ธนาคารกรุงศรีอยุธยา BAY – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 07 Mar 2024 05:49:49 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กรุงศรี ชูโซลูชัน ESG Finance ตอบโจทย์ความยั่งยืน คาดสินเชื่อกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่โตได้ 4-6% ได้ในปีนี้ https://positioningmag.com/1465442 Thu, 07 Mar 2024 01:48:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465442 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ชูโซลูชัน ESG Finance ตอบโจทย์ความยั่งยืนของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของสินเชื่อ หรือบริการทางการเงินอื่นๆ นอกจากนี้ยังคาดว่าสินเชื่อกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่โตได้ 4-6% ได้ในปีนี้ โดยมองเห็นโอกาสจากบริษัทใหญ่ แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะมีความท้าทายก็ตาม

ประกอบ เพียรเจริญ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงในปี 2023 ที่ผ่านมา ทางกรุงศรี มีสินเชื่อเติบโตในส่วนของบริษัทขนาดใหญ่อยู่ที่ 2.6% ซึ่งในปีที่ผ่านมาถือว่ามีความท้าทายอย่างมาก

ขณะที่ในด้านการสนับสนุนด้านความยั่งยืนนั้นมีดีลสำคัญๆ เช่น การปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนให้ บมจ. ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำนวน 11,500 ล้านบาท การปล่อย Green Loan และเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินแต่เพียงรายเดียวให้กับ บมจ. เอสซีจี แพคเกจจิ้ง มูลค่า 3,000 ล้านบาท

และยังรวมถึงการเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืนและเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับหลายองค์กร ในขณะที่ด้านการเป็นที่ปรึกษาการเงิน ทางกรุงศรีได้เป็นที่ปรึกษาดีลต่างๆ เช่น การนำเสนอบริการด้านดิจิทัลสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ในการอำนวยความสะดวกด้านการชำระเงินให้กับลูกค้า เป็นต้น

สำหรับในปี 2024 ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ ของทางกรุงศรี มองว่าปีนี้มีความท้าทายมากกว่าเดิม เนื่องจากคาดการณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจนั้นอยู่ที่ราวๆ 2.7% โดยกลยุทธ์ในปีนี้ประกอบไปด้วย

  1. พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อส่งเสริมลูกค้าในการเปลี่ยนผ่านสู่เส้นทางการเงินเพื่อความยั่งยืน โดยฝ่าย ESG Finance จะเดินหน้าให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินเพื่อความยั่งยืน รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาเพื่อช่วยวางแผนในช่วงการเปลี่ยนผ่าน โดยจะปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับเครือข่าย MUFG พร้อมเดินหน้าจัดระเบียบพอร์ตสินเชื่อของธนาคารตามมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy)
  2. เพิ่มศักยภาพการบริการด้านวาณิชธนกิจ โดยมุ่งเน้นการให้บริการด้านการให้คำปรึกษาและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ผ่านการร่วมมือกับทุกหน่วยงานของกรุงศรี กรุ๊ป เครือข่ายของ MUFG และเครือข่ายธนาคารพันธมิตรในอาเซียน ซึ่งบริการนั้นครอบคลุมตั้งแต่การระดมทุนจากการกู้ยืม การระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ (Debt Capital Markets) การทำสินเชื่อโครงการ (Project Finance/Structure Finance) ในหลายๆ อุตสาหกรรมทั้งพลังงานหมุนเวียน ศูนย์ข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน การซื้อขายและควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions) การระดมทุนผ่านตลาดตราสารทุน (Equity Capital Markets)

ขณะเดียวกันประกอบได้ชี้ถึงการซื้อธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) เข้ามานั้นช่วยลูกค้าให้เข้าถึงตลาดทุนได้มากขึ้น แม้ว่าสภาวะตลาดหุ้นไทยจะไม่ดีก็ตาม ในส่วนของการออกหุ้นกู้นั้นเขามองว่าเวลาออกหุ้นกู้มาอยากให้นักลงทุนมั่นใจเวลาซื้อเช่นกัน เพราะกรุงศรีนั้นขายหุ้นกู้ให้กับสถาบันการเงินและนักลงทุนรายย่อยด้วย

ประกอบตั้งเป้าว่า ในปีนี้ตั้งเป้าการเติบโตด้านสินเชื่อในส่วนของของบริษัทขนาดใหญ่อยู่ที่ 4-6% โดยมองว่าตัวเลขดังกล่าวนั้นมีท้าทาย แต่เขาก็ชี้ว่ามีโอกาสเนื่องจากธนาคารมองว่าเข้าไปตอบโจทย์ลูกค้าได้

 

]]>
1465442
เปิดเเผน 3 ปี ‘กรุงศรี’ รุกอาเซียน ทุ่ม 8.5 พันล้านลงทุนดิจิทัล ดัน ‘เงินติดล้อ’ เข้าตลาดหุ้น https://positioningmag.com/1317776 Wed, 03 Feb 2021 13:11:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317776 เเบงก์กรุงศรีประกาศแผนธุรกิจระยะกลาง 3 ปี รุกหนักลงทุนอาเซียน ไม่หวั่นความไม่เเน่นอนทางการเมือง ทุ่มงบดิจิทัล 8,000-8,500 ล้านบาทต่อปี ตั้งเป้าสินเชื่อโต 3-5% เน้นธุรกิจใหญ่ คุมหนี้เสียไม่เกิน 2.7% คงนโยบายตั้งสำรองสูง เดินหน้าส่ง ‘เงินติดล้อเข้า IPO ตลาดหุ้นไทย

กรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY ในเครือของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (MUFG) ประกาศแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ปี 2564 – 2566

เซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร BAY กล่าวถึง ทิศทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ว่า การเติบโตยังคงชะลอตัว จากผลกระทบของการระบาด COVID-19 ระลอกใหม่ เเต่ก็ยังมีปัจจัยหนุนให้เติบโตได้ อย่าง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เเละการกระจายวัคซีน

ความท้าทายที่สุดของปีนี้ ยังคงเป็นเรื่อง COVID-19 คาดว่าในช่วงไตรมาส 2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ จะกลับมาเเละฟื้นตัวดีขึ้น

โดยแผนธุรกิจระยะกลางฉบับใหม่ดังกล่าว จะเน้นให้ความสำคัญกับการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดีขึ้น ควบคู่กับการเร่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในตลาดใหม่ โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ผ่านกลยุทธ์การขับเคลื่อนธุรกิจ 5 ประการได้เเก่

1) ปฏิรูปธุรกิจลูกค้ารายย่อยให้เป็นหนึ่งเดียว (One Retail Transformation) โดยอาศัยฐานข้อมูลลูกค้าขนาดใหญ่ของกรุงศรี เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงความต้องการเฉพาะตัวของลูกค้า

2) เสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจด้านลูกค้าธุรกิจ (Commercial Business Enhancement) ผ่านการเร่งสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับห่วงโซ่ธุรกิจและการให้บริการข้ามกลุ่มลูกค้า

3) สร้างระบบนิเวศของกรุงศรีเองและการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ (Ecosystem and Partnership) เพื่อขยายฐานลูกค้า

4) ขยายธุรกิจสู่ระดับภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Expansion) เปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ สำหรับกรุงศรีและลูกค้าในตลาดอาเซียน โดยตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการลงทุนและการช่วยเหลือลูกค้าในการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในอาเซียน

5) การสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ (New Revenue Stream) โดยอาศัยความแข็งแกร่งและศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาของกรุงศรีในการพัฒนานวัตกรรมโซลูชั่นใหม่ๆ

เซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ทุ่มงบดิจิทัล 8,000-8,500 ล้านบาทต่อปี

ซีอีโอกรุงศรี มองว่า การพัฒนาศักยภาพทางด้านดิจิทัล เป็นหัวใจสำคัญในการแสวงหาเทคโนโลยีใหม่เเละจะช่วยผลักดันกลยุทธ์ต่างๆ ให้ไปสู่เป้าหมาย เพราะต่อไป ‘องค์กรจะขับเคลื่อนด้วยข้อมูล’

ธนาคารจึงได้ตั้บงบประมาณในการลงทุนด้านไอที ราว 8,000-8,500 ล้านบาทต่อปี โดยส่วนใหญ่จะลงทุนในด้าน ‘Big Data’ พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างระบบนิเวศเทคโนโลยี และต่อยอดการเป็น ‘ดิจิทัลเเบงกิ้ง’ เพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังตลาดต่างประเทศ

ตั้งเป้าสินเชื่อ 3-5% เน้นธุรกิจใหญ่

สำหรับเป้าหมายทางการเงินในปี 2564 กรุงศรีฯ หวังว่า การเติบโตของสินเชื่อจะอยู่ที่ระดับ 3-5% ซึ่งจะเน้นไปที่สินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่ราว 5-6% และสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และรายย่อยอยู่ที่ 3-4%

ด้านต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 3.1-3.3% การเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับเดียวกับปีที่ผ่านมา และจะพยายามควบคุมคุณภาพหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ให้ไม่เกิน 2.7%

ขณะที่การตั้ง ‘สำรองหนี้สงสัยจะสูญ’ ในปีนี้ กรุงศรียังใช้นโยบายการตั้งสำรองในระดับสูงเช่นเดิม เเต่ตัวเลขน่าจะต่ำลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

ทั้งนี้ รายงานผลประกอบการในปี 2563 กรุงศรีมีกำไรสุทธิจำนวน 23,040 ล้านบาท ลดลง 14.5% เมื่อเทียบกับปี 2562 อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ 42.52% สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ 2% และอัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้อยู่ในระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 175.12% ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนอยู่ที่ 19.10%

Photo : Shutterstock

ดันขาย IPO เงินติดล้อ 

สำหรับความคืบหน้าการเข้าตลาดหุ้นไทยของบริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ NTL ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าของธนาคารกรุงศรีที่ถือหุ้นอยู่ 50% และ Siam Asia Credit Access Ple Ltd (SACA) ถือหุ้นอยู่ 50%

ดวงดาว วงศ์พนิตกฤต ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า อยู่ระหว่างการดำเนินการออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) และจะนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

“ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการรอสำนักงาน ก.ล.ต. อนุมัติไฟลิ่ง คาดว่าจะใช้เวลาในการอนุมัติใน 6 เดือน ซึ่งภายหลังการอนุมัติ บริษัทจะดำเนินการภายในเวลาอีก 1 ปี ดังนั้นระยะเวลาปิดรายการแล้วเสร็จ น่าจะเห็นภายในสิ้นปีนี้ หรือกลางปี 2565” 

ด้าน ‘ราคา’ กำลังพิจารณาอยู่นั้น ยังไม่สามารถบอกได้ เพราะต้องดูความสนใจของตลาดเเละมหาชนเป็นหลัก โดยกรุงศรีจะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเป็นไม่ต่ำกว่า 30%

รุกลงทุนอาเซียน ไม่หวั่นการเมือง ‘ไม่เเน่นอน’

สำหรับเศรษฐกิจในอาเซียนนั้น กรุงศรี ประเมินว่า จะมีการฟื้นตัวเร็ว เเละจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งกว่าภูมิภาคอื่น ด้วยอานิสงส์จากต่างประเทศ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การลงทุนของภาครัฐ และการขยายเศรษฐกิจสู่ระดับภูมิภาค โดยมองว่าตลาดอาเซียนจะเติบโตสูง หลังวิกฤตโรคระบาด

ส่วนเศรษฐกิจโลก จะเริ่มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้ความเสี่ยงในภาคอุตสาหกรรมบริการเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ความแข็งแกร่งของภาคการผลิต ประกอบกับมาตรการต่างๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จะยังคงเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจ

เมื่อถามว่า ความไม่เเน่นอนทางการเมืองในอาเซียน ส่งผลต่อการลงทุนของธนาคารหรือไม่นั้น ผู้บริหารกรุงศรีตอบว่า

“การลงทุนในประเทศ Emerging Market ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องการเมืองที่ไม่เเน่นอน เเต่ไม่ได้ทำให้เป้าหมายใหญ่เปลี่ยนไป เพราะธนาคารเน้นมองในภาพใหญ่และเป็นเป้าหมายในระยะยาวมากกว่า ซึ่งตลาดอาเซียนมีเเนวโน้มเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปเเละเป็นโอกาสสำคัญในการลงทุน” 

เเผนการขยายธุรกิจในอาเซียนของธนาคารกรุงศรีฯ

ในปีที่ผ่านมา กรุงศรีขยายฐานธุรกิจไปยังภูมิภาคอาเซียน เช่น การยกระดับ Hattha Kaksekar Ltd. บริษัทไมโครไฟแนนซ์เครือกรุงศรีในกัมพูชาขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ Hattha Bank Plc. รวมถึงการเข้าซื้อหุ้น 50% ในบริษัท SB Finance Company, Inc. (SBF) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือ Security Bank Corporation (SBC) หนึ่งในธนาคารชั้นนำของฟิลิปปินส์ การลงทุนและสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับ Grab

โดยจะเน้นไปที่ตลาด ‘สินเชื่อรายย่อย’ เพื่อเข้าถึงประชากรในอาเซียนที่มีจำนวนมาก ในยามที่คู่เเข่งยังไม่เยอะ

 

 

]]>
1317776
เศรษฐกิจไทยมีหวัง! กรุงศรี คาด GDP ปี 64 โต 3.3% ส่งออกดี-ท่องเที่ยวซบยาว การเมืองกระทบ “ลงทุน” https://positioningmag.com/1307537 Wed, 25 Nov 2020 09:30:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307537 ปีหน้ายังมีหวัง เศรษฐกิจไทยจะฟิ้นตัว เเต่ไม่หวือหวามากนักเเบงก์กรุงศรีปรับจีดีพี ปี 2564 ดีขึ้นเป็น 3.3% จากเดิมคาดไว้ที่ 2.9% จากเเรงหนุนส่งออก ลงทุนภาครัฐ บวกอานิสงส์ต่างประเทศเริ่มฟื้น ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวยังต้องรอชาวต่างชาตินานถึงปลายปีหน้า

ปัญหาการเมืองยืดเยื้อ กระทบจีดีพี 0.6-1.1% มีผลต่อการลงทุนเเละความเชื่อมั่น มองไทยเข้าร่วม RCEP เปิดตลาดเสรี คือโอกาสหนุนเศรษฐกิจโตในระยะยาว 

สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เปิดเผยว่า ธนาคารได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ในปี 2564 อยู่ที่ 3.3% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.9%

พร้อมๆ กับการปรับจีดีพี ปี 2563 จาก -10.3% มาอยู่ที่ -6.4% เนื่องจากเห็นสัญญาณที่ดีของเศรษฐกิจไทยที่เริ่มฟื้นตัวมาตั้งเเต่ช่วงไตรมาสที่ 3 จากการใช้จ่ายของภาครัฐที่มีการเร่งตัวขึ้น และการส่งออกที่ดีเกินคาดโดยล่าสุดการส่งออกสินค้าปรับดีขึ้นทุกหมวดสินค้า

คาดว่าเศรษฐกิจไทย จะกลับมาเป็นบวกได้ ตั้งแต่ไตรมาส 2/2564 จากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า การเร่งใช้จ่ายภาครัฐ และการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายนอกประเทศ

การลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะขยายตัว 10.5% ในปีหน้า จะเป็นตัวผลักดันภาคการบริโภคขยายตัว 2.5% จากปีนี้ -1.1% และการลงทุนในประเทศโต 3.2% จาก -11% ในปีนี้

ส่วนความท้าทายที่รออยู่นั้น วิจัยกรุงศรีฯ มองว่า หลักๆ คือปัจจัยลบจากสถานการณ์ในประเทศ การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวจะช้ากว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีการพึ่งพาการท่องเที่ยวสูงมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ทำให้เกิดการว่างงาน ส่งต่อเป็นปัญหารายได้และการใช้จ่ายของผู้บริโภค

“คาดว่าเศรษฐกิจไทย จะกลับเข้าสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 ได้ในไตรมาส 3 ปี 2565” 

ท่องเที่ยวฟื้นช้า รอต่างชาติยาวถึงปลายปี 64

ผู้บริหารกรุงศรี มองว่า ภาคการท่องเที่ยว เป็นดัชนีชี้วัดเดียวที่ยังไม่มีหวังที่จะกลับมาในเร็วๆ นี้ โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2564 จะอยู่ที่ 4 ล้านคน จากปีนี้อยู่ที่ 6.7 ล้านคน ซึ่งตอนนั้นยังพอมีนักท่องเที่ยวต่างชาติบ้างในช่วงไตรมาส 1

คาดว่าวัคซีน COVID-19 จะถูกนำมาใช้จริงในช่วงกลางปีหน้า เเต่ยังต้องใช้เวลาในการเเจกจ่ายให้ทั่วถึง ขึ้นอยู่กับนโยบายของเเต่ละประเทศ ทำให้การเปิดพรมเเดนรับนักท่องเที่ยวต้องใช้เวลานานยิ่งขึ้นไปอีก โดยความคืบหน้าด้านวัคซีน อาจเร่งให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นได้ในช่วงไตรมาส 4/2564”

ขณะที่การเติบโตของการบริโภคภาคเอกชน ปี 2563 มีการปรับคาดการณ์จาก -4.2% เป็น -1.1% และคาดว่าจะเติบโตที่ 2.5% ในปี 2564 โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนจะค่อยๆ ฟื้นตัว แต่การใช้จ่ายในเกือบทุกหมวดสินค้าจะยังต่ำกว่าระดับก่อนวิกฤต

“การใช้จ่ายของผู้บริโภคในปีนี้ จะหดตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ จากมาตรการให้เงินช่วยเหลือวงเงินมากกว่า 4 แสนล้านบาท ในช่วงไตรมาส 2 และ 3 และมาตรการส่งเสริมการใช้จ่ายในประเทศวงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท ในไตรมาส 4/2563”

ส่วนในปี 2564 กรุงศรีฯ มองว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม (งบประมาณพิเศษของรัฐบาลวงเงิน 2 แสนล้านบาท) กำลังซื้อจากกลุ่มชั้นกลาง และกลุ่มที่มีรายได้สูง จะเป็นปัจจัยหนุนการบริโภคภาคเอกชนเติบโตต่อเนื่อง

การเมืองกระทบ “ลงทุน” 

สมประวิณ กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศนั้น อาจจะส่งผลให้จีดีพีของปี 2564 ลดลงราว 0.6% ถึง 1.1% และมีผลกระทบระยะยาว (ธนาคารได้รวมปัจจัยนี้ไว้ในการคาดการณ์จีดีพีที่ 3.3% ในกรณีที่ไม่เกิดเหตุรุนเเรง)

โดยมีการประเมินจาก เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่จะกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และการลงทุน ซึ่งมีผลโดยตรงกับความเชื่อมั่น เเละการตัดสินใจในการเข้ามาทำธุรกิจ

มอง RCEP เปิดตลาดเสรี คือโอกาส

เศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะ “เป็นบวก” ได้มาจาก “การส่งออก” ที่จะพลิกกลับมาขยายตัวได้ 4.5% จากปี 2563 ที่ -7.5% จากอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน COVID-19 อุปกรณ์ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (work from home)

องค์การการค้าโลก (WTO) คาดการณ์ว่าการเติบโตของยอดส่งออกโลกจะเพิ่มขึ้น 7.2% ในปี 2564 จากคาดการณ์ที่ติดลบในปีนี้ -9.2% มีโอกาสการเติบโตในระยะปานกลาง จากภูมิภาคอาเซียนที่กำลังขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและแนวโน้มการพึ่งพากันภายในภูมิภาคมากขึ้น (Regionalization)

“การเข้าร่วมในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ของไทย ถือว่าเป็นปัจจัยหนุนต่อการช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป” 

สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ผู้บริหารกรุงศรี มองว่า ประเทศอาเซียนส่วนใหญ่อยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกันบนซัพพลายเชนโลก แสดงถึงโอกาสที่จะเอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน ดังนั้นความร่วมมือ RCEP ที่เชื่อมโยงทั้งการค้าและห่วงโซ่อุปทานการผลิต จะเป็นโอกาสในการที่ประเทศไทย จะได้ขยายฐานการส่งออกไปสู่ประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น และเป็นกลุ่มประเทศที่ประชากรเริ่มมีกำลังซื้อสูงขึ้น ทำให้ช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยได้

ทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สรุปข้อเสนอเเนะเกี่ยวกับ “มาตรการช่วยเหลือ” ใน 4 ประเด็น ได้เเก่ 

  • การปรับโครงสร้างหนี้ เพราะจะช่วยให้ระบบการเงินขับเคลื่อนไปได้
  • สร้างสภาพคล่องในระบบ เเม้ว่าธุรกิจต่างๆ จะกลับมาเปิดให้บริการตามปกติเเล้ว
  • สนับสนุนให้เกิดการจ้างงาน กระตุ้นให้กลุ่มคนที่ “มีกำลังซื้อ” ออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
  • ช่วยเหลือภาคท่องเที่ยว เช่นการลดภาษี กระตุ้นให้ผู้คนท่องเที่ยวในประเทศ

“ควรดำเนินการทันทีและทำให้เหมาะสม ขึ้นอยู่กับระดับของปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งมาตรการช่วยเหลือที่ออกมาส่วนใหญ่ยังคงไม่เพียงพอ เเละยังขาดมาตรการที่ส่งเสริมการให้สินเชื่อใหม่”

 

]]>
1307537
ใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ “6 บิ๊กธนาคาร” ในไทย? https://positioningmag.com/1297995 Mon, 21 Sep 2020 06:18:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297995 ธนาคารมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเเละเป็นธุรกิจที่อยู่ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างมาก เมื่อทุกคนต้องใช้เงินทั้งฝากถอนโอนกู้ลงทุนเเละอีกมากมาย

ผลกระทบของ COVID-19 ตั้งเเต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์อยู่ในทิศทางขาลงโดยภาพรวมยังมีแรงกดดัน จากความกังวลต่อหนี้ NPL ที่อาจสูงขึ้นอีกในอนาคต บวกกับความระอุของการเมืองที่ปลุกกระเเสการเเบน การถอนเงินเเละปิดบัญชีในบางเเบงก์ขึ้นมา ยิ่งทำให้ถูกแนะนำว่าเป็นกลุ่มหุ้นที่ควรเลี่ยงการลงทุน

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีธนาคารพาณิชย์อยู่ทั้งหมด 30 แห่ง เเต่บิ๊กเเบงก์ที่มีมูลค่ากิจการเเตะ 1 เเสนล้านบาทนั้นมีอยู่ 6 เเห่งด้วยกัน เรามาดูกันว่า ธนาคารใหญ่ๆ ในประเทศไทย…มีใครเป็นเจ้าของกันบ้าง

ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB

เริ่มจากธนาคารที่เก่าเเก่ที่สุดในไทย ที่มีอายุกว่า 115 ปีอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด “มากที่สุด” ในวงการธนาคารไทยที่ 228,353.45 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 9.29% โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้

  1. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวนหุ้น 793,832,359 คิดเป็น 23.38%
  2. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56%
  3. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56%
  4. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 346,262,309 คิดเป็น 10.20%
  5. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 109,198,100 คิดเป็น 3.22%

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา BAY

ตามมาด้วย เเบงก์สีเหลืองอย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 144,908.51 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 4.31% โดยในส่วนของ BAY ที่มีเจ้าของคือ MUFG Bank ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ถือหุ้นกว่า 76.88% ถือว่าเป็นทุนต่างชาติที่ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนที่มากกว่าธนาคารอื่นมาก ซึ่งทำให้ BAY มีสัดส่วนผู้ถือหุ้น “รายย่อย” น้อยกว่าธนาคารใหญ่อื่นๆ มากด้วย

  1. MUFG BANK, LTD. จำนวนหุ้น 5,655,332,146 คิดเป็น 76.88%
  2. บริษัท สตรองโฮลด์ แอสเซ็ทส์ จำกัด จำนวนหุ้น 166,536,980 คิดเป็น 2.26%
  3. บริษัท ทุนมหาโชค จำกัด จำนวนหุ้น 166,478,940 คิดเป็น 2.26%
  4. บริษัท จี แอล แอสเซทส์ จำกัด จำนวนหุ้น 166,414,640 คิดเป็น 2.26%
  5. บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด จำนวนหุ้น 166,151,114 คิดเป็น 2.26%

อีกหนึ่งเเบงก์ใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพ ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 192,793.13 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทน 6.93% มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ค่อนข้างกระจายตัว ทั้งบริษัทไทย บริษัทต่างชาติ กองทุนและบริษัทนอมินี โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
  1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 448,535,678 คิดเป็น 23.50%
  2. SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 98,649,920 คิดเป็น 5.17%
  3. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 85,852,300 คิดเป็น 4.50%
  4. UOB KAY HIAN (HONG KONG) LIMITED – Client Account จำนวนหุ้น 39,837,220 คิดเป็น 2.09%
  5. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 36,715,127 คิดเป็น 1.92%
Photo : Shutterstock
ฝั่งธนาคารทหารไทย มีมูลค่ากิจการตามราคาตลาด 87,732.57 ล้านบาท (ปรับลดจากระดับเเสนล้านบาทในช่วงต้นปีนี้) เงินปันผลล่าสุดเท่ากับ 3.54% ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย ธนาคาร ING จากเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ ดีลใหญ่วงการธนาคารที่ TMB เข้าควบรวมกับธนาคารธนชาต ทำให้บริษัททุนธนชาตหรือ TCAP เข้ามาถือหุ้นด้วยในสัดส่วน 20.12% โดยตอนนี้ TMB ยังมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
  1. ING BANK N.V. จำนวนหุ้น 22,190,033,791 คิดเป็น 23.03%
  2. บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 19,389,891,967 คิดเป็น 20.12%
  3. กระทรวงการคลัง จำนวนหุ้น 11,364,282,005 คิดเป็น 11.79%
  4. THE BANK OF NOVA SCOTIA จำนวนหุ้น 5,023,611,111 คิดเป็น 5.21%
  5. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 4,926,405,658 คิดเป็น 5.11%
  6. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 4,926,405,657 คิดเป็น 5.11%

ธนาคารกรุงไทย KTB

กรุงไทย มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 132,772.58 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทน 7.93% โดยเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ ทำให้มีลูกค้าเป็นข้าราชการจำนวนมาก มีโครงการรัฐต่างๆ ผ่านธนาคารนี้ อย่างเช่น กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นต้น

  1. กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวนหุ้น 7,696,248,833 คิดเป็น 55.07%
  2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 834,921,543 คิดเป็น 5.97%
  3. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 362,902,099 คิดเป็น 2.60%
  4. สหกรณ์ออมทรัพย์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด จำนวนหุ้น 326,090,300 คิดเป็น 2.33%
  5. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 305,775,658 คิดเป็น 2.19%
  6. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 305,775,657 คิดเป็น 2.19% 
Photo : Shutterstock

ธนาคารกสิกรไทย KBANK

เเบงก์ใหญ่สีเขียวที่มีอายุกว่า 75 ปีอย่าง KBANK มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 192,059.13 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 6.24% มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่กระจายตัวทั้งบริษัทไทย กองทุน บริษัทต่างชาติเเละบริษัทนอมินี

  1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 443,939,592 คิดเป็น 18.55%
  2. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 203,656,972 คิดเป็น 8.51%
  3. SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 142,055,420 คิดเป็น 5.94%
  4. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 85,905,100 คิดเป็น 3.59%
  5. BNY MELLON NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 78,949,299 คิดเป็น 3.30%
  6. THE BANK OF NEW YORK MELLON จำนวนหุ้น 55,954,035 คิดเป็น 2.34%
Photo : Shutterstock
ข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย (ค่าสถิติสำคัญ ณ วันที่ 18 ก.ย. 2563)
]]>
1297995