Teikoku Databank สำรวจบริษัทใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น 168 แห่งที่ทำธุรกิจในรัสเซีย พบว่า 37 บริษัทได้หยุดทำธุรกิจในรัสเซีย ตั้งแต่ช่วงวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา ท่ามกลางการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของชาติตะวันตก เเละสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายลงจากผลกระทบด้านระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานที่หยุดชะงัก
ในจำนวนนี้ 28 แห่งเป็นบริษัทผู้ผลิตที่สำคัญ อย่างรถยนต์ เครื่องจักรหนัก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีบริษัทใดที่คิดถอนตัวออกจากตลาดรัสเซียอย่างถาวร
บริษัทชื่อดังของญี่ปุ่นบางแห่ง เช่น Toyota Motor Corp. และ Fast Retailing Co. ได้ร่วมกับบริษัทระดับโลกอย่าง McDonald’s Corp. และ Apple Inc. หยุดการดำเนินงานในรัสเซีย แต่บริษัทส่วนใหญ่ในกลุ่ม 168 เเห่งนี้ ยังต้องอยู่ในสภาวะที่ไม่เเน่นอน เพราะเเนวโน้มของสงครามยังไม่มีความชัดเจน
โดยบริษัทต่างๆ จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านชื่อเสียง หากจะดำเนินธุรกิจในรัสเซียต่อไปก็อาจจะถูกมองว่าสนับสนุนการรุกรานยูเครน ในขณะเดียวกันก็เผชิญกับภัยคุกคามจากรัฐบาลรัสเซียเพราะหากคิดจะถอนตัวออกจากตลาดก็เสี่ยงจะถูกยึดกิจการ
ทั้งนี้ บริษัท 37 แห่งที่หยุดการทำธุรกิจในรัสเซียไปเเล้ว มี 22 แห่งที่งดการทำธุรกรรม เช่น ขนส่งสินค้าเข้าไปในรัสเซีย เเละมี 7 แห่งที่งดการผลิตในรัสเซีย ขณะที่มี 4 แห่งที่หยุดการทำธุรกิจของสาขาในรัสเซีย
Toyota ได้หยุดดำเนินการที่โรงงานในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เนื่องจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน และสั่งให้พนักงานในรัสเซียกลับภูมิลำเนา ขณะที่ Fast Retailing กล่าวว่าจะปิดร้าน 50 แห่งในประเทศชั่วคราว
ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน ได้ขอให้ญี่ปุ่นห้ามทำการค้ากับรัสเซีย เพื่อหยุดยั้งการรุกรานของรัสเซีย
Yale School of Management เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีบริษัทมากกว่า 600 แห่งทั่วโลกได้ประกาศถอนตัวออกจากตลาดรัสเซียหรือระงับการดำเนินงานในรัสเซียชั่วคราว
ที่มา : kyodonews
]]>กระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 พนักงานขององค์กรทุกแห่งในประเทศ จะต้องมีหลักฐานการฉีดวัคซีนโควิดครบแล้วเท่านั้น หรือต้องประวัติป่วยเป็นโรคโควิด-19 เเล้วหายจากอาการป่วยภายในระยะเวลานานไม่เกิน 270 วัน จึงจะสามารถกลับเข้าไปทำงานในออฟฟิศได้
ส่วนพนักงานที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน จะต้องมีผลการตรวจหาเชื้อโควิด ’เป็นลบ’ เท่านั้น ถึงจะเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศตามปกติได้ เเต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจเองทั้งหมด และจะต้องเข้ารับการตรวจจากสถานที่ ซึ่งได้รับการรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น
ทั้งนี้ ผลการทดสอบด้วย Antigen Rapid Test อย่างเร่งด่วน จะมีผลใช้ได้ตลอดระยะเวลาที่พนักงานอยู่ในที่ทำงาน 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม ภาครัฐมีข้อยกเว้นให้กับกลุ่มพนักงานที่เป็นสตรีมีครรภ์ที่ไม่ประสงค์รับวัคซีน และผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนด้วยเหตุผลทางการแพทย์ ซึ่งมีคำเเนะนำถึงเหล่านายจ้างว่าจะต้องดูเเลการทำงานของกลุ่มนี้เป็นพิเศษ เช่น กำหนดวิธีการทำงานรูปแบบใหม่เเละให้ทำงานที่บ้านไปก่อน
ล่าสุด ชาวสิงคโปรืกว่า 84% ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบโดสแล้ว และกว่า 85% ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส ท่ามกลางสถานการณ์ที่มียอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์เดลตา โดยมีการขยายมาตรการป้องกันการระบาดในปัจจุบันไปจนถึงวันที่ 21 พ.ย. เพื่อลดแรงกดดันในระบบสาธารณสุข เเละจะมีการทบทวนมาตรการในทุก 2 สัปดาห์
]]>
Kyodo News ทำการสำรวจบริษัทในญี่ปุ่นกว่า 110 เเห่ง พบว่า ส่วนใหญ่บริษัทที่มีเเผนจะปรับลดการจ้างงานใหม่นั้น อยู่ในภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคระบาด เช่น ธุรกิจภาคบริการ การขนส่งและการท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม จากเเรงหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เเละจีน ทำให้บริษัทในภาค ‘การผลิต’ มีเเผนจะขยายธุรกิจ เเละต้องการจะจ้างงานผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น
ตามปกติเเล้ว บริษัทขนาดใหญ่ในญี่ปุ่นจะมีการจ้างงาน ‘บัณฑิตจบใหม่’ ในช่วงเริ่มปีงบประมาณของแต่ละปี เเละมักจะเริ่มกระบวนการสรรหาล่วงหน้าประมาณหนึ่งปี
ผลสำรวจของ Kyodo News ระบุว่า เอกชน 24 แห่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตวัสดุไปจนถึงพลังงาน มีแผนที่จะลดการจ้างงานในปีงบการเงิน 2022 ขณะที่บริษัทอีก 37 แห่ง คิดเป็น 34% ของบริษัทที่ได้รับการสำรวจ จะยังมีการจ้างงงานในอัตราเท่าเดิมกับปีงบการเงิน 2021
โดยมีเพียงบริษัท 19 แห่ง หรือคิดเป็น 17% ที่มีเเผนจะเพิ่มการจ้างพนักงานใหม่ ส่วนอีก 25 แห่ง หรือคิดเป็น 23% ยังไม่ได้มีการตัดสินใจในเรื่องนี้
นอกจากนี้ ยังมีบริษัทบางเเห่งที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนแผนการจ้างงานในปีงบการเงิน 2022 มากนัก แต่ได้ปรับลดการจ้างพนักงานใหม่ลงในปีงบการเงิน 2021 ไปจนถึงเดือนมี.ค.ปีหน้า
สำหรับปีงบการเงิน 2021 บริษัทเอกชนราว 46% ได้ปรับลดการจ้างพนักงานใหม่ลงจากปีก่อนหน้า ขณะที่ 12% เพิ่มการจ้างพนักงานใหม่ ส่วนอีก 37% ยังคงมีการจ้างงานในระดับที่ใกล้เคียงกับปีงบการเงิน 2020
ทั้งนี้ Kyodo News ได้สำรวจข้อมูลดังกล่าวในช่วงต้นเดือนมี.ค. ถึงกลางเดือนเม.ย. โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่เข้าร่วมอย่าง Toyota Motor , Nissan Motor , Sony Group , Japan Airlines , Nintendo และ Mizuho Financial Group เป็นต้น
การระบาดของ COVID-19 ยังทำให้วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มงวดของญี่ปุ่น ’เปลี่ยนแปลง’ ไป เเละเริ่มมีรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
บริษัทส่วนใหญ่ยืนยันว่า พวกเขาจะจัดงานแสดงสินค้าหรือสัมภาษณ์งานทางออนไลน์เพิ่มขึ้น เเละกว่า 52% จะใช้เทคโนโลยีเพื่อทำงานออนไลน์ต่อไป เเม้วิกฤตโรคระบาดจะสิ้นลงก็ตาม
เมื่อถามถึงความท้าทายในการทำงานทางไกล พบว่ากว่า 83% ชี้ให้เห็นถึงการขาดการสื่อสารกันระหว่างพนักงาน ขณะที่ 61% เห็นว่ามีผลกระทบต่อการฝึกอบรมพนักงานด้วย
เเต่อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงผลกระทบต่อผลิตภาพของแรงงาน พบว่ากว่า 55% เห็นว่า ‘ไม่เปลี่ยนเเปลง’ ยังสามารถทำงานได้ดี ขณะที่อีก 31% ระบุว่ามีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น
“เราต้องการช่วยให้พนักงานของเรามีความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว” บริษัทพลังงานแห่งหนึ่งกล่าว
ส่วนบริษัทในอุตสาหกรรมบริการกล่าวว่า “มีงานหลายประเภทที่ไม่เหมาะกับทำงานทางไกล ดังนั้นเราจึงต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่“
ในจำนวนนี้ กว่า 81 % อนุญาตหรือจะพิจารณาให้พนักงานสามารถ ‘ทำงานเสริม’ ได้ โดยมองว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพในระยะยาว แต่บางบริษัทต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากพนักงานอาจต้องทำงาน ‘นานเกินไป’ หรืออาจไปรับงานบริษัทคู่แข่งได้
]]>