หนังสือพิมพ์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 16 Jun 2020 09:46:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รัฐบาล ‘ออสเตรเลีย’ มีแผนบังคับ Facebook และ Google แบ่งรายได้ 10% ให้สื่อท้องถิ่น https://positioningmag.com/1283782 Tue, 16 Jun 2020 09:08:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283782 แน่นอนว่าการลง ‘โฆษณา’ จำเป็นต้องอยู่ในสื่อที่มีคนเห็นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า Social Media ที่เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก จะเป็นตัวเลือกหลักในยุคนี้ โดยเฉพาะช่วง Covid-19 ที่ผ่านมา แน่นอนว่าสื่อดั้งเดิมอย่าง ‘สิ่งพิมพ์’ เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่โดนผลกระทบไปเต็ม ๆ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าประเทศ ‘ออสเตรเลีย’ กำลังหาทางแก้ปัญหานี้อยู่

ออสเตรเลีย มีแผนที่จะบังคับให้ Facebook และ Google แบ่งรายได้จากค่าโฆษณาที่ได้ให้กับสื่อท้องถิ่น โดยจุดเริ่มต้นของแผนนี้ ได้รับแรงผลักดันอย่างมากจาก บริษัทสื่อยักษ์ใหญ่สองแห่งของออสเตรเลียคือ Rupert Murdoch’s News Corp และ Nine Entertainment

โดยทั้ง 2 บริษัทยืนยันว่า วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมข่าวทั่วโลกนั้นส่วนใหญ่เป็นเพราะ Google, Facebook และบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่มีรายได้จากการโฆษณาออนไลน์โดยไม่ได้ชดเชยบริษัทสื่ออย่างเป็นธรรม สำหรับการโฆษณากับเนื้อหาข่าวที่ไปเผยแพร่บนฟีดของแพลตฟอร์ม

เม็ดเงินโฆษณาที่เคยไหลไปยังหนังสือพิมพ์ก่อนหน้านี้ ได้ถูกลดทอนลง ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ซึ่งเกิดจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยในประเทศออสเตรเลีย News Corp, Nine Entertainment และสื่ออื่น ๆ ได้ประกาศลดจำนวนพนักงาน กองบรรณาธิการ โดยมีห้องข่าวและหนังสือพิมพ์มากกว่า 170 รายถูกปิดตัวลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ACCC ผู้ควบคุมการแข่งขันของออสเตรเลียคาดการณ์ว่า Google และ Facebook มีรายได้ประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จากการโฆษณา ขณะที่สำนักพิมพ์ชั้นนำเรียกร้องให้ทั้ง Facebook และ Google จ่ายเงินอย่างน้อย 10% ของรายได้ให้กับองค์กรข่าวท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่แล้ว Google ปฏิเสธข้อเรียกร้องของรัฐ โดยอ้างว่ามันสร้างรายได้เพียง 10 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีจากโฆษณาที่เชื่อมโยงข่าว ส่วน Facebook ปฏิเสธข้อเรียกร้องไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเช่นกัน

Source

]]>
1283782
Next Normal วงการสื่อหลังยุค COVID-19 “สิ่งพิมพ์” เร่งตาย คนไม่อยากจับของ แต่สื่อในบ้านจะโตขึ้น https://positioningmag.com/1275800 Tue, 28 Apr 2020 10:02:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275800 มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ มองภาพวงการสื่อโฆษณาในยุค COVID-19 พายุลูกใหญ่ที่เข้ามาซ้ำเติมให้หนักมากขึ้น “สื่อสิ่งพิมพ์” จะยิ่งเร่งตาย เพราะคนเริ่มไม่อยากจับสิ่งของ ส่วนสื่อในบ้าน ทีวี และออนไลน์ ยังโตขึ้น แต่ยังมีจุดอ่อนที่นักการตลาดต้องกุมขมับ

สื่อโฆษณาส่อติดลบ 15-20% หนักสุดเป็นประวัติการณ์

จากวิกฤต COVID-19 ได้แผลงฤทธิ์ไปทั่วโลก ทำให้ทุกธุรกิจต่างหยุดชะงัก ทำให้สื่อโฆษณาก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะแบรนด์ก็ใช้งบน้อยลง ส่วนทางผู้บริโภคเองก็ไม่มีกำลังซื้อ เรียกว่าปีนี้เป็นปีแห่งความยากลำบากของวงการสื่อ

จริงๆ วงการสื่อโฆษณาส่อแววหนัหน่วงมาหลายปีแล้ว มียอดการหดตัวอยู่ตลอด พอเจอวิกฤต COVID-19 ยิ่งตอกย้ำภาวะตลาดที่ซบเซามากขึ้นไปอีก เป็นสถานการณ์ที่หนักสุดในรอบประวัติการณ์

มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ ได้เปิดเผยตัวเลขงบสื่อโฆษณาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 มีตัวเลขลดลง 6.02% มีมูลค่า 19,892 ล้านบาท มีการคาดการณ์ว่าทั้งปี้จะมีมูลค่างบสื่อโฆษณาทั้งหมด 77,124 ล้านบาท หดลงมากถึง 15-20% จากปีก่อน โดยที่งบโฆษณาทางทีวีจะเหลือเพียงแค่ 40,000 ล้านบาท

ไวรัส… ตัวเร่งตายสื่อสิ่งพิมพ์

คำพูดที่ได้ยินกันเยอะมากที่สุดในตอนนี้คือ New Normal หรือบรรทัดฐาน การใช้ชีวิตแบบใหม่ หลังยุค COVID-19 แน่นอนว่าจะต้องเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างสิ้นเชิง ในวงการสื่อโฆษณาก็เช่นกัน สิ่งที่เปลี่ยนไปมีทั้งพฤติกรรมการเสพสื่อ และแลนด์สเคปของสื่อเองด้วย

ประเด็นนี้ “ภวัต เรืองเดชวรชัย” ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI ได้ให้คำจำกัดความว่า Next Normal เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลัง COVID-19

“วงการสื่อโฆษณาได้ผ่านจุดยากมาหลายปี โดยที่ COVID-19 เป็นเหมือนพายุลูกใหญ่ ที่ไม่เข้ามาเปลี่ยนสถานการณ์ แต่เข้ามาซ้ำเติม เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้สถานการณ์ยิ่งยากขึ้น”

Next Normal ที่เห็นได้ชัดที่สุด และบาดใจที่สุด “สื่อสิ่งพิมพ์” หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จะเร่งตายเร็วขึ้น เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคจะไม่อยากจับแตะต้องสิ่งของที่เป็น Physical แต่สื่อที่อยู่ในบ้านจะมีการเติบโต ไม่ว่าจะเป็นสื่อทีวี หรือออนไลน์ เพราะคนอยู่บ้านมากขึ้น ทำกิจกรรมบ้านมากขึ้น สื่อที่บ้านมีบทบาทเยอะขึ้น

“สื่อออนไลน์” ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องมาหลายปีก็ยังคงเป็นที่นิยม เพียงแต่จะมีความท้าทายเกิดขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มใช้หลายแพลตฟอร์ม นักการตลาดต้องจับพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ได้ แล้วทำการสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

คนอยู่บ้าน กลับมาดูทีวีมากขึ้น

จากจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้มีมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ “ทีวี” จึงได้รับอานิสงส์ คนกลับมาดูทีวีมากขึ้น 15% เสพคอนเทนต์ข่าวมากขึ้น เพราะต้องการแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ

ภวัต บอกว่า มาตรการ Social Distancing ทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น มีการดูข่าวมากขึ้น 20% เพราะผู้บริโภคยังชอบดูข่าวผ่านทีวี เพราะอยากได้แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ที่ผ่านมาในโลกออนไลน์มี “เฟคนิวส์” เยอะ ไม่ค่อยน่าเชื่อถือ

ปัจจัยเสริมอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทีวีมีราคาถูกลง ทั้งสมาร์ททีวี และทีวีจอใหญ่ ทำให้ครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกัน

เมื่อผู้บริโภคมีการดูข่าวมากขึ้น สถานีต่างๆ ได้ใช้กลยุทธ์ขยายช่วงเวลาข่าวมากขึ้น แต่ไม่ได้เพิ่มผังรายการ เพื่อให้ได้โฆษณามากขึ้น แต่ไม่ได้ปรับขึ้นราคา แต่การขยายช่วงเวลาข่าว ก็ไม่ได้ทำให้สถานีมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ เพราะการแข่งขันในวงการก็ยังคงสูงอยู่ โดยที่ 5 ช่องที่มีเรตติ้งรายการข่าวสูงที่สุด ได้แก่ ช่อง 7, ช่อง 3, ช่อง ONE, อัมรินทร์ และไทยรัฐทีวี

ภวัต เสริมว่า ตอนนี้ช่องทีวีเหลืออยู่ 15 ช่อง ยังเป็นตัวเลขที่มากไปอยู่ เมื่อเทียบกับเม็ดเงินโฆษณามูลค่า 4-5 หมื่นล้าน มองว่าการมีเพียงแค่ 6 ช่องเป็นตัวเลขกำลังดี

“ปัจจุบันทั้ง 15 ช่อง เหนื่อยหมด เจ็บตัวหมด ขาดทุนกันมาอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะถอดใจหรือไม่ หรือว่ามีกฎหมายพิเศษออกมา เชื่อว่าต้องมี 4-5 ช่องต้องออกมาอีกแน่ COVID-19 ทำให้ทีวีได้รับความนิยมโดยเฉพาะรายการข่าว แต่ไม่ได้มีโฆษณามากขึ้น แต่กลับกันเม็ดเงินทีวีหดตัวด้วยซ้ำ คิดว่ามีแค่ 6 ช่องน่าเหมาะสมกับเม็ดเงินที่มีอยู่ในตลาด 4-5 หมื่นล้าน”

จากการประเมินของ MI นั้น มองว่า หลังจากที่มีการปลดล็อกดาวน์ต่างๆ สินค้ากลุ่ม Low Involvement หรือกลุ่มของใช้สอยในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ สกินแคร์ เครื่องสำอาง จะกลับมาใช้งบโฆษณามากขึ้น แต่กลุ่ม High Involvement ที่ต้องอาศัยกำลังซื้อของผู้บริโภค อาจจะทำการตลาดเจาะกลุ่มบุคคลไป

ส่วนงาน “อีเวนต์” หรือการทำกิจกรรมออนกรานด์ อาจจะต้องหยุดพักไปจนถึงปลายไตรมาส 3 หรืออาจจะเริ่มได้ในไตรมาส 4 เลยทีเดียว

]]>
1275800
ปิดฉาก 18 ปี “คมชัดลึก” ตีพิมพ์ฉบับสุดท้าย เลิกจ้างพนักงาน ชดเชย 10 เดือน https://positioningmag.com/1272235 Wed, 08 Apr 2020 06:25:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1272235 ปิดตำนาน 18 ปี “คมชัดลึก” นสพ.เครือเนชั่นกรุ๊ป ตีพิมพ์ฉบับสุดท้ายวันนี้ ระบุพิษ COVID-19 แผงหนังสือปิด คนอ่านไม่กล้าซื้อ ทรานส์ฟอร์มเร็วกว่าเป้าหมาย พบเลิกจ้างพนักงานจ่ายชดเชย 10 เดือน เหลือ “กรุงเทพธุรกิจ” ฉบับเดียว

ไปต่อไม่ไหว

หลังจากข่าวลือสะพัดถึงการปิดตัวของหนังสือพิมพ์ “คมชัดลึก” ในเครือเนชั่น พร้อมกับมีการผ่าตัดองค์กรครั้งใหญ่ ปรับลดเงินเดือนพนักงาน จนถึงตอนนี้คมชัดลึกได้อำลาแผงเป้นที่เรียบร้อย

ในวันนี้หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ปีที่ 19 ฉบับที่ 6605 ลงวันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2563 ได้ตีพิมพ์ประกาศยุติการพิมพ์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก โดยมีผลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ระบุว่า

“เรียน ท่านผู้อ่านทุกท่าน

กองบรรณาธิการ นสพ.คมชัดลึก ขอเรียนให้ทราบว่า เราจะยุติการพิมพ์ นสพ.คมชัดลึก ซึ่งฉบับวันที่ 8 เมษายน 2563 เป็นฉบับสุดท้าย

เป็นที่ทราบดีว่า ในห้วง 5 ปีที่ผ่านมา พฤติกรรมของผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารได้เปลี่ยนแปลงไป สื่อสิ่งพิมพ์ได้รับความนิยมน้อยลง ประชาชนหันไปบริโภคข่าวสารผ่านสื่อดิจิทัล สื่อทางเลือกและสื่อโซเชียลแทน

ดังนั้น ด้วยพฤติกรรมดังกล่าวทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นสื่อหลักได้รับผลกระทบ อันเนื่องมาจากธุรกิจโฆษณาได้เปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้ต้นทุนในการผลิตหนังสือพิมพ์สูงขึ้น ขณะที่รายได้จากโฆษณาถูกแบ่งถูกแชร์ไปยังสื่ออื่น

นสพ.คมชัดลึก ก็เช่นเดียวกัน เราได้รับทราบความเปลี่ยนแปลงนี้มาเป็นเวลานาน เราจึงให้กองบรรณาธิการคมชัดลึกเป็นองค์กรนำร่องในการทรานส์ฟอร์มไปสู่สื่อดิจิทัล โดยเราตั้งเป้าหมายไว้ว่าเราจะทรานส์ฟอร์มสื่อกระดาษ หรือออฟไลน์ไปสู่สื่อดิจิทัล หรือออนไลน์ 100% ภายในกลางปีนี้ ซึ่งกระบวนการทุกอย่างเดินหน้าไปด้วยความเรียบร้อย

ปัจจุบัน คมชัดลึก ออนไลน์ ได้รับความนิยมจากนักบริโภคข่าวสารที่เข้าไปในเว็บและผ่านช่องทางโซเชียลฯ เดือนละประมาณ 23 ล้านเพจวิว เราจึงได้วางแผนในการพัฒนาเพื่อการทรานส์ฟอร์ม นสพ.คมชัดลึก ไปสู่ คมชัดลึก ออนไลน์ แบบเต็มรูปแบบ

แต่เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดจากปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นสถานการณ์ที่นอกเหนือจากการวางแผน และเป็นสถานการณ์ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนอ่าน และธุรกิจโฆษณา เดิมคนอ่านหนังสือพิมพ์น้อยลงเรื่อยๆ แต่เมื่อโควิดเข้ามา ทำให้แผงหนังสือปิด คนอ่านไม่กล้าเดินไปซื้อหนังสือ นี่คือตัวเร่งอีกปัจจัยหนึ่ง โดยที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าสถานการณ์เช่นนี้จะจบลงเมื่อไหร่

แน่นอนว่า การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำใหเราตัดสินใจที่จะทรานส์ฟอร์ม นสพ.คมชัดลึก ไปสู่ คมชัดลึกออนไลน์และสื่อดิจิทัลในเครือเร็วกว่าเป้าหมายที่เรากำหนดไว้

กองบรรณาธิการ นสพ.คมชัดลึก เราได้รับใช้คนอ่านมา 19 ปี วันนี้ถึงเวลาที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่สื่อที่ทันสมัยกว่าเดิม เนื้อหารวดเร็ว ครบถ้วน ยังคงไว้ซึ่งความเป็นคมชัดลึกที่ “ลึกกว่าข่าว” อยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ที่เพิ่มเติมคือ เราจะเสิร์ฟข่าวด่วนข่าวร้อนไปถึงมือทุกท่านตลอดเวลา หวังว่า คุณผู้อ่านทุกท่านพร้อมที่จะเดินไปกับเราในรูปโฉมของสื่อดิจิทัลเต็มรูปแบบ”

ย้อนรอย 18 ปี คมชัดลึก

สำหรับหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เป็นหนังสือพิมพ์ข่าวทั่วไปภาษาไทยในเครือเนชั่น กรุ๊ป ยุคที่นายสุทธิชัย หยุ่น เป็นบรรณาธิการอำนวยการ ตีพิมพ์ฉบับปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2544 หรือเมื่อ 18 ปีก่อน หลังจากที่ขยายธุรกิจสถานีข่าว 24 ชั่วโมง เนชั่นแชนแนล ร่วมกับโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก “ยูบีซี” ช่อง 8 เมื่อปี 2543

โดยชื่อของคมชัดลึก มาจากรายการสนทนาข่าว (นิวส์ทอล์ก) ที่มี นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นพิธีกร ในหนังสือกรรมกรข่าวที่นายสรยุทธเป็นผู้เขียน ระบุว่า เดิมจะตั้งชื่อรายการว่า “ชัดลึก” มาจากการโฟกัสภาพ “ชัดตื้น” และ “ชัดลึก” แต่นายสุทธิชัยเสนอให้เพิ่มคำว่า “คม” นำหน้า จึงกลายเป็นที่มาของชื่อรายการในปัจจุบัน และนำไปตั้งชื่อหนังสือพิมพ์ภาษาไทย

ระหว่างนั้น คมชัดลึกเปิดตัวด้วยโฆษณาโทรทัศน์ ที่ใช้เด็กขายหนังสือพิมพ์เป็นตัวเดินเรื่อง พร้อมจัดโปรโมชันชิงโชคโดยตัดคูปองหน้า 2 แจกรถปิกอัพ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า บ้านพร้อมที่ดิน รวมกว่า 20 ล้านบาท อีกทั้งมีการแจกผงซักฟอกเปา บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า ทำให้หนังสือพิมพ์คมชัดลึกมียอดขายเป็นอันดับ 3 รองจากไทยรัฐ และ เดลินิวส์ในเวลาอันรวดเร็ว

นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมพิเศษ “คมชัดลึก อวอร์ด” งานประกาศรางวัลในวงการบันเทิง เพื่อหารายได้หล่อเลี้ยงองค์กร โดยจัดมาเป็นระยะเวลา 16 ปี ครั้งล่าสุดผ่านพ้นไปเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2563 ที่ผ่านมา

ดิจิทัลเข้าดิสรัปต์กลุ่มเนชั่น

แต่ในช่วงที่วงการสื่อมวลชนถูกดิจิทัลดิสรัปชัน ผู้บริหารเครือเนชั่นกรุ๊ปชุดก่อน มีแผนที่จะปิดหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุน หลังจากปิดตัวนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” ไปเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2560 แต่สุดท้ายแก้ปัญหาด้วยการควบรวมฉบับวันเสาร์-อาทิตย์รวมกัน นับตั้งแต่วันที่ 5 ส.ค. 2560 เป็นต้นมา

เมื่อกลุ่ม ฉาย บุนนาค” เข้ามาบริหารงานเครือเนชั่นกรุ๊ป แทนกลุ่ม นายสุทธิชัย หยุ่น ที่ประกาศยุติบทบาทในเครือเนชั่น เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2561 ได้พิจารณาถึงการปิดสิ่งพิมพ์ในเครือ พบว่า หนังสือพิมพ์คมชัดลึกมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า มีการปรับตัวให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ และคอนเทนต์สามารถสร้างรายได้ในแพลตฟอร์มนิวมีเดียได้ง่าย

สุดท้ายจึงตัดสินใจยุติการพิมพ์ “หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น (The Nation)” ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ไปเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2562 แล้วหันมาทำเว็บไซต์ Nation Thailand แทน เนื่องจากเห็นว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ขาดทุนเฉลี่ยปีละ 30 ล้านบาท อีกทั้งการขายส่วนใหญ่เป็นไปในรูปแบบ B2B เน้นกลุ่มลูกค้าโรงแรม โรงพยาบาล และสายการบิน ที่ขายในราคาต่ำกว่าราคาปก ตกฉบับละ 8 บาทเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 นายฉายประกาศมาตรการรองรับผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ให้ผู้บริหารสูงสุดของแต่ละหน่วยธุรกิจนำมาตรการไปปรับใช้ ตั้งแต่ปรับลดเงินเดือน ลางานโดยไม่รับค่าจ้าง ยกเลิกสวัสดิการ ค่าตอบแทนอื่น และเปิดโอกาสให้ใช้ดุลพินิจเลิกจ้างพนักงานได้ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา

กระทั่งวันที่ 4 เม.ย. บริษัท คมชัดลึก มีเดีย จำกัด ทำหนังสือเลิกจ้างถึงพนักงาน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2563 และบริษัทยินดีจ่ายค่าชดเชยจากการเลิกจ้างตามกฎหมายจำนวน 10 เดือน โดยพนักงานจะต้องยอมรับเงื่อนไข โดยไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ และจะไม่ฟ้องดำเนินคดีกับบริษัทและผู้เกี่ยวข้อง โดยพบว่ามีทั้งหนังสือพิมพ์คมชัดลึก คมชัดลึกออนไลน์ และ เนชั่นสุดสัปดาห์ออนไลน์

เครือเนชั่นกรุ๊ปในยุคนายฉาย ยังเหลือสื่อสิ่งพิมพ์เพียงฉบับเดียว ได้แก่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ที่มี นายวีระศักดิ์ พงษ์อักษร เป็นบรรณาธิการบริหาร ไม่นับรวมหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ที่แยกการบริหารต่างหาก แต่ได้ทำงานร่วมกันกับเครือเนชั่นกรุ๊ป เช่น การจัดรายการโทรทัศน์ห้องข่าวเศรษฐกิจทางสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี เป็นต้น

Source

]]>
1272235
ยื้อไม่ไหว! บางกอกโพสต์ ประกาศขายโรงพิมพ์-สำนักงาน นำเงินชำระหนี้ https://positioningmag.com/1257237 Mon, 16 Dec 2019 11:01:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257237 ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ยังต้องดิ้นรนหนัก ล่าสุด “บางกอกโพสต์” ประกาศขายโรงพิมพ์ อาคารสำนักงานเเละเครื่องจักร เพื่อนำเงินมาชำระหนี้และทำให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนต่อไป หลังประสบภาวะขาดทุนติดต่อกันหลายปี

วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอก โพสต์ (POST) แจ้งมติคณะกรรมการบริษัท วันที่ 13 ธ.ค. 2562 อนุมัติให้ขาย ศูนย์การพิมพ์และจัดจำหน่าย บางนา ซึ่งประกอบด้วยที่ดิน สิ่งปลูกสร้างเครื่องจักรอุปกรณ์ และขายอาคารสำนักงาน (คลองเตย) และให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงานคลองเตย ด้วยอัตราค่าเช่าที่เหมาะสม กำหนดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่ออนุมัติทำรายการ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563

ศูนย์การพิมพ์ฯ บางนา มีมูลค่ารวม 424.3- 509.5 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • ที่ดิน 261.2 ล้านบาท
  • อาคารสิ่งปลูกสร้างและสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ 107.3 ล้านบาท
  • เครื่องจักรและอุปกรณ์ 55.8 ล้านบาท (มูลค่าบังคับขาย – แยกชิ้นส่วน) หรือ 141.0 ล้านบาท (มูลค่าตลาดตามสภาพการใช้ประโยชน์ปัจจุบันอาคาร

สำนักงาน (คลองเตย) มูลค่ารวม 1,175.0 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • ที่ดิน 859.2 ล้านบาท
  • อาคารสิ่งปลูกสร้างและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ 315.8 ล้านบาท

คิดเป็นมูลค่าการจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 1,599.3 – 1,684.5 ล้านบาท โดยอ้างอิงตามราคาประเมิน

คาดจำหน่ายทรัพย์สินได้ในระยะเวลา 1 ปี หลังจากขายได้แล้วจะเจรจากับผู้ซื้อเพื่อขอ “เช่า” พื้นที่อาคารสำนักงานคลองเตยในราคาที่เหมาะสมต่อไป โดยอาจเสนอขายให้กับผู้ลงทุนทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรือผู้ลงทุนที่เกี่ยวโยงกับบริษัทก็ได้ ซึ่งหลังขายทรัพย์สินโรงพิมพ์และอาคารสำนักงานแล้ว ยังประกอบธุรกิจเช่นเดิมได้

สำหรับมติดังกล่าวเกิดขึ้นหลังบริษัทขาดสภาพคล่อง เเละขาดทุนติดต่อกันมาหลายปี จากปัจจัยต่างๆ ทั้งพฤติกรรมการบริโภคสื่อเปลี่ยนไป คนไม่นิยมอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ มีสื่อออนไลน์ทางเลือก เเละสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้งบโฆษณาสื่อซึ่งเป็นรายได้หลักของสิ่งพิมพ์ลดลง

ดังนั้นการประกาศขายทรัพย์สินทั้ง 2 รายการใหญ่ของ POST จะทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดเพิ่มมากขึ้นทันที เเละสามารถนำไป “จ่ายหนี้” ได้ เเละส่วนที่เหลือก็จะได้นำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนทำธุรกิจต่อไป

ทั้งนี้ ในปี 2561 ที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้รวม 1,230 ล้านบาท ขาดทุนจากการดำเนินงาน 168 ล้านบาท หนี้สินรวมของบริษัทในไตรมาส 2 ของปีนี้อยู่ที่ 1,325 ล้านบาท

นอกจากนี้ ในระหว่างการดำเนินการจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ บริษัทยังมีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นจำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 200 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 5.25% ต่อปี

โดยเป็นที่ทราบกันว่า เมื่อช่วงเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา POST ได้ประกาศปิดหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับในเครืออย่าง “โพสต์ทูเดย์” หนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันอายุ 17 ปี และฟรีก็อปปี้ M2F อายุ 7 ปี เพื่อลดค่าใช้จ่ายเเละเลิกจ้างพนักงานราว 200 คน เเละหันไปเป็นสื่อดิจิทัลเต็มตัว โดยเหลือพนักงานในกองบรรณาธิการไว้เหลือเพียง 20 คน

เเละในเดือน ก.ย. 2561 POST ได้หยุดพิมพ์นิตยสาร Student Weekly หรือ S Weekly ที่มีอายุเกือบ 50 ปี (ก่อตั้งเมื่อ 30 มิ.ย. 2512)

ย้อนไปเมื่อช่วงปลายปี 2560 สื่อใหญ่อีกเจ้าอย่าง “เนชั่น” ก็อนุมัติขายทรัพย์สินจำนวน 5 รายการ ทั้งมหาวิทยาลัยเนชั่น-ช่อง NOW 26 และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง มูลค่ารวมกว่า 1,403.61 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจกิจ และเดินหน้าธุรกิจหลัก (อ่านรายละเอียด ที่นี่)

ที่มา : set.or.th

]]>
1257237
รีวิวโฆษณาครึ่งปีแรกสื่อเก่ายังสาหัส “สิ่งพิมพ์” วูบหนัก “ทีวี-วิทยุ” ทรงๆ ทรุดๆ https://positioningmag.com/1239388 Wed, 17 Jul 2019 11:04:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1239388 รายงานเม็ดเงินอุตสาหกรรมโฆษณาครึ่งปีแรก 2562 ของ นีลเส็น ประเทศไทย สรุปมูลค่ารวม 50,702 ล้านบาท ติดลบ 2% สื่อส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะถดถอย โดยเฉพาะสื่อดั้งเดิม (Traditional Media)

หากดูรายประเภท “สื่อสิ่งพิมพ์” ทั้งหนังสือพิมพ์และนิตยสาร มีอัตราการลดลงเป็นตัวเลข “สองหลัก” ในช่วง 6 เดือนแรก 2562 โฆษณาหนังสือพิมพ์ มีมูลค่า 2,388 ล้านบาท ติดลบ 17.74% นิตยสาร มูลค่า 515 ล้านบาท ติดลบ 21.13%

ช่วงครึ่งปีแรกมีหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ โพสต์ทูเดย์, M2F และ The Nation “ปิดตัว” จากภาวะขาดทุนและรายได้โฆษณาสิ่งพิมพ์ถดถอย โดยปรับตัวสู่สื่อออนไลน์ ส่วน “นิตยสาร” มีทั้งหัวนอกและหัวไทย ทยอยปิดตัวมาอย่างต่อเนื่องและต้องปรับตัวสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เช่นกัน

ทั้งปี 2562 สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) ประเมินมูลค่าโฆษณา หนังสือพิมพ์ อยู่ที่ 4,880 ล้านบาท ติดลบ 20% ส่วนนิตยสาร มูลค่า 975 ล้านบาท ติดลบ 25%

ส่วนสื่อทีวี ที่ยังครองเม็ดเงินโฆษณาอันดับ 1 สัดส่วน 65% ของอุตสาหกรรมโฆษณา ครึ่งปีแรกอยู่ในอาการ “ทรงๆ ทรุดๆ” บางเดือนเป็นบวก บางเดือนติดลบ แม้ทิศทาง “ทีวีดิจิทัล” หลายช่องทำรายได้กระเตื้องขึ้นแล้วก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ยังขาดทุน ตัวเลขโฆษณา 6 เดือนแรก สื่อทีวี จึงทำได้ 33,079 ล้านบาท ติดลบ 0.58% ปีนี้ MAAT มองเม็ดเงินโฆษณาทีวี “ทรงตัว” เท่าปีก่อน ที่มีมูลค่า 68,000 ล้านบาท

“วิทยุ” เป็นสื่อที่เม็ดเงินโฆษณาถดถอยตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเช่นกัน แต่เริ่มนิ่ง ไม่ลดลงมากนัก ปี 2561 มูลค่าโฆษณาอยู่ที่ 4,600 ล้านบาท โตได้ 4% ส่วน 6 เดือนแรกปีนี้ บางเดือนเป็นบวกบางเดือนติดลบ แต่ยังถดถอยเป็นตัวเลขหลักเดียว ไม่มากเท่าสื่อสิ่งพิมพ์ ครึ่งปีแรก โฆษณาวิทยุมีมูลค่า 2,176 ล้านบาท ติดลบ 3.63% โดย MAAT คาดการณ์โฆษณาวิทยุปีนี้ มูลค่าอยู่ที่ 4,370 ล้านบาท ติดลบ 5%

สำหรับสื่อที่เม็ดเงินโฆษณายังเติบโตได้ในครึ่งปีแรกมีเพียงสื่อดิจิทัลและสื่อนอกบ้าน เท่านั้น

]]>
1239388
หรือ “หนังสือพิมพ์” จะหมดมนต์เสน่ห์? Starbucks อเมริกาจะงดขายใน 8,600 สาขา ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป https://positioningmag.com/1238967 Sat, 13 Jul 2019 06:59:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1238967 ภาพของคนที่กินกาแฟไปพร้อมกันการอ่านหนังสือพิมพ์ไปด้วย คงเป็นที่คุ้นตาของใครหลายคน แต่ภาพเหล่านี้กำลังจะหาได้ยากขึ้นแล้ว เมื่อ Starbucks ในอเมริกาจะงดขาย หนังสือพิมพ์ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป

หนังสือพิมพ์หัวใหญ่ของอเมริกาต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าทั้ง The New York Times, The Wall Street Journal, USA Today และยังมีหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งหลังจากนี้จะไม่ได้เจออีกแล้วใน 8,600 สาขา ทั่วประเทศ

ยักษ์ใหญ่เชนกาแฟของโลกไม่ได้ให้เหตุผลที่ชัดเจนถึงการหยุดขาย หรือยอดขายที่หดตัวลงเป็นมูลเหตุหลักหรือไม่? ทั้งนี้ไม่ได้มีแค่หนังสือพิมพ์เท่านั้น แต่สินค้าอื่นๆ เช่นขนมที่ไม่ไม่ก่อให้เกิดรายได้มากนัก Starbucks มีแผนที่จะยุติการขายเพื่อนำพื้นที่นี้ไปทำอย่างอื่นที่ก่อให้เกิดรายได้ต่อไป

ที่มา : Freepik

ต่อกรณีนี้หนังสือพิมพ์ The New York Times กล่าวว่า “รู้สึกผิดหวัง” กับการตัดสินใจ แต่เชื่อว่าลูกค้าของ Starbucks ที่ต้องการอ่านบทความจะสามารถค้นหาได้จากที่อื่น

“เรามั่นใจว่าด้วยการจัดจำหน่ายในร้านค้าปลีกที่กว้างขวางของเรา ผู้อ่านจะไม่มีปัญหาในการหา The New York Times เพื่ออ่านจากร้านใกล้เคียง” The New York Times กล่าวในแถลงการณ์

การขยับตัวของ Starbucks เข้ามาซ้ำเติมสถานการณ์ยอดขายของหนังสือพิมพ์ในอเมริกาที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อยมา

ข้อมูลจาก Pew Research Center ระบุว่า ในนปี 2561 ยอดขายหนังสือพิมพ์รายวันทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลและสิ่งพิมพ์มีจำนวน 28.6 ล้านคน สำหรับวันธรรมดา และ 30.8 ล้านคนสำหรับวันอาทิตย์ ตัวเลขเหล่านั้นลดลง 8% และ 9% จากปีก่อน

ในฐานะที่อยู่ในแวดวงสื่อสารมวลชนเหมือนกัน ข่าวที่ออกมานี้ทำให้ Positioning รู้สึกใจหายไม่ใช่น้อย

Source

Source

Source

]]>
1238967
ทำไมหนังสือพิมพ์ทยอย “ลาแผง” ค่ายใหญ่ปิดรวด 2 ฉบับ “โพสต์ทูเดย์-M2F” https://positioningmag.com/1215438 Wed, 20 Feb 2019 14:11:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1215438 ถือเป็นข่าวใหญ่สะเทือนวงการสื่อและคนข่าวอีกครั้ง เมื่อ “สุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์” ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท บางกอก โพสต์ จำกัด (มหาชน) ส่งหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 ให้ “หยุดพิมพ์” หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ และหนังสือพิมพ์ M2F ภายในเดือนมีนาคม 2562 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการ “ลดค่าใช้จ่าย” พร้อมเดินหน้าสู่สื่อดิจิทัล 

หากย้อนดูผลประกอบการของ บริษัท บางกอก โพสต์ จำกัด (มหาชน) หรือ POST พบว่า “ขาดทุน” มาต่อเนื่อง โดยเฉพาะรายได้สื่อสิ่งพิมพ์และโฆษณา

  • ปี 2558 รายได้ 2,211 ล้านบาท ขาดทุน 251 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 1,865 ล้านบาท ขาดทุน 215 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 1,365 ล้านบาท ขาดทุน 358 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 1,230  ล้านบาท ขาดทุน 167 ล้านบาท 

เดือนกันยายน 2561 เครือบางกอกโพสต์ได้หยุดตีพิมพ์นิตยสาร Student Weekly หรือ S Weekly ไปก่อนหน้านี้ หลังตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2512 หรือมีอายุกว่า 49 ปี เดิมชื่อ “คาไลโดสโคป” (Kaleidoscope) ก่อนจะเปลี่ยนชื่อ

การปิดตัวหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับ “โพสต์ทูเดย์ และ M2F” ซึ่งมีพนักงานรวม 200 คน จะคัดเลือกพนักงานในกองบรรณาธิการไว้ 20 คน เพื่อทำสื่อดิจิทัลร่วมกับทีมดิจิทัลเดิมของโพสต์ทูเดย์ สำหรับพนักงานที่ไม่ได้เข้าไปอยู่ในทีมดิจิทัลของโพสต์ทูเดย์ จะถูกเลิกจ้าง โดยบริษัทจะจ่ายเงินชดเชยให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้างตามที่กฎหมายแรงงาน

ส่วนหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ทั้งสื่อรูปแบบหนังสือพิมพ์และสื่อดิจิทัลยังคงดำเนินการต่อไป ซึ่งถือเป็นสื่อหลักของเครือที่ยังมี “กำไร”

สำหรับหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546 มีอายุ 16 ปี เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันที่นำเสนอข่าวสารด้านนโยบายเศรษฐกิจ ธุรกิจตลาด การเงิน หุ้น-ตลาดทุน รวมทั้งการเมือง ข่าวในประเทศ ต่างประเทศ กีฬา และข่าวแมกกาซีน (ปกิณกะบันเทิง)

ส่วนหนังสือพิมพ์ M2F เป็นหนังสือพิมพ์แจกฟรีขนาดแท็บลอยด์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 มีอายุ 7 ปีก่อน นำเสนอข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ ข่าวกีฬา ข่าวไลฟ์สไตล์และบันเทิง มีรายได้หลักจากการโฆษณา โดยแจกทุกวันจันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) ในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เคยมียอดพิมพ์สูงสุด 600,000 ฉบับ

โฆษณาทรุดแรง

ไตรลุจน์ นวะมะรัตน นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) วิเคราะห์สถานการณ์สื่อสิ่งพิมพ์กับ Positioning ว่าทำไมจึงเห็น “หนังสือพิมพ์” ทยอยปิดตัวเช่นเดียวกับนิตยสาร แม้แต่หนังสือพิมพ์ “แจกฟรี” ก็ยังไม่ไหว ปัจจัยหลักมาจากการถูกเทคโนโลยี ดิสรัปชั่น อย่างรุนแรง โดยเฉพาะในช่วงสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียเติบโตสูง ปัจจุบันคนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 82% ของจำนวนประชากร นั่นหมายถึงการมีช่องทางเปิดรับ “ข่าวสาร” ได้แบบเรียลไทม์ ตลอดเวลา ไม่ต้องรออ่านหนังสือพิมพ์

“การเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้ตลอดเวลา ทำให้พฤติกรรมการเสพสื่อและข่าวสารของคนในยุคนี้เปลี่ยนไป พูดได้ว่าเด็กตั้งแต่เริ่มอ่านหนังสือได้ จนคนวัย 35 ปี เป็นกลุ่มที่ไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์”    

ส่วนกลุ่มที่ยังอ่านหนังสือพิมพ์อยู่ คือ กลุ่มที่คุ้นชินกับการอ่านแบบเล่ม หรืออายุ 40 ปีขึ้นไป เมื่อคนรุ่นใหม่ไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ จำนวน “ผู้อ่าน” จึงลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นสาเหตุหลักให้เม็ดเงินโฆษณาสื่อหนังสือพิมพ์ถดถอย

ปัจจุบันแบรนด์และสินค้าต่างๆ จัดสรรงบโฆษณาสำหรับสื่อหนังสือพิมพ์ด้วยสัดส่วน “ลดลง” อย่างต่อเนื่อง กลุ่มที่ยังใช้โฆษณาหนังสือพิมพ์อยู่ ก็เลือกลงจำนวนไม่มาก จากเดิมจะลงโฆษณา 5-6 ฉบับ ปัจจุบันเหลือเพียง 1-2 ฉบับเท่านั้น รวมทั้งความถี่ที่ลงโฆษณาก็ลดลงเช่นกัน เดิมการเปิดตัวสินค้าหรือโปรเจกต์ใหม่ จะลงโฆษณาทุกสัปดาห์ หรือเดือนละ 4 ครั้ง ปัจจุบันแม้จะเป็นบิ๊กโปรเจกต์ ก็ลงเพียง 1-2 ครั้งเท่านั้น  

โดยกลุ่มหลักที่ยังใช้สื่อโฆษณาหนังสือพิมพ์อยู่ เช่น รถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก แต่ก็เป็นมูลค่าลดลงจากเดิมอย่างมาก และส่วนใหญ่หันไปใช้งบโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์  

สะท้อนได้จากข้อมูลของ นีลเส็น ในรอบ 10 ปีนี้ พบว่ามูลค่างบโฆษณาหนังสือพิมพ์เคยสูงสุดในปี 2556 อยู่ที่ 15,258 ล้านบาท หลังจากนั้นเริ่มติดลบมาต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา “ติดลบ” ปีละ 20% ล่าสุดปี 2561 มูลค่าอยู่ที่ 6,100 ล้านบาท ส่วนปีนี้ MAAT ประเมินมูลค่าโฆษณาหนังสือพิมพ์ไว้ที่ 4,575 ล้านบาท ติดลบ 25%

ปรับตัวชิงงบออนไลน์

หากประเมินทิศทางสื่อหนังสือพิมพ์หลังจากนี้ ไตรลุจน์ มองว่ายังมีแนวโน้ม “ลดลง” อีกในช่วง 2-3 ปีนี้ ซึ่งก็มาจากปัจจัยเดิมคือ “ผู้อ่านลดลง” เพราะวันนี้ช่องทางที่นำเสนอข่าวนอกจากสื่อออนไลน์ที่มีจำนวนมากแล้ว “สื่อทีวีดิจิทัล” ที่มีช่องจำนวนมากมีการนำเสนอข่าวตลอดทั้งวัน ทั้งภาพและเสียง เป็นอีกตัวเลือกของการเสพข่าวของคนทุกวัย  

ต้องยอมรับว่า “ทุกสื่อ” ต้องปรับตัวเพื่อนำเสนอคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภค สำหรับสื่อหนังสือพิมพ์แม้แพลตฟอร์มเดิมที่เป็นรูปเล่ม ต้องปิดตัวลง แต่สามารถปรับตัวไปสู่ช่องทางออนไลน์ เพื่อหาโอกาสจากเม็ดเงินโฆษณาที่ยังเติบโตในสื่อดิจิทัล ที่ขยายตัวปีละกว่า 20% ปีนี้คาดมีมูลค่า 18,000 ล้านบาท

แม้หนังสือพิมพ์ต้องปิดตัว แต่สิ่งที่ไม่ตาย คือ คนข่าว คนทำคอนเทนต์ ที่ต้องปรับตัวไปตามเทคโนโลยีสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ตอบไลฟ์สไตล์ผู้อ่านในยุคดิจิทัล   

]]>
1215438
นี่ “Netflix” เอง! จัดเต็มแคมเปญท้ายปี ซื้อทั้งบิลบอร์ดและหน้าหนังสือพิมพ์ จนอยากถาม “คิดได้ไงอะ” ? https://positioningmag.com/1205848 Fri, 28 Dec 2018 10:26:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1205848 รูปภาพจาก : Js100 Radio

ในระยะหลังๆ ต้องขอซูฮกให้กับแคมเปญการตลาดของ เน็ตฟลิกซ์” (Netflix) เป็นอย่างมาก เรียกได้ว่า ความครีเอทีฟไปไกลสุดติ่ง จนแม้แต่ผู้เขียนเองก็อยากยกนิ้วโป้งให้ และรำพึงรำพันอยู่ในใจ “คิดได้ไงอะ” ? 

อย่างแคมเปญก่อนหน้านี้ที่ได้ออกมาโปรโมตซีรีส์ผีชุดใหม่ เรื่อง ‘The Haunting of Hill House บ้านกระตุกวิญญาณ’ โดยการการยิงโฮโลแกรมให้เห็นภาพผี บริเวณตึกร้างที่อยู่ใกล้ๆ สถานีรถไฟฟ้า สร้างความหลอนและไวรัลในโลกออกไลน์ได้เป็นอย่างดี  

เมื่อมาถึงช่วงสิ้นปีที่บางคนก็วางแผนออกไปเที่ยวโน้นนี่นั่น แต่ก็มีหลายคนอีกเหมือนกันที่ไม่ได้ตัดสินใจออกไปไหน Netflix ก็ไม่รอช้าส่งแคมเปญ #ไม่ไปไหน ไป Netflix มาทันทีทันควัน 

ความน่าสนใจของแคมเปญนี้อยู่ที่วิธีการใช้สื่อของ Netflix ที่ขึ้นบิลบอร์ดบอกทางไปจังหวัดต่างๆ ว่าเหลือระยะทางเท่าไหร่ ขณะเดียวกันก็บอกจุดกลับรถพร้อมกับข้อความ เปลี่ยนใจยังทัน ไม่ไปไหน ไป Netflix แม้ไม่อาจเปลี่ยนใจได้ทันที แต่อย่างน้อยชื่อของ “Netflix” คงทำให้ใครหลายคนจำได้ 

เพราะความคมกว่านั้นคือการโปรโมตผ่านเพจ “Js100 Radio” ซึ่งปรกติแล้วเป็นเพจที่คนขับรถชอบติดตาม เรียกได้ว่าตรงกลุ่มเป้าหมายกันเลยทีเดียว แหม่เลือกที่โปรโมตได้ดีซะด้วย 

รูปภาพจาก Js100 Radio
รูปภาพจาก Js100 Radio

แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าใครคิดว่ามุกของ Netflix มีแค่นั้นขอให้หยุด เพราะวันต่อมา Netflix ทุ่มเงินซื้อหุ้มปกของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ใส่รูปภาพพร้อมกับเขียนข้อความเหมือนปรกติที่หนังสือพิมพ์ทำกัน ถ้าไม่อ่านดีๆ แทบแยกไม่ออก 

รูปภาพจาก Js100 Radio

อยากรู้จังว่าวันต่อไป Netflix จะหามุกอะไรมาเล่นอีก

]]>
1205848
เม็ดเงินโฆษณาปี 2560 แตะ 1.1 แสนล้าน ตกลง 6% 2 โฮมช้อปปิ้ง กระทะโคเรียคิง-ทีวีไดเร็ค ครองแชมป์ใช้งบ https://positioningmag.com/1153376 Fri, 12 Jan 2018 04:54:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153376 นีลเส็น ประเทศไทย ได้สรุปภาพรวมงบโฆษณารวมที่ใช้ในปี 2560 พบว่า มียอดใช้จ่าย 101,445 ล้านบาท ตกลง -6%

สื่อที่ใช้เม็ดเงินโฆษณามากสุด ยังคงเป็น ช่องทีวีเดิม หรืออนาล็อกทีวี (ช่อง 3, 7) 40,966 ล้านบาท ตกลง13.12%  ตามมาด้วย ทีวีดิจิทัล ชิงเม็ดเงินโฆษณามาได้ 21,907 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.24% 

หนังสือพิมพ์ มีเม็ดเงินโฆษณา 7,706 ล้านบาท ตกลง 21.82% ตามมาด้วยสื่อในโรงภาพยนตร์ 6,807 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 25.01%   

สื่อนอกบ้าน (outdoor) ยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่อง ได้เม็ดเงินโฆษณาไป 6,391 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.78 % ตามมาด้วยสื่อบนรถประจำทาง 5,878 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.14 %

สื่อวิทยุ ได้เม็ดเงินมา 4,476 ล้านบาท ลดลง -14.95% ส่วนเคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียม 2,913 ล้านบาท ตามมาด้วย นิตยสาร ที่เหลือเม็ดเงิน 1,943 ล้านบาท ลดลง -33.60% 

สื่ออินเทอร์เน็ต 1,513 ล้านบาท ลดลง -12.59 สื่อในห้าง 946 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.57%

10 อันดับแบรนด์ใช้งบโฆษณาสูงสุด โคเรียคิงแชมป์ ทีวีไดเร็คตามติด ค่ายมือถือ ออปโป้ ซัมซุง วีโว่ อัดงบ

เมื่อดูตลอดทั้งปี 2560 พบว่า 2 อันดับแรก เป็นของกระทะโคเรียคิง ยังคงครองอันดับ 1 ของแบรนด์ใช้งบโฆษณาสูงสุด 1,059 ล้านบาท แม้ว่าจะใช้ลดลงเนื่องจากต้องหยุดโฆษณาไปหลายเดือน (ปี 59 ใช้ 1,651 ล้านบาท)

อันดับ 2 ทีวีไดเร็ค 880 ล้านบาท (ปี 59 ใช้ 352 ล้านบาท) เนื่องจาก 3-4 เดือนสุดท้ายของปี ที่ประกาศทุ่มงบโฆษณาผ่านทีวีดิจิทัล 18 ช่อง เพื่อต้องการผลักดันยอดขายในช่วงปลายปี

อันดับ 3 โค้ก 860 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (ปี 59 ใช้ 850 ล้านบาท) อันดับ 4 เทสโก้โลตัส 684 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย (ปี 59 ใช้ 793 ล้านบาท) อันดับ 5 เป็นของ ธนาคารออมสิน 659 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว (ปี 59 ใช้ 384 ล้านบาท)

อันดับ 6 โตโยต้า ปิกอัพ 648 ล้านบาท ลดลง (ปี 59 ใช้ 831 ล้านบาท) อันดับ 7 รถยนต์โตโยต้า 638 ล้านบาท ลดลง (ปี 59 ใช้ 754 ล้านบาท)

อันดับ 8 โทรศัพท์มือถือ ออปโป้ 628 ล้านบาท ใช้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า (ปี 59 ใช้ 238 ล้านบาท) อันดับ 9 โทรศัพท์มือถือซัมซุง 625 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อง (ปี 59 ใช้ 652 ล้านบาท) อันดับ 9 โทรศัพท์มือถือวีโว่ 581 ล้านบาท ใช้เพิ่มขึ้น

10 องค์กรใช้งบโฆษณาสูงสุด

อันดับ 1 ยังเป็นของ บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ไทย) 3,734 ล้านบาท ใช้ลดลง (ปี 59 ใช้ 4,489 ล้านบาท) อันดับ 2 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 1,992 ล้านบาท อันดับ 3 บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) 1,966 ล้านบาท

อันดับ 4 บริษัท ตรีเพช อีซูซุ 1,375 ล้านบาท อันดับ 5 บริษัท โคคา โคลา (ประเทศไทย) 1,322 ล้านบาท อันดับ 6 บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ ประเทศไทย (นีเวีย) 1,274 ล้านบาท

อันดับ 7 วิซาร์ด โซลูชั่นส์ 1,264 ล้านบาท อันดับ 8 สำนักนายกรัฐมนตรี 1,241 ล้านบาท อันดับ 9 บริษัทไทยเบฟเวอเรจ 1,152 ล้านบาท อันดับ 10 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (เอไอเอส) 1,125 ล้านบาท


หมายเหตุสำคัญ

สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่ (transit):มีการรวมข้อมูลจาก  JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdorr และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560 

นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่น สื่อเคลื่อนที่ (transit),ป้ายบิลบอร์ดป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 เป็นต้นมา 

อินเตอร์เน็ต – ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ

สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตทั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจาก DAAT

สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูลสื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้าง Tesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น

ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้งสื่อเคลื่อนที่ และสื่อในห้าง

]]>
1153376