อย่างไรก็ตาม ปี 2568 ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังมีความท้าทายสูง และอยู่ในจุดต่ำ แต่การฟื้นตัวมองเป็น 2 รูปแบบ คือ U-Shape หดตัวนานฟื้นตัวช้า และกรณีแย่สุดอาจเป็น L-Shape คือ หดตัวยาวนานขึ้นไปอีก
ทำให้แผนปี 2568 แสนสิริเปิดตัวโครงการใหม่ 29 โครงการ ลดลง 32% (YoY) มูลค่า 52,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% (YoY) แบ่งเป็น
ทั้งนี้ การเปิดตัวโครงการใหม่ปีนี้ เน้นกลุ่มระดับราคากลาง-บน และลดสัดส่วนกลุ่ม Affortdable ลง ดังนี้
“ยอดรีเจกต์เรตของแสนสิริมีประมาณ 11% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Affortdable ที่กำลังซื้อชะลอตัวลง และถ้าวันใดกลุ่มนี้ฟื้นตัว อาจกลับมาลุยตลาดอีกครั้ง“
อีกกลยุทธ์ที่แสนสิริโฟกัส คือ การขยายการลงทุนผ่านพาร์ตเนอร์ เพื่อบาลานซ์ความเสี่ยงด้านการเงินในแง่ลดการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน
ส่วนสัดส่วนการร่วมทุนของแต่ละเจ้าไม่เท่ากัน อาทิ
]]>“ปีนี้บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดขาย 53,000 ล้านบาท เติบโต 6% (YoY) และมียอดโอนกรรมสิทธิ์ 46,000 ล้านบาท เติบโต 5% (YoY)”
แสนสิริ (SIRI) ประกาศความร่วมมือกับทุนญี่ปุ่น บริษัท มิตซุย ฟุโดซัง เอเชีย ดีเวลลอปเมนท์ (ไทยแลนด์) จำกัด จัดตั้งบริษัทร่วมทุน (JV) เพื่อร่วมพัฒนา 2 โครงการแนวราบ ระดับลักซูรี ได้แก่
1. บุราสิริ จตุโชติ ขนาด 49 – 3 – 9.1 ไร่ มูลค่าโครงการ 2,080 ล้านบาท ราคาเริ่ม 14 – 25 ล้านบาท
2. นาราสิริ บางนา กม.10 ขนาด 38 – 2 – 96.2 ไร่ มูลค่าโครงการ 4,100 ล้านบาท ราคาเริ่ม 55 – 120 ล้านบาท
โดยคาดว่าทั้งสองโครงการ จะเปิดตัวในปี 2568 ซึ่งแผนความร่วมมือครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของแสนสิริ ที่ขยายโอกาสในการลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่ๆ
ล่าสุด ได้ประกาศผลการดำเนินงานรอบ 9 เดือน (สิ้นสุด ก.ย. 67) มีรายได้รวมมาเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มอสังหาฯ อยู่ที่ 28,877 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,009 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าเปิดตัวอีก 15 โครงการ มูลค่า 15,000 ล้านบาท
]]>สุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ (Property DNA) กล่าวว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีรายได้รวมมากที่สุดในช่วง 9 เดือน ที่ผ่านมาของปี 2567 คือ กลุ่มแสนสิริ มีรายได้เป็นอันดับ 1 จำนวน 28,877 ล้านบาท โดยรายได้หลักมาจากการขายบ้านในโครงการจัดสรร โดยเฉพาะกลุ่มบ้านลักชัวรี่ที่มีราคาแพง ส่วนคอนโดมิเนียมมีรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์โครงการในต่างจังหวัดในสัดส่วนที่มากกว่ากรุงเทพฯ
อันดับ 2 คือ กลุ่มเอพี (ไทยแลนด์) ที่มีรายได้รวม 27,676 ล้านบาท สัดส่วนของรายได้หลักมาจากการโอนกรรมสิทธิ์บ้านแนวราบมากกว่าคอนโดฯ เช่นกัน และ กลุ่มศุภาลัยตามมาเป็นอันดับที่ 3 ด้วยรายได้กว่า 22,792 ล้านบาท
ส่วนผู้ประกอบการอีก 2 รายที่มีรายได้รวม 9 เดือนแรก มากกว่า 10,000 ล้านบาท คือ กลุ่มเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น และเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ซึ่งมีรายได้รวมอยู่ที่ 14,454 ล้านบาท และ 13,534 ล้านบาท ตามลำดับ
ในส่วนของกำไรสุทธิอาจจะไม่ได้แตกต่างกันมากนัก โดยเฉพาะในกลุ่ม 3 อันดับแรก ที่มีกำไรสุทธิอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน โดย ศุภาลัย มีกำไรมากเป็นอันดับ 1 จำนวน 4,201 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 6% เนื่องจากโครงการเปิดขายใหม่บางโครงการได้รับการตอบรับสูงมาก ตามมาด้วย กลุ่มแสนสิริ ที่มีกำไร 4,009 ล้านบาท และ เอพี (ไทยแลนด์) กำไรสุทธิ 3,727 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามทั้ง แสนสิริ และ เอพีฯ อาจจะมีกำไรลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ก็ยังมากเป็นอันดับที่ 2 และ 3 ขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่ ประกาศผลประกอบการออกมาแล้วก็มีผลกำไรที่น่าสนใจ เพราะมีกำไรมากกว่า 1,000 ล้านบาท ทุกราย ซึ่งถือว่าเป็นผลประกอบการที่ดีเมื่อเทียบกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงที่ผ่านมา
สำหรับทิศทางของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงไตรมาส 4/2567 นี้อาจจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปัจจัยบวกที่จะมีผลกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกำลังซื้อมากนัก เพราะสิ่งที่ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยต้องการในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง แต่เป็นเรื่องของการอนุมัติวงเงินสินเชื่อ เพราะปัจจุบันสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยค่อนข้างมาก และไม่ค่อยมีการผ่อนปรนหรือประนีประนอมแบบก่อนหน้านี้ ขณะที่ผู้ประกอบการพยายามตรึงราคาขายไม่ให้สูงเกินไป และมีการลดราคาลงด้วยในบางครั้ง หรือมีมาตรการทางการตลาดอื่น ๆ ที่ส่งเสริมช่วยเหลือผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจริง ๆ
ดังนั้นปีนี้อาจจะเป็นปีที่ไม่ได้เห็นการสร้างรายได้หรือกำไรที่ไม่โดดเด่นมากนัก แต่ก็ประเมินว่าจนถึงสิ้นปีจะมีผู้ประกอบการรายใหญ่ที่สร้างรายได้และกำไรได้มากกว่าปีที่ผ่านมา และอาจจะมีผู้ประกอบการบางรายที่ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้เมื่อตอนต้นปี
]]>“ถนนหอการค้าไทย” จ.นนทบุรี เป็นถนนใหม่ที่เพิ่งตัดเสร็จเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ถนนเส้นนี้มีความยาว 4 กิโลเมตร เชื่อมต่อจากฝั่งถนนชัยพฤกษ์ ทะลุไปออกถนนทางหลวง 345 และเป็นถนนขนาดใหญ่ 6 เลนพร้อมเกาะกลางปลูกต้นไม้ตกแต่ง
ปัจจุบันสองข้างทางถนนเรียงรายด้วยหมู่บ้านสารพัดแบรนด์ เพราะเจ้าของถนนและที่ดินรอบข้างคือ “บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค” เป็นผู้เก็บสะสมที่ดิน ลงทุนตัดถนนเอง และดูแลบำรุงรักษาถนน เพื่อพลิกทำเลมาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย
“วงศกรณ์ ประสิทธิ์วิภาต” กรรมการผู้จัดการ บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เปิดเผยว่า บริษัทเริ่มเข้ามาทยอยซื้อที่ดินในย่านนี้มาเกิน 10 ปีแล้ว หลังจากเล็งทำเลแล้วมองว่าที่ดินย่านถนนรัตนาธิเบศร์และถนนแจ้งวัฒนะกำลังจะ ‘เต็ม’ ในไม่ช้า ทำให้เชื่อว่าความเจริญจะขยายข้ามแม่น้ำมาทางสะพานพระราม 4 เข้าสู่ถนนชัยพฤกษ์
ทำให้เพอร์เฟคซุ่มลงทุนซื้อที่ดินตาบอดที่ลึกเข้าไปจากถนนชัยพฤกษ์ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นทุ่งนา เมื่อเก็บที่ดินได้รวมกว่า 1,300 ไร่ บริษัทจึงทุ่มทุน 400 ล้านบาทเพื่อตัด “ถนนหอการค้าไทย” พลิกทำเลจากที่ดินตาบอดให้กลายเป็นทำเลที่เข้าออกถนนใหญ่ได้ถึง 2 ทาง โดยถนนนี้สร้างเสร็จปี 2557 และเป็นจุดเริ่มต้นในการชักชวนเพื่อนร่วมวงการมาลงทุน
สไตล์การลงทุนของเพอร์เฟคมักจะชอบเก็บที่ดินแปลงใหญ่และแบ่งขายให้นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เจ้าอื่น ไม่ได้ลงทุนเองทั้งหมด แปลงนี้ก็เช่นกัน ปัจจุบันมีอสังหาฯ ทั้งหมด 8 ค่ายที่มาลงทุนหรือจับจองที่ดินอยู่บนถนนหอการค้าไทย ได้แก่ เพอร์เฟค, ฮ่องกงแลนด์, เอสซี แอสเสทฯ, แสนสิริ, พฤกษา, เอพี, พราว เรียล เอสเตท และเซ็นทรัลพัฒนา
พื้นที่นี้มีการพัฒนาโครงการไปแล้ว 920 ไร่ รวมทุกค่าย 20 โครงการ มูลค่าโครงการรวมกันกว่า 30,000 ล้านบาท และทางเพอร์เฟคมีการประเมินว่าถ้าทุกค่ายพัฒนาที่ดินในมือจนครบ 1,300 ไร่ จะมีมูลค่าโครงการบนพื้นที่นี้รวมกว่า 50,000 ล้านบาท และจะทำให้มีครอบครัวเข้ามาอาศัยในบริเวณนี้กว่า 4,600 หลังคาเรือน!
วงศกรณ์อธิบายว่า ที่ตัดสินใจปล่อยขายให้อสังหาฯ เจ้าอื่นด้วย เพราะการมีหลายบริษัทมาพัฒนาโครงการพร้อมกัน จะทำให้ทำเล ‘เกิด’ เร็วกว่ามีบริษัทเดียว ด้วยการช่วยกันโปรโมตทำการตลาดจะทำให้คนรู้จักถนนหอการค้าไทยเร็วขึ้น และลูกค้าก็จะมีทางเลือกมากขึ้น มีบ้านหลายแบบ หลายราคา
ถนนเส้นนี้มีบ้านที่ยังอยู่ระหว่างขายให้เลือกหลายโครงการ เช่น โครงการ “แกรนด์ พลีโน่ แจ้งวัฒนะ-ราชพฤกษ์” ของค่ายเอพี ซึ่งเป็นบ้านแฝดที่เพิ่งเปิดตัว ราคาเริ่ม 6.09 ล้านบาท ขยับขึ้นมาเป็นบ้านเดี่ยว “เดอะ ปาล์ม แจ้งวัฒนะ-ชัยพฤกษ์” ของค่ายพฤกษา ราคาเริ่ม 8.99 ล้านบาท หรือจะเป็น “บางกอก บูเลอวาร์ด แจ้งวัฒนะ-ราชพฤกษ์” ของค่ายเอสซี แอสเสทฯ ราคาเริ่ม 9.99 ล้านบาท รวมถึงมีระดับคฤหาสน์ในโครงการ “เลค เลเจนด์ แจ้งวัฒนะ” โครงการร่วมทุนของเพอร์เฟคกับฮ่องกงแลนด์ ที่ทำราคาสูงสุดหลังละ 130 ล้านบาท
ส่วนพันธมิตรใหม่ที่เพิ่งเข้ามาอย่าง “พราว เรียล เอสเตท” และ “เซ็นทรัลพัฒนา” จะเข้ามาพัฒนาโครงการแนวราบเช่นกัน แต่ยังอยู่ระหว่างออกแบบว่าจะเป็นโครงการที่อยู่อาศัยประเภทใดในระดับราคาไหน
นอกจากการดึงที่อยู่อาศัยหลากหลายแบรนด์แล้ว ชุมชนบนถนนหอการค้าไทยยังมีการดึง “โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์ (SISB) นนทบุรี” เข้ามาอยู่บนถนนเส้นนี้ด้วย ซึ่งทำให้มีตัวเลือกด้านการศึกษาให้กับบุตรหลาน
ส่วนพื้นที่รีเทลนั้น บริเวณรอบๆ ถนนหอการค้าไทยมีการเปิดศูนย์การค้าเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ปี 2557 ไม่ว่าจะเป็น “เดอะ คริสตัล พีทีที ชัยพฤกษ์” “โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ราชพฤกษ์” หรือ “โลตัส นอร์ธ ราชพฤกษ์”
แต่ภายบนถนนหอการค้าไทยเองยังไม่มีคอมมูนิตี้ มอลล์ จะมีเฉพาะโลตัสและอาคารพาณิชย์ ซึ่งทางวงศกรณ์กล่าวว่าบริษัทยังมีพื้นที่ที่กันไว้สำหรับพัฒนาคอมมูนิตี้ มอลล์ได้ อยู่ระหว่างเจรจาหาพันธมิตรที่สนใจลงทุน
สรุปรวมที่ดินบนถนนหอการค้าไทยยังเหลือแปลงที่ดินว่างอีก 386 ไร่จาก 1,300 ไร่ (*ไม่รวมแปลงของ ม.หอการค้าไทยที่มี 215 ไร่) ทั้งหมดนี้กระจายอยู่ในมือพันธมิตรทั้ง 8 บริษัท โดยวงศกรณ์คาดว่าน่าจะใช้เวลาอีก 5 ปีกว่าที่จะพัฒนาหมด และจะทำให้ชุมชนนี้สมบูรณ์และคึกคักยิ่งกว่าวันนี้
]]>Positioning มีโอกาสพูดคุยรายละเอียดกับ “ศรีอำไพ รัตนมยูร” ประธานผู้บริหารสายงานการตลาด บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ถึงคอนเซ็ปต์ของทั้ง 4 แบรนด์ว่าจะเป็นแบบไหน? และแสนสิริยังมีเซ็กเมนต์ใหม่ให้ไปจับอีกหรือ?
“เรามีแบรนด์ที่หลากหลายขึ้นเพราะตลาดมีความ fragment (แยกย่อย) เยอะขึ้น ขณะที่เรามีการออกแบบโครงการโดยยึดลูกค้าเป็นที่ตั้งอยู่แล้ว ทำให้มีแบรนด์ใหม่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองลูกค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ขนาดโครงการก็อาจจะเล็กลงเพราะเฉพาะตัวมากกว่าเดิม” ศรีอำไพอธิบาย
แสนสิริประกาศมาแล้วว่าจะมี 1 โครงการในทำเลกรุงเทพกรีฑา เป็นโปรดักส์บ้านเดี่ยวราคา 45-70 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 1,800 ล้านบาท
ปกติแบรนด์บ้านระดับบนของแสนสิริจะมี “เศรษฐสิริ” ที่เล่นตลาดราคา 15-30 ล้านบาท ขึ้นมาเป็น “บูก้าน” ในราคา 30-70 ล้านบาท ส่วน “นาราสิริ” จะเป็นบ้านสุดหรูราคา 60-100 ล้านบาท
ดูเหมือนจะครอบคลุมทุกเซ็กเมนต์แล้วก็จริง แต่ศรีอำไพระบุว่าลูกค้ามี feedback มาเยอะมากว่าอยากได้บ้านราคาบูก้าน แต่ดีไซน์ยังมีความคอนเซอร์เวทีฟแบบนาราสิริ พูดง่ายๆ คืออยากได้ ‘นาราสิริ จูเนียร์’ ในราคาเอื้อมถึงได้มากขึ้น
เป็นที่มาของการแตกแบรนด์นามสกุล ‘สิริ’ ออกมาใหม่อีกแบรนด์หนึ่งคือ “ณริณสิริ”
แผนจะเปิดทั้งหมด 6 ทำเล แต่มูลค่าโครงการรวมกันเพียง 840 ล้านบาท
เนื่องจากแบรนด์นี้จะเป็นการเข้าตลาดโครงการบ้านเดี่ยวกลางเมืองหรือใกล้เมืองบนที่ดินขนาดเล็กในซอย ทำได้เพียง 5-7 หลัง ราคาหลังละ 20-60 ล้านบาท
ศรีอำไพมองว่า เห็นความต้องการจากกลุ่มลูกค้าที่ไม่เน้นโครงการใหญ่ ไม่ต้องมีส่วนกลางอลังการ แต่ทำเลต้องยังอยู่ในเมืองหรือเข้าเมืองสะดวก และยิ่งมีน้อยหลังกลับยิ่งชอบเพราะต้องการความเป็นส่วนตัวสูง
ถือว่าแมตช์พอดีกับการหาที่ดินของแสนสิริ เพราะยุคนี้หาที่ดินแปลงใหญ่ในเมืองยากมาก หากได้ที่ดินขนาดเล็กมาแต่สามารถพัฒนาโครงการขายได้ก็ถือว่าวิน-วิน
สุดท้ายในกลุ่มแบรนด์ใหม่แนวราบคือ Mabel เป็นบ้านเดี่ยว 5-7 ล้านบาท จะสร้าง 1 โครงการทำเลบางนา กม.26 มูลค่าโครงการ 850 ล้านบาท
ราคาแบรนด์นี้น่าจะไปทับไลน์กับ “อณาสิริ” แต่ศรีอำไพอธิบายว่า Mabel จะต่างออกไปคือการสร้างเป็นบ้านเดี่ยวทั้งหมด ในราคาที่ใกล้เคียงกับบ้านแฝดในอณาสิริ (ซึ่งเป็นโครงการประเภทมิกซ์โปรดักส์ มีได้ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม แล้วแต่ทำเล)
แนวคิดเกิดจากพบกลุ่มลูกค้าที่ยอมแลก ยอมอยู่ในทำเลที่ไกลเมืองออกไปอีก แต่ต้องการพื้นที่ใหญ่ ในแพ็กเกจราคา 5-7 ล้านบาทเท่าเดิม รวมถึงงานดีไซน์ก็จะออกแบบใหม่ไม่เหมือนกับอณาสิริ ส่วนนี้ต้องรอชมภาพกันต่อไป
ปิดท้ายที่คอนโดฯ ใหม่แบรนด์ Pynn จะเปิด 2 ทำเลคือ ศูนย์วิจัย กับ ปรีดี 20 (ยังไม่แจ้งมูลค่าโครงการ)
ศรีอำไพบอกว่า มองง่ายๆ คือการได้ที่ดินคล้ายกับโครงการ Else มา เป็นที่ดินเล็ก 200-300 ตร.ว. ในซอยต่างๆ ไม่สามารถขึ้นคอนโดฯ ขนาดใหญ่ได้
แสนสิริจึงพัฒนาเป็นคอนโดฯ จำนวนยูนิตน้อยไม่เกิน 79 ยูนิต ไม่มีส่วนกลางมากมาย แต่แลกมาด้วยทำเลที่ใกล้เมืองจริงๆ โดยช่วงราคาจะถือว่าเป็น “ระดับกลาง” ของแสนสิริ (แปลว่าน่าจะได้เห็นราคาที่ 100,000 บาทต่อตร.ม.ขึ้นไป)
ทั้งหมดคือแผนการทำแบรนด์ 4 แบรนด์ใหม่ของแสนสิริในปีนี้!
อ่านบทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
]]>“อุทัย อุทัยแสงสุข” ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลประกอบการของแสนสิริในปี 2566 ดังนี้
ตัวเลขของปีที่แล้วนั้นแสนสิริสร้างสถิติ ‘All-time High’ ได้สองรายการ คือ มูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่และกำไรสุทธิที่มากที่สุดตั้งแต่เปิดบริษัท ขณะที่ยอดรับรู้รายได้เติบโตจากปี 2565 ได้ 6% อย่างไรก็ตาม ยอดพรีเซลลดลงเล็กน้อยจากปี 2565 ที่ทำได้ 50,000 ล้านบาท
อุทัยสรุปภาพรวมของปี 2566 ว่าเป็นปีแห่งการขายบ้านเดี่ยวระดับลักชัวรีของแสนสิริ ทำยอดขายได้ดีทั้งในกลุ่มบ้านแบรนด์เศรษฐสิริและนาราสิริ รวมถึงเห็นสัญญาณการขายคอนโดฯ ที่ดีขึ้นมาก
สำหรับปี 2567 อุทัยเปิดแผนธุรกิจของแสนสิริ ดังนี้
รายละเอียดการเปิดตัวโครงการใหม่ปีนี้ แบ่งตามประเภทที่อยู่อาศัย 57% เป็นกลุ่มแนวราบ เตรียมเปิด 26 โครงการ มูลค่ารวม 35,000 ล้านบาท ส่วนอีก 43% เป็นกลุ่มคอนโดมิเนียม เตรียมเปิด 20 โครงการ มูลค่ารวม 26,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ การเปิดตัวแนวราบลดลงจากปีก่อน ขณะที่คอนโดฯ เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากคอนโดฯ หลายโครงการเลื่อนการเปิดตัวมาจากปีที่แล้วเพราะการขออนุมัติ EIA ล่าช้ากว่าที่คาด
หากแบ่งตามเซ็กเมนต์การเปิดตัวปีนี้รวมทุกประเภทสินค้า แบ่งเป็นกลุ่มพรีเมียม 38% กลุ่มระดับกลาง 44% และกลุ่มเข้าถึงได้ง่าย 18% เห็นได้ว่าแสนสิริให้น้ำหนักมากกับกลุ่มระดับกลางและกลุ่มพรีเมียมรวมกันในพอร์ตเปิดใหม่ปี 2567 ถึง 82%
ไฮไลต์การเปิดโครงการใหม่แสนสิริปี 2567 มี 3 ประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่
“ภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติ” ประธานผู้บริหารสายงานกลยุทธ์ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวสรุปการดำเนินงานปี 2567 ว่าแสนสิริมีการวางกลยุทธ์ไว้ 3 ด้าน คือ 1)รักษาระดับผลประกอบการให้เติบโตอย่างสม่ำเสมอ 2)บริหารจัดการพอร์ตสินค้าพร้อมขาย และ 3)ยกระดับคุณภาพสินค้า บริการ และความยั่งยืน
กลยุทธ์ที่น่าสนใจและเห็นได้ว่าสอดคล้องกับการเปิดตัวโครงการในปีนี้คือการบริหารพอร์ตของแสนสิริ ภูมิภักดิ์ชี้ให้เห็นว่าปีนี้บริษัท “เน้นเรื่องวินัยในการลงทุนมากกว่าคว้าทุกโอกาสที่เข้ามา” การจะเปิดโครงการใหม่แต่ละครั้งต้องพิจารณาระดับสินค้าเพื่อการขายที่ยังคงเหลือ
นั่นทำให้ฝั่งแนวราบผ่อนคันเร่งการเปิดตัวใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเข้าถึงง่ายที่จะเปิดตัวน้อยลงมาก เพราะบริษัทมีซัพพลายในระดับเหมาะสมสำหรับจำหน่ายใน 3-4 ปีข้างหน้าแล้ว
ส่วนคอนโดฯ มีการเปิดตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพราะแสนสิริมีซัพพลายระหว่างขายอยู่กว่า 10,000 ยูนิตเท่านั้น ยังสามารถเติมซัพพลายได้อีก 2,000-3,000 ยูนิตเพื่อให้ถึงระดับเหมาะสม อย่างไรก็ตาม บริษัทให้น้ำหนักกับเซ็กเมนต์ระดับกลางสูงขึ้นมาก แต่ลดการเปิดตัวคอนโดฯ ระดับเข้าถึงง่ายลง
“ตลาดคอนโดฯ เน้นในกลุ่มระดับกลางสูงขึ้นเพราะเราเห็นลูกค้าได้ชัดเจน คอนโดฯ ประเภทแคมปัสคอนโดฯ ใกล้มหาวิทยาลัย ซิตี้ คอนโดฯ กลางใจเมือง หรือคอนโดฯ ตามหัวเมืองท่องเที่ยว กลุ่มเหล่านี้มีนักลงทุนที่เป็นแฟนคลับเราเป็นฐานผู้ซื้อหลัก” ภูมิภักดิ์กล่าว
]]>อินโนบิก-แสนสิริ-NRF ชวนคนรุ่นใหม่รักสุขภาพ-รักษ์โลก ช้อปชิมในงาน “Eat Play Live” ระหว่าง วันที่ 22 – 24 พ.ย. 66 ณ alt.Eatery คอมมูนิตี้อาหารแพลนท์เบสใจกลางเมืองย่านทองหล่อ พบกับร้านค้าเพื่อสุขภาพ สินค้าแพลนท์เบสกว่า 1,000 รายการ และร่วมสนุกกับกิจกรรมเวิร์คช็อปภายในงานมากมาย
เอ็นอาร์พีที (Nutra Regenerative Protein Co. Ltd : NRPT) บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด (อินโนบิก) และบริษัท โนฟ ฟู้ดส์ จำกัด ร่วมกับ บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด หรือ NR Instant Produce Public Company Limited (NRF) และแสนสิริ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับแถวหน้าของประเทศ จัดงาน “Eat Play Live” ณ ร้าน alt.Eatery สุขุมวิท 51 ระหว่างวันที่ 22 – 24 พฤศจิกายน 2566 ภายใต้แนวคิดการส่งเสริมวิถีชีวิตที่ยั่งยืนของทุกคน “Sustainable Living for Everyone” โดยให้ความสำคัญ 3 เรื่องหลัก ได้แก่ ความยั่งยืนด้านสุขภาพ (Sustainable Health) ความยั่งยืนด้านอาหาร (Sustainable Food) และความยั่งยืนด้านการอยู่อาศัย (Sustainable Living) โดยภายในงานพบกับกิจกรรมร่วมสนุกมากมาย อาทิ การแบ่งปันความรู้ด้านอาหารแพลนท์เบสโดยอินฟลูเอนเซอร์สายรักษ์โลกชื่อดังอย่าง Root The Future กิจกรรมเวิร์คช็อปการทำอาหาร พร้อมเพลิดเพลินกับสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากผู้ประกอบการไทยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐานบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด กล่าวว่า จากการเข้าสู่สังคมสูงวัย และเทรนด์การใส่ใจด้านสุขภาพของคนไทย NRPT บริษัทในกลุ่มอินโนบิก มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านการพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนจากพืชแบบครบวงจร เพื่อเป็นอาหารแห่งความยั่งยืนของโลก สนับสนุนวิถีการมีสุขภาพดีแบบคนยุคใหม่ ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรภายในประเทศ ปัจจุบัน ร้าน alt.Eatery เป็นแบรนด์หนึ่งภายใต้บริษัท NRPT โดยเป็นคอมมูนิตี้อาหารและผลิตภัณฑ์แพลนท์เบสใจกลางกรุงเทพฯ แห่งแรกบนพื้นที่ของแสนสิริ ให้บริการผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสำหรับทุกคน ทุกวัย ทดแทนการบริโภคเนื้อสัตว์ เน้นย้ำเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (Life Science) ของอินโนบิก ด้วยการประยุกต์การวิจัยและเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต เพิ่มโอกาสและช่องทางการจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยเข้าสู่ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้นในอนาคต
นายแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) (NRF) และประธานกรรมการบริษัท โนฟ ฟู้ดส์ จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยของสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี ไม่เพียงเริ่มจากการทานอาหารและความเป็นอยู่ที่ดี แต่จะต้องดีอย่างยั่งยืน ซึ่ง NRF เป็นอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารที่เล็งเห็นความสำคัญในการผลิตและดำเนินงานอย่างยั่งยืน แม้อุตสาหกรรมอาหารจะเป็น 1 ใน 3 อุตสาหกรรมใหญ่ที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณสูง ซึ่งนับเป็นจุดสำคัญอย่างยิ่งที่เราคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย นี่จึงเป็นที่มาในการพัฒนาธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการลดการปล่อยก๊าซในกระบวนการผลิต การหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในภาคต้นน้ำ หรือการพัฒนาธุรกิจที่นำมาสู่ “อาหารโปรตีนทางเลือก” เพราะเราเชื่อมั่นว่าผู้บริโภคในปัจจุบันต่างหันมาให้ความใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ตระหนักรู้ต่อปัญหาโลกร้อนมากยิ่งขึ้น ฉะนั้นการเลือกทานอาหารที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ก็นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยโลก เพราะอาหารโปรตีนทางเลือกปล่อยคาร์บอนเพียง 10% เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ ในส่วนร้าน alt.Eatery นับเป็นร้านอาหารที่เราภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้ร่วมสร้างและพัฒนาอย่างต่อเนื่องร่วมกับพันธมิตรที่ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกัน โดยร้าน alt.Eatery เป็นร้านแพลนท์เบสที่ตั้งอยู่บนพื้นที่แสนสิริ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น มอบประสบการณ์การทานอาหารที่ยั่งยืน สนับสนุนวัตถุดิบท้องถิ่นที่ดีและมีคุณภาพ รังสรรค์เมนูอาหารที่น่ารับประทานรองรับผู้บริโภคทุกกลุ่มวัย ด้วยฝีมือเชฟชื่อดัง นอกจากนี้นับเป็นแลนด์มาร์คที่เพียบพร้อมทั้งอาหารจานหลัก ขนม เครื่องดื่ม และโซนจำหน่ายสินค้าแพลนท์เบสอีกด้วย
นายสมัชชา พรหมศิริ Chief of Staff บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “แสนสิริ เป็นบริษัทอสังหาฯรายแรกในไทยที่มุ่งมั่นสร้างจุดเปลี่ยนด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายใต้พันธกิจ Sansiri Sustainability รวมถึงรายแรกที่ตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น “ศูนย์” (Net-Zero) ภายในปี 2050 วางเป้าหมายพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลก คำนึงถึงลูกค้า และสังคมเป็นสำคัญ โดยทำให้ความยั่งยืนนั้นเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันและไลฟ์ไตล์ของทุกคน
จากเทรนด์ของความยั่งยืนด้านการอยู่อาศัย แสนสิริเล็งเห็นถึงความสำคัญของการออกแบบ และนำมาปรับใช้กับการพัฒนาโครงการอย่างยั่งยืน โดยล่าสุดได้พัฒนาบ้านประหยัดพลังงาน ผ่านแนวคิด Green Living Designed Home ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางความยั่งยืน และตอบโจทย์เทรนด์การใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และ Well-Being มากขึ้น และที่ alt.Eatery แสนสิริ ได้ตอกย้ำวิสัยทัศน์ความยั่งยืน โดยผลักดันให้เป็นคอมมูนิตี้สีเขียวอย่างครบวงจร ทั้งการส่งเสริมแยกขยะต้นทางให้เกิดประโยชน์กับโครงการ Waste to WORTH: แยกไม่ยาก รวมถึงชวนพันธมิตรพลังงานสะอาดร่วมติดตั้งสถานีชาร์จรถ และติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อทดแทนการใช้ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน ซึ่งเราหวังว่า alt.Eatery จะเป็นคอมมูนิตี้ต้นแบบที่เป็นแรงผลักดันให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ร่วมกันขับเคลื่อนในการพัฒนาต่อไป”
]]>“เศรษฐา ทวีสิน” ประธานอำนวยการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) แถลงผลการดำเนินงานปี 2565 ของบริษัท ทำยอดขายรวม 50,000 ล้านบาท เติบโต 50% จากปีก่อนหน้า และมียอดโอน 36,800 ล้านบาท
ส่วนปี 2566 บริษัทมีแผนเปิดตัวโครงการ 52 โครงการ มูลค่ารวม 75,000 ล้านบาท ซึ่ง 2 ใน 3 จะเป็นโครงการแนวราบ อีก 1 ใน 3 เป็นกลุ่มคอนโดมิเนียม
เป้าหมายของแสนสิริในปีนี้ จะทำยอดขายแตะ 55,000 ล้านบาท รายได้รวม 40,000 ล้านบาท และเชื่อว่ากำไรสุทธิจะมากกว่าปี 2565 หากทำได้สำเร็จ ทุกตัวเลขทั้งการเปิดโครงการ ยอดขาย รายได้ และกำไร จะเป็น ALL-Time High นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท
“อุทัย อุทัยแสงสุข” ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวต่อถึงรายละเอียดการเปิดโครงการใหม่ปีนี้
สำหรับโครงการแนวราบจะมีทั้งหมด 30 โครงการ มูลค่ารวม 50,700 ล้านบาท และ 70% จะเป็นกลุ่มบ้านเดี่ยวระดับบน 10 ล้านบาทขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีบ้านเดี่ยวระดับบนในพอร์ตราว 50%
ไฮไลต์โครงการบ้านเดี่ยวระดับบน เช่น
“ผู้ซื้อกลุ่มบ้านระดับบนยังมีดีมานด์และเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ หลายคนซื้อเงินสดหรือหากกู้สินเชื่อบ้านก็มักจะกู้ผ่าน” อาณัติ กิตติกุลเมธี รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงการแนวราบ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริม “การแข่งขันอาจจะรุนแรง แต่โครงการที่เราเปิดตัวปีที่แล้วก็ได้รับผลตอบรับที่ดี เชื่อว่าเป็นเพราะเราพัฒนาบ้านได้ตอบโจทย์ลูกค้า”
ส่วนบ้านระดับกลางก็จะมีเปิดตัวเช่นกัน ได้แก่
ฝั่งคอนโดฯ นั้นแสนสิริจะเปิดตัวถึง 22 โครงการ มูลค่ารวม 24,300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 151% ถือว่าเป็นปีที่บริษัทกลับมาทำตลาดคอนโดฯ เต็มตัวแล้ว
“ก่อนโควิด-19 เราเปิดคอนโดฯ เฉลี่ยปีละ 22,000-25,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้นปีนี้ก็กลับไปอยู่ในสภาวะปกติ” องอาจ สุวรรณกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม บมจ.แสนสิริ กล่าว “เราดูจังหวะจากสต็อกคอนโดฯ พร้อมอยู่เราลงมาเหลือ 8,000 ล้านบาท จากระดับที่เหมาะสมควรมี 12,000 ล้านบาท ทำให้การเปิดตัวปีนี้จะเป็นการเติมพอร์ต มองว่าไม่ได้ aggressive เกินไป”
สำหรับตลาดคอนโดฯ นั้นยังจัดสมดุลครึ่งหนึ่งเป็นคอนโดฯ ระดับไฮเอนด์ (ราคามากกว่า 150,000 บาทต่อตร.ม.) อีกครึ่งหนึ่งเป็นแบรนด์กลุ่มกลางถึงกลางล่าง
ไฮไลต์คอนโดฯ แสนสิริปีนี้คือการกลับมาในกลุ่มคอนโดฯ ไฮเอนด์ ซึ่งจะมี 2 ทำเลที่ “ราชเทวี” และ “อารีย์” และจะใช้แบรนด์ใหม่ที่เป็น One of a Kind เป็นแบรนด์เฉพาะสำหรับโลเคชันนั้นๆ โดยโครงการที่ราชเทวีแย้มว่าจะเปิดราคาเริ่มราว 200,000 บาทต่อตร.ม.
ขณะที่ตลาดกลางล่างจะนำแบรนด์ “ดีคอนโด” มาดีไซน์ใหม่ให้ทันสมัยเพื่อลุยตลาดระดับราคา 1.5-2.0 ล้านบาทต่อยูนิต เปิดทั้งหมด 5 ทำเล ได้แก่ ดีคอนโด รีฟ ภูเก็ต, ดีคอนโด แซนด์ หาดใหญ่, ศรีราชา, รังสิต และลาดกระบัง
อุทัยยังกล่าวถึงการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ของแสนสิริ ปีนี้จะมีถึง 9 แบรนด์ ได้แก่
ส่วนที่ดินบริเวณถนนสารสินที่แสนสิริจัดซื้อเข้ามานั้น องอาจแจ้งว่าปีนี้ยังไม่อยู่ในแผน อาจจะใช้เวลาพัฒนาแบบและรอจังหวะอีก 2-4 ปี แต่ถามว่าจะทำราคาสูงแค่ไหน ก็เป็นไปได้ที่จะแตะ 800,000 บาทต่อตร.ม. เพราะราคาที่ดินซื้อมาถึง 3 ล้านบาทต่อตร.ว.
ตลาดลูกค้าต่างชาติเป็นอีกส่วนที่ช่วยดันยอดขายแสนสิริได้ดี อุทัยกล่าวว่าเป้าหมายยอดขายจากต่างชาติปีนี้อยู่ที่ 12,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 22% ของยอดขายรวม และเติบโตจากปีก่อน 54% สะท้อนให้เห็นว่าปีนี้แสนสิริจะกลับมาลุยตลาดต่างประเทศเต็มที่
กลุ่มลูกค้าต่างชาติของแสนสิริ หลักๆ 75% คือ “จีน” รองมา 12% คือ “ฮ่องกง” ตามด้วย 9% กลุ่ม “CLMV+รัสเซีย” และ 4% เป็น “ไต้หวัน”
การเปิดประเทศจีน เดินทางเข้าออกได้โดยไม่ต้องกักตัว เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้บริษัทกลับมารุกหนักอีกครั้ง โดยองอาจมองว่า ชาวจีนที่มีกำลังซื้อยังคงต้องการอสังหาริมทรัพย์ไทยเช่นเดิม เกิน 90% เป็นการซื้อเพื่อลงทุนปล่อยเช่า เก็บไว้เป็นทรัพย์สิน
กลุ่มราคาที่คนจีนสนใจจะอยู่ในช่วง 2-10 ล้านบาท แต่ราคาที่ขายดีที่สุดคือ 4-5 ล้านบาทต่อยูนิต โลเคชันหลักที่นิยมก็คือกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และภูเก็ต
อุทัยยังสรุปการขายอสังหาฯ ปีนี้ว่า ปัจจัยภายในประเทศเป็นบวกจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และจีดีพีที่คาดว่าจะโต 3.7-4.0% แต่ปัจจัยลบก็คือปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น ความไม่แน่นอนจากสงคราม, ดอกเบี้ยขาขึ้น หรือเศรษฐกิจโลกที่บางประเทศอาจจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งหมดทำให้แสนสิริก็ยังไม่วางใจและต้องดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
]]>บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อกิจการเครือโรงแรม The Standard มาตั้งแต่ปี 2017 และไล่ซื้อหุ้นเพิ่มต่อเนื่องจนปัจจุบันถือหุ้นสัดส่วน 62% พร้อมกับเริ่มนำแบรนด์เข้ามาเปิดตัวในไทยแล้ว 4 แห่ง ได้แก่ The Standard หัวหิน, The Standard แบงค็อก มหานคร, The Peri เขาใหญ่, The Peri หัวหิน
ยังขาดอีกหนึ่งแบรนด์ในเครือที่ยังไม่ได้เปิดตัวในประเทศไทยคือ “Bunkhouse” แต่เชื่อว่าเราจะได้เห็นแห่งแรกกันไม่เกินปีหน้า
“บริพัตร หลุยเจริญ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท สแตนดาร์ดเอเชีย จำกัด อธิบายถึงทั้ง 3 แบรนด์ในเครือว่าจะมีคาแรกเตอร์ที่แตกต่างกัน ไลฟ์สไตล์ต่างกัน เปรียบเหมือน ‘พี่น้อง’ ที่มีจุดเชื่อมโยงกันตามมาตรฐานของเครือ แต่ก็มีวิถีชีวิตของตนเอง
“ลิซ่า โบนิฟาซิโอ” ประธาน Bunkhouse Group เล่าถึงประวัติแบรนด์นี้ตั้งแต่ก่อนเข้ามาอยู่ในเครือ The Standard ว่า ที่จริงแล้ว เริ่มต้นมาจากการเปิดร้านกาแฟและอาหารเช้าชื่อ Jo’s ในปี 1999 ที่เมืองออสติน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ก่อนจะมาเปิดโรงแรมแห่งแรกในปี 2000 คือ Hotel San Jose และขยายตัวต่อเนื่องจนปัจจุบันมีโรงแรม 9 แห่งในสหรัฐฯ และเม็กซิโก รวมถึงมีกิจการอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรงแรม เช่น พื้นที่จัดอีเวนต์ เทศกาลดนตรี และตลาดนัด, ลานจอดรถบ้านสำหรับตั้งแคมป์
ที่จริงแล้ว Bunkhouse ไม่ได้เป็นชื่อโรงแรมแต่เป็นเหมือนชื่อบริษัทที่บริหารมากกว่า เนื่องจากโรงแรมในเครือนี้จะมี ‘ชื่อของตนเอง’ ที่เป็นเอกลักษณ์ เพราะเป็นบูทิคโฮเทล แต่ละแห่งในเครือจะมีดีไซน์ไม่เหมือนกัน แต่มีแนวคิดในการออกแบบเหมือนกันคือ เป็นโรงแรมที่ยังคงเล่าเรื่องของอาคารสถานที่นั้นๆ นำชิ้นงานศิลปะและกลิ่นอายของท้องถิ่นที่ตั้งโรงแรมเข้ามาตกแต่ง ซึ่งทำให้แต่ละแห่งมี ‘ความเป็นตัวของตัวเอง’ สูง หรือเรียกว่าเป็น One of a kind
หากจะแบ่งระดับของโรงแรม Bunkhouse ยังแบ่งเป็นแบรนด์ย่อยอีก 2 แบรนด์คือ
ลิซ่าอธิบายต่อว่า สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของ Bunkhouse ต่อเจ้าของโครงการคือ ความแข็งแรงในงานดีไซน์และคอนเซ็ปต์ที่ช่วยพลิกฟื้นโรงแรมเดิมให้น่าสนใจในตลาด เช่น Carpenter Hotel ทางบริษัทได้เข้าไปรีโนเวตอาคารให้มีชีวิตชีวา ใช้เสียงดนตรี ปรับปรุงให้มีบาร์และร้านอาหาร ด้วยงบลงทุนรีโนเวตไม่สูงมาก แต่สามารถปรับราคาห้องพักขึ้นได้ และดึงลูกค้ามาพักได้มากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน
ในปีนี้ Bunkhouse เริ่มเข้ามาเตรียมการเปิดโรงแรมแรกในไทยแล้ว โดย “เทนาย่า ฮิลส์” รองประธานอาวุโส ด้านดีไซน์และการพัฒนา Bunkhouse Group สำรวจแหล่งผลิตงานฝีมือและงานศิลปะในไทย เช่น เถ้าฮงไถ่ ผู้ผลิตเครื่องเซรามิกใน จ.ราชบุรี หรือบ้านถวาย หมู่บ้านหัตถกรรมไม้แกะสลัก จ.เชียงใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมนำงานคราฟต์เหล่านี้มาใช้ในการออกแบบ
การมาประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศแรกนอกทวีปอเมริกาที่ Bunkhouse จะเข้ามาปักหมุด ซึ่งแบรนด์จะใส่ใจกับการออกแบบที่ให้ความเคารพต่อประวัติศาสตร์และงานฝีมือของไทย วิธีการตกแต่งจะเป็นการผสมผสานสไตล์ไทยเข้ากับเอกลักษณ์ของ Bunkhouse โดยมีงานศิลปะเหล่านี้ที่จับต้องได้ชัดเจน
ด้านแผนธุรกิจของ Bunkhouse บริพัตรกล่าวว่า บริษัทพร้อมจะทำงานร่วมกับเจ้าของโครงการทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างใหม่ หรือโครงการรีโนเวตจากโรงแรมเดิมหรือรีโนเวตจากอาคารที่เคยใช้ประโยชน์แบบอื่น
สิ่งที่แบรนด์มองหาเป็นหลักในการทำงานร่วมกันคือเสน่ห์ของอาคารหรือที่ตั้งที่มีเอกลักษณ์ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในไพรม์แอเรีย เช่น ติดหน้าหาดหรือกลางซีบีดีของเมือง
ส่วนสิ่งที่ Bunkhouse จะให้กับเจ้าของโครงการได้คือ งานดีไซน์ที่ดูดีโดยไม่ต้องลงทุนสูงมากเท่ากับโรงแรมลักชัวรีแบบเดิมๆ พร้อมกับฐานลูกค้าในมือของเครือซึ่งจะช่วยให้โรงแรมที่เคยเป็นโรงแรมอิสระ บริหารเอง ได้โอกาสเข้าถึงลูกค้ากว้างขึ้น
บริพัตรกล่าวด้วยว่า จังหวัดที่แบรนด์นี้สนใจในไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ภูเก็ต, เกาะสมุย, เกาะยาวน้อย, เกาะยาวใหญ่, น่าน, สุโขทัย, อยุธยา โดยเฉพาะจังหวัด “เมืองรอง” ที่แบรนด์สนใจเป็นพิเศษเพราะเข้ากับคาแรกเตอร์การเป็นบูทิคโฮเทลที่ไม่เหมือนใคร คาดว่าน่าจะสามารถเซ็นดีลและเปิดตัวได้ปีละ 1-3 แห่งนับจากนี้ โดยเริ่มแห่งแรกปีหน้า
“โอกาสโรงแรมระดับลักชัวรีในเมืองรองเปิดมากแล้ว ตอนนี้ในไทยก็เริ่มมีรีสอร์ทหรูหรือบูทิคโฮเทลดีๆ ไปเปิดในเมืองรอง หรืออยู่ในโลเคชันที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก และสามารถดึงลูกค้าได้เพราะวันนี้ผู้บริโภคนิยามคำว่าลักชัวรีเปลี่ยนไป ไม่ใช่จะต้องมีหินอ่อนขอบทองตลอด” บริพัตรกล่าว
“เรามองว่าไทยมีประวัติศาสตร์ที่รุ่มรวยมาก เรามีตึกเก่าๆ พร้อมเรื่องราวในอดีตรอเราอยู่ทั้งในเมืองหลักและเมืองรอง เพียงแต่เราจะต้องสร้างโปรดักส์ที่เป็นจุดหมายปลายทาง (destination) ในตัวเองขึ้นมา”
]]>“อุทัย อุทัยแสงสุข” ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกปี 2565 ของบริษัท โดยมีการเปิดตัวไป 15 โครงการ มูลค่ารวม 18,800 ล้านบาท แบ่งเป็นโครงการแนวราบ 12 โครงการ และคอนโดมิเนียม 3 โครงการ
ด้านยอดขายและยอดโอน ครึ่งปีมียอดขายรวม 18,300 ล้านบาท จากเป้า 35,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 52% จากเป้า ยอดโอนครึ่งปี 14,000 ล้านบาท จากเป้า 35,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 40% ทั้งนี้แสนสิริมีแบ็กล็อกรอโอนอยู่ในมือแล้ว 10,500 ล้านบาทในครึ่งปีหลังนี้
สำหรับการบุกครึ่งปีหลังของแสนสิริ จะเปิดตัวทั้งหมด 31 โครงการ มูลค่ารวม 31,200 ล้านบาท แบ่งเป็น
โดยการเปิดตัวแนวราบจะมีการกระจายตัวทุกเซ็กเมนต์ ตั้งแต่แบรนด์ “นาราสิริ” ที่เป็นบ้านเดี่ยวระดับไฮเอนด์ จนถึง “สิริ เพลส” แบรนด์ทาวน์โฮมราคาเข้าถึงได้ ส่วนคอนโดฯ จะมีแบรนด์ เดอะ เบส, เดอะ มูฟ และ คอนโด มี
โครงการแนวราบที่สำคัญของแสนสิริครึ่งปีหลังนี้ต้องจับตาทำเล “กรุงเทพกรีฑา” ทำเลนี้แสนสิริมีที่ดินอยู่กว่า 500 ไร่ เคยขึ้นโครงการ เศรษฐสิริ กรุงเทพกรีฑา 1 และ 2 รวม 154 ไร่ ซึ่งปิดการขายแล้วทั้งหมด และปีนี้แสนสิริจะกลับมาเปิดตัวบ้าน 3 แบรนด์ 3 ระดับราคา ได้แก่
รวมทั้งหมดแสนสิริจะมีการเปิดตัวโครงการสะสม 315 ไร่บนที่ดินทำเลนี้ และยังเหลืออีก 185 ไร่ที่คาดว่าจะเปิดตัวได้ต่อเนื่องอีก 3 ปี มูลค่าโครงการในพื้นที่รวมกว่า 30,000 ล้านบาท ถือเป็นทำเลทองในการสร้างคอมมูนิตี้ขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของบริษัท
แสนสิริอาจจะมีการผ่อนคันเร่งกับตลาดคอนโดฯ ไปบ้างในช่วงเกิดโรคระบาด แต่ครึ่งปีหลังนี้เห็นได้ชัดว่าจะมีการกลับมาโหมตลาดอีกครั้ง ด้วยแผนเปิด 15 คอนโดฯ มูลค่ารวม 5,250 ล้านบาท
โครงการแนวสูงที่เปิดเผยได้ในขณะนี้ ได้แก่ เดอะเบส ริเวอร์วิว ทำเล 400 เมตรจาก BTS คลองสาน มูลค่าโครงการ 1,800 ล้านบาท เปิดตัวพฤศจิกายนนี้ และกลุ่มแบรนด์ “คอนโด มี” 4 ทำเล คือ สินสาคร, บางนา-บางบ่อ, อ่อนนุช-พระราม 9 และ นวนคร (เฟสใหม่) และยังมีแผนจะเปิดตัวคอนโดฯ ต่างจังหวัดอีกแห่งหนึ่งที่ จ.ขอนแก่น ด้วย
เห็นได้ว่าปีนี้แสนสิริจะยังเน้นคอนโดฯ ระดับกลางจนถึงเข้าถึงได้ง่าย เน้นทำเลตามแนวรถไฟฟ้า พ่วงด้วยทำเลที่ใกล้แหล่งงานหรือแหล่งชุมชนภายใต้แบรนด์คอนโดมี
อุทัยกล่าวต่อว่า ในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทจะยังใช้กลยุทธ์ “Speed to Market” อย่างต่อเนื่อง และจะพัฒนาให้เร็วขึ้นกว่าที่เคยทำได้ เพื่อให้ตอบสนองตลาดหรือลูกค้าได้เร็วที่สุด
ส่วนปัจจัยบวกลบในตลาด ขณะนี้หลายฝ่ายมีความกังวลกับภาวะเงินเฟ้อ แต่แสนสิริมองอีกมุมหนึ่งว่าในวิกฤตยังมีโอกาส เพราะจะเห็นว่าภาคธุรกิจสำคัญ 2 ธุรกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวแล้ว ได้แก่ ภาคส่งออกที่ดีขึ้นเพราะค่าเงินบาทอ่อน และการท่องเที่ยวของไทยที่เปิดได้เต็มที่ ซึ่งเมื่อเศรษฐกิจไทยดีขึ้นก็จะส่งผลต่อเนื่องถึงภาคอสังหาฯ โดยเฉพาะกลุ่มลักชัวรีที่จะได้อานิสงส์ก่อน เป็นเหตุให้แสนสิริเลือกเปิดตัวโครงการกลุ่มบ้านเดี่ยวเป็นหลัก และยังคงกลยุทธ์เน้นการเป็นผู้นำในตลาดลักชัวรี
“เราจะลดเวลาการทำงานต่างๆ ลง เพราะต้นทุนทุกวันนี้สัมพันธ์กับเวลา เวลาคือดอกเบี้ย เวลาคือแรงงานที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เช่น การก่อสร้างที่เคยทำได้ใน 6-7 เดือน ต้องลดเหลือ 5-6 เดือน หรือการเปิดตัวโครงการต้องเตรียมตัว 14 เดือน เราจะลดเหลือ 10-12 เดือน เราจะเหยียบคันเร่งกับกลยุทธ์นี้ต่อเนื่องและให้เร็วกว่าเดิม” อุทัยกล่าว
]]>