ค่าครองชีพ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 16 Dec 2023 12:30:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เวียนนา” คว้าสุดยอดเมืองคุณภาพชีวิตดีสำหรับ “Expat” ขณะที่ “กรุงเทพฯ” อยู่ในอันดับ 124 https://positioningmag.com/1455959 Sat, 16 Dec 2023 12:30:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455959 “Mercer” บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกจัดสำรวจ “สุดยอดเมืองคุณภาพชีวิตดีสำหรับ Expat” โดยเก็บข้อมูลจาก 241 เมืองทั่วโลก ปี 2023 เมืองคว้าแชมป์ ได้แก่ “เวียนนา” ประเทศออสเตรีย ขณะที่ “กรุงเทพฯ” อยู่กลางตารางในอันดับ 124

Mercer จัดทำรายงาน “Quality of Living” สำรวจความเห็นจากพนักงานที่ถูกส่งไปประจำในต่างประเทศทั่วโลก หรือที่เราเรียกกันว่า “Expat” เพื่อจัดลำดับว่าเมืองใดที่ถือว่ามีคุณภาพชีวิตดีที่สุดและแย่ที่สุดสำหรับการส่งพนักงาน (และครอบครัว) ไปทำงานและอยู่อาศัย

ปัจจัยที่ Mercer ใช้ในการสำรวจประกอบด้วยหลายด้าน เช่น โครงสร้างพื้นฐานของเมือง, ระบบสาธารณสุข, ระบบการศึกษา, สภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรม และความมั่นคงทางการเมือง

จาก 241 เมืองที่สำรวจในปี 2023 นี้ ปรากฏว่า “เวียนนา” เมืองหลวงของประเทศออสเตรีย คือสุดยอดเมืองคุณภาพชีวิตดี ด้วยมาตรฐานการอยู่อาศัยสูง พร้อมด้วยสิ่งแวดล้อมที่รุ่มรวยทางวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม และประวัติศาสตร์ ทำให้ขึ้นมาอยู่ในอันดับสูงสุด

10 อันดับสุดยอดเมืองคุณภาพชีวิตดีสำหรับ Expat

อันดับ 1 เวียนนา ประเทศออสเตรีย

อันดับ 2 ซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

อันดับ 3 โอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์

อันดับ 4 โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

อันดับ 5 เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

อันดับ 6 แฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี

อันดับ 7 มิวนิค ประเทศเยอรมนี

อันดับ 8 แวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา

อันดับ 9 ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

อันดับ 10 ดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี

เห็นได้ว่าใน 10 อันดับแรก มีถึง 7 เมืองที่อยู่ในภูมิภาคยุโรป และมี 2 เมืองที่มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขณะที่ภูมิภาคอเมริกามีติดมาเพียง 1 เมืองเท่านั้น

โอ๊คแลนด์ เมืองที่มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดสำหรับ Expat ในเอเชียแปซิฟิก

ส่วนท้ายตาราง 3 อันดับ ได้แก่ อันดับ 239 บังกี เมืองหลวงของสาธารณรัฐแอฟริกากลาง อันดับ 240 เมืองแบกแดด ประเทศอิรัก และ อันดับ 241 เมืองคาร์ทูม ประเทศซูดาน

ด้านประเทศไทยเรานั้นมี 1 เมืองที่ได้รับการสำรวจคือ “กรุงเทพฯ” คุณภาพชีวิตติดอยู่ในอันดับ 124 ส่วนค่าครองชีพติดอันดับ 113 ของโลก

 

“กัวลาลัมเปอร์” มาแรง คุณภาพชีวิตดี-ค่าครองชีพต่ำ

อย่างไรก็ตาม Mercer เข้าใจดีว่าคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับค่าครองชีพที่สูงด้วยเช่นกัน แต่ก็มีข้อยกเว้นในบางเมืองที่ถือว่า “คุณภาพชีวิตดีแต่มาพร้อมกับค่าครองชีพต่ำ”

ที่น่าสนใจ เช่น “โอ๊คแลนด์” ประเทศนิวซีแลนด์ คุณภาพชีวิตอยู่ในอันดับ 3 ของโลก แต่ค่าครองชีพถือเป็นอันดับ 122 ของโลก หรือ “มอนทรีอัล” ประเทศแคนาดา คุณภาพชีวิตอยู่ในอันดับ 20 แต่ค่าครองชีพเป็นอันดับ 124

(Photo : Shutterstock)

ในกลุ่มข้อมูลนี้มีประเทศในกลุ่มอาเซียนที่ติดโผ คือ “กัวลาลัมเปอร์” ประเทศมาเลเซีย เป็นเมืองคุณภาพชีวิตดีอันดับ 86 และค่าครองชีพถูกมองว่าต่ำถึงอันดับ 203 ของโลก

การจัดข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับค่าครองชีพนี้ Mercer ต้องการชี้ให้เห็นว่า บางครั้งบริษัทที่ต้องการขยายฐานธุรกิจไปยังต่างประเทศและส่งพนักงานไปประจำ รวมถึงกลุ่มดิจิทัล โนแมด/อาชีพที่ทำงานจากที่ใดก็ได้ในโลก ก็ต้องชั่งน้ำหนักทั้งคุณภาพชีวิตและค่าครองชีพที่เหมาะสมสอดคล้องกันด้วย

Source

]]>
1455959
‘นิวยอร์ก’ แซง ‘ฮ่องกง’ ขึ้นแท่นเมืองที่ค่าครองชีพแพงสุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติ https://positioningmag.com/1433498 Thu, 08 Jun 2023 03:21:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433498 หลังจากที่ขึ้นแท่นเป็นเมืองที่ค่าครองชีพสูงสุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติ 4 ปีซ้อน ในที่สุด ฮ่องกง ก็เสียตำแหน่งให้กับ นิวยอร์ก จากการสำรวจเรื่อง ค่าครองชีพ ครั้งล่าสุดของ ECA International ที่จัดอันดับเมืองทั้งหมด 207 แห่ง โดยพิจารณาจากจำนวนสินค้าและบริการที่ใช้จ่ายแต่ละครั้ง เช่น ค่าอาหาร สาธารณูปโภค การขนส่งสาธารณะ และความต้องการขั้นพื้นฐาน

สำหรับ 10 เมืองที่มีค่าครองชีพสูงสุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติ ได้แก่

  • นิวยอร์ก
  • ฮ่องกง
  • เจนีวา
  • ลอนดอน
  • สิงคโปร์
  • ซูริค
  • ซานฟรานซิสโก
  • เทลอาวีฟ
  • โซล
  • โตเกียว

โดย นิวยอร์ก กลายมาเป็น เมืองที่ค่าครองชีพสูงสุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติ เนื่องจาก เงินดอลลาร์แข็งค่า และ ค่าเช่าที่ที่สูงขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ นิวยอร์กยังครองแชมป์ เมืองที่เศรษฐีเลือกอาศัยมากที่สุดในโลก อีกด้วย และนอกจากนิวยอร์กก็มี ซานฟรานซิสโก ที่ขยับขึ้นจากอันดับที่ 11 มาอยู่ที่อันดับ 7

NEW YORK CITY

แม้จะเสียแชมป์ แต่ ฮ่องกง ยังคงเป็นเมืองที่ค่าครองชีพสูงสุดในโลกสำหรับชาวต่างชาติในเอเชีย โดย Lee Quane ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียของ ECA อธิบายว่า สาเหตุที่ฮ่องกงเสียแชมป์ทั้งที่ราคาสินค้าและบริการในฮ่องกงจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบหลายปีเนื่องจากเงินเฟ้อก็ตาม แต่มีสิ่งเดียวที่ลดลงคือ ราคาที่พักในเมืองที่ร่วงลง โดยราคาบ้าน ลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี

อีกประเทศประเทศในเอเชียที่อันดับขยับขึ้นก็คือ สิงคโปร์ โดยติด อันดับ 5 ของโลก และ อันดับ 2 ของเอเชีย โดยขยับขึ้นจากอันดับ 8 ในปีที่แล้ว และนับเป็นครั้งแรกที่สิงคโปร์ติดอันดับท็อป 5 โดยการขึ้นอันดับอย่างก้าวกระโดดนี้มีสาเหตุหลักมาจาก ค่าที่พักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเฉลี่ยที่ 2,600 ดอลลาร์/เดือน (ราว 91,000 บาท)

สำหรับ เมืองที่ที่แพงที่สุดสำหรับชาวต่างชาติในเอเชีย ได้แก่

  • ฮ่องกง
  • สิงคโปร์
  • โซล
  • โตเกียว
  • เซี่ยงไฮ้
  • กว่างโจว
  • เซินเจิ้น
  • ปักกิ่ง
  • ไทเป
  • โยโกฮาม่า
]]>
1433498
ดัชนีราคาอาหารจานเดียวพุ่งเฉลี่ย 6.7% แพงขึ้น 3.66 บาท “ข้าวกะเพรา” ราคาเฉลี่ย 59 บาท https://positioningmag.com/1390290 Mon, 27 Jun 2022 13:58:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1390290 LINE MAN Wongnai เปิดรายงานดัชนีราคาอาหารจานเดียวทั่วประเทศไทย ระหว่างปี 2563-2565 เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับสถานการณ์เงินเฟ้อและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน โดยใช้ข้อมูลราคาที่ขายจริงจากร้านอาหารกว่า 7 แสนร้านที่ขายเดลิเวอรีบนแพลตฟอร์ม LINE MAN ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย

พบประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวทั่วไทยในรอบปี แพงขึ้น 3.66 บาท หรือ 6.7% (เทียบระหว่างพฤษภาคม 2564 และพฤษภาคม 2565) ใกล้เคียงกับตัวเลขเงินเฟ้อ 7.1% ของกระทรวงพาณิชย์
  • ราคาอาหารในต่างจังหวัดยังต่ำกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่เฉลี่ยจานละ 7 บาท แต่ต่างจังหวัดมีอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารเร็วกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
  • อาหารเมนูหมูยังราคาใกล้เคียงเดิม แต่เมนูไก่ราคาแพงขึ้นชัดเจน ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2565 เป็นต้นมา
  • ข้าวผัดกะเพราราคาพุ่ง แพงขึ้นเฉลี่ย 3 บาท ภายใน 4 เดือนแรกของปี 2565 (ข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2565) จากเฉลี่ยจานละ 56 บาท เพิ่มเป็นเฉลี่ยจานละ 59 บาท

ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวทั่วไทย ระหว่างปี 2563-2565

เงินเฟ้อและต้นทุนวัตถุดิบ ทำให้ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวทั่วไทยปี 2565 แพงขึ้น 3.66 บาท หรือ 6.7% (เทียบระหว่าง พ.ค. 64 และ พ.ค. 65)

LINE MAN Wongnai รายงานความเปลี่ยนแปลงราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียว เช่น ก๋วยเตี๋ยว สุกี้ ข้าวผัดกะเพรา อาหารตามสั่ง ข้าวผัด ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวขาหมู ราดหน้า ฯลฯ ที่ขายในแต่ละเดือนระหว่างปี 2563-2565

พบว่า ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวในปี 2563 อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2564 โดยตัวเลขของปี 2564 น้อยกว่าของปี 2563 อยู่เล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นเพราะสภาพเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19

ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวของปี 2565 กลับเพิ่มขึ้นจากปี 2564 อย่างชัดเจน ราคาเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2565 อยู่ที่ 55.33 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2564 ที่ 53.33 บาท (แพงขึ้น 2 บาท) และถ้าดูตัวเลขในเดือนพฤษภาคม 2565 อยู่ที่ 57.87 บาท เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ 54.21 บาท เพิ่มขึ้น 3.66 บาท หรือประมาณ 6.7% ใกล้เคียงกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ที่ประเมินไว้ราว 7.1% เดือนพฤษภาคม 2565 (อ้างอิง)

ภาคตะวันออก เป็นภาคที่มีราคาเฉลี่ยของอาหารจานเดียวแพงที่สุดอยู่ที่ 59.96 บาท ส่วนภาคตะวันตก มีราคาเฉลี่ยถูกที่สุดอยู่ที่ 49.92 บาท (มิถุนายน 2565) โดยภาคกลางเป็นภาคที่มีราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 3.97 บาท (เทียบระหว่างมกราคมและมิถุนายน 2565)

ราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียวแยกตามภูมิภาค ในเดือนมิถุนายน 2565 (ราคาที่เพิ่มขึ้นจากมกราคม 2565)

  • ภาคกลาง 59.63 บาท (+3.97 บาท)
  • ภาคตะวันออก 59.96 บาท (+3.16 บาท)
  • ภาคเหนือ 50.26 บาท (+2.94 บาท)
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 56.04 บาท (+3.51 บาท)
  • ภาคใต้ 57.46 บาท (+2.58 บาท)
  • ภาคตะวันตก 49.92 บาท (+2.43 บาท)

เปรียบเทียบราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียว ระหว่างกรุงเทพฯ-ปริมณฑลและจังหวัดอื่นๆ

ราคาอาหารในต่างจังหวัดยังต่ำกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอยู่ที่เฉลี่ย 7 บาท แต่มีอัตราราคาอาหารเพิ่มขึ้นเร็วกว่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

LINE MAN Wongnai รายงานราคาเฉลี่ยอาหารจานเดียว เปรียบเทียบ ระหว่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล 6 จังหวัด (กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม) กับจังหวัดอื่นๆ ของประเทศไทยที่ขายบนแพลตฟอร์ม LINE MAN เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าครองชีพของกรุงเทพฯ และปริมณฑลกับต่างจังหวัด

  • ราคาอาหารจานเดียวในกรุงเทพฯ และปริมณฑล แพงกว่าต่างจังหวัดเฉลี่ยประมาณ 8 บาท (1 มกราคม 2564) แต่ส่วนต่างนี้ลดลงเหลือประมาณ 7 บาทแล้ว (1 พฤษภาคม 2565)
  • ตลอดทั้งปี 2564 ราคาอาหารจานเดียวในต่างจังหวัด เพิ่มขึ้นในอัตรา 5.9% ซึ่งขึ้นเร็วกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑลที่เพิ่มขึ้น 2.8% ในช่วงเวลาเดียวกัน
  • ในปี 2565 ราคาอาหารเริ่มปรับเพิ่มอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นมา ราคาอาหารจานเดียวเฉลี่ยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มขึ้นมาแล้ว 6.68% และต่างจังหวัดเพิ่ม 7.98% (เทียบ 1 มกราคม 2565 กับ 1 พฤษภาคม 2565)

ราคาเฉลี่ยเมนูอาหารแต่ละวัตถุดิบทั่วไทย ช่วงครึ่งปีแรก 2565

อาหารเมนูหมูยังราคาใกล้เคียงเดิม แต่เมนูไก่ราคาแพงขึ้นมากตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 เป็นต้นมา

LINE MAN Wongnai รายงานการเปรียบเทียบราคาอาหารเฉลี่ย (นับรวมอาหารทุกประเภท ทุกระดับราคา) โดยแยกตามประเภทของเนื้อสัตว์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบของอาหาร พบว่าเมนูอาหารที่มีไก่เป็นส่วนประกอบมีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุด สอดคล้องกับข่าวเนื้อไก่แพงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในรอบ 20 ปี (อ้างอิง)

ราคาเฉลี่ยของอาหารที่ใช้ไก่เป็นส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2565 และพุ่งขึ้นสูงสุดในเดือนเมษายน 2565 ก่อนที่จะค่อยๆ ปรับลดลงมาในเดือนพฤษภาคม แต่ก็ยังถือว่าสูงขึ้นจากช่วงก่อนหน้า

ราคาเฉลี่ยอาหารเมนูไก่ ในช่วงครึ่งปีแรก 2565

  • 1 มีนาคม 80.37 บาท
  • 1 เมษายน 109 บาท
  • 13 เมษายน 134 บาท (ปรับขึ้นมากเป็นพิเศษในช่วงหยุดสงกรานต์)
  • 1 พฤษภาคม 113 บาท
  • 1 มิถุนายน 93.9 บาท

ส่วนเมนูอาหารที่ใช้หมูเป็นส่วนประกอบ คงอยู่ที่ราว 64-69 บาทตลอดทั้งช่วงครึ่งปีแรก 2565 อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาอาหารเฉลี่ย (รวมเนื้อสัตว์ทุกประเภท) ที่อยู่ราว 64-80 บาท

ราคาเฉลี่ยข้าวผัดกะเพราแพงขึ้น 3 บาท

ข้าวผัดกะเพราราคาพุ่ง จากราคาเฉลี่ยจานละ 56 บาทช่วงต้นปี 2565 เป็นราคาเฉลี่ยจานละ 59 บาท เฉลี่ยแพงขึ้น 3 บาท

LINE MAN Wongnai ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงราคาเฉลี่ยของ “ข้าวผัดกะเพรา” อาหารยอดนิยมของคนไทย (นับทั้งข้าวผัดกะเพรา ข้าวราดกะเพรา ใส่เนื้อสัตว์ทุกประเภท แต่ไม่รวมตัวเลือกเสริม เช่น ไข่ดาว ไข่เจียว ที่เลือกสั่งเพิ่มเป็น top-up แยกต่างหาก) ระหว่างปี 2563-2565

พบว่า ราคาเฉลี่ยของข้าวผัดกะเพราในไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยราคาช่วงต้นปี 2564 อยู่ที่จานละ 52.78 บาท และค่อยๆ ขึ้นมาเรื่อยๆ จนอยู่ที่ 54.73 บาทในช่วงปลายปี (เพิ่มขึ้นประมาณ 2 บาท)

แต่ในปี 2565 สถานการณ์ราคาปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยช่วงต้นปี ราคาเฉลี่ยของข้าวผัดกะเพราหนึ่งจานคือ 55.9 บาท และเพิ่มมาเป็น 59 บาทในเดือนพฤษภาคม (แพงขึ้น 3 บาทภายใน 4 เดือน)

ภาคตะวันออก เป็นภาคที่มีราคาเฉลี่ยของข้าวผัดกะเพราแพงที่สุดอยู่ที่ 62.24 บาท ส่วนภาคตะวันตก มีราคาเฉลี่ยถูกที่สุดอยู่ที่ 50.08 บาท

ราคาเฉลี่ยข้าวผัดกะเพราแยกตามภูมิภาค 

  • ภาคกลาง 60.63 บาท
  • ภาคตะวันออก 62.24 บาท
  •  ภาคเหนือ 50.57 บาท
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 57.30 บาท
  • ภาคใต้ 56.79 บาท
  • ภาคตะวันตก 50.08 บาท
]]>
1390290
‘เจ้าสัวสหพัฒน์’ มองปัญหาต้นทุนหนักกว่า ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ แนะรัฐคุมนานสินค้าอาจ ‘ขาดแคลน’ https://positioningmag.com/1388352 Thu, 09 Jun 2022 12:34:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1388352 หากพูดถึงเครือ ‘สหพัฒน์’ เชื่อว่านี่คือชื่อที่อยู่คู่สินค้าอุปโภคบริโภคของคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะ ‘มาม่า’ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เปรียบเสมือนเพื่อนยามยากเวลาหิว โดยภายในงานแถลงข่าว งานสหกรุ๊ปแฟร์ ครั้งที่ 26 เจ้าสัวบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาเปิดใจถึงวิกฤตต้นทุนสินค้า ที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าอุปโภคบริโภคในไทยว่า ครั้งนี้หนักกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อ 26 ปีที่แล้วเสียอีก

ปัญหาต้นทุนหนักกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง

บุณยสิทธิ์ ยอมรับว่า ปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่เกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อราคาวัตถุดิบมากกว่าช่วง 2 ปีที่เกิดวิกฤตโควิด และส่งผลกระทบรุนแรงกว่าช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 หรือ 26 ปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นเงินบาทอ่อนตัวส่งผลให้สินค้าขึ้นราคา แต่เมื่อก่อนเป็นการ ค่อย ๆ ปรับขึ้น แต่ครั้งนี้ ขึ้นพรวดเดียว

“เราจัดงานสหกรุ๊ปแฟร์ครั้งแรกเมื่อช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง และเวลานี้เหตุการณ์เหมือนกับ 26 ปีที่แล้ว โดยมีสงครามเป็นตัวทำให้ของขึ้นราคาและไม่รู้ว่าจะไปจบตรงไหน ซึ่งตอนนี้ สินค้าที่กระทบสุดมากที่สุด คือ ข้าวสาลี น้ำมันปาล์ม และนำมัน เลยทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกระทบก่อน”

บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานบริหาร บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)

ด้วยปัญหาต้นทุน ทำให้สินค้าในเครือต้องมีการปรับราคาไม่เช่นนั้นบริษัทก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน โดยเฉพาะบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงซักฟอก โดยตอนนี้กำลังรอเจรจากับกระทรวงพาณิชย์เพื่ออนุมัติเรื่องการปรับราคาเนื่องจากปัญหาต้นทุน เพราะถ้ายิ่งควบคุมนาน มีโอกาสที่สินค้าจะขาดตลาด เพราะวัตถุดิบในการผลิตไม่เพียงพอ เหมือนกรณีของ วัคซีน อย่างไรก็ตาม จะขึ้นราคามากน้อยแค่ไหนต้องรอพิจารณาจากต้นทุนวัตถุดิบอีกที

“ตอนนี้ทุกประเทศขึ้นราคาหมด เราเองตอนนี้ก็แบกต้นทุนอยู่ ดังนั้น ยังไงก็ต้องขึ้น แต่การขึ้นราคา ต้องค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ผู้บริโภคยอมรับได้”

แนะดันส่งออกบรรเทาวิกฤตต้นทุน

สถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อไหร่นั้นขึ้นอยู่กับสงคราม จากตอนแรกคาดว่าจะจบภายในไม่ถึงเดือน แต่ปัจจุบันลากยาวมากว่า 3 เดือน ดังนั้น ต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด เครือสหพัฒน์เองก็ไม่ได้วางแผนไว้ตายตัว เพราะต้องรอดูสถานการณ์สงครามวันต่อวัน

อย่างไรก็ตาม มองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะดีกว่า 2 ปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่สามารถกลับไปสู่ช่วงก่อนเกิดโควิด เพราะแม้มีวิกฤตเงินเฟ้อแต่ไม่ต้องล็อกดาวน์เหมือนที่ผ่านมา อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหาร ดังนั้น มองว่าการส่งออกเป็นอีกแนวทางบรรเทาปัญหาต้นทุน

“เชื่อว่าประเทศไทยฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่นในฝั่งเอเชียด้วยกัน เพราะเราเป็นประเทศส่งออกอาหาร แม้ไทยจะเจอผลกระทบก็จริง แต่คนไทยก็ปรับตัวได้เร็ว”

จะอยู่รอดต้องเปิดทางคนรุ่นใหม่

บุณยสิทธิ์ คาดว่า เครือสหพัฒน์ต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี รายได้ถึงจะกลับไปเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด โดยจากนี้ก็จะเน้นสินค้าในกลุ่ม เฮลท์แคร์ และเวลเนส เนื่องจากคนหันมาดูแลสุขภาพตั้งแต่ช่วงโควิดที่ผ่านมา และมองว่า ธุรกิจจากนี้จะอยู่รอดได้ต้องปรับตัวและต้องเปลี่ยนมือให้ คนรุ่นใหม่ มารับช่วงต่อ

แต่ละช่วงไม่เหมือนกัน เราต้องทำใจให้เปลี่ยนทันเหตุการณ์ ตอนนี้สหกรุ๊ปแฟร์เปลี่ยนให้คนใหม่มารับต่อ ไม่ได้เอาคนเก่ามาดู เพราะเราต้องยอมรับว่ารุ่นใหม่เขามีความสามารถแบบหนึ่ง คนเก่าก็มีความสามารถอีกแบบ คนรุ่นเก่าอาจเก่าเรื่องระวังตัว คนรุ่นใหม่เก่าเทคโนโลยี เราพยายามทำให้การเปลี่ยนเเปลง ทำให้เกิดผลบวก”

สินค้าแฟชั่นปีนี้โตเพราะไม่มี Work From Home

ธรรมรัตน์ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ในเครือสหพัฒน์ กล่าวเสริมว่า ในส่วนต้นทุนผ้าของบริษัทก็พุ่งขึ้นตั้งแต่ 50-100% ตั้งแต่เกิดสงครามเป็นต้นมา เนื่องจากน้ำมันขึ้นราคา ดังนั้น ไอ.ซี.ซี ก็เพิ่มไลน์สินค้าใหม่ แม้มีราคาสูงแต่ผู้บริโภคบางคนยังยอมจ่าย เพราะอั้นมาจาก 2 ปีก่อนเนื่องจากตลาดปิด

นอกจากนี้ สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้าอย่าง เอสเซ้นซ์ ก็ต้องขึ้นราคาไม่ช้าก็เร็ว เพราะวัตถุดิบหลักได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันเช่นกัน แต่สินค้ากลุ่มดังกล่าวยังมีกลไกตลาดควบคุมอยู่ ดังนั้น อาจจะยังต้องทนแบกต้นทุนอยู่ดี

“จริง ๆ ราคามันควรจะขึ้นตอนนี้แล้วเพราะโรงงานก็ไม่ไหวแล้ว แต่ที่ราคายังไม่ขึ้นเพราะสินค้าในตลาดตอนนี้ยังเป็นล็อตเก่าอยู่ ซึ่งเราคงจะขึ้นราคาสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าควบคุม แต่คงขึ้นไม่เกินเพดานที่ตั้งไว้ เพราะราคาปัจจุบันยังมีช่องให้ขึ้นได้อยู่”

สำหรับผลประกอบการ ไอ.ซี.ซี ปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้ประมาณ 20% เป็นอย่างน้อย จากปีที่ผ่านมาติดลบเกือบ -50% อย่างไรก็ตาม ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ไอ.ซี.ซี.ได้ปรับวิธีการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายได้พอสมควร ทำให้บริษัทมีกำไรเพิ่มมากขึ้น แม้ยอดขายในปัจจุบันจะไม่เท่ากับช่วงก่อนโควิดก็ตาม

“แม้จะมีปัญหาเงินเฟ้อ แต่เชื่อว่าธุรกิจแฟชั่นและ FMCG ยังไงก็โตเพราะมีปัจจัยบวกจากการเลิก Work From Home คนเลยแต่งตัวออกจากบ้านมากขึ้น เราก็มีสินค้าใหม่ที่ยังเพิ่ม Need ลูกค้าได้อยู่”

]]>
1388352
คนไทย “สุขลดลง” จากปัญหาค่าครองชีพ เครียดข่าวอาชญากรรม-เศรษฐกิจมากขึ้น https://positioningmag.com/1381114 Fri, 08 Apr 2022 11:50:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381114
  • “โฮคูโฮโด” สำรวจคนไทยทุกๆ 2 เดือน รอบล่าสุดประจำเดือนเมษายน 2565 พบคนไทย “สุขลดลง” เทียบกับรอบก่อน เพราะกังวลเรื่องไวรัสผสมกับปัญหาค่าครองชีพ
  • คนไทยสนใจข่าวโอมิครอนน้อยลงแม้จะยังเป็นข่าวอันดับ 1 ข่าวแตงโมตกน้ำและสงครามรัสเซีย-ยูเครนมาแรง ข่าวอาชญากรรม การเมือง เศรษฐกิจเข้ามาอยู่ในความสนใจสูงขึ้น
  • การจับจ่ายเน้นด้านอาหาร ของใช้จำเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า ลดการซื้อเสื้อผ้า เครื่องสำอาง การท่องเที่ยว
  • สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) จัดสำรวจ “ผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคม” (Sei-katsu-sha) ทุกๆ 2 เดือน โดยในประเทศไทยรอบล่าสุดสำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นคนไทยวัย 20-59 ปีจาก 6 ภูมิภาค จำนวน 1,200 คน

    ผลสำรวจรอบนี้จัดทำเป็นรายงานประจำเดือนเมษายน 2565 ในด้าน “ความสุข” ของคนไทยอยู่ที่ 63 คะแนน ลดลง -2 คะแนน เทียบกับรายงานรอบเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เนื่องจากโรค COVID-19 ยังระบาดอยู่ และมีปัจจัยความกังวลด้านเศรษฐกิจฝืดเคืองเข้ามาเสริม

    เมื่อสำรวจประเด็นข่าวที่คนไทยให้ความสนใจมากที่สุด 10 อันดับ จะเห็นได้ว่าคนไทยสนใจเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และอาชญากรรมสูง ส่วนไวรัสโอมิครอนแม้จะยังอยู่อันดับ 1 แต่ได้รับความสนใจลดลงมาก ดังนี้

    1. COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ โอมิครอน 47% (-6%)
    2. แตงโมตกน้ำ (12%) (new)
    3. สงครามรัสเซีย-ยูเครน (9%) (new)
    4. การเมือง (9%) (+2%)
    5. เศรษฐกิจ (4%) (+2%)
    6. ค้ามนุษย์ (3%) (new)
    7. หลานฆ่ายายยัดถัง (2%) (new)
    8. ราคาน้ำมัน (2%) (new)
    9. คริปโตเคอร์เรนซี/บิตคอยน์ (2%) (คงเดิม)
    10. ฟุตบอล (2%) (-1%)

    คนไทยรัดเข็มขัด ใช้แต่ที่จำเป็นก่อน

    “จริงๆ แล้วคนไทยนั้นชอบช้อป แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ต่างๆ ตอนนี้ ทำให้สินค้าหลายๆ อย่างมีราคาสูงขึ้น ทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค ทำให้คนไทยระมัดระวังเรื่องของการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น และซื้อของที่ไม่จำเป็นลดลง” ชุติมา วิริยะมหากุล ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) กล่าว

    นั่นทำให้ผลสำรวจความต้องการซื้อสินค้าของคนไทย กลุ่มที่เพิ่มมากขึ้นคือ “อาหาร” มาเป็นอันดับ 1 สัดส่วน 25% และเติบโต 5% “ของใช้ในชีวิตประจำวัน” อันดับ 2 สัดส่วน 15% เติบโต 2% “ตู้เย็น/เครื่องใช้ไฟฟ้า” อันดับ 5 สัดส่วน 5% เติบโต 1% และ “รถยนต์” อันดับ 9 สัดส่วน 4% เติบโต 2%

    ส่วนสินค้าที่คนไทยลดความต้องการลงคือ “เสื้อผ้า” “ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม” “การท่องเที่ยว” และ “คอมพิวเตอร์/แท็บเล็ต”

    ในมุมนักการตลาด เมื่อพบว่าคนไทยมีความสุขลดลง และเคร่งเครียดจากข่าวอาชญากรรม เศรษฐกิจ คนไทยมองหาความมั่งคั่งมากกว่างานที่มั่นคง ต้องการรายได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้เป็นช่วง “สงกรานต์” ที่คนไทยยังให้ความสำคัญกับครอบครัวและยังมองหาของขวัญให้ญาติผู้ใหญ่อยู่ แม้จะรัดเข็มขัดมากก็ตาม

    พรนภัส สุลัยมณี” นักวางแผนกลยุทธ์ ฮาคูโฮโด เฟิร์ส (ประเทศไทย) จึงให้คำแนะนำแบรนด์ในการทำการตลาดที่ช่วยคลายเครียดและเน้นไปที่ครอบครัวเป็นหลัก ดังนี้

    1. แบรนด์ควรชวนคลายเครียดด้วยกิจกรรมใหม่ๆ เน้นเสริมความสัมพันธ์กับครอบครัวแต่ยังปลอดภัยจาก COVID-19 เพราะเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาของครอบครัว ที่แบรนด์สามารถเข้าไปเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ เปลี่ยนบรรยากาศการเฉลิมฉลองกับครอบครัว สนับสนุนการอุปโภคและบริโภคสินค้าภายในบ้านที่ดีต่อสุขภาพและจิตใจเป็นหลัก เพื่อชดเชยข้อจำกัดด้านการเดินทางท่องเที่ยว หรือ กลับบ้านไปหาครอบครัวในช่วงโอมิครอนนี้
    2. เสนอโปรโมชันช่วงซัมเมอร์ที่แปลกใหม่ พร้อมสนับสนุนการส่งความรักความห่วงใยถึงกัน เพื่อต้อนรับช่วงเวลาที่สำคัญของครอบครัว อย่างการส่งมอบความรักความห่วงใยให้กับครอบครัวหรือคนที่เรารักแม้อยู่ห่างไกลกัน

     

    อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

    ]]>
    1381114
    เปิดผลสำรวจคนไทย รับผลกระทบ ‘น้ำมันเเพง’ เงินเหลือเก็บลดลง กังวลราคาสินค้าพุ่ง https://positioningmag.com/1378242 Sun, 20 Mar 2022 12:04:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378242 เปิดผลสำรวจเรื่อง ‘น้ำมันแพง’ กระทบประชาชนกว่า 84.1% ค่าเดินทางเพิ่มขึ้น เงินเหลือเก็บลดลง ส่วนใหญ่ใช้วิธีงดเดินทาง-งดเที่ยววันหยุด เเละต้องประหยัดมากขึ้น 

    กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง “น้ำมันแพงกับผลกระทบที่ประชาชนได้รับ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,123 คน เมื่อวันที่ 14-16 มีนาคม ที่ผ่านมาพบว่า

    ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.1 ได้รับผลกระทบจากน้ำมันแพง โดยระบุว่า ทำให้ต้องจ่ายค่าน้ำมันเพิ่มขึ้น มีค่าเดินทางเพิ่มขึ้น เงินเหลือเก็บลดลง ขณะที่ร้อยละ 15.9 ระบุว่าไม่ได้รับผลกระทบ เพราะไม่ค่อยได้เดินทาง บริษัทจ่ายค่าน้ำมันให้ ส่วนใหญ่ใช้บริการรถสาธารณะ

    เมื่อถามถึงวิธีปรับตัวหรือรับมือกับปัญหาน้ำมันแพง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.1 ใช้วิธีงดเดินทาง งดเที่ยวช่วงวันหยุด รองลงมาร้อยละ 44.9 ใช้วิธีวางแผนก่อนเดินทางเพื่อเลี่ยงรถติด และร้อยละ 40.4 ใช้วิธีประหยัดค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อเก็บเงินไว้จ่ายค่าน้ำมัน

    สำหรับเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 76.7 มีความกังวลหากราคาน้ำมันยังแพงอยู่คือ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในท้องตลาดอาจแพงขึ้นอีก รองลงมาร้อยละ 11.1 คือเกิดการกู้หนี้ยืมสินเพิ่มขึ้น และร้อยละ 5.5 คือ เกิดการก่ออาชญากรรม ขโมยน้ำมัน การลักลอบขนน้ำมันเถื่อน

    ด้านความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลว่า จะสามารถจัดการกับปัญหาราคาน้ำมันแพงได้นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 ระบุว่าไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย ขณะที่ร้อยละ 14.3 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่นถึงเชื่อมั่นมาก

    เรื่องที่ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลควรทำเพื่อช่วยเหลือประชาชนลดภาระค่าใช้จ่ายน้ำมันและค่าเดินทางมากที่สุดร้อยละ 32.2 คือ ควรขายน้ำมันราคาถูกให้กับบางกลุ่ม เช่น ธุรกิจขนส่งสินค้าและอาหาร มอเตอร์ไซค์วิน แท็กซี่ ขนส่งมวลชน ฯลฯ

    รองลงมาร้อยละ 15.3 คือ ควรปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยจากโควิด เพื่อให้คนหันมาใช้แทนรถส่วนตัว และร้อยละ 14.4 คือ ลดภาษีน้ำมัน ลดจำนวนเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่อไม่ให้น้ำมันในประเทศขึ้นราคา

    ]]>
    1378242
    สุดอั้น! “สร้างบ้าน” ปี’65 ราคา “โลหะ” ทะยาน เตรียมปรับราคาก่อสร้างตามต้นทุน 5-8% https://positioningmag.com/1377450 Mon, 14 Mar 2022 10:56:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377450 ใครจะ “สร้างบ้าน” ปีนี้ต้องเร่งตัดสินใจ สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (HBA) คำนวณต้นทุนก่อสร้างปรับขึ้น 5-8% จากราคาน้ำมันและ “โลหะ” เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม นิกเกิล ขึ้นมาแล้วเฉลี่ย 50% บริษัทอั้นไม่ไหวเตรียมปรับราคาบ้านช่วงเมษายนนี้ กังวลปัญหาขาดแคลน “แรงงาน” และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่จะทำให้ต้นทุนก่อสร้างสูงขึ้นอีก

    “วรวุฒิ กาญจนกูล” นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (HBA) เปิดเผยสถานการณ์ตลาดธุรกิจรับสร้างบ้านปี 2565 คาดว่ามูลค่าตลาดเฉพาะกรุงเทพฯ-ปริมณฑล น่าจะยังเท่ากับปี 2564 ที่ 11,500 ล้านบาท เพราะแม้ว่าช่วงต้นปีตลาดจะกลับมาคึกคักขึ้น แต่หลังมีปัจจัยลบด้านค่าครองชีพเข้ามาช่วงเดือนมีนาคม ทำให้ตลาดชะลอตัว

    ปัจจัยลบของปีนี้เป็นผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งทำให้ค่าน้ำมันพุ่ง และกระทบต่อเนื่องถึงราคาวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะกลุ่ม “โลหะ” เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม นิกเกิล ภาพรวมปรับขึ้นเฉลี่ย 50% มีผลกับต้นทุนค่าเหล็กก่อสร้าง ฝ้าเพดาน ท่อเหล็ก และสายไฟ

    วัสดุที่ราคาปรับขึ้นหนักที่สุดคือ “เหล็ก” ซึ่งราคาเมื่อต้นปี 2564 อยู่ที่ 17-18 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบันขึ้นมาถึง 27-28 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว และมีแนวโน้มจะขึ้นเป็นเท่าตัว

    “เหล็ก” ปี 2565 อาจขึ้นราคาถึงเท่าตัวจากปีก่อน (Photo: Pixabay)

    จากต้นทุนวัสดุที่ขึ้นราคาดังกล่าว วรวุฒิประเมินว่าราคาบ้านปีนี้จะขึ้น 5-8% ซึ่งสมาคมฯ ได้พูดคุยกับบริษัทที่เป็นสมาชิกทั้งหมดให้ตรึงราคาไว้ก่อนในช่วงนี้ที่กำลังจะจัดงานมหกรรม “รับสร้างบ้านและวัสดุ FOCUS 2022” วันที่ 30 มีนาคม – 3 เมษายน 2565 เพื่อช่วยกันกระตุ้นตลาด แต่คาดว่าหลังงานมหกรรม ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป ราคาบ้านของแต่ละบริษัทจะทยอยปรับขึ้น

     

    กังวลต่อเนื่องเรื่อง “แรงงาน”

    วรวุฒิกล่าวต่อว่า อีกส่วนที่กังวลคือ “แรงงาน” ยังอยู่ในภาวะขาดแคลน โดยคาดว่าปีนี้ภาคอสังหาริมทรัพย์จะกลับมาก่อสร้างโครงการมากขึ้นกว่าปีก่อน ซึ่งจะทำให้ภาวะขาดแคลนหนักข้อขึ้นอีกเร็วๆ นี้ จึงอยากฝากถึงภาครัฐให้เปิดให้แรงงานข้ามชาติได้กลับเข้ามาในไทยอย่างถูกกฎหมาย

    อีกประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับแรงงาน คือการ “ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ” จากปัจจุบัน 331 บาทต่อวัน แต่รัฐมีแนวคิดจะขึ้นเป็น 492 บาทต่อวัน แม้ว่าขณะนี้แรงงานทักษะมีฝีมือจะได้รับค่าแรงเฉลี่ย 500-700 บาทต่อวันอยู่แล้ว แต่การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับแรงงานไม่มีฝีมือ ก็จะทำให้ค่าแรงขึ้นยกแผงทั้งระบบ

    สมาคมฯ ประเมินว่า หากมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจริง แต่ขึ้นประมาณ 10-15% อาจไม่ส่งผลต่อต้นทุนการก่อสร้างมากนัก แต่ถ้าหากปรับขึ้นถึง 30-40% จะมีผลต่อต้นทุนอย่างมาก และจะทำให้ราคาบ้านปรับขึ้นมากกว่า 10% ในปีนี้

     

    บ้านระดับบนเป็นแรงขับเคลื่อน

    ด้านธุรกิจรับสร้างบ้านปี 2565 วรวุฒิกล่าวว่า บ้านระดับบน 10 ล้านบาทขึ้นไปจะยังคงมาแรง เพราะผู้มีรายได้สูงไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากภาวะเศรษฐกิจ แต่จะอ่อนไหวกับภาวะการระบาดของ COVID-19 มากกว่า ตลาดจะสะดุดหากมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น

    ขณะที่สมาคมฯ เองพบว่า มีสมาชิกบริษัทรับสร้างบ้านในต่างจังหวัดสมัครเข้าเป็นสมาชิกสูงขึ้น จากในอดีตยังไม่เคยมี โดยเมื่อปี 2564 มีสมาชิกต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น 9 บริษัท จากจังหวัดนครราชสีมา, สกลนคร, มหาสารคาม, อุดรธานี และจันทบุรี ส่วนปี 2565 คาดว่าจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้น 15 บริษัท จากจังหวัดสุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง และอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

    มองว่าบริษัทต่างจังหวัดเริ่มเป็นสมาชิกมากขึ้นเพราะการประชาสัมพันธ์ของสมาคมฯ ทำให้ทราบว่ามีข้อดีด้านความน่าเชื่อถือ ซึ่งส่งผลต่อเครดิตในการติดต่อสินเชื่อจากธนาคาร

    นอกจากนี้ ยังเกิดขึ้นจากกลุ่มลูกค้ามีกลุ่มที่ลูกหลานเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ และต้องการสร้างบ้านให้พ่อแม่ที่ต่างจังหวัด หรือกลับไปสร้างงานสร้างอาชีพในต่างจังหวัดแทน หลังเกิดการระบาดของ COVID-19 จึงมีดีมานด์ต่างจังหวัดมากยิ่งขึ้น

     

    จัดงานแฟร์รับสร้างบ้าน โค้งท้ายราคาเดิม

    “อนันต์กร อมรวาที” อุปนายกฝ่ายกิจกรรมพิเศษ กล่าวถึงการจัดกิจกรรมของสมาคมฯ เตรียมจัดงานมหกรรม “รับสร้างบ้านและวัสดุ FOCUS 2022” วันที่ 30 มีนาคม – 3 เมษายน 2565 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ฮอลล์ 8 โดยจะเป็นงานแฟร์ที่ตรึงราคาสุดท้ายก่อนปรับขึ้นตามต้นทุนวัสดุ

    สร้างบ้าน

    ภายในงานมีบริษัทรับสร้างบ้านกว่า 30 บริษัทร่วมออกบูธ รวมแบบบ้านมากกว่า 1,000 แบบ ราคาตั้งแต่ 1 ล้านบาทถึงมากกว่า 100 ล้านบาท พร้อมด้วยบริษัทวัสดุ และธนาคารผู้ให้สินเชื่อในงาน คาดหวังว่างานนี้จะได้ยอดขายรวม 2,100 ล้านบาท เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งมูลค่าตลาดทั้งปีนี้

    อนันต์กรยังให้ข้อมูลแบบบ้านและฟังก์ชันบ้านที่ผู้สั่งสร้างนิยมมากขึ้นในยุคนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการปรับตามได้ทัน เช่น

    • แบบบ้านโมเดิร์นยังมาแรงต่อเนื่อง
    • ที่จอดรถขั้นต่ำเพิ่มจาก 2 คันเป็น 3 คัน
    • ติดตั้ง EV Charger
    • โซลาร์รูฟท็อปได้รับความนิยม
    • ต้องการพื้นที่ห้องเก็บของมากขึ้น

    ปีนี้น่าจะเป็นอีกปีที่ท้าทายกับภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยตลาดระดับบนยังเป็นกุญแจหลักในการสร้างยอดขาย ขณะที่ตลาดระดับกลางลงมา ราคาบ้านต่ำกว่า 10 ล้านบาท จะมีความอ่อนไหวสูงกับค่าครองชีพและเศรษฐกิจฝืดเคือง ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเลื่อนแผนการก่อสร้างบ้านออกไปก่อนได้

    ]]>
    1377450
    หากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อ ‘เงินเฟ้อไทย’ ปีนี้อาจพุ่งเกิน 4% สูงสุดในรอบ 14 ปี https://positioningmag.com/1376919 Wed, 09 Mar 2022 12:19:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376919 หากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อ ไทยกระทบหลายด้าน ประเมินเงินเฟ้อปีนี้เกิน 4% สูงสุดในรอบ 14 ปี ของเเพง-ราคาน้ำมันพุ่ง การบริโภคชะลอตัว กดดันเศรษฐกิจไทยที่เข้าสู่ภาวะ Stagflation อย่างชัดเจน

    จากรายงาน “ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจ” ของ KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่กำลังกลายเป็นความเสี่ยงใหญ่ของเศรษฐกิจโลกและไทย โดยยังมีความไม่แน่นอนสูงมากและผลลัพธ์ของสงครามในครั้งนี้มีความเป็นไปได้ 3 ทาง ได้เเก่

    1) รัสเซียบุกเข้ายึดกรุงเคียฟและโค่นล้มรัฐบาลยูเครนสำเร็จจนบังคับให้ประเทศตะวันตกตัดการซื้อพลังงานจากรัสเซีย

    2) การเจรจาหยุดยิงระหว่างยูเครนและรัสเซียประสบความสำเร็จ และไม่มีการยกระดับมาตรการคว่ำบาตร

    3) สงครามยืดเยื้อเป็นเวลานานและแผ่ในวงกว้าง

    ‘คว่ำบาตร’ เพียงพอหรือไม่ ? 

    หลายประเทศในตะวันตก ตอบโต้การบุกของรัสเซียด้วยมาตรการคว่ำบาตร โดยมาตรการในเบื้องต้นมุ่งเน้นไปที่การอายัดทรัพย์สินของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซีย อายัดทรัพย์สินของธนาคารบางแห่ง ตัดสิทธิการซื้อขายตราสารหนี้ของธนาคารดังกล่าวในตลาดการเงินสหรัฐและยุโรป ตัดธนาคารบางแห่งออกจากระบบ SWIFT และตัดธนาคารกลางของรัสเซียไม่ให้ทำธุรกรรมสกุลเงินดอลลาร์ มาตรการคว่ำบาตรทำให้ค่าเงิน RUB อ่อนค่าอย่างรุนแรงและจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอยและอาจเจอความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อและการผิดนัดชำระหนี้

    “เศรษฐกิจประเทศตะวันตกพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากรัสเซียมาก หากประเทศตะวันตกยังไม่กล้าหยุดซื้อพลังงานซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของรัสเซีย จากความกังวลว่าเศรษฐกิจของประเทศจะถูกกระทบรุนแรง มาตรการต่าง ๆ ในปัจจุบันจะยังไม่เพียงพอที่จะหยุดการรุกรานจากรัสเซีย” 

    การใช้มาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมของประเทศตะวันตกในระยะถัดไป จะต้องพิจารณาถึง

    • ความเสี่ยงที่จะยิ่งทำให้ความขัดแย้งแผ่ในวงกว้างและความรุนแรงของการรุกราน
    • ผลกระทบย้อนกลับต่อเศรษฐกิจของตนเอง
    Oil pump cold winter and snow. Back light, white cloudy and blue sky background, sunlight

    จับตาเเนวโน้มราคาพลังงานพุ่ง 

    KKP Research มองว่า “มีความเป็นไปได้ที่ประเทศตะวันตกจะนำมาตรการคว่ำบาตรทางพลังงานมาใช้ หากความขัดแย้งทวีความรุนแรงจนเกิดความเสียหายอย่างล้นหลามสะท้อนจากท่าทีของเยอรมันที่เปลี่ยนไปที่วางแผนจะลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย”

    ซึ่งในกรณีที่มีการใช้มาตรการคว่ำบาตรทางพลังงานจริง จะทำให้ราคาพลังงานทั้งในยุโรปและโลกเพิ่มสูงขึ้นมาก หากรัสเซียตัดสินใจตอบโต้ด้วยการลดอุปทานของน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ

    Bank of America ประเมินว่าทุก ๆ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันที่หายไปอาจทำให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    ดังนั้น ถ้าหากน้ำมันดิบจากรัสเซียถูดตัดขาดจากตลาดโลก อาจทำให้ราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก 100 ดอลลาร์เป็น 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งในกรณีดังกล่าวจะกลับมากระทบเศรษฐกิจโลกค่อนข้างรุนแรงจากทั้งปัจจัยด้านราคา และอาจเกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบในระยะสั้นทำให้เกิดการหยุดชะงักของภาคการผลิตได้

    หากสงครามยืดเยื้อ ดันเงินเฟ้อไทยเกิน 4%

    KKP Research ประเมินว่า สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนจะมีแนวโน้มทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นแรงที่สุดในรอบมากกว่า 10 ปี โดยผลกระทบจากสงครามจะกระทบเศรษฐกิจไทยใน 3 ช่องทางหลัก

    การส่งออกของไทย อาจขยายตัวได้น้อยกว่าที่ประเมินไว้ ผลกระทบทางตรงที่ไทยจะได้รับคือผลจากการค้าระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มชะลอลง โดยแม้ว่าสัดส่วนการส่งออกไปยังรัสเซียและยูเครนจะต่ำ คือ รวมกันประมาณ 0.7% ของการส่งออกทั้งหมด แต่การส่งออกไปยังยุโรปที่มีสัดส่วนกว่า 10% จะได้รับผลกระทบหากเศรษฐกิจยุโรปชะลอตัว

    อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่น่ากังวลมากที่สุดจะเกิดจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ จากการหยุดชะงักของการค้าระหว่างไทยกับรัสเซียและยูเครน ส่งผลกระทบให้บางภาคการผลิตต้องหยุดกิจการ โดยกลุ่มสินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ ปุ๋ยเคมีและธัญพืช

    อัตราเงินเฟ้อในปี 2022 อาจปรับตัวสูงขึ้นเกิน 4% ตามราคาน้ำมันดิบโลก ความขัดแย้งในครั้งนี้จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

    KKP Research ประเมินว่าราคาน้ำมันดิบในช่วงที่เหลือของปีจะสูงขึ้นเกิน 110 ดอลลาร์สหรัฐ บนสมมุติฐานว่าประเทศตะวันตกจะมีการลดการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์จากรัสเซียลงบางส่วน

    ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีสูงขึ้นเกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลจากที่เคยคาดไว้ที่ 85 และคาดว่ายังมีโอกาสที่ราคาน้ำมันเฉลี่ยจะสูงเกิน 130 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

    “ในสถานการณ์ที่สงครามมีความรุนแรงและยืดเยื้อกว่าคาด KKP Research ประเมินว่าเมื่อนับรวมกับปัญหาราคาอาหารสดและอาหารนอกบ้านที่แพงขึ้นก่อนหน้านี้ จะทำให้เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2022 ของไทย สูงขึ้นเกิน 4% สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2008 หรือสูงที่สุดในรอบ 14 ปี และจะส่งผลกลับมากระทบการบริโภคให้ชะลอตัวลง” 

    Photo : Shutterstock

    เสี่ยงกระทบภาคท่องเที่ยว 

    ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวอาจเดินทางมาน้อยกว่าที่ประเมินไว้ เกิดจากนักท่องเที่ยวรัสเซียที่จะเดินทางมาได้น้อยลง โดยในช่วงที่ต้นปี 2022 นักท่องเที่ยวรัสเซียเป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาไทยมากที่สุด คิดเป็นประมาณเกือบ 10% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะเพิ่มต้นทุนการเดินทางระหว่างประเทศและทำให้อุปสงค์ต่อการท่องเที่ยวลดลง

    นอกจากนี้ ผลกระทบทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องและจะเป็นความท้าทายสำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจของไทย คือ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีโอกาสขาดดุลอีกครั้งในปีนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและไทยนำเข้าน้ำมันในสัดส่วนสูง ประกอบกับนักท่องเที่ยวที่จะกลับมาได้น้อยกว่าที่คาดไว้จะทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีโอกาสขาดดุลเพิ่มเติม

    Photo : Shutterstock

    ในขณะที่แม้เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวลงเล็กน้อย KKP Research ประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐ จะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยกับสหรัฐฯ จะยังห่างออกจากกันมากขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงกดดันสำคัญจะเกิดขึ้นต่อค่าเงินบาทที่อาจผันผวนและอ่อนค่าลงได้ในระยะสั้น

    แม้ว่าสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ยังมีหลายทางออกที่เป็นไปได้ KKP Research ประเมินว่าในปัจจุบันมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ที่สถานการณ์จะเข้าสู่กรณีที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยได้

    “เหตุการณ์นี้นับเป็นอีกหนึ่งแรงกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะ Stagflation อย่างชัดเจนเช่นเดียวกับที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ และสร้างความท้าทายสำคัญต่อนโยบายการเงินไทยในระยะต่อไปที่ต้องดูแลทั้งเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ เสถียรภาพระบบการเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนไปพร้อม ๆ กัน”

    ]]>
    1376919
    คนไทยค่าครองชีพ-ต้นทุนสินค้าพุ่ง ttb ประเมิน ‘เงินเฟ้อ’ ไตรมาสแรกปีนี้ แตะสูงสุด 4% https://positioningmag.com/1372884 Fri, 04 Feb 2022 10:11:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372884 ปัจจัยหลายอย่างยังคงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีนี้ อยู่ในระดับสูง ก่อนจะเริ่มแผ่วลงช่วงปลายปี  ttb analytics ประเมินว่า เงินเฟ้อจะเร่งแตะสูงสุด 4% ไตรมาสแรก เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 2% ประชาชนต้องเเบกรับภาระค่าครองชีพที่แพงขึ้น แรงกดดันราคาน้ำมัน-อาหารสดเเละต้นทุนการขนส่ง

    ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า แรงกดดันจากหมวดพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เงินเฟ้อในปี 2565 ยังคงอยู่ในระดับสูง

    โดยในช่วงปลายปี 2564 และต้นปี 2565 มีสภาพภูมิอากาศที่หนาวมากกว่าปกติ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว ส่งผลให้ทั่วโลกมีปริมาณความต้องการเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

    ขณะเดียวกันประเทศผู้ผลิตน้ำมันไม่สามารถปรับเพิ่มกำลังการผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ จึงสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อราคาน้ำมันโดยเฉพาะในช่วงต้นปีนี้ แม้ไทยจะได้รับผลดีจากการที่รัฐบาลเข้าตรึงราคาเชื้อเพลิงบางประเภท แต่ไม่เพียงพอที่จะช่วยลดแรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มขึ้นเร็ว

    “ประเมินว่าหลังเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 แรงกดดันด้านราคาพลังงานจะคลี่คลายลงบ้าง แต่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องไป จนกว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะสามารถบริหารจัดการทยอยเพิ่มกำลังการผลิตได้ตามเป้าหมายในช่วงไตรมาส 3 นี้” 

    ต้นทุนอาหารสด-ขนส่งพุ่ง 

    สำหรับต้นทุนหมวดอาหารสด มีการปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกที่แพงขึ้น ประกอบกับการเกิดโรคระบาดของสุกรในประเทศไทยในปัจจุบัน ทำให้ต้องใช้มาตรการจำกัดจำนวนการเลี้ยงเพื่อลดความเสี่ยง

    ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตสุกรลดลงและราคาเนื้อสุกรในประเทศเพิ่มขึ้นสูง และมีผลกระทบทำให้ราคาเนื้อสัตว์ประเภทอื่น ๆ เช่น เนื้อไก่ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเวียดนามซึ่งเคยเกิดปัญหาโรคระบาดเดียวกันในสุกร จึงประเมินได้ว่า ไทยอาจยังต้องใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนในการเพิ่มปริมาณการเลี้ยงสุกรและทยอยเพิ่มผลผลิตเข้าสู่ท้องตลาด เป็นสาเหตุทำให้แรงกดดันต่อราคาในหมวดอาหารสดจะคงยังลากยาวไปถึงสิ้นปี 2565

    อย่างไรก็ดี แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (เงินเฟ้อที่ไม่รวมหมวดอาหารสดและพลังงาน) จะแผ่วลงไปในช่วงต้นปี ตามการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ หลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังเร่งตัวทั้งในและต่างประเทศ แต่เนื่องจากเป็นเชื้อที่แพร่กระจายเร็วและไม่ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง จึงประเมินว่าผลกระทบนี้จะอยู่เพียงในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 เท่านั้น ก่อนที่เศรษฐกิจภายในประเทศและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะทยอยกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนถึงสิ้นปี

    นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยกดดันเงินเฟ้อเพิ่มเติมจากปัญหาการตึงตัวในภาคการผลิต (Supply bottleneck) ในบางหมวดอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิตในประเทศที่กำลังเกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ โดยเฉพาะ ยุโรป สหรัฐฯ

    หรือปัญหาในการปรับเพิ่มอัตราการจ้างงาน อาทิ สินค้ากลุ่มที่ต้องพี่งพาเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเห็นผลกระทบได้สูงในปัจจุบัน ประกอบกับต้นทุนค่าขนส่งที่แพงจากปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ตกค้างตามท่าเรือ เนื่องจากระดับกิจกรรมท่าเรือและการจ้างงานในหลายประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เพียงพอรองรับการเร่งตัวของกิจกรรมส่งออก

    จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ราคาสินค้านำเข้าและต้นทุนของผู้ผลิตปรับเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยกรณีของไทย ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสินค้านำเข้าและราคาผู้ผลิตมีระดับสูงมาก (ค่าความสัมพันธ์อยู่ที่ 0.9)

    ในเบื้องต้น ประเมินว่าปัญหาตึงตัวด้านกระบวนการผลิตในหลายสินค้าจะยังมีผลชัดเจนถึงช่วงไตรมาส 3 ขณะที่ปัญหาค่าขนส่งทางเรือที่แพงและได้ทยอยปรับลงมาแล้วนับตั้งแต่ปลายปี 2564 แต่คาดว่าจะใช้เวลานานกว่าจะกลับสู่ระดับราคาปกติได้ราวปลายปี 2567

    ดังนั้น ปัญหาการตึงตัวในกระบวนการผลิตและต้นทุนขนส่งทางเรือจะสร้างแรงกดดันต่อราคาสินค้าของหมวดที่อยู่ทั้งในและนอกอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอย่างชัดเจนไปจนถึงไตรมาส 3 ก่อนจะเบาลงในช่วงปลายปี

    อย่างไรก็ดี ประเมินว่าระดับการส่งผ่านต้นทุนของผู้ผลิตที่แพงขึ้นไปยังผู้บริโภคในประเทศจะทำได้เพียงบางส่วนเท่านั้น และเป็นลักษณะเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องด้วยกำลังซื้อและการจ้างงานในไทยโดยรวมยังคงเปราะบาง

    Photo : Shutterstock

    ‘ปัจจัยเสี่ยง’ ต่อเงินเฟ้ออี่นๆ ที่ต้องจับตา

    ปัจจัยกดดันด้านสูงจากฝั่งอุปทาน (cost-push) ทั้งหมดข้างต้น ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากปี 2564 ทำให้ ttb analytics ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยจะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.7 ไปจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 3 ในปี 2565 นี้

    โดยเร่งตัวสูงสุดในไตรมาสแรก และจะทยอยลดลงตลอดไปจนถึงปลายปี หลังปัจจัยต่างๆ ทยอยคลี่คลาย อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปีจะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.0 โดยปัจจัยเสี่ยงต่อเงินเฟ้อด้านสูงยังมีอยู่จากสาเหตุ ดังนี้

    • ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ อาทิ ความขัดแย้งรัศเซีย-ยูเครน ที่อาจทำให้ราคาพลังงานเร่งขึ้นกว่าระดับปัจจุบัน
    • ปัจจัยด้านภูมิอากาศและภัยธรรมชาติที่อาจส่งผลต่อการลดลงของปริมาณผลผลิตการเกษตร
    • ความยืดเยื้อของปัญหาคอขวดในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะหากเกิดการแพร่ระบาดจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่อาจรุนแรงจนทำให้กิจกรรมการผลิตต้องสะดุดลงและกระทบกับภาวะการจ้างงาน

    ท่ามกลางภาวะที่เงินเฟ้อเร่งตัวเร็วโดยเฉพาะในช่วงแรกของปี 2565 นี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ประชาชนต้องปรับวิธีการใช้จ่ายให้เหมาะสม ในส่วนภาครัฐที่กำกับดูแลเศรษฐกิจ นอกจากการเร่งออกนโยบายลดต้นทุนค่าครองชีพทั้งการตรึงราคาเชื้อเพลิง และการให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้แก่ประชาชนแล้ว อาจเข้าไปช่วยจัดการแก้ไขปัญหาด้านปริมาณผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการในส่วนที่สามารถทำได้ภายในประเทศ เพื่อลดแรงกดดันจากเงินเฟ้ออีกทางหนึ่ง

     

    ]]>
    1372884
    ค่าครองชีพพุ่ง ‘เงินเฟ้อ’ อังกฤษ แตะระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี https://positioningmag.com/1370903 Wed, 19 Jan 2022 12:20:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370903 อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักร พุ่งเเตะระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี จากต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น อุปสงค์ที่กำลังฟื้นตัว และปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่ผลักดันให้ราคาผู้บริโภคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    โดยดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในเดือนธ.. 2021 อยู่ที่ระดับ 5.4% ต่อปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ เเละสูงกว่าเดือนพ..ที่ขยายตัว 5.1% นับเป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่เดือนมี.. 1992

    มีการประเมินว่าราคาน้ำมันและไฟฟ้า จะพุ่งขึ้นถึง 50% ในเดือนเม..นี้ ส่วนราคาสินค้าทั่วไปในเดือนธ.. ก็ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วกว่ารายรับ จนสร้างแรงกดดันต่อรายได้ครัวเรือนโดยราคาสินค้าและบริการในชีวิตประจำวันปรับสูงขึ้นเร็วกว่าค่าจ้าง

    อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นค่อนข้างกระจายตัว (broad based) ซึ่งทำให้ราคาอาหารและค่าอาหารในร้านอาหารแพงขึ้น รวมไปถึงค่าโรงแรม เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในครัวเรือน เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ

    จากเเนวโน้มค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นไปได้ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง โดยตลาดจะต้องจับตามองการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 3 .. ที่จะถึงนี้อย่างใกล้ชิด

    ทั้งนี้ เมื่อเดือนธ.. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางอังกฤษ เป็นธนาคารกลางรายใหญ่แห่งแรกที่เริ่มปรับขึ้นต้นทุนการกู้ยืม หลังจากรักษาระดับต่ำในช่วงวิกฤตโควิด-19

    ขณะเดียวกัน ตำแหน่งงานว่างที่สูงเป็นประวัติการณ์และอัตราการจ้างงานก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนเกิดโรคระบาด เชื่อมโยงกับการใช้จ่ายของผู้บริโภค

    ไม่ใช่แค่ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ค่าแรงในการทำงานก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน เเต่ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอาจไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการกลับสู่สภาวะปกติ” Paul Craig จาก Quilter Investors กล่าว

     

    ที่มา : CNBC , Bloomberg 

    ]]>
    1370903