ตลาดสินค้าหรู – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 02 Jan 2025 00:27:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไทยนิยม “รวยแบบตะโกน” มูลค่าตลาดของหรูแซงสิงคโปร์ แบรนด์ลักซูรีแห่เปิดแฟล็กชิป-ช็อป https://positioningmag.com/1505272 Sat, 28 Dec 2024 10:30:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1505272 รู้หรือไม่? ในปี 2567 มูลค่าตลาดลักซูรีในประเทศไทย คาดการณ์ว่าแซงประเทศสิงคโปร์ไปแล้ว (อ้างอิงรายงานฉบับล่าสุดของ Canvas8 ชื่อ “How are Southeast Asian shoppers changing luxury?”)

  • ไทย มีมูลค่าตลาดลักซูรี 4.93 พันล้านดอลลาร์ ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท
  • สิงคโปร์ มีมูลค่าตลาดลักซูรีอยู่ที่ 4.23 พันล้านบาท ประมาณ 1.45 แสนล้านบาท

เดิมในเอเชีย สินค้าลักซูรีมี “ญี่ปุ่น” เป็นตลาดหัวหอกสำคัญ แต่ขณะนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหมุดหมายที่แบรนด์ลักซูรีให้ความสนใจ จากกำลังซื้อมหาศาล

ปัจจัยหลักมาจากกลุ่มบุคคลที่มีความมั่งคั่งสูง (UHNWI) หรือกลุ่มที่มีทรัพย์สินเกิน 60 ล้านบาทขึ้นไป เพิ่มขึ้นในประเทศอาเซียน อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย “หรือกระทั่งไทยเอง ก็ติด Top 5 ยอดขายแบรนด์ลักซูรีสูงสุดในโลก (ตั้งแต่ช่วงโควิดแพร่ระบาด)”

โฟกัสรายได้รวมจากตลาดสินค้าสินค้าลักซูรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าจะแตะ 16,010 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 5.6 แสนล้านบาท) ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก 14,380 ล้านดอลลาร์ในปี 2565 (ประมาณ 5.03 แสนล้านบาท)

คนไทยใช้จ่ายตามใจ ช้อปสินค้าหรูตั้งแต่อายุน้อยตามไอดอล

ตั้งแต่การระบาดโควิดครั้งใหญ่ได้เปลี่ยนวิถีการใช้จ่ายของคนไทย ไปสู่การซื้อของตามใจชอบและไม่ยั้งคิด“ และผู้บริโภคชาวไทยในกลุ่มอายุน้อยเต็มใจที่จะซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ตามกระแสตามไอดอล และศิลปินในดวงใจ

แม้สิงคโปร์เป็นแหล่งช้อปปิ้งลักซูรีมานาน แต่ตอนนี้ไทยและเวียดนามตามทัน สำหรับไทยได้รับอานิสงส์จากเศรษฐีประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว เมียนมา และกัมพูชา มาซื้อสินค้าหรูหราในไทยมากขึ้น

เทรนด์รวยแบบตะโกน ไทยนิยมสินค้าหรูราคาแพง 30% ของเงินเดือน

สอดคล้องกับวิจัย “Unstoppable Luxumer เจาะอินไซต์ หยุดไม่ได้ใจมันลักซ์” ของ CMMU ระบุ แม้ภาพรวมเศรษฐกิจซบเซา แต่ผู้บริโภคไทยหันซื้อสินค้าหรูหรามากขึ้น โดย 1 ใน 3 มีพฤติกรรมติดลักซูรี

ทำให้เกิดเทรนด์ผู้บริโภคที่เรียกว่า LUXUMER ซึ่งเป็นกลุ่มนี้มักให้คุณค่า และความสำคัญกับการบริโภคสิ่งของเพื่อภาพลักษณ์ และความสุขมากกว่าคนทั่วไป โดยส่วนใหญ่ไม่ได้คำนึงถึงราคาเป็นปัจจัยหลัก

โดยในจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพบว่า 54% มีรายได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน 50% มีเงินเก็บน้อยกว่า 6 เดือน

“ชาวลักช์จำนวนมากยอมควักเงินซื้อสินค้าหรูมากถึง 10 – 30% ของรายได้ต่อเดือน”

แฟล็กชิป-ช็อปแบรนด์หรู เปิดเพิ่มในไทย

ด้วยปัจจัยข้างต้น ทำให้แบรนด์ลักซูรีระดับโลกปักหมุดสาขาใหญ่ในไทย ตั้งแต่ “Dior” ที่เปิดสาขาคอนเซ็ปต์สโตร์นอกห้าง “Dior Gold House” ที่ใหญ่ที่สุดของแบรนด์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หรือกระทั่ง Louis Vuitton ได้เปิด “LV The Place Louis Vuitton” เป็นแห่งที่ 3 ของโลก ภายใต้งบลงทุน 100 ล้านบาท ที่เกษรอัมรินทร์ ประกอบด้วยโซนรีเทล ค่าเฟ่ และนิทรรศการ

รวมไปถึง PRADA เปิดตัวบูติกใหม่ที่ภูเก็ต ตลอดจนมีการเปิดแฟล็กชิปสโตร์และคอนเซ็ปต์สโตร์ของ LOUIS VUITTON MEN BOUTIQUE, FENDI MEN BOUTIQUE, PRADA MEN BOUTIQUE, LORO PIANA, BERLUTI แบรนด์รองเท้าและเครื่องหนังสำหรับผู้ชายระดับโลกจากฝรั่งเศส แห่งเดียวในไทยที่สยามพารากอน

น่าสนใจว่าปี 2568 จะมีแบรนด์หรูไหนมาปักหมุดที่ไทยเพิ่มอีกหรือไม่ รวมถึงปัจจัยท้าทายทางเศรษฐกิจจะเขย่าตลาดสินค้าลักซูรีได้หรือไม่ คงต้องดูกันไปยาว ๆ

]]>
1505272
Bain คาด ตลาดสินค้าหรูเติบโตเพียงแค่ 4% ในปีนี้ ผลจากชาวจีนและสหรัฐฯ ลดการจับจ่ายใช้สอย https://positioningmag.com/1478719 Wed, 19 Jun 2024 03:02:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1478719 Bain & Company บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำ ได้ออกคาดการณ์ตลาดสินค้าหรูในปี 2024 นี้อาจเติบโตได้แค่ 4% เท่านั้น สาเหตุสำคัญมาจากชาวจีนและสหรัฐฯ ลดการจับจ่ายใช้สอย และคาดว่าตลาดสินค้าหรูอาจต้องใช้เวลาสักพักในการฟื้นตัวกลับมา

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงข้อมูลจาก Bain & Company บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำได้คาดการณ์ถึงตลาดสินค้าหรูในปี 2024 นี้จะเติบโตเพียงแค่ 4% เท่านั้น ซึ่งการเติบโตดังกล่าวนี้เป็นการเติบโตที่อ่อนแอมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตัวเลขตลาดสินค้าหรูเติบโตได้ถือว่าน้อยมากนั้นมาจากเรื่องของเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีนและสหรัฐอเมริกา ที่ลดการจับจ่ายใช้สอย โดยในสหรัฐฯ นั้นมาจากอัตราดอกเบี้ยที่สูง ส่งผลทำให้ลูกค้าที่เป็นชนชั้นกลางหรือกลุ่มวัยรุ่นชะลอการซื้อสินค้าหรู

แต่ในรายงานดังกล่าวของ Bain ยังชี้ว่า สำหรับกลุ่มลูกค้าร่ำรวยในสหรัฐอเมริกานั้นเริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวจากกลุ่มลูกค้าดังกล่าวแล้ว

รายงานของ Bain ยังชี้ว่าในประเทศจีนการชะลอตัวสามารถเห็นได้ชัดเจนสุดเนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อผู้ซื้อสินค้าหรู นั่นก็คือชนชั้นกลางจีน ผลกระทบดังกล่าวยังส่งผลต่อชาวจีนผู้มั่งคั่งที่ยังสามารถซื้อของหรูเหล่านี้ได้ก็ต้องระมัดระวังในการแสดงตน

Federica Levato ซึ่งเป็นพาร์ตเนอร์ของ Bain ได้กล่าวในเรื่องดังกล่าวว่า เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีนที่คนซื้อสินค้าหรูเหล่านี้จะต้องระมัดระวังในการแสดงตน หรือ Luxury Shame

ไม่เพียงเท่านี้ ในสภาพแวดล้อมที่มีอัตราการว่างงาน วิกฤตทางสังคมและเศรษฐกิจ ส่งผลทำให้ชาวจีนที่ร่ำรวยกว่าที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ย้ายการจับจ่ายใช้สอยไปยังต่างแดน ซึ่งความกังวลดังกล่าวมาจากยอดขายสินค้าของบางแบรนด์ในแดนมังกร เช่น Gucci ที่มีฐานลูกค้าชาวจีนจำนวนมากนั้นมียอดขายลดลง

สอดคล้องกับกลยุทธ์ของหลายแบรนด์ดังเองที่เริ่มหาตลาดใหม่ๆ นอกจากจีนและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากหลายประเทศมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น อินเดีย ตะวันออกกลาง หรือแม้แต่ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

การเติบโตของตลาดสินค้าหรูนั้นในปี 2022 นั้นเติบโตที่ 13% ขณะที่ปี 2023 เติบโตที่ 8% และรายงานดังกล่าวของ Bain ยังมองว่าตลาดสินค้าหรูต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวสักพัก

]]>
1478719
ยอดขายกลุ่ม ‘LVMH’ หดตัว 2% เนื่องจากตลาด ‘เอเชีย’ ซบเซาหนัก แม้ยอดขายของ ‘จีน’ จะโต 10% https://positioningmag.com/1470367 Thu, 18 Apr 2024 15:10:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470367 สินค้าลักชัวรีที่หลายคนมองว่าปัญหา กำลังซื้อ นั้นไม่ส่งผลกระทบ เพราะเป็นสินค้าที่จับลูกค้ากระเป๋าหนัก อย่างไรก็ตาม ด้วยความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ยอดขายของกลุ่ม LVMH หดตัว 2%

เครือกลุ่ม LVMH ที่ถือครองแบรนด์หรูรวมกว่า 75 แบรนด์ อาทิ Louis Vuitton, Tiffany & Co. และ Bulgari ได้เปิดเผยผลประกอบการช่วง Q1/2024 โดยหดตัว -2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา คิดเป็นรายได้ 2 หมื่นล้านยูโร 

โดยกลุ่มสินค้าที่หดตัวมากที่สุดคือ ไวน์และสุรา ลดลง -12% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ สินค้าสินค้าแฟชั่นและเครื่องหนัง เช่น แบรนด์ Louis Vuitton เติบโต +2%  ขณะที่ไตรมาสที่แล้วเติบโต 9% 

ส่วนสินค้าประเภท นาฬิกาและจิวเวลรี มียอดขาย ลดลง -2% ในขณะที่หมวดหมู่ น้ำหอมกับเครื่องสำอาง มียอดขายสูงขึ้น +7% ส่วนหมวดหมู่ Selective Retailing มียอดขายสูงขึ้น +11%

โดยยอดขายใน ตลาดเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ลดลง -6% โดยตลาดสำคัญอย่าง จีน ที่ถือเป็นตลาดที่ขับเคลื่อนภูมิภาคเอเชีย เติบโต 10% และในส่วนของตลาด ญี่ปุ่น สามารถเติบโตได้ถึง +32% โดยได้ปัจจัยสนับสนุนจากการอ่อนค่าของเงินเยน ส่วนยอดขายในตลาด ยุโรป และ สหรัฐฯ เติบโต +2%

ทั้งนี้ Bain & Company บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินคาดการณ์ว่า ตลาดสินค้าหรูมีแนวโน้มเติบโตเพียง 1-4% ในปีนี้ จากที่เคยคาดการณ์ในปีที่แล้วว่าจะเติบโตประมาณ 8-10%

LVMH / Reuters

]]>
1470367
สินค้า ‘ลักชัวรี’ เติบโตเป็นประวัติการณ์ ‘Gen Z’ ฐานลูกค้าใหม่ช่วยดันตลาด https://positioningmag.com/1408708 Thu, 17 Nov 2022 05:03:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1408708 แม้จะมีความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจท่วโลก แต่อุตสาหกรรมสินค้าหรูหราทั่วโลกยังคงเติบโตและคาดว่าจะขยายตัวต่อไปในปี 2566 และยาวไปจนถึงปี 2573 ตามผลการศึกษาล่าสุดของ Bain & Company Luxury ที่ความร่วมมือกับ Fondazione Altagamma

ยอดขาย สินค้าลักชัวรี ทั่วโลกเติบโตเร็วกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย โดยได้แรงหนุนจากความต้องการของลูกค้าที่อั้นตั้งแต่ช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยคาดว่ามูลค่าของตลาดลักชัวรีปีนี้จะเติบโต 22% ในปีนี้เป็น 3.53 แสนล้านยูโร (1.3 ล้านล้านบาท) จากปี 2564 ที่มีมูลค่า 2.90 แสนล้านยูโร (1 ล้านล้านบาท) และคิดว่าจะเติบโตเป็น 5.5-5.7 แสนล้านยูโร ภายใน 5 ปีข้างหน้า

“การบริโภคไม่ใช่แค่กลับมาอยู่ในระดับก่อนวิกฤต แต่เป็นการเกิดใหม่ของตลาด เนื่องจากเห็นการเติบโตของฐานผู้บริโภคอายุน้อย Claudia D’Arpizio ผู้ร่วมวิจัยกล่าว

ปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมสินค้าลักชัวรีเติบโตนอกจากที่อั้นมาจาก 2-3 ปีก่อนแล้ว อีกส่วนคือ ฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้น โดย อายุเฉลี่ยของนักช้อปสินค้าลักชัวรีลดลงเรื่อย ๆ แม้ปัจจุบัน 50% ของนักช้อปจะมาจากกลุ่มอายุ 25-40 ปี แต่กลุ่ม Gen Z (12-25 ปี) คิดเป็นเกือบ 20% ของยอดขายสินค้าลักชัวรี และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้ แบรนด์เองก็พัฒนาด้านการตลาดผ่านโซเชียลมีเดียจนมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมถึงการมุ่งเน้นประสบการณ์การช้อปปิ้งในช็อปของแบรนด์

ในส่วนของตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรปเป็นตลาดที่แข็งแกร่งที่สุด แม้จะมีสัญญาณความอิ่มตัว โดยแต่ละตลาดเติบโตขึ้นประมาณ 1 ใน 4 โดยในตลาดสหรัฐอเมริกาคาดว่าจะสูงถึง 1.13 แสนล้านยูโรในปีนี้ ในขณะที่ยุโรปเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกที่มียอดขาย 9.4 หมื่นล้านยูโร ส่วนตลาดรัสเซียที่กำลังทำสงครามกับยูเครนนั้น แทบจะไม่ส่งผลกระทบเพราะคิดเป็นเพียง 2% ของตลาดรวม

วิถีคนรวย! LVMH ขายดีสวนกระแสเศรษฐกิจ ดีมานด์กระเป๋า-เสื้อผ้าหรูแรงต่อเนื่อง

ส่วนกลุ่ม ผู้บริโภคชาวจีน ยังเป็นตัวขับเคลื่อนที่แข็งแกร่ง แม้ว่ามีผลกระทบจากการล็อกดาวน์ COVID-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ ทำให้น้ำหนักโดยรวมของพวกเขาก็ลดลงจากการเกิดขึ้นของตลาดใหม่ โดยก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่านักช้อปชาวจีนจะคิดเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่งของตลาดภายในปี 2573 แต่ปัจจุบันคาดว่าจะลดลงเหลือ 40%

สำหรับเทรนด์สินค้าลักชัวรี่ที่มาแรง อาทิ กระเป๋าถือขนาดเล็กที่สำหรับผู้บริโภควัยรุ่น นอกจากนี้ แบรนด์ก็เริ่มทำราคาที่จับต้องได้มากขึ้นเพื่อสร้างความผูกพันกับแบรนด์ อย่างไรก็ตาม ภายในรายงานดังกล่าวไม่ได้ใช้เป็นข้อพิสูจน์ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย แม้ว่ายอดขายสินค้าฟุ่มเฟือยพุ่งสูงขึ้นก็ตาม

Source

]]>
1408708
มาแรง! ราคาบ้านหรูใน “เสิ่นเจิ้น” พุ่ง 19% สวนทาง “ฮ่องกง-ลอนดอน-นิวยอร์ก” ราคาตก https://positioningmag.com/1331073 Fri, 07 May 2021 10:57:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331073 “ไนท์แฟรงค์” รายงานดัชนีราคา “บ้านหรู” ในเมืองหลักของโลกไตรมาส 1/2021 พบราคาบ้านหรู “เสิ่นเจิ้น” เมืองเทคโนโลยีของจีน โตพรวดเกือบ 19% สวนทางกับมหานครดั้งเดิมอย่าง “ฮ่องกง-ลอนดอน-นิวยอร์ก” ราคาบ้านหรูตกลงถ้วนหน้า สำหรับ “กรุงเทพฯ” ราคาลดลงเช่นกันที่ -2.4%

ไนท์แฟรงค์ บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ รายงานดัชนีราคา “บ้านหรู” ไตรมาส 1/2021 พบว่า ราคาบ้านหรูทั่วโลกปรับขึ้นเฉลี่ย 4.6% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จาก 46 เมืองที่ทำการสำรวจ พบว่ามี 67% ที่ราคาบ้านหรูเติบโตขึ้น ส่วนที่เหลือไม่เติบโต (*นิยามอสังหาฯ ระดับไพรม์หรือบ้านหรูของไนท์แฟรงค์ หมายถึง บ้านที่มีมูลค่าสูงในระดับ Top 5% ของตลาด)

โดยในไตรมาสที่ผ่านมามี 11 เมืองที่ราคาบ้านหรูโตแบบ “ดับเบิล ดิจิต” ที่น่าสนใจคือ Top 3 ของเมืองที่ราคาบ้านหรูเติบโตมากที่สุดล้วนเป็นเมืองใหญ่ในจีน ได้แก่ “เสิ่นเจิ้น” (+18.9%) “เซี่ยงไฮ้” (+16.3%) และ “กวางโจว” (+16.2%)

เมืองอื่นๆ ในระดับ Top 10 ที่ราคาบ้านหรูเติบโตสูง ได้แก่ แวนคูเวอร์ (+15.2%) โซล (+14.8%) เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (+13.4%) ลอสแอนเจลิส (+12.6%) มอสโคว (+12.4%) ไทเป (+12.2%) และไมอามี (+10.2%)

เมื่อไปดูท้ายตารางพบว่า หลายเมืองที่เป็นมหานครดั้งเดิมของโลก ราคาบ้านหรูในเมืองเหล่านี้เข้าสู่ช่วงติดลบ เช่น นิวยอร์ก (-5.8%) ปารีส (-3.7%) ดูไบ (-3.6%) ลอนดอน (-3.5%) ฮ่องกง (-3.1%) โดยเมืองเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเมืองที่มีราคาอสังหาฯ แพงที่สุดของโลก เช่น ฮ่องกง แพงเป็นอันดับ 2, ลอนดอน อันดับ 3, นิวยอร์ก อันดับ 4 หรือ ปารีส อยู่ในอันดับ 7

ทั้งนี้ สำหรับกรุงเทพฯ อยู่ในครึ่งล่างของตาราง เนื่องจากราคาบ้านหรูติดลบ -2.4% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน

ไนท์แฟรงค์ระบุว่า 3 เมืองใหญ่ของจีน ราคาอสังหาฯ เติบโตได้ดีเพราะแรงจูงใจจากเศรษฐกิจที่กำลังเป็นขาขึ้นหลังฟื้นตัวจาก COVID-19 ได้ก่อนใคร และมาจากการลงทุนในเมืองเหล่านี้ของรัฐบาลจีน ส่งเสริมให้นักลงทุนต้องการซื้ออสังหาฯ โดยเฉพาะเมืองเสิ่นเจิ้นและกวางโจวซึ่งอยู่ในเขต Greater Bay Area ของประเทศจีน

เสิ่นเจิ้น

ส่วนเมืองที่ราคาอสังหาฯ ติดลบนั้น เกิดขึ้นจากหลายเหตุผลแตกต่างกันไป เช่น ผ่านการล็อกดาวน์หลายครั้ง มีซัพพลายล้นตลาด ไปจนถึงนโยบายด้านภาษีที่ปรับสูงขึ้น แต่ไนท์แฟรงค์คาดว่าราคาน่าจะปรับดีขึ้นได้ในช่วงครึ่งปีหลัง 2021 เมื่อการเดินทางทั่วโลกเริ่มสะดวกขึ้น

สำนักข่าว South China Morning Post รายงานถึงประเด็นนี้ว่า เสิ่นเจิ้นเคยเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงธรรมดาเมื่อ 4 ทศวรรษก่อน แต่ปัจจุบันเสิ่นเจิ้นคือที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของจีนหลายแห่ง เช่น Tencent, Huawei, Ping An Group และ DJI

หลังการปรับราคาขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันราคาบ้านหรูของเสิ่นเจิ้นตกราคาเฉลี่ย 100,000 หยวนต่อตร.ม. (ประมาณ 483,000 บาทต่อตร.ม.) บ้านลักชัวรีในเสิ่นเจิ้นมักจะมีขนาด 200 ตร.ม.ขึ้นไป เท่ากับตกยูนิตละประมาณ 20 ล้านหยวน (ประมาณ 96.6 ล้านบาท)

]]>
1331073
ฮึดสู้! ธุรกิจ “อัญมณี” จัดมหกรรมขายออนไลน์ข้ามโลก ต่อลมหายใจผู้ค้ารายย่อย https://positioningmag.com/1302146 Mon, 19 Oct 2020 09:53:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302146 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับเอกชน 600 บริษัท จัดงานมหกรรม BGJF Special Edition – On Ground to Online Exhibition ครั้งแรกที่จัดงานเทรดดิ้งอัญมณีออนไลน์ผ่านภาครัฐ เปิดพื้นที่ให้ผู้ค้ารายกลางถึงรายย่อยมีช่องทางขาย หลังตลาดค้าอัญมณีปีนี้ติดลบแล้ว 10% จากเศรษฐกิจฝืดทั่วโลก ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างระวัง เน้นซื้อสินค้าชิ้นเล็กราคาย่อมเยา

“สมเด็จ สุสมบูรณ์” อธิบดี กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ แถลงการจัดงาน BGJF Special Edition – On Ground to Online Exhibition ระหว่างวันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2563 โดยเป็นงานมหกรรมจัดแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับรูปแบบออนไลน์ครั้งแรกที่รัฐจัดขึ้น จากปกติจะจัดงานออกร้านแบบออฟไลน์ปีละ 2 ครั้งในเดือนกุมภาพันธ์และกันยายนของทุกปี

โดยปีนี้มีความจำเป็นต้องปรับรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ COVID-19 ที่ชาวต่างชาติยังไม่สามารถบินเข้าประเทศได้อย่างอิสระ การจัดงานจึงจะไปอยู่บนแพลตฟอร์มเว็บไซต์ www.bkkgems-vts.com แทน ลักษณะคล้ายกับแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ แต่รวบรวมเฉพาะสินค้าอัญมณี-เครื่องประดับจากบริษัทไทย 600 บริษัทไว้ให้ผู้ซื้อเลือกสรร และเป็นช่องทางให้พูดคุยระหว่างกันผ่านแชทหรือวิดีโอคอลได้

แฟชั่นโชว์เปิดตัวงาน BGJF Special Edition – On Ground to Online Exhibition

ทั้งนี้ ปกติบริษัทใหญ่จะมีช่องทางเทรดดิ้งออนไลน์ของตนเองอยู่แล้ว ดังนั้นงานครั้งนี้จะตอบโจทย์ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายกลางถึงรายย่อยได้ตรงจุด โดยประเมินว่าใน 600 บริษัท มีผู้ค้าราว 70% ที่เป็นรายกลางรายย่อย และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ภายในงาน มีการจัดสัมมนาให้ความรู้การใช้แพลตฟอร์มก่อนถึงวันงาน พร้อมอุปกรณ์ถ่ายภาพส่นกลางที่กรมฯ ไว้ให้ใช้งาน รวมถึงมีล่ามแปลภาษาด้วย

สมเด็จกล่าวว่า งานครั้งนี้ตั้งเป้ามียอดขายเกิดขึ้นภายในงานราว 1,200 ล้านบาท โดยขณะนี้มีผู้ซื้อต่างประเทศที่สนใจลงทะเบียนแล้วกว่า 230 บริษัท ส่วนใหญ่มาจากทวีปยุโรป ประเทศอินเดีย และประเทศจีน คาดว่าจะมีการจับคู่ธุรกิจไม่น้อยกว่า 1,000 คู่ และผู้เข้าชมสินค้าไม่ต่ำกว่า 50,000 ราย

 

ปี’63 ตลาดอัญมณีหด 10% คาดต่อเนื่องถึงปีหน้า

สำหรับสถานการณ์ตลาดอัญมณีไทยปีนี้ สมเด็จให้ข้อมูลว่า หากรวมตลาดทั้งทองคำ อัญมณี และเครื่องประดับเติบโต 1% แต่ถ้าตัดทองคำออก นับเฉพาะกลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ ปีนี้ตลาดหดตัวแล้ว 10% (ข้อมูลปี 2562 ประเทศไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรวมทองคำมูลค่าถึง 4.86 แสนล้านบาท) เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจหยุดชะงักทั่วโลก ผู้บริโภคไม่มั่นใจในการซื้อสินค้าที่ถูกมองว่าเป็นของฟุ่มเฟือย

สถานการณ์เช่นนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องถึงปี 2564 แต่สมเด็จหวังว่าช่วงปีหน้าการเดินทางระหว่างประเทศจะผ่อนคลายได้บ้าง โดยประเทศไทยอาจมี Travel Bubble กับบางประเทศที่ปลอดภัย เพื่ออย่างน้อยทำให้กลุ่มอัญมณีได้จัดงาน BGJF แบบ On Ground ตามปกติในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้เม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศได้หลักหมื่นล้านบาท

(จากซ้าย) “สุริยน ศรีอรทัยกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวตี้ เจมส์ จำกัด, แนท-อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2558 และ “สมเด็จ สุสมบูรณ์” อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

ด้าน “สุริยน ศรีอรทัยกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวตี้ เจมส์ จำกัด ฉายภาพย้อนหลังของธุรกิจอัญมณีว่า เปรียบเหมือนแชมเปี้ยนที่ถูกหมัดน็อกกลางอากาศ เพราะธุรกิจกำลังเป็นขาขึ้นแต่เมื่อเผชิญ COVID-19 ทำให้หยุดชะงักทันทีในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ก่อนจะค่อยฟื้นตัวช่วงมิถุนายน และการขายในประเทศกลับมาคึกคักขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ถือว่ากลับมาดีดังเก่า ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทจะมีแรงจัดโปรโมชันเพื่อดึงลูกค้าเข้ามา ทำให้ขณะนี้บางโรงงานยังไม่กลับมาทำงานตามปกติ ต้องหยุดชั่วคราวหรือเปิดงานเพียง 3 วันต่อสัปดาห์

 

เทรนด์ซื้อเครื่องประดับถูกลง

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้ข้อมูลเพิ่มว่า หลังจากเกิด COVID-19 เทรนด์การซื้อขายเครื่องประดับพบว่า กลุ่มเครื่องประดับราคาไม่สูงในหลัก 5,000-50,000 บาทมาแรงขึ้น แทนที่กลุ่มราคาหลักแสนบาทขึ้นไป มองว่าเป็นเพราะผู้ที่มีกำลังซื้อมีความระมัดระวังการใช้จ่ายสูงขึ้น แต่ก็ยังมีความต้องการของใช้สวยงาม จึงเลือกลดงบมาซื้อเครื่องประดับราคาย่อมเยาลง โดยกลุ่มสินค้านี้มักจะเป็นกลุ่มเครื่องประดับประเภททองคำขาวและเงิน

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเทรนด์การหันมาซื้อเครื่องประดับชิ้นเล็กราคาไม่แพง ก็ยังไม่สามารถชดเชยตลาดรวมได้ โดยเฉพาะถ้าหากมองภาพการส่งออก จะเห็นได้ว่าตลาดอื่นทั่วโลกส่วนใหญ่ยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากมีการระบาดระลอกสองจนต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้ง ดังนั้น บริษัทใหญ่ที่มีฐานผลิตในไทย เช่น Pandora, Louis Vuitton จะยังไม่มีการสั่งสินค้าไปสต๊อกรอวางขายในต่างประเทศ เป็นเหตุให้ยอดส่งออกต่ำลง

นาทีนี้ไทยจึงต้องช่วยไทยกันเอง โดยสุริยนกล่าวขอเชิญชวนให้คนไทยที่ยังมีกำลังซื้อเข้าซื้ออัญมณี เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องประดับสวยงามแล้ว ยังเป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนอย่างหนึ่งเทียบได้กับทองคำ เหมาะกับช่วงที่เศรษฐกิจมีความผันผวนเช่นนี้

]]>
1302146
ตลาดสินค้าหรูในจีนยังสดใส มูลค่ากว่า 1.45 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเกือบครึ่งของตลาดโลก! https://positioningmag.com/1260047 Sat, 11 Jan 2020 19:36:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1260047 ตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยจีนยังนำหน้าในด้านอัตราเติบโตของสินค้าหรูโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมค้าปลีกออนไลน์ในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยตามกลุ่มเมืองระดับรองๆ ลงไปของจีนที่บูมขึ้นมาเนื่องจากกระแสความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่เล่นไอที และต้องการสร้างสไตล์ชีวิตแบบมีระดับ

จากรายงานของบริษัทปรึกษาการลงทุนโลกและบริษัทอีคอมเมิร์ชกลุ่มสินค้าหรูจีน Secoo Holding Ltd พบว่าคนจีนมีการใช้จ่ายไปกับสินค้าหรูคิดเป็นมูลค่า 145,700 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018 คิดเป็นอัตราเพิ่ม 7% ปีต่อปี และคิดเป็น 42% ของตลาดสินค้าหรูทั้งโลกซึ่งมีมูลค่า 347,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

การบริโภคสินค้าหรูในเมืองระดับรองๆของจีนกำลังขยายตัว โดยเมืองระดับที่สามลงไปมีอัตราขยายตัวอย่างมากในด้านการใช้จ่ายและพลังการซื้อ

ผู้บริโภคสินค้าทางออนไลน์ตามกลุ่มเมืองระดับรองๆ ของจีนยินดีควักกระเป๋าซื้อเสื้อผ้า และรองเท้า สินค้าดิจิตัล ผลิตภัณฑ์ถนอมผิวและเสริมความงาม ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคในเมืองชั้นที่หนึ่งจับจ่ายซื้อสินค้าหรูแบบดั้งเดิม อย่างเช่น เสื้อผ้าสตรี กระเป๋า นาฬิกา เครื่องประดับ และรองเท้า

“กลุ่มผู้บริโภคในเมืองระดับรองลงไปมีโอกาสที่จำกัดในการซื้อสินค้าหรูในร้านค้า ดังนั้นจึงหันมาซื้อผ่านช่องทางออนไลน์” จาง เทียนปิง ผู้นำอุตสาหกรรมค้าปลีกและสินค้าบริโภคแห่ง Deloitte Asia-Pacific

ผู้ค้าปลีกผ่านช่องออนไลน์จีนกำลังมองหาช่องทางทำเงินจากกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการสินค้าแฟชั่นที่มีการออกแบบ และผนึกกำลังกับกลุ่มแบรนด์หรูที่เชื่อมั่นในการขายผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ชโลกที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลเว็บไซต์สินค้าหรูเผยยอดการซื้อขายสินค้ารวม (GMV – Gross Merchandise Volume) ของตน สูงแตะ 3,661 ล้านเหรียญหยวนในไตรมาสที่สามของปี 2019 คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 66.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยรายได้เพิ่มถึง 1,940 ล้านหยวนในระหว่างเดือน ก.ค.-ก.ย. เพิ่ม 23.5% ปีต่อปี รายได้สุทธิสูงขึ้น 38.3% คิดเป็นมูลค่า 62.1 ล้านหยวน

หลี่ รื่อเสวีย ประธานและซีอีโอของ Secoo กล่าวว่าโมเมนตัมการเติบโตดังกล่าวย้ำถึงความต้องการที่ขยายตัวของการช้อปสินค้าหรูผ่านช่องทางออนไลน์ในขณะที่กลุ่มรายได้ปานกลางในจีนสูงกำลังขยายตัว

“เรายังโฟกัสการพัฒนาเทคโนโลยี อย่างเช่น เอไอ ฐานข้อมูลใหญ่ (บิ๊กดาต้า) และคลาวด์คอมพิวติ้งเพื่อขยายปฏิบัติการอัจฉริยะในพื้นที่ที่กว้างขึ้น” หลี่กล่าว และว่าขณะเดียวกันยังได้สร้างศูนย์การขายออฟไลน์ในกลุ่มเมืองชั้นที่หนึ่งและชั้นที่สองทั่วประเทศ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และชิงเต่า

Secoo ยังได้ลงนามความร่วมมือร่วมทุนกับ Ultrain ซึ่งเป็นผู้นำโลกแห่งเทคโนโลยีพับลิก บล็อกเชน (public-blockchain) เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการรับรองสินค้าหรู แบรนด์เนมของแท้

เป็นที่คาดว่าการใช้จ่ายสินค้าหรูในจีนจะเพิ่มเป็นเท่าตัว เท่ากับ 1.2 ล้านล้านหยวนในปี 2025 คิดเป็นอัตราขยายตัว 65 เปอร์เซ็นต์ของตลาดโลก จากรายงานของ McKinsey

ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ชจีน JD และ Farfetch Ltd บริษัทผลิตภัณฑ์แฟชั่นหรูในสหราชอาณาจักร ได้จับมือกันเป็นคู่หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อเจาะประตูเข้าสู่ตลาดสินค้าหรูในจีน

Toplife แพลตฟอร์มเรือธงบนออนไลน์ของ JD ได้ควบรวมกับ Farfetch China ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้กลุ่มผู้บริโภค 300 ล้านคนของ JD เข้าถึงสินค้ามากกว่า 3,000 แบรนด์ผ่านเครือข่ายของ Farfetch ซึ่งมีแบรนด์หรูมากกว่า 1,000 ราย และคู่หุ้นส่วนบูติก

ในเดือน ต.ค. อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลอิ้ง จับมือเป็นหุ้นส่วนกับ Richemont ยักษ์ใหญ่ผลิตภัณฑ์หรู เพื่อนำเสนอบริการต่างๆจากผู้ค้าปลีกออนไลน์ Yoox Net-a-Porter Group ให้แก่ผู้บริโภคจีน ในปี 2017 อาลีบาบาได้เปิดตัว Luxury Pavilion นำเสนอสินค้าติดป้ายดีไซเนอร์ ทั้งเสื้อผ้า น้ำหอม และผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ไปยันนาฬิกา และเครื่องประดับเพชรทอง

กระแสคาดการณ์ต่างชี้ว่าจีนจะครอบงำตลาดสินค้าหรูโลกต่อไปอย่างแน่นอน

Source

]]>
1260047