เนื่องจากทางนครโอซาก้า กำลังเตรียมการสำหรับงาน Osaka-Kansai World Expo ที่กำลังจะมาถึงในปี 2025 ที่กําหนดไว้ในเดือนเมษายน ดังนั้นจึงมีการออกกฎหมายขยายการห้ามสูบบุหรี่ริมถนนให้ครอบคลุมทั่วทั้งเมือง และกำลังดำเนินการสร้างพื้นที่สูบบุหรี่มากกว่า 140 แห่งทั่วเมืองโอซาก้า เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎระเบียบได้ง่ายขึ้น
ก่อนหน้านั้นในปี 2007 ทางนครโอซาก้ามีการออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ตามท้องถนน โดยครอบคลุม 6 พื้นที่รวมถึงบริเวณใกล้เคียงของสถานี JR Osaka สถานที่ท่องเที่ยว Ebisubashi-suji และ Shinsaibashi-suji ที่มีคนพลุกพล่านให้เป็นพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ โดยมีกําหนดค่าปรับ 1,000 เยน หรือประมาณ 230 บาท สําหรับผู้ที่ทำการละเมิดกฏหมายดังกล่าว ต่อมาในเดือนมีนาคม 2024 สมัชชาเทศบาลนครโอซาก้าได้ผ่านพระราชกฤษฎีกาฉบับแก้ไข เพื่อขยายพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ จาก 6 พื้นที่ให้ครบคลุมไปทั่วเมืองโอซาก้า
ทั้งนี้ นายกเทศมนตรรีนครโอซาก้ายังกล่าวว่า เมื่อถึงเวลาที่พระราชกฤษฎีกาฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้ อย่างเป็นทางการ ทางนครโอซาก้าวางแผนจะสร้างสถานีใหม่เพิ่มเติมและปรับปรุงสถานีที่มีอยู่ โดยจํานวนสถานีสูบบุหรี่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 300 แห่งเมื่อถึงเวลาเปิดงาน Expo
ที่มา : THE MAINICHI NEWSPAPERS
]]>
การสำรวจ ดัชนี “เมืองน่าอยู่” มากที่สุดในโลก (Global Livability Index) โดย EIU (The Economist Intelligence Unit) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยสำรวจใน 173 เมืองทั่วโลก และคำนวณจากปัจจัย 5 หัวข้อหลัก ได้แก่
จากปัจจัยดังกล่าวที่ EIU ได้ประเมิน 10 อันดับแรก “เมืองน่าอยู่” มากที่สุดในโลก ปี 2024 ได้แก่
อันดับ 1 เวียนนา ประเทศออสเตรีย
อันดับ 2 โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
อันดับ 3 ซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
อันดับ 4 เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย
อันดับ 5 (ร่วม) คัลการี ประเทศแคนาดา
อันดับ 5 (ร่วม) เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
อันดับ 7 (ร่วม) ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
อันดับ 7 (ร่วม) แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา
อันดับ 9 (ร่วม) โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น
อันดับ 9 (ร่วม) โอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์
ไฮไลต์จาก EIU ปีนี้พบว่า ภาพรวมภูมิภาคที่เมืองโดยเฉลี่ยน่าอยู่ที่สุดในโลกยังคงเป็น “ยุโรปตะวันตก” อย่างไรก็ตาม มีหลายเมืองที่เริ่มเสียคะแนนเพราะปัญหาด้านเสถียรภาพ การประท้วงจำนวนมากดึงคะแนนในเยอรมนี ไอร์แลนด์ และเบลเยียมลงมามาก มีถึง 3 เมืองในเยอรมนีที่อันดับร่วงลงแรง ได้แก่ มิวนิค ฮัมบูร์ก และสตุ๊ตการ์ต
ขณะที่ภูมิภาคที่น่าอยู่รองลงมาคือ “อเมริกาเหนือ” แต่มีบางเมืองชั้นนำที่เสียคะแนนเพราะปัญหา “ราคาบ้าน” พุ่งทะยานขึ้นจนเอื้อมถึงยาก เช่น โตรอนโต แคนาดา ซึ่งปัญหาเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับเมืองหลักในออสเตรเลีย คือ ซิดนีย์ และ เมลเบิร์น ด้วย ทำให้ทั้งสองเมืองอันดับตกลงมาแม้ว่าจะยังติดอยู่ในระดับ Top 10
ด้านกลุ่มเมืองที่ทำคะแนนดีขึ้นและอันดับพุ่งขึ้นสูงมากที่สุดในรอบนี้ต้องจับตาทวีปเอเชียแปซิฟิก โดยมีเมืองที่มาแรงที่สุดคือ “ฮ่องกง” ปีนี้อยู่ในอันดับ 50 ของโลก ปรับขึ้นมาถึง 11 อันดับ ซึ่งเกิดจากการกลับมาควบคุมเสถียรภาพทางการเมืองได้ และสาธารณสุขที่ดีขึ้นหลังผ่านโควิด-19
ขณะที่ “สิงคโปร์” ก็ขยับขึ้นมาอยู่อันดับ 26 ปรับขึ้นมา 8 อันดับ รวมถึง “โฮจิมินห์ ซิตี้” ของเวียดนามก็ขึ้นมาอยู่อันดับ 133 ของโลก ปรับขึ้นมาทีเดียว 7 อันดับ ทั้งสองมีจุดร่วมคือการปรับระบบสาธารณสุขและการศึกษาให้ดีขึ้น
ส่วนเมืองที่ทำอันดับตกต่ำร่วงลงแรงที่สุดหนีไม่พ้น “เทล อาวีฟ” เมืองหลวงของอิสราเอล จากการทำสงครามทำให้ความน่าอยู่ของเมืองตกไปอยู่อันดับ 112 ร่วงลงทีเดียว 20 อันดับ
สรุปของ EIU ระบุว่า ปีนี้ค่าเฉลี่ยเมืองน่าอยู่ทั่วโลกอยู่ที่ 76.1 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ปรับดีขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อยเท่านั้น เพราะทั่วโลกได้รับผลกระทบด้านภูมิรัฐศาสตร์ และหลายเมืองเกิดการประท้วง รวมถึงวิกฤตเศรษฐกิจยังทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ราคาบ้านพุ่งสูงในหลายเมือง ซึ่งคาดว่าน่าจะทำให้ความน่าอยู่ของเมืองไม่ดีขึ้นในเร็วๆ นี้
]]>ปาจิงโกะคือเกมยิงลูกเหล็กเพื่อลุ้นรางวัล เป็นการพนันที่ถูกต้องตามกฎหมายของญี่ปุ่น แต่ในช่วงการระบาดของโควิด ร้านปาจิงโกะถูกมองว่าเป็นแหล่งมั่วสุมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรค
“ฟรีด้อม” ร้านปาจิงโกะขนาดใหญ่ในย่านเทนจินปาชิ ถนนสายช้อปปิ้งที่ยาวที่สุดในญี่ปุ่น ใจกลางเมืองโอซากา ประกาศว่าจะงดให้บริการในวันที่ 13-14 ก.ย. และ 12-13 ต.ค. เป็นใช้เป็นศูนย์ฉีดวัคซีน
ที่นั่งหน้าตู้ปาจิงโกะกว่า 1,000 ที่จะรองรับผู้เข้าฉีดวัคซีน ทั้งพนักงานของร้านและครอบครัว พนักงานบริษัทคู่ค้า เจ้าของร้านค้าและประชาชนในชุมชน ซึ่งจะได้รับวัคซีนโมเดอร์นา โดยแพทย์จากศูนย์สาธารณสุขในพื้นที่จะมาฉีดวัคซีนให้
จุนกิ ฮิรากาวะ ประธานบริษัท Avance Co. ผู้ดำเนินการร้านปาจิงโกะแห่งนี้ บอกว่า ชุมชนมีความสำคัญต่อธุรกิจ การประกาศภาวะฉุกเฉินของรัฐบาลทำให้ธุรกิจซบเซาไปทั่ว และร้านปาจิงโกะยังเป็นธุรกิจที่ไม่สามารถรับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลได้ เมื่อรัฐบาลประกาศโครงการฉีดวัคซีนโดยภาคเอกชน ซึ่งภาคธุรกิจต่าง ๆ บริษัท หรือมหาวิทยาลัยจะจัดหาสถานที่และเจ้าหน้าที่มาฉีดวัคซีนที่รัฐบาลจะจัดสรรให้ เขาได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ แม้ว่าการปิดให้บริการ 4 วันจะต้องสูญเสียรายได้หลายสิบล้านเยน
ฮิรากาวะบอกว่า ร้านปาจิงโกะตกเป็นเป้าวิจารณ์มาตลอดว่าเป็นแหล่งการพนัน ยิ่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 ก็ยิ่งมีภาพลักษณ์ติดลบหนักขึ้นไปอีก การใช้พื้นที่เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนจึงเป็นการตอบแทนสังคม และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ด้วย
ผู้แทนของศูนย์สาธารณสุขในพื้นที่สนับสนุนแนวคิดนี้ ร้านปาจิงโกะเหมาะกับเป็นสถานที่ฉีดวัคซีนอย่างยิ่ง เพราะพื้นที่กว้างขวาง มีระบบปรับอากาศ และแต่ละที่นั่งมีการเว้นระยะห่าง และมีแผงพลาสติกกั้นระหว่างผู้เล่นแต่ละคนอยู่แล้ว จึงลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
ทางร้านได้เปิดให้ประชาชนในพื้นที่จองคิวเข้ารับวัคซีน 1,500 คนผ่านทางเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ของร้านในวันที่ 17 ส.ค. และภายใน 10 วันคิวทั้งหมดก็ถูกจองเต็ม ชาวบ้านในพื้นที่ต่างยินดีกับแนวคิดนี้ เนื่องจากผู้คนจำนวนมากเผชิญความยากลำบากในการจองคิวฉีดวัคซีนกับภาครัฐ และทุกคนอยากจะได้รับวัคซีนให้เร็วที่สุด
]]>จากรายงานของสื่อท้องถิ่นอย่าง Nikkei ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี โยชิฮิเดะ ซูงะ วางเเผนจะเปิดศูนย์ให้บริการฉีดวัคซีนป่องกันโควิด-19 แก่ประชาชนที่อาศัยเเละทำงานในกรุงโตเกียวและเมืองโอซาก้า
โดยศูนย์วัคซีนฯ ที่กำลังจะเปิดให้บริการในกรุงโตเกียวนั้น คาดว่าจะให้บริการได้เร็วที่สุดภายในภายในต้นเดือนพ.ค.นี้ ตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้สูงสุดประมาณ 10,000 คนต่อวัน
นอกจากนี้ กองกำลังป้องกันตนเอง (SDF) จะสนับสนุนด้านบุคลากรการแพทย์ มาช่วยฉีดวัคซีนโควิด-19 ในศูนย์ดังกล่าวด้วย
ทางการญี่ปุ่นกำลังพยายามสกัดการเเพร่ระบาดของไวรัสโตโรนาที่กลับมารุนเเรงอีกครั้ง โดยรัฐบาลกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึง ‘ความล่าช้า’ ในการกระจายวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่มีจัดการผ่านหน่วยงานเทศบาล
รายงานของ Reuters ระบุว่า ญี่ปุ่นเพิ่งเริ่มฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุในเดือนนี้ เเละขณะนี้มีพลเมืองที่ได้รับวัคซีนครบแล้วเพียง 1% ของประชากรทั้งประเทศที่มีอยู่เกือบ 126 ล้านคน เเละอีกเพียง 3 เดือนก็จะถึงวันเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโตเกียวด้วย
รัฐบาลคาดว่าจะมีวัคซีนเพียงพอฉีดให้กับ ‘ทุกคนที่มีสิทธิ์’ ภายในสิ้นเดือนก.ย.นี้ หลังได้เจรจากับผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่อย่าง Pfizer เพื่อสั่งวัคซีนเพิ่มเติม
รายงานข่าวระบุว่า ญี่ปุ่นจะได้รับวัคซีนจาก Pfizer จำนวน 144 ล้านโดส และจาก Moderna อีกราว 50 ล้านโดส คาดว่าจะเพียงพอสำหรับฉีดให้กับประชาชนราว 110 ล้านคนในญี่ปุ่นที่อายุ 16 ปีขึ้นไป
ล่าสุดญี่ปุ่นมียอดผู้ติดเชื้อสะสมราว 5.5 เเสนคน มียอดเสียชีวิต 9,760 คน โดยพื้นที่ในโตเกียว โอซาก้า เกียวโต และเฮียวโงะ เริ่มใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งที่ 3 ในวันนี้ไปจนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม รวม 17 วัน ซึ่งมีมาตรการสั่งปิดร้านอาหารที่เสิร์ฟแอลกอฮอล์ ร้านคาราโอเกะเเละโรงภาพยนตร์เป็นการชั่วคราว
ส่วนห้างสรรพสินค้า ยังสามารถเปิดได้เฉพาะส่วนขายอาหารและของใช้ในชีวิตประจำวัน ขณะที่รถโดยสารสาธารณะจะปิดให้บริการเร็วขึ้นในวันทำงาน และมีการปรับลดเที่ยวบริการในช่วงวันหยุด
]]>
รอยเตอร์รายงานว่า ทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุขญี่ปุ่นมีความวิตกว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่จะทำให้เกิดการระบาดระลอก 4 ขึ้นในประเทศที่ญี่ปุ่นจะเริ่มเปิดฉากการแข่งขันกีฬาโตเกียวโอลิมปิกที่ทางญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพในอีก 107 วันข้างหน้า ซึ่งการแจกจ่ายวัคซีนป้องกันยังอยู่ในช่วงเริ่มแรกเท่านั้น
ทั้งนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดโอซาก้า ฮิโรฟูมิ โยชิมูระ (Hirofumi Yoshimura) ได้ออกคำสั่งยกเลิกพิธีวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกตามท้องถนนไป พร้อมเสริมต่อว่า ในเวลานี้ระบบสาธารณสุขของทางจังหวัดใกล้จุดที่จะแบกรับต่อไปไม่ไหว หลังจากที่การติดเชื้อที่มาจากสายพันธุ์ใหม่ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อในกลุ่มคนรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก
“นี่เกือบเป็นที่แน่ชัดว่าสายพันธุ์ไวรัสกลายพันธุ์นี้มีการติดเชื้อสูงที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว” โยชิมูระกล่าวในการแถลงข่าวผ่านทางโทรทัศน์
และเสริมต่อว่า “ผมต้องการขอเชิญชวนให้ประชาชนชาวโอซาก้าทุกคนอย่าออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น ระบบสาธารณสุขกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่ตรึงเครียดเป็นอย่างมาก”
ซึ่งสำหรับการวิ่งคบเพลิงโอลิมปิกในส่วนของจังหวัดโอซาก้าจะเกิดขึ้นภายในสวนสาธารณะรำลึก 70 ปีพื้นที่ 260 เฮกต้า
และในแถลงการณ์ยังกล่าวต่อว่า “ทางคณะกรรมการจัดงานโตเกียวจะใช้ทุกมาตรการที่จำเป็น เพื่อประกันสภาพแวดล้อมให้มีความปลอดภัยผู้ถือคบเพลิงทุกคนที่ต้องการวิ่งอยู่ที่นั่น”
โดยกำหนดการวิ่งคบเพลิงของจังหวัดโอซาก้าจะเกิดขึ้นในวันที่ 13 เม.ย – 14 เม.ย
รอยเตอร์รายงานว่า จังหวัดโอซาก้ามีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในวันพุธที่ 7 เม.ย. ที่ 878 คน ติดต่อกันเป็นวันที่สองแล้ว ซึ่งเคสหนักของผู้ป่วย COVID-19 ครอบคลุมเตียงผู้ป่วย 70% ของจำนวนทั้งหมดในภูมิภาค
ซึ่งโอซาก้า และจังหวัดจังหวัดเฮียวโงะ (Hyogo) รวมไปถึงจังหวัดมิยะงิ (Miyagi) ที่อยู่ใกล้เคียงเริ่มมาตั้งแต่วันจันทร์ที่ 5 เม.ย. สำหรับมาตรการเดือนแห่งการล็อกดาวน์เพื่อต้องการควบคุมการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่
ทั้งนี้ก่อนหน้าในวันอาทิตย์ที่ 4 เม.ย. นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น โยชิฮิเดะ ซูงะ กล่าวว่ามาตรการต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงอนุญาตให้รัฐบาลท้องถิ่นสั่งให้ภัตตาคารร้านอาหารสามารถปิดเร็วขึ้น พร้อมกับค่าปรับจำนวนมหาศาลสำหรับผู้ที่ละเมิดสามารถขยายได้ตามความเหมาะสม
]]>เจ้าหน้าที่สาธารณสุขวิตกไวรัสกลายพันธุ์อาจก่อให้เกิดการระบาดรอบ 4 ในญี่ปุ่น โดยเหลือเวลาอีกเพียง 107 วันก่อนที่ “โตเกียว โอลิมปิก” จะเริ่มขึ้น ขณะที่การฉีดวัคซีนของญี่ปุ่นก็ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น
ฮิโรฟูมิ โยชิมูระ ผู้ว่าราชการจังหวัดโอซาก้า จึงประกาศด่วนเพื่อควบคุมการติดเชื้อ โดยการวิ่งคบเพลิงที่เตรียมจะจัดขึ้นบนถนนสาธารณะจะต้องถูกยกเลิกไปก่อน และจะให้นักวิ่งคบเพลิงวิ่งในสวนสาธารณะ Expo’70 Commemorative แทนโดยไม่ให้มีผู้ชม เนื่องจากระบบสาธารณสุขกำลังอยู่ในภาวะกดดัน หลังไวรัสระบาดในหมู่คนหนุ่มสาวจนจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งสูง
“เกือบจะแน่ใจได้เลยว่าไวรัสกลายพันธุ์ชนิดนี้แพร่ระบาดได้เร็วยิ่งขึ้น และมีอัตราติดเชื้อสูง” โยชิมูระกล่าวระหว่างประกาศผ่านโทรทัศน์ “ผมร้องขอต่อประชาชนชาวโอซาก้าให้ยับยั้งการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น เพราะระบบสาธารณสุขของเรากำลังอยู่ในภาวะกดดันอย่างมาก”
จังหวัดโอซาก้าเพิ่งประกาศตัวเลขผู้ติดเชื้อมากกว่า 800 รายวันนี้ (7 เม.ย. 2021) ถือเป็นยอดผู้ติดเชื้อสูงสุดภายในวันเดียวต่อเนื่องเป็นวันที่สอง และทำให้เคสผู้ติดเชื้อรุนแรงพักรักษาตัวเป็นสัดส่วน 70% ของเตียงโรงพยาบาลที่รับได้ในภูมิภาคนี้แล้ว
โอซาก้า และจังหวัดใกล้เคียงคือ เฮียวโงะ และ มิยางิ จะเริ่มมาตรการล็อกดาวน์ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 12 เม.ย.นี้ หลังจากพื้นที่โอซาก้ามีผู้ติดเชื้อมากจนแซงหน้าพื้นที่โตเกียวไปแล้ว อย่างไรก็ตาม โยชิฮิเดะ ซูงะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวว่า หากสถานการณ์ในโตเกียวหรือจังหวัดอื่นจำเป็นต้องล็อกดาวน์ ก็จะใช้มาตรการเดียวกับโอซาก้าด้วย
สำหรับความคืบหน้าการฉีดวัคซีนของญี่ปุ่น ถือว่าค่อนข้างช้าหากเทียบกับประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว โดยมีผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดสเพียง 1 ล้านคน ตั้งแต่เริ่มฉีดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของประชากรประเทศ ขณะที่ประเทศข้างเคียงอย่าง เกาหลีใต้ ฉีดไปแล้วเกือบ 2% ของประชากร แม้ว่าจะเริ่มการฉีดทีหลังญี่ปุ่นก็ตาม
]]>ศูนย์ตรวจ COVID-19 ดังกล่าว จะตั้งอยู่ในบริเวณใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติฮาเนดะและนาริตะ และท่าอากาศยานนานาชาติคันไซในเมืองโอซาก้า เพื่อรองรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยคาดว่าจะเปิดทำการได้อย่างเร็วที่สุดภายในฤดูร้อนนี้
ปัจจุบันญี่ปุ่นมีศูนย์กักกันโรคในสนามบิน ที่สามารถตรวจหาเชื้อแบบ Polymerase Chain Reaction (PCR) ได้เฉลี่ยราว 1,000 ตัวอย่างต่อวัน ซึ่งต้องรอผลตรวจประมาณ 1-2 วัน เเต่ศูนย์ตรวจเเห่งใหม่ที่กำลังจะสร้างนี้ จะเพิ่มจำนวนการตรวจ PCR เป็นมากกว่า 4,000 ตัวอย่างต่อวัน โดยหน่วยงานสาธารณสุขญี่ปุ่น หวังว่าจะช่วยร่นเวลาการตรวจเชื้อให้เหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมง ด้วยการใช้วิธีการใหม่
ขณะเดียวกัน ตั้งเป้าว่าศูนย์ตรวจเชื้อในเมืองใหญ่เหล่านี้ จะขยายไปตรวจเชื้อให้กับผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศได้ ซึ่งรัฐบาลกำลังพิจารณาออกใบรับรองให้แก่ผู้ที่มีผลตรวจเชื้อเป็นลบด้วย
ญี่ปุ่น ออกมาตรการจำกัดการเดินทางที่บังคับใช้มาตั้งแต่เดือนก.พ. เพื่อสกัดการระบาดของ COVID-19 เเละยังคงเดินหน้าควบคุมพรมแดนกับหลายประเทศ โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้เพิ่มอีก 18 ประเทศ เช่น แอลจีเรีย คิวบา และอิรัก เข้าไปในรายชื่อประเทศที่ถูกแบนการเดินทาง ทำให้จำนวนรวมเพิ่มเป็น 129 ประเทศ
จากข้อมูลจากรัฐบาลระบุว่า ในเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา มีชาวต่างชาติที่เดินทางมาญี่ปุ่นเพียง 1,700 คน น้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ และลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วถึง 99.9%
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่น กำลังเจรจากับหลายประเทศเพื่อลดข้อจำกัดในการเดินทางร่วมกัน สำหรับนักธุรกิจที่ปลอดเชื้อ และมีการระบุแผนการเดินทางให้ชัดเจนในระหว่างที่พำนักในญี่ปุ่น โดยคาดว่าประเทศที่ญี่ปุ่นจะคลายล็อกให้นั้น มีไทยและออสเตรเลีย ขณะที่แหล่งข่าวทางการทูต เปิดเผยเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลอาจเริ่มเจรจากับไต้หวันและบรูไน ภายในเดือนนี้ด้วย
ทั้งนี้ เมื่อช่วงเมื่อปลายเดือนที่เเล้ว มีการเดินทางจากญี่ปุ่นไปเวียดนามบางส่วน ด้วยเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ
ที่มา : japantimes
]]>
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ ออกคำสั่งยกเลิกครอบคลุม 39 จังหวัดจากทั้งหมด 47 จังหวัดทั่วประเทศ เว้นแต่กรุงโตเกียว และเมืองโอซาก้า ยังคงใช้มาตรการประกาศภาวะฉุกเฉินต่อไปจนกว่าจะสามารถควบคุม COVID-19 ได้
“ในขณะที่การควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้มากที่สุดด้วยการกระทำที่เสมือนว่าไวรัสกำลังอยู่รอบตัวเรา และเราในเวลานี้จะกลับคืนสู่ชีวิตการทำงานตามปกติและการใช้ชีวิตประจำวัน” อาเบะแถลง
รอยเตอร์รายงานว่า 39 จังหวัดที่ถูกสั่งยกเลิกคิดเป็นสัดส่วนประชากร 54% ของทั้งหมดทั่วประเทศ ขณะที่ภูมิภาคกรุงโตเกียวคิดเป็น 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจทั้งหมด
รัฐบาลญี่ปุ่นรายงานถึงตัวเลขผู้ป่วยที่ลดลง 20% ในระยะเวลา 9 วันที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 7 พ.ค. อยู่ที่ 4,449 และที่กรุงโตเกียวมีเคส COVID-19 ตกลงไปเหลือแค่ 10 คนในวันที่ 13 พ.ค.
ทำให้ตอนนี้ญี่ปุ่นมีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมอยู่ที่ 16,049 คน เสียชีวิต 678 คน
]]>CNN รายงานว่า ในการแถลงข่าว COVID-19 ที่เมืองโอซาก้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศในวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา สร้างความไม่พอใจให้กับคนจำนวนมากหลังจากนายกเทศมนตรีของเมือง อิชิโร มัตซุย (Ichiro Matsui) ออกมาใช้คำพูดเชิงดูหมิ่นทางเพศว่า เห็นสมควรให้ผู้ชายออกไปหาซื้อเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ร้านมากกว่า เนื่องจากผู้หญิงใช้เวลามากกว่าเมื่ออยู่ภายในร้าน ท่ามกลางความพยายามของเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นที่ต้องการจำกัดฝูงชนภายในร้านค้าระหว่างวิกฤตโรคระบ่าด
“ผู้หญิงมักใช้เวลาที่ยาวนานกว่าในร้านขายของชำ เป็นเพราะเธอเหล่านั้นมักจะสำรวจสินค้าประเภทต่างๆ และชั่งใจว่าจะซื้อสิ่งไหนดีเพื่อให้คุ้มค่ามากที่สุด”
และเสริมว่า “ขณะที่ผู้ชายจะตรงเข้าไปหยิบสิ่งที่ต้องการในซูเปอร์มาร์เก็ตและจะไม่ใช้เวลานานในนั้น ซึ่งนั้นสามารถหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น”
เวิลด์แบงก์ระบุว่า สตรีคิดเป็น 51% ของประชากรญี่ปุ่นทั้งหมด และอ้างอิงจากดัชนีช่องว่างทางเพศ (gender gap index) ของเวิลด์อิโคโนมิกฟอรัมพบว่า ญี่ปุ่นอยู่ในลำดับที่ 110 จากทั้งหมด 149
หลังจากนายกเทศมนตรีโอซาก้าแสดงความเห็นแล้วทำให้นักข่าวหญิงญี่ปุ่น โชโกะ เอกาวา (Shoko Egawa) ออกมาสวนผ่านทางทวิตเตอร์ว่า “คนที่ไม่รู้เรื่องในชีวิตประจำวันดีพอไม่สมควรจะออกมาแสดงความเห็น”
และมีคนกว่า 3,000 คนได้ร่วมรีทวิตข้อความของนักข่าวหญิง และหนึ่งในนั้นแสดงความเห็นว่า “บางทีมัตซุยอาจไม่เคยไปซื้อของด้วยตัวเองเสียด้วยซ้ำ” และคนอื่นแสดงความเห็นว่า โศกนาฏกรรมของญี่ปุ่นคือ การมีนักการเมืองเช่น นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ และรองนายกฯ ทาโร อาโซะ (Taro Aso) ที่ออกมายอมรับว่าไม่เคยรู้เรื่องในชีวิตประจำวันเลย
]]>เพจ Japan Guide Book กล่าวว่า ป้ายกูลิโกะในย่านโดทงโบริ ย่านท่องเที่ยวและการค้าชื่อดังของเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ตอบรับนโยบายกักตัว งดเว้นการออกไปข้างนอก ด้วยการปิดไฟที่ป้ายกูลิโกะสัญลักษณ์ของย่านนี้เพื่อทำให้ผู้คนไม่รวมตัวถ่ายภาพ อันจะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยปิดไฟมาตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน และยังไม่มีกำหนดเปิด
ตามปกติแล้วไฟที่ป้ายกูลิโกะจะเปิดขึ้นหลังจากพระอาทิตย์ตก 30 นาที ยาวไปจนถึงเที่ยงคืน เปิดเช่นนี้เป็นประจำทุกวัน แต่ครั้งก่อนหน้านี้ที่มีการปิดไฟก็คือ หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ภูมิภาคโทโฮคุ ใน 2011 ซึ่งครั้งนั้นได้ปิดไฟนานถึงหนึ่งเดือน การปิดไฟในครั้งนี้จึงถือเป็นครั้งล่าสุดในรอบ 9 ปี
ป้ายโฆษณากูลิโกะนี้ เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กทางการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเมืองโอซาก้า ได้มีการติดตั้งป้ายโฆษณาครั้งแรกตั้งแต่ ปี 1935 ซึ่งป้ายกูลิโกะที่ติดตั้งในตอนแรกมีความสูงถึง 33 เมตร และได้ทำการประชาสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่องหลายรุ่นด้วยการออกแบบที่น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น รุ่นที่ 2 เป็นรุ่นที่มีเวทีพิเศษ และรุ่นที่ 3 เป็นรุ่นหอคอยนีออนที่มีน้ำพุพุ่งออกมา จนมาถึงรุ่นที่ 6 ซึ่งเป็นป้ายกูลิโกะในปัจจุบันที่เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED
สำหรับประเทศญี่ปุ่นนั้นก็ยังมีรายงานตัวเลขผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะ ของญี่ปุ่นก็ได้ประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินให้มีผลครอบคลุมทั้งประเทศ จากที่ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปแล้วโดยครอบคลุมเพียง 7 จังหวัดสำคัญคือ กรุงโตเกียว โอซาก้า ไซตามะ คานากาวะ ชิบะ ฮียวโงะ และฟุกุโอกะ ซึ่งเป็นพื้นที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง
]]>