ขยะ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 03 Oct 2022 08:33:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จะหยุดวิกฤต ‘ขยะ’ อย่างไรในมุมมอง ‘สิงห์ วรรณสิงห์’ จากงาน Sustainability Expo 2022 https://positioningmag.com/1402733 Tue, 04 Oct 2022 10:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402733

ถือเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแล้วสำหรับ Sustainability Expo 2022 (SX2022) หรือมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียนที่ได้ 5 องค์กรธุรกิจ ได้แก่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC, บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ผนึกกำลังกันพัฒนา โดยภายในงานก็มีการจัดกิจกรรมมากมาย และหนึ่งในความน่าสนใจคือ การพูดคุยถึงแนวทางการสร้างความยั่งยืนจาก Speaker ที่มีชื่อเสียงในวงการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘สิงห์ วรรณสิงห์’


จากทำคลิปกำจัดขยะ สู่การศึกษาอย่างจริงจัง

เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จัก สิงห์ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล จากรายการ เถื่อน Travel ที่พาไปท่องเที่ยวในสถานที่ที่หลายคนอาจไม่คิดที่จะไป แต่หลังจากที่สิงห์ได้เดินทางไปทั่วโลกทำให้เขาได้เห็น ปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม ทำให้เริ่มหันมันศึกษาอย่างจริงจัง

“ความตั้งใจตอนแรกคือ ว่าจะเดินทางไปทั่วโลกเพื่อไปสร้างทำสารคดีเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนทุกมุมโลกเลย แต่โดน COVID-19 เบรกไว้ เลยหันมาดูว่าในไทยมีปัญหาวิกฤตอะไรบ้าง ซึ่งก็มีเยอะมาก เพราะมันแบ่งซอยย่อยเป็นหลายหัวข้อมาก” วรรณสิงห์ อธิบาย

วรรณสิงห์ เล่าว่า สาเหตุที่เขาหันมาศึกษาเรื่อง วิกฤตขยะ อย่างจริงจังเป็นเพราะเคยถูกจ้างให้ทำวิดีโอเกี่ยวกับการ สถานีการจัดการขยะอ่อนนุช ว่า แยกไปก็เทรวม มันจริงไหม จากนั้นก็มีโอกาสได้ทำสารคดีเกี่ยวกับขยะเรื่อยมา จนในที่สุดก็ตัดสินใจ เรียนปริญญาโทด้านการจัดการขยะพลาสติกทางทะเล


ไทยติด Top 10 ปล่อยขยะพลาสติกลงทะเล

ที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยติด อันดับ 6 ของโลก ที่ปล่อยขยะพลาสติกลงทะเล แม้ตอนนี้อันดับจะลดลงเป็นที่ 9-10 แต่ก็ยังถือว่าติด Top Ten ของโลกอยู่ดี ซึ่งปัญหาไม่ได้เกิดจากการ มีขยะพลาสติกเยอะกว่าประเทศอื่น แต่จัดการได้แย่กว่าประเทศอื่นมาก

“ปัญหาของไทยไม่ใช่การปล่อยคาร์บอน แต่เป็นปัญหาขยะทางทะเล เพราะมลพิษของมันกระจายไปทั่วโลก ซึ่งถ้าดูเฉพาะการปล่อยคาร์บอนของไทยจะประมาณ 3.7-3.8 ตันต่อหัวต่อปี จากค่าเฉลี่ยโลกที่ 4 ตันต่อคนต่อปี ส่วนประเทศที่ปล่อยเยอะ ๆ จะเป็นประเทศในตะวันออกกลางซึ่งปล่อยกันปีละ 20 ตันต่อคนต่อปี หรือ อเมริกาที่ปล่อยปีละ 16 ตันต่อคนต่อปี”


ขยะเป็นปัญหาปัญหาเชิงโครงสร้างมากกว่าพฤติกรรม

แน่นอนว่าเรื่อง ขยะ มีความละเอียดอ่อนในการในการจัดการดูแลเพราะมีแยกเยอะมาก ขณะที่หลายคนมองเป็น ปัญหาเชิงพฤติกรรม คือ คนไม่แยกขยะ, คนทิ้งไม่เป็นที่, คนไม่มีจิตสำนึก แต่จากข้อมูลที่ได้เห็นเรื่องขยะกลับเป็น ปัญหาเชิงโครงสร้างและระบบ ไม่ว่าจะเรื่องการจัดการบริหารจัดการ, เรื่องของกฎหมายรองรับ, เรื่องของงบประมาณและเงินทุน และการนำเทคโนโลยีต่างประเทศที่นำมาประยุกต์ใช้

“แน่นอนว่าในระบบจัดการขยะมันมีเรื่องพฤติกรรมมนุษย์รวมอยู่ในนั้น แต่มันไม่ใช่เป็นส่วนใหญ่อย่างที่เราเข้าใจกัน เรามักจะคิดว่าเราต้องแก้ที่พฤติกรรม แก้ที่จิตสำนึก ผมว่ามันเป็นส่วนที่น้อยมากในการแก้ปัญหาวิกฤตขยะ”

ปัจจุบัน การจัดการขยะทางอบต. อบจ. จัดการกันเอง ส่วนในแง่ของกฎหมายรองรับมีแค่ พ.ร.บ รักษาความสะอาดฯ พ.ร.บ.อนามัย ไม่ให้ไปปนเปื้อนในที่สาธารณะ แต่ไม่มีกฎหมายระดับชาติ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้มันไม่ได้มีมาตรฐานระดับชาติ แล้วไม่มีงบประมาณมากพอ ที่จะทำให้ทุกท้องถิ่นสามารถทำได้ระดับที่ดีเท่ากัน นอกจากนี้ ภาคธุรกิจก็ต้องรับผิดชอบด้วย ใครที่ผลิตอะไรก็ควรรับผิดชอบจัดการสิ่งเหล่านั้นให้จบสุดทาง

“พอจัดการขยะต้นทางไม่ดี สุดท้ายไปลงบ่อฝังกลบ หรือในบางจังหวัดไม่มีรถขยับไปเก็บด้วยซ้ำ ชาวบ้านก็ไม่รู้จะทำไง ก็เผาทิ้ง กลายเป็นเกิดมลพิษในบนดิน เป็นมลพิษในอากาศ หรือในกรุงเทพที่การจัดการขยะไปไม่ถึงเขาก็ทิ้งลงน้ำ จะเห็นว่ามีเตียงเต็มไปหมด”


ระบบดีจิตสำนึกจะตามมา

หากสามารถสร้างระบบที่ดี มีแรงจูงใจทางเศรษฐกิจเหมือนที่ต่างประเทศมี ก็จะช่วย เปลี่ยนพฤติกรรม โดยคนไทยทุกคนรู้ว่าการแยกขยะนั้นดี แต่ 9 ใน 10 คน ไม่ศรัทธาเรื่องแยกขยะ เพราะยังคิดว่าแยกไปก็เทรวม ซึ่งตอนนี้มันมีแค่ระบบของเอกชน ไม่มีระบบของภาครัฐในการรับรอง ดังนั้น ไทยต้องมีโครงสร้างทางกฎหมายที่บังคับใช้ มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สร้างแรงจูงใจ นอกจากนี้ ต้องให้การศึกษาประชาชนในเรื่องเหล่านี้ เริ่มตั้งแต่มีหลักสูตรในโรงเรียนเรื่องการแยกขยะ

“การแยกต้นทางจะนำไปสู่ต้นทุนปลายทางในการจัดการที่ต่ำลงอย่างมหาศาล ซึ่งจุดเริ่มต้นง่าย ๆ คือ แยกเศษอาหารออกจากขยะที่เหลือ การจัดการจะง่ายขึ้นเยอะมาก แต่มันเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะการปรับระบบต่างหากที่เป็นสิ่งทำให้อิมแพ็คมากกว่า”


จัดการขยะดี ๆ สร้างรายได้กว่าที่คิด

วรรณสิงห์ ยกตัวอย่าง ประเทศสวีเดน มีโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ซึ่งได้ทั้งพลังงานและกำจัดขยะ และถ้าจัดการขี้เถ้าดี ๆก็ไม่ทำให้เกิดมลพิษลงสู่สิ่งแวดล้อม โดยทางสวีเดนมีขยะน้อยจนต้องนำเข้าขยะมาเผาเพราะทำกำไรได้ หรือที่เมือง คามิคาสึ ของญี่ปุ่นก็มีการแยกขยะเป็น 37 ประเภท โดยรีไซเคิลทุกอย่างเอากลับมาใช้ หรืออย่างกรุงเทพ ก็มีการนำเอาขยะเศษอาหารไปหมักเป็นปุ๋ย ซึ่งปัจจุบัน 15-50% ของขยะทั้งหมดในกรุงเทพเป็นขยะเศษอาหาร

“หลายคนก็ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วขยะเป็นเงินเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก อลูมีเนียม แก้ว มันกลับเข้ามาสู่ระบบได้ อย่างกระป๋องอลูมิเนียมก็ราคาดีมากกิโลกรัมละ 50-60 บาท แล้วก็ขยะรีไซเคิลที่ไม่ถูกนำมารีไซเคิลก็เป็นการสูญเสียเชิงทรัพยากร ตอนนี้คนเดียวที่เห็นคุณค่าเหล่านี้คือซาเล้ง”

วรรณสิงห์ ทิ้งท้ายว่า ปัญหาบนโลกนี้อีกมากมายที่มากกว่าขยะ โดยเฉพาะ เรื่องโลกรวน ซึ่งจะเห็นว่าหน้าฝนที่ยาว 6 เดือนนี้ พายุที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ แม้ไทยจะไม่ได้มีผลเยอะนักในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโลก แต่สิ่งที่เมืองไทยควรจะทำคือ ลดขยะ และ เตรียมโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อม กับสภาวะของโลกที่จะเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะเรื่องการผลิตพลังงาน เรื่องของการผลิตอาหาร และเรื่องของโครงสร้างการคมนาคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลกสูงมากในช่วง 10-20 ปีจากนี้ ซึ่งมันเข้ามาใกล้มากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว

]]>
1402733
อังกฤษ เตรียมขยายคำสั่งเเบน ‘จาน-ช้อนส้อมพลาสติก-ถ้วยโฟม’ แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง https://positioningmag.com/1363113 Sat, 20 Nov 2021 06:47:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1363113 รัฐบาลอังกฤษ กำลังเตรียมขยายคำสั่งเเบนจานและช้อนส้อมพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว และถ้วยโฟมโพลีสไตรีน

Reuters รายงานว่า ในอังกฤษมีการใช้จานแบบใช้แล้วทิ้งมากถึง 1,100 ล้านใบ และช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้งอีก 4,250 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากพลาสติกเเละมีเพียง 10% เท่านั้นที่ถูกไปนำรีไซเคิล

หลังจากที่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะมาได้ 12 สัปดาห์ พบว่า ภาคธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภคต่างก็มีความต้องการที่จะก้าวไปสู่ทางเลือกที่ยั่งยืนมากขึ้น

ขณะที่รัฐบาลยังเรียกร้องให้มีกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เกี่ยวกับการจัดการกับแหล่งมลพิษจากพลาสติกอื่นๆ อย่างเช่น ทิชชูเปียก ไส้กรองยาสูบ ถุงชาและถ้วยแบบใช้แล้วทิ้งประเภทอื่นๆ

การห้ามใช้พลาสติกในรายการเหล่านี้อาจเป็นมาตรการเชิงนโยบายในอนาคต

George Eustice รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอังกฤษกล่าวว่า สังคมมีการรับรู้ถึงความเสียหายต่อสิ่งเเวดล้อมที่เกิดจากพลาสติก โดยเฉพาะสัตว์ทะเลมากขึ้น เราจึงต้องการที่จะลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์และห้ามใช้พลาสติกในรายการที่เกี่ยวข้องกับการทิ้งขยะ

เราได้สั่งห้ามใช้หลอดพลาสติก ก้านชงกาแฟพลาสติกและก้านสำลีพลาสติกไปแล้ว และตอนนี้วางแผนที่จะขยายไปห้ามใช้ช้อนส้อม ก้านลูกโป่งที่สามารถใช้วัสดุอื่นแทนได้ เช่น ไม้

ทั้งนี้ การห้ามจำหน่ายหลอดพลาสติก ก้านชงกาแฟพลาสติกและก้านสำลีพลาสติก มีผลบังคับใช้ในอังกฤษเมื่อปีที่แล้ว

โดยมาตรการบังคับให้จ่ายเงินค่าถุงพลาสติกหูหิ้วแบบใช้แล้วทิ้งในอังกฤษ สามารถลดการใช้ถุงดังกล่าวในซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ ลงถึง 95% ตั้งแต่ปี 2015

ด้านฝ่ายรัฐบาลท้องถิ่นของสกอตแลนด์ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ ก็มีหน้าที่รับผิดชอบต่อนโยบายของตนเองเกี่ยวกับขยะพลาสติกเช่นเดียวกัน

 

ที่มา : Reuters

]]>
1363113
‘อินเดีย’ Go Green! เตรียมแบน ‘พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง’ ในปีหน้า หวังแก้ปัญหามลพิษ https://positioningmag.com/1356096 Mon, 11 Oct 2021 10:11:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356096 หลังจากมีมติในปี 2019 เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกในประเทศ ในที่สุดรัฐบาลกลางของอินเดียก็เตรียมประกาศห้ามไม่ให้ใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use Plasstic) โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2022 โดยมาตรการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการลดมลภาวะ แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าไม่ง่ายและอาจจะได้ผลมากพอ

อินเดียเตรียมแบนการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง อาทิ ถุงหูหิ้ว, ถุงบรรจุภัณฑ์อาหาร ขวดและหลอดที่ใช้เพียงครั้งเดียวทิ้ง แต่นักวิเคราะห์มองว่า การบังคับใช้ จะเป็นกุญแจสำคัญ และมองว่าอินเดียยังต้องแก้ไข ปัญหาเชิงโครงสร้างที่สำคัญ เช่น นโยบายในการควบคุมการใช้พลาสติกทางเลือก, การปรับปรุงการรีไซเคิล และการจัดการการแยกขยะที่ดีขึ้น ไม่เช่นนั้นอาจจะได้ผลไม่ดีพอ

“พวกเขาต้องเสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบในพื้นที่เพื่อให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตาม ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการบังคับใช้การแจ้งเตือนนี้ทั่วทั้งอุตสาหกรรม” Swati Singh Sambyal ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะอิสระในนิวเดลีกล่าวกับ CNBC  

Anoop Srivastava ผู้อำนวยการ Foundation for Campaign Against Plastic Pollution องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อจัดการกับขยะพลาสติกในอินเดีย เปิดเผยว่า ขยะพลาสติกประมาณ 60% ในอินเดียถูกรวบรวมไปกำจัดหรือรีไซเคิล ส่วนอีก 40% หรือ 10,376 ตัน ยังคงไม่ถูกเก็บ

ประเทศต่าง ๆ รวมถึงอินเดียกำลังดำเนินการเพื่อลดการใช้พลาสติก โดยส่งเสริมการใช้วัสดุทางเลือกที่ย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ อาทิ ผู้ขายอาหาร เครือร้านอาหาร และธุรกิจในท้องถิ่นบางแห่งเริ่มนำ ช้อนส้อมที่ย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ มาใช้งาน หรือนำ ถุงผ้า มาใช้ แต่ในอินเดีย ยังไม่มีแนวทางสำหรับการใช้พลาสติกทดแทน และนั่นอาจเป็นปัญหาเมื่อการห้ามใช้พลาสติกมีผล

ดังนั้น อินเดียจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อส่งเสริมทางเลือกอื่น นอกจากนี้ กฎระเบียบใหม่ยังขาดแนวทางในการรีไซเคิล แม้ว่าขยะพลาสติกในอินเดียประมาณ 60% จะถูกนำไปรีไซเคิล แต่ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าขยะพลาสติกที่มากเกินไปนั้นเกิดจากการ ‘ดาวน์ไซเคิล’ ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่พลาสติกคุณภาพสูง ถูกรีไซเคิลเป็นพลาสติกใหม่ที่มีคุณภาพต่ำกว่าเดิม เช่น การเปลี่ยนขวดพลาสติกเป็นโพลีเอสเตอร์สำหรับเสื้อผ้า

“ตามปกติแล้ว พลาสติกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 7-8 ครั้งก่อนที่จะส่งไปยังโรงเผาขยะ แต่ถ้าคุณดาวน์ไซเคิล พลาสติกที่ได้จะใช้ได้ 1-2 ครั้งก็ต้องกำจัดทิ้ง นอกจากนี้ การแยกขยะก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

นักสิ่งแวดล้อมมักเห็นพ้องกันว่าการห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งนั้นไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากความคิดริเริ่มอื่น ๆ ขณะที่ข้อบังคับของรัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดการรวบรวมและรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น เช่น การควบคุมผู้ผลิตและขอให้พวกเขาทำเครื่องหมายประเภทของพลาสติกที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน เพื่อให้สามารถรีไซเคิลได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ควรลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาทางเลือกที่ใช้แทนพลาสติกด้วย

“อินเดียเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่อ่อนไหวต่อราคา ซึ่งพลาสติกทางเลือกสามารถผลิตได้จำนวนมากและขายได้ในราคาที่เหมาะสม ในอดีตรัฐต่าง ๆ ของอินเดียได้ออกข้อจำกัดต่าง ๆ เกี่ยวกับถุงพลาสติกและช้อนส้อม แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้บังคับใช้อย่างเคร่งครัด”

อย่างไรก็ตาม การสั่งห้ามครั้งล่าสุดถือเป็นก้าวสำคัญสู่การต่อสู้ของอินเดียในการลดขยะทางทะเล และช่วยฟื้นฟูสภาพอากาศ และสอดคล้องกับวาระด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง โดยอินเดียกำลังอยู่ในเส้นทางที่จะบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามข้อตกลงของปารีส และเสริมว่ามีความมุ่งมั่นที่จะลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก 33% เป็น 35% ภายในปี 2030

Source

]]>
1356096
ANA สายการบินใหญ่สุดในญี่ปุ่น เลิกใช้ ‘พลาสติก’ เสิร์ฟอาหาร มุ่งใช้ภาชนะย่อยสลายได้ https://positioningmag.com/1329375 Mon, 26 Apr 2021 13:16:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329375 All Nippon Airways (ANA) กำลังจะเป็นสายการบินเเรกของญี่ปุ่นที่นำวัสดุย่อยสลายได้มาใช้เป็นภาชนะใส่อาหารที่เสิร์ฟให้แก่ผู้โดยสาร ขับเคลื่อนนโยบายรักษ์สิ่งเเวดล้อม

โดย ANA จะเริ่มใช้ภาชนะเสิร์ฟอาหารที่ทำจากชานอ้อยในที่นั่งชั้นประหยัดของเที่ยวบินระหว่างประเทศ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป คาดว่าจะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ถึง 317 ตันต่อปี หรือคิดเป็น 30% ของพลาสติกใช้แล้วทิ้งของบริษัทในช่วงปีงบประมาณ 2019

ส่วนเที่ยวบินในประเทศนั้น จะยังมีการใช้ภาชนะที่เป็นกล่องกระดาษอยู่ ซึ่งขณะนี้สายการบินยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนเป็นภาชนะจากชานอ้อยด้วยหรือไม่

ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปเริ่มจำกัดการใช้พลาสติกแล้ว ดังนั้นทางสายการบินจึงต้องดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อเตรียมตัวล่วงหน้าเจ้าหน้าที่ของ ANA กล่าวกับ Kyodo News

ภาพเปรียบเทียบระหว่างภาชนะเเบบเดิม (ขวา) เเละภาชนะเเบบใหม่ที่ทำมาจากชานอ้อยที่ย่อยสลายได้ (ซ้าย) FB : All Nippon Airways

ANA เริ่มใช้ช้อนส้อมที่ทำจากไม้ และหลอดทำจากพลาสติกย่อยสลายได้ มาตั้งเเต่ปี 2020 เเละมีนโยบายที่จะลดขยะพลาสติกต่อไปในระยะยาว เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตภาชนะและการเผาทำลายขยะพลาสติก พร้อมกับการหาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เเละเป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม

นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะ ประกาศว่า ญี่ปุ่นจะบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ให้เป็น ‘ศูนย์’ ภายในปี 2050 โดยรัฐบาลหวังจะทยอยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดลง 46% ภายในปี 2030

 

 

ที่มา : Kyodonews , Japantoday

]]>
1329375
นักศึกษาเกาหลีใต้ ปิ๊งไอเดียลดขยะ สร้าง “เก้าอี้รีไซเคิล” จากหน้ากากอนามัยใช้เเล้ว https://positioningmag.com/1310053 Fri, 11 Dec 2020 11:48:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310053 การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้หน้ากากอนามัยกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้คนทั่วโลกต้องสวมใส่ เหล่านี้ทำให้เกิดขยะขึ้นมหาศาลเช่นกัน

นักศึกษาชาวเกาหลีใต้นามว่าคิม ฮานึลปิ๊งไอเดีย แก้ปัญหาขยะพลาสติกที่เกิดจากหน้ากากอนามัยแบบใช้ครั้งเดียว ด้วยการนำมารีไซเคิลทำเป็นเก้าอี้

เขาเริ่มตั้งกล่องรับบริจาคหน้ากากอนามัยใช้แล้ว ที่มหาวิทยาลัยศิลปะและการออกเเบบในเมืองอึยวัง ทางตอนใต้ของกรุงโซล เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยสามารถรวบรวมหน้ากากใช้แล้วได้ถึง 10,000 ชิ้น และยังได้รับบริจาคหน้ากากใหม่เเต่ไม่ได้มาตรฐานกว่า 1 ตันจากโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย 

เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา คิมได้นำหน้ากากที่ใช้แล้วไปเก็บไว้ในห้องอย่างน้อย 4 วัน หลังจากนั้นจึงเริ่มขั้นตอนตัดสายรัดและเส้นลวดบนหน้ากาก ใช้ปืนเป่าลมร้อนใส่หน้ากากที่อยู่ในแท่นพิมพ์ แล้วหลอมละลายหน้ากากด้วยอุณหภูมิสูงกว่า 300 องศาเซลเซียส

จนในที่สุดก็ได้เก้าอี้สตูลเเบบ 3 ขาที่มีความสูง 45 เซนติเมตร ซึ่งทำมาจากหน้ากากอนามัยหลากหลายสีสัน เพื่อนำไปจัดแสดงในงานนิทรรศการจบการศึกษาของเขา

โดยการทำเก้าอี้รีไซเคิลขึ้นมา 1 ตัว นั้นจะต้องใช้หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้ง ราวๆ 1,500 ชิ้น

ต่อไป เขาตั้งใจว่าจะทำเฟอร์นิเจอร์ประเภทอื่นๆ อีก เช่น เก้าอี้ โต๊ะหรือหลอดไฟจากหน้ากากอนามัยใช้แล้ว พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลเเละบริษัทเอกชนต่างๆ ตระหนักถึงการนำหน้ากากอนามัยมารีไซเคิลเพื่อสิ่งเเวดล้อม โดยเเนะว่าควรจะตั้งจุดรับบริจาคต่างๆ ทั่วประเทศ

ทั้งนี้ ในเดือนกันยายนเเค่เดือนเดียวเกาหลีใต้ผลิตหน้ากากอนามัย สำหรับใช้ในประเทศขึ้นมามากกว่าพันล้านชิ้น

อ่านบทสัมภาษณ์เเละดูภาพเพิ่มเติมได้ที่ : The face-mask seat: a South Korean student’s attempt to recycle in COVID times 

]]>
1310053
Levi’s สหรัฐฯ ออกเเคมเปญลดมลพิษ “ซื้อคืนยีนส์เก่า” นำเสื้อผ้ามือสอง “ขายต่อ” ออนไลน์ https://positioningmag.com/1300473 Wed, 07 Oct 2020 14:49:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300473 เเบรนด์ยีนส์ยักษ์ใหญ่อย่าง Levi’s ออกแคมเปญใหม่ เสนอให้ลูกค้านำยีนส์ตัวเก่ามาเเลกบัตรของขวัญมูลค่า 5-35 ดอลลาร์ ตามสาขาในสหรัฐฯ จากนั้นจะนำเสื้อผ้ามือสองไปทำความสะอาดเเละขายต่อบนร้านค้าออนไลน์ที่เพิ่งเปิดใหม่อย่าง Levi’s SecondHand

โดยยีนส์เก่าที่ลูกค้านำมาเเลกบัตรของขวัญนั้น จะถูกประเมินราคาตามอายุ สภาพการใช้งานเเละราคาขายปลีกเดิมของสินค้านั้นๆ เบื้องต้นจะอยู่ในเรท 5-35 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 150-1,000 บาท)

Levi’s SecondHand เป็นโครงการล่าสุดของเเบรนด์เสื้อผ้าที่พยายามจะเจาะตลาด Circular Economy เศรษฐกิจเเบบหมุนเวียน ที่กำลังเป็นเทรนด์ในขณะนี้

ปัจจุบันทั่วโลกมีการผลิตเสื้อผ้า เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า ตั้งแต่ปี 2000 – 2014 โดยมีการผลิตสินค้ามากกว่า 1 แสนล้านตัวใน 1 ปี เเต่ทว่าเสื้อผ้าใหม่ที่ขายไปนั้น กลับถูกสวมใส่น้อยครั้งลงกว่าเดิม โดยเฉลี่ยแล้วเสื้อผ้าหนึ่งตัวมีการสวมใส่น้อยลงถึง 36% ทำให้เสื้อผ้าเก่ากลายเป็นขยะเเละถูกนำไปฝังกลบมากขึ้นเเละเป็นมลพิษต่อโลก

ตามรายงานปี 2018 ของ UNECE ระบุว่า อุตสาหกรรมแฟชั่น มีส่วนในการปล่อยคาร์บอนประมาณ 10% ของโลกและ 20% ของน้ำเสียทั่วโลก

Jennifer Sey หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ Levi’s สหรัฐฯ บอกว่าการนำเสื้อผ้ามือสองมาทำความสะอาดเเละซ่อมเเซมจะใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยเเละไม่มีการสีย้อมเพิ่มด้วย พร้อมจูงใจลูกค้าว่า หากซื้อกางเกงยีนส์มือสองผ่าน Levi’s SecondHand จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 80% เเละลดขยะไป 700 กรัม เมื่อเทียบกับการผลิตยีนส์ตัวใหม่

ปัจจุบันสินค้าบนเว็บไซต์ Levi’s SecondHand จะป้ายกำกับว่าเป็นสินค้ามือสองที่ผ่านการใช้แล้ว มีราคาตั้งแต่
30 -150 ดอลลาร์สหรัฐ

ไม่ใช่เเค่ Levi’s เท่านั้นที่เปิดโครงการซื้อคืนเเต่ยังมีเเบรนด์เสื้อผ้าต่างๆ อย่าง Patagonia ที่เปิดตัวโครงการซื้อคืนมาตั้งเเต่ปี 2017 เเละเเบรนด์ The North Face ก็ทำแคมเปญในเเบบเดียวกันตามมา

เทรนด์ของ Resale Market กำลังเติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้ ไปเป็น 5.1 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2023 ตามการวิจัยของ ThredUp และ GlobalData Retail

 

ที่มา : hypebeast , business insider, fastcompany 

]]>
1300473
‘The Body Shop’ เตรียมซื้อขยะพลาสติก ‘600 ตัน’ ไว้ทำบรรจุภัณฑ์ หวังแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม https://positioningmag.com/1299237 Tue, 29 Sep 2020 11:28:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299237 มลพิษจากพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งขยะพลาสติกมากกว่าพันล้านตันจะลงเอยในมหาสมุทรหรือฝังกลบภายในปี 2583 ขณะที่อุตสาหกรรมความงามเป็นหนึ่งในผู้มีส่วนทำให้ขยะพลาสติกจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและไม่มีทางแก้ไขง่าย ๆ แต่ทางเลือกหนึ่งคือ การใช้ขยะพลาสติกเป็นวัตถุดิบ

Mark Davis ผู้ดำเนินโครงการ Community Fair Trade ของบริษัท The Body Shop บริษัทความงามสัญชาติอังกฤษ ระบุว่า ขณะนี้บริษัทได้เริ่มจัดหา ขยะพลาสติกจากคนเก็บขยะในเมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย เพื่อใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Community Fair Trade เพื่อช่วยจัดหาพลาสติกมารีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์

“เราต้องการขวดที่มีคุณภาพดีที่สุด เราต้องการในเวลาที่เหมาะสมในสถานที่ที่เหมาะสม และ … นี่ก็เหมือนกับวิธีที่เราทำงานกับการจัดหาวัตถุดิบอื่น ๆ”

ความคิดริเริ่มนี้ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจ แต่ซัพพลายเออร์วัตถุดิบจำเป็นต้องขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพาผู้ซื้อรายเดียว ส่งผลให้ The Body Shop นั้นพร้อมที่จะ สนับสนุนให้คู่แข่งจัดหาพลาสติกด้วยวิธีนี้ เพื่อให้ซัพพลายเออร์สามารถทำงานร่วมกับลูกค้าหลายรายผ่านองค์กร Plastics For Change

เบื้องต้น The Body Shop รับประกันว่าจะซื้อพลาสติกจำนวนหนึ่งในปีแรกที่ 500 ตัน และภายในปี 2564 ตัวเลขดังกล่าวจะถึง 600 ตัน

“การจัดหาพลาสติกนี้จะต้องใช้เวลากว่าจะบรรลุผล โดยบริษัทคาดว่าอาจต้องใช้เวลาประมาณ 5 ปีในการสร้างห่วงโซ่อุปทานและไปถึงจุดที่หาวัตถุดิบตรงตามความต้องการของ The Body Shop ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นเม็ดพลาสติกและทำเป็นบรรจุภัณฑ์”

Source

]]>
1299237
ร้านค้าทั่วญี่ปุ่น เริ่มเก็บเงิน “ค่าถุงพลาสติก” แล้ว ราคาขึ้นอยู่กับเเต่ละร้าน https://positioningmag.com/1286131 Wed, 01 Jul 2020 12:37:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286131 ร้านค้าปลีกทั่วญี่ปุ่น เริ่มเก็บเงินค่าถุงพลาสติกเเล้ว ตั้งเเต่ 1 .. เป็นต้นไป โดยไม่ได้กำหนดราคาตายตัว ขึ้นอยู่กับเเต่ละร้าน

ร้านค้าทั่วไป รวมถึงสะดวกซื้อ สามารถตัดสินใจได้ว่าจะคิดเงินค่าถุงพลาสติกกับลูกค้าราคาเท่าใด ซึ่งสำนักข่าว AFP รายงานว่า ร้านค้าส่วนใหญ่เก็บค่าถุงพลาสติกใบละ 3 เยน (ราว 0.90 บาท)

ลูกค้ารายหนึ่งให้สัมภาษณ์กับ NHK ว่า เธอซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อทุกเช้า และวันนี้ก็ได้เตรียมกระเป๋าผ้ามาเอง เพราะรู้ว่าร้านจะเริ่มเก็บค่าถุงพลาสติกแล้ว 

อย่างที่ทราบกันดีว่า ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบการห่อบรรจุภัณฑ์ในสินค้าต่างๆ ที่เน้นทั้งความพิถีพิถันและความสวยงาม ร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่ ห่อกล้วยแต่ละลูกด้วยพลาสติก สิ่งเหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นสร้างขยะต่อประชากรสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ (ยกเว้นสหรัฐฯ) โดยสหประชาชาติเคยวิจารณ์รัฐบาลญี่ปุ่นว่าล่าช้าในเรื่องลดการใช้พลาสติก

รัฐบาลญี่ปุ่นจึงเคลื่อนไหว ด้วยการออกมาตรการล่าสุดเพื่อจำกัดการใช้พลาสติกเกินความจำเป็น และให้ใช้อย่างชาญฉลาด การเก็บค่าถุงพลาสติกทั่วประเทศครั้งนี้ จึงหวังจะกระตุ้นให้ประชาชนคิดให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องใช้ถุงพลาสติกหรือไม่

ญี่ปุ่นเคยให้คำมั่นว่า ภายในปี 2030 จะลดขยะพลาสติกลงให้ได้ 1 ใน 4 จากที่ผลิตขยะปีละ 9.4 ล้านตันในปัจจุบัน โดยจากข้อมูลของรัฐบาลระบุว่า ถุงพลาสติกคิดเป็น 2% ของขยะพลาสติกทั้งหมด

ส่วนความเคลื่อนไหวของผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ประเทศ (G20) ได้ตกลงร่วมกันว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเล เมื่อปีที่ผ่านมา

แม้รัฐบาลญี่ปุ่นจะบอกว่ามีระบบจัดการขยะที่ทันสมัยและนำขยะพลาสติกรีไซเคิลได้กว่าร้อยละ 80 แต่รายงานของ AFP มองว่า การกำจัดขยะของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังใช้การเผา ซึ่งก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change)

 

 

]]>
1286131
เอาจริง! เเวนคูเวอร์ สั่งเเบน “พลาสติก” เเบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง มีผลบังคับปีหน้า https://positioningmag.com/1255414 Fri, 29 Nov 2019 13:13:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1255414 แวนคูเวอร์ มีมติห้ามการใช้หลอด ถุง และผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยจะมีผลตั้งเเต่เดือน เม.ย. 2020 เป็นต้นไป ถือเป็นเมืองใหญ่เมืองแรกในแคนาดาที่จะมีกฎหมายห้ามใช้พลาสติกอย่างครอบคลุม

โดยเมืองแวนคูเวอร์จะห้ามใช้หลอดพลาสติกตั้งแต่วันที่ 22 เมษายนปีหน้า ส่วนถุงพลาสติก รวมทั้งที่ผลิตจากวัสดุย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (biodegradable material) จะห้ามใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2021

ทางการระบุว่า หลอดและถุงพลาสติกเป็นขยะกว่า 3% ของขยะทั้งหมดที่ถูกซัดมาเกลื่อนชายหาดในแต่ละปี เเละจากผลการศึกษาที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเมื่อต้นปีที่ผ่านมาพบว่า ผลิตภัณฑ์พลาสติกในแคนาดาเกือบ 90 % ถูกฝังกลบหรือปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

สำหรับการเคลื่อนไหวครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
ซึ่งหลายประเทศกำลังมุ่งลดมลพิษจากพลาสติก

Justin Trudeau นายกรัฐมนตรีเเห่งแคนาดา ประกาศเเผนการเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาว่าจะห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว เช่นหลอด ถุงและช้อนส้อมให้มีผลบังคับใช้ในประเทศอย่างเร็วที่สุด ในช่วงต้นปี 2021

โดยก่อนหน้านี้ เทศบาลเมืองมอนทรีออล ในรัฐควิเบก ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของเเคนาดา รองจากโทรอนโต ได้ห้ามใช้พลาสติกเเบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมาตั้งเเต่ปี 2018

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจต่างๆ จะยังคงต้องสำรอง “หลอด” ไว้บริการหากกรณีมีการร้องขอจากลูกค้า

ด้านสภาค้าปลีกแคนาดา ที่เป็นตัวแทนธุรกิจค้าปลีกทั่วประเทศ กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ โดยเเย้งว่า นโยบายนี้ไม่เป็นผลดีทั้งกับธุรกิจเเละสิ่งเเวดล้อม เนื่องจากครัวเรือนจะต้องซื้อถุงเเยกเพิ่มเพื่อนำมาใส่ขยะหรือมูลสัตว์เลี้ยง เพราะไม่มีถุงพลาสติกเก่าให้ใช้ซ้ำ เเละถุงขยะที่ต้องซื้อใหม่นี้ยังมีความเหนียวเเละย่อยสลายได้ยากกว่า ในขณะเดียวกันภาคธุรกิจก็มีต้นทุนเพิ่มขึ้นด้วย

ที่มา : Reuters
ภาพ : Pixabay

]]>
1255414