วิกฤต COVID – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 23 Dec 2021 12:14:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 วิจัยพบ “โอมิครอน” รุนแรงถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่า 15-20% เทียบกับ “เดลตา” https://positioningmag.com/1368493 Thu, 23 Dec 2021 09:11:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368493 ผลการศึกษาจากเคสจริงในอังกฤษพบว่า ผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” มีแนวโน้มส่งผลรุนแรงถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่า 20% เมื่อเทียบกับเชื้อสายพันธุ์ “เดลตา” แม้ว่าการระบาดจะรวดเร็วกว่าและหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดีกว่าก็ตาม

ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างเคร่งเครียดกับการค้นพบในระยะแรกว่า แม้ว่าความรุนแรงของเชื้อโรค COVID-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” น่าจะรุนแรงถึงแก่ชีวิตน้อยกว่า “เดลตา” แต่ก็ยังต้องชั่งน้ำหนักกับความสามารถของเชื้อที่แพร่ไปได้เร็วกว่า และหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนได้ดีกว่า แม้จะรุนแรงน้อยแต่การติดเชื้อเร็วก็อาจจะทำให้คนไข้ล้นระบบสาธารณสุขได้

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาจาก Imperial College London ซึ่งศึกษาจากกรณีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในอังกฤษ พบว่า เชื้อสายพันธุ์นี้มีแนวโน้มทำให้เข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าอีกด้วย

โดยการวิจัยนี้พบว่า ผู้ติดเชื้อโอมิครอนมีแนวโน้มเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าผู้ติดเชื้อเดลตา 15-20% และแนวโน้มที่จะอยู่ในโรงพยาบาลระยะสั้นกว่าผู้ติดเชื้อเดลตา 1 วันหรือมากกว่าถึง 40-45% สะท้อนให้เห็นความรุนแรงของโรคต่ำกว่า

ทั้งนี้ พบว่าผู้ติดเชื้อที่เป็นการติดเชื้อซ้ำมีความเสี่ยงรุนแรงถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลต่ำกว่า 50-60% เมื่อเทียบกับผู้ติดเชื้อครั้งแรก รวมถึงพบว่าผู้ที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca, Pfizer หรือ Moderna ครบโดสแล้ว จะลดความเสี่ยงการเข้าโรงพยาบาลได้อย่างชัดเจนเมื่อติดเชื้อโอมิครอน เทียบกับผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนเลยและติดเชื้อเดลตา

การศึกษานี้เก็บข้อมูลจากผู้ติดเชื้อในอังกฤษระหว่างวันที่ 1-14 ธันวาคม 2021 แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 56,000 เคส และสายพันธุ์เดลตา 269,000 เคส

ผู้วิจัยมีข้อคำนึงถึงระบุไว้ด้วยว่า การศึกษานี้ทำในอังกฤษซึ่งประชาชนมีอัตราเคยผ่านการติดเชื้อโรค COVID-19 มาแล้วถึง 17.3% ของประชากรทั้งหมด และอาจจะไม่ใช่ตัวเลขครบทั้งหมดด้วย มีความเป็นไปได้ว่าคนกว่าครึ่งหนึ่งของอังกฤษเคยผ่านการติดเชื้อมาแล้วก่อนจะเกิดการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ทำให้การวิจัยนี้มีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบ้างแล้วจากการที่เคยติดเชื้อ

สถานการณ์ปัจจุบันหลังการระบาดของโอมิครอน หลายประเทศทั่วโลกต่างสั่งยกระดับความเข้มงวดในการเข้าประเทศ บางประเทศเริ่มมีคำสั่งที่ลดการพบปะของผู้คน เช่น เนเธอร์แลนด์มีคำสั่งปิดร้านค้าที่ไม่จำเป็น ปิดบาร์ ฟิตเนส และสถานที่สาธารณะ ในบางประเทศสายพันธุ์โอมิครอนกำลังกลายเป็นสายพันธุ์หลักแทนที่เดลตาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา

Source: Imperial College London, Aljazeera

]]>
1368493
ธนาคารไทยพาณิชย์รวมใจฝ่าวิกฤติโควิด-19 ภูมิใจที่ได้ดูแลคนไทยกว่า 2 แสนคนให้เข้าถึงวัคซีน ปลอดภัยจากโควิด-19 https://positioningmag.com/1365792 Wed, 08 Dec 2021 01:00:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365792

ธนาคารไทยพาณิชย์ภูมิใจที่ทำให้คนไทยมีความสุข ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมใจฝ่าวิกฤติ ร่วมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ประเทศไทย ผ่านหน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ภายใต้โครงการ “ไทย ร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย” ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มโดยกรุงเทพมหานครและหอการค้าไทยในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนออกมาฉีดวัคซีนกันเป็นจำนวนมาก โดยธนาคารฯ ได้ทีมงานบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้มแข็งจากโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในกลุ่มกรุงเทพดุสิตเวชการ ทำให้สามารถดูแลผู้มารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้จำนวนมากถึง 201,300 คน ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ภายใต้มาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด ตลอดระยะเวลากว่า 7 เดือน รวม 84 วัน ตั้งแต่วันที่เปิดจนถึงวันสุดท้ายที่ให้บริการที่หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยความร่วมแรง ร่วมใจของบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการกว่า 240 คน และการรวมพลังครั้งประวัติศาสตร์ของพนักงานจิตอาสา “SCB ชวนกันทำดี” จำนวน 368 คน พนักงานรักษาความปลอดภัยและแม่บ้านของธนาคารฯ กว่า 50 คน ที่สลับกันมาปฏิบัติหน้าที่ร่วมผลักดันวาระแห่งชาติในครั้งนี้

นางอภิพันธ์ เจริญอนุสรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“ในช่วงเวลาที่วิกฤติที่สุดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของประชาชน การเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายและความรุนแรงของโรค นับเป็นภารกิจเร่งด่วนและเป็นวาระแห่งชาติที่ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร หอการค้าไทย และโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการ เป็น 1 ใน 25 องค์กรภาคเอกชนเข้าร่วมภารกิจในครั้งนี้ โดยทุกคนมีจุดมุ่งหมายเดียวกันในการให้บริการอย่างดีที่สุดเพื่อให้คนไทยเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 โดยเร็วที่สุด ซึ่งธนาคารฯ มีความพร้อมทั้งในด้านสถานที่ที่กว้างขวาง บุคลากร และเป็นจุดที่ประชาชนสามารถเดินทางมาได้โดยง่าย แม้ว่าในเบื้องต้นจะมีความกังวลเนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่เราเปลี่ยนความกังวลเป็นแรงผลัก ยึดหลักว่า ทำแล้วต้องทำให้ดี เอาใจเขามาใส่ใจเรา บริหารจัดการหน่วยฉีดวัคซีนให้มีความรวดเร็ว ง่าย และสะดวกสบาย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดทั้งต่อผู้ให้บริการ ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ และจิตอาสาที่ปฏิบัติงานภายในหน่วยฯ รวมถึงผู้ที่มารับบริการฉีดวัคซีนที่หน่วยฉีดวัคซีนทุกคน

นับเป็นความภาคภูมิใจของพวกเราชาวไทยพาณิชย์ทุกคนที่ได้มีโอกาสดูแลคนไทยให้ได้มีโอกาสเข้าถึงวัคซีน ห่างไกลความเสี่ยงจากโควิด -19 เพื่อผลักดันวาระแห่งชาติในครั้งนี้ให้ประสบความสำเร็จ ด้วยความทุ่มเทของแพทย์ พยาบาลโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ในเครือกรุงเทพดุสิตเวชการกว่า 240 คน พนักงานจิตอาสา “SCB ชวนกันทำดี” 368 คน ที่เรียกได้ว่าทำด้วยหัวใจของความเป็นจิตอาสาโดยแท้จริง ในการร่วมแรง ร่วมใจกันทำกิจกรรมเพื่อสังคมจำนวนมากที่สุดครั้งหนึ่งของธนาคารฯ รวมถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยและแม่บ้านของธนาคารฯ อีกกว่า 50 คน ที่สลับกันมาปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาที่เปิดให้บริการจนถึงวันสุดท้ายของการให้บริการที่หน่วยความร่วมมือฯ นี้ รวมระยะเวลา 84 วัน ในช่วงกว่า 7 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ที่มารับบริการฉีดวัคซีนทั้งที่เป็นผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยติดเตียง และบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 18-59 ปี รวมจำนวน 201,300 คน ด้วยมาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัยขั้นสูงสุดทั้งต่อผู้ที่มารับบริการและผู้ให้บริการ”

จิตอาสานับเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาลที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ประสบความสำเร็จและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้มารับบริการ และถือเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่สำคัญของธนาคารไทยพาณิชย์ในการส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสาธารณะ เพื่อร่วมสร้างสังคมที่ดี ภายใต้ชื่อ “SCB ชวนกันทำดี” และนี่คือส่วนหนึ่งของพนักงานจิตอาสาที่ได้มีส่วนร่วมในการให้บริการแก่ผู้ที่มาฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ซึ่งทุกคนล้วนภูมิใจที่ได้ทำให้คนไทยมีความสุข ปลอดภัยจากโควิด-19

นางสาวปสุตา พิชยชานนท์ เจ้าหน้าที่กลยุทธ์การตลาดธุรกิจแลกเปลี่ยน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนเล็ก ๆ ในการเป็นจิตอาสาที่หน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชาชนในครั้งนี้ ได้เห็นภาพความร่วมมือ ร่วมใจของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ภารกิจการระดมฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดให้กับประชาชนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่สำเร็จโดยเร็ว ในแต่ละวันมีผู้มารับบริการฉีดวัคซีนหลายพันคน แม้ว่าจะเหนื่อย แต่เมื่อได้เห็นรอยยิ้มและคำขอบคุณของผู้ที่มารับบริการ ทำให้มีความสุขในทุกวันที่ได้มาเป็นจิตอาสา รู้สึกภาคภูมิใจมากที่ได้เป็นพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ องค์กรที่มีวัฒนธรรมของการเป็นจิตอาสา ธนาคารฯ ตระหนักและให้ความสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมในหลาย ๆ ด้าน อีกทั้งยังสร้างทัศนคติที่ดีแก่พนักงานให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งเหล่านี้จะอยู่ในความทรงจำตลอดไป”

นายพิชิตพล ลีฬหารัตน์ เจ้าหน้าที่ Strategic Planning & Management Report ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“หลังจากที่ทราบว่าธนาคารฯ จะเปิดเป็นหน่วยความร่วมมือบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาล สิ่งแรกที่คิด คือ อยากมาช่วย เลยลงสมัครเป็นจิตอาสา ช่วงแรก ๆ มีคำถามในใจทุกวัน ว่าเราต้องเจอคนจำนวนมาก จะปลอดภัยหรือไม่ เนื่องจากในช่วงนั้นมีการระบาดของโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่นึกถึงคำสอนของคุณพ่อ ท่านเคยพูดไว้ว่า ถ้าคนอื่นทำได้ ตัวเราก็ต้องทำได้ ผลจะสำเร็จหรือไม่ อยู่ที่ว่าเราได้ลองหรือพยายามทำหรือยัง ความกลัว ความวิตกกังวลเป็นเพียงอุปสรรค อยู่ที่ว่าเราจะจัดการได้อย่างไร นอกจากนี้ยังเชื่อมั่นในผู้บริหารระดับสูงของธนาคารฯ ซึ่งมีหลายท่านที่มาร่วมเป็นจิตอาสาในครั้งนี้ด้วย รวมทั้งธนาคารฯ เองได้จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกัน และอุปกรณ์ทำความสะอาด มีการตรวจ ATK เป็นประจำ จิตอาสาทุกคนก็จะระมัดระวังและป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี เพื่อส่งมอบความปลอดภัยให้กับผู้ที่มารับบริการ ให้ผู้ที่มารับบริการเดินออกจากหน่วยฉีดวัคซีนของธนาคารฯ ด้วยรอยยิ้มและความสุขใจ รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้ร่วมเป็นจิตอาสาในครั้งนี้”

นายดาวยศ บุตรศรี เลขานุการผู้บริหาร กลุ่มงานปฏิบัติการ กลุ่มงาน Information and Operations ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

“ในยามวิกฤติทำให้เราเห็นถึงน้ำใจคนไทยที่ได้ร่วมแรง ร่วมใจกัน คนละไม้คนละมือ ครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งวิกฤติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด การได้รับวัคซีนโดยเร็วที่สุดจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประเทศได้เป็นอย่างดี รู้สึกปลื้มใจและอิ่มเอมใจที่ได้มาเป็นจิตอาสาในครั้งนี้ ช่วยดูแลพระภิกษุ ผู้สูงอายุ คนพิการ คนที่ตั้งครรภ์ คนที่ใช้รถเข็น รวมถึงผู้ป่วยติดเตียง ตลอดเวลาคิดเสมอว่าคนที่มารับบริการคือคนในครอบครัว มีการแจ้งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่มารับบริการคลายความกังวลและได้รับความสะดวก เมื่อเห็นผู้ที่มารับบริการมีรอยยิ้มและความสุข เราก็มีความสุข หายเหนื่อย เป็นความสุขที่ได้ทำเพื่อคนอื่น อิ่มใจในทุก ๆ วันที่ได้มาเป็นจิตอาสา นอกจากนี้ยังได้มิตรภาพที่ดีจากเพื่อน ๆ จิตอาสาที่มาร่วมปฏิบัติงานในครั้งนี้”

ธนาคารไทยพาณิชย์ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการบรรเทาวิกฤติโควิด-19 เพื่อให้เศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของประชาชนกลับมาเป็นปกติได้โดยเร็ว ด้วยความห่วงใยจากธนาคารไทยพาณิชย์

]]>
1365792
‘Airbnb’ มองท่องเที่ยวจะ ‘ฟื้นตัว’ ได้ดีแบบไม่เคยเห็นมาก่อน เน้นไปกับครอบครัว-พักยาวในชนบท https://positioningmag.com/1332603 Mon, 17 May 2021 12:06:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332603 เต็มเปี่ยมด้วยความหวัง ‘Airbnb’ เเพลตฟอร์มจองที่พักรายใหญ่ คาดการณ์ธุรกิจท่องเที่ยวทั่วโลก จะกลับมาฟื้นตัวแบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน หลังรัฐบาลหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ เร่งกระจายวัคซีนโควิด-19 ได้ดี ค่อยๆ ผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ยอดจองในช่วงวันหยุดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ยอดจองในสหรัฐฯ สูงขึ้นกว่าระดับก่อนการระบาด ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยวในสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสก็กำลังดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง’ 

โดยมูลค่าของยอดจองพักของAirbnb’ พุ่งขึ้นถึง 52% มาอยู่ที่ 10.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจองที่พักระยะยาวและเป็นบ้านพักในย่านชนบท ที่ผู้คนไม่พลุกพล่านมากนักเพื่อหลีกเลี่ยงการอาศัยอยู่ใจกลางเมืองที่มีการระบาดหนัก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ Airbnb จะมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 886.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่บริษัทจะพลิกฟื้นกลับมาทำกำไรได้ โดยยังยังขาดทุนอยู่ราว 59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากต้องนำเงินไปจ่ายค่าดอกเบี้ยที่กู้ยืมจากผลกระทบโควิด-19

Airbnb ถือว่าประคองธุรกิจได้ดี เมื่อเทียบกับธุรกิจบริการอื่น ๆ โดยเทรนด์ที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่หันมาเที่ยวพร้อมกับครอบครัวมากกว่าการเที่ยวเเบบกรุ๊ปทัวร์กับคนแปลกหน้า หรือท่องเที่ยวคนเดียว

แม้ว่าเงื่อนไขตอนนี้จะยังไม่ปกติ แต่ธุรกิจท่องเที่ยวกำลังดีขึ้น และเราคาดว่าการเดินทางจะกลับมาฟื้นตัวได้ดีเเบบไม่เคยเห็นมาก่อน Brian Chesky ซีอีโอเเละผู้ร่วมก่อตั้ง Airbnb กล่าว

นักท่องเที่ยวกำลังค้นหาและจองที่พักล่วงหน้ามากขึ้น เเต่ธุรกิจนี้ยังอยู่บนความเสี่ยงของความรุนเเรงเเละระยะเวลาการเเพร่ระบาด รวมไปถึงข้อจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศของประเทศต่างๆ ที่ยังดำเนินอยู่

Susannah Streeter นักวิเคราะห์การลงทุนและการตลาดของ Hargreaves Lansdown ให้ความเห็นกับ BBC ว่า ผลการวิจัยพบว่า Airbnb ยังเป็นเเบรนด์ที่ดึงดูดคนรุ่นเก่าที่มีรายได้’ อย่างมีนัยสำคัญ โดยความต้องการจองที่พักระยะยาวในพื้นที่ชนบทมากขึ้นนั้นจะช่วยฟื้นบริษัทได้

 

 

ที่มา : BBC , business-standard

]]>
1332603
COVID-19 ดันความรวย ประเทศจีน มีจำนวน ‘เศรษฐีพันล้าน’ เพิ่มขึ้นมากที่สุดในโลก https://positioningmag.com/1321490 Tue, 02 Mar 2021 09:38:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321490 โรคระบาดไม่ได้ฉุดความรวยของเศรษฐีจีน’ เเต่กลับเป็นตัวส่งเสริม’ ทรัพย์สินของพวกเขาให้เพิ่มพูนมากขึ้น สวนทางเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนคนรวยร้าวลึก

ในปี 2020 ที่ผ่านมา ประเทศจีนมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ-Billionaire’ (ราว 3 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 259 คน ด้วยอานิสงส์ธุรกิจดิจิทัล อีคอมเมิร์ซ เเละเกมออนไลน์ที่ความนิยมพุ่งกระฉูด รวมถึงตลาดหุ้นที่เฟื่องฟูเเละการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของหลายบริษัท ช่วยชดเชยหายนะจาก COVID-19

จากรายงานของ Hurun Global Rich List พบว่า จำนวนของเศรษฐีของจีนในปี 2020 รวมกันเเล้วมากกว่าของทั้งโลกรวมกัน โดยจีนมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านกว่า 1,058 คน นับเป็นประเทศแรกในโลกที่มีตัวเลขเกิน 1,000 คน ทั้งห่างอันดับ 2 อย่างสหรัฐอเมริกา ที่มีจำนวนมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นอีก 70 คน รวมเป็น 696 คน

โดยผู้ครองเเชมป์มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของจีนตามรายงานนี้ คือจง สานส่านเจ้าของกิจการน้ำดื่มหนงฟู สปริง’ (Nongfu Spring) ที่เพิ่งโค่นมูเกช อัมบานีนักธุรกิจอินเดียไปหมาดๆ ด้วยทรัพย์สินรวม 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นแท่นมหาเศรษฐีรวยที่สุดในเอเชีย เเละติด 1 ใน 10 ของโลกไปหมาดๆ

จง สานส่าน เจ้าของน้ำดื่ม Nongfu Spring

เขาได้รับว่าฉายาว่าหมาป่าเดียวดายเนื่องจากเป็นคนชอบเก็บตัว ต่างจากผู้นำธุรกิจรายใหญ่อื่นๆ ของจีน และเขาเป็นหนึ่งในไม่กี่คนในจีน ที่สามารถสร้างบริษัทมูลค่ามากกว่าหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ถึง 2 บริษัท

ความรุ่งเรืองของจง สานส่านในปีที่ผ่านมา สวนทางกับเศรษฐีจีนชื่อก้องโลกอย่างแจ็ค หม่าที่อันดับความรวยลดลง หลังมีข้อขัดเเย้งกับรัฐบาลจีนในประเด็นผูกขาดทางการค้า อีกทั้งยังโดนสกัดการเสนอขายหุ้นครั้งแรกแก่ประชาชน (IPO) ของบริษัทฟินเทคในเครืออย่าง Ant Group ซึ่งเคยถูกประเมินว่าจะเป็นหุ้น IPO ที่ระดมทุนได้สูงสุดในโลก 

ในการสำรวจนี้ ยังพบว่า มหาเศรษฐี Elon Musk ซีอีโอของ Tesla , Jeff Bezos ผู้ก่อตั้งของ Amazon และ Colin Huang จาก Pinduoduo หนึ่งในอีคอมเมิร์ซที่เติบโตเร็วที่สุดของจีน มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปีเดียว

Elon Musk ซีอีโอของ Tesla / Photo by Kevork Djansezian/Getty Images

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนมีมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เเซงหน้าหลายประเทศ อีกทั้งในปีที่ผ่านมาก็สกัดความเสียหายจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้รวดเร็วทำให้มีจำนวนมหาเศรษฐีเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ด้านรายงานขององค์การ Oxfam ระบุว่า เกือบทุกประเทศในโลก มีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

เมื่อนำสินทรัพย์ของเหล่ามหาเศรษฐีรวยที่สุด 10 อันดับแรกของโลก ที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ COVID-19 เริ่มระบาด พบว่ามีมูลค่าสูงกว่าประมาณ 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีระบบเศรษฐกิจเอื้อให้กลุ่มคนร่ำรวย สามารถรักษาความร่ำรวยไว้ได้ ท่ามกลางภาวะวิกฤตทางอันเลวร้าย

 

 

ที่มา : AFP

]]>
1321490
มองธุรกิจ SMEs ไทย หลังวิกฤต COVID-19 ส่วนใหญ่ “ปรับตัวได้” เเต่กำไรหายไปมาก https://positioningmag.com/1303092 Mon, 26 Oct 2020 13:28:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303092 ธุรกิจ SMEs นับเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจไทย ทั้งในแง่รายได้และการจ้างงาน โดย SMEs ไทยมีจำนวนกว่า 3 ล้านราย จ้างงานกว่า 12 ล้านคน 

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมาก ทั้งรายได้ที่หดหายไป การขาดสภาพคล่องทางการเงิน เเม้สถานการณ์จะดีขึ้นบ้างเเล้ว เเต่ธุรกิจจำนวนมากก็ยังมีความเสี่ยงจะปิดกิจการ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินธุรกิจ SMEs หลังสถานการณ์ COVID-19 บรรเทาลง โดยเเบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม Slow คือ ธุรกิจที่ปรับตัวได้ช้า มีความจำเป็นต้องเร่งปรับโครงสร้างเพื่อความอยู่รอด ได้แก่ ธุรกิจขนส่งผู้โดยสาร ค้าปลีกเสื้อผ้า สถานบันเทิง ประดับยนต์ และโรงแรม

กลุ่ม Viable คือ ธุรกิจที่พอปรับตัวได้ แต่ยังมีความเสี่ยงอยู่ ต้องดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังเพื่อประคองกิจการ ได้แก่ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ร้านอาหาร ขายเครื่องจักร บริการทางธุรกิจ และธุรกิจที่ปรึกษา

กลุ่ม Swift คือ ธุรกิจที่มีความพร้อมในการปรับตัวค่อนข้างรวดเร็ว ได้แก่ ธุรกิจขายสินค้าอุปโภคบริโภค บริการคอมพิวเตอร์ ร้านขายยา/เวชภัณฑ์ ร้านสะดวกซื้อ และสถานพยาบาล

เศรษฐกิจ ประเทศไทย
Photo : Shutterstock

โดยวิเคราะห์แนวโน้มการฟื้นตัวตามลักษณะของธุรกิจ (V, U, L Shape Recovery) ว่าจะส่งผลกระทบไปยังผลการดำเนินงานของธุรกิจส่งผ่านไปยังกำไรก่อนหักภาษีของกิจการ (Earning Before Tax: EBT) โดยใช้ข้อมูลงบการเงินของธุรกิจ SMEs จำนวนกว่า 3 แสนราย ที่ดำเนินธุรกิจอยู่และส่งงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ผลศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ 65.7% อยู่ใน “กลุ่ม Viable” ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ กำไรลดลง แต่ผลการดำเนินงานยังเป็นบวกมี 92.9% และขาดทุน 7.1%

ลำดับต่อมา 21.7% เป็น “กลุ่ม Slow” ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ กำไรลดลงแต่ผลการดำเนินงานยังเป็นบวกมี 73.7% และขาดทุน 26.3%

ส่วนอีก 12.6% เป็น“กลุ่ม Swift” ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ กำไรลดลงแต่ผลการดำเนินงานยังเป็นบวกมี 96.1% และมีขาดทุนเพียง 3.9%

เมื่อประเมินผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว พบว่า “กลุ่ม Swift” เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ที่ผลการดำเนินงานของกิจการลดลงบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ยังพอมีกำไรอยู่ จึงเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีความพร้อมในการปรับตัวได้ค่อนข้างดี

ส่วน “กลุ่ม Viable” เป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่รายได้ลดลงเป็นบางส่วน ตลาดยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ทำให้กำไรของกิจการลดลงค่อนข้างมาก ธุรกิจในกลุ่มนี้จึงยังมีความเสี่ยงอยู่ ต้องดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง เพื่อประคองกิจการให้ข้ามผ่านไป

ในขณะที่ “กลุ่ม Slow” หนักสุดเป็นกลุ่มที่ส่วนใหญ่ รายได้ยังไม่ฟื้นตัวและรายจ่ายไม่สามารถลดลงได้ และกำลังซื้อที่ชะลอตัว ผลกำไรที่ลดลงมากจึงทำให้ผลการดำเนินงานขาดทุนมาก เป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับโครงสร้าง เพื่อความอยู่รอดในระยะต่อไป

สุขภาพการเงิน SMEs ใครยังไหวอยู่?

TMB Analytics ได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงสุขภาพทางการเงินของ SMEs เพื่อให้ทราบว่า ผู้ประกอบการ SMEs กิจการมีความสามารถทำกำไรอยู่ในระดับใด และภาวะสภาพคล่องทางการเงินยังไหวหรือไม่ ด้วยการประเมินสุขภาพการเงินว่า สามารถรองรับวิกฤตและอยู่รอดข้ามผ่าน COVID-19 ได้ดีเพียงใด ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางที่ช่วยให้ธุรกิจมีศักยภาพดีขึ้นสำหรับดำเนินธุรกิจในอนาคต โดยนำข้อมูลทางการเงิน 2 ด้านมาประเมินร่วมกันคือ 1. ความสามารถในการทำกำไร 2. สภาพคล่องธุรกิจ

ด้วยวิธีการประเมินสุขภาพการเงินที่กล่าวมาข้างต้น จากจำนวน 3 แสนรายที่ดำเนินธุรกิจอยู่ และส่งงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดย TMB Analytics จัดลักษณะธุรกิจออกมาเป็น 4 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ‘พร้อมโต’ เป็นกลุ่มที่สุขภาพทางการเงินดีที่สุด จากความสามารถในการทำกำไรสูง และมีสภาพคล่องธุรกิจที่แข็งแรง จากการวิเคราะห์พบว่า มี SMEs ที่อยู่ในกลุ่มนี้ 27% ของธุรกิจ SMEs ทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ต่ำ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค

“กลุ่มนี้มีศักยภาพการเติบโตสูง หากสามารถวางแผนการลงทุนและการตลาดล่วงหน้าได้ เพื่อทำการขยายธุรกิจและรองรับการเติบโตในอนาคต”

กลุ่มที่ 2 ‘พร้อมฟื้น’ เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพทางการเงินรองลงมา โดยมีความสามารถในการทำกำไรที่สูง แต่ยังมีสภาพคล่องธุรกิจที่เปราะบาง จากการวิเคราะห์พบว่า มีสัดส่วนธุรกิจอยู่ในกลุ่มนี้ 27% จากธุรกิจ SMEs ทั้งหมด ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ค่อนข้างต่ำ เช่น ค้าปลีกสินค้ายา เครื่องจักร เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 ‘รอฟื้น’ เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพทางการเงินพอไปได้ ด้วยธุรกิจยังมีสภาพคล่องธุรกิจที่แข็งแรง สามารถประคองธุรกิจให้ไปต่อ แต่มีความสามารถในการทำกำไรที่ต่ำลง พบว่ามีสัดส่วนจำนวนธุรกิจที่ 19% โดยส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจขนส่งผู้โดยสาร งานบริการทางธุรกิจ เช่น รับเหมาก่อสร้าง ที่ปรึกษา เป็นต้น

กลุ่มที่ 4 ‘รอรักษา’ เป็นกลุ่มที่มีสุขภาพทางการเงินอ่อนแอกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรค COVID-19 อย่างหนักจากรายได้ที่หดหายไปมาก กระทบต่อสภาพคล่องธุรกิจ ส่งผลให้ความสามารถในการทำกำไรและสภาพคล่องธุรกิจไม่ดี ในกลุ่มนี้มีจำนวนกระจุกตัว 34% ส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจโรงแรมที่พัก บริการท่องเที่ยว ค้าปลีกเสื้อผ้า เป็นต้น

 

 

]]>
1303092