ภาวะถดถอย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 11 Aug 2020 12:42:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เศรษฐกิจ “สิงคโปร์” เจ็บหนัก ถดถอยกว่าเดิม GDP ไตรมาส 2 ร่วงเกือบ 43% https://positioningmag.com/1292077 Tue, 11 Aug 2020 10:47:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292077 เศรษฐกิจสิงคโปร์ บอบช้ำจากพิษ COVID-19 มากกว่าที่ประเมินไว้ บ่งชี้สัญญาณการฟื้นตัวที่ต้องใช้เวลานาน ล่าสุด ตัวเลขจีดีพีในไตรมาส 2 หดตัวถึง 42.9% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2020 พร้อมหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปีนี้ เป็นติดลบ 5-7% จากเดิมที่เคยคาดไว้ที่ 4-7%

วันนี้ (11 ..) กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ ปรับตัวเลขทางเศรษฐกิจประจำไตรมาส 2 ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) หดตัว 42.9% จากไตรมาสแรก หรือหดตัว 13.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) นับว่าเเย่ลงจากตัวเลขที่ได้ประกาศเมื่อเดือนที่เเล้วว่า จีดีพีของไตรมาส 2 หดตัวที่ 41.2% จากไตรมาสแรก ซึ่งเป็นการติดลบมากกว่าที่ประมาณการไว้จากระดับ -12.6%

ตัวเลขจีดีพีล่าสุดนี้ เป็นเหมือนการตอกย้ำการเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคของสิงคโปร์หลังเศรษฐกิจติดลบ 2 ไตรมาสติดกัน โดยนับว่าเป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจมากที่สุด ตั้งแต่สถาปนาประเทศเมื่อ 55 ปีที่แล้ว

เเม้จะเป็นประเทศเกาะเล็กๆ เเต่สิงคโปร์มีมูลค่าเศรษฐกิจสูงมาก นับเป็นหนึ่งในดัชนีชี้วัดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภาพรวมของทวีปเอเชียโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Photo by Maverick Asio/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

นอกจากนี้ ทางการได้หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจตลอดทั้งปีนี้เป็นติดลบ 5-7% จากเดิม 4-7% โดยกรณีที่สถานการณ์เลวร้ายน้อยที่สุด จะหดตัวที่ 5% แต่ในสถานการณ์เลวร้ายมากที่สุดอาจหดตัวมากถึง 7%

หากย้อนไปดูประวัติศาสตร์ของเศรษฐกิจของสิงคโปร์ พบว่า เคยหดตัวรุนเเรงในช่วงปี 1998 อยู่ที่ -2.2% จากผลกระทบของวิกฤตต้มยำกุ้ง จากนั้นในปี 2001 ลดลงในอัตรา -1.1% จากผลกระทบของวิกฤต Y2K เเละในปี 1964 ช่วง 1 ปีประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการจากมาเลเซีย มีสถิติลดลง -3.2% ซึ่งหากมองตัวเลขคาดการณ์จีดีพีของสิงคโปร์ในปี 2020 ที่จะอยู่ราว -5 ถึง -7% เเล้วก็นับว่าจะเป็นสถิติการหดตัวมากที่สุดนับตั้งเเต่ก่อตั้งประเทศ

เศรษฐกิจสิงคโปร์ ส่วนใหญ่ต้องหยุดชะงักไปในช่วงเดือนเมษายน จากมาตรการล็อกดาวน์ประเทศที่รัฐบาลเรียกว่า Circuit Breaker เพื่อสกัดการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่ช่วงเดือนมิ.. ภาคธุรกิจต่างๆ ก็เริ่มกลับมาเปิดกิจการอีกครั้งเเล้ว หลังสถานการณ์เริ่มคลี่คลายลง

ล่าสุดยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในสิงคโปร์ที่ได้รับการยืนยันมีจำนวนมากกว่า 5.5 หมื่นราย และมีผู้เสียชีวิต 27 ราย โดยสิงคโปร์เคยเป็นประเทศที่เคยรับมือ COVID-19 ได้ดีในระยะแรก ก่อนจะพบผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์หอพักแรงงานต่างชาติ ซึ่งปัจจุบันสิงคโปร์มีแรงงานต่างชาติอาศัยอยู่ในประเทศราว 1.4 ล้านราย ส่วนใหญ่มาจากเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นแรงงานกลุ่มสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนประเทศในภาคธุรกิจต่างๆ

 

ที่มา : CNBC , todayonline , Reuters

 

]]>
1292077
หนักอยู่! จีดีพี Q2 “เกาหลีใต้” หดตัว 3.3% เข้าสู่ “ภาวะถดถอย” ครั้งแรกในรอบ 17 ปี https://positioningmag.com/1289175 Thu, 23 Jul 2020 06:11:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289175 เศรษฐกิจเกาหลีใต้เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคครั้งแรกในรอบ 17 ปี หลังมูลค่าการส่งออกทรุดฮวบจากผลกระทบของโรคระบาดใหญ่ COVID-19

ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) แถลงวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2 (เม..-มิ..) หดตัวลงอีก 3.3% จากเดิมที่หดตัว 1.3% ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2003 ที่เศรษฐกิจหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส และยังเป็นการหดตัวรายไตรมาสที่รุนแรงสุดตั้งแต่ปี 1998

ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นอีกหนึ่งประเทศในเอเชียที่เข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคจากพิษ COVID-19 ตามหลังญี่ปุ่น, ไทย และสิงคโปร์

มูลค่าการส่งออกของเกาหลีใต้ลดลง 16.6% ซึ่งถือว่าหนักสุดตั้งแต่ปี 1963 ขณะที่การนำเข้าสินค้าก็ลดลง 7.4% แต่การบริโภคภาคเอกชนยังปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.4% โดยได้อานิสงส์จากการจับจ่ายซื้อสินค้าคงทนจำพวกรถยนต์และเครื่องใช้ภายในบ้าน

พัค ยังซู หัวหน้าฝ่ายสถิติเศรษฐกิจของ BOK แถลงว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้เริ่มส่งสัญญาณขาลงตั้งแต่เดือน ต.. ปี 2017 และการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ก็เป็นปัจจัยเร่งให้เศรษฐกิจยิ่งซบเซาหนัก

ฮง นัมกี รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเกาหลีใต้ ยอมรับว่า การชัตดาวน์เศรษฐกิจทั่วโลกทำให้บริษัทเกาหลีใต้จำเป็นต้องระงับสายการผลิตในต่างประเทศ เช่น เวียดนามและอินเดีย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อยอดการส่งออก

(Photo by Chung Sung-Jun/Getty Images)

BOK คาดการณ์เมื่อเดือน พ.. ว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะหดตัวราว 0.2% ในปี 2020 จากเดิมที่ประเมินไว้เมื่อเดือน ก.. ว่าจะขยายตัว 2.1%

อย่างไรก็ตาม ลี จูยอล ผู้ว่าการธนาคารกลางเกาหลีใต้ ยอมรับเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าคงจะต้องปรับลดคาดการณ์ลงอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เนื่องจากการส่งออกสินค้าและบริการย่ำแย่กว่าที่คาดไว้

ตัวเลขการเติบโตตลอดทั้งปีขึ้นอยู่กับว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วแค่ไหน จีนสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจกลับมาได้อย่างรวดเร็ว เราก็อาจเดินตามรอยพวกเขาได้เหมือนกัน

นักเศรษฐศาสตร์มองเห็นสัญญาณที่เกาหลีใต้ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเอเชียจะกลับมาฟื้นตัวในไตรมาส 3

ผมมั่นใจว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้จะฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง เพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้นโอะห์ ซุกแท นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากธนาคาร Societe Generale ในกรุงโซลระบุยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่า เศรษฐกิจจะฟื้นในรูปตัว U หรือตัว V ซึ่งผมมองว่ามันขึ้นอยู่การพัฒนาวัคซีน COVID-19 ว่าจะสำเร็จเมื่อไหร่ และเราจะประคองสถานการณ์ไปจนถึงวันนั้นได้หรือไม่

Source

]]>
1289175
ต่ำสุดนับจากวิกฤตต้มยำกุ้ง ! EIC หั่นเป้าจีดีพีไทย -5.6% ส่งออกทรุด ปิดเมืองกระทบบริโภค https://positioningmag.com/1271508 Fri, 03 Apr 2020 05:21:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271508 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) ปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยปี 2020 เป็นหดตัวที่
–5.6% จากคาดการณ์เดิมที่ -0.3% นับว่าต่ำสุดนับจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 1998 ด้านส่งออกยังเจอสรสุมหนัก คาดปีนี้หดตัวที่ -12.9%

โดยมีสาเหตุหลัก ๆ จากเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถดถอยจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มาตรการปิดเมืองของไทย และจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มลดลงมากและฟื้นตัวช้า ซึ่งสรุปได้ 4 ข้อ ดังนี้

1) เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยจากการหยุดลงแบบฉับพลันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (sudden stop) เป็นผลจากปัญหาโควิด-19 และมาตรการปิดเมืองของหลายประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าของไทยมีแนวโน้มหดตัวมากที่ -12.9% ในปีนี้

2) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีแนวโน้มจะลดลงมากและฟื้นตัวล่าช้ากว่าที่คาด โดยจะลดมาอยู่ที่ 13.1 ล้านคนในปีนี้ หรือหดตัวที่ -67% จากปีก่อนหน้า เป็นผลจากความกังวลของนักท่องเที่ยวต่อการเดินทางระหว่างประเทศตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนและการรักษาโรคที่ได้ผล และจากรายได้ของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกในปีนี้

3) การประกาศปิดเมืองในหลายส่วนของไทย ซึ่งแม้เป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นในการควบคุมการระบาดของโรค แต่จะส่งผลให้การบริโภคสินค้าและบริการของภาคครัวเรือนโดยรวมลดลง ซึ่งเป็นผลกระทบที่เพิ่มเติมจากความกังวลของผู้บริโภคต่อธุรกรรมที่มีลักษณะ face-to-face ในช่วงโรคระบาดอยู่แล้ว

4) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งนโยบายการเงินและการคลังที่คาดว่าจะมีออกมาเพิ่มเติม จะมีส่วนสำคัญในการช่วยบรรเทาผลกระทบของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย โดย EIC ได้เพิ่มสมมติฐานของเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากการออก พรก. กู้ฉุกเฉิน จำนวน 200,000 ล้านบาทไว้ในการประมาณรอบนี้ด้วย

เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย

จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกที่รุนแรงเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับมาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดของหลายประเทศ ทำให้ EIC คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย และมีแนวโน้มหดตัวที่ -2.1% ในปี 2020 ต่ำกว่าช่วงวิกฤตการเงินโลกปี 2008-09

จากผลกระทบของการระบาดโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจโลกที่มีมากกว่าคาด สะท้อนจากข้อมูลเร็วอย่างดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของสหรัฐ ยูโรโซน และญี่ปุ่นในเดือนมีนาคมที่ลดลงเหลือ 40.5, 31.4 และ 35.8 ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าช่วงวิกฤตการเงินปี 2008

นอกจากนี้ มาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดของหลายประเทศ ยังส่งผลโดยตรงต่อการหยุดชะงักอย่างฉับพลันของกิจกรรมเศรษฐกิจ (sudden stop) ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบอย่างหนักต่อภาคเศรษฐกิจจริง (real sector) ในหลายประเทศทั่วโลก

ดังนั้น EIC จึงประเมินว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเข้าสู่สภาวะถดถอย (global recession) โดยจะหดตัวที่ -2.1% ทั้งนี้ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกประกอบกับปัญหาด้าน supply disruption ที่จะมีเพิ่มขึ้น จากการหยุดชะงักด้านการผลิตของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงการลดลงอย่างรวดเร็วของราคาน้ำมันในตลาดโลก จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออกของไทย โดย EIC ได้ปรับลดประมาณการมูลค่าการส่งออกของไทยในปีนี้ เป็นหดตัวที่ -12.9% จากเดิมที่คาดไว้ที่ -5.8%

คาดนักท่องเที่ยวลดฮวบ -67% ฟื้นตัวช้า 

ด้านสถานการณ์ท่องเที่ยว EIC ได้ปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปี 2020 ลดลงเหลือเพียง 13.1 ล้านคน (เดิมคาด 27.7 ล้านคน) หรือหดตัว -67% จากปีก่อน โดยเป็นผลจากมาตรการปิดประเทศของประเทศต่าง ๆ เพื่อควบคุมการระบาดของ โควิด-19 ประกอบกับความกังวลของนักท่องเที่ยวต่อการเดินทางระหว่างประเทศทำให้ข้อมูลนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางผ่าน 5 สนามบินหลัก (สุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ และหาดใหญ่) ในช่วงวันที่ 1-28 มีนาคม หดตัวที่ -78%YOY และในช่วง 1-2 วันล่าสุดหดตัวเกือบ 100%YOY

เมื่อมองไปข้างหน้าในช่วงที่เหลือของปี EIC ประเมินว่า จำนวนนักท่องเที่ยวจะหดตัวรุนแรงที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 2 เนื่องจากเป็นช่วงที่ประเทศส่วนใหญ่จะมีมาตรการปิดประเทศอย่างเข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดของโรค และแม้หลังจากนั้น มาตรการอาจเริ่มถูกผ่อนคลายได้ในช่วงครึ่งหลังของปี แต่ความกังวลของนักท่องเที่ยวต่อการเดินทางระหว่างประเทศตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาโรคที่ได้ผล

ประกอบกับรายได้ของนักท่องเที่ยวที่จะลดลงตามภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก จะทำให้การฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยคาดว่า ตัวเลขนักท่องเที่ยวในเดือนธันวาคมจะกลับมาได้เพียงประมาณ 50% ของเดือนธันวาคมปีที่แล้ว

ปิดเมืองกระทบการบริโภค 

การประกาศปิดเมือง (lockdown) ในหลายเมืองสำคัญของไทย ประกอบกับความตื่นกลัวด้านการระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อการบริโภคสินค้าและบริการในภาพรวม มาตรการปิดเมืองเป็นมาตรการ social distancing ที่จำเป็นที่ประเทศส่วนใหญ่นำมาใช้เพื่อ flattening the curve ของการระบาด ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียของชีวิตผู้คนและการสูญเสียทางเศรษฐกิจในภาพรวม แต่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะสั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โดย EIC ประเมินจากหลายงานศึกษาในต่างประเทศ พบว่า ในช่วงการ lockdown ระหว่างการเกิดโรคระบาด สินค้าที่จะมียอดขายเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินค้าหมวดอาหาร สินค้าหมวดการทำความสะอาด ยา และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ รวมถึงการใช้บริการอินเทอร์เน็ตตามการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ การทำงานที่บ้าน และกิจกรรมสันทนาการออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น เช่น ดูหนัง ฟังเพลง และเล่นเกมส์ เป็นต้น

ขณะที่สินค้าและบริการที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบทางลบค่อนข้างมาก คือ การเดินทาง ท่องเที่ยว งานนิทรรศการ โรงแรมและร้านอาหาร การคมนาคมขนส่ง กิจกรรมสันทนาการ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องแต่งกาย โดยแม้จะมีบางสินค้าที่ได้รับประโยชน์ แต่ในภาพรวม การบริโภคมีแนวโน้มลดลงมากกว่า

ทั้งนี้ หากช่วงเวลาที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปตามความกังวลต่อธุรกรรมในลักษณะ face-to-face และจากมาตรการปิดเมือง มีระยะเวลา 1 เดือน การบริโภคภาคเอกชนจะลดลงและทำให้ GDP ไทยปี 2020 หายไปประมาณ -0.6 percentage point

“เชื่อว่าในระยะต่อไป ภาครัฐจะเร่งดำเนินการออกมาตรการการคลังเพื่อชดเชยรายได้ให้กับแรงงานและผู้ประกอบการที่ตกงานหรือสูญเสียรายได้จากโควิด-19 ทั้งในส่วนการโอนเงินให้กับผู้ถูกกระทบจำนวน 3 ล้านคนที่ประกาศไปแล้ว และการเพิ่มวงเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ถูกกระทบได้มากขึ้น ผ่านการออก พ.ร.ก. กู้เงินฉุกเฉิน ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการอัดฉีดเงินให้ถึงมือของผู้เดือดร้อนได้ตรงจุดและประคับประคองเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วขึ้น”

ทั้งนี้ EIC ได้ใส่สมมติฐานวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านการออก พ.ร.ก. กู้เงินฉุกเฉินจำนวน 200,000 ล้านบาทในการประมาณการเศรษฐกิจรอบนี้แล้วด้วย

 

]]>
1271508
ไทยเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ “ถดถอย” เพิ่มขึ้น ส่องวิเคราะห์ Kbank เเนะชะลอลงทุนหุ้น 5 กลุ่ม https://positioningmag.com/1261672 Thu, 23 Jan 2020 09:50:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261672 กสิกรไทย ห่วงภัยแล้งเเละปัญหาฝุ่น PM 2.5 ฉุดเศรษฐกิจ หนี้ครัวเรือนพุ่งที่ระดับ 79% ต่อจีดีพี ลุ้นงบประมาณปี 2563 ดันลงทุนรัฐโต มองสงครามการค้าเฟส 2 เจราจรยาก ด้านตลาดหุ้นไทยยังไม่เเน่นอน เเนะชะลอลงทุนหุ้น 5 กลุ่มใหญ่ในไตรมาสเเรก 

Positioning สรุปประเด็นสำคัญจากสัมมนา “จับตาเศรษฐกิจเเละหุ้นปังปีชวด” จัดโดยธนาคารกสิกรไทย กับมุมมองสภาพเศรษฐกิจโลก ความคืบหน้าของสงครามการค้าเเละความท้าทายของเศรษฐกิจไทยที่มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย

ปัญหาฝุ่น-ภัยเเล้ง ฉุดจีดีพี

กอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย (Kbank) มองว่าหากการเจรจาของสหรัฐเเละจีน บรรเทาความตึงเครียดของสงครามการค้าได้มาก เศรษฐกิจไทยปีนี้ก็จะขยายตัวที่ 2.7% พร้อมด้วยปัจจัยสำคัญจากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ โดยคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ภายในไตรมาส 2/2563

“ภัยแล้งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามากระทบต่อเศรษฐกิจปีนี้ คิดเป็นเม็ดเงินมากกว่า 20,000 ล้านบาท เเละหากภัยแล้งเสียหายมากกว่าที่ประเมินไว้ ก็คงมีผลต่อการปรับประมาณการจีดีพีปีนี้ใหม่อีกครั้ง”

ขณะเดียวกัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ว่าเรื่องฝุ่น PM2.5 ที่รุนแรงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจไทยสูงถึง 6 พันล้านบาท

ห่วงหนี้ครัวเรือนระดับ 79% ความเสี่ยงภาวะ “ถดถอย” เพิ่มขึ้น

ด้านการปรับเกณฑ์มาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่าจะเพิ่มความยืนหยุ่นให้กับการซื้ออสังหาริมทรัพย์มากขึ้น

สิ่งที่ต้องจับตามอง คือ ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทย ที่มีอยู่ถึง 79% ต่อจีดีพี และหนี้ครัวเรือนต่อรายได้สูงถึง 220% สะท้อนว่าไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคได้อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการบริโภคของครัวเรือน ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังการดูดซับอุปทานอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอุปทานในคอนโดมิเนียม

“ดุลบัญชีเดินสะพัดปีนี้คาดว่ายังเกินดุลอยู่ที่ 33,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงปีก่อน สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่สมดุล เนื่องจากภาครัฐเก็บภาษีในระดับสูงมีการหาช่องทางการเก็บภาษีเพื่อสร้างรายได้ ทำให้กำลังซื้อของประชาชนลดลง จึงอยากให้ภาครัฐปรับภาษีใหม่ทั้งหมด เพื่อกระตุ้นการนำเข้าสินค้า” กอบสิทธิ์ระบุ

“ไทยมีโอกาสเสี่ยงจะเข้าสู่ภาวะถดถอยเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 23% “

ด้านค่าเงินบาทคาดจะยังแข็งค่าจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดลง 2 ครั้ง และการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่คาดอยู่ที่ 31,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ ช่วงครึ่งปีแรกค่าเงินบาทจะแข็งค่าที่ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และสิ้นปีอยู่ที่ 29.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

อ่านเพิ่มเติม : สรุปวิเคราะห์ทิศทางเศรษฐกิจ 2020 ส่งออก-ค่าเงิน-ตลาดหุ้นไทย

สงครามการค้า เฟส 2 ไม่ง่าย

ด้าน ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในสมัยโดนัลด์ ทรัมป์มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ซึ่งตอบโจทย์ชนชั้นกลางชาวอเมริกันที่ชื่นชอบลงทุนในหุ้น ทรัมป์จึงจะพยายามไม่ให้ตกลงไปจากนี้ เพราะต้องการฐานเสียงเลือกตั้ง

โดยมองการเจรจาเกี่ยวกับสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ว่า เเม้ว่าจะผ่านไปได้ในเฟสเเรกเเต่เฟสสองจะไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ เพราะจะเเยกย่อยเป็น 2-3 ยกต่อเฟส เพื่อกระตุ้นให้เกิด “ข่าวดี” ที่ส่งผลต่อหุ้น ซึ่งคาดว่าหากมีข้อตกลงเฟส 2 อีก ก็น่าจะเป็นช่วง “เดือนมิถุนายน”

“ความขัดเเย้งที่น่าจับตามองในปีนี้ จะไม่ใช่ความขัดเเย้งด้านเศรษฐกิจอีกต่อไปเเต่จะเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองของจีนเเละสหรัฐฯ เช่นในกรณีประท้วงฮ่องกงเเละเลือกตั้งไต้หวัน อีกทั้งการโจมตีจีน ยังเป็นการหาเสียงของ
ทั้งพรรคเดโมเเครตเเละรีพับลีกัน ซึ่งจะเป็นการขัดขาการเจราจาสงครามการค้าในช่วงต่อไป”

กอบสิทธิ์ เสริมว่า สหรัฐฯ ยังตั้งเงื่อนไขกับจีน โดยให้จีนซื้อสินค้าจากสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใน 2 ปีข้างหน้า และยังไม่ปลดล็อกภาษีที่ขึ้นมาก่อนหน้านี้ประมาณ 370,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลกระทบการค้า ส่งอกของประเทศคู่ค้า เช่น ไทยที่คาดว่าการส่งออกปีนี้จะติดลบ 1% นอกจากนี้ปัญหาความขัดเเย้งในทะเลจีนใต้ก็ต้องเผ้าระวังที่จะกระทบไทย

ทั้งนี้ มองว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในช่วงกลางปีนี้ เเละเศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น

อ่านเพิ่มเติม : มองเศรษฐกิจรอบด้าน เปิดวิเคราะห์ SCB EIC ครัวเรือนไทยรายได้-ใช้จ่ายลดในรอบ 10 ปี หนี้สูง

หุ้นไทย Q1/63 ยังเผชิญความไม่แน่นอน

ด้าน สรพล วีระเมธีกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มองว่า ปัจจัยเสี่ยงที่จะเข้ามากระทบเศรษฐกิจไทยที่ต้องให้ความสำคัญคือ 1) ปัญหาฝุ่น PM 2.5 2) ภัยเเล้งที่คาดว่าจะอยู่ในระดับวิกฤต เเละ 3 ) โรคระบาด

“ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ มีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจมากที่สุด”

สรพล ประเมินว่า มุมมองการเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ในไตรมาส 1/63จะอยู่ในกรอบ 1,555-1,630 จุด เเละคาดว่า SET Index สิ้นปีจะอยู่ที่ 1,725 จุด

สำหรับตลาดหุ้นไทย ยังมีผลกระทบจากความไม่แน่นอน เเละ ควรชะลอการลงทุนหุ้นไปก่อนในไตรมาส 1/63 โดยเฉพาะใน 5 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่มไอซีที จากปัจจัยความไม่ชัดเจนในการประมูล 5G ว่า CAT และ TOT จะเข้าร่วมหรือไม่ เเละหากเข้าร่วมก็จะส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านราคาที่เพิ่มขึ้น

2.กลุ่มค้าปลีก มีความไม่เเน่นอนจากประเด็นการประมูลซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ในประเทศไทย ซึ่งตอนนี้มีคู่เเข่ง 3 รายใหญ่อย่าง กลุ่มเซ็นทรัล , กลุ่มซีพีเเละกลุ่มบีซีเจ ที่ไม่ว่าเจ้าไหนจะชนะการประมูลก็ต้องพิจารณาถึงแผนการระดมเงินทุนในการซื้อกิจการเทสโก้ โลตัส ว่าจะใช้แหล่งเงินทุนจากช่องมางใดบ้าง และจำเป็นต้องเพิ่มทุนหรือไม่

3.กลุ่มปิโตรเคมี ที่เกี่ยวข้องการผลิตพลาสติก เพราะต้องคิดในระยะยาวว่าการรณรงค์ลดใช้พลาสติกจะมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างไร

4.กลุ่มท่องเที่ยว มีปัจจัยความไม่เเน่นอนจากโรคระบาดที่สร้างความกังวลให้ผู้คน เช่นไวรัสจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ทำให้การท่องเที่ยวเกิดการชะลอตัว

5. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จากปริมาณสต็อกที่อยู่อาศัยในตลาดยังเหลืออยู่มาก และกำลังซื้อที่ชะลอตัว คนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น

ส่วนกลุ่มหุ้นที่มีความโดดเด่นในไตรมาส 1/63 ได้แก่

1. กลุ่ม Non-Bank ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารหนี้เสีย ที่จะได้ประโยชน์ไนภาวะที่เศรษฐกิจไม่ดี เช่น JMT

2. กลุ่มพลังงานต้นน้ำ เช่น PTTEP

3. กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โดยได้รับเเรงหนุนจากภาครัฐที่จะทยอยเบิกจ่ายใช้งบประมาณในการลงทุนโครงการต่างๆ หุ้นแนะนำ คือ STEC

4. กลุ่มโรงไฟฟ้า

ส้วนหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ มองว่าในปีนี้ยังมีแรงกดดันจากนโยบายการควบคุมจากภาครัฐและธปท. และปัญหาหนี้เสียที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่มองว่าในระยะยาวกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะกลับมาฟื้นตัวได้

สรุปทิศทางเศรษฐกิจ ปี 2020 

• เศรษฐกิจโลก

มีสัญญาณดีขึ้นหลังจากการลงจามข้อตกลงการค้าระยะที่ 1 ระหว่างสหรัฐฯ-จีน โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่งนาโดยการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การผลิตและลงทุนยังอ่อนแอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานในระยะข้างหน้า ทาให้ประเมินว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในช่วงกลางปี 2020 ด้านเศรษฐกิจจีนเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้น

• เศรษฐกิจไทย

มีแนวโน้มขยายตัวตามแนวโน้มการลงทุนจากแรงสนับสนุนของการใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่การส่งออกไทยยังมีแนวโน้มหดตัวจากผลของมาตรการภาษีระหว่างสหรัฐฯ-จีนเดิมที่ยังคงอยู่ ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของจีนทาให้การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมอ่อนแอลง ส่งผลถึงการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ลดลงและการบริโภคในประเทศชะลอตัว

• เงินบาท

มีแนวโน้มอ่อนค่าลงบ้างในช่วงเดือนนี้ หลังจากที่ค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาคในปี 2019
ประเมินว่าแนวโน้มการแข็งค่าของค่าเงินในเอเชีย คาดว่าค่าเงินบาทจะเป็นที่น่าสนใจน้อยกว่าค่าเงินในเอเชียสกุลอื่นๆ นอกจากนี้ ธปท. จะมีการออกมาตรการผ่อนคลายเกณฑ์การเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้ายเพิ่มเติมเพื่อลดแรงกดดันบาทแข็ง ทาให้คาดว่าเงินบาทจะมีช่องให้อ่อนค่าลงบ้างในระยะสั้น

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดไทย และข้อจากัดจาก Policy space ของ ธปท. ที่น้อยจะกดดันให้เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าในระยะยาว

 

]]>
1261672