เงินเดือน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 28 Feb 2024 12:29:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 JobsDB เปิดข้อมูลตลาดงานปี 2566 พนักงานไทยได้ “เงินเดือน” เพิ่มขึ้นชนะเงินเฟ้อ…แต่ “โบนัส” ลดลง https://positioningmag.com/1464294 Wed, 28 Feb 2024 10:51:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1464294
  • JobsDB สำรวจตลาดงานไทยปี 2566 พบผู้ประกอบการ 80% ขึ้น “เงินเดือน” ให้พนักงาน ปรับขึ้นเฉลี่ย 6.69% เอาชนะเงินเฟ้อ แต่ลดโบนัสลงเหลือเฉลี่ย 1.5 เดือน
  • ตลาดงานปี 2567 มีแนวโน้มที่ดี 51% ของผู้ประกอบการมีแผนจะรับพนักงานเพิ่มในช่วงครึ่งปีแรกนี้ และมีเพียง 1% ที่มีแผนปรับลดพนักงาน
  • JobsDB เปิดรายงานการจ้างงาน ผลตอบแทน และสวัสดิการปี 2567 โดยมีการสำรวจไปในช่วงเดือนกันยายน ปี 2566 มีการสำรวจผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านการจ้างงานในไทย 758 ราย และแบ่งการสำรวจตามขนาดบริษัทได้ดังนี้ บริษัทขนาดเล็ก (ไม่เกิน 50 คน) สัดส่วน 35% บริษัทขนาดกลาง (51-99 คน) สัดส่วน 16% และบริษัทขนาดใหญ่ (100+ คน) สัดส่วน 49%

    ภาพรวมพบว่าเมื่อปีก่อน 99% ของบริษัทที่สำรวจมีการจ้างพนักงานใหม่อย่างน้อย 1 อัตรา ที่น่าสนใจคือ  เทรนด์รูปแบบวิธีการจ้างงานพบว่า บริษัททุกขนาดมีการจ้าง “พนักงานตามสัญญาจ้าง / พนักงานชั่วคราวแบบเต็มเวลา” เพิ่มขึ้นมากกว่ารูปแบบการจ้างงานแบบอื่นๆ ซึ่งสะท้อนได้ว่าบริษัทต้องการความยืดหยุ่น และมีโปรเจกต์พิเศษที่ต้องการตำแหน่งรับผิดชอบชั่วคราว

    JobsDB

    ฟากการลดจำนวนพนักงานนั้น ปี 2566 มีผู้ประกอบการ 19% ที่ลดจำนวนพนักงานไป เทรนด์เลิกจ้างชะลอตัวเล็กน้อยจากปี 2565 ที่มีบริษัท 20% ที่ลดพนักงาน

    ด้าน 5 อันดับแรกประเภทงานที่มีการจ้างงานเพิ่มมากที่สุดเมื่อปี 2566 ได้แก่ 1) ธุรการและทรัพยากรบุคคล 2) บัญชี 3) การขาย/พัฒนาธุรกิจ 4) การตลาด/การสร้างแบรนด์ และ 5) วิศวกร

     

    นายจ้างขึ้น “เงินเดือน” ให้มากกว่าเงินเฟ้อ

    สำหรับเทรนด์ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ JobsDB พบว่า เมื่อปี 2566 มีนายจ้าง 80% ที่ “ขึ้นเงินเดือน” ให้กับพนักงาน และในกลุ่มบริษัทที่ขึ้นเงินเดือนมีการปรับขึ้นเฉลี่ย 6.69% ซึ่งถ้าเทียบกับอัตราเงินเฟ้อประเทศไทยในปี 2565 ที่ปรับขึ้นมา 6.08% ทำให้การขึ้นเงินเดือนเมื่อปีก่อนเอาชนะเงินเฟ้อที่พนักงานเคยเสียเปรียบไปได้ (*อัตราเงินเฟ้อเมื่อปี 2566 อยู่ที่ 1.2% ข้อมูลจากสภาพัฒน์)

    ทว่า การให้ “โบนัส” นั้นปรับลดลง โดยเมื่อปี 2566 บริษัทมีการให้โบนัสเฉลี่ย 1.5 เดือนเท่านั้น เทียบกับปี 2565 ที่ให้เฉลี่ย 1.8 เดือน

    ด้านการ “เลื่อนขั้น” ให้พนักงาน ปีก่อนมีบริษัท 62% ที่เลื่อนตำแหน่งให้พนักงาน และกลุ่มพนักงานที่ได้เลื่อนขั้นจะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเฉลี่ย 10.6%

     

    เทรนด์ปี 2567 ส่วนใหญ่ยังรับพนักงานเพิ่ม

    มาถึงแนวโน้มของปี 2567 ผลสำรวจนี้พบว่า 51% ของบริษัทที่สำรวจมีนโยบายรับพนักงานเพิ่มในช่วงครึ่งปีแรกนี้ 48% เน้นการดูแลพนักงานที่มีอยู่หรือไม่มีแผนจะรับเพิ่ม มีแค่ 1% เท่านั้นที่วางแผนจะลดจำนวนพนักงาน

    เงินเดือน

    น่าสนใจว่าบริษัทที่มีแนวโน้มจะรับพนักงานใหม่มากที่สุดนั้นคือ “บริษัทขนาดเล็ก” มี 54% ที่จะเปิดรับเพิ่ม ในทางกลับกัน “บริษัทขนาดใหญ่” นั้นมี 4% ที่วางแผนจะปลดพนักงานซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยตลาด

    JobsDB มองว่าเทรนด์การรับพนักงานประเภทสัญญาจ้างหรือชั่วคราวจะยังมาแรง เพราะบริษัทมองเหตุผล 3 อันดับแรกที่ทำให้ต้องการพนักงานรูปแบบการจ้างแบบนี้คือ 1) เหมาะกับช่วงขยายธุรกิจ 2) การจัดการจำนวนพนักงานสามารถเพิ่มหรือลดได้ และ 3) เป็นการลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงาน

    ]]>
    1464294
    “เมอร์เซอร์” คาดตลาดงานปี’67 “เงินเดือน” ปรับขึ้นเฉลี่ย 5% นายจ้างเตรียมรับสภาวะ “เทิร์นโอเวอร์” กลับมาสูง https://positioningmag.com/1451554 Mon, 13 Nov 2023 09:45:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1451554
  • “เมอร์เซอร์” สำรวจตลาดงานปี 2566-67 คาดปีหน้า “เงินเดือน” พนักงานปรับขึ้นเฉลี่ย 5.0%
  • ธุรกิจที่มีอัตราการขึ้นเงินเดือนมากกว่าค่าเฉลี่ยตลาด ได้แก่ วิทยาศาสตร์สุขภาพ, อุตสาหกรรมไฮเทค, สินค้าอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมเคมี
  • “งานขาย” “วิศวกร” และ “ไอที” สายอาชีพที่นายจ้างต้องการตัวมากที่สุดในตลาดงาน
  • นายจ้างเตรียมตัวรับสภาวะ “เทิร์นโอเวอร์” กลับมาสูงเหมือนก่อนโควิด-19 พนักงานอยากย้ายงานมากขึ้น
  • “จักรชัย บุญยะวัตร” ประธาน บริษัท เมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล เปิดผลสำรวจเรื่อง “ค่าตอบแทนประจำปี” ของปี 2566 และคาดการณ์ปี 2567 โดยมีการเก็บข้อมูลจากองค์กรในไทย 617 บริษัท รวมกว่า 359,000 ตำแหน่งงาน รวบรวมจาก 7 อุตสาหกรรม ทั้งนี้ 87% ของบริษัทที่สำรวจเป็นบริษัทลูกของบริษัทข้ามชาติ และมีรายได้เฉลี่ยของบริษัทที่สำรวจอยู่ที่กว่า 2,800 ล้านบาท

    ผลสำรวจพบว่า การขึ้นเงินเดือนเฉลี่ยทุกอุตสาหกรรม ปี 2566 เพิ่มขึ้น 4.8% ส่วนปี 2567 บริษัทคาดจะขึ้นเงินเดือน 5.0%

    การขึ้นเงินเดือนพนักงานมีแนวโน้มเติบโตขึ้น เนื่องจากแนวโน้มทางเศรษฐกิจไทยที่น่าจะปรับดีขึ้นในปีหน้า คาดจีดีพีไทยปี 2567 จะเติบโต 3.8% ด้วยปัจจัยบวกด้านการท่องเที่ยวและการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

    เงินเดือน

    อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นเงินเดือน 5.0% ของตลาดงานไทยก็ยังถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย “ภูมิภาคเอเชีย” ที่คาดจะขึ้นเงินเดือนเฉลี่ย 5.2% ในปีหน้า โดยภูมิภาคนี้มีตลาดงานที่คาดว่าจะมีการขึ้นเงินเดือนสูงสุดคือ “อินเดีย” ขึ้นเฉลี่ย 9.3%

     

    “วิทยาศาสตร์สุขภาพ” จ่ายแรง ขึ้นเงินเดือนสูงสุด

    หากวัดการขึ้นเงินเดือนเป็นรายอุตสาหกรรม เมอร์เซอร์พบว่า ธุรกิจที่ขึ้นเงินเดือนให้มากกว่าค่าเฉลี่ยมัธยฐาน ได้แก่ วิทยาศาสตร์สุขภาพ, อุตสาหกรรมไฮเทค, สินค้าอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรมเคมี

    โดยธุรกิจ “วิทยาศาสตร์สุขภาพ” ถือเป็นธุรกิจที่อยู่ในเทรนด์มาต่อเนื่องหลายปี เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เป็นธุรกิจขาขึ้นมาโดยตลอด และทำให้มีการขึ้นเงินเดือนพนักงานสูงกว่าค่าเฉลี่ย

    รวมถึง “อุตสาหกรรมไฮเทค” ก็เป็นเทรนด์ขาขึ้นเช่นกัน เนื่องจากบริษัทหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ต้องปรับตัวหันมาใช้เทคโนโลยีไฮเทคในการผลิตและการทำงาน จึงมีดีมานด์สูงขึ้น และทำให้กลุ่มไฮเทคจ่ายค่าแรงพนักงานได้มากขึ้น

     

    “งานขาย” “วิศวกร” และ “ไอที” ที่สุดแห่งมนุษย์ทองคำยุคนี้

    เมอร์เซอร์ยังพบด้วยว่ากลุ่มอาชีพ “Hot Jobs” หรือพนักงานกลุ่มที่หาตัวทาเลนต์ความสามารถสูงได้ยาก และรักษาให้อยู่กับองค์กรไว้ยากนั้นยังเหมือนเดิม นั่นคือ

    • อันดับ 1 งานขายและการตลาด
    • อันดับ 2 วิศวกรและวิทยาศาสตร์
    • อันดับ 3 ไอทีและโทรคมนาคม

    โดยที่โดดเด่นต่อเนื่องมานานคือกลุ่ม “มนุษย์ไอที” เป็นกลุ่มที่องค์กรตามล่าตัวและให้เงินเดือนมากกว่าค่ามัธยฐาน

    หากเจาะลึกลงไปในกลุ่มไอที สายงานไอทีที่ต้องการตัวกันมากที่สุดคือ “IT Security” หรือกลุ่มผู้ดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ เนื่องจากเป็นงานที่ต้องการไลเซนส์รับรอง ซึ่งในไทยมีพนักงานที่ได้ไลเซนส์นี้ประมาณ 200 คนเท่านั้น และมีอุตสาหกรรมที่ตามล่าตัวมากที่สุดคือกลุ่มธนาคาร/สถาบันการเงิน

     

    นายจ้างเตรียมตัว “เทิร์นโอเวอร์” จะกลับมาสูง

    อีกด้านหนึ่งของการจ้างงานคืออัตราการลาออกหรือ “เทิร์นโอเวอร์” ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มลาออกโดยไม่สมัครใจ (เลย์ออฟ) และ กลุ่มลาออกโดยสมัครใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการย้ายงาน

    เมอร์เซอร์พบว่า การเลย์ออฟพนักงานที่เคยพุ่งสูง อัตราอยู่ที่ 4.7% เมื่อปี 2563 ปีแรกที่เกิดโควิด-19 ในปี 2566 นี้คาดว่าอัตราเลย์ออฟไต่ระดับลงมาเหลือเพียง 0.8% เท่านั้น เห็นได้ว่าตลาดงานเริ่มมีความเสถียร ลดการปลดพนักงาน

    ส่วนการลาออกโดยสมัครใจนั้นเคยต่ำลงเหลือ 9.7% ในปี 2563 แต่เริ่มมาไต่ระดับเพิ่มขึ้นหลังโควิด-19 คลี่คลาย เมอร์เซอร์คาดว่าปี 2566 นี้อัตราการลาออกโดยสมัครใจจะกลับมา “ดับเบิลดิจิต” ที่ 10.0%  และน่าจะไต่สูงขึ้นต่อไปในปี 2567 (*อัตราเทิร์นโอเวอร์ที่เมอร์เซอร์สำรวจ เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 16.0% เมื่อปี 2556)

    เหตุที่พนักงานจะกลับมาลาออกเพื่อ “ย้ายงาน” เนื่องจากมั่นใจในเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทยมากขึ้น จึงกล้าที่จะย้ายงานในช่วงนี้ ซึ่งทำให้องค์กรที่ต้องการดึงดูดทาเลนต์หรือรักษาทาเลนต์ไว้กับบริษัท จะต้องมีแผนกลยุทธ์ด้านการจัดจ้างบุคลากร มีแพ็กเกจที่ตอบโจทย์ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเรื่องรายได้เท่านั้น แต่ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่เข้ากับความต้องการของทาเลนต์เป็นรายบุคคล เช่น work-life balance, การเติบโตในอาชีพการงาน, โปรแกรมเทรนนิ่งเพื่อพัฒนาบุคลากร เป็นต้น

    ]]>
    1451554
    ‘ญี่ปุ่น’ ขึ้นแท่นประเทศที่ให้ “ค่าจ้าง-สวัสดิการ” แรงงานต่างชาติ “สูงสุดในเอเชีย” แตะ 13 ล้านบาท! https://positioningmag.com/1440097 Mon, 07 Aug 2023 08:04:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440097 ใครที่กำลังมองหางานในต่างประเทศอาจอยากไป ญี่ปุ่น เป็นพิเศษ เพราะจากการเก็บข้อมูลโดยบริษัท ECA International ที่เก็บข้อมูลจากบริษัทกว่า 340 แห่ง และสัมภาษณ์แรงงานนานาชาติกว่า 10,000 คน พบว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้ ค่าแรงและสวัสดิการแรงงานต่างชาติสูงสุดในเอเชีย

    จากการสำรวจโดย บริษัท ECA International บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลระดับนานาชาติ ที่จะนำทั้งเงินเดือน ผลประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ที่พักหรือสาธารณูปโภค และภาษี มาคำนวณค่าตอบแทนแรงงานต่างชาติในแต่ละประเทศ พบว่า 5 ประเทศที่ให้ค่าจ้างแรงงานต่างประเทศสูงสุดในเอเชียประจำปี 2022 ได้แก่

    • ญี่ปุ่น: 370,183 ดอลลาร์
    • อินเดีย: 354,028 ดอลลาร์
    • จีน: 313,011 ดอลลาร์
    • ฮ่องกง: 278,020 ดอลลาร์
    • สาธารณรัฐเกาหลี: 275,727 ดอลลาร์

    เมื่อเทียบกับภารวมทั่วโลกพบว่า ญี่ปุ่น นั้นเป็นอันดับ 2 รองจาก สหราชอาณาจักร ที่ให้เงินเดือนและสวัสดิการแรงงานต่างชาติสูงที่สุดในโลก โดย 5 อันดับ ประเทศที่ให้ค่าจ้างแรงงานต่างประเทศสูงสุดของโลก ได้แก่

    • สหราชอาณาจักร: 441,608 ดอลลาร์
    • ญี่ปุ่น: 370,183 ดอลลาร์
    • อินเดีย: 354,028 ดอลลาร์
    • จีน: 313,011 ดอลลาร์
    • ฮ่องกง: 278,020 ดอลลาร์

    จากข้อมูลของ ECA International พบว่า ค่าตอบแทนโดยรวมในภูมิภาคเอเชียระหว่างปี 2021-2022 นั้นเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย +7% มีเพียงประเทศ ลาว จีน และฮ่องกง เท่านั้น ที่ได้รับเงินเดือนและสวัสดิการลดลง เมื่อวัดเป็นสกุลเงินท้องถิ่น ส่วนค่าตอบแทนของพนักงานต่างชาติในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางของญี่ปุ่นจะเฉลี่ยอยู่ที่ 370,183 ดอลลาร์ แต่ก็ถือว่าต่ำกว่าปีที่แล้ว 12% เนื่องจากเงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าลง 9%

    Lee Quane ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคเอเชียของ ECA International อธิบายว่า การขึ้นเงินเดือนในสกุลเงินท้องถิ่นอาจมีสาเหตุมาจากอัตราเงินเฟ้อ ทำให้ในปี 2022 บางประเทศในภูมิภาคเอเชียประสบกับอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างสูง ทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องเพิ่มเบี้ยเลี้ยง

    “บางบริษัทให้ค่าครองชีพแรงงานต่างชาติเพิ่มเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถจับจ่ายสินค้าต่าง ๆ ภายในประเทศได้ อย่าง สิงคโปร์ ที่เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้เงินเดือนและสวัสดิการของชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับปี 2021” 

    Source

    ]]>
    1440097
    บริษัทชั้นนำของ ‘ญี่ปุ่น’ ปรับ ‘ขึ้นเงินเดือนครั้งใหญ่’ ในรอบหลายสิบปี รับมือวิกฤต ‘เงินเฟ้อ’ https://positioningmag.com/1423787 Fri, 17 Mar 2023 09:07:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423787 หลายบริษัทในญี่ปุ่น โดยเฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่พร้อมใจกัน ปรับขึ้นเงินเดือนครั้งใหญ่ ในรอบหลายสิบปี หลังจากที่สหภาพแรงงานขอให้ขึ้นค่าจ้างที่สอดคล้องกับราคาสินค้าที่พุ่งสูงขึ้นเพราะปัญหาเงินเฟ้อ

    บริษัทใหญ่ ๆ ในญี่ปุ่นจะประกาศ ขึ้นค่าแรงโดยเฉลี่ย 2.85% อาทิ นิสสัน (Nissan) บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ได้ปรับขึ้นเงินเดือนโดยเฉลี่ย 12,000 เยน (3,100 บาท) ซึ่งเป็นการปรับขึ้นเงินเดือนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2547 นอกจากนี้ยังให้ โบนัส 5.5 เดือน ตามคำร้องขอของสหภาพแรงงาน นอกจากนิสสัน ก็มี โตโยต้า (Toyota) และ ฮอนด้า (Honda) ที่ปรับขึ้นเงินเดือนครั้งใหญ่สุดในรอบ 20 ปี และ 30 ปี ตามลำดับ

    “เราหวังว่าจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น” โคจิ ซาโต ประธานคนใหม่ของโตโยต้า กล่าว

    ในส่วนของบริษัทอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่อย่าง ฮิตาชิ (Hitachi) ก็ขึ้นค่าจ้างพื้นฐานตามที่สหภาพแรงงานเรียกร้องที่ 7,000 เยน (1,800 บาท) ซึ่งเป็นการขึ้นค่าแรงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2541 นอกจากนี้ ก็มีบริษัท Japan Airlines ที่เพิ่มค่าจ้างพื้นฐาน 7,000 เยน ซึ่งมากกว่าจำนวนเงินที่เรียกร้องโดยสหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนของพนักงานของสายการบิน

    สาเหตุที่หลายบริษัทขึ้นเงินเดือนให้พนักงาน เป็นผลมาจากที่ นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ เรียกร้องให้เหล่าองค์กรใหญ่เพิ่มค่าจ้างเพื่อลดภาระทางการเงินของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น ตั้งแต่อาหารไปจนถึงน้ำมัน โดยสินค้าอุปโภคบริโภคของญี่ปุ่นพุ่งขึ้น 4.2% โดยเป็นอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2524

    อย่างไรก็ตาม Saisuke Sakai นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจาก Mizuho Research & Technologies มองว่า การขึ้นเงินเดือนก็ ยังไม่เพียงพอ หากดูจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าการปรับขึ้นเงินเดือน

    “การปรับขึ้นค่าแรงนั้นยังไม่เพียงพอที่จะชดเชยราคาผู้บริโภคที่สูงขึ้น เนื่องจากอัตราการเพิ่มขึ้นของฐานเงินเดือนจำเป็นต้องตามให้ทันกับราคาเพื่อสร้างผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจ”

    ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาพบว่าในปี 2564 ค่าจ้างเฉลี่ยในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเพียง 6.3% จากปี 2533 ซึ่งเปรียบเทียบกับการเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในช่วงเวลาเดียวกัน

    ปัจจุบัน ค่าจ้างเฉลี่ยในญี่ปุ่นสำหรับปี 2564 อยู่ที่ประมาณ 39,711 ดอลลาร์/ปี (ราว 1.4 ล้านบาท) คิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของระดับเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา

    ]]>
    1423787
    ผลสำรวจปี 64 เผย ‘ซีอีโอ’ ได้ค่าตอบแทนมากกว่าพนักงานทั่วไป 254 เท่า 85% มาจากโบนัส! https://positioningmag.com/1382092 Wed, 20 Apr 2022 14:53:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382092 ย้อนไปในปี 2019-2020 ที่การระบาดของ COVID-19 ได้เริ่มระบาด ในช่วงปีนั้นค่าตอบแทนของ CEO ลดลงเพียง 1.6%  จาก 15.7 ล้านดอลลาร์เป็น 15.5 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากเหล่าผู้บริหารยอมลดหรือไม่รับเงินเดือนเพื่อพยุงบริษัทจากผลกระทบของการระบาด แต่เพียงปีเดียวช่องว่างของค่าตอบแทน CEO ก็กว้างขึ้นอีกครั้ง

    จากปีแรกที่เกิดการระบาดระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้บริหารระดับสูงต้องลดค่าตอบแทนที่ได้ แต่พอสถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ รายได้ก็กลับมามากกว่าที่หายไป โดยจากผลสำรวจของ Equilar 100 พบว่าในปี 2021 CEO จากบริษัทใหญ่ ๆ ทำรายได้มากกว่าพนักงานทั่วไปเฉลี่ย 254 โดยเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

    ในปี 2021 ค่าเฉลี่ยของค่าตอบแทน CEO อยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 31% จากปีก่อน โดยปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้ค่าตอบแทนสูงขึ้นเนื่องมากจากโบนัสและรางวัลหุ้นตามผลประกอบการของตลาดและผลิตภาพของบริษัท ซึ่งคิดเป็น 85% ของค่าตอบแทน อีก 15% เป็นเพียงเงินเดือนเท่านั้น

    ขณะที่ค่าตอบแทนพนักงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 68,935 ดอลลาร์ในปี 2020 เป็น 71,869 ดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นประมาณ 4% เท่านั้น โดย Equilar ระบุว่า การเติบโตส่วนหนึ่งมาเกิดจากบริษัทที่เสนอโบนัส แต่ในภาวะเศรษฐกิจที่แพร่ระบาดที่กำลังฟื้นตัว ซึ่งส่งผลให้อุปสงค์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นและอุปทานแรงงานที่ตึงตัวขึ้น

    ช่องว่างที่กว้างขึ้นแสดงให้เห็นว่าผลกำไรขององค์กรอยู่ที่จุดสูงสุด แต่ในขณะที่ คนงานซึ่งหลายคนอยู่ในแนวหน้าของวิกฤตยังไม่ได้รับผลตอบแทน Sarah Anderson ผู้เชี่ยวชาญด้านค่าตอบแทนผู้บริหารของ  สถาบัน Think Thank กล่าว

    “ในปี 2564 บริษัทมุ่งเน้นไปที่การรักษาผู้บริหารให้มีความสุขและไม่ต้องกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนงาน แต่ในระยะยาว และแม้ในระยะสั้น มันจะไม่เป็นผลดีต่อผลประกอบการ”

    ทั้งนี้ สถาบันนโยบายเศรษฐกิจ ประเมินค่าตอบแทนของ CEO เพิ่มขึ้น 1,322% ตั้งแต่ปี 1978 เทียบกับการเพิ่มขึ้น 18% สำหรับคนทำงานทั่วไปในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม ที่ค่าจ้างคนงานทั่วไปไม่ได้เพิ่มขึ้นเร็วเท่ากับที่ CEO นั้นมีเหตุผลหลายประการ ทั้งอัตราการว่างงานสูง การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล การพังทลายของสหภาพแรงงาน มาตรฐานแรงงานต่ำ การเพิ่มขึ้นของเงื่อนไขการไม่แข่งขันและการเอาท์ซอร์สในประเทศ

    ตามข้อมูลของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ พบว่า ข้อมูลค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นประมาณ 5% ในปีที่แล้ว เป็น 31.58 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง แต่การเติบโตของค่าจ้างดูเหมือนจะชะลอตัวลงเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ยังคงเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยที่ประมาณ 8.5% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

    Source

    ]]>
    1382092
    “นายจ้าง” กุมขมับ “นิวยอร์ก” ออกกฎบังคับเปิดเผย “เงินเดือน” ในประกาศรับสมัครลูกจ้าง https://positioningmag.com/1378016 Thu, 17 Mar 2022 13:41:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378016 “นิวยอร์ก” จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายให้ “นายจ้าง” ต้องเปิดเผยช่วง “เงินเดือน” ต่ำสุดสูงสุดในประกาศรับสมัครลูกจ้าง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 เพื่อปกป้องลูกจ้างไม่ให้ถูกเหยียดกดเงินเดือน ในทางกลับกัน กฎหมายนี้ส่งแรงกระเพื่อมให้บริษัทต้องเตรียมรับมือ เพราะโครงสร้างเงินเดือนทั้งบริษัทอาจขยับสูงขึ้น

    กฎหมายแรงงานข้อใหม่ของเมือง “นิวยอร์ก” เกี่ยวกับ “ความโปร่งใสของการจ่ายค่าจ้าง” ผ่านการตรากฎหมายมาตั้งแต่ธันวาคมปีก่อน แต่กำลังจะเริ่มบังคับใช้จริงในวันที่ 15 พฤษภาคม 2022 ยิ่งเวลางวดใกล้เข้ามา บริษัทต่างต้องเร่งการรับมือ

    กฎหมายดังกล่าวว่าด้วยการบังคับให้ “นายจ้าง” ต้องเปิดเผยช่วงอัตรา “เงินเดือน” ต่ำสุด-สูงสุดสำหรับตำแหน่งนั้นๆ เมื่อเปิดรับสมัครงาน โดยจุดประสงค์ของกฎหมายเพื่อทำให้ลูกจ้างมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น เนื่องจากทราบอัตราเงินเดือนที่ควรจะได้ โดยเฉพาะกลุ่ม “ผู้หญิง” ที่มักจะมีปัญหาถูกกดเงินเดือนมากกว่าผู้ชายในสหรัฐฯ

    อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กฎหมายข้อนี้เป็นปัจจัยบวกต่อการจ้างงานคือ ในกรณีที่ผู้สมัครงานคาดหวังเงินเดือนมากกว่าอัตราสูงสุด ก็จะได้ไม่สมัครงานเข้ามา และไม่ต้องเสียเวลากันทั้งสองฝ่าย เพราะอย่างไรอัตราเงินเดือนก็ไม่ลงตัวอยู่แล้ว

    แน่นอนว่าบริษัทอาจจจะหาทางเลี่ยงด้วยการระบุเรทเงินเดือนสูงสุดให้ต่ำเข้าไว้ เพื่อที่จะได้ไม่เสี่ยงผิดสัญญาหรือถูกต่อรองเงินเดือนได้ง่ายจากฝั่งผู้สมัคร แต่ในกรณีนิวยอร์กที่เป็นแหล่งรวมบริษัทชั้นนำ และมีทาเลนต์จำนวนมากพร้อมทำงาน การกดเรทเงินเดือนที่ประกาศไว้ต่ำก็อาจจะมีผลลบทำให้ผู้สมัครที่มีศักยภาพสูงไม่ส่งใบสมัครเข้ามา เพราะคิดว่าฐานเงินเดือนต่ำ จนถูกบริษัทคู่แข่งแย่งตัวไป

    กฎหมายประเภทนี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่นิวยอร์กเป็นที่แรกของสหรัฐฯ เพราะเคยบังคับใช้ในรัฐโคโลราโดมาก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม การเริ่มใช้ในนิวยอร์กอาจจะเป็นการชิมลางเพื่อขยายไปออกกฎหมายนี้ทั่วประเทศได้

    ทำให้บรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างหวั่นวิตกว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา เมื่อไพ่ทุกใบถูกวางให้เห็นบนโต๊ะ คนทั้งบริษัทเห็นอัตราเงินเดือนได้ชัดๆ จากการรับสมัครงาน จากเดิมที่เคยปกปิดเป็นความลับต่อกัน

     

    ลดการใช้ “ดุลยพินิจ” ต่อตัวบุคคล

    แต่เดิมนั้นกระบวนการพิจารณาค่าจ้างมักจะเกิดขึ้นเมื่อนายจ้างได้กลุ่มผู้สมัครงานที่สนใจมาแล้วจำนวนหนึ่ง โดยนายจ้างจะกล่าวว่าต้องการความยืดหยุ่นในการจ่ายเงินเดือน เพราะอาจจะมีทาเลนต์ที่มีทักษะสูงเข้ามาสมัคร และบริษัทยินดีที่จะจ่ายสูงกว่าปกติให้กับคนกลุ่มนี้

    อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่มีกรอบเงินเดือนชัดเจนซึ่งกำหนดมาแล้วจากงบประมาณบริษัท ทักษะที่ต้องการ และความรับผิดชอบต่องานที่ต้องทำ ผู้มีอำนาจตัดสินใจจะพิจารณาด้วย “ดุลยพินิจ” หรือธรรมเนียมบริษัทว่าคนลักษณะนี้ควรจะได้ค่าจ้างเท่าไหร่ ซึ่งเป็นที่มาของการกดเงินเดือนเนื่องจากการ ‘เหยียด’ ภายในบริษัท

    แต่ฝั่งนายจ้างก็มองเห็นถึงปัจจัยลบที่บริษัทจะต้องแบกรับเช่นกัน ทำให้หลายบริษัทมีการจ้างทนายหรือบริษัทที่ปรึกษาเพื่อเข้ามาทำแผนรับมือแล้ว

     

    โครงสร้าง “เงินเดือน” ทั้งบริษัทอาจเปลี่ยน

    ประเด็นหนึ่งที่บริษัทกังวลมาก คือเมื่ออัตราเงินเดือนถูกกำหนดชัดเจน จะทำให้คนทั้งบริษัททราบอัตราที่ตนเองมองว่าตนควรได้รับ เพราะบริษัทระบุว่าจ่ายได้ และทุกคนจะขอขึ้นเงินเดือนเป็นอัตราสูงสุดที่ระบุ

    “เมื่อคุณจำเป็นต้องระบุฐานเงินเดือนในประกาศรับสมัครงาน คุณจะรู้ตัวเลยว่าจะต้องรับผิดชอบต่อฐานเงินเดือนที่คุณจ่ายให้พนักงานปัจจุบันด้วย” Kieren Snyder ซีอีโอของ Textio กล่าว โดยบริษัทนี้เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่สมัครใจประกาศฐานเงินเดือนในการรับสมัครงานอยู่แล้ว

    จากประเด็นนี้ ทำให้หลายบริษัทคาดว่าโครงสร้างเงินเดือนทั้งหมดจะปรับขึ้น กลายเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเมื่อบริษัทคู่แข่งสามารถตรวจสอบอัตราเงินเดือนกันได้ง่ายๆ ก็จะทำให้บริษัทที่พร้อมจ่ายขึ้นราคาค่าตัวพนักงานทักษะสูงหรือพนักงานระดับผู้บริหารเพื่อแข่งขันแย่งตัวกัน ในระยะยาวแล้วบริษัทจะต้องจ่ายมากขึ้น

    ส่วนพนักงานย่อมเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดตามเจตนากฎหมายฉบับนี้

    Source

    ]]>
    1378016
    อังกฤษ ‘Jobs Boom’ คนเเห่ลาออกเพื่อหางานใหม่ บริษัททุ่มเพิ่มค่าจ้าง เเย่งชิงพนักงาน https://positioningmag.com/1370309 Thu, 13 Jan 2022 14:57:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370309 สหราชอาณาจักรกำลังอยู่ในช่วง ‘Jobs Boom’ เเรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทยอยลาออกเพื่อ ‘หางานที่มีรายได้ดีกว่า’ ท่ามกลางความต้องการที่พุ่งสูง นายจ้างพร้อมทุ่มโบนัสเเละปรับเงินเดือน

    Alan Bannatyne หัวหน้าฝ่ายการเงินของ Robert Walters บอกกับ BBC ว่า ผู้คนกำลังมองหาค่าเเรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นกว่า 15% เเละบางคนก็ต้องการเงินเดือนใหม่เพิ่มขึ้นถึง 50%

    เขามองว่า ปี 2022 จะเป็นปีเเห่งโอกาสสำหรับลูกจ้าง โดยตำแหน่งว่างในสหราชอาณาจักร พุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เศรษฐกิจเริ่มกลับมาเปิดอีกครั้ง เเละบรรดาเหล่านายจ้างกำลังแย่งชิงเเรงงานที่ขาดเเคลนนี้

    ด้าน Robert Walters จากบริษัทจัดหางานที่เน้นแรงงานระดับมืออาชีพ ระบุว่า บริษัทต่างๆ กำลังอยู่ในช่วงที่ต้องแข่งขันอย่างดุเดือด เพื่อเฟ้นหาบุคลากรที่มีความสามารถ และก็เป็นเรื่องยากที่จะหา ‘คนที่ใช่’

    เเม้จะมีนายจ้างจำนวนมากที่ยอม ‘ขึ้นเงินเดือน’ เพื่อดึงดูดเเรงงาน เเต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เมื่อมีผู้ชนะก็ต้องมีผู้แพ้ เเละไม่ใช่ทุกบริษัทจะทุ่มจ่ายเงินเช่นนี้ได้ “บริษัทค้าปลีกและสายการบิน ต่างเผชิญกับความยากลำบาก ดังนั้นก็อาจจะไม่จ่ายโบนัสหรือขึ้นค่าแรง”

    สวนทางกับกลุ่มธุรกิจอย่างค้าปลีกออนไลน์ บริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและดิจิทัล และผู้ผลิตสินค้าในครัวเรือน ที่มีการเติบโตสูง

    ฝั่งบริษัทจัดหางาน Manpower กล่าวว่า นายจ้างกำลังพยายามมองหาพนักงานที่มี ‘ทักษะสูง’ มากขึ้น โดยผู้ที่มีทักษะตรงกับความต้องการ ก็จะมีอำนาจต่อรอง มีอิสระที่จะเลือกทำงานตามความคาดหวังของพวกเขา

    ตามรายงานของ BCL Legal และบริษัทข้อมูล Vacancysoft ระบุว่า การขาดแรงงานทักษะสูง ส่งผลกระทบในหลายอุตสาหกรรม เช่น ด้านกฎหมาย ที่มีอัตราการประกาศหางานเพิ่มขึ้นถึง 131% เมื่อเทียบกันระหว่างตำแหน่งงานว่างเมื่อเดือนมกราคมและพฤศจิกายนปีก่อน

    Photo : Shutterstock

    ด้านข้อมูลของ Robert Waters ชี้ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้เกิดปัญหาการขาดแคลน ‘ทนายความ’ ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ท่ามกลางการลาออกของผู้ที่มีประสบการณ์

    ทนายความที่ผ่านเกณฑ์เข้าทำงานใหม่ในบริษัทชื่อดัง สามารถได้ค่าจ้างมากถึง 147,000 ปอนด์ต่อปีหรือราว 6.68 ล้านบาท โดยไม่รวมโบนัส ที่คาดว่าจะเป็นเงินก้อนโต

    เทียบกับปี 2018 ที่เงินเดือนเฉลี่ยของทนายความที่ทำงานเต็มเวลาอยู่ที่ 62,000 ปอนด์ต่อปี (เพิ่มขึ้นเป็น 88,000 ปอนด์หากทำงานในกรุงลอนดอน)

    ส่วนงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำ ก็พบว่ามีอัตราค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นกันเช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต Sainsbury’s ที่ประกาศเพิ่มค่าแรงให้กับพนักงานเป็น 10 ปอนด์ หรือราว 450 บาท ต่อชั่วโมง

    อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะขาดเเคลนเเรงงานก็คือ การที่ผู้คนหันมา ‘ประเมินอาชีพตัวเองใหม่’ ในช่วงล็อกดาวน์ ทำให้มีการเปลี่ยนงานหรือออกจากตลาดแรงงานไปเลย ซึ่งสถานการณ์นี้ถูกเรียกว่า Great Resignation การลาออกจากงานครั้งใหญ่ ส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยสูงขึ้น รวมถึงโบนัสที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย

    James Reed ประธานบริษัทจัดหางาน Reed Recruitment กล่าวว่า สหราชอาณาจักรอยู่ท่ามกลาง “jobs boom” ซึ่งเป็นเวลาที่ดีที่สุดในรอบ 50 ปีในการหางานใหม่

     

    ที่มา : BBC

     

     

     

    ]]>
    1370309
    ส่องรายได้ ‘ทิม คุก’ หลังพา ‘Apple’ ขึ้นแท่นบริษัทแรกของโลกที่มูลค่าทะลุ 3 ล้านล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1369741 Fri, 07 Jan 2022 06:26:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369741 หากพูดถึงชื่อของ Apple ชื่อของตำนานอย่าง ‘สตีฟ จ็อบส์’ ผู้ก่อตั้งบริษัทคงเป็นชื่อแรกที่หลายคนนึกถึง แต่ผู้มาสานต่อความยิ่งใหญ่และพา Apple ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดก็คือ ‘ทิม คุก’ ที่รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) มาตั้งแต่ปี 2011 หรือก่อนที่สตีฟ จ็อบส์ จะเสียชีวิตไม่นาน ดังนั้น มาส่องรายได้ของซีอีโอบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในโลกกันว่าแต่ละปีมีรายรับมหาศาลแค่ไหน

    เผลอแป๊บเดียว ทิม คุก ก็บริหาร Apple มาเป็นเวลา 10 ปีเต็ม แม้ในช่วงแรกอาจมีข้อกังขาว่า เขาจะสามารถแทนที่สตีฟ จ็อบส์ได้ดีแค่ไหน โดยเฉพาะความสามารถในการสร้างสรรค์เทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทิม คุก ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเขาไม่ใช่แค่สานต่อ แต่ยังพา Apple เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดโดยไม่ต้องพึ่งพาแค่ iPhone

    ภายใต้การบริหารของ ทิม คุก Apple ทำรายได้จากส่วนของการบริการมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสตรีมวิดีโอและเพลง ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถลดการพึ่งพิงยอดขาย iPhone จากกว่า 60% ของรายได้รวมในปี 2018 เหลือราว 52% ในปีการเงินที่ผ่านมา และทิม คุก ยังพา Apple ขึ้นเป็นบริษัทแห่งแรกที่มีมูลค่าตลาด 1 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อเดือนสิงหาคม 2018 และขึ้นเป็น 2 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2020 ก่อนจะทำลายสถิติเดิมในมกราคมปี 2022 ที่มูลค่า 3 ล้านล้านดอลลาร์

    โดยในปี 2021 รายได้ของ Apple เติบโตขึ้น 33% มียอดขายกว่า 3.65 แสนล้านดอลลาร์ ดังนั้น ผลงานดีขนาดนี้ หลายคนคงอยากรู้ว่า CEO ของ Apple จะมีรายได้เท่าไหร่ ซึ่งก็มีการเปิดเผยจาก CNBC ว่า ในปี 2021 ทิม คุก มีรายได้อยู่ราว 98.73 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3,300 ล้านบาท เลยทีเดียว โดยแบ่งเป็น

    • เงินเดือน 3 ล้านดอลลาร์ (ราว 100.7 ล้านบาท)
    • โบนัส 12 ล้านดอลลาร์ (ราว 402.7 ล้านบาท) 
    • ค่าตอบแทนอื่น ๆ 1.39 ล้านดอลลาร์ (ราว 46.7 ล้านบาท) ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางส่วนตัว 712,488 ดอลลาร์ ค่ารักษาความปลอดภัย 630,630 ดอลลาร์ การช่วยเหลือ 17,400 ดอลลาร์ สำหรับแผน 401(k) ของเขา เบี้ยประกันชีวิต 2,964 ดอลลาร์ และเงินชดเชย 23,077 ดอลลาร์ สำหรับวันหยุดพักผ่อน
    • Stock Awards หรือ การได้รับหุ้นของบริษัทตามข้อตกลงที่ทำไว้ 82.35 ล้านดอลลาร์ (ราว 2,763.7 ล้านบาท)

    ในส่วนของผลตอบแทนที่เป็นหุ้นนั้น ทิม คุก จะได้รับการทยอยส่งมอบภายใน 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2020 – 2025 โดย Apple พิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัย อาทิ มูลค่าของบริษัทที่เติบโตขึ้น, ผลประกอบการ, บทบาทและประสิทธิภาพการทำงานในฐานะ CEO รวมถึงการทำกำไรเมื่อเทียบกับคู่แข่งในระดับใกล้เคียงกัน

    อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมหุ้นที่ ทิม คุก ได้รับ ในปี 2020 เขาได้รับค่าตอบแทนอยู่ที่ 14.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 493.3 ล้านบาท) ส่วนปี 2019 อยู่ที่ 11.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 385.9 ล้านบาท)

    ทั้งนี้ ค่าตอบแทนในปี 2021 ของ ทิม คุก มากกว่าพนักงานทั่วไป 1,447 เท่า หากคำนวณจากค่าเฉลี่ยเงินเดือนที่ 68,254 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ในปี 2015 ทิม คุก เคยเปิดเผยว่า เขามีแผนจะบริจาคทรัพย์สมบัติของเขาเพื่อการกุศล

    Source

    ]]>
    1369741
    ขาดเเรงงาน บริษัทในออสเตรเลีย ทุ่ม ‘โบนัส-ขึ้นเงินเดือน’ เเย่งชิงพนักงานทักษะสูง https://positioningmag.com/1361613 Thu, 11 Nov 2021 11:11:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1361613 หลายธุรกิจในออสเตรเลีย ประสบปัญหาขาดเเคลนเเรงงานอย่างหนัก หลังต้องปิดประเทศมานานเกือบ 2 ปี บริษัทต่างๆ เริ่มใช้กลยุทธ์เสนอโบนัสเเละปรับขึ้นเงินเดือนเพื่อเเย่งชิงพนักงานทักษะสูงที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาด

    บรรดาบริษัทด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการควบรวมกิจการ ถึงกับต้องเสนอโบนัสให้กับพนักงานใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี เเละใช้งบในการสรรหาบุคลากรเพิ่มขึ้นถึง ‘สองเท่า

    โดยต้องออกนโยบายใหม่ ให้มีการพิจารณาเพิ่มเงินเดือนปีละสองครั้ง และปรับเพิ่มฐานเงินเดือนขึ้นถึง 15% เพื่อแย่งตัวพนักงานใหม่และรักษาพนักงานเดิม เพราะสายงานนี้กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในช่วงวิกฤตโควิด

    เช่นเดียวกับ บริษัทวิเคราะห์ข้อมูล ไปจนถึงธุรกิจภาคบริการต่างๆ ที่กำลังเจอปัญหาไม่มีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน หลังออสเตรเลียปิดพรมแดนเป็นเวลานานเกือบ 2 ปี ตามมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวด

    พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้ทั่วโลกต้องหันมาทำธุรกิจออนไลน์ เเละความต้องการเเรงงานด้านเทคโนโลยีที่มีทักษะก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

    SEEK เว็บไซต์จัดหางานชื่อดังของออสเตรเลีย เผยว่า โฆษณารับสมัครงานใหม่ตอนนี้ เพิ่มขึ้นถึง 54% จากช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด เเต่จำนวนคนที่มาสมัครงานกลับลดลง

    ในกลุ่มสายงานการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ ความปลอดภัยไซเบอร์ และการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถ อาจเรียกเงินเดือนเพิ่มได้ถึง 20% เพราะกำลังเป็นที่ต้องการของตลาด

    โดยบริษัทซอฟต์แวร์เเห่งหนึ่งในนครซิดนีย์ เสนอ ‘Sign-on Bonus’ กว่า 10,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 2.4 เเสนบาท) เงินก้อนให้เปล่ากับพนักงานใหม่ที่ได้ตกลงเซ็นสัญญาทำงานด้วย

    ขณะที่การเพิ่มค่าจ้างเป็นวิธีหลักในการดึงดูดและรักษาพนักงาน แต่การยืดหยุ่นให้ทำงานที่บ้านหรือ ‘Work from Home’ ได้ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยจูงใจคนทำงาน

    แม้ว่าออสเตรเลียจะเริ่มผ่อนคลายมาตรการเเละเตรียมเปิดพรมแดน หลังประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครอบคลุม เเต่บริษัทจัดหางานในออสเตรเลีย เตือนว่า ภาวะขาดแคลนเเรงอาจจะรุนเเรงกว่าเดิมในปีหน้า เนื่องจากคนทำงานจำนวนมากที่ทนการปิดประเทศมายาวนานไม่ไหวจึงพากันออกไปหางานทำในต่างประเทศเเทน

    ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศและการค้า ระบุว่า ชาวออสเตรเลีย 2 ล้านคนจากประชากรทั้งหมด 25 ล้านคน ได้เลื่อนการยื่นขอหรือต่ออายุหนังสือเดินทางมา ตั้งแต่ต้นปี 2020 จากสถานการณ์โรคระบาด แต่ปัจจุบันจำนวนผู้สมัครเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นสองเท่าทุก ๆ สองเดือน

    ความเคลื่อนไหวนี้ สะท้อนให้เห็น ‘ภาวะสมองไหล’ ของเเรงงานทักษะสูง ไปยังตลาดสำคัญๆ ทั่วโลก อย่างเช่น สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของชาวออสเตรเลียที่ต้องการไปทำงานในต่างประเทศ

     

    ]]>
    1361613
    ส่องโครงการใหม่ KBank ให้กู้ 0% จ่ายเงินลูกจ้าง ป้องกันตกงาน – เเจกเงินบุคลากรการเเพทย์ https://positioningmag.com/1276905 Tue, 05 May 2020 09:36:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276905 การรักษาการจ้างงาน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์วิกฤตโรคระบาด เมื่อธุรกิจไม่สามารถดำเนินไปได้ตามปกติ KBank ประกาศ 2 มาตรการใหม่ ปล่อยเงินกู้ 1,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0% ระยะเวลา 10 ปี ช่วยผู้ประกอบการรายย่อยมีเงินเดือนจ่าย “ลูกจ้าง” กว่า 41,000 คน เพื่อให้ระบบเดินหน้าต่อได้

    พร้อมให้ “เงินรางวัล” เป็นกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ นำร่องใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงิน 300 ล้านบาท ในมาตรการ “เบี้ยรบพิเศษสำหรับนักรบเสื้อกาวน์” จ่ายเงินเพิเศษให้คนละ 4,000 บาทต่อเนื่อง 3 เดือนโอนเช้าบัญชีโดยตรง วางเป้าครอบคลุม 2 หมื่นคน ใครทำงานจริงเเต่ไม่ได้เงิน สามารถร้องเรียนให้ตรวจสอบได้ โดยจะดำเนินการในช่วงปลายเดือนนี้

    “ตอนนี้ถือเป็นช่วงสงคราม สงครามจากเชื้อโรค จะคิดแบบเดิมทำแบบเดิมไม่ได้ สินเชื่อที่ปล่อยในช่วงนี้ ก็ทำใจไว้ระดับหนึ่งว่าอาจจะเป็นหนี้เสีย เเต่ต้องช่วยกัน ถ้ากำไรของธนาคารปีนี้จะเป็น 0% เพราะต้องนำไปตั้งสำรองเพิ่ม ผมรับได้ แต่ต้องอย่าให้ลามไปถึงทุน” บัณฑูร ล่ำซำ ประธานเกียรติคุณ ธนาคารกสิกรไทย (KBank) กล่าว

    เงินกู้ 0% จ่ายเงินเดือนลูกจ้าง เพื่อ “ซื้อเวลา”

    บัณฑูร เล่าถึงที่มาของ “สินเชื่อ 0% เพื่อรักษาคนงาน SMEs” ว่าเป็นธุรกิจรายย่อยได้รับผลกระทบอย่างหนักจาก COVID-19 แม้จะมีมาตรการที่รัฐออกมาทั้งซอฟต์โลนต่างๆ แต่ธนาคารมองว่ายังต้องช่วยเพิ่มเติม โดยเฉพาะในส่วนเงินทุนหมุนเวียนที่จะประคองกิจการ มุ่งช่วยคนที่อยู่ข้างล่างที่สุดของธุรกิจที่เป็นคนตัวเล็กตัวน้อย นั่นก็คือ “ลูกจ้างที่ต้องหาเช้ากินค่ำ” การเข้าไปช่วยเหลือให้ช่วยเหลือพนักงานให้ยังมีงานทำเเละมีเงินเดือนเลี้ยงชีพตัวเองเเละครอบครัวให้ผ่านช่วงนี้ไปให้ได้ คือ “สิ่งสำคัญ” ของโครงการนี้

    โดยวงเงินกู้ 1,000 ล้านบาทก้อนนี้ จะนำไปจ่ายเงินเดือนพนักงานให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ขนาดเล็กที่มีพนักงานตั้งเเต่ 0-200 คน ให้เงินเดือน 8,000 บาทต่อเดือนต่อคน ในระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งจะพักชำระหนี้ 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 0% ระยะเวลาสินเชื่อ 10 ปี ฟรีค่าธรรมเนียมทุกประเภท คาดว่าจะช่วยเหลือ SMEs ได้ราว 1,000 ราย เเละช่วยพนักงานได้กว่า 41,000 คน (วงเงินกู้ของแต่ละบริษัทขึ้นอยู่กับจำนวนพนักงาน)

    สำหรับ SMEs ที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ ต้องเป็นลูกค้าของธนาคารที่มีผลประกอบการดีหรืออยู่ในขั้นพอไปได้ ไม่ต่ำกว่า 5 ปี และเปิดใช้บัญชี Pay Roll กับกสิกรไทย เพื่อให้มีการจ่ายเงินสะดวกโปร่งใส โอนเข้าบัญชีพนักงานโดยตรง

    “เราต้องการช่วย SMEs ที่มีผลประกอบการที่ดี แต่ต้องมาเจอกับเหตุสุดวิสัย ให้ซื้อเวลารอเมื่อปัญหาผ่านพ้นก็จะสามารถทำธุรกิจต่อไปได้ ถ้าธุรกิจดีๆ จะต้องหายไปเพราะเหตุแบบนี้น่าเสียดาย”

    ขณะเดียวกัน บัณฑูร มองถึงความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อในช่วงนี้ว่า “มีความเสี่ยงสูง” ที่จะเป็นหนี้เสีย ต้องสำรองทันที เพราะไม่ใช่เหตุการณ์ปกติ “ต้องยอมเสียประโยชน์ระยะสั้น เพื่อให้ได้ประโยชน์ในระยะยาว”

    ก่อนหน้านี้ เมื่อกลางเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา กสิกรไทยได้เปิดตัวโครงการ “เถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ” วงเงิน 500 ล้านบาท ช่วยพนักงาน 15,000 คน ซึ่งยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยร่วมมือกับเจ้าของกิจการในการช่วยเหลือพนักงานที่มีเงินเดือนน้อยให้อยู่รอดได้ โดยมีจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่อง ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี มีความคืบหน้าในการรักษาการจ้างพนักงานได้กว่า 2,000 คน จากที่ตั้งเป้าไว้ 3,000 คน และมีมาตรการช่วยลดดอกเบี้ยบนเงินกู้เดิมที่ผู้ประกอบการมีกับธนาคาร คิดเป็นมูลค่ากว่า 60 ล้านบาท

    ทั้งนี้ ความเเตกต่างระหว่างโครงการสินเชื่อ 0% เพื่อรักษาคนงาน SMEs กับ เถ้าแก่ใจดี เจ้าหนี้มีใจ คือโครงการ สินเชื่อ 0% จะเป็นผู้ประกอบการรายเล็กมากกว่า มีพนักงานไม่เกิน 200 คนเป็นการให้เงินกู้เพื่อจ่ายเงินเดือน 8,000 บาทกับพนักงานโดยตรง ส่วนเถ้าแก่ใจดี จะเป็นบริษัทใหญ่ที่ยังพอมีกำลัง โดยธนาคารจะตัดรายได้ดอกเบี้ยที่ได้รับในจำนวนเงินเท่ากับ 50% ของเงินเดือนพนักงานที่ต้องจ่าย ร่วมกับเจ้าของกิจการที่ต้องจ่ายเงินเดือนอีก 50% เพื่อให้ธุรกิจไม่ต้องปรับลดพนักงาน

    เเจกเงินรางวัล ขอบคุณบุคลากรทางการเเพทย์ 

    ด้านโครงการ “เบี้ยรบพิเศษสำหรับนักรบเสื้อกาวน์” เป็นการมุ่งเน้นความช่วยเหลือต่อกลุ่มเสี่ยงที่ต้องต่อสู้กับโรคระบาด คือบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้าสกัดโรคไม่ให้ระบาดสู่สังคม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เสี่ยงภัยที่สุดในยามนี้ เเละเเทบไม่มีวันหยุดงาน โดย KBank จะเริ่มนำร่องที่ 5 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สงขลา นราธิวาส ยะลา ปัตตานี และสตูล

    “เหตุที่เราต้องช่วยใน 5 จังหวัดนี้ก่อน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่สุดของประเทศในขณะนี้ เเละมีแนวโน้มมีการระบาดรุนแรงกว่าที่อื่น ส่วนการจะขยายโครงการไปยังจังหวัดอื่นหรือกรุงเทพฯ หรือไม่นั้น ต้องประเมินไปตามสถานการณ์ เเละต้องเเน่ใจว่าเราได้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ (ใน 5 จังหวัดนี้) ครบหมดทุกคน โฟกัสที่โรงพยาบาลรัฐก่อน”

    โดยตอนนี้ได้ร่วมมือกับสาธารณสุขของจังหวัด ครอบคลุมโรงพยาบาล 45 แห่ง จัดส่งรายชื่อของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งแพทย์ พยาบาล ไปถึงผู้สัมผัสคนไข้ในรูปแบบต่างๆ เช่น บุคลากรด้านเทคนิค เจ้าหน้าที่ขนส่ง เจ้าหน้าที่ทำความสะอาด เบี้องต้นมีบุคลากร 5,083 คน

    ทั้งโครงการมูลนิธิกสิกรไทย เตรียมงบประมาณไว้ 300 ล้านบาท สนับสนุนเป็นเงินจำนวน 4,000 บาทต่อเดือน ในระยะ 3 เดือน คาดว่าจะช่วยได้ราว 20,000 คน เริ่มดำเนินการได้ภายในปลายเดือน พ.ค.นี้

    “โครงการไม่ได้เกี่ยวกับจดหมายเปิดผนึกอะไร ไม่เคยได้รับ แต่เราอยากจะเป็นส่วนหนึ่งที่ให้กำลังใจบุคลากรทางแพทย์ที่ทำงานเสี่ยงเเละเหนื่อยหนักในการต่อสู้ครั้งนี้ อยากขอบคุณเเทนคนไทยทั้งประเทศ การเเจกครั้งนี้จะเข้าบัญชีของเจ้าหน้าที่โดยตรง ถ้ามีบัญชีกสิกรหรือพร้อมเพย์ก็โอนเข้าได้เลย ซึ่งถ้าใครที่ทำงานเกี่ยวข้องจริงๆ ในพื้นที่เเต่ไม่ได้รับก็สามารถให้ตรวจสอบได้”

    บัณฑูร ปิดท้ายถึงเศรษฐกิจในไทยว่า ก่อนมีโรคระบาดเศรษฐกิจก็เเผ่วลงเรื่อยๆ การเติบโตน้อยกว่าเพื่อนบ้าน ระยะยาวต้องแก้ไขโครงสร้างเศรษฐกิจ เเต่ตอนนี้โจทย์สำคัญคือต้องทำอย่างไรให้รอดไปก่อน

    “New Normal ที่จะเกิดขึ้นหลังวิกฤต COVID-19 ทำให้ธุรกิจจะทำมาหากินเเบบเดิมๆ ไม่ได้เเล้ว จะสู้คนอื่นไม่ได้ ต้องเปลี่ยนองค์ความรู้ เปลี่ยนการค้าขายเเบบเดิม ปลูกพืชใหม่ การพึ่งพาท่องเที่ยว ต้องเปลี่ยนทุกอย่าง”

     

    ]]>
    1276905