สตาร์ทอัพ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 30 Sep 2024 09:50:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เอพี” หันจับตลาด “บ้านมือสอง” เปิดบริษัทลูก “HOMERUN” รับซื้อ-รีโนเวต-ขายครบวงจร https://positioningmag.com/1492246 Mon, 30 Sep 2024 08:44:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1492246
  • “เอพี ไทยแลนด์” หนุนสตาร์ทอัพในเครือ “HOMERUN” ทำธุรกิจใหม่ รับซื้อ-รีโนเวต-ขาย “บ้านมือสอง” แบบครบวงจร
  • ชี้โอกาสในตลาดมูลค่าสูงปีละ 7 แสนล้านบาท แต่ยังไม่มีผู้เล่นรายใหญ่
  • สู้ด้วยจุดแข็งใช้ “AI” ประเมินราคาทรัพย์-ออกแบบใหม่ สั่งวัสดุก่อสร้างร่วมบริษัทแม่เพื่อประหยัดต้นทุน และผู้ซื้อได้ดอกเบี้ยเหมือนบ้านมือหนึ่ง
  • “วิทการ จันทวิมล” รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บมจ. เอพี ไทยแลนด์ เปิดเผยว่า เอพีมีการแตกไลน์ธุรกิจใหม่ ผ่านการสนับสนุนสตาร์ทอัพของพนักงานภายในองค์กร (internal start-up) ในชื่อบริษัทลูก “HOMERUN” ที่เข้าไปจับธุรกิจรับซื้อ รีโนเวต และขาย “บ้านมือสอง” แบบครบวงจร

    โดยธุรกิจนี้เป็นสตาร์ทอัพแห่งแรกในเครือเอพีที่เกิดขึ้นจริงหลังบริษัทสนับสนุนให้พนักงานสร้างสรรค์คิดค้นธุรกิจใหม่มานานกว่า 5 ปี และหลังจากลองทำธุรกิจจริงมาแล้วกว่า 1 ปี พบว่า HOMERUN มีโอกาสสูงที่จะเติบโต (scale up) และยืนด้วยตนเองได้ในอนาคต

     

    มูลค่าตลาด 7 แสนล้านที่ยังไม่มีรายใหญ่

    “ศุภนิดา ตั้งตงฉิน” กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮมรัน พร็อพเทค จำกัด กล่าวต่อว่า ไอเดียที่มาของการสร้างธุรกิจ HOMERUN ขึ้น มาจากการเล็งเห็นว่า ตลาดบ้านมือสองในไทยมีมูลค่าสูงถึงปีละ 7 แสนล้านบาท แต่ยังไม่มีบริษัทรายใหญ่เข้ามาจับตลาดนี้ จะมีเฉพาะรายย่อยถึงรายกลาง และตลาดยังไม่มีมาตรฐานกลาง ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายยังประสบกับ ‘pain point’ หลายอย่างที่สามารถเข้าไปแก้ปัญหาได้

    HOMERUN บ้านมือสอง
    โปรเจ็กต์บ้านเดี่ยว “Vine House” ปุณณวิถี 49 ขายได้แล้วในราคา 15 ล้านบาท

    ในแง่ความต้องการของตลาด ศุภนิดามองว่า โอกาสที่ผู้ซื้อจะสนใจบ้านมือสองจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากที่ดินในกรุงเทพฯ นั้นยิ่งใกล้ใจกลางเมืองก็ยิ่งมีจำกัด ผู้พัฒนาจัดสรรสร้างโครงการบ้านมือหนึ่งเปิดใหม่ได้ยาก หรือหากมีก็จะอยู่ในช่วงราคาสูงมากจนเอื้อมถึงยาก

    ด้วยเหตุนี้ ผู้ซื้อเองก็เริ่มหันมามองบ้านมือสอง ซึ่งมักจะตั้งอยู่ในทำเลดีกว่าโครงการเปิดใหม่ ราคาไม่แรงเท่า หรือหากเทียบราคาเท่ากันก็มักจะได้พื้นที่กว้างกว่า

     

    แก้ปัญหา “ผู้รับเหมา” และ “กู้ไม่ผ่าน”

    อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ซื้อและผู้ขายบ้านมือสองที่เป็นรายย่อยด้วยกัน มักจะเผชิญปัญหาแบบเดียวกันคือเรื่อง “ผู้รับเหมา” ในการรีโนเวต ไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายที่จะเป็นคนดำเนินการรีโนเวต ก็อาจจะต้องเผชิญความยุ่งยากจากผู้รับเหมา เช่น การทิ้งงาน

    HOMERUN บ้านมือสอง
    โปรเจ็กต์ “Dresden” เพนต์เฮาส์ 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ บนอาคารอโศก ทาวเวอร์ส ปิดการขายที่ราคา 80,000 บาทต่อตร.ม.

    ในแง่การกู้สินเชื่อบ้านก็เช่นกัน ผู้ขายก็จะมีปัญหาคือ อาจจะต้อง ‘ลุ้น’ ว่าผู้ซื้อจะกู้สินเชื่อบ้านผ่านหรือไม่ หากกู้ไม่ผ่านบ้านก็ต้องวนขายใหม่ ส่วนผู้ซื้อก็มักจะได้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่แพงกว่าบ้านมือหนึ่ง ตามเกณฑ์ของธนาคารที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคเพิ่มเติมในการกู้

    ศุภนิดากล่าวว่า จากสภาวะในตลาดทั้งหมดทำให้ HOMERUN จะมาแก้ปัญหาให้ทั้งสองฝ่าย ด้วยการเป็นแพลตฟอร์มรับซื้อ รีโนเวต และขาย

    โดยผู้ขายบ้านไม่ต้องกังวลเรื่องผู้ซื้อกู้ไม่ผ่าน เพราะเป็นทุนจากบริษัทมารับซื้อเอง ส่วนผู้ซื้อก็จะได้อัตราดอกเบี้ยเทียบเท่ากับบ้านมือหนึ่งจากธนาคารพันธมิตรของเอพี พร้อมการรีโนเวตบ้านเสร็จพร้อมย้ายเข้าอยู่และรับประกันโครงสร้าง 6 – 12 เดือน ไม่ต้องปวดหัวกับผู้รับเหมาอีกต่อไป

     

    รับซื้อที่อยู่อาศัยทุกแบบ แต่เน้นทำเลใจกลางเมือง

    ศุภนิดากล่าวต่อว่า ปัจจุบัน HOMERUN รับซื้อทรัพย์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม แต่การรีโนเวตจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

    • Flagship รีโนเวตใหญ่ยกบ้าน ปรับปรุงโครงสร้าง ระบบประปา-ไฟฟ้า ใหม่ทั้งหมด ใช้เวลา 4-6 เดือน
    • Renovated ปรับปรุงระดับกลาง ปรับฟังก์ชันและตกแต่งให้เหมาะกับการอยู่อาศัยยุคนี้ ใช้เวลา 2 เดือน
    • Select ที่อยู่อาศัยยังไม่เก่ามาก เพียงปรับการตกแต่งให้ทันสมัย ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน

    ส่วนทำเลที่สนใจก็จะเน้นบริเวณใจกลางเมืองหรือชานเมืองที่มีซัพพลายมือหนึ่งเหลือไม่มากก่อน เช่น “คอนโดมิเนียม” ย่านสุขุมวิท ย่านสีลม-สาทร ย่านลาดพร้าว หรือ “บ้านเดี่ยว” ย่านราชพฤกษ์ ย่านบางนา เพื่อดึงดูดลูกค้าให้หันมาซื้อบ้านมือสองแทน โดยอาจจะเป็นแพ็กเกจราคาเท่ามือหนึ่งแต่ได้พื้นที่กว้างกว่า หรือทำแพ็กเกจราคาให้ถูกกว่ามือหนึ่ง 10-50% แล้วแต่โปรเจ็กต์

    หลังจาก HOMERUN ซุ่มดำเนินการมาปีกว่า วิทการระบุว่าทางเอพีได้สนับสนุนเงินลงทุนไปแล้ว 500 ล้านบาท มีการรับซื้อทรัพย์มาแล้ว 50 หลัง และขายได้แล้ว 20 หลัง รวมมูลค่ากว่า 200 ล้านบาท

    ส่วนเป้าหมายปี 2568 คาดว่าจะทำยอดขายเพิ่มขึ้นให้ได้ 100% จากปีนี้ และเป้าระยะยาวคือ HOMERUN ควรจะ ‘ยืนได้ด้วยตนเอง’ ภายใน 5 ปี เพื่อลดการพึ่งพิงเงินกู้จากบริษัทแม่

    โปรเจ็กต์ “The Winston Home” ซ.สุขุมวิท 77 กำลังจะเปิดขายวันที่ 17 ตุลาคม 2567

     

    ใช้ AI ทำงาน-สั่งวัสดุก่อสร้างกับบริษัทแม่

    ศุภนิดากล่าวต่อว่า สำหรับจุดแข็งที่จะทำให้ HOMERUN ‘ชนะ’ ในตลาดนี้และผู้เล่นอื่นทำตามได้ยาก คือ การนำเทคโนโลยี ‘AI’ เข้ามาใช้งานเพื่อสร้างความเร็วและประหยัดบุคลากร

    ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกทรัพย์ ปัจจุบันมีผู้ขายเสนอขายเข้ามาเดือนละกว่า 1,000 ยูนิต บริษัทจะใช้ AI ในการคำนวณช่วงราคาเสนอซื้อกลับไปได้อย่างรวดเร็ว

    หลังจากนั้นหากมีการตกลงซื้อขายเป็นที่เรียบร้อย ในขั้นตอนการออกแบบรีโนเวตบ้านบริษัทจะใช้ AI สร้างแบบเบื้องต้นออกมา ทำให้ดีไซเนอร์ทำงานเร็วขึ้น

    สุดท้ายคือการประหยัดต้นทุนค่าปรับปรุงบ้าน ด้วยการจัดซื้อวัสดุก่อสร้างร่วมกับเอพี ไทยแลนด์ ทำให้เกิด ‘Economy of Scale’ ได้มากกว่าผู้เล่นเจ้าอื่น

    จากประสบการณ์การทำงานมากว่าปี ศุภนิดาพบว่าโฮมรัน พร็อพเทคสามารถสร้างกำไรขั้นต้น (GP) ได้ 15-20% จึงเชื่อว่าอนาคตมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

    ]]>
    1492246
    “Gother” สตาร์ทอัพไทยสู้ศึกแอปฯ OTA ประเดิมดึงเม็ดเงินลงทุน 200 ล้านจาก “กสิกรไทย – กรุงไทย” https://positioningmag.com/1491760 Wed, 25 Sep 2024 13:23:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1491760 “Gother” สตาร์ทอัพแพลตฟอร์ม OTA สัญชาติไทย ลงสนามสู้ศึกทุนต่างชาติ “กสิกรไทยกรุงไทย” เห็นแววตอบรับร่วมลงทุนรวม 200 ล้านบาท พร้อมเปิดให้ผูกหน้าการจองตรงผ่านแอปฯ “K PLUS” และ “Krungthai NEXT – เป๋าตังค์ ถุงเงิน” โดยไม่ต้องโหลดแอปฯ เพิ่มในเครื่อง เปิดประตูการเข้าถึงลูกค้าได้ถึง 50 ล้านราย

    “อนุพงษ์ เกรียงไกรลิปิกร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสิร์ชเอ็นจินอ็อปทิไมเซชั่น จำกัด ประกาศเปิดตัวแพลตฟอร์ม “Gother” (โกเธอร์) อย่างเป็นทางการ พร้อมบุกตลาด OTA (Online Travel Agency) ในประเทศไทยเต็มตัว โดยแพลตฟอร์มนี้ปัจจุบันมีฟีเจอร์ให้จองทั้งสายการบิน, ที่พัก, กิจกรรม และเดือนตุลาคมนี้จะเปิดฟีเจอร์การจองรถเช่าอีกด้วย

    ทีมงาน Gother ที่จริงแล้วไม่ใช่หน้าใหม่ในวงการ เพราะผู้ก่อตั้งเป็นทีมเดียวกับเจ้าของแพลตฟอร์ม “TraveliGo” (ทราเวลไอโก) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2558 อย่างไรก็ตาม อนุพงษ์กล่าวว่า ในระยะหลังพบว่ามีแอปฯ OTA อื่นๆ ที่มาใช้ชื่อคล้ายกันและสีคล้ายกัน ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน ในช่วงโควิด-19 ซึ่งการท่องเที่ยวหยุดชะงัก จึงกลับมาทบทวนและตัดสินใจก่อตั้งแพลตฟอร์มใหม่เป็น Gother ใช้ชื่อที่แตกต่าง และใช้โลโก้สีแดงให้ไม่เหมือนใคร

    Gother OTA
    “อนุพงษ์ เกรียงไกรลิปิกร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เสิร์ชเอ็นจินอ็อปทิไมเซชั่น จำกัด

    หลังจากรีแบรนด์ก่อตั้งแพลตฟอร์มใหม่เมื่อปี 2565 บริษัทได้รับเงินลงทุนครั้งแรกในปี 2566 จากบีคอน วีซี เครือธนาคารกสิกรไทย มูลค่าการลงทุน 100 ล้านบาท ตามด้วยปี 2567 รับเงินลงทุนจาก กรุงไทย เวนเจอร์ส มูลค่าการลงทุน 100 ล้านบาท พร้อมแย้มด้วยว่าในปี 2568 อาจจะได้รับเงินลงทุนเพิ่มเติมจากนักลงทุนที่สนใจอีกรายหนึ่ง

     

    เปิดประตูสู่ลูกค้า 50 ล้านคน

    อนุพงษ์กล่าวด้วยว่า การได้รับเงินลงทุนจากธนาคารทั้งสองรายถือเป็นก้าวสำคัญของบริษัท ไม่ใช่แค่เรื่องเงินลงทุน แต่เข้ามาช่วยให้แพลตฟอร์มดูน่าเชื่อถือสูงขึ้นมาก

    “เวลาที่เราเพิ่งเริ่มต้นตั้ง OTA คนจะกลัวมากว่าเราน่าเชื่อถือหรือเปล่า จองไปแล้วจะมีที่พักจริงๆ ไหม การที่มีธนาคารรายใหญ่มาร่วมทุนจึงช่วยให้เราดูน่าเชื่อถือมากขึ้น” อนุพงษ์กล่าว

    ปัจจุบัน Gother มีฐานลูกค้าแล้ว 2 แสนราย และหวังว่าจะเพิ่มฐานลูกค้าได้อีก 1.5 แสนรายภายในสิ้นปี 2567

    Gother OTA

    หนทางหนึ่งที่แพลตฟอร์มจะได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างที่ตั้งเป้า คือ การผูกหน้าการจองของ Gother เข้ากับแอปพลิเคชันของธนาคาร ได้แก่ “K PLUS” ของธนาคารกสิกรไทย และ “Krungthai NEXT – เป๋าตังค์ ถุงเงิน” สามแอปพลิเคชันของธนาคารกรุงไทย ซึ่งอนุพงษ์ประเมินว่า ฐานลูกค้าของทั้งคู่รวมกันน่าจะทะลุ 50 ล้านคน

    ลูกค้าที่สนใจจองผ่าน Gother จึงไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอปฯ แค่เข้าไปในแอปฯ ของธนาคารก็สามารถลงทะเบียน จองทุกอย่าง และชำระเงินจบในแอปฯ ธนาคารได้เลย ความสะดวกสบายนี้จึงน่าจะชวนให้คนไทยเข้ามาลองใช้ Gother ได้ง่ายขึ้น

     

    ชูเรื่อง “กิจกรรม” ตรงใจคนไทย

    มีช่องทางเข้าถึงคนไทยได้ง่ายขึ้นแล้ว อีกจุดขายที่ Gother เชื่อว่าจะเจาะคนไทยได้ คือการชูโรงการจอง “กิจกรรม” ที่ออกแบบคัดเลือกมาให้โดนใจคนไทย ซึ่งในแอปฯ จะเรียกว่า “KLUB” เพราะแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามไลฟ์สไตล์เฉพาะกลุ่ม เช่น คอกาแฟ, มูเตลู, ครอบครัว, ดำน้ำ

    ตัวอย่าง KLUB การจองกิจกรรมตามไลฟ์สไตล์เฉพาะกลุ่ม

    ยกตัวอย่าง กลุ่มคอกาแฟก็จะมีกิจกรรม เช่น ทัวร์ไร่กาแฟและโรงคั่ว กลุ่มมูเตลูก็จะมีกิจกรรม เช่น ไหว้พระกับอาจารย์ดัง หรือกลุ่มครอบครัวก็มีกิจกรรม เช่น พาลูกเที่ยวผจญภัย

    กิจกรรมเหล่านี้อนุพงษ์มองว่าจะเป็นจุดขายทั้งในกลุ่มผู้บริโภค และเปิดโอกาสให้คนไทยในระบบนิเวศการท่องเที่ยวมาสร้างกิจกรรมดีๆ ในท้องถิ่นของตัวเองกันมากขึ้น

     

    ค่าคอมฯ ต่ำกว่าเพื่อน 2-3%

    ฝั่งผู้ประกอบการท่องเที่ยว ทางแอปฯ Gother ก็มีหมัดเด็ดที่จะชักจูงใจให้มาขายบนแพลตฟอร์มคือ “ค่าคอมมิชชันต่ำกว่า 2-3%” เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มอื่นๆ และไม่มีระบบจ่ายค่าสปอนเซอร์เพื่อดันตนเองขึ้นไปอยู่ลำดับแรกๆ ในหน้าค้นหา แต่จะเปลี่ยนเป็นการแข่งกัน “ให้โปรโมชันลูกค้า” มากกว่า

    “ตัวอย่างเช่นถ้าโรงแรมคุณจัดโปรฯ จองห้องพักแถมนวดสปาให้ลูกค้า เราก็จะดันขึ้นไปลำดับแรกๆ ให้ เราไม่ได้อยากให้ส่วนนี้มาจ่ายตรงให้เรา อยากให้คืนกำไรให้กับลูกค้าดีกว่า” อนุพงษ์กล่าว

     

    สนับสนุนแอปฯ คนไทย เงินไม่ไหลออกนอก

    ด้านผู้ร่วมลงทุนในแอปฯ นี้อย่าง “ธนพงษ์ ณ ระนอง” กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (บีคอน วีซี) ให้ความเห็นว่า สาเหตุที่ตัดสินใจลงทุนกับ Gother เพราะที่จริงแล้วทางธนาคารเล็งเห็นมานานว่ากลุ่ม TravelTech เป็นกลุ่มสตาร์ทอัพที่น่าสนใจ ด้วยระบบนิเวศการท่องเที่ยวเมืองไทยมีเม็ดเงินหมุนเวียนถึงปีละ 5 แสนล้านบาท

    “OTA เจ้าใหญ่ทั้งสองเจ้าตอนนี้ได้กำไรมหาศาลแล้วนะ พ้นระยะการเป็นธุรกิจ burn cash (เผาเงินทุน) กันไปหมดแล้ว ทำให้ตลาดนี้น่าสนใจมาก ถ้าเข้ามาชิงเค้กได้ก็จะได้กำไรทันที” ธนพงษ์กล่าว “และเรามองว่าถ้าผลักดันให้คนไทยจอง OTA ไทยได้ก็จะลดการรั่วไหลของเงินออกไปต่างประเทศด้วย”

    (แถวหน้าจากซ้าย) “สุริพงษ์ ตันติยานนท์” , “อนุพงษ์ เกรียงไกรลิปิกร” และ “ธนพงษ์ ณ ระนอง”

    ส่วน “สุริพงษ์ ตันติยานนท์” ประธานกรรมการ บริษัท กรุงไทย เวนเจอร์ส จำกัด ก็มองในทิศทางใกล้เคียงกันว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่ในไทย เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลายส่วน

    การลงทุนกับ Gother ของกรุงไทย เวนเจอร์สเกิดขึ้นเพราะเล็งเห็นว่า Gother จะเข้ามาช่วยยกระดับธุรกิจไทยและชีวิตคนไทยได้ รวมถึงมีศักยภาพพอที่ในอนาคตจะขยายออกสู่ตลาดต่างประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้

    เป้าหมายของ Gother ในปีนี้ อนุพงษ์ระบุว่าจะมีการลงทุนงบการตลาดถึง 80 ล้านบาท ระดม KOLs เพื่อสร้างคอนเทนต์ให้คนไทยรู้จักแอปฯ และตั้งเป้ายอดขายผ่านแอปฯ รวม 400 ล้านบาท ขณะที่ปี 2568 ตั้งเป้ายอดขายว่าจะไปให้ถึง 1,000 ล้านบาทให้ได้

    ]]>
    1491760
    เทคสตาร์ทอัพ “Amity” ฝีมือทายาทตระกูล “เจียรวนนท์” ระดมเงินลงทุนเพิ่มได้อีก 60 ล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1483081 Wed, 17 Jul 2024 11:11:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1483081 สำนักข่าว Reuters รายงาน เทคสตาร์ทอัพ “Amity Corp” ระดมเงินลงทุนรอบล่าสุดได้อีก 60 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยผู้ก่อตั้งบริษัทนี้คือ “กรวัฒน์ เจียรวนนท์” ทายาทตระกูลเจ้าสัวเมืองไทย หลานปู่ของ “ธนินท์ เจียรวนนท์”

    “กรวัฒน์ เจียรวนนท์” ซีอีโอ “Amity” ในวัย 29 ปี กล่าวว่า บริษัทนี้เป็นบริษัทสตาร์ทอัพผู้พัฒนา “Generative AI” แชตบอตภายในองค์กรสำหรับให้พนักงานใช้เพื่อช่วยทำงานในด้านต่างๆ เช่น สร้างรายงาน วิเคราะห์ข้อมูล ให้คำแนะนำ เพียงแค่นำแชตบอตตัวนี้ไปเชื่อมต่อกับระบบดาต้าเบสขององค์กรของลูกค้า

    ซีอีโอ Amity ยังกล่าวด้วยว่า สำหรับการระดมทุนรอบล่าสุดในรอบ Series C มีผู้นำการลงทุนจากบริษัท Insight Capital และเงินลงทุนรอบนี้จะถูกนำไปใช้ในการซื้อกิจการผลิตภัณฑ์หรือบริษัทที่พัฒนาระบบ SaaS (Software as a Service) ที่มีศักยภาพในแบบเดียวกันกับบริษัท และใช้ในการเติบโตผ่านการซื้อกิจการในตลาดต่างประเทศ

    ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทในปี 2012 จนถึงปัจจุบัน Amity ระดมทุนสะสมไปแล้ว 90 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ กรวัฒน์ระบุว่า ครอบครัวเจียรวนนท์มีการลงทุนในบริษัท Amity ไม่เกิน 10% และเสริมด้วยว่า ทั้งคุณปู่และคุณพ่อของเขาสนับสนุนให้เขาหาเงินลงทุนจากภายนอกมากกว่า

    “เพราะถ้าครอบครัวเป็นผู้นำการลงทุนหรือระดมทุน บริษัทก็จะไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบเท่ากับการหานักลงทุนสถาบันจากภายนอก” กรวัฒน์กล่าว

    กรวัฒน์ถือเป็นทายาทคนหนึ่งของตระกูลเจียรวนนท์ เจ้าของธุรกิจยักษ์ใหญ่ “เครือเจริญโภคภัณฑ์” (CP Group) และเป็นตระกูลที่มีความมั่งคั่งสูงสุดเป็นอันดับ 2 ของไทยด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามข้อมูลการจัดอันดับโดยนิตยสาร Forbes ครั้งล่าสุดในปี 2024 โดยกรวัฒน์เป็นบุตรชายของ “ศุภชัย เจียรวนนท์” ประธานกรรมการบริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และเป็นหลานปู่ของ “ธนินท์ เจียรวนนท์” ประธานอาวุโสและผู้บุกเบิกอาณาจักรเจริญโภคภัณฑ์

    ด้านที่มารายได้ของ Amity กรวัฒน์ระบุว่ามีสัดส่วนจากประเทศไทยประมาณ 35-40% โดยกลุ่มลูกค้าของบริษัทนั้น นอกจากจะมีลูกค้าจากในเครือเจริญโภคภัณฑ์​ เช่น ซีพี ออลล์, ทรู คอร์ปอเรชั่น บริษัทยังมีลูกค้าองค์กรรายใหญ่ เช่น ปตท. , นกแอร์ และกลุ่มธนาคารพาณิชย์อีกหลายราย

    เฉพาะในตลาดประเทศไทย Amity มีการแยกธุรกิจที่จัดตั้งในไทยในชื่อ “อะมิตี้ โซลูชั่นส์” (Amity Solutions: ASOL) และมีการตั้ง “AI Labs” ในประเทศไทยด้วย เป็นแล็บที่มุ่งสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชันที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี GenAI  โดยอะมิตี้ โซลูชั่นส์ มีเป้าหมายที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในปี 2025

    ที่มา: Reuters, ข่าวประชาสัมพันธ์ ASOL

    ]]>
    1483081
    เปิดใจ 3 แบรนด์ดังจาก “LEAD โดยเซ็นทรัลพัฒนา” หลักสูตรปั้นแบรนด์ตัวจริงเสียงจริง ใส่เกียร์เร่งให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน https://positioningmag.com/1481419 Fri, 12 Jul 2024 10:00:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481419

    ยุคปัจจุบันเป็นยุคที่มีการเปิดกว้างทางธุรกิจอย่างมาก ไม่ได้มีเพียงแค่ธุรกิจระดับยักษ์ใหญ่อย่างเดียวเท่านั้น แต่มีธุรกิจระดับ SME หรือหลักสูตรปั้นแบรนด์แจ้งเกิดเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่อายุยังน้อย แต่มีแพชชั่นในการทำธุรกิจอย่างเต็มเปี่ยม

    หลายครั้งก็พบว่าธุรกิจในระดับ SME อาจจะเจอข้อจำกัดบางประการ แม้จะมีแพชชั่น แต่อาจจะขาด “คอนเน็คชั่น” ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างการเติบโตได้ ผู้ประกอบการค้าปลีกอย่าง “เซ็นทรัลพัฒนา” จึงเห็นความสำคัญของการของการปั้นธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

    จึงเป็นที่มาของคอร์ส “LEAD โดยเซ็นทรัลพัฒนา” ย่อมาจาก Leading Entrepreneur Advanced Development หลักสูตรรีเทลที่พัฒนาให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ได้เติบโต และประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน พร้อมกับสเกลอัพไปแบบก้าวกระโดด ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เรียนจริง ทำจริง โตจริง” ผ่านการเรียนรู้จากผู้รู้จริงในวงการรีเทล ทดลองตลาดกับพื้นที่ที่มีศักยภาพ และนำสิ่งที่ได้พัฒนามาประยุกต์ใช้กับธุรกิจจริงอย่างเป็นรูปธรรม

    เซ็นทรัลพัฒนาได้เปิดหลักสูตรนี้มาตั้งแต่ปี 2560 ปัจจุบันได้เดินทางมาถึงรุ่น LEAD 5 แล้ว ที่ผ่านมาได้ปั้นผู้ประกอบการในเครือข่ายไปแล้วรวมกว่า 180 ราย ในแต่ละรุ่นจะมีผู้ประกอบการรุ่นใหม่ไฟแรงเข้าร่วมราวๆ 35-40 ราย

    โดยมีเซ็นทรัลพัฒนาเป็น Business Incubator ช่วยให้แบรนด์แข็งแรงขึ้น บน Retail Ecosystem ของ Central Group ซึ่งมีกลุ่มธุรกิจและเครือข่ายพาร์ทเนอร์ที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งในและต่างประเทศ สร้างโอกาสให้เติบโตได้หลายรูปแบบ ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับการอยู่เคียงข้างและช่วยสร้างความสำเร็จให้กับพันธมิตรคู่ค้าของเซ็นทรัลพัฒนาที่มีอยู่กว่า 15,000 รายทั่วประเทศ

    ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา เริ่มเล่าว่า

    “กว่า 40 ปี ที่เซ็นทรัลพัฒนา เติบโตมาพร้อมกับผู้ประกอบการร้านค้า ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ซึ่งมีหลายแบรนด์เริ่มต้นธุรกิจมากับ “ศูนย์การค้าเซ็นทรัล”

    กระทั่งเติบโตจนเป็นแบรนด์ระดับประเทศและระดับโลก และด้วย Strong ecosystem ของเซ็นทรัลพัฒนา และการเป็น Place Maker หรือนักพัฒนาพื้นที่ซี่งมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงต่างประเทศ จึงช่วยสร้างและนำพา Tenant ของเราให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

    หลักสูตร LEAD จึงเป็นหนึ่งใน Business Strategy ที่สำคัญของเซ็นทรัลพัฒนา เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการรุ่นใหม่ๆ ที่มีแพชชั่น และแนวคิดในการปั้นแบรนด์ สร้างธุรกิจของตัวเอง ได้มีโอกาสเข้ามาร่วมอยู่ใน Retail Ecosystem ที่แข็งแกร่งของเซ็นทรัลพัฒนา และเติบโตไปด้วยกัน”

    ตั้งแต่รุ่นที่ 1 มาจนถึงรุ่นที่ 5 สามารถการันตรีความสำเร็จได้จาก ได้สร้างเครือข่ายของแบรนด์กว่า 180 แบรนด์ สร้างมูลค่าการเติบโตธุรกิจมากถึง 2,500 ล้านบาท มีการสร้างแบรนด์ พัฒนา ในการขยายสาขา และหน้าร้านเพิ่มขึ้นคิดเป็น 165% เทียบกับปีแรกที่ดำเนินโครงการ

    เซ็นทรัลพัฒนาเองมีแนวคิดในการสร้างพาร์ทเนอร์ในการเติบโตไปด้วยกัน การที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่สามารถสเกลอัพธุรกิจได้ ก็เป็นผลดีต่อธุรกิจกิจศูนย์การค้าเช่นกัน เพราะเป็นส่วนสำคัญในการดึงทราฟฟิกผู้ใช้บริการเข้าศูนย์

    ดร.ณัฐกิตติ์ กล่าวย้ำอีกว่า “ไม่เฉพาะแบรนด์ใหญ่ๆ ที่สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนใน Retail Ecosystem ของเซ็นทรัลพัฒนา ขอย้ำว่า ทุกคนโตได้” Nobody is too small to grow โดยไม่จำเป็นต้องกระโดดเป็นช้อปใหญ่โต อาจค่อยๆ ทดลองตลาด ขยับไปทีละฟอร์แมท เริ่มจากเปิดป๊อปอัพ สโตร์ แล้วค่อยขยายเป็น Permanent Shop

    ทางด้าน ผศ.ปิติพีร์ รวมเมฆ ที่ปรึกษาโครงการ LEAD และ CEO & Founder บริษัท แอมบิชั่น คอร์ป จำกัด กล่าวเสริมว่า

    “สิ่งที่ผู้ประกอบการได้ประโยชน์จากการที่ผ่านการเข้าร่วมคอร์ส LEAD คือการได้ร่วมกันพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ หรือการทำ Brand Co-creation ที่ได้ทดลองนำแบรนด์ของตนมาร่วมต่อยอดกับแบรนด์อื่นๆ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น

    หรือการทดลองสร้าง New business format เพื่อสร้างช่องทางการขายหรือการขยายรูปแบบธุรกิจ ทั้งหมดนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ต่อยอดจากสิ่งที่มีสู่สิ่งใหม่ที่สามารถนำไปสู่ความสำเร็จ มากกว่านี้ยังมีโอกาสเข้าสู่อีโคซิสเท็มที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ได้ต่อยอดธุรกิจได้อย่างยั่งยืน”

    สำหรับหลักสูตร LEAD รุ่นที่ 5 ที่เพิ่งจะจบไปนั้น มีผู้ประกอบการทั้งสิ้น 35 แบรนด์ มีหลาย
    แบรนด์ที่ตัดสินใจขยายธุรกิจไปกับเซ็นทรัลพัฒนา และมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด จากมีเพียง 3 สาขาก่อนเข้ามาเรียน เมื่อจบหลักสูตร มีขยายไปถึง 17 สาขา หรือจากเดิมทำแต่ออนไลน์ เมื่อได้ทดลองทำตลาดและเห็นโอกาส ก็ตัดสินใจที่จะเข้ามาเปิดเป็นหน้าร้าน

    แบรนด์ที่เข้าร่วมคอร์ส LEAD 5 ในปีที่ผ่านมา มีดังต่อไปนี้ ANOTHER CUP, ANYWEAR STUDIO, BABY GIFT, BANGKOK GOLDS, BARKETEK, BEEF EXPRESS, BILIX, BLUETTI, BOTTOMLESS, CHAGEE, COVE, COZZY SAY I DO, FRENCH KITSCH CAFE, F.Y.I. MARKET, GRUMPY, HAEWON, HASS, HOLEN, KIM&CO. MULTI BRAND, LUHMSEN NOODLE, MEMOCLOTHING, MOLTO PREMIUM GELATO, OPTICSQUARE, PETCHPANTRA, POTATO CORNER, RUBBER IDEA, RYUJIN SUSHI, SELF., SKINLAB, TOOM SUSHI, ZEQUENZ, ข้าวนกกระยางคู่ และห้างทองเยาวราชดีเยี่ยม


    เปิดใจ 3 ธุรกิจตัวท็อป LEAD รุ่น 5

    KIM & CO. ORIGINAL ทำแฟชั่นให้มาเจอกับฟังก์ชั่น

    KIM & CO. Multi-brand store คือ Unisex Multi-brand store สไตล์เกาหลี รวบรวมเเบรนด์ Local Fashion & Lifestyle มากกว่า 200 เเบรนด์ และมี House brand คือ KIM & CO. ORIGINAL ภายใต้คอนเซ็ปต์เดียวกัน คือ Affordable yet function เช่น รองเท้าผ้าใบใส่นวัตกรรม Water-proof ทำให้รองเท้าเลอะยาก ง่ายต่อการทำความสะอาด และมี Technology Vulcanization ที่สามารถบิดงอได้ ทำให้ ยืดหยุ่น ใส่สบาย

    ต้องตา อาชาเทวัญ เจ้าของแบรนด์ เล่าว่า หลังจากที่เข้าร่วมหลักสูตร LEAD ได้เน้นการสร้าง Product Development โดยการพัฒนา KIM & CO. Original โดยการใช้ Fashion Meet Innovation ให้สินค้ามีความน่าสนใจ พัฒนาให้แฟชั่นกับฟังก์ชั่นไปด้วยกันได้

    สามารถอุดจุดอ่อนของตัวเอง จากเดิมที่เน้นทำแค่ KIM&Co. Multi Brand Store แต่การมาโฟกัสที่ KIM & CO. ORIGINAL ช่วยให้เกิดการเติบโตได้เร็วขึ้น ทั้งเรื่องการขยายสาขา หรือการสร้างยอดขาย

    รวมถึงมีการต่อยอดธุรกิจได้โดยการสร้างสินค้าใหม่ และขยายแบรนด์ใหม่ เพื่อเติมพอร์ตโฟลิโอของแบรนด์ และขยายฐานลูกค้าให้หลากหลาย ได้แตกไลน์แบรนด์ TIA แบรนด์กระเป๋าระดับพรีเมี่ยม ช่วยสร้างยอดขายให้มากขึ้น

    จุดเริ่มต้นของแบรนด์ TIA คือต้องการทำสินค้าที่ไม่มีไซส์ จากเดิมที่ขายรองเท้าที่มีไซส์ ตั้งเเต่ 35-45 ทำให้ต้องมีการจัดการสต็อกมหาศาล จึงอยากลองทำอะไรที่ไม่มีไซส์บ้าง ซึ่งกระเป๋าเป็นสินค้าที่ไม่มีไซส์ทำให้การจัดการสต๊อกง่ายขึ้น

    ต้องตา บอกว่า “Vision ของเราคือ ต้องการ Revolutionize life wear with accessible price
    โดยการที่เรามองเห็น Pain point เเละสิ่งที่ลูกค้าชอบจากดาต้าที่เรามี เอามาพัฒนา เเละปรับปรุง ผสมผสานทุกอย่างจนออกมาเป็น KIM&CO. ORIGINAL เป็นแนวคิด “Where innovation meets style” ซึ่งจริงๆ แล้วนวัตกรรม เเละแฟชั่นเป็นสิ่งที่ขัดเเย้งกัน แต่เป้าหมายของเราคือ ผสมผสานให้เข้ากัน เพราะเราต้องการที่จะแตกต่าง และเราต้องการให้ลูกค้าได้มากกว่าสิ่งที่เค้าคาดหวังและทำให้เรากล้าที่จะลงทุน กล้าที่จะเติบโตอย่างมั่นคงและมีกลยุทธ์ ทำให้เรากล้าและมั่นใจ จากการมี 3 สาขาเป็น 17 สาขาภายในระยะเวลา 6 เดือน มียอดขาย YTD โตขึ้น 300% ”


    SELF. SMOOTHIE น้ำผลไม้ปั่นที่มีสตอรี่

    ณภัสสร ฉลาดมานะกุล เจ้าของแบรนด์ เล่าว่า Self. เริ่มต้นจากการทำสมูทตี้ที่ไม่ใช่แค่น้ำผลไม้ปั่นทั่วไป ชื่อเมนูจะไม่ได้ลิงค์กับผลไม้โดยตรง แต่เน้นที่สรรพคุณ และคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับและยังสอดคล้องกับลายหน้าแก้วที่เป็นเอกลักษณ์เรื่องราวเฉพาะแต่ละสูตร

    คำว่า Self. ไม่ได้หมายถึงแค่ “mySELF” แต่ยังรวมถึง “Otherself” “Themself” หรือ “Customer Self” ทุกเมนู และสูตรได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการ ตั้งต้นจาก Pain-point ของลูกค้าที่มีไลฟ์สไตล์ที่ต่างกัน แต่ยังคงรสชาติดี ได้สารอาหารครบถ้วน

    “Self สร้างนิสัยการรักสุขภาพที่ไม่ต้องแลกด้วยความพยายามโดยการที่ Self. จะเป็น 1 ใน Journey เป็นไลฟ์สไตล์ของลูกค้าแบบง่ายๆ ทำให้ลูกค้ารักตัวเองและ ใส่ใจตัวเองได้แบบง่ายๆ โดยให้ลูกค้าเริ่มคุ้นชินกับการมีนิสัยการดื่มสมูทตี้ของ Self. ได้กินผักผลไม้ทั้งชิ้นพร้อมกากใย แต่เปลี่ยนรูปแบบเป็นการดื่ม โดยไม่เติมแต่งใดๆ ซึ่งลูกค้าของ Self. จะซื้อกลับไปปั่นเอง เห็นความแท้และธรรมชาติเอง ซึ่งภายใน 6 เดือนนี้มียอดของลูกค้าที่ซื้อ Ready to blend  แบบ Make yourSELF at home เพิ่มขึ้นถึง 150%”

    Self. ได้สร้างแบรนด์ด้วยความใส่ใจในคุณภาพ และจุดยืนที่ชัดเจน ผ่านทั้งตัวสินค้า แพคเกจจิ้ง ลายหน้าแก้วที่ตั้งใจถ่ายทอดเรื่องราวเฉพาะแต่ละแก้ว สีแบรนด์ที่ใช้ หน้าตาของร้าน การบริการต่างๆ รวมถึงการมอบประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริงให้กับลูกค้าและสังคม ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

    แบรนด์ไม่ได้เป็นแค่น้ำผลไม้ปั่นธรรมดา แต่มีนักโภชนาการคอยดูแลสัดส่วนของสารอาหารโดยเฉพาะแต่ละสูตร เพื่อให้ไม่เกิด Over Consume Sugar หรือได้รับน้ำตาลมากเกินไป

    ปัจจุบันแบรนด์ไม่ได้มีแค่สมูทตี้ แต่ยังพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เช่น Self Snack และ สินค้า Self Merchadises สำหรับแฟนๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าเพิ่มเติมที่อยากหาขนมที่มีโปรตีนสูง ไฟเบอร์สูง

    ไม่มีแป้ง ไม่มีน้ำตาล ไม่มีเนยนมไข่ ยังคงคอนเซ็ปต์ของความธรรมชาติ รวมถึงมีแผนการขยายไลน์สินค้าเพิ่มเติมภายใต้ Self Basic Drink ที่จะมอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้ามากขึ้นโดยการ Grab & Go จากปกติที่สามารถซื้อถือกินเลยได้แค่คนละแก้ว แต่จะสามารถซื้อกลับบ้านได้หลายขวด โดยยังคงคอนเซป Pure & Natural เน้นผลไม้เบสิคไม่ผสม เพื่อเพิ่มตัวเลือกให้กับลูกค้า


    BOTTOMLESS COFFEE ROASTER โรงคั่วกาแฟครบวงจร

    นพพล อมรพิชญ์ปรัชญา เจ้าของแบรนด์ ได้เริ่มเล่าว่า “Bottomless เริ่มต้นจาก Home Coffee lover วางจุดยืนเป็น Specialty coffee สำหรับคอกาแฟ ผ่านมา 10 กว่าปี ในการเอาชนะความความท้าทายในการเติบโต ของ Specialty Coffee คือการที่จะต้องควบคุมคุณภาพของเมล็ดกาแฟ ต้องทำกาแฟคุณภาพอร่อย เข้าถึงง่าย และมีความพิเศษหลากหลาย”

    จุดเด่นของ Bottomless ที่แตกต่างจากร้านกาแฟอื่นๆ ทั่วไปคือ การสร้าง Coffee Ecosystem ทั้งระบบ ตั้งแต่การเป็นโรงคั่วกาแฟ ขยายสู่ตลาด B2B OEM และ HORECA, Consultant & Training และการเพิ่มไลน์สินค้าสู่ตลาด B2C เช่น Coffee Capsule, Drip Bag, Coffee Specialty และ Non-Coffee

    Bottomless ได้มีการนำเข้าและผลิต วัตถุดิบที่ใช้ในร้านกาแฟเองมาตั้งแต่ต้น เช่น ผงช็อคโกแลต ผงชาไทย มัจฉะ มีครัวกลางผลิตขนม และอาหารที่ใช้ขายในร้านกาแฟ รวมถึงเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของแบรนด์ Keesvanderwesten แบรนด์เครื่องชงกาแฟ ไฮเอนด์จากเนเธอร์แลนด์ และอุปกรณ์กาแฟชั้นนำ ซึ่งทำให้สามารถ Supply เครื่องเข้าร้านได้โดยไม่ขาดตอน

    นพพลเสริมอีกว่า สิ่งที่ได้จากหลักสูตร LEAD คือ การรู้สึกว่าเราตัวเล็กลง เพราะเราเข้าใจในเรื่องต่างๆ ลึกขึ้น ทำให้ยังรู้สึกอยากพัฒนาตัวเองเพิ่มขึ้นอีก เพราะการทำธุรกิจเก่งแค่กาแฟคงยังไม่พอ เรื่องการเงินก็สำคัญ รวมถึงได้เน็ตเวิร์กจากเพื่อนๆ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน

    นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำหลักสูตร LEAD รุ่นที่ 5 ได้แก่ HOLEN และ COVE

    HOLEN
    เป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ระดับพรีเมี่ยม ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมซื้อเป็นของฝาก ด้วยคาแรคเตอร์ลิงยักษ์จากวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ ที่ออกแบบโดยวิพาสน์พร ศรีพุ่ม และกลุ่มเพื่อน สินค้าขายดีคือยาดมโฮเล่น หอมละมุนจากสมุนไพรไทย เมื่อได้ทดลองตลาดในศูนย์การค้าเซ็นทรัล ภายใต้หลักสูตร LEAD ทำให้มีการปรับเปลี่ยนสินค้าในรูปแบบ customize และ collaboration กับแบรนด์อื่น สินค้าถูกใจทั้งลูกค้าคนไทยและต่างชาติ มียอดขายเติบโตขึ้นมากกว่าสามเท่า และมีช่องทางจัดจำหน่ายทั่วประเทศ ทั้งออนไลน์และออนไซต์

    COVE
    เกิดจากความมุ่งมั่นของเอกพล วงศ์ภัทรกุล ในการพัฒนากระเป๋าและกระเป๋าเดินทางที่ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายของลูกค้า ทันสมัย ในราคาที่คุ้มค่าจับต้องได้ หลังเข้าหลักสูตร LEAD ทำให้มีการวางแผนในการออกสินค้าใหม่อย่างเป็นระบบ มีความแม่นยำในการเลือกสินค้าใหม่มากขึ้น ทำให้สามารถเติบโตได้เกือบ 100% ภายใน 1 ปี

    สำหรับหลักสูตร LEAD รุ่นที่ 6 ที่เริ่มเรียนในเดือนมิถุนายนนี้ มาในธีม Growth & Sustainability ยังคง Concept เดิม คือเรื่องของการ “เรียนจริง ทำจริง โตจริง” โดยเน้นเรื่อง Growth & Sustainability เพราะเราเชื่อว่าความยั่งยืนของธุรกิจ ส่วนหนึ่งเกิดจากความสำเร็จของแบรนด์ ที่ได้เติบโตไปพร้อมกับเซ็นทรัลพัฒนา

    ]]>
    1481419
    สตาร์ทอัพสายโรงแรม “OYO” ยกเลิกเปิด IPO หันพึ่งนักลงทุนแม้จะถูกลดมูลค่าบริษัทฮวบ 70% https://positioningmag.com/1474914 Thu, 23 May 2024 13:50:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1474914 สตาร์ทอัพสายโรงแรมจากอินเดีย “OYO” ถอนตัวจากการเปิด IPO ในตลาดหุ้นอินเดียเป็นครั้งที่สอง และหันไปพึ่งพิงนักลงทุนอย่างที่เคย แม้จะถูกลดมูลค่าบริษัทลงมากกว่า 70% เทียบกับจุดพีคที่เคยไปถึงเมื่อปี 2021

    OYO Hotels and Homes เป็นบริษัทในเครือ Oravel Stays จากอินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่มีแบ็กอัพรายใหญ่คือ SoftBank จากญี่ปุ่น ที่ผ่านมาบริษัท OYO พยายามจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินเดียมาแล้ว 2 ครั้ง แต่กลับถอนตัวและยกเลิกไปทั้งหมด

    ล่าสุดมีรายงานว่า OYO กำลังเข้าสู่การระดมทุนรอบใหม่ แต่ถูกตีมูลค่าบริษัทลดลงเหลือเพียง 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงถึง 74% จากเมื่อปี 2021 ซึ่งบริษัทเคยมีมูลค่าสูงถึง 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นรอบที่มี Microsoft มาร่วมลงทุนด้วย

    The Economics Times รายงานว่า Ritesh Agarwal ผู้ก่อตั้ง OYO กำลังพูดคุยกับนักระดมทุนที่เป็นผู้มีความมั่งคั่งสูงอยู่หลายราย โดยสำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า หนึ่งในนั้นที่แสดงความสนใจคือ กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติมาเลเซีย

    รายละเอียดการลงทุนยังพูดคุยกันอยู่ แต่ทาง OYO คาดการณ์ว่าการระดมทุนรอบนี้จะได้เงินลงทุนรวม 70-80 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการระดมทุนรอบนี้จะเป็นการ ‘รีไฟแนนซ์’ หนี้สินของบริษัท

    ย้อนกลับไปในเส้นทาง IPO ของบริษัท OYO บริษัทเคยยื่นไฟลิ่งขอจดทะเบียนในตลาดหุ้นครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2021 ก่อนที่ SoftBank ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จะตัดสินใจลดการตีมูลค่าบริษัทนี้ลงจากเดิม 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐ เหลือเพียง 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ต่อมา OYO ต้องทำเอกสาร IPO ใหม่ ลดขนาดบริษัทลงประมาณ 40-60% และยื่นไฟลิ่งใหม่อีกครั้งเมื่อเดือนเมษายน 2023

    หลังจากนั้นกลับมีข่าวออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 ว่าบริษัทได้ถอนตัวจากการเปิด IPO เป็นครั้งที่สอง ก่อนที่ทางตลาดหุ้นอินเดียจะยืนยันเองในเดือนนี้ว่า OYO ได้ถอนตัวไปแล้วจริงๆ

    ปัจจุบัน SoftBank มีหุ้นอยู่ใน OYO เป็นสัดส่วน 46% ตามด้วยผู้ก่อตั้งและซีอีโอ Ritesh Agarwal ถือหุ้น 33% ส่วนที่เหลือเป็นนักลงทุนรายอื่นๆ เช่น Lightspeed, Peak XV Partners

    OYO มีการดำเนินธุรกิจในไทยด้วยเช่นกัน โดยเข้ามาเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 ใช้โมเดลธุรกิจแบบแฟรนไชส์ คือให้ใช้แบรนด์สวมในโรงแรมเดิม รวมถึงใช้ระบบบริหารและจองห้องพักของ OYO เป้าหมายของบริษัทคือบรรดาโรงแรมบัดเจ็ทขนาดเล็กที่เข้าถึงลูกค้ายากเมื่อไม่มีแบรนด์ นอกจากนี้ ปีนี้บริษัทยังแตกแบรนด์ใหม่ชื่อ ‘Palette’ มาเจาะตลาดโรงแรมระดับกลางในไทยด้วย

    Source

    ]]>
    1474914
    นักลงทุนสหรัฐฯ อัดฉีดเงินเข้าสตาร์ทอัพลดลงเกือบ 30% ในปี 2023 แม้ AI จะเป็นกลุ่มดึงดูดเม็ดเงินก็ตาม https://positioningmag.com/1458718 Sun, 14 Jan 2024 16:47:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458718 ปี 2023 นั้นอาจเป็นปีที่ไม่ค่อยดีมากนักสำหรับสตาร์ทอัพ เนื่องจากนักลงทุนสหรัฐฯ อัดฉีดเงินเข้าสตาร์ทอัพลดลงเกือบ 30% สาเหตุสำคัญคือต้นทุนทางการเงินจากการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา แม้ว่าในปีที่ผ่านมาเทคโนโลยี AI จะเป็นกลุ่มที่ดึงดูดเม็ดเงินก็ตาม

    สำนักข่าว Reuters ได้รายงานข่าว โดยอ้างอิงรายงานข้อมูลจาก PitchBook ว่า เม็ดเงินของนักลงทุนในสหรัฐอเมริกาที่อัดฉีดเข้าไปยังสตาร์ทอัพในปี 2023 นั้นลดลงมากถึงเกือบ 30% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่น่าสนใจอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กำลังได้รับความสนใจก็ตาม

    เม็ดเงินลงทุนในสตาร์ทอัพที่นักลงทุนสหรัฐฯ ได้ใส่เงินลงไปในปี 2023 อยู่ที่ 170,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 242,00 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ในปี 2021 นั้นอยู่ที่ 348,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

    ข้อมูลจาก PitchBook ยังชี้ว่าในปี 2023 นั้นบริษัทร่วมลงทุน (VC) ได้มีการระดมทุนมากถึง 67,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งลดลงจากปี 2022 ถึง 60% ซึ่งเม็ดเงินระดมทุนดังกล่าวถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี

    สาเหตุสำคัญที่ทำให้เม็ดเงินลงทุนนั้นลดลงอย่างรวดเร็วคือต้นทุนการเงินของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่มสูงขึ้นจากการประกาศขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้อัตราดอกเบี้ยนั้นสูงเกิน 5%

    ผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่สูงในสหรัฐอเมริกาไม่ใช่แค่ทำให้เม็ดเงินไหลเข้าสตาร์ทอัพลดลงเท่านั้น แต่ยังทำให้หลายสตาร์ทอัพต้องปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ธุรกิจสามารถเลี้ยงตัวเองได้ หรือแม้แต่มาตรการอย่างการปลดพนักงาน

    อย่างไรก็ดีในปี 2023 นั้นเทคโนโลยีที่น่าสนใจมากที่สุดก็คือ AI ซึ่งเป็นผลจากความโด่งดังของเจ้าของ ChatGPT อย่าง OpenAI เป็นผลทำให้เม็ดเงินนั้นยังเข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดังกล่าว โดยรายงานของ PitchBook ชี้ว่า 1 ใน 3 ของสตาร์ทอัพเหล่านี้นักลงทุนในสหรัฐอเมริกาได้หว่านเม็ดเงินลงทุนลงไปด้วย

    โดยดีลที่ใหญ่ที่สุดในปี 2023 ของสตาร์ทอัพเกิดขึ้นกับบริษัทด้าน AI อย่าง OpenAI และ Anthropic ซึ่งเม็ดเงินที่ลงทุนใน 2 บริษัทดังกล่าวนี้คิดเป็น 10% ของการลงทุนรวมในสตาร์ทอัพของนักลงทุน

    ]]>
    1458718
    รู้จัก Glassiq สตาร์ทอัพร้านแว่นตาไลฟ์สไตล์ ปักหมุดสาขาแรกที่ Emsphere https://positioningmag.com/1457550 Tue, 02 Jan 2024 08:37:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457550 ทำความรู้จัก Glassiq (กลาสสิค) ร้านแว่นตาไลฟ์สไตล์น้องใหม่ในเครือวิชั่นเวนเจอร์ จุดเริ่มต้นจากการเป็นสตาร์ทอัพ เริ่มจากขายออนไลน์ จนล่าสุดได้เปิดแฟลกชิปสโตร์สาขาแรกที่ศูนย์การค้า Emsphere

    เริ่มจากสตาร์ทอัพ ขายแว่นออนไลน์

    ต้องบอกว่าแว่นตาในยุคนี้ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งไอเทมแฟชั่นอย่างหนึ่ง ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือช่วยเรื่องปัญหาด้านสายตาเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ทำให้ตลาดร้านแว่นตาไลฟ์สไตล์ได้รับความนิยมมากขึ้น หรือจะเรียกกันว่าร้านแว่นตามินิมัลก็ไม่ผิดนัก หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับ 2 แบรนด์ใหญ่ Owndays และ Seven days เพราะมีหลายสาขาในประเทศไทย

    ตอนนี้มีอีกหนึ่งแบรนด์น้องใหม่ที่เข้ามาท้าชิงในตลาด ก็คือ Glassiq แต่จะบอกว่าเป็นน้องใหม่ก็ไม่เชิง เพราะแบรนด์นี้ได้ก่อตั้งมา 7 แล้ว แต่เพิ่งทำการรีแบรนด์ และเปิดร้านสาขาแรกที่ศูนย์การค้า Emsphere

    Glassiq

    Glassiq ได้ก่อตั้งเมื่อปี 2559 เริ่มจากกลุ่มเพื่อน 4 คนที่มีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยี และสตาร์ทอัพเหมือนกัน ใช้งบลงทุนก้อนแรก 200,000 บาท/เดือน แรกเริ่มได้วางจุดยืนเป็นสตาร์ทอัพร้านแว่นตา เริ่มจากการขายบนช่องทางออนไลน์ ใช้จุดแข็งโดยการหาซื้อแว่นโดยตรงจากโรงงาน ทำให้ได้ราคาถูก

    พิริยะ ตันตราธิวุฒิ ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์แว่นตา Glassiq และ CMO บริษัท วิชั่น เวนเจอร์ส จำกัด เริ่มเล่าว่า

    “ส่วนตัวเป็นคนที่ใส่แว่นตั้งแต่เด็กๆ แล้วจะมีปัญหาเวลาเลือกซื้อแว่นที่หน้าร้าน จะเจอประสบการณ์ไม่ค่อยดี เช่น พนักงานจะเลือกกรอบมาให้ดู 4 แบบ โดยที่ไม่ได้มีการประเมินใบหน้าของลูกค้าแบบชัดเจน แต่ก่อนเราก็จะเกรงใจพนักงานก็เลือกๆ ไปก่อน สรุปว่าก็ไม่ได้แว่นที่ถูกใจ 100% แถมราคาแพงอีกด้วย ซึ่งร้านแว่นในสมัยก่อนจะไม่มีแบบให้เลือกมากนัก จะเป็นสไตล์ยุโรป ที่ไม่เข้ากับรูปหน้าคนไทยด้วย”

    Glassiq

    พิริยะ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จากนั้นมาทำงานด้านที่ปรึกษา และการตลาดที่ True ในยุคหลายปีก่อนที่เทรนด์ของสตาร์ทอัพกำลังมาแรง จึงได้เข้าร่วมโครงการ True Incube พิริยะได้จบทางด้านเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นคนชอบวาดรูป จึงทำแอปฯ สติ๊กเกอร์ วาดสติ๊กเกอร์แต่งรูป โลเคชั่นเบสสติ๊กเกอร์ ในตอนเข้าร่วมโครงการก็ได้เจอกลุ่มคนที่ทำสตาร์ทอัพคล้ายๆ กัน เลยมารวมตัวกันทำ Glassiq

    ในช่วงแรกมีการขายในช่องทางออนไลน์อย่างเดียว แต่ก็มี Pain Point ที่ต้องลองแว่นกันหน้า เลยมีแคมเปญส่งแว่นให้คนไปลองที่บ้าน 3 แบบ แล้วส่งคืนที่เซเว่นฯ จากนั้นค่อยสั่งซื้อ หลังจากนั้นก็ได้พาร์ตเนอร์กับร้านหอแว่น มีวางจำหน่ายในหอแว่น

    รีแบรนด์สู่ Glassiq เพื่อเข้าถึงง่าย

    ปัจจุบัน Glassiq ได้วางจุดยืนเป็นร้านแว่นตาไลฟ์สไตล์ที่มีความแฟชั่น มีทั้งเลนส์สายตา และเลนส์สี เลนส์กันแดด ใช้จุดเด่นในการเป็นแบรนด์ไทย เข้าใจพฤติกรรมคนไทย และคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ เนื่องจากพบว่าเซ็กเมนต์นี้มีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

    Glassiq

    โดยเมื่อปี 2565 Glassiq ได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท วิชั่นเวนเจอร์ส จำกัด เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสายตา หอแว่นกรุ๊ปก็อยู่ในเครือเดียวกัน ปัจจุบันมีร้านแว่นตาขายปลีก และบริการวัดสายตาในเครือคือ หอแว่น, หอแว่น Prestige, Monde Eyewear และ Glassiq เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายและมีความต้องการที่แตกต่างกัน

    วิชั่นเวนเจอร์สเองก็ต้องการร้านแว่นตาในกลุ่มไลฟ์สไตล์ เพื่อเติมเต็มพอร์ตให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ Glassiq เองก็มีเงินทุนในการขยับขยายแบรนด์ให้เติบโตยิ่งขึ้น

    Glassiq

    ทำให้ Glassiq ถือโอกาสในการรีแบรนด์ใหม่ ทั้งชื่อแบรนด์ที่แต่เดิมใช้ชื่อว่า Glazziq เปลี่ยนชื่อเป็น Glassiq ให้อ่านง่าย จดจำง่ายขึ้น พิริยะบอกว่า ในสมัยสตาร์ทอัพยุคนั้นจะนิยมตั้งชื่อสะกดแปลกๆ กัน แต่ลูกค้าจะมีความรู้สึกว่าเข้าถึงยาก จำยาก จึงตัดสินใจรีแบรนด์ใหม่เลย พร้อมกับเปิดแฟลกชิปสโตร์สาขาแรกที่ศูนย์การค้าเอ็มสเฟียร์เมื่อเดือนธันวาคม 2566 มีโอกาสได้คุยกับทางศูนย์ แล้วอยากได้ร้านคอนเซ็ปต์ใหม่พอดี เลยได้เปิดที่นี่

    ขอเป็นร้านแว่นไลฟ์สไตล์มัดใจวัยรุ่น

    ปี 2566 ตลาดแว่นตามีมูลค่าราวๆ 6,000-7,000 ล้านบาท รวมทั้งกรอบ และเลนส์ หรือคิดเป็นปริมาณ 8-9 ล้านตัว ปัจจุบันตลาดแว่นตามีการเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแว่นบ่อยมากขึ้น โดยจะมีกลุ่มทั่วไปที่อาจจะเปลี่ยนแว่นทุกๆ 3-5 ปี มองว่าแว่นยังใช้งานได้อยู่ แต่จะมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มองแว่นตาเป็นไอเทมแฟชั่น จะเปลี่ยนแว่นทุกๆ 6 เดือน – 1 ปี ประกอบกับค่าสายตามีการเปลี่ยนขึ้นทุกปี จึงมีการเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับค่าสายตาด้วย

    Glassiq ต้องการจับกลุ่มคนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ ตั้งแต่นักศึกษา ไปจนถึงกลุ่มคนที่เริ่มทำงาน กรอบแว่นตาจะมีราคาเริ่มต้นที่ 1,990 – 2,990 – 3,990 บาท เป็นราคากรอบแว่น + เลนส์แล้ว ใช้เวลาในการประกอบ 20 นาที ก็รับแว่นกลับบ้านได้เลย

    Glassiq

    พิริยะ เสริมว่า ช่วงปีที่ผ่านมาเหมือนเป็นการรื้อระบบใหม่ทั้งหมด หลังจากที่เปิดสาขาแรกในช่วงแรกตั้งเป้ายอดขายวันละ 5-6 ตัว หลังจากนั้นจะตั้งเป้ายอดขายวันละ 15-20 ตัว แว่นตาแต่ละชิ้นราคาเฉลี่ย 4,000 บาท ถ้าได้ตามเป้าทั้งปีก็จะมีรายได้ราวๆ 22-30 ล้านบาท

    สำหรับแผนในการขยายสาขาต่อไปในอนาคตนั้น พิริยะมองว่าต้องดูผลตอบรับจากสาขาแรกก่อน ว่าต้องปรับอะไรบ้าง โลเคชั่นตรงไหนถึงเหมาะสม แต่ตอนนี้มีแผนเปิดใหม่ 2 สาขา ได้แก่ เซ็นทรัลนครสวรรค์ และอาคารซิลลิค เฮ้าส์ (Zuellig House Building) ถนนสีลม ซึ่งเราอาจจะได้เห็นการขยายสาขา 6-7 แห่งในปีหน้าเลยก็ได้

    ถ้าถามถึงเป้าหมายในอนาคตของ Glassiq พิริยะบอกว่า ในระยะสั้น ขอเป็นแบรนด์ไทยที่เจาะกลุ่มวัยรุ่นให้ได้ก่อน หลังจากนั้นจะเริ่มขยายตลาดสู่ต่างประเทศ มองกลุ่มประเทศในเอเชียก่อน เช่น สิงคโปร์ เวียดนาม แต่ต้องพัฒนาระบบให้พร้อม และประสบการณ์ของร้านได้ให้ก่อน จึงจะทำการขยายอย่างเต็มที่

    ]]>
    1457550
    มองปีหน้า ‘เทคคอมปานี’ อาเซียนมีโอกาส ‘ระดมทุน’ ได้มากขึ้น ภายใต้เงื่อนไขต้องเห็นหรือมีแผนทำ ‘กำไร’ ชัดเจน https://positioningmag.com/1456527 Wed, 20 Dec 2023 10:37:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1456527 นับตั้งแต่ปี 2560 การลงทุนของเหล่า Venture Capital หรือ VC ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม มีการประเมินว่าในปีหน้า เหล่า VC จะมีการลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    ตามรายงานของ Google, Temasek และ Bain & Company พบว่า เนื่องจากกระแสระดับโลก เช่น อัตราเงินเฟ้อและต้นทุนเงินทุนที่สูง ได้ส่งผลให้การใช้เงินทุนภาคเอกชนลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี และจากข้อมูลของ KPMG ระบุว่า การร่วมทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกลดลงเหลือ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่สามของปี 2566 ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2560 ขณะที่ในไตรมาสสองของปี 2566 การลงทุนของกลุ่ม VC ในภูมิภาคอยู่ที่ 2.42 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ขณะที่ปริมาณการลงทุนและข้อตกลงทั่วโลกก็แตะระดับต่ำสุดในรอบหลายปีเช่นกัน โดยการลงทุนของ VC ทั่วโลกในไตรมาสที่สามอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่สามของปี 2559 ในขณะที่ปริมาณข้อตกลงอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2562

    อย่างไรก็ตาม Jussi Salovaara ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการของ Antler มองว่า การระดมทุนของ VC จะดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ขณะที่ Peng T. Ong ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการของ Monk’s Hill Ventures มองไปในทิศทางเดียวกันว่า ปีหน้าจะได้เห็นการลงทุนมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    “เราเชื่อว่าการลงทุนกำลังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี เนื่องจากปัญหาอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ดังนั้น จึงต้องใช้เวลาสักหน่อยในการฟื้นตัว” Jussi Salovaara กล่าว

    ดังนั้น หากปีหน้ามีการลงทุนจาก VC เพิ่มขึ้น แสดงว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีโอกาสเติบโตขั้นต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อดึงดูดเงินทุนในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน บริษัทเทคโนโลยีจำเป็นต้องแสดงให้นักลงทุนเห็นว่าพวกเขามีเส้นทางสู่การทำกำไรที่ชัดเจนและเป็นไปได้ เพราะที่ผ่านมานักลงทุนมีความรอบคอบมากขึ้นเกี่ยวกับตัวเลือกการลงทุน

    สำหรับเงินทุนพร้อมใช้ของกลุ่ม VC เพิ่มขึ้นจาก 1.24 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 เป็น 1.57 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสิ้นปี 2565

    Source

    ]]>
    1456527
    บริษัทสตาร์ทอัพ: การบริหารแบบยั่งยืน สู่ภาพลักษณ์ ‘ธุรกิจที่มีความยั่งยืน’ https://positioningmag.com/1453481 Tue, 28 Nov 2023 03:49:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453481

    บทความโดยณัฐธิดา สงวนสิน กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด (BUZZEBEES)

    ในฐานะของคนที่ทำบริษัทสตาร์ทอัพแล้ว การที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนรุ่นใหม่จำนวนมาก ไม่ว่าในแง่ของการเป็นลูกค้า หรือในแง่ของพนักงานบริษัท ตอนนี้คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ Gen Z ลงไป มีการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง ทำให้บริษัทสตาร์ทอัพที่ต้องการให้คนรุ่นใหม่ทำงานด้วย หรือให้ผู้บริโภคที่จะเป็นกำลังซื้อสำคัญในรุ่นต่อไป จำเป็นต้องปรับตัวและสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ในการเป็นบริษัทที่มี Sustainability goal หรือภาษาไทยเรียกว่า ‘ธุรกิจที่มีความยั่งยืน’

    ‘ธุรกิจที่มีความยั่งยืน’ แบ่งออกเป็น 3 แกนหลัก ได้แก่

    1. การดำเนินงานที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม (Environment) เป็นการให้ความสำคัญด้านผลกระทบจากกิจกรรมบริษัทที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากร การใช้พลังงาน และการบริหารจัดการของเสีย ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Carbon Footprint ว่าบริษัทมีการบริหารจัดการอย่างไร
    2. การจัดการด้านสังคม (Social) ผลกระทบด้านสังคมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท อาทิ พนักงาน ลูกค้า ชุมชน ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ทั้งนี้จะต้องพิจารณาถึงกฎหมายแรงงานให้มีความเป็นธรรมในการจ้างงาน การจ้างงานที่มีความหลากหลาย และไม่เลือกปฏิบัติ การให้ความสำคัญต่อหลักการมนุษยชน และการทำประโยชน์เพื่อชุมชน
    3. การจัดการด้านธรรมาภิบาล (Governance) รวมถึงความโปร่งใสในการบริหารจัดการบริษัท การจัดการโครงสร้างบริษัทที่เอื้ออำนวยต่อการตรวจสอบ และความโปร่งใสของผู้นำบริษัท โครงสร้างของคณะกรรมการบริษัท การให้ผลตอบแทนกับผู้บริหาร และการปฏิบัติตามศีลธรรม และจรรยาบรรณที่ดีของบริษัท

    การเพิ่มขึ้นของความสำคัญด้านการบริหารบริษัทแบบยั่งยืน

    ถ้าลองมาดูถึงสถิติเกี่ยวกับการบริหารบริษัทแบบยั่งยืน ในช่วงปีที่ผ่านมาจากการที่เจ้าของสตาร์ทอัพ หรือผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ ในสมัยก่อนให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับผลประกอบการในระยะสั้น ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางธุรกิจแบบก้าวกระโดด ช่วงนี้ก็ได้หันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการบริหารบริษัทอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นความคาดหวังในระยะยาว กลุ่มสตาร์ทอัพออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยที่กลุ่มผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ กล่าวว่า เขาจะต้องทำการบริหารความคาดหวังระยะสั้น และระยะยาวนี้ไปด้วยกันแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ (PWC Leading in the new reality26th Annual Global CEO Survey – Asia Pacific January 2023: https://www.pwc.com/gx/en/about/pwc-asia-pacific/ceo-survey.html?icid=26th-ceo-survey-web-adwords-paid-ceosurvey&gclid=Cj0KCQiAr8eqBhD3ARIsAIe-buMsdBTrUxN6IVP7Gq-4_BPr5ebnE2rVczdDIxqD3jtrIbqaboweLGkaAuicEALw_wcB)

    ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม และประเด็นด้านความยั่งยืน ไม่ใช่เป็นเทรนด์เท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่โลกกำลังต้องการอย่างปฏิเสธไม่ได้ โดยเฉพาะสิ่งที่เผชิญอยู่ไม่ว่าการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก การเพิ่มขึ้นของภาวะมลภาวะ และการเพิ่มระยะห่างของการกระจายรายได้ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ เรื่องจะสร้างความยั่งยืนในโลก

    กรณีศึกษา

    บริษัทเทสลาเป็นตัวอย่างของเทคสตาร์ทอัพ ที่มีจุดมุ่งหมายในการสร้างความยั่งยืนให้กับโลกนี้ที่ชัดเจนที่สุดบริษัทหนึ่งในโลก โดยที่ อีลอน มัสก์ มีความคิดว่าเขาจะเปลี่ยนโลกด้วยการกระตุ้นให้คนหันมาใช้รถยนต์ที่ไม่ใช้น้ำมัน แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าแทน ซึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาไม่เคยคิดเลยว่า เขาจะทำได้สำเร็จ เขาแค่คิดว่าสิ่งที่เขาทำในเทสลา จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้บริษัทผลิตรถยนต์ต่างๆ ในโลกตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และหันมาผลิตรถยนต์ EV ได้มากยิ่งขึ้น แต่ก็อย่างที่ทุกคนทราบ

    ทุกวันนี้เทสลา เป็นผู้นำในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของโลก และทำให้ทุกคนตระหนักรู้ และเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้บริษัทผลิตรถยนต์ต่างๆ ทั่วโลก หันมาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเร็วขึ้น มากกว่าที่จะนั่งอยู่บนกองเงินกองทองของการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ซึ่งทำลายโลกต่อไป สิ่งเหล่านี้เป็นตัวที่ทำให้ Carbon Emission หรือการปล่อยคาร์บอน ลดลงโดยองค์รวมอย่างมีนัยสำคัญ

    นอกเหนือไปจากนั้น บริษัทเทสลา ก็ยังได้เงินจากการขายคาร์บอนเครดิตเป็นจำนวนที่สูงมาก ซึ่งไม่ใช่แค่เขาสร้างรายได้จากโมเดลธุรกิจการผลิตรถยนต์เท่านั้น ในปัจจุบันรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต ก็เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เทสลาไม่ได้หยุดเฉพาะการผลิตรถยนต์ เทสลาได้มีความพยายามที่จะผลิตแบตเตอรี่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ได้นาน โดยไม่ต้องมีการชาร์จที่ยาวนาน ทำให้แบตเตอรี่มีความสามารถนำไปจ่ายไฟกลับจากรถยนต์ให้กับครัวเรือนได้อีก

    ลองจินตนาการถึงโลกที่ไม่ต้องใช้ถ่านหิน หรือน้ำมันในการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม หรือบ้านเรือน โลกวันนั้น ใกล้เข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ จากความตั้งใจของบริษัทสตาร์ทอัพ ที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทในมุมของการสร้างความยั่งยืนเป็นแกน

    https://carboncredits.com/tesla-regulatory-carbon-credit-sales-jumps-116/

    บริษัทสตาร์ทอัพ บียอนมีท ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทมีจุดประสงค์ที่จะลดการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปล่อย Carbon Footprint ออกมาให้กับโลกเป็นจำนวนที่สูงเมื่อเทียบกับบริโภค Plant based หรือการบริโภคมังสวิรัติ ซึ่งการบริโภคมังสวิรัติแบบ Plant based นั้นทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นยังไง ให้ดูจากรูปด้านล่าง จะเห็นได้ว่าปริมาณเนื้อสัตว์ที่บริโภคได้หนึ่งกิโลกรัม ก่อให้เกิด Carbon Footprint จำนวนมาก เมื่อเทียบกับการบริโภค Plant based นี่อาจจะเป็นเพราะในเนื้อสัตว์ที่บริโภคได้หนึ่งกิโลกรัม มีสิ่งที่ไม่สามารถบริโภคได้เป็นจำนวนมาก นี่เป็นหนึ่งตัวอย่างของการลด Carbon Footprint จากการบริโภคเนื้อสัตว์

    เรายังสามารถทำอย่างอื่น ในการลด Carbon Footprint ได้เช่นการลดการสูญเสียอาหาร โดยการนำเศษอาหารไปแปรรูปไปเป็นปุ๋ย หรือถ้าอาหารเหลือเป็นอาหารที่ยังดีอยู่ เราควรแจกจ่ายหรือบริจาค มิใช่ทิ้งอาหารไป หรือการบริหารประสิทธิภาพในการรับประทานอาหาร เพื่อให้อาหารเหลือและสูญเสียน้อยที่สุด อันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งมีหลายบริษัทสตาร์ทอัพ มีความพยายามที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างยั่งยืน

    https://foodprint.org/blog/fake-meat-followup/

    บริษัทพาทาโกเนีย เป็นบริษัทที่ผลิตเสื้อผ้า สำหรับกีฬากลางแจ้ง ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มในการนำความยั่งยืน มาใช้ในการประกอบธุรกิจเป็นรายต้นๆ บริษัทมีแนวความคิดล้ำหน้าเช่น โปรแกรม Worn Ware และก็มีจุดมุ่งหมายและให้สัตยาบันด้านการผลิตเสื้อผ้า อย่างมีจริยธรรม อย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น

    สัตยาบันด้านความยั่งยืนของพาทาโกเนีย เช่น การลดการปล่อย GHG (Greenhous Gas) ทั้งหมด 80% จาก Baseline ในปี 2017 ให้ได้ภายในปี 2030 เป็นต้น https://www.patagonia.com/climate-goals/

    มาดูบริษัทในไทยที่เป็นผู้นำด้านนี้กันบ้าง บริษัทเวคินเป็นบริษัทที่ผลิตแอปที่ชื่อว่า CERO Carbon Wallet ซึ่งแอปพลิเคชันตัวนี้ เป็นแอปที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถทำกิจกรรมการลดคาร์บอนจากกิจกรรมด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านแอปได้ เช่น การนำแก้วพลาสติกกลับไปรีไซเคิล การลดการสูญเสียของอาหาร การปลูกต้นไม้ โดยทุกกิจกรรม จะได้รับคาร์บอนเครดิต นับว่าเป็นครั้งแรกของวงการที่สามารถทำให้กิจกรรมที่ผู้บริโภคทำสามารถเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอนเครดิตได้โดยตรง เป็นการช่วยผลักดันให้ผู้บริโภคมีความตระหนักถึงการช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยเรื่องใกล้ๆ ตัว

    โอกาสและความท้าทาย

    ในส่วนของสตาร์ทอัพแน่นอนว่า การทำในเรื่องของโครงการความยั่งยืนทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น โดยเฉพาะความกดดันที่จะต้องทำยอดขายสูงสุดในค่าใช้จ่ายที่ประหยัดสุดเพื่อให้อยู่รอด และเมื่อต้องแข่งกับคู่แข่งที่ไม่ได้มีกิจกรรมด้านความยั่งยืน ต้นทุนของการทำธุรกิจของสตาร์ทอัพที่ใส่ใจด้านความยั่งยืนอาจจะสูงกว่าคู่แข่งอย่างมีนัยสำคัญ

    ในส่วนของโอกาสนั้น จริงๆ แล้ว ผู้บริโภคมีการให้ความสำคัญ และมีความต้องการซื้อสินค้าบริการ จากบริษัทที่มีความใส่ใจด้านความยั่งยืนมากกว่าบริษัททั่วๆ ไป ซึ่งหุ้นยั่งยืนนั้นมีผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มยั่งยืนอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ซึ่งนี่หมายความว่า ในแผนระยะยาวนั้น การทำโครงการด้านความยั่งยืนอาจให้ผลตอบแทนด้านการเงินที่ดีกว่าด้วย

    ซึ่งหมายความว่า ในโลกปัจจุบันนั้น การมีความเข้าใจและริเริ่มจุดมุ่งหมายของบริษัท ให้เกิดความยั่งยืนนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เลือกทำได้อีกต่อไป แต่น่าจะเป็น Company Agenda หรือหนึ่งในจุดมุ่งหมายหลักของบริษัทเพื่อก่อให้เกิดผลกำไรในระยะยาวเลยทีเดียว

    ]]>
    1453481
    Beacon VC มอง ESG มีความสำคัญกับทุกภาคส่วนมากขึ้น สตาร์ทอัพไทยจะปรับตัวได้อย่างไร https://positioningmag.com/1447453 Tue, 10 Oct 2023 03:50:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447453

    ปัจจุบัน ESG มีความสำคัญอย่างมากในโลกธุรกิจ เราเห็นข่าวด้านธุรกิจเริ่มพูดถึงประเด็นของ ESG เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนเองก็อาจสงสัยว่าเรื่องดังกล่าวมีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร ปัจจัยดังกล่าวทำให้ธุรกิจหรือแม้แต่สตาร์ทอัพเองก็อาจสงสัยว่าทำไมบริษัทของตนจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

    Positioning และ Beacon VC จะพาไปหาคำตอบว่าเรื่องของ ESG กับสตาร์ทอัพนั้นเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร และประเด็นใดที่สตาร์ทอัพไทยควรจะรู้


    ESG คืออะไร

    ESG นั้นย่อมาจาก Environmental (สิ่งแวดล้อม) Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) เป็นแนวคิดในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว ถ้าหากธุรกิจยุคใหม่จะเติบโตก็ต้อง Do Good Do well ไปด้วยกัน เป็นโจทย์ที่ธุรกิจต้องคิดว่าทำอย่างไรให้ธุรกิจสามารถเติบโตไปอย่างยั่งยืนพร้อมกับยังคงความสามารถในการสร้างกำไรให้กับองค์กรตัวเองไปได้พร้อมกัน

    การคำนึงถึง ESG ในการทำธุรกิจ เป็นการชวนให้ทุกคนกลับมาทบทวนการดำเนินงานตลอดทั้ง Supply Chain ของตนเองว่ามีผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลในส่วนใดบ้าง เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจความเสี่ยงของการลงทุนกับบริษัทที่ส่งผลกระทบต่อเรื่อง ESG กล่าวคือแม้บริษัทจะมีกำไรสูง แต่หากมีกิจกรรมที่ส่งผลกระทบกับกติกาที่โลกกำลังให้ความสำคัญอย่าง ESG ก็จะถูกมองในแง่ลบและอาจไม่มีใครอยากลงทุนด้วย


    เมื่อนักลงทุนสนใจ ESG มากขึ้น สตาร์ทอัพเองก็ต้องปรับตัว

    สตาร์ทอัพที่กำลังมองหาการลงทุนจากเหล่านักลงทุนควรให้ความสำคัญกับการนำ ESG มาปรับใช้กับนโยบายและการดำเนินงานของตน แม้ว่าการกระทำดังกล่าวอาจดูเหมือนเป็นการเพิ่มภาระให้กับธุรกิจของตัวเอง แต่หากมองในระยะยาว จะเห็นว่าการเริ่มปรับตัวให้เข้ากับหลักเกณฑ์ด้าน ESG ตั้งแต่ตอนนี้ถือเป็นเรื่องที่สตาร์ทอัพควรทำเป็นอย่างมาก เนื่องจากกฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ จะถูกบังคับใช้และมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นในอนาคต

    จากข้อมูลของ EY ในปี 2565 ที่ผ่านมานั้น ได้แสดงว่า มีนักลงทุนถึง 26% เลือกที่จะไม่ลงทุนกับธุรกิจที่ไม่สามารถให้ความชัดเจนในนโยบายด้าน ESG นอกจากนั้นยังพบว่า 56% ของ Hedge Funds และ Private Equity และ 20% ของ Venture Capital ได้นำเกณฑ์ ESG มาเป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญในการพิจารณาลงทุน

    เรื่องของสิ่งแวดล้อม หนึ่งในประเด็นของ ESG ที่กำลังถูกจับตามองอย่างมาก – ภาพจาก Unsplash


    โอกาสที่จะได้ ถ้าสตาร์ทอัพหันมาสนใจเรื่อง ESG  

    จากงานวิจัยของ McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก พบว่าบริษัทที่นำแนวคิดด้าน ESG มาประกอบในการดำเนินธุรกิจนั้น จะเพิ่มความสามารถให้บริษัทนั้นเปิดตลาดใหม่ๆ ในทวีปยุโรปที่กำลังมองหา Sustainability Index จากบริษัทที่จะเข้าไปทำตลาดมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้ธุรกิจหากเลือกที่จะใส่ใจเรื่อง ESG ก่อนคนอื่น นอกจากนั้นการให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG จะช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุนการผลิตและแข่งขันได้ในระยะยาว มากกว่าการแสวงหากำไรระยะสั้นที่ไม่ยั่งยืน และแน่นอนที่สุดคือจะได้รับการสนับสนุนจากผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น รวมถึงยังช่วยป้องกันการโดนลงโทษจากกฎหมายตามมาตรฐานของประเทศต่างๆ ที่จะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ดังนั้นในฐานะคนทำธุรกิจไม่เว้นแม้แต่สตาร์ทอัพเองก็ควรจะต้องให้ความสนใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง

    ไม่เพียงเท่านี้ คนรุ่นใหม่ยังให้ความสนใจกับประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นรวมถึงมองหาโอกาสในการ ทำงานกับองค์กรที่แสดงให้เห็นได้ว่าไม่ได้มุ่งแสวงหากำไรเพียงอย่างเดียว ดังนั้นบริษัทที่ทำเรื่อง ESG ได้ดี ก็จะมีโอกาสที่จะดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรได้มากขึ้น พนักงานในองค์กรเองก็จะภูมิใจที่องค์กรจัดการกับประเด็นเหล่านี้ได้ดี

    คุณธนพงษ์ ณ ระนอง Managing Director จาก Beacon VC เจ้าของโครงการ KATALYST By KBank ได้กล่าวในงานสัมมนา ESG A Lasting Game Changer ว่าเรื่องของ ESG เป็นสิ่งที่กำลังมาและมีความสำคัญจริง ๆที่ผ่านมาเมื่อพูดถึงเรื่องของเทรนด์ใหม่ๆ บางครั้งคนอาจจะกลัวว่าเป็นแค่ Buzz Words คือเรื่องที่มีการพูดถึงมากๆ แต่มาไม่นานแล้วก็หายไป คนกลัวว่าESG จะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ แต่จากที่ได้ไปงานสัมนาด้าน ESG ต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศถ้าเราเข้าไปดูในฝั่งนักลงทุน จะเห็นว่านักลงทุนที่มาในงาน ESG จะเป็นนักลงทุนจากสถาบันที่มีการก่อตั้งมานานแล้วและมีความที่จริงจังในการลงทุนมาก เชื่อได้ว่าเรื่อง ESGจะเป็นการลงทุนที่เป็น Long Term Investment มากๆ แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือเรื่อง ESG ยังเป็นเรื่องใหม่มากๆ โดยเฉพาะในประเทศไทย

    ดังนั้น กฎ ระเบียบต่างๆ และด้านตลาดยังมีความไม่ชัดเจนอยู่มากๆ ถ้าเรายังไม่เข้าใจเรื่องทั้งหมดดีพอ เราจะเข้าไปจับโอกาสนั้นได้ยาก

    คุณธนพงษ์ ณ ระนอง – กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (Beacon VC)


    สตาร์ทอัพจะปรับตัวกับ ESG ได้อย่างไร  

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาคธุรกิจจะมีทางเลือกในการดำเนินการเพื่อรับมือต่อประเด็นความยั่งยืนที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายใน อาทิ ความพร้อมของกิจการทั้งความรู้ความเข้าใจ สภาพคล่องและเงินลงทุน เป็นต้น และปัจจัยภายนอก ไม่ว่าจะเป็น ฐานลูกค้า มาตรการของคู่ค้าและทางการ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ซึ่งแต่ละธุรกิจคงต้องชั่งน้ำหนักถึงผลบวกและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งผลที่จะตามมาจากการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการต่อผลการดำเนินการในช่วงเวลาต่างๆ ว่าคุ้มค่าหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด

    นอกจากนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมองว่า ธุรกิจหรือสตาร์ทอัพอาจเริ่มต้นจากการลดส่วนสูญเสียในกระบวนการผลิต แยกขยะและนำวัสดุอุปกรณ์เหลือทิ้งมาใช้ซ้ำ หรือ รีไซเคิล วางแผนก่อนการใช้สิ่งต่างๆ เลือกใช้วัสดุ หรือวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงการประหยัดไฟฟ้าและน้ำ การใช้ไฟฟ้าช่วง Off-Peak ที่มีค่าไฟต่อหน่วยต่ำ การเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน การออกแบบเส้นทางการใช้รถยนต์ การเปลี่ยนรถยนต์น้ำมันเป็นรถยนต์ไฟฟ้า การลดการขนส่งเที่ยวเปล่า การใช้โซลูชั่นหรือเทคโนโลยีเพื่อลดความสิ้นเปลือง เป็นต้น แนวทางเหล่านี้ธุรกิจอย่างสตาร์ทอัพหรือแม้แต่ธุรกิจทั่วไปก็น่าจะทยอยปรับเปลี่ยนเมื่อถึงจังหวะเวลาที่เหมาะสมได้โดยมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง และยังมีเคล็ดลับจากงาน ESG A Lasting Game Changer ได้แนะนำให้สตาร์ทอัพเริ่มจากศึกษาเรื่อง ESG และดูว่าคนที่อยู่ใน Ecosystem นี้ทำอะไรอยู่บ้าง เราสามารถที่จะเรียนรู้สิ่งดีๆ เพื่อเป็นแนวทางและนำมาปรับใช้กับธุรกิจของตัวเองก่อน

    ถ้ามองภาพรวมใหญ่ของบริษัท เรื่อง ESG มีการทำในบริษัทอยู่แล้ว แต่บางเรื่องอาจจะยังไม่นึกมาก่อนว่านี่ก็คือการทำ ESG เช่น การดูแลพนักงานดีหรือไม่ การดูแลสวัสดิการต่างๆ เป็นอย่างไร นี่คือสิ่งเล็กๆ ง่ายๆ ที่อาจจะยังไม่เคยมอง ให้เลือกทำในสิ่งที่อยากทำ และโดดเด่นจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นด้านไหนของ ESG โดยอยากเน้นย้ำว่าถึงแม้ในปัจจุบันตลาดโดยรวมอาจจะให้ความสำคัญหลักไปที่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือตัว E แต่ในเรื่องของ S หรือการปฏิบัติต่อพนักงานและสังคมรอบข้าง และเรื่องของ G หรือความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลเพื่อธรรมภิบาลที่ดี ก็เป็นสิ่งที่นักลงทุนมองหาและมีสำคัญไม่แพ้กัน

    งานสัมมนา ESG A Lasting Game Changer โดย Beacon VC


    Beacon VC มีส่วนช่วยเหลือธุรกิจสตาร์ทอัพในด้าน ESG ได้อย่างไร

    ปัจจุบัน Beacon VC ส่งเสริมให้สตาร์ทอัพปรับตัวและมองหาโอกาสจากเทรนด์ด้าน ESG โดยส่งมอบการสนับสนุนในมิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การให้ความรู้เรื่อง ESG ผ่านการจัดงานสัมมนาและหลักสูตรอบรมเข้มข้นประจำปี KATALYST Startup Launchpad 2023 การร่วมมือกับพันธมิตรจัดตั้ง Climate Tech Club เป็นต้น และการจัดอบรมร่วมกับ Wavemaker Impact เพื่อให้ความรู้กับกลุ่มสตาร์ทอัพที่เกี่ยวข้องกับ Climate Tech เป็นต้น

    รวมถึงการสนับสนุนเงินลงทุนผ่านกองทุน Beacon Impact Fund ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น ราว 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการลงทุน 3 ปี โดยมุ่งเน้นการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่แสวงหาผลกำไร ที่มีแนวคิดดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและมีการพัฒนาโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างผลกระทบเชิงบวกในมิติต่างๆ ของ ESG สามารถวัดผลได้ พร้อมศักยภาพที่จะขยายผลไปในวงกว้าง โดยกองทุน Beacon Impact Fund มีนโยบายลงทุนในบริษัทที่อยู่ในช่วงที่บริษัทสามารถสร้างรายได้แล้ว มีฐานลูกค้าที่ชัดเจน และสามารถเติบโตได้ดี

    พอร์ตการลงทุนของ Beacon VC – ภาพจาก Beacon VC

    ซึ่งพอร์ตการลงทุนของ Beacon Impact Fund นั้นมีบริษัทที่ลงทุนอยู่ เช่น Algbra ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเงินเพื่อให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศอังกฤษสามารถเข้าถึงบริการทา งการเงินที่สอดคล้องกับหลักทางศาสนาได้ Wavemaker Impact ธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่มีเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก หรือแม้แต่ กองทุน Siam Capital ซึ่งเป็นกองทุนที่มุ่งเน้นที่จะช่วยเป็นส่วนนึงในการทำให้การบริโภคอย่างยั่งยืน ผ่านการลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพ หลากหลายแขนง อาทิ วัสดุที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม ระบบการซื้อขายที่ลดการปล่อยคาร์บอน เป็นต้น

    คุณธนพงษ์ยังได้กล่าวว่า Beacon VC หวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงผลักดันและให้การสนับสนุนผู้คิดค้นนวัตกรรมรุ่นใหม่ที่มีปณิธานในการแก้ปัญหาสำคัญ ๆ ที่พวกเราทุกคนและโลกใบนี้กำลังเผชิญ ตามเจตนารมณ์ของธนาคารกสิกรไทยที่มีความมุ่งมั่นจะยกระดับการดำเนินธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการปูทางให้สังคมไทยและโลกใบนี้มุ่งสู่ความยั่งยืนที่แท้จริงไปด้วยกัน

    ]]>
    1447453