สยามกลการ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 03 Oct 2024 14:14:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดวิสัยทัศน์ “สยามกลการ 2030″ กระจายพอร์ตลงทุน “5 ธุรกิจใหม่” ลดพึ่งพิงยานยนต์ https://positioningmag.com/1492745 Thu, 03 Oct 2024 09:19:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1492745 “สยามกลการ” ในมือครอบครัว “พรประภา” เปิดวิสัยทัศน์สู่ปี 2030 เร่งกระจายพอร์ตสู่ “5 ธุรกิจใหม่” เพื่อลดการพึ่งพิงอุตสาหกรรมยานยนต์ จับเทรนด์มาแรงลงทุนใน “อสังหาริมทรัพย์” “โรงเรียนนานาชาติ” “เทคโนโลยีสะอาด” ฯลฯ วางเป้าลงทุนธุรกิจใหม่รวม 9,500 ล้านบาทภายใน 3 ปี หวังดันรายได้กลุ่มขึ้นอีก 20%

“ประกาสิทธิ์ พรประภา” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามกลการ จำกัด เปิดวิสัยทัศน์ “SMG NEXT: Building Tomorrow, Today” กลุ่มสยามกลการในปี 2030 หรืออีก 6 ปีข้างหน้าจะเพิ่มรายได้จาก 5 ธุรกิจใหม่ “New Ventures” เพื่อกระจายพอร์ตรายได้ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

โดยปัจจุบันกลุ่มสยามกลการที่ดำเนินธุรกิจมานาน 72 ปีมีธุรกิจในเครือ 69 บริษัท สร้างรายได้เมื่อปี 2566 รวมกว่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2 แสนล้านบาท รายได้หลัก 80% มาจากธุรกิจยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ส่วนที่เหลือ 20% มาจากธุรกิจก่อสร้าง อุตสาหกรรมและเครื่องจักรกล อสังหาริมทรัพย์ ฮอสพิทาลิตี้ และโรงเรียนดนตรี

สยามกลการ
พอร์ตรายได้กลุ่มสยามกลการในปัจจุบัน

เมื่อมองถึงอนาคตแล้วเทรนด์ที่มองว่าจะเป็นพื้นฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและในอาเซียน จะประกอบไปด้วย 6 เทรนด์สำคัญ ได้แก่ การท่องเที่ยว, การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI), การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, ความยั่งยืน, AI และการทำให้เป็นดิจิทัล และสุดท้ายคือ การเติบโตของภาคธุรกิจการศึกษา

ทำให้กลุ่มสยามกลการวางวิสัยทัศน์ที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลัก ไปพร้อมกับการหาโอกาสในธุรกิจใหม่ที่น่าจะเติบโตสูงในอนาคต

 

5 ธุรกิจใหม่ เป้าเพิ่มรายได้ 20%

สำหรับ 5 ธุรกิจใหม่ที่จะมุ่งเน้นลงทุนเพิ่มขึ้นในอนาคตของสยามกลการ ได้แก่

  • Mobility Tech – เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนขนส่ง
  • Hospitality & Education – ฮอสพิทาลิตี้และการศึกษา
  • Real Estate – อสังหาริมทรัพย์ (*เน้นเฉพาะอสังหาฯ เชิงพาณิชย์)
  • Clean Tech – เทคโนโลยีสะอาด
  • Digital & Automation – ดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ

โดยทั้งหมดนี้คาดว่าจะใช้งบลงทุนในธุรกิจใหม่รวม 9,500 ล้านบาทภายใน 3 ปี และตั้งเป้าเพิ่มรายได้จากปกติขึ้นอีก 20%

เป้าหมายการลงทุนและการเติบโต

ทั้งนี้ มีหลายธุรกิจในกลุ่ม ‘New Ventures’ ที่นับว่าสยามกลการได้เริ่มปักหมุดการลงทุนไปเรียบร้อยแล้ว เช่น เมื่อเดือนมีนาคม’67 กลุ่มสยามกลการได้เข้าไปร่วมทุนเชิงกลยุทธ์กับ “KIA” แบรนด์รถยนต์จากเกาหลีใต้ ซึ่งถือเป็นการเปิดธุรกิจใหม่ๆ ในกลุ่มยานยนต์ จากเป้าหมายของ KIA ที่จะผลักดันยอดขาย 50% ให้มาจากรถยนต์ไฟฟ้าล้วน (BEV)

ขณะที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์​ บริษัทมีการลงทุนอาคารสำนักงาน “สยามปทุมวัน เฮ้าส์” มูลค่ากว่า 3,500 ล้านบาท เปิดบริการเมื่อเดือนธันวาคม 2566 ปัจจุบันมีอัตราการเช่าแล้ว 54% จากพื้นที่เช่ารวม 51,000 ตร.ม.

อาคารสยามปทุมวัน เฮ้าส์

ด้านเทคโนโลยีสะอาด บริษัทมีการเซ็น MOU ร่วมกับบริษัท “SK tes” ที่ทำธุรกิจด้านโซลูชัน-เทคโนโลยีกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แบตเตอรีลิเธียม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทรัพย์สินจากดาต้าเซ็นเตอร์ ฯลฯ เพื่อจะหาโอกาสร่วมกันในการเปิดธุรกิจที่ประเทศไทย

 

ลงทุนโรงแรม โรงเรียนนานาชาติ ดาต้าเซ็นเตอร์

ประกาสิทธิ์กล่าวต่อถึงการลงทุนในอนาคตของบริษัท จะมีการลงทุน 1,500 ล้านบาทในการรีโนเวตอาคารสยามกลการแห่งเดิม (ที่ตั้งบน ถ.พระราม 1 ตรงข้ามสนามกีฬาเทพหัสดิน) เพื่อเปลี่ยนเป็น “โรงแรม” ความสูง 19 ชั้น ล่าสุดมีการเซ็น MOU ใช้เชนบริหารจากเครือ Pan Pacific Hotels Group คาดว่าจะให้บริการได้ในปี 2570

รวมถึงบริษัทจะรุกเข้าธุรกิจการศึกษามากขึ้น ด้วยการเปิด “โรงเรียนนานาชาติ” ที่พัทยา ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับพาร์ทเนอร์ซึ่งจะเข้ามาบริหารโรงเรียน และจะประกาศรายละเอียดให้ทราบต่อไป

ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ กลุ่มกำลังพิจารณาการลงทุน “ดาต้าเซ็นเตอร์” 2 แห่งในที่ดินภายในนิคมอุตสาหกรรมทั้งใน จ.ชลบุรี และ จ.ฉะเชิงเทรา พื้นที่แห่งละประมาณ 40-50 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างหาพาร์ทเนอร์เพื่อร่วมลงทุนจากต่างประเทศ

]]>
1492745
กางแผน ‘เรเว่ ออโตเมทีฟ’ กับการพาแบรนด์ ‘BYD’ ขึ้นเบอร์ 1 รถอีวีไทยใน 5 ปี https://positioningmag.com/1395463 Mon, 08 Aug 2022 13:45:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395463 ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรือรถอีวี ของไทยกำลังเดือดสุด ๆ เมื่อเหล่าแบรนด์จากแดนมังกรต่างตบเท้าเข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดก็เป็นคิวของ BYD รถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนที่เป็นรองเพียง Tesla และ Toyota เท่านั้น โดยได้ เรเว่ ออโตเมทีฟ จำกัด (RÊVER AUTOMOTIVE) เป็นผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว

BYD รถไฟฟ้าเบอร์ 1 ของจีน

ย้อนไปปี 1995 ที่แบรนด์ BYD ที่ย่อมาจาก Build Your Dream ได้ก่อตั้งขึ้น ในฐานะบริษัท ผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน จากนั้นก็กลายเป็น ผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ กินส่วนแบ่งตลาดกว่า 50% และในปี 2002 BYD ก็เข้าสู่ตลาดรถยนต์โดยเข้าซื้อบริษัท Tsinchuan Automobile และเปลี่ยนชื่อเป็น BYD Auto และได้เข้าสู่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2008 หลังจากที่เปิดตัว รถพลังไฟฟ้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV) คันแรกของโลก

ปัจจุบัน BYD มียอดขายกว่า 6.5 ล้านคัน ขึ้นเป็น แบรนด์รถไฟฟ้าอันดับ 1 ในจีน 9 ปีซ้อน และขยายตลาดไปใน 6 ทวีปทั่วโลก ซึ่ง BYD ก็เป็นรองเพียง Tesla และ Toyota เท่านั้น ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจหากการเข้ามาทำตลาดในไทยครั้งนี้จะเป็นที่น่าจับตา

พี่น้อง พรประภา ผู้พา BYD เข้าไทย

จริง ๆ แบรนด์ BYD เข้ามาทำตลาดในไทยนานแล้ว แต่เป็นลักษณะของ คอมเมอร์เชียล หรือ ตลาดเชิงพาณิชย์ ไม่ใช่ตลาดรถยนต์ส่วนบุคล ได้แก่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เมื่อปี 2558 และ อีกครั้ง เมื่อปี 2561 จับมือกับ บริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) และบริษัท ชาริช โฮลดิ้ง จำกัด

จนในปี 2561 บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี และ กลุ่มสยามกลการ ที่มีเจ้าของคือตระกูล พรประภา ได้รับแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถเชิงพาณิชย์และสินค้าอุตสาหกรรมด้านพลังงานไฟฟ้า เช่น โฟล์คลิฟและระบบสำรองจัดเก็บพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น ทำธุรกิจในชื่อ บริษัท สยาม แอดวานซ์ เทคโนโลยี่ รีเลชั่นชิป จำกัด และใช้ชื่อทางการค้าว่า BYD Thailand

BYD Thailand ภายใต้การดูแลของ บริษัท สยาม แอดวานซ์ เทคโนโลยี่ รีเลชั่นชิป จำกัด

จนในที่สุดแบรนด์ BYD ก็เข้ามาทำตลาดกลุ่มรถยนต์นั่ง ผ่านการนำเข้าและจัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวโดย บริษัท เรเว่ ออโตเมทีฟ จำกัด (RÊVER AUTOMOTIVE) บริษัทที่กลุ่มโพเอ็ม ซึ่งมี นายประธานวงศ์ และ น.ส.ประธานพร พรประภา ถือหุ้นและลงทุน 100%

“การลงทุนมาจากบริษัทเรเว่โดยตรง ไม่มีการร่วมทุนกับ BYD และในส่วนของบริษัทบีวายดี ออโต้ อินดัสทรีที่จัดตั้งในไทยจะมาช่วยในส่วนของ Technical Support และ Training ช่วยให้เราดำเนินธุรกิจได้สะดวกขึ้น ไม่ได้มีสิทธิ์ขาย เรเว่มีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว” ประธานวงศ์ พรประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เร-เว่ ออโตเมทีฟ จำกัด ย้ำ

นายประธานวงศ์ พรประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Rêver Automotive จำกัด

2 ปีแรกลงทุน 3,000 ล้าน

ประธานวงศ์ระบุว่า ใน 2 ปีแรกบริษัทวางงบลงทุนไว้ 3,000 ล้านบาท โดยงบ 450 ล้านบาทจะใช้ในส่วนของงานการตลาด อีก 150 ล้านบาทใช้ในงานไอทีเพื่อพัฒนา Super App และที่เหลือใช้สำหรับสต็อกสินค้า โดยภายในปีนี้จะมีการเปิดโชว์รูมและศูนย์บริการ 31 แห่ง และปีหน้าจะเพิ่มอีกเท่าตัวเป็น 60-70 แห่ง ส่วนของสถานีชาร์จปัจจุบันมีที่ร่วมกับพันธมิตรแล้วกว่า 1,000 หัวชาร์จ

โดยในช่วงไตรมาส 4 บริษัทจะนำเข้ารถยนต์มาก่อน 1 รุ่น โดยจะเป็นรุ่นที่อยู่ในกลุ่ม Ocean series ซึ่งในซีรีส์ดังกล่าวมีทั้งหมด 3 รุ่น โดยจะเป็นการ นำเข้า 100% แต่จะได้รับการซัพพอร์ตส่วนลดและภาษีจากภาครัฐบาล โดยบริษัทมีแผนที่จะ ลงทุนสร้างโรงงานประกอบ ในอนาคต แต่จะเป็นการลงทุนจากไหนบ้างยังไม่สามารถเปิดเผยได้

BYD Ocean Series ที่จะมี 1 ใน 3 คันนี้ เตรียมเปิดตัวในไทยช่วง Q4

ขึ้นเบอร์ 1 ตลาดอีวีไทยใน 5 ปี

เบื้องต้น เรเว่วางเป้ายอดขายปีแรก (2566) ไว้ที่แตะหลัก หมื่นคัน และเป้าหมายภายใน 5 ปี ต้องมียอดขายราว 5-6 หมื่นคันต่อปี หรือขึ้นเป็น เบอร์ 1 ตลาดรถอีวี และ Top5 ของตลาดรถยนต์ไทย โดยเรเว่เชื่อมั่นใจ เทคโนโลยี ของ BYD และอีกจุดแข็งก็คือ การพัฒนา Super App ที่จะทำการ API ไปในรถทุกรุ่นของ BYD เพื่อสร้างจุดแตกต่าง อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่สามารถเปิดเผยถึงราคาเริ่มต้นของรถที่จะนำมาจำหน่ายได้ แต่ย้ำว่ามีความ แตกต่าง จากคู่แข่งแต่มั่นใจว่าลูกค้าจะรู้สึก คุ้มค่า และจะ ครีเอทเซ็กเมนต์ใหม่ให้ตลาด

“จุดแข็งของ BYD คือ เทคโนโลยี ดีไซน์ ที่พัฒนาภายในทั้งหมด แม้กระทั่งชิป ดังนั้น เรื่องซัพพลายไม่มีปัญหา และเราตั้งใจจะใช้เทคโนโลยีเป็นตัวชูโรง ดังนั้น เราจะไม่ตัดฟีเจอร์อะไรออกเพื่อขายให้ได้ถูก ๆ ราคาเราอาจตั้งมาประหลาดกว่าชาวบ้าน แต่ลูกค้าจะรู้สึกคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้ และในอนาคตเราตั้งใจจะนำเข้ารถที่จะครอบคลุมทุกเซ็กเมนต์ในตลาด” น.ส.ประธานพร พรประภา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าว

ประธานวงศ์ พรประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, และ ประธานพร พรประภา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท Rêver Automotive จำกัด

มีการคาดการณ์ว่าตลาด รถ xEV คาดว่าจะมียอดขายที่ราว 8.2 หมื่นคัน หรือ 10% ของตลาดรวม และยอดขาย รถไฟฟ้า 100% คาดว่าจะอยู่ที่ราว 12,000 คัน หรือราว 15% ของตลาด xEV ซึ่ง ประธานวงศ์ ย้ำว่า ตลาดที่ยังเติบโตน้อยเพราะมีตัวเลือกน้อย ซึ่ง BYD จะเข้ามาดันให้ตลาดอีวีไทยยิ่งเติบโต 

ดังนั้น จากคงต้องจับตาดูว่าตลาดในปีหน้าจะดุเดือดแค่ไหน เพราะตอนนี้แบรนด์จีนตบเท้าเข้ามาเพียบแถมเบอร์ 1 ก็เข้ามาแล้วด้วย แต่ต้องอย่าลืมว่าเป็นที่ 1 ของจีนแต่ไม่ได้แปลว่าจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาดไทยก็คงไม่ได้ง่าย

]]>
1395463
“ฮิตาชิ-สยามกลการ” นำเข้าโซลูชัน Smart Building ต่อยอดธุรกิจ “ลิฟต์” เจาะตลาดออฟฟิศ https://positioningmag.com/1378583 Tue, 22 Mar 2022 08:37:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378583 “ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์” บริษัทจำหน่าย “ลิฟต์” ร่วมทุนระหว่างญี่ปุ่นกับกลุ่ม “สยามกลการ” เปิดผลิตภัณฑ์ใหม่ โซลูชัน Smart Building ระบบบริหารอาคารด้านความปลอดภัยและดิจิทัล หวังชิงตลาดครบวงจรในโครงการ เริ่มต้นเน้นกลุ่ม “อาคารสำนักงาน” และ “มิกซ์ยูส” ประเดิมโชว์เคสในอาคาร “สยามปทุมวันเฮ้าส์” ที่จะเปิดบริการปี 2566

โซลูชัน Smart Building บริหารจัดการอัจฉริยะ เป็นระบบที่ถูกพูดถึงมาแล้วระยะหนึ่งในไทย และจะเห็นว่าหลายอาคารเริ่มนำมาใช้งานจริง มีผู้เล่นในตลาดหลายราย แต่ละรายก็มีจุดเด่นแตกต่างกันไป เมื่อตลาดเปิดเต็มที่ ทำให้อีกหนึ่งกลุ่มทุนใหญ่ขยับ

“ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์” (ประเทศไทย) เป็นบริษัทจำหน่าย-ติดตั้ง ลิฟต์ บันไดเลื่อน และทางเลื่อน โดยร่วมทุนกันระหว่าง ฮิตาชิ จากญี่ปุ่น และกลุ่ม “สยามกลการ” ล่าสุด  “ประกาสิทธิ์ พรประภา” กรรมการบริหาร บริษัท ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความเคลื่อนไหวของบริษัท นำเข้าโซลูชัน Smart Building จากญี่ปุ่นเข้ามาให้บริการในไทย เป็นธุรกิจต่อยอดให้ลูกค้าได้ครบวงจรมากขึ้น

เทคโนโลยีนี้ในญี่ปุ่นใช้มาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี รวมถึงในระดับโลกมีการประเมินว่าธุรกิจประเภทนี้จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% ระหว่างปี 2562-2567 ประกาสิทธิ์กล่าวว่า ในไทยยังไม่มีการประเมินมูลค่าตลาดอย่างชัดเจน แต่เชื่อว่าจะโตได้ไม่น้อยกว่าค่าเฉลี่ยโลก เพราะจากการพูดคุยกับลูกค้า เริ่มมีความสนใจเทคโนโลยีนี้สูงขึ้น เนื่องจากลูกค้ามองว่าจะช่วยทำให้อาคารของตนแตกต่างจากคู่แข่ง ดึงดูดผู้เช่าได้ดีขึ้น

Smart Building
ภาพจำลอง Hitachi Smart Building

“เซอิจิโร่ อิชิซึ” ผู้จัดการทั่วไป แผนก Social Innovation Business บริษัท ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายถึงโซลูชันของบริษัทมี 2 ฟังก์ชันหลักที่บริการได้ คือ

  1. Physical Securityติดตั้งระบบสแกนใบหน้า (facial recognition) สำหรับผ่านแท่นกั้นล็อบบี้อาคาร และสแกนเพื่อขึ้นลิฟต์ไปยังชั้นที่ได้รับอนุญาต รวมถึงระบบสแกนใบหน้าแลก Visitor Pass เป็น QR CODE เพื่อใช้ผ่านเข้าออกอาคารชั่วคราว ไปจนถึงการใช้ระบบ Parking Pass สแกนทะเบียนรถให้เข้าออกที่จอดรถได้สะดวก
  2. Digital Solutionแอปพลิเคชันสำหรับอาคาร เพื่อเป็นระบบพูดคุยระหว่างผู้บริหารอาคารกับผู้เช่า และประกาศข่าวสาร-กิจกรรมให้ผู้ใช้อาคารทราบ รวมไปถึงผู้ใช้อาคารสามารถจองห้องประชุมส่วนกลางผ่านแอปฯ ได้ สั่งอาหารจากร้านค้าในอาคารและชำระเงินผ่านแอปฯ โดยตรง

 

เปลี่ยนจากพาร์ตเนอร์ มาครองตลาด Smart Building

อิชิซึกล่าวต่อว่า คู่แข่งในประเทศไทยในตลาดนี้มีอยู่หลายราย แต่ส่วนใหญ่เจ้าอื่นๆ จะบริการฟังก์ชันใดฟังก์ชันหนึ่ง คือเป็นผู้บริการด้านความปลอดภัย หรือบริการด้านแอปพลิเคชัน แต่ฮิตาชิมองว่าตนเองจะเป็นเจ้าแรกในไทยที่สามารถรวมทั้งสองฟังก์ชันเข้าด้วยกัน

“กิติสร ปุณณะหิตานนท์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปกติการติดตั้งลิฟต์ บริษัทจะเป็นพาร์ตเนอร์ที่ต้องเชื่อมโยงเข้ากับบริการจัดการอาคารอัจฉริยะของอีกบริษัทหนึ่งอยู่แล้ว ขณะที่บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นสามารถให้บริการนี้ได้ จึงมองว่าเป็นโอกาสธุรกิจที่จะนำเข้ามาเสนอให้ลูกค้าติดตั้งลิฟต์ได้ครบวงจร รวมถึงให้บริการแยกกับลิฟต์ของแบรนด์อื่นได้เช่นกัน

 

โชว์เคสที่ “สยามปทุมวันเฮ้าส์”

ปัจจุบัน ตลาดลิฟต์ประเทศไทยมีการติดตั้งประมาณปีละ 5,000-6,000 ตัว โดยกิติสรประเมินว่า ฮิตาชิครองตลาดอยู่ในกลุ่ม Top 3 จึงมีฐานตลาดที่จะต่อยอด โดยขณะนี้มีลูกค้าติดตั้งแล้ว 3-4 ราย ไม่รวมที่กำลังติดตั้งในอาคาร “สยามปทุมวันเฮ้าส์” ของสยามกลการ

ทีมผู้บริหาร บริษัท ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด: (จากซ้าย) “เซอิจิโร่ อิชิซึ” ผู้จัดการทั่วไป แผนก Social Innovation Business, “ประกาสิทธิ์ พรประภา” กรรมการบริหาร และ “กิติสร ปุณณะหิตานนท์” กรรมการผู้จัดการ

ประกาสิทธิ์กล่าวในส่วนนี้ว่า อาคารสยามปทุมวันเฮ้าส์ ตึกออฟฟิศสูง 32 ชั้นที่จะก่อสร้างเสร็จไตรมาส 1/2566 บริเวณโชว์รูมฮอนด้าเก่า ใกล้กับหอศิลป์ กทม. พื้นที่เช่า 50,000 ตร.ม. จะเป็นโชว์เคสที่ติดตั้งระบบทั้งหมดในเครือสยามกลการ ไม่ว่าจะเป็นแอร์ไดกิ้น ลิฟต์ฮิตาชิ และใช้โซลูชัน Smart Building ของฮิตาชิแบบครบวงจร

“โซลูชันแบบนี้จะสร้างคุณค่าเพิ่ม (value added) ให้กับเจ้าของตึก เพราะผู้เช่ายุคนี้ต้องการความปลอดภัยเพิ่มขึ้น และต้องการไลฟ์สไตล์การเชื่อมโยงกันในชุมชน” ประกาสิทธิ์กล่าว “ออฟฟิศในอนาคต จากการทำงานแบบไฮบริด ทำให้อาคารสำนักงานยุคใหม่จะมีห้องประชุมส่วนกลางให้บริษัทในอาคารจองใช้ได้ ดังนั้น จึงต้องมีแอปฯ ไว้สำหรับจองใช้พื้นที่ส่วนกลางเหล่านี้”

นอกจากอาคารสำนักงานและมิกซ์ยูสที่เป็นเป้าหมายแรกแล้ว ตลาดอื่นๆ ก็มีความสนใจจะรุกตลาดถัดไป เช่น ศูนย์การค้า คอนโดมิเนียม โรงงาน แต่แต่ละตลาดก็มีความต้องการต่างกันไป ทำให้ต้องใช้เวลาศึกษา

 

ตลาด “ลิฟต์” สะดุดจาก COVID-19

กิติสรกล่าวต่อถึงธุรกิจหลักของฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ คือ “ลิฟต์” ตลาดนี้จะแปรผันตามโครงการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์โดยตรง ทำให้ช่วงที่ผ่านมาได้รับผลกระทบบ้าง เพราะวิกฤต COVID-19 ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กชะลอการพัฒนาโครงการ ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ยังเดินหน้าต่อ

ส่วนของฮิตาชิเอง ตลาดใหญ่จะเป็นกลุ่มอาคารสำนักงาน คอนโดฯ โรงแรม ศูนย์การค้า โรงพยาบาล แต่เมื่อตลาดหลักเริ่มฝืด ทำให้บริษัทมีการหาตลาดใหม่ๆ ที่บูมขึ้นมากในช่วงนี้คือ บ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี และอาคารตึกเตี้ย ที่มีการติดตั้งลิฟต์ในตัวสูงขึ้น จากกระแสสังคมสูงวัย ผู้อยู่อาศัยจำเป็นต้องมีลิฟต์เพื่อความสะดวกสบาย

การแข่งขันในตลาดลิฟต์คุณภาพสูง ยังคงแข่งขันกันที่คุณภาพลิฟต์ ปลอดภัย เสียน้อยครั้ง หากเสียหายมีบริการซ่อมแซมที่รวดเร็ว ทำให้ปีนี้ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์จะเพิ่มหน่วยบริการหลังการขายครอบคลุมมากขึ้น มีขยายไปยังหัวเมืองหลักเพิ่ม เพราะในต่างจังหวัดก็มีตึกสูงเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะกลุ่มตึกคอนโดฯ และโรงแรม

]]>
1378583
“สยามกลการ” เปิด “สนามกอล์ฟ” แห่งที่ 5 ปักหมุดบางนา ใช้ KOL ดึงคนรุ่นใหม่ตีกอล์ฟ https://positioningmag.com/1365188 Thu, 02 Dec 2021 11:25:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365188 ยังรุกตลาดสนามกอล์ฟต่อเนื่อง! กลุ่ม “สยามกลการ” เตรียมเปิด สนามกอล์ฟ สยามคันทรีคลับ แบงคอก เป็นแห่งที่ 5 ในเครือ ออกแบบเหมาะกับกลุ่มตีกอล์ฟเพื่อการพักผ่อน (Leisure) ทำเลบางนา-ตราด กม.22 ใกล้กรุงเทพฯ เล็งเป้าหมายลูกค้าองค์กร ทำการตลาดคนรุ่นใหม่ด้วย KOL กระแสสนใจกีฬากอล์ฟเริ่มติดลมบน

“ประณัย พรประภา” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยาม เอสเตท แอนด์ โค จำกัด ในกลุ่ม “สยามกลการ” นำทีมผู้บริหารเปิดตัว “สนามกอล์ฟ” แห่งที่ 5 ในเครือคือ “สยามคันทรีคลับ แบงคอก” เป็นแห่งแรกของเครือที่ตั้งอยู่เขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล หลังจากทั้ง 4 แห่งก่อนหน้านี้ตั้งอยู่ในพัทยา จ.ชลบุรี

สยามคันทรีคลับ แบงคอก ตั้งอยู่ที่ ถ.บางนา-ตราด กม.22 ใช้เวลาเดินทางประมาณ 20 นาทีจากสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นสนามกอล์ฟ 18 หลุม บนพื้นที่ทั้งหมด 519 ไร่ ใช้งบลงทุน 3,683 ล้านบาท (รวมมูลค่าที่ดิน) โดยจะเปิดบริการอย่างเป็นทางการวันที่ 1 มกราคม 2565

สยามคันทรีคลับ สนามกอล์ฟ
สยามคันทรีคลับ แบงคอก หลุม 13 — สนามกอล์ฟที่นี่เป็นแห่งแรกในไทยที่ใช้หญ้าพันธุ์ Sena Zoysia ซึ่งทำให้ลูกกอล์ฟวิ่งมากกว่าปกติ

ก่อนหน้านี้ สยามคันทรีคลับมีสนามกอล์ฟทั้งหมด 4 แห่งในพัทยา แห่งแรกคือ “สยามคันทรีคลับ โอลด์ คอร์ส” ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ 50 ปีก่อนและมีการรีโนเวตเสร็จเมื่อปี 2550

จากนั้นมีการเปิด “สยามคันทรีคลับ แพลนเทชั่น” ในปี 2551 เป็นสนามกอล์ฟขนาด 18 หลุมที่เน้นความท้าทายในการตีกอล์ฟ ทั้งนี้ ทั้งสนามโอลด์ คอร์ส และแพลนเทชั่น ได้รับเลือกเป็นสนามจัดแข่งขันกอล์ฟสตรีระดับโลก Honda LPGA Thailand ติดต่อกันระหว่างปี 2550-2564 ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้ “สยามคันทรีคลับ” เป็นสนามกอล์ฟที่ได้รับการยอมรับในต่างประเทศ

ต่อมาในปี 2557 สยามกลการเปิดสนามกอล์ฟแห่งที่ 3 คือ “สยามคันทรีคลับ วอเตอร์ไซด์” ออกแบบพื้นที่ริมขอบอ่างเก็บน้ำ ตีง่ายขึ้น และปี 2563 เปิดสนามกอล์ฟแห่งที่ 4 “สยามคันทรีคลับ โรลลิ่ง ฮิลส์” เป็นสนามกอล์ฟภูมิศาสตร์สูงๆ ต่ำๆ เปลี่ยนคาแร็กเตอร์ให้แตกต่าง

 

ทำเลใหม่ใกล้กรุง เน้นก๊วนกอล์ฟเพื่อพักผ่อนสังสรรค์

สำหรับ “สยามคันทรีคลับ แบงคอก” ประณัยอธิบายจุดขายของสนาม เน้นการออกแบบประสบการณ์ทั้งหมดเหมาะสำหรับกลุ่มเล่นกอล์ฟเพื่อพักผ่อนและสังสรรค์ (Leisure) โดยผู้ออกแบบสนามคือ Toby Cobb – Design Associate หนึ่งในนักออกแบบสนามกอล์ฟ The Coore & Crenshaw

สยามคันทรีคลับ สนามกอล์ฟ
หลุม 18 ที่สยามคันทรีคลับ แบงคอก ไฮไลต์ขนาดกรีนกว้างถึง 700 ตารางเมตร

โจทย์ที่สยามกลการให้ไปคือการเพิ่มความท้าทายขึ้นบ้างจากสนามกอล์ฟทาร์เก็ตเดียวกันในย่านบางนา ‘ท้าทายในการตี แต่ลูกไม่หาย ใช้ลูกเดียวตลอดเกม’ คือคำนิยามของที่นี่

เมื่อคาแร็กเตอร์สนามเป็นเช่นนี้ จะทำให้ทั้งนักกอล์ฟมือสมัครเล่นและมือเก๋ามาออกรอบด้วยกันได้ จึงเหมาะกับการรับรองลูกค้าองค์กร กลุ่มนักธุรกิจมาสังสรรค์ รวมถึงกลุ่มนักกอล์ฟคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งหัดเล่นตามกระแสกอล์ฟที่กำลังมาในช่วงนี้

คลับเฮาส์ สยามคันทรีคลับ แบงคอก เน้นห้องฟังก์ชันสามารถจัดประชุม อีเวนต์ได้

ไม่ใช่เฉพาะตัวสนาม การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกจะสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีห้องฟังก์ชันที่สามารถจัดเป็นห้องประชุม สัมมนา อีเวนต์ จัดการแข่งขัน รองรับได้ตั้งแต่ห้องย่อย 12 คน จนถึงทั้งบริเวณ 160 คน

รวมถึงมีการนำทีมเชฟจากเครือโรงแรมสยาม แอท สยามในกลุ่มสยามกลการ มาพัฒนาร้านอาหารในสยามคันทรีคลับ แบงคอก มีครบทั้งอาหารไทย ญี่ปุ่น และยุโรป เพราะต้องการให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ที่ดีทุกด้านในการมาสังสรรค์ และดึงดูดลูกค้ากลุ่มที่ไม่ได้ออกรอบเข้ามาทานอาหารด้วย

ขณะนี้สยามคันทรีคลับ แบงคอกเปิดให้สมัครสมาชิกรายปีและราย 5 ปีแล้ว (ราคาช่วงโปรโมชัน แพ็กเกจบุคคล 120,000 บาทต่อปี) โดยประณัยเปิดเผยว่า มีสมาชิกสมัครเข้ามาแล้ว 200 ราย เกินกว่า 60% เป็น expat ชาวญี่ปุ่นในไทยที่บอกปากต่อปาก คาดว่าปีหน้าน่าจะมีสมาชิกแตะ 500 รายสำหรับสนามนี้ และตั้งเป้าต้อนรับนักกอล์ฟออกรอบ 30,000 คนในปี 2565

 

2565 ลุ้นลูกค้าบินมาตีกอล์ฟคึกคักขึ้น

เป็นธรรมดาของธุรกิจสนามกอล์ฟที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 กันถ้วนหน้า ประณัยระบุว่า ก่อนเกิดโรคระบาด กลุ่มสยามกลการมีนักกอล์ฟออกรอบปีละ 190,000 คน (รวมทุกสนาม) มีกลุ่มบินจากต่างประเทศเข้ามา เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สัดส่วนประมาณ 20-30% ส่วนที่เหลือเป็นคนไทยและ expat ในไทย 70-80%

เมื่อเกิดโรคระบาด กลุ่มต่างประเทศที่เคยบินเข้ามา ไม่สามารถมาได้ กลุ่มนี้จึงหายไปทั้งหมด และทำให้รายได้ 300 กว่าล้านบาทต่อสนาม ลดเหลือปีละ 200 กว่าล้านบาทต่อสนามในช่วงปี 2563-64

(จากซ้าย) สมชาย สืบบุญศรีพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยาม เอสเตท แอนด์ โค จำกัด, ประณัย พรประภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยาม เอสเตท แอนด์ โค จำกัด และมาซายะ ฟุรุตะ กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายธุรกิจกอล์ฟ กลุ่มสยามกลการ

สำหรับปี 2565 ยังคาดหวังว่ากลุ่มตลาดต่างประเทศจะกลับมาได้ราวไตรมาส 3 ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่จะเกิดข่าวไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนระบาด สยามคันทรีคลับมีลูกค้านักกอล์ฟทั้งจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้จองเข้ามาออกรอบช่วงต้นปีหน้าแล้ว แต่เพราะข่าวในทางลบทำให้ลูกค้าขอเลื่อนออกไปก่อน

“จริงๆ คนญี่ปุ่นไม่ค่อยกลัว COVID-19 เท่าไหร่ ถ้ามาได้เขาจะเข้ามาเลย แต่ประเทศเขายังปิดอยู่ตอนนี้” ประณัยกล่าว

กระแสคนหนุ่มสาวออกรอบ คนดังนำเทรนด์

ประณัยกล่าวด้วยว่า สยามคันทรีคลับ แบงคอกจะตอบไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่มากขึ้น สอดคล้องกับกระแสขณะนี้คนวัย 15-40 ปีหันกลับมาสนใจกอล์ฟ จากช่วงหลายปีที่ผ่านมา กีฬากอล์ฟถูกมองว่าเป็นกีฬา ‘มรดก’ อายุเฉลี่ยคนตีกอล์ฟมักจะเป็นวัย 45 ปีขึ้นไป

สาเหตุเพราะการปิดประเทศ คนหนุ่มสาวไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ และกิจกรรมอื่นที่เคยนิยมก็ถูกระงับ ทำให้ต้องหากิจกรรมใหม่ๆ ที่จะไปสังสรรค์กันได้

ประกอบกับไทยเรามีนักกีฬาระดับโลก “โปรโม-โปรเม” โมรียา และ เอรียา จุฑานุกาล เป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ รวมถึงมีดารา-เซเลบเป็นอินฟลูเอนเซอร์ในการเล่นกอล์ฟมากขึ้น เช่น แมทธิว ดีน, ปั้นจั่น-ปรมะ อิ่มอโนทัย กอล์ฟจึงเริ่มกลับมาฮิตอีกครั้ง

“เราจะทำการตลาดแบบใหม่กับสนามกอล์ฟ จะมีการใช้ KOL ลงคอนเทนต์ในโซเชียลมีเดีย เช่น กลุ่มดาราคนดัง กลุ่มโปรกอล์ฟวัยไม่เกิน 30 ปี ทำให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่” ประณัยกล่าว “คิดว่าการตลาดแบบนี้ไม่เคยมีใครทำมาก่อนในธุรกิจกอล์ฟ”

]]>
1365188
“กลุ่มสยามกลการ” ร่วมมือ “บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี” ส่งมอบหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์นับล้านชิ้น ช่วยคนไทยสู้โควิดอย่างปลอดภัย https://positioningmag.com/1350927 Wed, 08 Sep 2021 13:59:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1350927 กลุ่มสยามกลการ ร่วมกับ บริษัท บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี จำกัด จัดตั้งโครงการ “Working Together” เดินหน้าส่งมอบหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์นับล้านชิ้นให้แก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ ตอกย้ำเจตนารมณ์ความห่วงใย ที่อยากให้ทุกคนสามารถสู้กับวิกฤตโควิด-19 และก้าวผ่านไปอย่างปลอดภัยด้วยกัน

กลุ่มสยามกลการ และ บีวายดี ออโต้ อินดัสทรี ได้ตระหนักถึงปัญหาของสถานการณ์โรคโควิด-19 ที่ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ และความต้องการใช้ “หน้ากากอนามัย” ซึ่งเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงได้จัดตั้งโครงการ “Working Together” เพื่อส่งต่อหน้ากากอนามัยไปสู่ประชาชนที่มีความต้องการใช้เป็นจำนวนมาก และช่วยให้ทุกคนสามารถก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 อย่างปลอดภัยไปด้วยกัน

โดยจะส่งมอบหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์จำนวน 8,539,000 ล้านชิ้นให้แก่หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันราชานุกูล กรมราชทัณฑ์ โรงพยาบาล และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งมีกำหนดส่งมอบตลอดเดือนกันยายน

ทั้งนี้ โครงการ Working Together นับเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือสังคม เพื่อให้คนไทยและประเทศไทยก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 อย่างปลอดภัยที่สุด ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจเพื่อสังคมของ “กลุ่มสยามกลการ” ที่มีจุดมุ่งหมายการมอบสิ่งดี ๆ สู่สังคมที่ได้สานต่อมาอย่างต่อเนื่อง

]]>
1350927