โดยผักและผลไม้กว่า 30 ชนิด ซึ่งรวมไปถึง แอปเปิล กล้วย ส้ม มะเขือเทศ มะเขือม่วง มะนาว เเตงกวาและกระเทียมต้น จะไม่สามารถวางขายด้วยการห่อบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก
ส่วนกลุ่มลูกพีช มะเขือเทศ เชอร์รี และถั่วแขก จะได้รับการผ่อนผันไปจนถึงเดือนมิ.ย. ปี 2023 ขณะที่ผักสลัดอองดีฟ หน่อไม้ฝรั่ง เห็ด เชอร์รี ผักสลัดและสมุนไพรบางชนิด จะได้รับการผ่อนผันถึงสิ้นปี 2024 เพื่อให้ผู้ประกอบการเเละผู้บริโภคค่อยๆ ปรับตัว
นอกจากนี้ รัฐบาลยังผ่อนผันให้ ‘ผลไม้สดหั่นชิ้น ผักสดและผลไม้สดบางประเภท’ ยังคงจำหน่ายในถุงพลาสติกหรือกล่องพลาสติกได้ ก่อนจะเลิกใช้อย่างเป็นทางการทั้งหมด ภายในสิ้นเดือน มิ.ย. ปี 2026
ความเคลื่อนไหวนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลฝรั่งเศสที่จะเลิกใช้พลาสติกแบบ ‘ใช้ครั้งเดียวทิ้ง’ (single use plastics) ให้ได้ภายในปี 2040
มีการประเมินว่า ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้มากกว่า 1 ใน 3 ในฝรั่งเศสจะวางจำหน่ายผ่านการห่อพลาสติก โดยการยกระดับมาตรการควบคุม จะช่วยลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ได้หลายพันล้านชิ้นในทุกๆ ปี พร้อมส่งเสริมการทดแทนด้วยวัสดุอื่นที่เป็นมิตรกับสิ่งเเวดล้อม หรือนำกลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิลได้
ทั้งนี้ ฝรั่งเศส สั่งเเบนการใช้หลอดพลาสติก ถ้วยและช้อนส้อม รวมถึงกล่องพลาสติกโพลีสไตรีน ในปี 2021 โดยหลายประเทศในยุโรปก็ได้ประกาศห้ามด้วยมาตรการที่คล้ายกันนี้
ในอังกฤษมีการใช้จานแบบใช้แล้วทิ้งมากถึง 1,100 ล้านใบ และช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้งอีก 4,250 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจาก ‘พลาสติก’ เเละมีเพียง 10% เท่านั้นที่ถูกไปนำรีไซเคิล
การห้ามจำหน่ายหลอดพลาสติก ก้านชงกาแฟพลาสติกและก้านสำลีพลาสติก มีผลบังคับใช้ในอังกฤษ มาตั้งเเต่ปี 2020
ทางการอังกฤษ ระบุว่า หลังได้สั่งห้ามใช้หลอดพลาสติกก้านชงกาแฟพลาสติกและก้านสำลีพลาสติกไปแล้ว และตอนนี้กำลังวางแผนที่จะขยายไปห้ามใช้ช้อน ส้อม ก้านลูกโป่งที่สามารถใช้วัสดุอื่นแทนได้
ที่มา : BBC , the guardian
]]>Reuters รายงานว่า ในอังกฤษมีการใช้จานแบบใช้แล้วทิ้งมากถึง 1,100 ล้านใบ และช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้งอีก 4,250 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจาก ‘พลาสติก’ เเละมีเพียง 10% เท่านั้นที่ถูกไปนำรีไซเคิล
หลังจากที่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะมาได้ 12 สัปดาห์ พบว่า ภาคธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภคต่างก็มีความต้องการที่จะก้าวไปสู่ทางเลือกที่ยั่งยืนมากขึ้น
ขณะที่รัฐบาลยังเรียกร้องให้มีกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เกี่ยวกับการจัดการกับแหล่งมลพิษจากพลาสติกอื่นๆ อย่างเช่น ทิชชูเปียก ไส้กรองยาสูบ ถุงชาและถ้วยแบบใช้แล้วทิ้งประเภทอื่นๆ
“การห้ามใช้พลาสติกในรายการเหล่านี้อาจเป็นมาตรการเชิงนโยบายในอนาคต”
George Eustice รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอังกฤษกล่าวว่า สังคมมีการรับรู้ถึงความเสียหายต่อสิ่งเเวดล้อมที่เกิดจากพลาสติก โดยเฉพาะสัตว์ทะเลมากขึ้น เราจึงต้องการที่จะลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์และห้ามใช้พลาสติกในรายการที่เกี่ยวข้องกับการทิ้งขยะ
“เราได้สั่งห้ามใช้หลอดพลาสติก ก้านชงกาแฟพลาสติกและก้านสำลีพลาสติกไปแล้ว และตอนนี้วางแผนที่จะขยายไปห้ามใช้ช้อนส้อม ก้านลูกโป่งที่สามารถใช้วัสดุอื่นแทนได้ เช่น ไม้”
ทั้งนี้ การห้ามจำหน่ายหลอดพลาสติก ก้านชงกาแฟพลาสติกและก้านสำลีพลาสติก มีผลบังคับใช้ในอังกฤษเมื่อปีที่แล้ว
โดยมาตรการบังคับให้จ่ายเงินค่าถุงพลาสติกหูหิ้วแบบใช้แล้วทิ้งในอังกฤษ สามารถลดการใช้ถุงดังกล่าวในซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ ลงถึง 95% ตั้งแต่ปี 2015
ด้านฝ่ายรัฐบาลท้องถิ่นของสกอตแลนด์ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ ก็มีหน้าที่รับผิดชอบต่อนโยบายของตนเองเกี่ยวกับขยะพลาสติกเช่นเดียวกัน
ที่มา : Reuters
]]>เทคโนโลยีชีวภาพสำหรับการรีไซเคิลพลาสติก PET พัฒนาขึ้นโดย Carbios จะนำไปสู่การผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ทำจากวัสดุที่ได้มาจากการรีไซเคิล 100% โดยใช้ขั้นตอนของเอนไซม์ ซึ่งมีข้อดีคือ มีความเหมาะสมและใช้ได้กับพลาสติก PET ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นแบบใส แบบมีสี แบบขุ่น และแบบหลายชั้น และจะทำให้พลาสติกเหล่านี้สามารถนำไปรีไซเคิลได้ไม่สิ้นสุด
ฌัก เพล ผู้อำนวยการฝ่ายบรรจุภัณฑ์และการพัฒนา ลอรีอัล กรุ๊ป กล่าวว่า
“เราได้ทำงานร่วมกับ Carbios มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เพื่อพัฒนาขวดใบแรกที่ทำจากพลาสติก PET ที่ได้มาจากเทคโนโลยีการรีไซเคิลด้วยเอนไซม์ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ใช้แทนการรีไซเคิลพลาสติกเชิงกล เรายินดีอย่างยิ่งที่ขวดเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นจริงในโครงการนำร่อง และเราได้สร้างบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคตร่วมกับพันธมิตรของเรา นี่จะเป็นนวัตกรรมยอดเยี่ยมสำหรับอนาคต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการนำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมออกสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานด้านการหมุนเวียน (circularity) ที่ได้ดำเนินการมาเป็นเวลากว่า 15 ปีแล้ว”
จูลิโอ เบียร์กามาสกี ประธานแบรนด์ไบโอเธิร์ม กล่าวว่า
“ไบโอเธิร์มเป็นแบรนด์บุกเบิกเครื่องสำอางที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และการลดขยะเป็นศูนย์กลางของแผนยุทธศาสตร์ของแบรนด์ เราดีใจที่ได้เป็นแบรนด์ความงามแบรนด์แรกที่ประสบความสำเร็จในการผลิตขวดบรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล โดยใช้เทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนโลกของ Carbios”
เมื่อปี พ.ศ.2560 ลอรีอัลได้รวมกลุ่มบริษัทกับ Carbios ซึ่งมี Nestlé Waters, PepsiCo และ Suntory Beverage & Food Europe เข้าร่วมด้วย เพื่อส่งเสริมโซลูชันการรีไซเคิลพลาสติกด้วยการใช้นวัตกรรม และการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้เป็นอุตสาหกรรม และต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ลอรีอัลได้ลงทุนใน Carbios ผ่านกองทุนร่วมทุน BOLD หรือ Business Opportunities for L’Oréal Development
ด้วยโปรแกรมเพื่อความยั่งยืนปี 2030 ของลอรีอัล กรุ๊ป “L’Oréal for the Future” บริษัทฯ ได้ยกระดับการทำงาน เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนโฉมการดำเนินธุรกิจ และได้ตั้งเป้าหมายใหญ่ในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างด้านบรรจุภัณฑ์ อาทิ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ลอรีอัล กรุ๊ปทำงานร่วมกับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์หลายราย เพื่อให้บริษัทมีช่องทางเข้าถึงเทคโนโลยีที่ดีที่สุด นอกจาก Carbios แล้ว ลอรีอัลยังร่วมมือกับ Albéa ผู้นำระดับโลกด้านบรรจุภัณฑ์ความงาม ในการพัฒนาหลอดเครื่องสำอางหลอดแรกที่ใช้กระดาษแข็งที่ผ่านการรับรองจาก FSC ในปี พ.ศ.2562
และยังร่วมมือกับ Purecycle เพื่อผลิตพลาสติก polypropylene (PP) ที่รีไซเคิลด้วยการใช้สารละลาย และในเดือนตุลาคม 2563 ลอรีอัลได้ร่วมมือกับ LanzaTech และ Total พร้อมทั้งได้ประกาศให้โลกได้รับรู้เป็นครั้งแรกว่า สามารถผลิตขวดเครื่องสำอางที่ใช้พลาสติก polyethylene (PE) ที่ผลิตจากก๊าซคาร์บอน ซึ่งถูกปล่อยออกมาจากภาคอุตสาหกรรมและถูกนำมารีไซเคิล
]]>โดย ANA จะเริ่มใช้ภาชนะเสิร์ฟอาหารที่ทำจาก ‘ชานอ้อย’ ในที่นั่งชั้นประหยัดของเที่ยวบินระหว่างประเทศ ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป คาดว่าจะช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ถึง 317 ตันต่อปี หรือคิดเป็น 30% ของพลาสติกใช้แล้วทิ้งของบริษัทในช่วงปีงบประมาณ 2019
ส่วนเที่ยวบินในประเทศนั้น จะยังมีการใช้ภาชนะที่เป็นกล่องกระดาษอยู่ ซึ่งขณะนี้สายการบินยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนเป็นภาชนะจากชานอ้อยด้วยหรือไม่
“ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปเริ่มจำกัดการใช้พลาสติกแล้ว ดังนั้นทางสายการบินจึงต้องดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อเตรียมตัวล่วงหน้า” เจ้าหน้าที่ของ ANA กล่าวกับ Kyodo News
ANA เริ่มใช้ช้อนส้อมที่ทำจากไม้ และหลอดทำจากพลาสติกย่อยสลายได้ มาตั้งเเต่ปี 2020 เเละมีนโยบายที่จะลดขยะพลาสติกต่อไปในระยะยาว เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตภาชนะและการเผาทำลายขยะพลาสติก พร้อมกับการหาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เเละเป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม
นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ ซูงะ ประกาศว่า ญี่ปุ่นจะบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ให้เป็น ‘ศูนย์’ ภายในปี 2050 โดยรัฐบาลหวังจะทยอยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ลดลง 46% ภายในปี 2030
ที่มา : Kyodonews , Japantoday
]]>Coca-Cola มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีส่วนทำให้เกิดขยะพลาสติกทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อปีที่แล้ว Coca-Cola ได้รับการเสนอชื่อให้เป็น ‘ผู้ก่อมลพิษจากพลาสติกอันดับ 1 ของโลก’ ที่จัดโดยบริษัท Break Free From Plastic บริษัทด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งวัดผลจากโลโก้และตราสินค้าบนพลาสติก 13,834 ชิ้นใน 51 ประเทศที่มักจะทิ้งในพื้นที่สาธารณะ เช่น สวนสาธารณะ และชายหาด
ล่าสุด บริษัทก็ได้เปิดตัว ขวดที่ทำมาจากวัสดุพลาสติกรีไซเคิล 100% ในขนาด 13.2 ออนซ์ ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในความพยายามของ Coca-Cola ที่เกิดภายใต้โครงการ “โลกไร้ขยะ” ที่เริ่มต้นในปี 2018 โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ภายในปี 2030 จะยกเลิกบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว และจะนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานมาใช้ผลิตขวดรีไซเคิลแทน
“การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ถือเป็นงานแห่งความรักและนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ โดยบรรจุภัณฑ์ใหม่นี้ จะสามารถนำไปทำความสะอาดก่อนจะนำไปบดให้ละเอียดจนกลายเป็นเกล็ดคล้ายเมล็ดพืช ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นขวดใหม่มาใช้อีกครั้ง” Alpa Sutaria ผู้จัดการทั่วไปด้านความยั่งยืนของ Coca-Cola กล่าว
ด้วยขนาดขนาด 13.2 ออนซ์นั้นใหญ่กว่าโค้กกระป๋องอะลูมิเนียมเล็กน้อย แต่ก็เล็กกว่าขวด 20 ออนซ์ทั่วไป ด้วยขนาดที่ไม่เหมือนใครนี้ Coca-Cola ได้ระบุว่าจะช่วยให้ “ดึงดูดให้ดื่มง่ายมากขึ้น” ขณะที่ราคาจะอยู่ที่ 1.59 ดอลลาร์ และไม่ใช่แค่จะช่วยลดขยะพลาสติกเท่านั้น แต่ Alpa Sutaria ระบุว่า ขวดใหม่ที่รีไซเคิลได้ 100% นี้จะช่วยดึงดูดนักดื่มอายุน้อยกว่า 25 ปีที่กำลังมองหาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน
“เรารับฟังผู้บริโภคและพวกเขาบอกเราว่าพวกเขาต้องการอะไรที่เล็กลงและบริโภคได้ง่ายขึ้น เราเลยถือโอกาสนี้ทำขวดพลาสติกที่รีไซเคิลได้ 100% โดยเรามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดผลกระทบต่อโลกของเราให้น้อยที่สุด โดยบริษัทได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของเราด้วยการลงมือปฏิบัติจริง”
ทั้งนี้ โค้กขวดใหม่จะเริ่มวางจำหน่ายในเดือนนี้ในบางรัฐทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา รวมถึงนิวยอร์ก, แคลิฟอร์เนีย, คอนเนตทิคัต และฟลอริดา ก่อนจะเปิดตัวทั่วประเทศในช่วงฤดูร้อนนี้
อย่างไรก็ตาม Coca-Cola ไม่ใช่บริษัทข้ามชาติเพียงแห่งเดียวที่มีเป้าหมายเพื่อลดมลภาวะจากพลาสติก ‘เนสท์เล่’ บริษัทอาหารรายใหญ่ที่สุดของโลกประกาศเมื่อปีที่แล้วว่าใช้เงิน 2 พันล้านดอลลาร์ในโครงการที่คล้ายกัน เช่นเดียวกับ ‘Pepsi’ เพิ่งเปิดตัวขวดขนาด 2 ลิตรที่ออกแบบใหม่ซึ่งใช้วัสดุน้อยลง 24%
]]>ในช่วงปีที่แล้วอีฟ โรเช่ได้ทำการรีแบรนด์ใหม่ เป็นการรีเฟรชแบรนด์ให้ทันสมัยขึ้น พร้อมกับการวางจุดยืนเป็นแบรนด์รักษ์โลกอย่างเต็มตัวด้วยการเปิดตัวแคมเปญใหญ่ “สวยโลกไม่เสีย” ซึ่งมีทั้งกลยุทธ์ในการใช้วัสดุรีไซเคิลเพื่อลดการใช้พลาสติก โดยสามารถลดพลาสติกได้ถึง 2,700 ตันต่อปี ทั้งยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ไปกว่า 30%
ล่าสุดอีฟ โรเช่ได้เปิดตัว Refill Station เป็นจุดที่ให้ลูกค้านำขวดแพ็กเกจจิ้งเดิมมาเติมผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ในราคาพิเศษ เป็นการลดขยะพลาสติก ได้ประเดิมสาขาแรกที่เซ็นทรัลเวิลด์
Refill Station ได้เปิดตัวที่ฝรั่งเศสประเทศแม่ของแบรนด์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นก็ได้เปิดตัวที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 2 ของโลก ซึ่งต้องบอกว่าจุด Refill Station นี้ เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่ได้เห็นในแวดวงสินค้า FMCG ในยุคนี้มากขึ้น เพราะหลายแบรนด์เริ่มให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ต้องการลดขยะพลาสติกจากแพ็กเกจจิ้งมากขึ้น
ผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการใน Refill Station จะมี 2 รายการด้วยกัน ได้แก่ แชมพู และเจลอาบน้ำ โดยเงื่อนไขก็คือ ต้องนำบรรจุภัณฑ์ของอีฟ โรเช่มาเติมเท่านั้น ไม่สามารถนำขวดอื่นๆ มาเติมได้
บริการนี้จำกัดเฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิ์นี้ สามารถเติมได้จำนวนคนละ 2 ขวด (เจลอาบน้ำ 1 ขวด และ แชมพู 1 ขวด) ต่อวัน
แต่ Refill Station ที่สาขาเซ็นทรัลเวิลด์นี้ เป็นโมเดลชั่วคราวที่จะอยู่ตั้งแต่วันที่ 20 – 31 มกราคม 2564 เท่านั้น หลังจากนั้นจะดูผลตอบรับเพื่อที่จะขยายไปยังสาขาอื่นๆ หรือตั้งเป็นจุดถาวรในอนาคต
]]>กระทรวงฯ ระบุว่ากฎหมายใหม่ยกเลิกข้อยกเว้นสำหรับเครื่องดื่มบางประเภทที่ใช้บรรจุภัณฑ์ขวด และกระป๋องพลาสติก เช่น กำหนดให้เพิ่มเงินมัดจำในผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ ซึ่งทำให้ต้องจำหน่ายในราคาแพงขึ้น จากที่แต่เดิมบังคับใช้กับน้ำผลไม้อัดลมเท่านั้น
ตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไป ร้านอาหาร ร้านเหล้า และร้านกาแฟในเยอรมนีที่ให้บริการห่ออาหาร หรือเครื่องดื่มกลับบ้านจำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทว่ากฎหมายใหม่นี้ยังต้องรอการอนุมัติจากบุนเดิสทาคและบุนเดิสราท ซึ่งเป็นสภาล่างและสภาสูงของเยอรมนีตามลำดับ
“การห่ออาหารกลับบ้านกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อเสียของมันคือปริมาณขยะครัวเรือนที่เพิ่มสูง” สเวนยา ชูลเซอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ระบุในแถลงการณ์
เยอรมนีไม่อนุญาตให้ผลิตขวดพลาสติกใหม่ด้วยปิโตรเลียม และเปลี่ยนมาใช้พลาสติกรีไซเคิลในปริมาณมากขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป ขวดเครื่องดื่มที่ทำจากพลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตแบบใช้แล้วทิ้ง (PET) ต้องผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลอย่างน้อย 25%
รัฐบาลเยอรมนีระบุว่ากฎหมายใหม่นี้ช่วยให้เยอรมนี “ลดขยะ ประหยัดวัตถุดิบ และปกป้องสิ่งแวดล้อม”
สหภาพยุโรป (EU) เริ่มบังคับใช้คำสั่งห้ามส่งออกขยะพลาสติกที่ยากต่อการรีไซเคิลทั้งแบบผสม และแบบปนเปื้อนตั้งแต่ช่วงต้นปี 2021 ส่วนเยอรมนีเริ่มใช้กฎที่เข้มงวดยิ่งกว่าตั้งแต่ปี 2019 เพื่อควบคุมการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐบาลเยอรมนีระบุว่าปริมาณการส่งออกขยะพลาสติกจากเยอรมนีไปยังจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลดลงมากตั้งแต่ปี 2016 โดยปีดังกล่าวเยอรมนีส่งออกขยะพลาสติกไปยังจีน 562,910 ตัน ก่อนจะลดลงเหลือราว 2,600 ตันในปี 2019
]]>ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 พิษ COVID-19 ไม่สามารถทำอะไรเลโก้ได้ เพราะคนว่างจนต้องซื้อเลโก้มาต่อเล่น ส่งผลให้บริษัทสามารถทำรายได้ถึง ‘1.57 หมื่นล้านโครนเดนมาร์ก’ (ราว 7.8 หมื่นล้านบาท) เติบโตถึง 14% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนกำไรเติบโต 11% และในปีนี้ เลโก้ได้ประกาศแผนการบรรจุผลิตภัณฑ์เป็นกระดาษรีไซเคิลแทนที่พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
บรรจุภัณฑ์โฉมใหม่นี้เลโก้ได้ใช้เวลากว่า 2 ปีที่ในการพัฒนา และจะเริ่มใช้ในปี 2564 นี้ ทั้งนี้ โปรเจกต์ดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุน 400 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.24 หมื่นล้านบาท) ในโครงการริเริ่มด้านความยั่งยืนในช่วงสามปีจากนี้
“เราได้รับจดหมายมากมายจากเด็ก ๆ ที่ถามว่าทำไมเรายังใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในกล่องของเรา ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เราเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงนี้ และนี่เป็นส่วนหนึ่งของความทะเยอทะยานของเราที่จะทำให้บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของเรามีความยั่งยืนภายในสิ้นปี 2568” Tim Brooks รองประธานฝ่ายความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของ LEGO กล่าว
แต่การที่เลโก้จะก้าวไปสู่ความยั่งยืนที่แท้จริงต้องไม่หยุดแค่บรรจุภัณฑ์ เพราะธุรกิจทั้งหมดของเลโก้นั้นใช้พลาสติก อย่างชิ้นส่วนของเลโก้นั้นต้องใช้พลาสติก 90,000 เมตริกตันต่อปี ขณะที่บรรจุภัณฑ์คิดเป็นเพียง 10% เท่านั้น ส่งผลให้เลโก้ต้องพยายามเพื่อพัฒนาทางเลือกอื่น ๆ แทนพลาสติกจากปิโตรเลียม แม้จะมีความคืบหน้าไปบ้างในทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยและธุรกิจอื่น ๆ เพื่อค้นหาวัสดุที่ทนทานและมีคุณภาพสูงเช่นเดียวกับพลาสติก เช่น การใช้ ‘วัสดุชีวภาพ’ อย่างวัสดุที่ทำจากวัสดุจากอ้อย แต่ปัจจุบันยังคิดเป็นสัดส่วนเพียง 2% ของการผลิตเท่านนั้น
อย่างไรก็ตาม จากผลของความพยายามและงบประมาณที่ทุ่มไปนั้น เลโก้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจากวัสดุที่ยั่งยืนภายในปี 2573
“ชิ้นส่วนของเลโก้ที่ผลิตอย่างยั่งยืนนั้นจะต้องมีความปลอดภัย ทนทาน สามารถต่อได้พอดีกันและง่ายพอที่เด็กจะแยกชิ้นส่วนได้ รวมถึงเรื่องของสีที่ต้องเหมือนกับชิ้นส่วนเลโก้รุ่นเก่าที่ไม่ได้มีความหลากหลายของพลาสติกเหมือนในปัจจุบัน”
ทั้งนี้ พลาสติกซึ่งเป็นมลพิษที่สำคัญของมหาสมุทรและแหล่งน้ำมีความสำคัญต่อการรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศของโลก เนื่องจากจะช่วยจัดการกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตสินค้า ดังนั้น การค้นหาทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งมีผลวิจัยที่เผยแพร่ในเดือนกรกฎาคมมีว่า โลกจะลดมลพิษจากพลาสติกลง 80% ภายในปี 2583 แต่ก็ยังมีขยะพลาสติกประมาณ 710 ล้านเมตริกตันที่ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
]]>ดิอาจิโอ เจ้าของแบรนด์อย่างจอห์นนี่ วอล์กเกอร์ สเมอร์นอฟ และกินเนสส์ ประกาศความสำเร็จในการผลิตบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มรูปแบบใหม่ ที่ไม่มีการใช้พลาสติกแบบ 100% เป็นครั้งแรกของโลก โดยเปลี่ยนมาใช้วัตถุดิบหลักคือกระดาษที่ผลิตจากไม้ที่มีกระบวนการในการนำมาใช้อย่างยั่งยืน จะเริ่มใช้กับแบรนด์ จอห์นนี่ วอล์กเกอร์เป็นแบรนด์แรก และจะเริ่มวางจำหน่ายช่วงต้นปี 2564
ในครั้งนี้เป็นความร่วมมือกับบริษัท ไพลอต ไลต์ ซึ่งเป็นบริษัทดำเนินธุรกิจด้านการบริหาร โดยร่วมกันจัดตั้ง พัลเพ็กซ์ ลิมิเต็ด บริษัทเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน โดยที่พัลเพ็กซ์ ลิมิเต็ดได้รวมกลุ่มกับพันธมิตรที่ประกอบด้วยบริษัทอุปโภคบริโภค (FMCG) ชั้นนำในหลากหลายหมวดหมู่ เช่น ยูนิลีเวอร์ และเป๊ปซี่โค ซึ่งคาดว่าพันธมิตรแต่ละบริษัทจะเปิดตัวบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษภายใต้แบรนด์ของตนเองในปี 2564 โดยใช้ดีไซน์และเทคโนโลยีของพัลเพ็กซ์ ลิมิเต็ดมาใช้ในการพัฒนา
พัลเพ็กซ์ ลิมิเต็ดได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กระดาษเป็นวัตถุดิบหลัก และสามารถออกแบบขนาดได้ตามความต้องการเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการออกแบบและพัฒนาให้ไม่มีส่วนประกอบจากพลาสติกเลย 100% และคาดว่าจะสามารถนำไปรีไซเคิลได้ทุกส่วนอีกด้วย
บรรจุภัณฑ์นี้ทำจากเยื่อไม้ที่มีกระบวนการในการนำมาใช้อย่างยั่งยืน เพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับบรรจุอาหาร และสามารถนำไปรีไซเคิล กำจัดขยะได้อย่างเต็มที่ในขั้นตอนต่างๆ ที่ได้มาตรฐาน เทคโนโลยีนี้ช่วยให้แบรนด์ต่างๆ ได้คิดใหม่ทำใหม่เกี่ยวกับดีไซน์บรรจุภัณฑ์ของตนเอง หรืออาจช่วยเปลี่ยนดีไซน์ของบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วไปเป็นกระดาษ โดยที่ยังรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์เอาไว้ดังเดิม
อีแวน แอนดรูว์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายความยั่งยืน บริษัท ดิอาจิโอ กล่าวว่า “ดิอาจิโอภูมิใจที่ได้สร้างบรรจุภัณฑ์นี้เป็นครั้งแรกของโลก บริษัทฯ พยายามพัฒนาขีดความสามารถเรื่องบรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง และบรรจุภัณฑ์ใหม่นี้เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ด้วยเหตุนี้ การเปิดตัวนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ใหม่กับจอห์นนี่ วอล์กเกอร์ ซึ่งเป็นแบรนด์ผู้นำด้านนวัตกรรมมาตลอด 200 ปีที่ผ่านมาจึงเป็นความลงตัวเป็นอย่างยิ่ง”
]]>ร้านค้าทั่วไป รวมถึงสะดวกซื้อ สามารถตัดสินใจได้ว่าจะคิดเงินค่าถุงพลาสติกกับลูกค้าราคาเท่าใด ซึ่งสำนักข่าว AFP รายงานว่า ร้านค้าส่วนใหญ่เก็บค่าถุงพลาสติกใบละ 3 เยน (ราว 0.90 บาท)
ลูกค้ารายหนึ่งให้สัมภาษณ์กับ NHK ว่า เธอซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อทุกเช้า และวันนี้ก็ได้เตรียมกระเป๋าผ้ามาเอง เพราะรู้ว่าร้านจะเริ่มเก็บค่าถุงพลาสติกแล้ว
อย่างที่ทราบกันดีว่า ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบการห่อบรรจุภัณฑ์ในสินค้าต่างๆ ที่เน้นทั้งความพิถีพิถันและความสวยงาม ร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่ ห่อกล้วยแต่ละลูกด้วยพลาสติก สิ่งเหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นสร้างขยะต่อประชากรสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ (ยกเว้นสหรัฐฯ) โดยสหประชาชาติเคยวิจารณ์รัฐบาลญี่ปุ่นว่าล่าช้าในเรื่องลดการใช้พลาสติก
รัฐบาลญี่ปุ่นจึงเคลื่อนไหว ด้วยการออกมาตรการล่าสุดเพื่อจำกัดการใช้พลาสติกเกินความจำเป็น และให้ใช้อย่างชาญฉลาด การเก็บค่าถุงพลาสติกทั่วประเทศครั้งนี้ จึงหวังจะกระตุ้นให้ประชาชนคิดให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องใช้ถุงพลาสติกหรือไม่
ญี่ปุ่นเคยให้คำมั่นว่า ภายในปี 2030 จะลดขยะพลาสติกลงให้ได้ 1 ใน 4 จากที่ผลิตขยะปีละ 9.4 ล้านตันในปัจจุบัน โดยจากข้อมูลของรัฐบาลระบุว่า ถุงพลาสติกคิดเป็น 2% ของขยะพลาสติกทั้งหมด
ส่วนความเคลื่อนไหวของผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ประเทศ (G20) ได้ตกลงร่วมกันว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเล เมื่อปีที่ผ่านมา
แม้รัฐบาลญี่ปุ่นจะบอกว่ามีระบบจัดการขยะที่ทันสมัยและนำขยะพลาสติกรีไซเคิลได้กว่าร้อยละ 80 แต่รายงานของ AFP มองว่า การกำจัดขยะของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังใช้การเผา ซึ่งก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change)
]]>