สหภาพยุโรป – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 15 Feb 2023 07:06:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘อียู’ เคาะ เลิกจำหน่าย ‘รถบรรทุก-รถโดยสาร’ ที่ใช้น้ำมัน ภายในปี 2578 เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน https://positioningmag.com/1419358 Wed, 15 Feb 2023 05:53:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1419358 หลังจากที่สหภาพยุโรป (อียู) ได้อนุมัติกฎหมายเกี่ยวกับการเลิกใช้รถยนต์และรถตู้สันดาปแล้ว ล่าสุด อียูได้เคาะกฎใหม่ เลิกจำหน่ายยานพาหนะสันดาปขนาดใหญ่ อาทิ รถบรรทุก และ รถโดยสาร ภายในปี 2578 เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้เปิดเผยถึงเป้าหมายที่จะลดการปล่อยมลพิษจากยานพาหนะที่มีน้ำหนักมาก โดยวางเป้าลดการปล่อยมลพิษของรถบรรทุกใหม่อย่างน้อย 45% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับระดับในปี 2562 และต้องลดลง 65% ภายในปี 2578 จนภายในปี 2583 ต้องลดลงสู่ระดับ 90%

ทำให้ สหภาพยุโรป จึงเคาะกฎว่าจะเลิกจำหน่ายรถยนต์สันดาปขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสารหรือรถบรรทุก โดยสหภาพยุโรปตั้งเป้าว่า รถโดยสารประจำทางในเมืองจะต้องปลอดมลพิษตั้งแต่ปี 2573 ขณะที่ผู้ผลิตสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องยนต์ไฮโดรเจน และเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน

ทั้งนี้ มาตรการต่าง ๆ ที่สหภาพยุโรปออกมานั้นก็เพื่อเป้าหมานในการทำให้ยุโรปมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ปัจจุบัน รถยนต์ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 15% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมดในสหภาพยุโรป ส่วนรถบรรทุก รถโดยสารในเมือง และ รถโดยสารทางไกล คิดเป็น 6%

ในขณะเดียวกัน จีน ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ต้องการให้รถยนต์ใหม่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ปลั๊กอินไฮบริด หรือไฮโดรเจนภายในปี 2578

]]>
1419358
‘เยอรมนี’–‘เดนมาร์ก’ ทุ่ม 9 พันล้านลงทุน ‘ไฟฟ้าพลังงานลม’ แทนการนำเข้าก๊าซ ‘รัสเซีย’ https://positioningmag.com/1398346 Wed, 31 Aug 2022 02:41:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1398346 หลังการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ทาง สหภาพยุโรป (EU) ก็ออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย รวมถึงการนำเข้า พลังงาน ไม่ว่าจะเป็น ก๊าซ น้ำมัน และ ถ่านหิน แน่นอนว่าการคว่ำบาตรดังกล่าวนั้น ส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิก ล่าสุด เยอรมนีและเดนมาร์กก็หันไปหาพลังงานสะอาดเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว

เยอรมนีและเดนมาร์ก ได้มีข้อตกลงร่วมกันมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างโครงการผลิตไฟฟ้า พลังงานลม นอกชายฝั่งในทะเลบอลติก ซึ่งทางการระบุว่าจะช่วยให้สามารถจ่ายไฟฟ้าให้เพียงพอสำหรับครัวเรือน 4.5 ล้านครัวเรือน ภายในปี 2573

โดยข้อตกลงนี้ เดนมาร์กต้องการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมตามแผนที่วางไว้บนเกาะพลังงานบอร์นโฮล์มจาก 2 เป็น 3 กิกะวัตต์ และข้อตกลงดังกล่าวยังรวมถึงสายเคเบิลใต้น้ำ 292 ไมล์ที่เชื่อมโยงกังหันลมของบอร์นโฮล์มกับกริดของเยอรมนี เพื่อลดการพึ่งพาก๊าซและน้ำมันของรัสเซีย

ปัจจุบัน เดนมาร์กและเยอรมนีมีความสามารถด้านพลังงานลมนอกชายฝั่ง 1.5 กิกะวัตต์ และ 1 กิกะวัตต์ ในทะเลบอลติกตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 90% ของพลังงานลมในยุโรป

Robert Habeck รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินการด้านสภาพอากาศของเยอรมนี กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการ ระดับเรือธง ซึ่งจะช่วยให้ยุโรปบรรลุ ความมั่นคงด้านพลังงานและความเป็นกลางของสภาพภูมิอากาศ

“พลังงานลมจากทะเลบอลติกจะช่วยเราต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และนี่คือการลงทุนในความมั่นคงของเรา มันจะช่วยให้เราพึ่งพาก๊าซจากรัสเซียน้อยลง” Annalena Baerbock รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมัน กล่าวเสริม

ความจุพลังงานลมทั้งหมดของโลก ทั้งบนบกและนอกชายฝั่ง ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 837 กิกะวัตต์ ตามรายงานของสภาพลังงานลมโลก จีนถือหุ้นใหญ่ที่สุดในตลาดพลังงานลมนอกชายฝั่งของโลก โดยได้เพิ่มกำลังการผลิตลมนอกชายฝั่งเป็น 27.7 กิกะวัตต์ในปี 2564

คณะกรรมาธิการยุโรปตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานลมทั้งหมดของประเทศเป็น 300 กิกะวัตต์ภายในปี 2593 เพิ่มขึ้นจาก 16 กิกะวัตต์ที่ติดตั้งในเดือนพฤษภาคม

Source

]]>
1398346
EU เตรียมคว่ำบาตร “รัสเซีย” กรณีรับรอง “สาธารณรัฐ” 2 แห่งทางตะวันออกยูเครน https://positioningmag.com/1374930 Wed, 23 Feb 2022 02:34:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1374930 (สำนักข่าวซินหัว) เมื่อวันจันทร์ที่ 21 ก.พ. บรรดาผู้นำสหภาพยุโรป หรืออียู (EU) แถลงว่าอียูจะใช้มาตรการคว่ำบาตรตอบโต้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีรัสเซียรับรองแคว้นลูกันสก์และแคว้นโดเนตสก์ทางตะวันออกยูเครนเป็น “สาธารณรัฐ”

แถลงการณ์ต่อสื่อมวลชนระบุว่าชาร์ลส์ มิเชล ประธานคณะมนตรียุโรป และอัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ประณามมติของรัสเซียที่รับรองสองแคว้นข้างต้นในฐานะ “รัฐเอกราช”

“ขั้นตอนดังกล่าวละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงข้อตกลงมินสก์อย่างโจ่งแจ้ง อียูจะใช้มาตรการคว่ำบาตรตอบโต้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ผิดกฎหมายนี้”

ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ลงนามกฤษฎีการับรอง “สาธารณรัฐประชาชนลูกันสก์” (LPR) และ “สาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์” (DPR) ในฐานะรัฐเอกราช เมื่อคืนวันจันทร์ที่ 21 ก.พ.

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สภาดูมา (Duma) หรือสภาผู้แทนราษฎรรัสเซีย อนุมัติร่างกฎหมายรับรองสาธารณรัฐลูฮันสก์ และสาธารณรัฐโดเนตสก์ ในภูมิภาคดอนบาสส์ที่แยกตัวเป็นอิสระทางตะวันออกของยูเครน เป็นรัฐเอกราช

ขณะหลายชั่วโมงก่อนการประกาศรับรองดังกล่าว โจเซฟ บอเรลล์ ผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประเทศของอียู เตือนว่าจะมีการออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย หากรัสเซียรับรองเอกราชสองแคว้นทางตะวันออกของยูเครน

]]>
1374930
“ยุโรป” เตรียมเปิดรับ “นักท่องเที่ยวอเมริกัน” ที่ฉีดวัคซีนครบในช่วงฤดูร้อนปีนี้ https://positioningmag.com/1329228 Mon, 26 Apr 2021 07:20:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329228 อูร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ระบุวว่าสหภาพยุโรปมีแผนที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 แล้วภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งถือเป็นการปรับนโยบายครั้งใหญ่ของอียูหลังจากที่อัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นทั่วโลก

“เท่าที่ดิฉันทราบ ชาวอเมริกันได้รับวัคซีนที่สำนักงานยาแห่งยุโรป (EMA) ให้การรับรอง ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถเดินทางและท่องเที่ยวในสหภาพยุโรปได้อย่างเสรี” ฟอน เดอร์ เลเยน ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส

“อย่างหนึ่งที่แน่นอนก็คือ รัฐสมาชิกอียูทั้ง 27 ประเทศจะยอมรับโดยปราศจากเงื่อนไข หากผู้เดินทางนั้นได้รับวัคซีนที่ผ่านการรับรองจาก EMA แล้ว”

แม้จะไม่ได้ให้กรอบเวลาที่ชัดเจน แต่นิวยอร์กไทม์สคาดว่าการเปิดพรมแดนยุโรปให้กับชาวอเมริกันที่ฉีดวัคซีนน่าจะเกิดขึ้นในฤดูร้อนปีนี้

ปัจจุบันมีวัคซีนของผู้ผลิต 3 รายที่ใช้งานในสหรัฐอเมริกา และผ่านการรับรองจาก EMA ได้แก่ วัคซีนโมเดอร์นา, ไฟเซอร์ และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน

นิวยอร์กไทม์สรายงานว่า โครงการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในสหรัฐฯ ที่ดำเนินการอย่างรวดเร็ว บวกกับความคืบหน้าในการเจรจาเรื่องการใช้ใบรับรองการฉีดวัคซีน เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้อียูพิจารณาเปิดรับนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ

อูร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป

ฟอน เดอร์ เลเยน ชี้ว่า โครงการฉีดวัคซีนในสหรัฐฯ “ก้าวหน้าไปอย่างมาก” และคาดว่าจะฉีดวัคซีนให้กับประชากรวัยผู้ใหญ่ได้ถึง 70% ภายในกลางเดือน มิ.ย.

แม้การเปิดรับนักท่องเที่ยวจะต้องอิงกับสถานการณ์โรคระบาดเป็นหลัก แต่ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปชี้ว่าสถานการณ์ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งเธอเองก็หวังว่าสหภาพยุโรปคงจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายประเทศใช้มาตรการปิดพรมแดนและห้ามการเดินทางที่ไม่จำเป็น ซึ่งส่งผลให้การท่องเที่ยวในยุโรปได้รับผลกระทบอย่างหนัก

สัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลกรีซได้อนุญาตให้ผู้เดินทางจากอียูและอีก 5 ประเทศที่ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 แล้ว หรือมีผลตรวจ COVID-19 เป็นลบ สามารถเดินทางเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัว เพื่อฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และในขณะเดียวกันก็เร่งฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประชากรของตนเอง

Source

]]>
1329228
สหรัฐฯ ยืนยันวัคซีน ‘AstraZeneca’ มีประสิทธิภาพ 79% และไม่ก่อให้เกิด ‘ลิ่มเลือด’ https://positioningmag.com/1324572 Tue, 23 Mar 2021 03:19:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324572 ด้วยความที่ ‘ยุโรป’ กำลังเผชิญกับการระบาดระลอก 3 ซึ่งสาเหตุหนึ่งเกิดจากความ ‘ไม่เชื่อมั่น’ ในวัคซีน โดยเฉพาะของ ‘แอสตราเซเนกา’ (AstraZeneca) ที่อาจทำให้เกิดอาการลิ่มเลือดอุดตัน แต่หน่วยงาน อย. ของยุโรปก็ประกาศไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีนและเริ่มทยอยกลับมาใช้วัคซีนแบรนด์นี้อีกครั้ง

ล่าสุด ผลการทดลองขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่าวัคซีนไวรัส COVID-19 ที่พัฒนาโดย ‘AstraZeneca’ และ ‘University of Oxford’ มีประสิทธิภาพ 79% ในการป้องกันอาการเจ็บป่วยและได้ผล 100% ในการป้องกันโรครุนแรงและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และสำหรับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพของวัคซีนจะอยู่ที่ 80%

การวิเคราะห์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน AstraZeneca นั้นอ้างอิงจากผู้เข้าร่วม 32,449 คน ในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จากศูนย์ทดลอง 88 แห่งในสหรัฐอเมริกา, เปรู และชิลี โดยข้อมูลจากการศึกษาทดลองในมนุษย์ระยะสุดท้ายยืนยันว่าวัคซีน Oxford-AstraZeneca มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง

เมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีน ‘Moderna’ s’ พบว่ากว่า 94% มีประสิทธิภาพในการป้องกันการไวรัส COVID-19 และมีประสิทธิภาพ 95% เมื่อเทียบกับ ‘Pfizer – BioNTech’

astrazeneca vaccine
Photo : Shutterstock

ผลการทดลองดังกล่าวเกิดขึ้นไม่นานหลังจากหลายประเทศระงับการใช้ยานี้ชั่วคราวหลังจากมีรายงานการเกิดลิ่มเลือดในผู้ที่ได้รับวัคซีนบางราย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพวิพากษ์วิจารณ์การเคลื่อนไหวดังกล่าวอย่างรุนแรงโดยอ้างว่า ‘ขาดข้อมูล’ ในขณะที่นักวิเคราะห์แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อการระงับการใช้วัคซีนเนื่องจากไวรัสยังคงแพร่กระจาย

โดยเยอรมนี, ฝรั่งเศส, อิตาลีและสเปน เป็นหนึ่งในกลุ่มที่กลับมาใช้วัคซีน Oxford-AstraZeneca อีกครั้งหลังจากผู้ควบคุมยาของยุโรปกล่าวว่า การตรวจสอบเบื้องต้นเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่เป็นไปได้สรุปว่าการฉีดมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยองค์การอนามัยโลกและสมาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเกิดลิ่มเลือดและการห้ามเลือดได้แนะนำให้ประเทศต่าง ๆ ยังคงใช้วัคซีน Oxford-AstraZeneca

ยุโรปป่วน! รัฐกลับมาใช้ “แอสตราเซเนกา” แต่ประชาชนเสียความเชื่อมั่น ชะลอการรับวัคซีน

AstraZeneca กล่าวในการเปิดตัวเมื่อวันจันทร์ว่าคณะกรรมการอิสระระบุว่า ไม่มีปัญหาด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ยังได้ทำการตรวจสอบเฉพาะเกี่ยวกับลิ่มเลือดและการอุดตันในหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นก้อนเลือดที่หายากมากในสมองด้วยความช่วยเหลือของนักประสาทวิทยาอิสระ

คณะกรรมการตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูล พบว่า “ไม่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นของการเกิดลิ่มเลือดหรือเหตุการณ์ที่เกิดจากการเกิดลิ่มเลือดในผู้เข้าร่วม 21,583 คนที่ได้รับวัคซีน และการค้นหา CVST โดยเฉพาะไม่พบเหตุการณ์ใด ๆ ในการทดลองนี้”

(Photo by Pascal Le Segretain/Getty Images )

AstraZeneca กล่าวว่า จะวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปและเตรียมการวิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อส่งไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาเพื่อขออนุญาตใช้ในกรณีฉุกเฉินในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดยแผนดังกล่าวจะยื่นในช่วงครึ่งแรกของเดือนเมษายนเพื่อขออนุมัติการใช้งานในกรณีฉุกเฉิน เมื่ออนุมัติแล้วบริษัทมั่นใจว่าจะส่งมอบ 30 ล้านโดสได้ทันที

Source

]]>
1324572
ยุโรปป่วน! รัฐกลับมาใช้ “แอสตราเซเนกา” แต่ประชาชนเสียความเชื่อมั่น ชะลอการรับวัคซีน https://positioningmag.com/1324336 Mon, 22 Mar 2021 04:26:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324336 หลังหน่วยงาน อย. ของยุโรปประกาศไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีน “แอสตราเซเนกา” กับอาการลิ่มเลือดอุดตัน หลายประเทศในยุโรปทยอยกลับมาใช้วัคซีนแบรนด์นี้อีกครั้ง แต่ปัญหาใหม่ก็คือ…ประชาชนบางส่วนขาดความเชื่อมั่นและปฏิเสธเข้ารับการฉีดวัคซีน จนภาครัฐกลุ้มใจเพราะอาจพลาดเป้าหมายการฉีดวัคซีนครบ 70% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ภายในเดือนกันยายนนี้

สถานการณ์ COVID-19 ในยุโรปปัจจุบันมีปัญหารุมเร้าไม่น้อย จากการฉีดวัคซีนล่าช้ากว่ากำหนด เกิดการระบาดระลอกที่สาม และไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ แถมยังมีประเด็นผลข้างเคียงลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) จนต้องหยุดการฉีดวัคซีนไปหลายวัน กระทั่งกลับมาฉีดใหม่อีกครั้ง ประชาชนก็ยังแสดงความกังวลใจและปฏิเสธการเข้ารับวัคซีนยี่ห้อนี้

องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ประกาศเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2021 ว่า หน่วยงานไม่พบความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างวัคซีนแอสตราเซเนกากับอาการลิ่มเลือดอุดตัน ดังนั้น วัคซีนชนิดนี้ถือว่ามีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย โดยมองว่าประโยชน์จากวัคซีนยังคงมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

astrazeneca vaccine
Photo : Shutterstock

หลัง EMA ประกาศผลการตรวจสอบ หลายประเทศยุโรป เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน ไซปรัส และเนเธอร์แลนด์ ประกาศกลับมาใช้แอสตราเซเนกาฉีดให้กับประชาชนทันที เพียงแต่อาจจะมีเงื่อนไขบ้าง เช่น ฝรั่งเศส แนะนำให้ฉีดในคนวัย 55 ปีขึ้นไป เพราะผลการพบอาการลิ่มเลือดอุดตันเกือบทุกเคสเกิดขึ้นในคนวัยต่ำกว่า 55 ปี กลับกันในเยอรมนี แนะนำให้ฉีดในคนวัยไม่เกิน 65 ปี

ขณะที่กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย 3 ประเทศ ได้แก่ นอร์เวย์ เดนมาร์ก และสวีเดน ระบุว่าจะยังชะลอการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาออกไปก่อน

อย่างไรก็ตาม แม้หน่วยงานรัฐจะยืนยันความปลอดภัย แต่ประชาชนบางส่วนยังคงหวาดกลัวและเลือกที่จะไม่เข้ารับการฉีดวัคซีนจนกว่าจะมียี่ห้ออื่นเข้ามา ซึ่งอาจเป็นปัญหาทำให้การฉีดวัคซีนล่าช้า ไม่เป็นไปตามเป้าของ EU ที่ต้องการจะฉีดวัคซีนให้ได้ 70% ของประชากรวัยผู้ใหญ่ทั้งหมดภายในเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่และกลับมาใช้ชีวิตปกติกันได้เร็วที่สุด

 

ประชาชนบางส่วนส่อแววถอยหนีแอสตราเซเนกา

โพลที่สำรวจใน ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 15-16 มีนาคมที่ผ่านมา (ก่อนการประกาศของ EMA) พบว่ามีประชาชนเพียง 20% ที่ยังเชื่อมั่นในวัคซีนแอสตราเซเนกา

(Photo by Pascal Le Segretain/Getty Images )

ขณะที่ใน เยอรมนี วันแรกหลังรัฐกลับมาใช้วัคซีนแอสตราเซเนกา สำนักข่าว CNN สำรวจศูนย์เข้ารับการฉีดวัคซีนแห่งหนึ่งในเบอร์ลิน พบว่ามีคนเข้ารับบริการค่อนข้างน้อย จากตารางการฉีด 500 คนต่อวัน ผ่านไปแล้วครึ่งวันเพิ่งมีคนเข้ารับการฉีดไปเพียง 137 คน ทีม CNN ยังสัมภาษณ์ความเห็นของคนที่เข้ารับการฉีดว่าตัวเธอเองลังเลใจ แต่แพทย์ประจำตัวแนะนำว่าควรฉีดวัคซีน จึงมาฉีดวัคซีนในวันนี้

ส่วนใน โปรตุเกส ก็เกิดกระแสความกังวลและจะหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนแอสตราเซเนกา จนหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง คือ สมาคมหน่วยสุขภาพครอบครัวแห่งชาติ ออกโรงเตือนว่าหากใครปฏิเสรับวัคซีนแอสตราเซเนกา จะต้องไปต่อคิวรับวัคซีนที่ท้ายแถว และไม่ว่าคนไข้หรือแพทย์ก็ไม่สามารถเลือกได้ว่าจะฉีดวัคซีนยี่ห้อไหน

 

ปัญหาหนัก…ประชาชนเลือก “รอ” วัคซีนยี่ห้ออื่น

ไมเคิล เฮด นักวิจัยอาวุโสด้านสุขภาวะสังคมโลก มหาวิทยาลัยเซาธ์แธมตัน สหราชอาณาจักร ให้ความเห็นว่า เมื่อเกิดการระงับใช้วัคซีนเป็นวงกว้างใหลายประเทศ โดยในบางประเทศมีประชากรที่ลังเลต่อการฉีดวัคซีนอยู่แล้วนั้น การจะกลับมาสร้างความมั่นใจให้ประชาชนอีกครั้งจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา

นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงว่าประชาชนจะเริ่มพึงพอใจวัคซีนยี่ห้อหนึ่งมากกว่าอีกยี่ห้อหนึ่ง และยอมที่จะชะลอการรับวัคซีนออกไปเพื่อรอวัคซีนยี่ห้อที่ต้องการ โดยเฮดย้ำว่า ที่จริงแล้ววัคซีนที่ได้รับการรับรองแล้วแต่ละยี่ห้อมีความปลอดภัยและประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน เท่าที่เก็บข้อมูลได้ในตอนนี้

Photo : Shutterstock

“เราไม่อยากเห็นเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ผมกลัวว่ามันจะเกิดขึ้น และถ้าประชาชนรอที่จะฉีดวัคซีนยี่ห้ออื่น หรือหนักที่สุดคือไม่รับวัคซีนเลย โรคระบาดก็จะยิ่งยาวนานกว่าที่ควรจะเป็น” เฮดกล่าว “แน่นอนว่าคุณจะได้เห็นเคสผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มขึ้น และผลสุดท้ายคือมีคนเสียชีวิตมากขึ้น”

ปัจจุบัน ยุโรปมีการสั่งซื้อวัคซีนแล้ว 4 ยี่ห้อ คือ แอสตราเซเนกา (AstraZeneca), ไบโอเอนเทค-ไฟเซอร์ (BioNTech-Pfizer), โมเดอร์นา (Moderna) และ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson)

3 ยี่ห้อแรกนั้นเริ่มฉีดแล้วในยุโรป เหลือเพียงจอนห์สัน แอนด์ จอนห์สัน ที่คาดว่าจะเริ่มรับสินค้าและใช้ช่วงกลางเดือนเมษายนนี้

ความเชื่อมั่นต่อวัคซีนแอสตราเซเนกาถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะไม่เพียงแต่ยุโรปที่ใช้ CNN รายงานว่าขณะนี้มี 143 ประเทศในโลกที่สั่งซื้อวัคซีนป้องกัน COVID-19 แล้ว และมีถึง 81 ประเทศหรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งที่สั่งยี่ห้อแอสตราเซเนกา กระจายไปในทุกทวีปของโลก นอกจากยุโรปแล้ว มีประเทศขนาดใหญ่ที่ใช้ เช่น แคนาดา เม็กซิโก อินเดีย ออสเตรเลีย เป็นต้น รวมถึงประเทศไทยก็สั่งซื้อวัคซีนแอสตราเซเนกาเช่นกัน

Source

]]>
1324336
“ฉีดวัคซีน” แล้วเข้าได้! “ไอซ์แลนด์” ประเทศแรกของ EU ที่เปิดประตูรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก https://positioningmag.com/1324058 Thu, 18 Mar 2021 15:01:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324058 ข่าวดีสำหรับคนอยากล่าแสงเหนือ เพราะประเทศ “ไอซ์แลนด์” เป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรป (EU) ที่เปิดรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก หากผ่านการฉีดวัคซีนครบโดสเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ต้องมีใบรับรองที่ออกโดย EU หรือองค์การอนามัยโลก (WHO) แล้วเท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน WHO ยังไม่ให้การรับรองวัคซีนที่ผลิตโดยจีนและรัสเซีย

ไอซ์แลนด์เป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่เปิดประตูต้อนรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก หากได้รับวัคซีนครบโดสเรียบร้อยแล้วสามารถเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องตรวจหาเชื้อ COVID-19 และกักตัว และนับเป็นประเทศแรกของสหภาพยุโรป (EU) ที่เปิดประตูกว้างขึ้น พร้อมต้อนรับชาวโลก

นโยบายเปิดประตูรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกของไอซ์แลนด์เริ่มแล้วตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2021 โดยเว็บไซต์ Schengenvisainfo ระบุว่า ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ของไอซ์แลนด์จะยอมรับใบรับรองการฉีดวัคซีนเพื่อเข้าสู่ไอซ์แลนด์ใน 3 กรณีนี้

– ใบรับรองการเข้ารับการฉีดวัคซีนโดย EU หรือ EEA
– ใบรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า WHO ได้ตรวจสอบและรับรองวัคซีนที่ใช้ฉีดในใบรับรองการฉีดวัคซีนของบุคคลนั้นแล้ว
– ใบรับรองว่าบุคคลนั้นเคยมีเชื้อโรค COVID-19 ในร่างกาย โดยต้องสอดคล้องกับคุณสมบัติที่ “หัวหน้านักระบาดวิทยา” ของประเทศกำหนดไว้ (กรณีนี้คือตรวจสอบแล้วว่า บุคคลนั้นสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเองหลังจากผ่านการติดเชื้อมาก่อน)

ข้อบังคับเหล่านี้ทำให้ต้องไปพลิกลิสต์วัคซีนที่ได้รับการรับรองแล้วจาก WHO พบว่า ปัจจุบันวัคซีนที่ WHO รับรองแล้วยังไม่ได้รวมถึงวัคซีนที่ผลิตโดยประเทศจีนและรัสเซีย นั่นหมายความว่า คนที่ได้รับวัคซีนแล้วแต่เป็นวัคซีนจีนหรือรัสเซียจะยังไม่สามารถเข้าประเทศไอซ์แลนด์ได้ ซึ่งทำให้การเปิดประเทศของไอซ์แลนด์มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เหมือนกันว่ากำลังกีดกันคนบางกลุ่มอยู่หรือไม่

ธารน้ำแข็ง “สกาฟตาเฟล” แหล่งท่องเที่ยวใน “ไอซ์แลนด์”

ที่จริงแล้ว ภาคธุรกิจท่องเที่ยวถือเป็นสัดส่วนน้อยในจีดีพีของประเทศไอซ์แลนด์ โดยคิดเป็นเพียง 3.5% ของจีดีพีประเทศเมื่อปี 2019 อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักท่องเที่ยวสำคัญของไอซ์แลนด์คือสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราว 41% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด

ดังนั้น เมื่อคนอังกฤษและคนอเมริกันคือหนึ่งในกลุ่มชนชาติที่ได้รับวัคซีนแล้วเป็นจำนวนมาก และเป็นสัดส่วนที่มากยิ่งกว่าค่าเฉลี่ยของประชาชน EU ด้วยซ้ำ ทำให้การตัดสินใจเปิดประตูรับนักเดินทางที่ฉีดวัคซีนแล้วมีความเหมาะสม

 

“กรีซ” จ่อประเทศถัดไป

ขณะที่ EU ยังหารือเพื่อทำระบบวัคซีน พาสปอร์ตร่วมให้ประชาชนใน EU ที่รับวัคซีนแล้วเดินทางได้อิสระในเขต EU โดยวางแผนจะเริ่มใช้ได้ราวกลางเดือนพฤษภาคม ประเทศกรีซได้ขยับไปเร็วกว่าแล้วเพื่อจะเปิดประเทศให้เร็วที่สุด ให้ทันช่วงฤดูใบไม้ผลิที่จะเริ่มต้นเดือนเมษายนนี้ และหน้าไฮซีซันของกรีซซึ่งจะเริ่มในเดือนพฤษภาคม

โดยกรีซมีการเจรจาโครงการ “Green Pass” นำร่องกับ บางประเทศใน EU, อิสราเอล และ สหราชอาณาจักร ให้ประชาชนในประเทศเหล่านั้นที่มี ใบรับรองการฉีดวัคซีน หรือ มีใบรับรองมีภูมิคุ้มกันเนื่องจากผ่านการติดเชื้อ หรือ ผลตรวจปลอดเชื้อ COVID-19 สามารถเดินทางเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัว แต่ ตม. ของกรีซจะมีการสุ่มตรวจเป็นบางราย

ซานโตรินี่ ประเทศกรีซ (Photo by Aleksandar Pasaric from Pexels)

นอกจากกลุ่มประเทศนำร่อง กรีซยังเดินหน้าเจรจาต่อเนื่องอีก 9 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, เซอร์เบีย, รัสเซีย, ยูเครน, จีน, UAE และ ซาอุดีอาระเบีย เพื่อจะใช้นโยบาย Green Pass แบบเดียวกัน นั่นแปลว่าประเทศกรีซจะอ้าแขนต้อนรับผู้ที่ฉีดวัคซีนจีนและรัสเซียด้วย

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของพนักงานธุรกิจท่องเที่ยว คนทำงานโรงแรมและการท่องเที่ยวซึ่งมีกว่า 3 แสนคนทั่วประเทศจะได้รับการฉีดวัคซีนก่อนด้วย เพราะกรีซต้องการให้การธุรกิจท่องเที่ยวฟื้นตัวคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของปี 2019

สำหรับธุรกิจท่องเที่ยวไทยก็ยังต้องรอภาครัฐก่อนว่า จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่รับวัคซีนแล้วเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัวได้เมื่อไหร่

โดยความเคลื่อนไหวล่าสุดของไทยมีการออกนโยบาย Area Hotel Quarantine คลายล็อกให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาและต้องกักตัว 14 วัน สามารถออกมาพักผ่อนในบริเวณโรงแรมที่กักตัวได้หลังพ้น 3 วันแรก และตรวจไม่พบเชื้อ COVID-19 ซึ่งจะอนุญาตเฉพาะใน 5 จังหวัดก่อน คือ เชียงใหม่, ชลบุรี (เมืองพัทยา), ภูเก็ต, กระบี่ และสุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะเต่า เกาะพะงัน) เริ่มต้นเดือนเมษายนนี้

Source: Forbes, Euronews

]]>
1324058
EU เสนอใช้ ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ กระตุ้นท่องเที่ยวเเบบปลอดภัยทั่วยุโรป ลุ้นเปิดตัวภายใน 3 เดือนนี้ https://positioningmag.com/1321787 Wed, 03 Mar 2021 11:44:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321787 เริ่มมีความคืบหน้าเรื่อยๆ กับการใช้ ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ ในยุคหลัง COVID-19 ล่าสุดคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เสนอให้มีการออกใบอนุญาตเดินทางระบบดิจิทัล หรือ ‘Digital Green Pass’ เพื่อเปิดพรมเเดนให้ผู้คนเดินทางเเละร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศสมาชิก คาดเปิดตัวภายใน ‘3 เดือนข้างหน้า

ประธาน EC โพสต์ในทวิตเตอร์ว่า ใบอนุญาตเดินทางระบบดิจิทัลนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของชาวยุโรป ให้สามารถเดินทางข้ามพรมเเดนสหภาพยุโรปหรือต่างประเทศได้ ทั้งการเดินทางเพื่อทำงาน ติดต่อธุรกิจ หรือท่องเที่ยว

โดยผู้ที่จะได้รับ ‘Digital Green Pass’ จะต้องได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 มาแล้ว เเละมีผลการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาเป็นลบ ซึ่งจะมีการบันทึกข้อมูลทั้งการฉีดวัคซีน ผลการตรวจ เเละใบรับรองเเพทย์หลังหายจากอาการป่วย โดยจะคำนึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การรักษาความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว

ก่อนหน้านี้เดนมาร์ก’ ประกาศเเผนการใช้ ‘วัคซีน พาสปอร์ต’ เเบบดิจิทัลในช่วงกลางปีนี้ หวังฟื้นฟูเศรษกิจ โดยจะเริ่มจากกลุ่มนักธุรกิจและนักลงทุนที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศก่อน จากนั้นจะขยายให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม ด้านประเทศเพื่อนบ้านอย่างสวีเดน’ ก็กำลังพิจารณาโครงการวัคซีน พาสปอร์ต ในลักษณะที่คล้ายๆ กันกับเดนมาร์ก

โดยอิสราเอลเป็นประเทศที่นำระบบ Green Pass มาใช้สำหรับประชาชนที่ผ่านการฉีดวัคซีนแล้ว ให้พวกเขาสามารถนั่งรับประทานอาหาร เข้าร่วมกิจกรรมที่มีผู้คนพลุกพล่าน อย่างเช่นการแข่งขันกีฬา ชมคอนเสิร์ต ฯลฯ

แนวคิดเรื่องการใช้วัคซีน พาสปอร์ตถูกนำมาหารือในการประชุมของ EU เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว คาดว่าหากผ่านความเห็นชอบของประเทศสมาชิกเเล้ว จะสามารถประกาศใช้ได้ภายในช่วง ‘3 เดือนข้างหน้านี้

อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้วัคซีน พาสปอร์ตยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนบางประการเกี่ยวกับประสิทธิผลของการฉีดวัคซีน เช่นเดียวกับสมาชิก EU บางประเทศก็เห็นว่าอาจเร็วเกินไป

ในอีกมุมหนึ่งก็มีความเห็นว่า เป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมที่จะอนุญาตให้เเต่คนที่ฉีดวัคซีนแล้วให้เดินทางไปไหนก็ได้ ส่วนคนที่ยังไม่ได้ฉีด ก็ต้องกักตัวตามมาตรการรัฐที่เข้มงวดต่อไป

 

ที่มา : VOA , Politico 

]]>
1321787
“เวียดนาม-อังกฤษ” ลงนามข้อตกลงการค้าเสรี มีผล 31 ธ.ค. ทันที https://positioningmag.com/1312583 Wed, 30 Dec 2020 17:25:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312583 เวียดนาม และอังกฤษได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีในวันอังคารที่ 29 ธ.ค. ตามการเปิดเผยของกระทรวงพาณิชย์เวียดนาม ไม่กี่วันก่อนอังกฤษจะแยกตัวจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ

ข้อตกลงฉบับใหม่ที่อังกฤษจะใช้แทนข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 ธ.ค. คำแถลงของกระทรวงระบุ

การค้าระหว่างเวียดนามและอังกฤษเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12% ต่อปี ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีมูลค่าอยู่ที่ 6,600 ล้านดอลลาร์เมื่อปีก่อน และข้อตกลงนี้จะช่วยกระตุ้นการส่งออกเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์รองเท้า ข้าว อาหารทะเล และเฟอร์นิเจอร์ไม้ของเวียดนาม

นับตั้งแต่เริ่มกระบวนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปในเดือน ม.ค. อังกฤษพยายามเจรจาข้อตกลงการค้าฉบับใหม่กับประเทศต่างๆ เพื่อใช้แทนข้อตกลงการค้าของสหภาพยุโรป

ข้อตกลงที่ลงนามกันในวันอังคารจะรับประกันว่า อังกฤษไม่เสียการเข้าถึงอัตราภาษีพิเศษในประเทศที่มีเศรษฐกิจเปิดกว้าง และเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย

ข้อตกลงการค้าเสรีกับอังกฤษมีข้อกำหนดเช่นเดียวกับข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ โดยข้อตกลง EVFTA มีผลบังคับใช้ในเดือน ส.ค. และมีกำหนดลดหรือยกเลิกภาษี 99% กับสินค้าที่ค้าขายระหว่างเวียดนามและสหภาพยุโรป

“ข้อตกลงจะสร้างกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมระยะยาว และยั่งยืนระหว่างสองประเทศ” กระทรวงกล่าว

Source

]]>
1312583
7 ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม หากอังกฤษต้องเผชิญ No-deal Brexit https://positioningmag.com/1309946 Thu, 10 Dec 2020 06:40:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309946 อังกฤษกำลังอยู่ใน “ช่วงเปลี่ยนผ่าน” โดยสถานะขณะนี้พ้นจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว แต่ยังต้องเจรจาข้อตกลงทางเศรษฐกิจให้จบภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ มิฉะนั้นก็จะเป็น No-deal Brexit อย่างเป็นทางการ และถ้าเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น อังกฤษจะได้รับผลกระทบ 7 ด้าน

วันนี้ (10 ธันวาคม 2020) “บอริส จอห์นสัน” นายกรัฐมนตรีอังกฤษ จะรับประทานอาหารค่ำกับ “เออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน” ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ในกรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม มื้ออาหารนี้ไม่ธรรมดาเพราะจะเป็นความพยายามอีกครั้งหนึ่งของจอห์นสัน เพื่อหาข้อตกลงร่วมในการกำหนดความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอังกฤษกับสหภาพยุโรป

จอห์นสันมีความตั้งใจที่จะทำให้ดีลชัดเจนขึ้นภายในสุดสัปดาห์นี้ แต่ก็ยังคงหนักแน่นในจุดยืนว่าอังกฤษจะเป็นชาติอิสระที่ยืนด้วยลำแข้งของตัวเอง

บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ขณะขึ้นเครื่องเพื่อบินไปเจรจากับเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ในกรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม (Photo : Twitter@BorisJohnson)

แม้ว่าจอห์นสันจะประกาศกร้าวมานานแล้วว่าเขา “พร้อมรับสถานการณ์ No-deal Brexit” แต่เชื่อได้ว่าเขาเองก็ไม่ต้องการให้สถานการณ์นั้นเกิดขึ้น และถ้าหากเกิดขึ้นจริง สำนักข่าว Reuters ได้วิเคราะห์ผลกระทบ 7 ด้านจากการไร้ดีลการค้าเมื่อออกจากการเป็นสมาชิก EU ของอังกฤษ ดังนี้

 

1. เงินปอนด์อ่อนค่า

นักลงทุนและสถาบันการเงินคาดการณ์ไว้นานแล้วว่า ข้อตกลงทางการค้าจะสำเร็จได้ ดังนั้น ถ้าหากผลพลิกผันเป็น No-deal Brexit สถานการณ์จะซ้ำเติมให้ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงอ่อนค่าลงอีก

เงินปอนด์เคยร่วงลงรุนแรงที่สุดภายในวันเดียวมาแล้ว เมื่อวันประกาศผลการลงประชามติปี 2016 ที่ปรากฏว่าอังกฤษโหวตออกจาก EU ทำให้เงินปอนด์อ่อนค่า 8% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันค่าเงินปอนด์อยู่ที่ 1 ปอนด์ต่อ 1.34 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับปี 2016 ก่อนการลงประชามติอยู่ที่ 1 ปอนด์ต่อ 1.45 ดอลลาร์สหรัฐ

 

2. กำแพงภาษี ส่งออกแข่งขันยาก ของนำเข้าแพงขึ้น

หากไม่มีดีลการค้าใดๆ เลย อังกฤษจะสูญเสียตลาดปลอดภาษีในยุโรปไปในชั่วข้ามคืน โดยตลาดนี้มีประชากรกว่า 450 ล้านคน จึงเป็นฐานการส่งออกสินค้าที่สำคัญมากของอังกฤษ ในทางกลับกัน อังกฤษก็จะตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าจากยุโรปด้วย ทำให้ประชาชนและธุรกิจอังกฤษต้องซื้อสินค้านำเข้าในราคาแพงขึ้น

ในแง่ผู้บริโภคทั่วไป เป็นไปได้ว่าสินค้า “กลุ่มอาหาร” จะกระทบหนักที่สุด อังกฤษอาจจะขาดแคลนอาหารจากยุโรปไประยะหนึ่ง โดยอังกฤษมีการนำเข้าอาหารสดถึง 60% ของที่มีในตลาด

แผนกอาหารสดใน Tesco สหราชอาณาจักร (Photo : Shutterstock)

ทั้งนี้ “จอห์น อัลลัน” ประธานบริษัท Tesco ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของอังกฤษระบุว่า การขาดแคลนอาหารสดอาจจะเกิดขึ้นชั่วคราวเพียง 1-2 เดือน จากนั้นจะเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนราคาอาหารสดนำเข้าโดยเฉลี่ยน่าจะสูงขึ้น 3-5% ขึ้นอยู่กับประเภทอาหาร บางชนิดอาจจะราคาสูงขึ้นมาก เช่น ชีสจากฝรั่งเศสสามารถปรับราคาขึ้นได้สูงสุด 40% ดังนั้น ผลกระทบต่อผู้บริโภคแต่ละคนก็ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นๆ รับประทานของนำเข้ามากแค่ไหน

ส่วนกลุ่มธุรกิจที่มี EU เป็นส่วนหนึ่งในซัพพลายเชน คาดว่าจะมีผลกระทบหลักกับกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ คือ ยานยนต์, อาหารและเครื่องดื่ม, เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, ยาและเวชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

สหภาพยุโรปนั้นเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษ โดยมีสัดส่วนถึง 47% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดในปี 2019 โดยมีมูลค่ารวมราว 7.9 หมื่นล้านปอนด์

 

3.ธุรกิจยานยนต์อ่วมสุด

ในบรรดาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว อุตสาหกรรมที่จะรับเคราะห์หนักที่สุดคือ “ยานยนต์” เนื่องจากการส่งออกรถยนต์ไปยัง EU จะเผชิญกำแพงภาษี 10% ทันที และสูงขึ้นเป็น 22% สำหรับรถประเภทรถบรรทุกและรถตู้ เมื่อเกิดการขึ้นภาษี เป็นไปได้สูงที่ภาระนี้จะถูกผลักลงในราคารถยนต์ และทำให้ผู้บริโภคยุโรปที่ต้องการซื้อรถอังกฤษต้องจ่ายแพงขึ้น

(Photo by Zhang Peng/LightRocket via Getty Images)

เครือข่ายผู้ผลิตและผู้ค้ายานยนต์แห่งอังกฤษเปิดเผยว่า No-deal Brexit จะทำให้การผลิตรถยนต์ในอังกฤษลดลง 2 ล้านคันในรอบ 5 ปีข้างหน้า และมีผลให้การพัฒนายานพาหนะปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ทำได้ช้าลง

Reuters ยังรายงานเสริมด้วยว่า อีกประเด็นที่จริงๆ แล้วมีผลกระทบกับเศรษฐกิจน้อยแต่มีผลเชิงสังคมสูงคือ “ธุรกิจประมง” การเจรจาเรื่องเส้นแบ่งเขตแดนทำประมงกับฝรั่งเศสจะเป็นเรื่องใหญ่ในข้อตกลง แม้ว่าการประมงจะมีสัดส่วนเพียง 0.03% ในมูลค่าเศรษฐกิจของอังกฤษก็ตาม

 

4.เศรษฐกิจป่วนทั้งสองฝั่ง

สำนักงานตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างรับผิดชอบของอังกฤษ ประเมินว่า หากอังกฤษพ้นสมาชิก EU แบบไร้ข้อตกลงทางการค้า จะทำให้ขนาดเศรษฐกิจอังกฤษลดลง 2% ขณะเดียวกัน จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น อัตราว่างงานสูงขึ้น และหนี้สาธารณะสูงขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ฝั่ง EU ก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน บริษัท Allianz ประเมินว่าการออกแบบไร้ดีลจะทำให้สหภาพยุโรปสูญเสียตลาดส่งออกมูลค่า 3.3 หมื่นล้านยูโรไป โดยมีประเทศที่รับผลหนักที่สุดคือ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส รองลงมาคือไอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส โปแลนด์ เช็ก ไซปรัส มอลต้า และฮังการี

สถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจ Halle คาดการณ์ว่าบริษัทใน EU ที่ทำการส่งออกไปอังกฤษ เมื่อได้รับผลกระทบจากการไร้ข้อตกลงการค้า จะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการว่างงานถึง 7 แสนตำแหน่งในอุตสาหกรรมนี้

 

5.ปัญหาไอร์แลนด์เหนือ

เนื่องจากข้อตกลง Brexit ไม่ได้ออกจาก EU กันหมดทั้งสหราชอาณาจักร เฉพาะไอร์แลนด์เหนือนั้นจะยังอยู่ในระบบตลาดปลอดภาษีของ EU ต่อไป ทำให้ต้องมีข้อตกลงเรื่องการจัดตั้งด่านตรวจและเอกสารระหว่างสองดินแดน แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน

แผนที่สหราชอาณาจักร ดินแดนไอร์แลนด์เหนือนั้นอยู่บนเกาะทางตะวันตกและมีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Photo : ontheworldmap.com)

ถ้าหากอังกฤษออกแบบไร้ดีลการค้า ก็จะยิ่งทำให้ปัญหานี้ซับซ้อนขึ้นอีก เพราะดินแดนไอร์แลนด์เหนืออาจจะกลายเป็นประตูหลังบ้านในการนำเข้าส่งออกสินค้ากับ EU ได้ ส่งผลให้แนวคิดการจัดตั้งด่านชายแดนแบบเข้มงวด (hard border) ในไอร์แลนด์ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยอีกครั้ง หลังจากเรื่องนี้ถูกระงับไปตั้งแต่เกิดข้อตกลงสันติภาพ Good Friday Agreement ปี 1998

หากเกิดด่านชายแดนเข้มงวดขึ้นจริง จะมีผลทางสังคมกับคนในพื้นที่ที่เดินทางเข้าออกไปทำงานหรือไปเที่ยวในสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นประจำ และอาจจะส่งผลต่อเนื่องให้การขอแยกตัวเป็นเอกราชของไอร์แลนด์เหนือปะทุขึ้นมาอีก โดยในอดีตกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ IRA เคยเคลื่อนไหวอยู่นานถึง 30 ปี ก่อนเกิดข้อตกลงสันติภาพดังกล่าว

 

6.ความขมขื่นทางการเมือง

การหย่าร้างของ EU กับอังกฤษยังจะมีผลในแง่ขั้วอำนาจทางการเมืองโลกด้วย ท่ามกลางการแผ่ขยายของมหาอำนาจตะวันออกอย่างจีนและรัสเซีย และการระบาดของ COVID-19 หากมีเรื่องยุ่งยากทางการเมืองโลกเกิดขึ้น เป็นไปได้ว่าต่างฝ่ายต่างจะกลายเป็นคนแปลกหน้าต่อกัน

ภายใน EU เองก็น่าจะเกิดความปั่นป่วนเช่นกัน เพราะได้สูญเสียหนึ่งในผู้นำทางการทหารและปฏิบัติการสายลับของยุโรป รวมถึงเป็นตลาดเศรษฐกิจอันดับสองทวีป และเป็นเมืองหลวงทางการเงินแห่งเดียวที่พอจะเทียบชั้นกับนิวยอร์กได้ หลังจากนี้ อังกฤษน่าจะหันไปพึ่งพิงพันธมิตรยาวนานอย่างสหรัฐอเมริกามากขึ้นแทน

 

7.”ลอนดอน” เมืองหลวงทางการเงิน?

ดีลการค้านี้แน่นอนว่าจะไม่สามารถช่วยปกป้องอุตสาหกรรมที่แข่งขันสูงที่สุดในโลกอย่าง “ธุรกิจการเงิน” ทำให้บรรดานักลงทุนและธนาคารในลอนดอนต่างเตรียมพร้อมตัวเองเพื่อรับความวุ่นวายจากการ Brexit

โดยปกติลอนดอนคือศูนย์กลางการเงินโลก แหล่งตลาดเงินมูลค่ากว่า 6.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 43% ของโลก ในขณะที่คู่แข่งในยุโรปอันดับสองคือปารีสนั้น ตามมาในสัดส่วนเพียงแค่ 2% อย่างไรก็ตาม กรณี Brexit น่าจะทำให้สหภาพยุโรปพยายามดึงส่วนแบ่งตลาดมาจากลอนดอนมากขึ้น

ย้อนกลับไปในปี 2016 กลุ่มผู้สนับสนุน Brexit เคยมองว่าการออกจาก EU เป็น “เรื่องง่ายๆ” แต่มาถึงวันนี้คงไม่มีใครกล้าพูดเช่นนั้นอีกแล้ว

Source: Reuters, BBC, The Guardian

]]>
1309946