โดย “คนไทย” เป็นหนึ่งในนักช้อปที่ถูกสำรวจ มีข้อมูลที่น่าสนใจของนักช้อปไทย จากการสำรวจนี้พบว่า คนไทยเปลี่ยนมาช้อปแบบ Omnichannel เป็นหลัก และช่องทางออนไลน์ที่นิยมที่สุดยังเป็นกลุ่ม “มาร์เก็ตเพลส” อย่าง Shopee , Lazada
นอกจากนี้ ยังพบว่า คนไทยชอบ “โซเชียลคอมเมิร์ซ” มากขึ้น 24% ของคนไทยชอบดู “ไลฟ์ขายของ” ทำให้ช่องทางโซเชียลที่ขายของได้ เช่น Facebook, Instagram, TikTok มาแรงมากในยุคนี้
]]>เจนเนอเรชันก่อนๆ อาจจะชอบไปเดินห้างฯ เพื่อหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการแต่งตัว แต่สำหรับ “Gen Z” (วัย 18-24 ปีในปัจจุบัน) วิธีการช้อปปิ้งได้เปลี่ยนไปแล้ว
KPMG จัดทำวิจัยสำรวจผู้บริโภค Gen Z จำนวน 7,000 คนใน 14 ประเทศเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
สิ่งที่งานวิจัยนี้ค้นพบคือ Gen Z ชอบอัปเดตเทรนด์สินค้าจากโลกออนไลน์ และมักจะซื้อสินค้าตามไอดอลหรืออินฟลูเอนเซอร์ที่ตนเองชื่นชอบ อย่างเช่นเทรนด์แฟชั่นก็จะซื้อมาใส่ตามคนดัง
ส่วนช่องทางการซื้อสินค้านั้น Gen Z เป็นเจนเนอเรชันที่ช้อปปิ้งแบบ “Omnichannel” เป็นส่วนใหญ่ 45% ของคนวัยนี้ซื้อสินค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ผสมกัน และมีถึง 31% ที่ตอบว่าตนชอปช้อปปิ้งออนไลน์เป็นหลัก
เฉพาะ “ช่องทางซื้อสินค้าออนไลน์” ในตลาดเอเชียแปซิฟิกยังนิยม “มาร์เก็ตเพลส” กันเป็นส่วนใหญ่ โดยมีแพลตฟอร์มที่ดึงเม็ดเงินได้มากที่สุดในภูมิภาคนี้คือ Shopee, Lazada และ Amazon
อย่างไรก็ตาม มีเทรนด์ที่กำลังมาแรงในหมู่ Gen Z เอเชียเช่นกัน นั่นคือ “โซเชียลคอมเมิร์ซ” การช้อปปิ้งซื้อของผ่านแพลตฟอร์มที่แต่ดั้งเดิมสร้างมาเป็นโซเชียลมีเดีย สาเหตุที่วัยรุ่นเอเชียนิยมโซเชียลคอมเมิร์ซมากขึ้นนั้น 63% มองว่าเพราะโซเชียลคอมเมิร์ซทำให้ประสบการณ์การช้อปปิ้งดีขึ้น และ 57% มองว่าการ “ไลฟ์สด” ขายของบนโซเชียลก็ทำให้ประสบการณ์การช้อปปิ้งดีขึ้นเช่นกัน
แพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซที่กำลังบูมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีทั้งหมด 3 แพลตฟอร์มคือ “TikTok” (หรือ Douyin ในจีน) “Instagram” และ “Facebook Marketplace”
สำหรับประเทศไทย 88% ของ Gen Z ไทยใช้มาร์เก็ตเพลสเป็นหลัก แต่โซเชียลคอมเมิร์ซก็นิยมมาก โดย 7% ใช้ Facebook Marketplace และ 5% ใช้ Instagram ในการช้อปปิ้ง
KPMG สรุปว่าจากเทรนด์ผู้บริโภค Gen Z ในเอเชียนี้ทำให้แบรนด์ต้องเปลี่ยนกลยุทธ์มาเน้นการขายผ่านโซเชียลไปสู่ Gen Z ให้มากขึ้น และจากเทรนด์การใช้โซเชียล แบรนด์น่าจะมุ่งเน้นไปที่ TikTok และ Instagram กันเป็นหลัก โดยเน้นเรื่องการใช้อินฟลูเอนเซอร์หรือ KOL มาเป็นแรงหนุนในการผลักดันการซื้อ หรือเป็นช่องทางโฆษณาเพื่อดึงให้ลูกค้ามาสู่แบรนด์ให้มากขึ้น
]]>ในงานวิจัย Seasonal Holidays Study ล่าสุดจาก Meta เกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมการช้อปช่วงสิ้นปี ซึ่งได้สำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 18,000 คนจาก 12 ตลาดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งรวมไปถึง 1,509 คนจากประเทศไทยในช่วงเดือนธันวาคมปี 2564 พบว่า
คนกลุ่ม Gen Z และ Millennials หันมาช้อปผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมากขึ้น โดยเกือบ 80% ของกลุ่มตัวอย่างค้นพบและเลือกซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย 69% ของจำนวนนี้เป็นคน Gen Z และ Millennials ซึ่งกว่า 87% ของนักช้อปโซเชียลมักค้นพบสินค้าใหม่ระหว่างเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ และ 66% เชื่อใจแบรนด์ที่พาร์ตเนอร์กับครีเอเตอร์และอินฟลูเอนเซอร์ที่พวกเขาไว้วางใจ
นักช้อปชาวไทย 7 ใน 10 คน ระบุว่ามีแผนจะ ใช้เงินไปกับการซื้อสินค้ามากขึ้นหรือเท่าเดิมกับปีก่อนหน้า และเทศกาล Mega Sale Days ช่วยให้เกิดการค้นพบและเลือกซื้อสินค้าใหม่ ๆ ขณะที่
ผลสำรวจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกพบว่า เทศกาล 12.12 และ 11.11 เป็นเทศกาลลดราคาที่ ได้รับความนิยมที่สุด โดยมีนักช้อปช่วงสิ้นปีเลือกซื้อสินค้าในวันดังกล่าวกว่า 94% และ 90% ตามลำดับ ซึ่งต่างมีหมวดหมู่สินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ
ผลสำรวจชี้ว่า ประสบการณ์การช้อปเริ่มเน้นที่ความบันเทิงและสร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในวัน Mega Sale Days โดย 87% ของนักช้อปโซเชียลเคยดูหรือเปิดรับต่อการดูอีเวนต์ไลฟ์ขายของออนไลน์ และพร้อมจะขยับจากการรับรู้สินค้าสู่การตัดสินใจซื้อในไลฟ์เดียว และกว่า 78% เชื่อว่าเครื่องมือ AR ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของพวกเขา ขณะที่คอนเทนต์ที่นักช้อปได้รับมักมาจากการแนะนำผ่านเครือข่ายส่วนตัวหรือจากเพื่อน (69%) คอนเทนต์สปอนเซอร์ (63%) หรือคอนเทนต์วิดีโอ (53%)
สอดคล้องกับ ทิป-มัณฑิตา จินดา Founder & Managing Director ของ Digital Tips Academy ได้ให้คำแนะนำในงาน Out of Office ว่า การทำ Social Commerce เงินไม่ใช่คำตอบแต่เป็นการ ครีเอทคอนเทนต์ เพราะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการสร้างจุด แตกต่าง และสร้าง คอมมูนิตี้ ให้คนที่พูดคุยเรื่องเดียวกันมาเอ็นเกจเมนต์
“อย่าง น้ำพริกแคบหมูยายน้อย ดังได้เพราะการตลาด บูลลี่ตัวเอง ทำให้ชาวเน็ตชื่นชอบและซื้อของล้นหลาม ทั้งที่น้ำพริกแคบหมูหาซื้อได้ทั่วไป ดังนั้น ถ้าอยากจะขายดีขึ้น คอนเทนต์จะเป็นเรื่องแรก ๆ ที่ต้องครีเอท”
คุณค่าของแบรนด์ ก็เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับนักช้อปไทย โดย 58% จะเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และ 44% เลือกแบรนด์ที่รับผิดชอบต่อสังคม ในขณะที่ 43% ให้ความสำคัญกับจริยธรรมและคุณธรรมในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในเรื่องดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่ Gen Z ให้ความสำคัญอย่างมาก ดังนั้น นอกจากสินค้าที่ดีแล้ว แบรนด์ทำอะไรให้สังคมบ้าง แต่ไม่ใช่ต้องทำทุกเรื่อง แต่ต้องทำในเรื่องที่เชื่อจริง ๆ ดังนั้น หากอยากมัดใจลูกค้า Gen Z ต้องมี Diversity (ความหลายหลาก), Equity (ความเสมอภาค) และ Inclusion (การยอมรับ)
สุดท้าย การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดย 74% ของนักช้อปชาวไทยเคยส่งข้อความหาธุรกิจร้านค้า โดยระบุว่าความสะดวก รวมถึงการพูดคุยและได้รับการตอบรับทันทีจากคนจริง ๆ เป็นสาเหตุหลักของการเลือกส่งข้อความคุยกับธุรกิจร้านค้า
ดังนั้น การทำประสบการณ์ลูกค้าให้ไร้รอยต่อ (seamless) และเฉพาะบุคคล (Personalization) ดาต้าเป็นเรื่องสำคัญ และควร คิดแบบลูกค้าคิด ให้ลองซื้อของแบรนด์ตัวเองและแบรนด์อื่น ๆ เพื่อให้รู้ถึงกระบวนการการสั่งซื้อว่าง่ายมากน้อยแค่ไหน เพราะตอนนี้ลูกค้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งเสมอ
]]>หากพิจารณาถึงการเติบโตของอีคอมเมิร์ซทั่วโลก คงไม่น่าแปลกใจที่แพลตฟอร์มอย่าง TikTok จะเข้ามาจับตลาดนี้ เพราะจะเห็นว่าขนาด Facebook, Instagram ก็ยังมีฟีเจอร์ Marketplace เป็นพื้นที่ให้ผู้ใช้ขายของบนแพลตฟอร์ม สำหรับ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok เองก็มีโมเดลอีคอมเมิร์ซ แต่เปิดใช้แค่ในประเทศเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ฟีเจอร์ TikTok Shop ที่ให้ผู้บริโภคสามารถซื้อของใน TikTok แบบครบวงจรไม่ว่าจะผ่านการสตรีมแบบสดหรือวิดีโอสั้นก็กำลังจะเริ่มใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มจากประเทศอินโดนีเซีย, เวียดนาม และไทย
ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่ TikTok จะขยายฟีเจอร์ TikTok Shop ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะจากการคาดการณ์ของ Google เศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคนี้จะมีมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2030 เลยทีเดียว และสำหรับประเทศไทยเองอีคอมเมิร์ซก็เติบโตอย่างต่อเนื่องโดยปี 2022 นี้คาดว่าจะเติบโตได้ถึง 30%
สิรินิธิ์ วิรยศิริ Head of Business Marketing – Thailand, TikTok ยอมรับว่า ฟีเจอร์ TikTok Shop ได้มีการเปิดทดลองใช้แล้ว แต่ยังไม่เปิดอย่างเป็นทางการเนื่องจากรอให้จำนวนร้านค้าถึงเป้าหมายที่วางไว้ก่อน อย่างไรก็ตาม การช้อปออนไลน์ถือเป็นเทรนด์ที่มาแรงในไทย โดยพบว่าผู้ใช้ไทยประมาณ 69% ชอบช้อปปิ้งออนไลน์ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการจับจ่ายเมื่อใดก็ได้ และ 79% ชอบช้อปออนไลน์เพราะสามารถเข้าถึงแบรนด์และสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น เมื่อเทียบกับการช้อปปิ้งในร้าน
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ใช้ TikTok มีส่วนร่วมกับโฆษณาในแพลตฟอร์มมากขึ้น 1.7 เท่า เนื่องจาก 86% มองว่าโฆษณา TikTok ให้ความบันเทิง โดยในทุก ๆ 1 นาที จะมีส่วนร่วมไม่ว่าจะ like, share หรือ comment ถึง 10 ครั้งนอกจากนี้ ผู้ใช้ 67% เห็นด้วยว่า TikTok ช่วยให้พวกเขาค้นพบและรับแนวคิดเกี่ยวกับแบรนด์ที่พวกเขาไม่เคยนึกถึงมาก่อน
“แม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่เชื่อว่าแบรนด์จะยังใช้งบกับสื่อออนไลน์ โดยคาดว่าปีนี้เม็ดเงินจากโฆษณาออนไลน์จะอยู่ที่ 27,000 ล้านบาท” สิรินิธิ์ กล่าว
ในปีที่ผ่านมา TikTok เคยออกแคมเปญ TikTok Bonus เพื่อดึงผู้ใช้หน้าใหม่ ๆ เข้ามาใช้งาน โดยผู้ที่ดึงเพื่อนมาใช้ TikTok ได้ครบตามเงื่อนไข มีโอกาสทำเงินสูงสุด 2,500 บาท นอกจากนี้ยังมีรางวัลสะสมแต้มสำหรับการดูวิดีโออีกด้วย มาปีนี้ TikTok ได้ปลดล็อกให้ครีเอเตอร์สามารถทำเงินได้ผ่านโปรแกรม TikTok Creator Next
โปรแกรมดังกล่าวจะช่วยให้ครีเตอร์สามารถรับ Rewards อาทิ ครีเอเตอร์ที่มียอดติดตาม 1,000 คนขึ้นไปจะสามารถรับ Virtual Gift จากการไลฟ์ บน TikTok LIVE ส่วนครีเอเตอร์ที่มีผู้ติดตาม 100,000 คนขึ้นไปจะสามารถรับ Virtual Gift การโพสต์วิดีโอได้ และสำหรับครีเอเตอร์ที่มีผู้ติดตาม 10,000 คนขึ้นไปจะสามารถเข้าร่วม TikTok Creator Marketplace ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์ได้ทำงานร่วมกับแบรนด์
ปีที่ผ่านมา TikTok อาจจะเน้นดึงผู้ใช้หน้าใหม่ แต่ปีนี้ดูเหมือนจะเน้นไปที่ ผู้ใช้เก่า ให้เร่งสร้างผู้ติดตามเพื่อสร้างโอกาสทำรายได้ โดยทาง สิริประภา วีระไชยสิงห์ Campaign and Content Operation Lead – Thailand, TikTok กล่าวว่า ต้องการทำให้ TikTok เป็นพื้นที่ในการ สร้างอาชีพ ให้กับครีเอเตอร์ และครีเอเตอร์ที่มีจำนวนมากขึ้นจะช่วยให้เกิดคอนเทนต์ที่หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ทาง TikTok ไม่ได้เปิดเผยว่ามีครีเตอร์มากน้อยแค่ไหนที่สามารถทำรายได้แล้วบนแพลตฟอร์ม
สุรยศ เอี่ยมละออ Head of Consumer Marketing – Thailand, TikTok ได้เปิดเผยว่า Entertainment ยังคงเป็นส่วนสำคัญใน TokTok และสำหรับ 5 เทรนด์ที่ต้องจับตามองในปี 2022 นี้ ได้แก่
1.Edutainment หรือการแจ้งเกิดของครีเอเตอร์รุ่นใหม่บน TikTok ที่มีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน มีวิธีที่จะสร้างคอนเทนต์และปรับย่อยคอนเทนต์ให้เข้าใจง่าย ทั้งยังสนุกและมีคอนเทนต์ที่หลากหลายมากขึ้น และผู้คนจะให้ความสนใจกับการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น
2.Creative Entertainment การเปลี่ยนบทบาทจาก Passive user ที่เป็นเพียงผู้เสพคอนเทนต์เพียงอย่างเดียว กลายเป็น Active Creator ที่สร้างคอนเทนต์คุณภาพให้ผู้อื่นชมมากขึ้น ผู้คนสามารถสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ ร่วมกันได้แม้กระทั่งกับคนที่ไม่รู้จักผ่านการ Duet และ Stitch
3.Authentic & Positive Entertainment หรือแนวคิดการสร้างพื้นที่ความบันเทิงที่ปลอดภัยเพื่อให้คนสามารถโชว์ตัวตนที่แท้จริงของตนเอง ทำให้ทุกคนรู้สึกมั่นใจ เป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่
4.Live Entertainment Live-streaming มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างครีเอเตอร์และผู้รับชมได้เป็นอย่างดี ด้วยฟีเจอร์ชั้นนำต่าง ๆ เช่น Multi-Guest, Live Match และอื่น ๆ ใน TikTok LIVE
5.Cultural Entertainment การสร้างคอนเทนต์ด้านความบันเทิงที่ผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรม ให้ทุกคนสามารถดื่มด่ำกับความแตกต่างได้อย่างลงตัว รวมถึงร่วมกันเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น
“85% ของผู้ใช้มือถือใช้เพื่อเอนเตอร์เทนเมนต์ และคอนเทนต์ที่เป็นที่นิยมสูงสุดในปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่เน้นไปที่ความบันเทิง ดังนั้น จะทำคอนเทนต์ด้านไหนให้ผสมความเอนเตอร์เทนเมนต์เข้าไป ที่สำคัญพยายามทำคอนเทนต์ให้มีอินเตอร์แอคทีฟ ให้คนมีส่วนร่วมได้ง่าย สุดท้าย อย่างประดิษฐ์เพื่อแสดงความจริงใจ และเน้นในเชิงบวก” สุรยศ กล่าว
แม้จะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นในตลาดวิดีโอสั้นมากมาย แถมมาจากแพลตฟอร์มใหญ่ ๆ ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น Facebook-Instagram ที่มี Reels หรือ YouTube ก็มี Shorts แต่หลายคนน่าจะสังเกตว่าวิดีโอส่วนใหญ่ที่ลงในฟีเจอร์นั้น ๆ ก็มาจาก TikTok ซึ่งทาง TikTok ยังมั่นใจว่าเป็น Original
อีกสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้ TikTok ก็คือ เป็นเอนเตอร์เทนเมนต์แพลตฟอร์มเต็มตัว โดยนำเสนอคอนเทนต์ทั้งภาพและเสียง ไม่ใช่แค่ไถฟีดดูข่าว มีความ Creativity ที่เป็นหัวใจหลักของแพลตฟอร์ม และผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความ Positivity คือมีแต่คอนเทนต์ในเชิงบวก คนส่วนใหญ่เข้ามาเพื่อคลายเครียด
หลังจากที่ไปที่ผ่านมา TikTok พยายามดึงผู้ใช้ใหม่ แต่ทิศทางปีนี้ดูเหมือนจะพยายามทำให้ครีเอเตอร์เร่งปั้นผู้ติดตาม รวมถึงโดดเข้าไปสู่ตลาด อีคอมเมิร์ซ ซึ่งแปลว่าช่องทางการ หารายได้ ก็เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะจากโฆษณา เชื่อว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเดิม ๆ ตอนนี้คงต้องปาดเหงื่อ เพราะอาจโดน TikTok แย่งเม็ดเงินโฆษณาไปเรื่อย ๆ แล้วก็ได้
]]>“สิรินิธิ์ วิรยศิริ” Head of Business Marketing – Thailandของโซเชียลมีเดีย TikTok ตีฆ้องเชิญชวนแบรนด์ทั้งใหญ่จนถึงเล็กเตรียมลงโฆษณาหรือทำแคมเปญใน TikTok ต้อนรับเทศกาล Mega Sales ปลายปี ไม่ว่าจะเป็น 9.9, 10.10, 11.11, 12.12 ซึ่งถือว่าเป็นช่วงฤดูกาลขายประจำปีเสมอมา
จากกระแส Shoppertainment และความนิยมชมคลิปวิดีโอสั้นที่เกิดขึ้นในไทยมาระยะหนึ่ง ทำให้ TikTok ยืนยันว่า แพลตฟอร์มนี้มีประสิทธิภาพในการเรียกผู้ชมและเปลี่ยนเป็นยอดขาย โดยอ้างอิงข้อมูลจากนีลเส็นว่า 62% ของผู้ถูกสำรวจระบุว่า ตนตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์จากอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย โดยคลิปวิดีโอสั้นคือรูปแบบสื่อที่มีอิทธิพลที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลจาก GWI สนับสนุนว่า ยุคนี้คนถึง 1 ใน 3 ต้องการจะซื้อสินค้าพร้อมกับมีความบันเทิงควบคู่ไปด้วย หรือก็คือ Shoppertainment นั่นเอง
สิรินิธิ์ชี้ให้เห็นว่า TikTok วางตัวเองเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะกับ Shoppertainment เพราะมีฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ทั้ง 3 ด้านในการทำวิดีโอขายของ ได้แก่ 1.Discovery – ฟีดส์ของ TikTok ทำให้คนค้นพบสินค้าได้ง่ายและยิงตรงกลุ่มเป้าหมาย 2.Entertainment – เครื่องมือที่มีให้ช่วยสร้างคอนเทนต์ที่สนุกสนานได้ดีและง่าย 3.Community Commerce – แพลตฟอร์มช่วยสร้างไวรัลได้ ทั้งการติดแท็กและการชาเลนจ์ ทำให้สินค้าได้รับการบอกต่อ
ในแง่ของการค้นพบสินค้าใหม่ๆ สิรินิธิ์อธิบายว่าแพลตฟอร์ม TikTok จะมี “For You Feed” คือหน้าฟีดส์ที่เลือกวิดีโอที่ผู้ใช้น่าจะชื่นชอบขึ้นมาแบบเฉพาะบุคคล ผู้ใช้จะได้เห็นสินค้าที่ตรงกับตัวเอง และผู้ใช้ TikTok ยังเปิดรับการดูคอนเทนต์ที่เป็นการโฆษณาด้วย โดยรอบเดือน ม.ค. 2563 – ม.ค. 2564 พบว่าผู้ใช้มี engagement กับคอนเทนต์โฆษณาที่ 10.3% สะท้อนว่าผู้ใช้พร้อมรับชมและไม่กด ‘ข้าม’ ทำให้สินค้าและแบรนด์มีโอกาสไปถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น
TikTok สำรวจจากผู้ใช้ 368 คนในแพลตฟอร์ม พบว่า 58% มีการซื้อสินค้าอื่นๆ เพิ่มนอกเหนือจากที่ตั้งใจทำช้อปปิ้งลิสต์ไว้ และ 79% มีการเลือกซื้อแบรนด์ใหม่ๆ ที่ไม่รู้จัก
ด้านประเภทสินค้าที่ผู้ใช้ TikTok ซื้อออนไลน์ในช่วง Mega Sales ปี 2563 ที่นิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ บิวตี้และของใช้ส่วนตัว, แฟชั่นและเครื่องประดับ และเครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
ส่วนหมวดสินค้ารองๆ ลงมา ได้แก่ อาหารและเครื่องดื่ม ของใช้ในบ้าน สุขภาพและออกกำลังกาย ดิจิทัล หนังสือและเครื่องเขียน และกลุ่มสินค้าสำหรับทารก
ปัจจุบัน TikTok ยังไม่มี in-app purchase ดังนั้นการซื้อจะเป็นการดึงลูกค้าออกไปสู่ landing page ของร้านค้าในแอปพลิเคชันอื่น เช่น หน้าร้านในมาร์เก็ตเพลซอย่าง Lazada, Shopee หรือให้แอดไลน์ร้านค้าเพื่อสั่งสินค้า สิรินิธิ์จึงมองว่า จุดแข็งของ TikTok ขณะนี้คือการเป็น “แหล่งแรงบันดาลใจ” ทำให้ลูกค้าได้เห็นและต้องการสินค้านั้น
TikTok พบว่า ผู้ใช้แพลตฟอร์มนี้ 53% ต้องการจะดูรีวิวสินค้าก่อนซื้อ และ 68% มีการเทียบราคาก่อนตัดสินใจซื้อ ทั้งนี้ สินค้าแต่ละประเภท ผู้ซื้อจะมีความต้องการแตกต่างกัน ดังนี้
เทศกาล Mega Sales ยังเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ซื้อด้วย เพราะทุกคนทราบว่าจะมีมหกรรมลดราคา ทำให้ 51% ของผู้ใช้ TikTok จะเริ่มมองหาสินค้าและเทียบราคาล่วงหน้าก่อนเทศกาลลดราคา 3-4 สัปดาห์!
สิรินิธิ์จึงแนะนำแบรนด์ที่สนใจลงโฆษณาหรือทำแคมเปญกับ TikTok ควรเริ่มประกาศว่าจะมีการลดราคาล่วงหน้าก่อนวันขายจริง 10-30 วัน เพราะเป็นช่วงที่คนเริ่มเล็งสินค้าที่ชอบแล้ว จากนั้น 7-10 วันก่อนขาย ควรกระตุ้นให้ลูกค้าเพิ่มสินค้าลงตะกร้าไว้ได้เลย จนถึง 1-2 วันก่อนขายและวันลดราคา ควรย้ำกระตุ้นการซื้ออีกครั้งเพื่อให้ลูกค้าคลิกซื้อจริง
สำหรับจำนวนผู้ใช้ในไทยและเวลาการใช้งานต่อวัน TikTok ประเทศไทยไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนกลุ่มอายุผู้ใช้นั้น เมื่อปีก่อน TikTok ระบุว่า 60% เป็นคนวัย 16-34 ปี รองลงมา 30% เป็นน้องๆ วัย 13-15 ปี และมี 10% เป็นผู้ใหญ่วัย 35 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม สิรินิธิ์บอกเป็นภาพกว้างว่าปีนี้กลุ่มอายุมีความหลากหลายกว่าเดิม พบคนวัยมากกว่า 40 ปีเข้ามาใช้แอปฯ มากขึ้นแล้ว แต่ไม่สามารถระบุสัดส่วนชัดเจนได้
TikTok ไทยเพิ่งจะรุกตลาดโซเชียลคอมเมิร์ซเมื่อปี 2563 ถือเป็นน้องใหม่ในวงการ แต่กำลังลุยเต็มสูบเพื่อดึงโฆษณามาลง โดยปีนี้จะเน้นหนักในช่วง Mega Sales ปลายปีที่แบรนด์ต่างๆ น่าจะอัดงบทิ้งทวนช่วง 4 เดือนสุดท้าย
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
]]>“แพร ดำรงค์มงคลกุล” Country Director ของ Facebook ประเทศไทย เปิดข้อมูลการค้าออนไลน์บน Facebook และ Instagram ในฐานะช่องทางที่เป็น “Conversational Commerce” หรือการค้าที่ลูกค้ามักจะมีการ “ทักแชท” เพื่อซื้อสินค้า โดยมองว่า จุดเด่นของช่องทางรูปแบบนี้คือการสร้างประสบการณ์และความสัมพันธ์กับลูกค้าเฉพาะบุคคล และทำให้ปิดการขายได้ดีขึ้น
แพรกล่าวว่า Facebook พบว่าลูกค้า 83% จะใช้การทักแชทในช่วงก่อนซื้อสินค้าเพื่อสอบถามข้อมูลต่างๆ 70% ใช้ในขั้นตอนการซื้อสินค้าเพื่อชำระเงิน และ 58% ใช้ในขั้นตอนหลังซื้อสินค้าเพื่อติดตามการจัดส่ง
จากการสำรวจยังพบด้วยว่า 4 ใน 5 ของลูกค้ามองว่าการได้แชทกับร้านค้าทำให้รู้สึกใกล้ชิดกับร้านมากขึ้น และ 66% รู้สึกยินดีที่ได้คุยส่วนตัวกับร้านเพราะสามารถต่อรองราคาหรือขอโปรโมชันได้
จากอินไซต์นี้ ทำให้ Facebook ทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์หลายแห่ง โดยมีพาร์ตเนอร์ที่ตอบโจทย์เรื่องการพัฒนา “แชทบอท” โดยเฉพาะ ส่งเสริมให้ร้านค้าต่างๆ ขายของได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผ่านฟีเจอร์แชทที่ลูกค้านิยมอยู่แล้ว
หนึ่งในพาร์ตเนอร์ของ Facebook คือ “KaoJao” (ข้าวเจ้า) ผู้พัฒนาโซลูชันธุรกิจสำหรับโซเชียลคอมเมิร์ซ โดยมีฟีเจอร์แชทบอทให้ใช้ด้วย
“ณัฐธภา ศรีมงคล” ซีโอโอของ KaoJao กล่าวว่า ลักษณะแชทบอทของบริษัทจะไม่ใช่ AI Learning คือระบบไม่ได้เรียนรู้อัตโนมัติ แต่เป็นระบบแมนนวล ร้านค้าสามารถระบุ “คีย์เวิร์ด” ในประโยคที่ลูกค้าส่งมา และระบุคำตอบล่วงหน้าที่ร้านค้าต้องการจะตอบเมื่อมีคีย์เวิร์ดนั้นๆ
ดังนั้น คำตอบจะมีความเป็นมนุษย์และมีสไตล์แตกต่างกันไปแต่ละร้าน เพราะร้านเป็นผู้พิมพ์คำตอบในแบบของตัวเองไว้ การตอบจึงไม่เป็นแพทเทิร์นเดียวกันที่ทำให้รู้สึกว่าคุยอยู่กับแชทบอท
ร้านค้าที่จะใช้แชทบอทจึงอาจจะต้องทำการค้ามาระยะหนึ่ง เพียงพอที่จะมีข้อมูลของลูกค้าว่ามักจะถามอะไร เพื่อนำมาสร้างคีย์เวิร์ดถาม-ตอบให้กับระบบ โดย KaoJao สามารถเพิ่มคีย์เวิร์ดได้ไม่จำกัด
อย่างไรก็ตาม ณัฐธภายืนยันว่าแชทบอทไม่ได้พัฒนามาเพื่อบริษัทใหญ่ ที่จริงแล้วเป็นระบบที่เหมาะกับ SMEs มาก เพราะวันนี้หลายคนค้าออนไลน์เป็นอาชีพเสริม ระหว่างวันอาจไม่มีเวลาตอบลูกค้า ขณะที่ลูกค้าชาวไทยมีความอดทนต่ำลง ต้องการการตอบกลับที่เร็วที่สุด แชทบอทจึงมีส่วนสร้างประสิทธิภาพในการขายอย่างมาก ทำให้บริษัทมุ่งเป้าผู้ใช้เป็นกลุ่ม SMEs โดยมีโปรแกรมทดลองใช้ฟรี และแพ็กเกจต้นทุนต่ำเริ่มต้น 590 บาทต่อเดือน
ด้านแพรจาก Facebook เสริมว่า จากการสำรวจพบว่า 50% ของผู้ซื้อยอมรับการใช้แชทบอทของร้านค้า เพราะเข้าใจดีว่าร้านค้าอาจมีข้อความเข้าจำนวนมาก แต่ร้านค้าต้องมีระบบสกรีนเพื่อใช้มนุษย์เข้าพูดคุยในกรณีที่แชทบอทไม่สามารถจบการขายได้
สำหรับสถานการณ์ผู้ใช้ Facebook เป็นช่องทางขาย แพรระบุว่าช่วงปีที่ผ่านมา “ร้านอาหาร” คือธุรกิจที่เติบโตสูงมากบน Facebook และ Instagram รองลงมาคือกลุ่มแฟชั่น-บิวตี้ ซึ่งน่าจะเกิดจากร้านอาหารต้องหันมาขายเดลิเวอรี่มากขึ้น จึงต้องมีหน้าร้านออนไลน์หลายช่องทางให้สั่งอาหาร
สอดคล้องกับณัฐธภาที่พบว่ากลุ่มร้านอาหารเข้ามาใช้โซลูชัน KaoJao สูงขึ้นมาก นอกจากนี้ยังเห็นกระแสการ ‘Live’ ขายของที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยพบว่ามีลูกค้าหันมาใช้ฟีเจอร์นี้หลักหมื่นคน
โซเชียลคอมเมิร์ซยังเป็นช่องทางที่แข็งแกร่งในไทย แม้กลุ่มอี-มาร์เก็ตเพลซจะเข้ามาชิงส่วนแบ่ง โดยข้อมูลจาก วันเดอร์แมน ธอมสัน พบว่า 66% ของคนไทยเคยซื้อสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกอยู่ที่ 44% เท่านั้น และ Facebook กับ Instagram ยังเป็นเจ้าตลาด ลูกค้าถึง 75% มีแนวโน้มที่จะซื้อผ่านสองแพลตฟอร์มนี้
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนข้อใหญ่ที่สุดของโซเชียลคอมเมิร์ซคือ “ความสะดวกในการซื้อสินค้า” ซึ่งทำให้การมีพาร์ตเนอร์เข้ามาเสริมทัพโซลูชันให้กับ Facebook จะเป็นกุญแจสำคัญในการสู้ศึกช่องทางขายของอี-คอมเมิร์ซ
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
]]>
ผลสำรวจการใช้โซเชียลคอมเมิร์ซของคนไทยพบว่าช่วงโควิดร้านค้า 56% เข้ามาสู่ Social Commerce โดยแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมากสุด คือ
ลูกค้าประมาณ 69% จะเลือกซื้อสินค้าผ่านเพจต่าง ๆ โดยกลุ่ม ผู้หญิง จะสนใจ ความงาม และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย กลุ่มลูกค้า ผู้ชาย จะสนใจผลิต Gadget และของตกแต่งบ้าน กลุ่มอายุ 55 ปี จะสนใจเรื่องอาหาร
ทั้งนี้ ผู้บริโภค 62% รู้สึกชื่นชอบการซื้อสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซ ผู้บริโภค 45% มียอดการใช้จ่ายเฉลี่ย 1,000-3,000 บาท ช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา และมากกว่า 50% ของพนักงานออฟฟิศและนักเรียน นักศึกษาใช้เวลาช้อปสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน
Social commerce ที่มีหลายด้าน แต่สิ่งที่มาแรงคือ Live Commerce ที่จะสอดคล้องกับพฤติกรรมคนไทยที่ชอบเข้ามาดูเพื่อความสนุกสนานและมีส่วนร่วมกับผู้ขายสินค้า โดยมูลค่ารวมของยอดขายสินค้าผ่าน Live Commerce ในไตรมาส 2 ของไทยมีการเติบโตถึง 300% ด้านจำนวนคำสั่งซื้อก็เติบโตเพิ่มขึ้น 210% จำนวนการถ่ายทอดสดเพิ่มขึ้น 300% รวมทั้งจำนวนความคิดเห็นเพิ่มขึ้น 283%
ด้านภาพรวมในเอเชีย มูลค่ารวมของยอดขายสินค้าผ่าน Live Commerce ไตรมาส 2 มีการเติบโต 160% จำนวนคำสั่งซื้อเติบโต 180% จำนวนการถ่ายทอดสดเพิ่มขึ้น 70% จำนวนความคิดเห็นเพิ่มขึ้น 125%
ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการทำ Live Selling ในไทยคือ 19.00 น. โดยหมวดหมู่ยอดนิยมจะเป็น ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ 37% เครื่องแต่งกาย 28% และหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 24%
ในส่วนของเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในไทยจะมีออเดอร์สูงสุดใน วันจันทร์ และช่วงเวลา 20.00 น. ส่วนเอเชียจะขายดีใน วันพุธ และช่วงเวลา 22.00 น.
สำหรับกลุ่ม 5 สินค้าที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มผู้บริโภคและมีการเลือกซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซสูงสุด ได้แก่
ชนนันท์ ปัญจทรัพย์ Country Manager, SHOPLINE Thailand ผู้นำระบบจัดร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซและโซเซียลคอมเมิร์ซแบบครบวงจร มองว่า เทรนด์เกี่ยวกับโซเชียบอีคอมเมิร์ซที่กำลังเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2021 และจะอยู่ไปอีกนานหลายปีมี 5 เทรนด์ ดังนี้
หลังจากที่ SHOPLINE ให้บริการเป็นเวลา 8 เดือน โดยในช่วงช่วงครึ่งปีแรกจำนวนร้านค้าที่เข้ามาใช้บริการช้อปไลน์มีการเติบโต 10-15% ต่อเดือน โดยช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทได้เพิ่ม 2 ฟีเจอรใหม่ เพื่อจับกระแส Live Commerce ได้แก่ ‘LIVE Bidding’ ฟีเจอร์การประมูลแบบไลฟ์ และ ‘Golden Minutes’ นาทีทอง สำหรับร้านค้าที่จะจัดกิจกรรมเล่นเกมกับลูกค้าเพื่อแจกของกำนัล โดยคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทจะสามารถเติบโตได้สองเท่าหรือกว่า 30-40% ต่อเดือน
]]>จากการทำสำรวจของกูเกิลเมื่อช่วงต้นปี 2021 ได้มีการคาดการณ์ระบุถึงมูลค่าการซื้อสินค้าบนอีคอมเมิร์ซของคนไทยใน 1 ครั้ง (Basket Size) จากในปี 2015 เฉลี่ยที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐ มีการซื้อเฉลี่ย 5 ครั้งต่อเดือน แต่ในปี 2025 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 30 ดอลลาร์สหรัฐ และความถี่ในการซื้อจะเพิ่มเป็น 13 ครั้งต่อเดือน
โดยตลาดอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยมูลค่าอยู่ที่กว่า 270,000 ล้านบาท โดย 88% ของผู้บริโภคจะใช้วิธี ‘เสิร์ช’ เพื่อหาสินค้า 84.9% เสิร์ชหาในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และ 74% ทำการซื้อขายผ่านโทรศัพท์มือถือ
อีกพฤติกรรมที่ถือว่าคนไทย Advance กว่าในหลายประเทศก็คือ ‘Social Commerce’ และ ‘Conversational Commerce’ โดยผู้บริโภค 57% ทักแชทเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 35% ทักเพื่อต่อราคา 35% แชทเพื่อดูว่าแบรนด์เชื่อถือได้ไหม และ 34% มองว่าง่าย
ปัจจุบัน คนไทยที่แอคทีฟบนโซเชียลมีเดียมากถึงกว่า 55 ล้านคน จากประชากรที่มีประมาณ 69.88 ล้านคน ซึ่งไทยติด 1 ใน 3 ของประเทศที่มีคนใช้ Facebook มากและนานที่สุดในโลก
ชนนันท์ ปัญจทรัพย์ Country Manager, SHOPLINE ประเทศไทย ผู้ให้บริการระบบจัดร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซและโซเซียลคอมเมิร์ซแบบครบวงจร กล่าวว่า ผู้ประกอบการในไทยส่วนใหญ่มี Pain Point ทั้งขาดแคลนทรัพยากร และไม่มีเวลาในการจัดการออเดอร์ ดังนั้น จึงเกิดเป็นแพลตฟอร์มตัวช่วยร้านค้าเพื่อให้สามารถการขายที่เพิ่มขึ้น
โดย SHOPLINE เป็นผู้ให้บริการแบบ Total Solution ที่มีครบวงจรทั้งการทำเว็บไซต์ของตัวเองและมีโซลูชั่นช่วยจัดการ Social Commerce โดยจะเข้ามาช่วยสร้างเว็บไซต์ให้ผู้ประกอบการ รวมถึงช่วยจัดการการขายบนโซเชียลมีเดียที่เกิดจากการทักแชท หรือแม้แต่ตอน ‘ไลฟ์สด’
“ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SME มี Pain Point คือ ต้องทำหลาย ๆ อย่างเอง บางคนทำงานประจำไปด้วย เราก็จะมาช่วยร้านค้าตอบโจทย์กับคำถามเดิม ๆ ด้วย Chat Bot ไม่ว่าจะมาจากช่องทางไหนก็ตามด้วยตัว Message Center อีกทั้งยังสามารถจัดการออเดอร์ได้ทุกช่องทาง ทำให้ร้านค้าไม่ตกหล่นออเดอร์”
SHOPLINE เป็นผู้ให้บริการสัญชาติฮ่องกง โดยมีบริการใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไต้หวัน, ฮ่องกง, มาเลเซีย, เวียดนาม, จีน, สิงคโปร์ และไทย รวมผู้ใช้บริการมากกว่า 250,000 ราย มีการเข้าถึงลูกค้ามากกว่า 200 ล้านคนทั่วโลก โดยในไทย Shopline มีแพ็กเกจ ดังนี้ E-commerce (เว็บไซต์) รายเดือนอยู่ที่ 599 บาท ส่วนรายปี 4,999 บาท แพ็กเกจ Social Commerce ราคารายเดือนอยู่ที่ 599 บาท ส่วนรายปีที่ 4,999 บาท และแพ็กเกจในแบบ ALL in One รายเดือนเริ่มต้นที่ 1,199 บาท และรายปีที่ 7,999 บาท
ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้ามีลูกค้า 3,000 รายภายในสิ้นปี โดยคาดว่า 70% เป็น SME อีก 30% เป็นแบรนด์ และคาดว่า 60% ของลูกค้าจะใช้แพ็กเกจ ALL in One
“มาร์เก็ตเพลสกับเว็บไซต์ไม่ได้มีอะไรดีกว่าหรือแย่กว่า แต่เป็นเหมือนเปิดในห้างที่มีคนเดิน แต่คู่แข่งก็เยอะ แต่หากมีเว็บตัวเองก็ทำแบรนด์ตัวเองได้ อีกทั้งยังมีเรื่องของ CRM ที่ดีกว่า แต่ที่น่าสนใจคือ การซื้อของบนเว็บไซต์แบรนด์จะมียอดสั่งซื้อมากกว่าการซื้อจาก e-Marketplace ประมาณ 1.2 เท่า เนื่องจากน่าเชื่อถือกว่า แต่การเปิดเยอะก็ต้องใช้คนเยอะ ดังนั้น โซลูชันก็จะมาตอบโจทย์”
ไม่ได้มีแค่ SHOPLINE ที่เห็นโอกาสจากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซไทย แต่ยังมี ‘Shoplus’ ผู้ให้บริการระบบจัดร้านค้าบนโซเซียลคอมเมิร์ซสัญชาติไต้หวันอีกราย ซึ่งที่ผ่านมา Shoplus ก็กวาดเอาแบรนด์ใหญ่หลายรายมาเป็นลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ‘นารายา’ ที่ Shoplus เข้าไปช่วยจัดการเรื่องไลฟ์สด หรืออย่าง ‘บาบีคิว พลาซ่า’ ที่ใช้ AI แชทบอต เพื่อขายอาหารพร้อมทานบน Facebook โดยตรง ในปี 2563 ที่ผ่านมา Shoplus ประเทศไทยมียอดออเดอร์ผ่านระบบรวม 2,230 ล้านบาท เติบโตขึ้น 18 เท่า มีการสั่งซื้อรวม 3.64 ล้านครั้งเลยทีเดียว
คนไทยชอบดูไลฟ์ขายของ! Shoplus โตพรวด 18 เท่า เตรียมดึง SMEs ใช้ AI ขายบนโซเชียล
ที่น่าห่วงคือ ผู้ประกอบการไทยที่ทำโซลูชันจัดการเว็บไซต์หรือทำโซลูชันเกี่ยวกับผู้ช่วยจัดการบนโซเชียลคอมเมิร์ซ ที่กำลังเผชิญกับ ‘คู่แข่ง’ จากต่างประเทศที่น่าจะตบเท้าเข้าไทยกันมากขึ้น เนื่องจากอีคอมเมิร์ซไทยที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการทำตลาดในไทยคงจะไม่ง่ายอีกเเล้ว
]]>Sellsuki ก่อตั้งในยุคที่การซื้อขายทางออนไลน์ได้รับความนิยม ซึ่งในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ซื้อขายออนไลน์ผ่านหลายช่องทาง โดยเน้นไปที่โซเชียลมีเดียและแชทเป็นหลัก ซึ่ง Sellsuki ได้เข้ามาร่วมพัฒนาบริการซื้อขายออนไลน์ของ LINE@ ด้วยเช่นกัน
อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “การซื้อขายผ่านทางโซเชียลมีเดียช่วยขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซของไทยให้เติบโต โดยผลสำรวจของ PWC พบว่า การซื้อขายผ่านทางโซเชียลมีเดียมีสัดส่วนถึง 51% ของตลาดอีคอมเมิร์ซทั้งหมด และคิดเป็นมูลค่ารวมถึง 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เฉพาะปริมาณผู้บริโภคที่ซื้อขายสินค้าผ่านทางโซเชียลมีเดียในไทยก็มีสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 เท่าแล้ว
“การควบรวมธุรกิจกันในครั้งนี้จะเป็นการวางรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซของ LINE ในประเทศไทย และจากที่ร่วมงานกันมาหลายปี เราเชื่อว่า Sellsuki มีศักยภาพเพียงพอที่จะให้ผลตอบแทนคุ้มค่าจากการรวมธุรกิจกันในครั้งนี้ LINE ยินดีที่ได้ร่วมงานกับ Sellsuki เพื่อมาช่วยกันส่งเสริมระบบนิเวศของสตาร์ทอัพไทยด้วยกัน”
การควบรวมธุรกิจดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2561 ซึ่งพนักงานโซเชียลคอมเมิร์ซของ Sellsuki เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม LINE ประเทศไทย
ขณะเดียวกัน นายเลอทัด ศุภดิลก ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริหารจัดการของ Sellsuki ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารฝ่ายอีคอมเมิร์ซของ LINE ประเทศไทย และในส่วนของโซลูชั่นด้านโซเชียลคอมเมิร์ซต่างๆ ของ Sellsuki ก็จะได้รับการถ่ายโอนมายัง LINE ส่วนบริษัทเดิมจะยังคงดำเนินธุรกิจอื่นๆ ต่อไปภายใต้ผู้บริหารชุดใหม่
เลอทัด ศุภดิลก ผู้บริหารฝ่ายอีคอมเมิร์ซของ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของ LINE ทำให้ราตัดสินใจได้ไม่ยาก และเชื่อว่าจะเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญที่จะสนับสนุนทั้งผู้ค้าในธุรกิจอีคอมเมิร์ซรวมทั้งระบบนิเวศของสตาร์ทอัพในภาพรวมด้วย
ไลน์เองเชื่อว่า การรวมธุรกิจของ Sellsuki ครั้งนี้ จะช่วยให้ LINE ต่อยอดบริการอีคอมเมิร์ซ มีบริการใหม่ออกมาตอบโจทย์ ซึ่งเข้าใจความต้องการของตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยได้
]]>นอกจากนี้ผู้ใช้งานบนเฟซบุ๊กยังไม่สามารถกดดูรูปภาพเต็มได้ กดซูมขยายรูปภาพไม่ได้และไม่สามารถเซฟรูปภาพได้ด้วย ที่สำคัญการลงรูปภาพจำนวนหลาย ๆ รูปภาพ (Carousel) ก็จะปรากฏแต่เนื้อหาข้อความเท่านั้น แต่จะไม่เห็นรูปภาพประกอบ ทำให้ต้องผู้อ่านต้องมโนชั่วคราว
กรณีดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคเพจดัง พ่อค้าแม่ขายบนโซเชียลคอมเมิร์ซต่างออกมาบ่นกันเป็นเสียงเดียวกัน เป็นข่าวด่วน! ข่าวใหญ่! ถึงการแก้ไข ปรับปรุงอัลกอริทึม News Feed บ่อย ๆ ของเฟซบุ๊กจนคนละเลิกเล่นกันแล้ว
“พเนิน อัศววิภาส” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โธธ โซเชียล โอบีว็อค ให้ความเห็นว่า การที่เฟซบุ๊กปรับการแสดงผลบนหน้าจอมือถือ มีความเป็นไปได้กำลังผลักดันนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) เหมือนกับประเทศในทวีปยุโรป ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถเข้าไปกดเซฟรูปภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานคนอื่น ๆ นำรูปภาพบนโซเชียลมีเดียไปใช้งาน เพราะอาจมีผลกระทบต่อควมเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน (User) นั่นเอง
แม้ว่าในความเป็นจริงผู้บริโภคก็ยังสามารถแคปหน้าจอรูปภาพได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวห้ามไม่ได้ แต่ก็นับเป็นการพยายามของเฟซบุ๊กในการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
หากการปรับแสดงผลดังกล่าวมีผลถาวรผลกระทบต่อเพจเด่นแบรนด์ดังก็ต้องทำตามกฎ และหากต้องการให้ผู้บริโภคเห็นรูปภาพเต็มคอนเทนต์ที่สมบูรณ์ตามต้นฉบับ จะต้องปรับตัวในการทำสื่อรูปภาพใหม่ ซึ่งกรณีดังกล่าวคล้ายกับการแสดงผลรูปภาพปก หรือ Cover Photo ของเฟซบุ๊กบนมือถือเมื่อ 2 ปีก่อน จะหายไปประมาณ 45% นั่นหมายถึงคนดูไม่สามารถเห็นภาพเต็มของโลโก้เพจแบรนด์ดังได้ ทำให้ต้องแก้ไขโดยการจัดวางรูปภาพกันใหม่ไปอยู่ตรงกลาง และเว้นพื้นที่ด้านข้างซ้ายขวาไว้
ทั้งนี้เฟซบุ๊กมีการปรับปรุงแพลตฟอร์มอยางต่อเนื่อง ยังสอดคล้องกับ Motto ขององค์กรที่ว่า Move Fast and Break Things. เพราะยุคนี้การปรับตัวตลอดเวลาเป็นสิ่งสำคัญ และหากปรับปุ๊บเกิดผลกระทบตามมาก็เบรกได้
“การที่เฟซบุ๊กปรับปรุงแพลตฟอร์มอยู่บ่อย ๆ เป็นการทำตามความต้องการของผู้ใช้งาน หรือ User จริง ๆ โดยก่อนปรับเปลี่ยนอะไร เฟซบุ๊กมีการทำรีเสิร์ชเพื่อหา Insight หรือความต้องการเชิงลึกของผู้ใช้เยอะมาก เมื่อพบว่า User ขยับตัวไปทางไหนเฟซบุ๊กก็ต้องไปตาม ขณะเดียวกันนักการตลาด แบรนด์ และเพจนดัง ก็ต้องมูฟตามเฟซบุ๊กเช่นกัน เพราะสุดท้ายก็เป็นการเกาะติดผู้บริโภคเหมือนกัน”
ปัจจุบันผู้บริโภคชาวไทยใช้งานเฟซบุ๊กราว 50 ล้านคน จำนวนผู้ใช้งานเติบโต 4% อัตราการเติบโตดูเหมือนไม่มากนักเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ แต่จำนวนดังกล่าวถือว่าครอบคลุมผู้บริโภคกว่า 70% ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มาก ดังนั้นโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กจึงยังทรงอิทธิลต่อคนหมู่มาก และแบรนด์ยังต้องใช้เป็นเครื่องมือในการทำตลาด สร้างแบรนด์ สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเหมือนเดิม
ยอมรับว่าการปรับปรุงของเฟซบุ๊กส่งผลให้แบรนด์สินค้าและบริการออกอาการบ่นกันพอสมควร แต่ต้องยอมรับว่าเฟซบุ๊กคือแพลตฟอร์มที่ทรงพลังมีอำนาจต่อรองสูง สิ่งที่นักการตลาดต้องทำคือปรับตัวตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ความอลหม่านของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กที่เกิดขึ้นยังต้องรอติดตามอย่างใกล้ชิด ว่าเป็นการพยายามผลักดันนโยบายปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้จริง ๆ หรือเป็นเพียงข้อผิดพลาด (Bug) ที่เกิดจากการทดลองปรับปรุงแพลตฟอร์ม ความโกลาหลนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาไม่นาน ล่าสุด เฟซบุ๊กได้กลับมาใช้งานได้ปรกติแล้ว.
]]>