายงานของ Refinitiv ขณะที่กำไรต่อหุ้นคาดว่าจะลดลงเหลือ 1.18 ดอลลาร์จาก 1.53 ดอลลาร์ จากที่มูลค่าหุ้นของบริษัทได้ลดลง 31% ในปีที่ผ่านมา

CNBC / Reuters

]]>
1416146
‘H&M’ เตรียมปลดพนักงาน 1,500 รายทั่วโลก หวังลดต้นทุน 6.6 พันล้านบาท/ปี https://positioningmag.com/1410688 Thu, 01 Dec 2022 04:26:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1410688 H&M แบรนด์แฟชั่นต้นเบอร์ 2 ของโลกกำลังเจอกับปัญหายอดขายที่ลดลง เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้บริโภครัดเข็มขัด รวมถึงการแข่งขันจากคู่แข่งหน้าใหม่ ทำให้บริษัทมีแผนที่จะปรับโครงสร้างใหม่เพื่อลดต้นทุนลง โดยเตรียมที่จะลดพนักงานทั่วโลกประมาณ 1,500 ราย

บริษัทฟาสต์แฟชั่นสัญชาติสวีเดน วางแผนที่จะลดจำนวนพนักงานทั่วโลกลง 1,500 ราย จากปัจจุบันมีพนักงานทั้งหมดราว 155,000 ราย เนื่องจากวิกฤตเงินเฟ้อและต้นทุนที่สูงขึ้น โดยคาดว่าการลดจำนวนพนักงานในครั้งนี้จะช่วยให้บริษัทลดต้นทุนได้ปีละ 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 6,650 ล้านบาท

“เมื่อผู้บริโภคใช้จ่ายไปกับค่าครองชีพ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ค่าน้ำค่าไฟ และน้ำมัน พวกเขาก็จะใช้จ่ายน้อยลง ดังนั้นสิ่งที่ชัดเจนคือ เขาต้องความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายเพิ่มขึ้น เรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่และอุตสาหกรรมการค้าปลีกทั้งหมดกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย” Nils Vinge หัวหน้าฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ของ H&M กล่าว

ย้อนไปในช่วงเดือนกันยายน H&M มียอดขายรายไตรมาสที่ต่ำกว่าที่คาดไว้มาก เนื่องจากผู้บริโภครัดเข็มขัดจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้ H&M ได้ประกาศว่ามีแผนจะ ขึ้นราคาสินค้า เพื่อชดเชยต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ H&M ต้องเจอกับการแข่งขันทั้งที่ใหญ่กว่าอย่าง Zara และจากผู้เล่นรายใหม่ที่ทำราคาได้ดีกว่า อย่าง Primark แบรนด์แฟชั่นของอังกฤษที่เพิ่งได้ประกาศแผนการเพิ่มงาน 1,800 ตำแหน่ง ในสเปนและอังกฤษเพื่อขยายกิจการ

สำหรับ H&M ก่อตั้งขึ้นในสวีเดนในปี 2490 นอกจากร้านค้าปลีกเสื้อผ้าแล้ว กลุ่มนี้ยังรวมถึงแบรนด์ต่าง ๆ เช่น COS, Monki, Weekday, Cheap Monday, & Other Stories, H&M Home, ARKET และ Afound มีร้านค้าประมาณ 4,664 แห่งใน 77 ตลาดและมีตลาดออนไลน์ 57 แห่ง

Source

]]>
1410688
จะใช้ ‘คลาวด์’ ทั้งทีเริ่มต้นใหม่กับ HUAWEI CLOUD “Niu” Year Festival https://positioningmag.com/1325124 Sun, 28 Mar 2021 10:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325124

แม้ว่าเทคโนโลยี ‘คลาวด์’ (Cloud) จะถูกพูดถึงมานานแล้ว แต่เพราะปี 2020 ที่มีการระบาดของ COVID-19 จึงทำให้เกิดการตื่นตัวของ Digital Transformation ขององค์กรมากขึ้น เพราะต่างก็ต้องการความคล่องตัวในการขับเคลื่อนองค์กร เนื่องจากประโยชน์ของ Cloud นั้น ไม่ใช่เพียงแค่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่เป็นส่วนขับเคลื่อนสำคัญในองค์กร คือ การพัฒนาผลผลิต, ประสิทธิภาพ, การเติบโต และ ความทันสมัยขององค์กร

6 ประโยชน์ใช้คลาวด์

1.ลดต้นทุน เพราะไม่ต้องลงทุนใน Hardware ไม่ต้องมีค่าแรงในการจ้างผู้เชี่ยวชาญและค่าไฟอีกด้วย

2. กู้คืนความเสียหาย เพราะการบันทึกข้อมูลสำคัญในคลาวด์นั้น มีความปลอดภัยที่ค่อนข้างสูง โดยจะมีบริการ Backup ข้อมูลของผู้ใช้ด้วยเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก

3. ปลอดภัย เพราะความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการเน้นอย่างมาก พื้นที่ใช้งานที่ยืดหยุ่น

4.ยืดหยุ่น เพราะข้อมูลทุกอย่างถูกบันทึกในคลาวด์ทำให้สามารถเข้าได้ทุกที่ถ้ามีอินเตอร์เน็ต

5. พื้นที่ใช้งานที่ยืดหยุ่นสามารถขยายหรือลดพื้นที่เก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา

6. ช่วยการพนักงานทุกคนในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น เพราะไฟล์ต่าง ๆ ที่จัดเก็บสามารถเข้าถึงได้ทุกคน (หรือเฉพาะคนที่ตั้งค่าอนุญาต)

ทำไมต้อง HUAWEI CLOUD?

HUAWEI CLOUD มอบบริการและโซลูชันคลาวด์ที่เชื่อถือได้ ปลอดภัยและวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องแก่ลูกค้า ด้วยความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ของหัวเว่ยที่สั่งสมมานานกว่า 30 ปี HUAWEI CLOUD ทั้งยังถ่ายทอดความเชี่ยวชาญด้าน ICT รวมเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีที่สุดให้แก่พันธมิตรในท้องถิ่นและลูกค้าระดับองค์กร ผ่านการฝึกอบรม การสื่อสารด้านเทคนิคหรือโครงการร่วมกัน เพื่อช่วยพันธมิตรและลูกค้าเติบโตไปด้วยกันและประสบความสําเร็จจากสภาพแวดล้อมในการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น

HUAWEI CLOUD ได้เปิดบริการศูนย์ข้อมูล 23 แห่งทั่วโลก เป็นผู้ให้บริการคลาวด์รายแรกที่ได้รับการรับรองโดย NIST CSF ในประเทศจีน ให้บริการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง โครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของหัวเว่ยเชื่อมต่อเอเชียแปซิฟิก ละตินอเมริกา และภูมิภาคอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เริ่มต้นใหม่กับ HUAWEI CLOUD “Niu” Year Festival

ทุกเทศกาลตรุษจีน HUAWEI CLOUD จะเปิดตัวเทศกาลช้อปปิ้งประจำปี เพื่อมอบส่วนลดคูปองและสิทธิพิเศษแก่ผู้ใช้ใหม่และผู้ใช้ปัจจุบัน ให้ทุกคนใช้เทคโนโลยี Cloud และ AI ร่วมกันเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้คนได้มากขึ้น

กิจกรรม HUAWEI CLOUD “Niu” Year Festival เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค. ถึง 15 เม.ย 2564 HUAWEI CLOUD มอบส่วนลดสำหรับบริการและผลิตภัณฑ์คลาวด์ยอดนิยมมากมายให้กับองค์กรและนักพัฒนา รวมถึงคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล เครือข่าย พื้นที่เก็บข้อมูล ระบบความปลอดภัยและ AI นอกจากนี้แล้วยังมีคูปองพิเศษรวมถึงโซลูชันแบบกำหนดเองสําหรับลูกค้าจาก 6 อุตสาหกรรม (หรือภาคส่วนอื่น): FinTech อีคอมเมิร์ซ บริการด้านเกม แอปพลิเคชันสำหรับองค์กร การพัฒนาแอปพลิเคชันและ IoT

ข้อเสนอพิเศษ 1: แพ็กเกจสำหรับผู้ใช้ใหม่ในราคาเพียง $1  

ในช่วงกิจกรรมผู้ใช้งานใหม่สามารถซื้อแพ็กเกจผู้ใช้ใหม่ต่อไปนี้ได้ในราคาเพียง 1 $: 1C1G cloud server package, 5,000 calls-per-month OCR package, 100 GB OBS package, 50 GB shared data package, and ModelArts package แต่ละแพ็กเกจมีจำนวนจำกัด 10 สิทธิต่อวัน ผู้ใช้งานสามารถใช้ทรัพยากรเหล่านี้มาทดลองใช้เทคโนโลยีคลาวด์และ AI ล่าสุดบน HUAWEI CLOUD ได้อย่างรวดเร็ว

ข้อเสนอพิเศษ 2: คูปองมูลค่าสูงสุด $3,000 สําหรับลูกค้า 6 ประเภท

เสนอคูปองมูลค่าสูงสุด $3,000 รวมถึงโซลูชันแบบกําหนดเองสําหรับลูกค้าจาก 6 อุตสาหกรรม หลังจากท่านได้สมัครรับคูปองเรียบร้อย ทางเราจะติดต่อกลับโดยเร็วที่สุดเพื่อยืนยันข้อมูล เมื่อตรวจสอบแล้วว่าท่านมีคุณสมบัติในการรับคูปอง คูปองจะถูกส่งไปยังบัญชี HUAWEI CLOUD ของท่านภายในระยะเวลา 3 เดือน

ขั้นตอนเข้าร่วมกิจกรรม:

  1. คลิกไปที่ “Learn more about solution”

  1. แล้วกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ยอมรับคำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ HUAWEI CLOUD แล้วกดส่ง
  2. หลังจากได้รับคำขอ HUAWEI CLOUD จะติดต่อกลับมาหาท่าน
  3. หลังจากได้รับการอนุมัติ ท่านจะได้รับส่วนลดพร้อมการสนับสนุนอื่นๆ

ข้อเสนอพิเศษ 3: แพ็กเกจเคลาวด์เซิร์ฟเวอร์สำหรับผู้ใช้ใหม่ เริ่มต้น $6     

เสนอแพ็กเกจ SSD Cloud server + Bandwidth + EVS disks แก่ผู้ใช้ใหม่ในราคาเพียง $ 6 USD / เดือน มีคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ 3 รุ่นให้เลือก: 1U2G, 2U4G และ 2U8G คลาวด์เซิร์ฟเวอร์แต่ละรุ่นมีจำนวนจำกัด 10 สิทธิต่อวัน

ข้อเสนอพิเศษ 4: ส่วนลดสูงสุดถึง 65% สำหรับบริการคลาวด์ยอดนิยม

HUAWEI CLOUD มอบส่วนลดพิเศษสำหรับบริการคลาวด์ยอดนิยมหลายบริการ ได้แก่ คลาวด์เซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล การรักษาความปลอดภัยของระบบคลาวด์ CDN และ OCR ท่านสามารถซื้อแพ็กเกจ CDN เป็นรายเดือนหรือรายปีพร้อมส่วนลดสูงสุด 65%

ข้อเสนอพิเศษ 5: คูปองสําหรับจํานวนการสั่งซื้อพิเศษ

ท่านสามารถรับคูปองได้ เมื่อยอดการใช้งานบน HUAWEI CLOUD ของท่านถึงเกณฑ์ที่กำหนด ท่านจะได้รับคูปองมูลค่า $150 สําหรับการใช้จ่าย $1,000 หรือคูปองมูลค่า $60 สําหรับการการใช้จ่าย $500 (ไม่สามารถรับได้ทั้งสองคูปอง)

ข้อเสนอพิเศษ 6: คูปองสําหรับผู้ใช้องค์กร

ผู้ใช้องค์กรสามารถรับคูปอง $50 สําหรับการใช้จ่าย $100

ร่วมกิจกรรม HUAWEI CLOUD “Niu” Year Festival กับเรา มาดูกันว่า HUAWEI CLOUD จะช่วยธุรกิจคุณประสบความสำเร็จได้อย่างไร

อย่าพลาดชมกิจกรรม Live broadcast  ในหัวข้อ HUAWEI CLOUD Hot Service Portfolio ที่จะมาอธิบายเกี่ยวกับบริการต่าง ๆ ของหัวเว่ยคลาวด์ รวมถึงโปรโมชั่นสุดคุ้มอีกมากมาย ในวันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 นี้ สามารถคลิกที่ลิงค์ด้านล่างนี้เพื่อรับชม คลิกลิงก์เพื่อลงทะเบียนตอนนี้

http://intl.smarket.net.cn/u/31dE4yj

]]>
1325124
“ออริจิ้น” ทำได้! ปิดการขายโดย “ไม่มีห้องตัวอย่าง” เพราะขายออนไลน์ราคาถูกกว่า 15% https://positioningmag.com/1293116 Tue, 18 Aug 2020 12:45:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293116 เมื่อปลายเดือนก่อน “ออริจิ้น” ประกาศทดลองขายพรีเซลคอนโดฯ แบบ “ไม่มีห้องตัวอย่าง” ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดและจองทางออนไลน์เท่านั้น โดยเริ่มโครงการแรกที่ “ดิ ออริจิ้น อ่อนนุช” ปรากฏว่าทั้ง 399 ยูนิตขายเกลี้ยงตั้งแต่วันแรกที่เปิดจอง สวนกระแสเศรษฐกิจและสภาวะตลาดคอนโดฯ ยามนี้แถมยังเป็นการเปิดขายออนไลน์ล้วนๆ ซึ่งขัดกับพฤติกรรมลูกค้าอสังหาฯ ที่เคยเป็นมา

Positioning รายงานกลยุทธ์ใหม่ของออริจิ้นในการเปิดขายคอนโดฯ แบบไม่มีห้องตัวอย่าง มีช่องทางขายเฉพาะบนออนไลน์เท่านั้น โดยมีข้อมูลเบื้องต้นว่าเป็นกลยุทธ์เพื่อตัดต้นทุนค่าเซลส์แกลลอรี่ และนำต้นทุนที่ลดลงไปดึงราคาขายให้ต่ำ ช่วยจูงใจผู้บริโภค (อ่านย้อนหลังได้ที่นี่)

หลังจากนั้นในวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา โครงการ ดิ ออริจิ้น อ่อนนุช ที่เป็นโครงการทดลองกลยุทธ์นี้ ปรากฏว่าขายหมดเกลี้ยงทั้ง 399 ยูนิต ตั้งแต่วันแรก สร้างเซอร์ไพรส์ให้ตลาดคอนโดมิเนียมยุคปัจจุบันที่ขายยากจนโครงการเปิดใหม่มักจะตั้งเป้าวันพรีเซลแค่ 40% เท่านั้น และยังช่วยพิสูจน์ได้ในระดับหนึ่งว่าผู้บริโภคบางกลุ่มพร้อมแล้วที่จะซื้อคอนโดฯ ออนไลน์โดยไม่ต้องไปเห็นของก่อนก็ได้ โดยออริจิ้นระบุว่าผู้ซื้อถึง 80% เป็นผู้ซื้ออยู่เองที่ซื้ออสังหาฯ เป็นครั้งแรก ส่วนที่เหลือ 20% คือนักลงทุน

“พีระพงศ์ จรูญเอก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

“พีระพงศ์ จรูญเอก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงที่มาที่ไปของกลยุทธ์นี้ว่า เกิดจากสถานการณ์ COVID-19 บีบให้บริษัทต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพราะวิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาดทำให้ผู้บริโภคยิ่งตัดสินใจซื้อยากขึ้น หนทางที่จะทำให้ผู้บริโภคซื้อคือ “ราคาต้องเร้าใจ”

“เราสำรวจเลยว่าคนวัยประมาณ 25 ปี ถ้าเขาจะซื้ออสังหาฯ เขายอมซื้อที่ราคาเท่าไหร่ ก็ย้อนกลับไปที่การผ่อนต่อเดือน เราพบว่าเขาจะผ่อนได้ที่ประมาณ 9,000 บาทต่อเดือน แปลว่าปลายทางราคาคอนโดฯ ที่ซื้อได้สูงสุดต้องไม่เกิน 1.5 ล้านบาท” พีระพงศ์กล่าว

แต่ต้นทุนต่างๆ ก็ยังเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าวัสดุ และบริษัทไม่สามารถบีบต้นทุนเหล่านี้ลงได้อีกแล้ว ดังนั้นจึงหันมามองต้นทุนอื่นคือ “เซลส์ แกลลอรี่” ที่เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญ และถ้าตัดออกก็ไม่กระทบกับคุณภาพตัวสินค้าที่ลูกค้าจะได้

 

ตัดห้องตัวอย่างออกช่วยลดต้นทุนได้ 5-10%

พีระพงศ์แจกแจงว่า ต้นทุนเซลส์ แกลลอรี่คิดเป็นสัดส่วน 5-10% ของต้นทุนโครงการหนึ่งๆ โดยแบ่งเป็นต้นทุนค่าก่อสร้างจะอยู่ที่ประมาณ 30 ล้านบาทต่อแห่ง จากนั้นจะมีค่าบริหารคือค่าจ้างพนักงานขาย รปภ. แม่บ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ซุ้มป้อมป้ายด้านหน้า ฯลฯ ตกเดือนละประมาณ 700,000-1,000,000 บาทต่อเดือน โดยค่าใช้จ่ายนี้จะมีตลอดจนกว่าโครงการจะสร้างเสร็จ หรือเท่ากับประมาณ 24 ล้านบาทสำหรับคอนโดฯ ตึกเตี้ย และประมาณ 30 ล้านบาทสำหรับตึกสูง

ภาพตัวอย่าง ดิ ออริจิ้น อ่อนนุช

ซีอีโอออริจิ้นมองว่า จริงๆ แล้วหากเป็นคอนโดฯ ตลาดแมสคือกลุ่มราคาประมาณ 2 ล้านบาท แบบแปลนและเฟอร์นิเจอร์ห้องในแต่ละโครงการไม่ได้ต่างกันมาก ขณะที่เทคโนโลยียุคนี้สามารถถ่ายภาพ 360 องศา ถ่ายคลิปวิดีโอแนะนำที่เห็นชัดเจน หรือถ้าลูกค้ายังต้องการความมั่นใจจริงๆ ก็ยอมเดินทางไปดูห้องที่โครงการใกล้เคียงที่สร้างเสร็จแล้วหรือมีเซลส์ แกลลอรี่ได้

ส่วนรายละเอียดที่ลูกค้ามักจะถามพนักงานขาย เช่น ผ่อนเท่าไหร่ ลูกค้ายุคนี้หาข้อมูลเองในอินเทอร์เน็ตผ่านการรีวิวของบล็อกเกอร์ต่างๆ อยู่แล้ว ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องสร้างห้องตัวอย่างใหม่ทุกโครงการเหมือนในอดีตก็น่าจะขายได้ เพราะทุกอย่างมีพร้อมบนโลกออนไลน์

หน้าระบบการจองออนไลน์ของ evenprop.com สามารถกดเลือกห้องเองได้ ดูวิวจริงจากชั้นและมุมที่เลือก ดูรายละเอียดเฟอร์นิเจอร์ในห้อง

ส่วนต้นทุนที่ลดลง ออริจิ้นก็นำมาทำราคาให้ถูกลง พีระพงศ์ยกตัวอย่างคอนโดฯ ดิ ออริจิ้น อ่อนนุช เปิดราคาที่เริ่มต้น 1.29 ล้านบาทสำหรับห้องพื้นที่ใช้สอย 21.5 ตร.ม. หรือเฉลี่ย 68,000 บาทต่อตร.ม. เทียบกับคอนโดฯ ใกล้เคียงเปิดราคาเฉลี่ย 80,000 บาทต่อตร.ม. เห็นได้ว่าลดราคาจากราคาตลาดไปถึง 15% จึงเป็นราคาเร้าใจที่จะทำให้ผู้บริโภคเร่งตัดสินใจซื้อ

“การลดต้นทุนและลดราคาให้ลูกค้าก็กลับมาช่วยตัวเราด้วย เพราะเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ ถ้าเรายังขายราคาเดิมตามปกติ ผมว่าตอนนี้เราจะขายได้ไม่เกิน 30% ของโครงการ” พีระพงศ์กล่าว

 

ต่อยอดรับทำโซลูชันขายออนไลน์

เมื่อประสบผลสำเร็จ ทำให้ออริจิ้นจะนำโมเดลนี้ไปใช้ต่อที่แบรนด์ ดิ ออริจิ้น แห่งต่อไป คือ ดิ ออริจิ้น E22 คอนโดฯ ตึกสูง 200 เมตรจากสถานี BTS สายลวด และจะทำราคาเริ่มเพียง 1.09 ล้านบาท หรือเฉลี่ยตร.ม.ละ 49,000 บาท และอีกโครงการหนึ่งคือ ดิ ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ รามอินทรา ห้องชุดแบบ Duplex เริ่มต้น 2.5 ล้านบาท เตรียมเปิดขายเร็วๆ นี้

นอกจากเป็นแพลตฟอร์มรองรับโครงการในบริษัทแล้ว เนื่องจากออริจิ้นเปิดแพลตฟอร์มนี้เป็นเว็บไซต์ใหม่ชื่อ evenprop.com ทำให้สามารถนำไปใช้บริการโครงการนอกเครือได้ด้วย โดยพีระพงศ์มองว่าโมเดลอาจจะรับจ้างเป็นทีมโซลูชันขายออนไลน์ครบวงจร มีทีมไอทีหลังบ้าน ทีมการตลาดถ่ายภาพ ถ่ายคลิป และให้คำปรึกษาเรื่องการตั้งราคาพร้อมสรรพ กลายเป็นธุรกิจหารายได้เพิ่มเติม

โครงการทำวิดีโอรีวิวให้ลูกค้าดูทางออนไลน์

กลุ่มเป้าหมายของบริการนี้น่าจะเป็นบริษัทอสังหาฯ รายกลางรายเล็ก ทั้งที่อยู่นอกตลาดหุ้นและในตลาดหุ้น เพราะถ้าหากปีหนึ่งๆ บริษัทมีการเปิดตัวคอนโดฯ ไม่มาก การพัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมาเองอาจจะไม่คุ้มค่าใช้จ่ายและเสียเวลา ดังนั้น evenprop.com น่าจะช่วยตอบโจทย์ได้ดี

“เราเข้ามาดิสรัปต์ความเชื่อของคนที่มองว่าการขายอสังหาฯ ต้องมีรูป รส กลิ่น เสียง ต้องมีของจริงให้ดู ต้องมีพนักงานขายมาบริการ เราขอเปลี่ยนความเชื่อนี้และถ้าใครต้องการนำไปต่อยอดเพิ่มก็ยินดี” พีระพงศ์กล่าว

 

ข้อแม้คือยังทำได้เฉพาะตลาดแมส

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าวิธีการนี้จะทำได้กับทุกโครงการ พีระพงศ์กล่าวว่าการขายแบบไร้ห้องตัวอย่างจะทำได้เฉพาะคอนโดฯ ตลาดแมส กรณีของบริษัทคือเฉพาะแบรนด์ ดิ ออริจิ้น เพราะลักษณะโครงการและแปลนห้องมีความคล้ายเดิม ลูกค้าสามารถอ้างอิงโครงการเดิมในการตัดสินใจได้ และเน้นเรื่องทำเลกับราคาเป็นหลัก

แต่ในกลุ่มตลาดกลางบนจนถึงไฮเอนด์ อย่างแบรนด์ ไนท์บริดจ์ หรือ ปาร์ค ออริจิ้น ลูกค้าจะยังต้องการรูป รส กลิ่น เสียง และต้องมีห้องตัวอย่าง เนื่องจากแต่ละโครงการจะมีการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนกัน และลูกค้ายังตัดสินใจซื้อด้วยอารมณ์ความชอบ จึงยังต้องมีบริการของพนักงานขายเข้ามาช่วยกระตุ้น

นอกจากนี้ บริษัทที่จะขายออนไลน์ได้ยังต้องมีเรื่องความน่าเชื่อถือด้วย ดังนั้นต้องเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงในตลาดแล้วบ้าง ถ้าเป็นหน้าใหม่ในวงการอาจจะค่อนข้างยากที่จะใช้กลยุทธ์นี้

พีระพงศ์ตบท้ายว่า สำหรับแบรนด์ ดิ ออริจิ้น ระยะยาวแล้วอาจจะปรับไปเป็นการขายออนไลน์ทั้งหมด แต่จะมีการสร้าง Lap Room เป็นเซลส์ แกลลอรี่กลางไว้ที่ออฟฟิศ ออริจิ้น บางนา เผื่อให้กับลูกค้าที่ยังไม่มั่นใจในการซื้อออนไลน์ สามารถเดินทางมาดูรูปแบบห้องและพูดคุยกับพนักงานขายได้

]]>
1293116
ZEN เตรียมยุบ 3 แบรนด์ในเครือ จัดโครงสร้างองค์กรใหม่ลดต้นทุน เชื่อครึ่งปีหลังพลิกมากำไร https://positioningmag.com/1287845 Wed, 15 Jul 2020 10:09:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287845
  • เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป (ZEN) เปิดแผนครึ่งปีหลัง 2563 เตรียมยุบ 3 แบรนด์รองในเครือ คือ แจ่วฮ้อน, FOO Flavor และ Musha by ZEN มุ่งผลักดันเฉพาะ 7 แบรนด์หลักตลาดแมส และ 2 แบรนด์ในตลาดพรีเมียม
  • จัดโครงสร้างองค์กรใหม่ช่วยลดต้นทุน รวมศูนย์บริหารแยกเป็นเพียง 2 กลุ่มคือกลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่นกับร้านอาหารไทย จากเดิมที่มีทีมแยกบริหารของแต่ละแบรนด์ และยังคงรัดเข็มขัด ตัดงบลงทุนลงครึ่งหนึ่งเหลือ 100 ล้านบาท
  • หลังรัฐบาลยกเลิกเคอร์ฟิว ZEN พบว่าลูกค้ากลับมาทานอาหารที่ร้าน 80-85% ของปกติ เชื่อธุรกิจนี้จะฟื้นแบบ V-shape ครึ่งปีหลังกลับมาทำกำไร ชดเชยช่วงครึ่งปีแรกที่ขาดทุน
  • อีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักในช่วงล็อกดาวน์ควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 คือ “ร้านอาหาร” แต่ปัจจุบันกลับมาดำเนินธุรกิจกันได้เกือบเป็นปกติแล้ว ทำให้มีความหวังฟื้นตัวเร็วในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ก็ยังต้องระวังตัวและประหยัดต้นทุนอยู่

    “บุญยง ตันสกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN เปิดแผนดำเนินธุรกิจช่วงครึ่งปีหลัง ยังปรับตัวต่อเนื่องอีกหลายอย่าง จากก่อนหน้านี้บริษัทปรับกลยุทธ์รับมือ COVID-19 โดยไปมุ่งเน้นเดลิเวอรี่อย่างเต็มที่เพื่อช่วยพยุงกระแสเงินสดไว้ ในช่วงที่เปิดร้านอาหารบนห้างสรรพสินค้าไม่ได้ยาวนานถึง 56 วัน

     

    ยุบ 3 แบรนด์รอง เน้น 7+2 แบรนด์หลัก

    สิ่งที่บริษัทจะปรับจากนี้คือการยุบแบรนด์รอง 3 แบรนด์ ได้แก่ แจ่วฮ้อน (4 สาขา) FOO Flavor (2 สาขา) และ Musha by ZEN (3 สาขา) เพื่อมาเน้นการลงทุนสาขาและการตลาดกับแบรนด์หลักในพอร์ตเท่านั้น โดยสาขาเดิมของแบรนด์ร้านอาหารเหล่านี้จะถูกปรับไปเป็นร้านอาหารแบรนด์หลักในพอร์ตแทน เช่น FOO Flavor สาขาเอ็มควอเทียร์ถูกปรับเป็นร้าน On the table และสาขาลาดพร้าวกำลังจะถูกปรับเป็นร้าน Din’s ในเดือนสิงหาคมนี้

    FOO Flavor ร้านอาหารสไตล์ไทย-อาเซียนฟิวชั่นที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปลายปีที่แล้ว กำลังจะถูกเปลี่ยนไปเป็นแบรนด์อื่น

    ส่วน 7+2 แบรนด์หลักดังกล่าว แยกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มร้านอาหารตลาดแมส 7 แบรนด์ คือ ร้านอาหารญี่ปุ่น ZEN, ร้านปิ้งย่าง AKA, ร้านอาหารสไตล์ญี่ปุ่น On the table, ร้านอาหารอีสาน ตำมั่ว, ร้านอาหารตามสั่ง เขียง, ร้านอาหารจีน Din’s และร้านอาหารเวียดนาม ลาวญวน

    ตัวอย่างเมนูร้าน On the table แบรนด์ที่แข็งแรงในพอร์ต

    และอีก 2 แบรนด์ใน กลุ่มร้านอาหารพรีเมียม คือ Sushi CYU (ซูชิชู) ร้านซูชิแบบโอมากาเสะ กับร้าน Tetsu ร้านเนื้อย่างระดับพรีเมียม

    บุญยงกล่าวว่า กลุ่มร้านอาหารเหล่านี้คือร้านที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และช่วยบาลานซ์พอร์ตของ ZEN ได้เหมาะสม เพราะมีร้านอาหารครบทุกสัญชาติ และมีทั้งร้านที่ทำเมนูเดลิเวอรีได้ดี เช่น ตำมั่ว เขียง กับร้านที่ดึงลูกค้ารับประทานในร้านได้ดี เช่น AKA

     

    รัดเข็มขัดเต็มที่ ยุบรวมทีมบริหาร

    บุญยงกล่าวต่อไปว่า หลังจัดพอร์ตใหม่แล้ว วันที่ 1 ส.ค. 63 เป็นต้นไป บริษัทจะจัดโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อบริหารต้นทุน จากเดิมบริษัทมีการแยกทีมทำงาน มีตำแหน่ง GM และทีมพัฒนาเมนูอาหารแยกของแต่ละแบรนด์ แต่ละร้านจะได้รับงบการตลาดคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ร้าน ซึ่งทำให้ต้นทุนค่อนข้างสูง

    “บุญยง ตันสกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

    ต่อจากนี้ ZEN จะยุบการบริหารจัดแบ่งเหลือเพียง 2 กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มร้านอาหารญี่ปุ่น กับ กลุ่มร้านอาหารไทย แต่ละกลุ่มขึ้นตรงกับ CCO – Chief Commercial Officer ไม่มี GM แยกแบรนด์แล้ว และมีทีมพัฒนาเมนูอาหารของกลุ่มรวมกัน ทำให้ใช้คนน้อยลง รวมถึงจะมีการจัดงบการตลาดรวมทั้งกลุ่ม หากช่วงนั้นร้านใดกำลังเป็นกระแส จะทุ่มงบการตลาดให้ส่วนนั้น ไปจนถึงการสั่งวัตถุดิบร่วมกัน ทำให้ประหยัดต้นทุนได้เพิ่มขึ้น

    การรวมศูนย์แบบนี้ยังมีข้อดีคือทำให้การทำตลาดและบริการหลังขายทำร่วมกันได้ อาจจะมีการจัดแพ็กเกจร่วมกันหลายแบรนด์ และสามารถเปลี่ยนมาใช้บัตรสมาชิกสะสมแต้มหรือส่วนลดของทั้งกลุ่ม จากปัจจุบันแยกเป็นบัตรสมาชิกของแต่ละแบรนด์อยู่

    ทั้งนี้ เฉพาะร้านระดับพรีเมียม 2 แบรนด์คือ Sushi CYU และ Tetsu จะยังมีทีมบริหารแยกเป็นเอกเทศ เพราะลักษณะร้านอาหาร เป้าหมายลูกค้า วัตถุดิบ แตกต่างจากร้านระดับแมส

     

    ตัดงบลงทุน เน้นทำ “ครัวกลาง” ส่งเดลิเวอรี่

    ด้านแผนการลงทุนก็ยังคงตัดงบดังที่เคยแจ้งไว้เมื่อเดือนมีนาคม คือลดจาก 200 ล้านบาทเหลือประมาณ 100 ล้านบาท โดยแบรนด์ที่ยังมีการเปิดสาขาใหม่คือ AKA และ On the table นอกจากนั้นเป็นการรีโนเวตสาขาเดิม และเน้นผลักดันการขายแฟรนไชส์ร้าน “เขียง” แทน ซึ่งเชื่อว่าปีนี้ร้านเขียงจะเพิ่มสาขาไปแตะ 100 สาขาสำเร็จ

    ร้านเขียง ร้านที่ขายดีช่วง COVID-19 เพราะเหมาะกับการเดลิเวอรี่

    แม้สาขาใหม่อาจจะมีน้อย แต่บุญยงกล่าวว่า ครัวกลางในลักษณะ Cloud Kitchen ของบริษัทจะเพิ่มขึ้นเท่าตัวในปีนี้ จากปัจจุบันมี 30 สาขา เพิ่มเป็น 60 สาขา เพราะเป็นโมเดลที่ใช้ได้ดี ปัจจุบันทำรายได้เฉลี่ย 2 ล้านบาทต่อเดือนต่อสาขา

    ครัวกลางของ ZEN คือโมเดลสอดไส้อีกแบรนด์หนึ่งเข้าไปในครัวของร้านที่มีหน้าร้านเพื่อให้เป็นจุดส่งเดลิเวอรี่ เช่น ครัวร้านตำมั่วบางสาขาสามารถทำเมนูร้านเขียงสำหรับส่งเดลิเวอรี่ได้ด้วย เป็นการขยายพื้นที่ที่ลูกค้าสามารถสั่งเดลิเวอรี่ได้ให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องลงทุนทำสาขาใหม่ เพียงฝึกแม่ครัวร้านเดิมให้ทำเมนูเพิ่มขึ้นได้ก็พอ

     

    ร้านอาหารฟื้นแบบ V-shape แต่ยังไม่ 100%

    สำหรับสถานการณ์หลังรัฐบาลคลายล็อกดาวน์ไปแล้วทุกเฟส บุญยงกล่าวว่า ลูกค้ากลับมาทานอาหารที่ร้าน 80-85% ของช่วงเวลาปกติ ซึ่งเร็วกว่าที่บริษัทเคยคาดไว้ ทำให้เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเป็นเดือนที่บริษัทถึงจุดคุ้มทุน หลังจากขาดทุนติดต่อกันมาตั้งแต่เดือนมีนาคม

    มองว่าธุรกิจร้านอาหารน่าจะฟื้นตัวได้แบบ V-shape แต่ก็ยังไม่ถึงจุดเดียวกับช่วงก่อน COVID-19 เพราะประเทศไทยยังขาดลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยว ทำให้ร้านอาหารบางจุดยังต้องปิดต่อไป คือ เกาะสมุย พัทยา ภูเก็ต และหัวหิน

    รวมรายได้ตลอดทั้งปี บุญยงเชื่อว่าบริษัทจะมีรายได้ลดลงจากปีก่อนราว 15-20% แต่จะไม่ขาดทุน เพราะได้ปรับกลยุทธ์ลดต้นทุนไปดังกล่าวทำให้ครึ่งปีหลังนี้จะทำกำไร ชดเชยการขาดทุนในช่วงครึ่งปีแรกได้พอดี

    ทั้งนี้ ผลประกอบการที่ ZEN รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี 2562 มีรายได้ 3,144 ล้านบาท กำไรสุทธิ 106 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 1/63 ทำรายได้ 644 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ -44 ล้านบาท จากการถูกสั่งปิดร้านอาหารไปเพียง 10 วัน ส่วนไตรมาส 2/63 คาดการณ์กันว่าผลขาดทุนจะยิ่งสาหัส เนื่องจากร้านถูกปิดยาวจนถึงปลายเดือนพฤษภาคมจึงจะกลับมาดำเนินการได้

    ]]>
    1287845
    ปลอดภัยไว้ก่อน! “เพอร์เฟค” เปิดโครงการใหม่น้อยที่สุดในรอบกว่าสิบปี ลดต้นทุนประคองตัว https://positioningmag.com/1283699 Tue, 16 Jun 2020 07:20:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283699 โจทย์ใหญ่ของพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟคปีนี้คือการเสริมสภาพคล่องอยู่แล้ว เมื่อเผชิญภาวะวิกฤตจาก COVID-19 ทำให้บริษัทเลือกประคองตัว เลื่อนโครงการเปิดใหม่รวดเดียว 9 โครงการ ทำให้ปี 2563 นี้จะเปิดตัวเพียง 3 โครงการ มูลค่ารวม 5,650 ล้านบาท ลดลงจากเดิมถึง 70% และเป็นการเปิดตัวที่น้อยที่สุดในรอบมากกว่าสิบปีของบริษัท

    “วงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต” กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทตัดสินใจปรับแผนดำเนินงานของบริษัทปี 2563 ใหม่ จะเปิดใหม่เพียง 3 โครงการ มูลค่ารวม 5,650 ล้านบาท ลดลงเกือบ 70% จากแผนเดิมที่จะเปิดตัวใหม่ 12 โครงการ มูลค่ารวม 18,560 ล้านบาท

    การเปิดโครงการใหม่จำนวนน้อยขนาดนี้ของเพอร์เฟค ไม่ได้เห็นมานานมากกว่าสิบปี สะท้อนภาพตลาดที่ค่อนข้างวิกฤต บวกกับสภาวะของบริษัทเองที่มีเป้าหมายต้องการลดอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ลงมาจาก 1.7 เหลือ 1.2 จึงไม่ต้องการก่อต้นทุนเพิ่ม

    สำหรับโครงการที่ยังคงเปิดตัวในปี 2563 ได้แก่

    1. เพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ สุขุมวิท 77 – สุวรรณภูมิ มูลค่าโครงการ 1,750 ล้านบาท บ้านเดี่ยวหรูราคาเริ่มต้น 18 ล้านบาท (เปิดตัวแล้วช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา)
    2. เลค ฟอเรสต์ เพอร์เฟค พาร์ค ราชพฤกษ์ตัดใหม่ โครงการร่วมทุนกับ Sumitomo Forestry มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท บ้านเดี่ยวราคาเริ่มต้น 3 ล้านบาท
    3. เลค ฟอเรสต์ เพอร์เฟค เพลส ราชพฤกษ์ตัดใหม่ โครงการร่วมทุนกับ Sumitomo Forestry มูลค่าโครงการ 1,900 ล้านบาท บ้านเดี่ยวราคาเริ่มต้น 8 ล้านบาท
    เพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ สุขุมวิท 77

    ส่วนโครงการที่เลื่อนไปเป็นโครงการที่เพอร์เฟคลงทุนเอง 7 โครงการ และที่จะร่วมทุนกับ Hongkong Land จากฮ่องกงอีก 2 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยวระดับไฮเอนด์ มูลค่ารวมกว่า 6,000 ล้านบาท

    วงศกรณ์กล่าวว่า ปกติการเปิดโครงการใหม่ต้องใช้เงินลงทุนสำหรับปรับที่ดิน สร้างสำนักงานขาย ซุ้มประตู บ้านตัวอย่าง และสต็อกบ้านสร้างเสร็จพร้อมอยู่บางส่วน คิดเป็นต้นทุนอย่างน้อยแห่งละ 200 ล้านบาท ยิ่งเป็นโครงการระดับไฮเอนด์ ที่จะร่วมกับ Hongkong Land อาจต้องใช้เงินทุนถึง 1,000 ล้านบาท เนื่องจากในแปลนก่อสร้างจะมีการขุดทะเลสาบขนาดใหญ่ รวมถึงบ้านระดับไฮเอนด์ต้องเก็บงานให้สมบูรณ์แบบจึงจะเปิดให้เข้าชมได้

    ดังนั้น จึงมองว่าควรเลื่อนโครงการใหม่เหล่านี้ออกไปก่อนเพื่อประหยัดต้นทุน โดยบริษัทหยุดการก่อสร้างหน้างานไปเรียบร้อยแล้ว

    โครงการเลค ฟอเรสต์ ร่วมทุนกับบริษัท Sumitomo Forestry จากญี่ปุ่น

    หลังปรับแผนการเปิดโครงการใหม่ เป้ายอดขายปี 2563 จึงถูกปรับไปด้วย โดยปรับลง 20% จากเดิม 18,000 ล้านบาท เหลือ 14,500 ล้านบาท และยังคงเป้ายอดโอนกรรมสิทธิ์ที่ 13,000 ล้านบาท

    สาเหตุที่เป้ายอดขายลดลงไม่มากเทียบกับจำนวนโครงการใหม่ที่ปรับลดลงมาก วงศกรณ์กล่าวว่าเป็นเพราะเพอร์เฟคยังมีโครงการแนวราบเดิมที่สามารถก่อสร้างยูนิตขายเพิ่มได้อีกมาก รวมถึงสต็อกคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่อีกกว่า 7,000 ล้านบาท

     

    พฤษภายอดขายดีขึ้น แต่ระยะยาวไม่มั่นใจ

    การตัดสินใจของเพอร์เฟคเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ฟื้นตัว แม้แต่เพอร์เฟคเองก็กล่าวถึงการฟื้นตัวในเดือนพฤษภาคมซึ่งบริษัทกลับมาสร้างยอดขายได้มากกว่าช่วงมีนาคมที่วิกฤตหนัก และมากขึ้นกว่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์’63 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดวิกฤต COVID-19 ถึง 20-30% แต่บริษัทยังไม่มั่นใจในสถานการณ์ระยะยาว

    “คิดว่าพฤษภาขายดีขึ้นเพราะถนนโล่ง เดินทางง่าย การ Work from Home ก็ทำให้อยากได้บ้านใหม่ที่ใหญ่ขึ้น และโปรโมชันก็เยอะจริงๆ ราคาดี ปิดการขายง่าย แต่ดูแล้วยอดขายก็อาจจะเหมือน ‘อั้น’ มาจากเดือนมีนาคม ต้องดูไปจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ว่าจะยังขายดีหรือเปล่า” วงศกรณ์กล่าว

    เพอร์เฟคประเมินครึ่งปีหลังปีนี้ยังต้องระวัง เพราะพื้นฐานเดิมก่อนเกิด COVID-19 เศรษฐกิจมีแนวโน้มซึมลงอยู่แล้ว รวมถึงปัญหาธนาคารเข้มงวดการคำนวณอัตรา LTV สินเชื่อบ้านที่เรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2562 เมื่อมาเจอวิกฤตโรคระบาด ทั้งสองปัจจัยนี้ยิ่งหนักข้อขึ้น

    โดยเฉพาะปัญหา อัตราปฏิเสธสินเชื่อ (Reject Rate) แต่เดิมอยู่ที่ 15-20% ตั้งแต่ธนาคารปรับเกณฑ์ LTV เมื่อปีก่อน ปัจจุบันขึ้นมาเป็น 20-25% เพราะมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่ถูกแบล็กลิสต์กู้ไม่ผ่านเพิ่มขึ้นคือ อาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น นักบิน และกลุ่มที่ถูกพิจารณาเข้มงวดขึ้นไปอีก เช่น พนักงานร้านอาหาร

    เรียกว่าปัญหาเดิมยังไม่ได้แก้ไข โรคระบาด COVID-19 กลับมาเพิ่มปัญหาใหม่ให้อีก ประเมินแล้วจึงมองว่ายอดขายเดือนพฤษภาอาจจะเพิ่มขึ้นมาเพียงชั่วคราว และเชื่อว่ากว่าตลาดอสังหาฯ จะกลับมาเติบโตได้ดีต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2 ปี

    ]]>
    1283699
    ลดต้นทุน! Emirates ยกเลิกบริการ Wi-Fi ฟรีบนเครื่อง พร้อมโต้ข่าวยัน ‘ไม่มี’ การปลดพนักงาน https://positioningmag.com/1279121 Mon, 18 May 2020 05:28:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279121 Emirates เลือกตัดต้นทุนการบริการ ยกเลิก Wi-Fi และสัญญาณโทรทัศน์ฟรีบนเครื่อง พร้อมตอบโต้ข่าวการปลดพนักงาน 30,000 คนว่ายังไม่มีการตัดสินใจดังกล่าว

    Simple Flying รายงานว่า ข้อมูลการบริการ Wi-Fi และสัญญาณโทรทัศน์แบบสดบนเครื่องที่ปกติ Emirates จะให้บริการฟรี ถูกตัดออกจากหน้าเว็บไซต์ของสายการบินแล้ว โดยคาดว่าเป็นหนึ่งในแผนการลดต้นทุนท่ามกลางวิกฤตโรคระบาด COVID-19 นี้

    หลังจากการลดต้นทุน บริการส่วนนี้จะถูกตัดออกในทุกชั้นโดยสาร รวมถึงที่นั่งชั้นธุรกิจและชั้นหนึ่งด้วย หากผู้โดยสารต้องการใช้ Wi-Fi จะต้องซื้อแพ็กเกจเพิ่มเติมโดยคิดค่าบริการต่างกันแล้วแต่เส้นทางบิน แตกต่างจากก่อนหน้านี้ที่ผู้โดยสารชั้นธุรกิจ ชั้นหนึ่ง และผู้โดยสารชั้นประหยัดที่มีสถานะสมาชิกระดับ Gold หรือ Platinum จะได้รับสิทธิ Wi-Fi ฟรี 20MB

    ไม่เพียงแต่บริการ Wi-Fi เท่านั้น Emirates ยังตัดบริการโทรทัศน์ถ่ายทอดสดฟรีบนเครื่องด้วย โดยคาดว่าจะกระทบผู้โดยสารกลุ่มที่เป็นแฟนกีฬาและนักธุรกิจที่ต้องติดตามข่าวสาร ส่วนรายการความบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ บันทึกเทปรายการทีวี ยังมีให้บริการเช่นเดิม

    (photo: Emirates)

    อย่างไรก็ตาม แม้จะตัดสิทธิบางอย่างออกแต่อาจจะกระทบผู้โดยสารกลุ่มไม่ใหญ่นัก เพราะขณะนี้ Emirates ยังกลับมาเปิดเส้นทางบินไม่มาก จากประกาศของสายการบินเมื่อสัปดาห์ก่อน บริษัทจะกลับมาเปิดเส้นทางบินจากดูไบไปยัง 9 เมืองเริ่มวันที่ 21 พ.ค. 63 ได้แก่ ซิดนีย์, เมลเบิร์น, ลอนดอน, แฟรงก์เฟิร์ต, ปารีส, มิลาน, มาดริด, ชิคาโก และโตรอนโต

    และเนื่องจากข้อจำกัดในการเข้าเมืองของประเทศออสเตรเลีย สหรัฐฯ แคนาดา และหลายประเทศทวีปยุโรป จึงมีแนวโน้มว่าผู้โดยสารที่เลือกเดินทางในช่วงนี้น่าจะเป็นผู้โดยสารที่ต้องการกลับสู่บ้านเกิด หรือมีธุระจำเป็นอย่างยิ่ง มากกว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยว

    ทั้งนี้ ภาวะธุรกิจการบินที่ระส่ำระสายและการทำแผนลดต้นทุน ทำให้มีข่าวในช่วงที่ผ่านมาว่า Emirates เตรียมจะเลย์ออฟพนักงานลอตใหญ่จำนวน 30,000 คน ซึ่งทางสายการบินออกมาตอบโต้ข่าวผ่านทาง Reuters ว่า บริษัทยังไม่มีแผนการดังกล่าว

    “การตัดสินใจเช่นนั้นจะถูกสื่อสารด้วยวิธีการที่เหมาะสมอย่างที่องค์กรที่มีความรับผิดชอบทำกัน ขณะนี้ผู้บริหารและทีมของเราได้สั่งการให้ทุกแผนกทบทวนเรื่องค่าใช้จ่ายและทรัพยากรที่จะขัดขวางแผนของบริษัทอยู่” โฆษกของสายการบิน Emirates กล่าว

    เมื่อปีที่แล้ว Emirates หนึ่งในสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกเพิ่งรายงานผลประกอบการทำกำไรสุทธิเติบโตถึง 21% มาถึงปีนี้พวกเขาคือสายการบินแรกที่เลือกตัดบริการเสริมแบบพรีเมียม โดยเป็นบริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องสุขอนามัย เพื่อหาทางลดต้นทุนให้ได้ในช่วงวิกฤตเช่นนี้

    Source: Simple Flying, Arab News

    ]]>
    1279121