หนี้เสีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 22 Feb 2021 10:20:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กำไร ‘เเบงก์พาณิชย์’ ปี 2563 ลดลง 46% เเต่สินเชื่อโต 5.1% ‘หนี้เสีย’ ทั้งระบบขยับเพิ่มขึ้น https://positioningmag.com/1320360 Mon, 22 Feb 2021 09:23:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320360 เเบงก์ชาติเผยปี 2563 ธนาคารพาณิชย์ในไทย ทำกำไรลดลง 46% อยู่ที่ 1.46 เเสนล้านบาท ผลจากการกันสำรองเพิ่มขึ้นช่วง COVID-19 ภาพรวมสินเชื่อโต 5.1% ด้าน NPL เพิ่มขึ้นที่ 3.12% ลูกหนี้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวโรงเเรมน่าเป็นห่วงสุด 

สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยใน ปี 2563 ว่า มีกำไรสุทธิราว 146,200 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ราว  271,000 ล้านบาท หรือลดลง 46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ปัจจัยหลักๆ มาจากการกันสำรองในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อองรับผลกระทบจาก COVID-19 ต่อคุณภาพหนี้ในระยะต่อไป ประกอบกับผลของฐานสูงจากรายได้จากเงินลงทุนซึ่งเป็นปัจจัยพิเศษในปีก่อน 

โดยระบบธนาคารพาณิชย์ มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2,994.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ 20.1% เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 799.1 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ 149.2% และอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ 179.6%

สำหรับผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) ลดลงมาอยู่ที่ 0.65% จากปีก่อนที่ 1.39% และอัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (NIM) ลดลงมาอยู่ที่ 2.51% จากปีก่อนที่อยู่ที่ 2.73%

ด้านภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ในปีที่ผ่านมา ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.1% จากปีก่อนที่ขยายตัว 2%

สินเชื่อธุรกิจ ขยายตัว 5.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัว 0.8% ปัจจัยหลักจากการเติบโตของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ที่ส่วนหนึ่งกลับมาใช้สินเชื่อแทนการออกตราสารหนี้ในช่วงไตรมาส 2/63

สินเชื่อ SMEs หดตัวในอัตราที่ลดลงจากผลของมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan)

สินเชื่อที่อยู่อาศัย ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามอุปสงค์ในตลาดที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะแนวราบที่ปรับดีขึ้นและแคมเปญการตลาดของผู้ประกอบการ

สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัว 4.6% ลดลงจากปีก่อนที่ขยายตัว 7.5% สอดคล้องกับกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด

คาดว่าจะทยอยปรับดีขึ้นในทุกพอร์ตสินเชื่อ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น หลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

ด้านคุณภาพสินเชื่อลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์ ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL หรือ Stage3) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.233 เเสนล้านบาท คิดเป็น 3.12%

ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม อยู่ที่ 6.62% ส่วนแนวโน้ม NPL นั้นคาดว่าจะทยอยเพิ่มขึ้น จากกลุ่มที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือมีหนี้ที่มีปัญหาที่หลากหลาย

กลุ่มลูกหนี้ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือ ลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างหนัก เช่นกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวเเละโรงเเรม เเม้จะเริ่มฟื้นตัวจากการท่องเที่ยวในประเทศ เเต่เมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ก็ทำให้คนไทยท่องเที่ยวน้อยลง โดยโรงเเรมหรือธุรกิจที่พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 100% ก็ยังต้องรอความคืบหน้าในเรื่องวัคซีน

ทั้งนี้ พอร์ตลูกหนี้กลุ่มธุรกิจโรงแรม มีอยู่ประมาณ 4 แสนล้านบาทในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย

 

]]>
1320360
กำไร “แบงก์ไทย” ลดฮวบ คาดไตรมาส 3 หดตัวลึก -66.5% หาย 6 หมื่นล้าน สิ้นปี “ทรุดกว่า” https://positioningmag.com/1300840 Fri, 09 Oct 2020 09:48:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300840 ธนาคารพาณิชย์ในไทย เจอพิษ COVID-19 ไตรมาส 3 ปีนี้ คาดกำไรสุทธิหดตัวลึก -66.5% หรือลดฮวบลงกว่า 6 หมื่นล้านบาท มองไตรมาสสุดท้าย “ทรุดหนักกว่า” จากเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว คุณภาพหนี้แย่ลง หาทางรับมือหลังหมดมาตรการ “พักหนี้”

จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ ยังคงกดดันความสามารถในการ “ทำกำไร” ของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/2563 โดยรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียม มีแนวโน้มลดลงตามการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในหลายๆ ภาคส่วน นอกจากนี้ รายได้ดอกเบี้ยของทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ยังได้รับผลกระทบมากขึ้น จากทิศทางขาลงของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2562 ด้วย

กำไร “เเบงก์ไทย” ลดฮวบ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกบทวิเคราะห์ ถึงผลประกอบการระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ในไตรมาส 3 /2563 โดยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ จะยังเผชิญแรงกดดันต่อเนื่อง แม้ระดับกำไรสุทธิอาจจะขยับขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2563

โดยคาดว่า กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทย ในไตรมาส 3/2563 จะลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท หรือ -66.5% YoY เมื่อเทียบกับที่มีกำไรสุทธิสูงถึง 9.16 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 3/2562 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง มีกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทประกันซึ่งธนาคารถือหุ้นอยู่

อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิที่ระดับดังกล่าวขยับขึ้นเล็กน้อยประมาณ 3.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกันสำรองฯ ในไตรมาส 3/2563 ของธนาคารพาณิชย์หลายแห่งอาจชะลอลงบางส่วน หลังจากที่มี
นโยบายการตั้งสำรองฯ เชิงรุกในระดับที่สูงมากในไตรมาส 2/2563 ที่ผ่านมา

ขณะที่ “รายได้จากธุรกิจหลัก” ยังคงไม่ฟื้นตัวขึ้นท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ที่โดนกระทบหนักจากวิกฤต COVID-19

สำหรับแนวโน้มในไตรมาสที่ 4/2563 คาดว่า การประคองทิศทางรายได้และกำไรสุทธิ จะเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น เนื่องจากต้องรับมือกับการจัดการปัญหาหนี้เสีย การดูแลปรับโครงสร้างลูกหนี้ ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ และอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นไปพร้อมกัน

Photo : Shutterstock

สินเชื่อ ชะลอตัว – NIM ปรับลด – คุณภาพหนี้แย่ลง

KBANK มองว่า “สินเชื่อ” ของธนาคารพาณิชย์ไทย อาจเติบโตในอัตราที่ชะลอลงมาที่ 4.5-4.8% YoY ในไตรมาส 3/2563 จาก 5.1% YoY ในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากยังต้องประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกค้าที่มาขอสินเชื่อใหม่อย่างระมัดระวัง ประกอบกับมีการทยอยชำระคืนสินเชื่อของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่บางราย

ขณะที่ข้อมูลจากธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนว่าหลังจากมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินทยอยครบกำหนดลง มีลูกหนี้ธุรกิจและรายย่อยบางส่วนเริ่มกลับมาชำระคืนหนี้ในช่วงไตรมาส 3/2563 นี้ด้วยเช่นกัน

โดย NIM ไตรมาส 3/2563 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับประมาณ 2.65-2.70% จาก 2.73% ในไตรมาส 2/2563 เป็นผลต่อเนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงก่อนหน้านี้ ประกอบกับสินเชื่อปล่อยใหม่ส่วนใหญ่ รวมถึงสินเชื่อรีไฟแนนซ์ในระยะนี้ เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง นอกจากนี้ เพดานใหม่สำหรับดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ก็เริ่มมีผลบังคับแล้ว ตั้งแต่เดือนส.ค. 2563 ที่ผ่านมา

ด้าน “คุณภาพสินเชื่อ” ในพอร์ตถดถอยลง ตามสัญญาณอ่อนแอของเศรษฐกิจ คาดว่า สัดส่วน NPLs ของระบบธนาคารไทยในไตรมาส 3/2563 จะขยับขึ้นไปที่กรอบประมาณ 3.25-3.35% จากระดับ 3.21% ในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากยังอยู่ในช่วงของมาตรการพักชำระหนี้ของภาคธุรกิจ ประกอบกับคาดว่า ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะเร่งจัดการปัญหาหนี้เสียในเชิงรุกมากขึ้น ทั้งด้วยวิธีการตัดขายหนี้ด้อยคุณภาพ และเร่งปรับโครงสร้างหนี้

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การตั้งสำรองฯ จะยังอยู่ในระดับสูงในไตรมาส 3/2563 แม้จะมีการตั้งสำรองฯ ก้อนใหญ่ไปแล้วในไตรมาส 2/2563 ดังนั้นสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ต่อสินเชื่อ (Credit Cost) อาจชะลอลงเล็กน้อยมาอยู่ในกรอบประมาณ 1.80-1.95% ในไตรมาส 3/2563 เทียบกับ 2.15% ในไตรมาส 2/2563

“ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ คงเตรียมความพร้อมในส่วนนี้ไว้เพื่อรองรับปัญหาคุณภาพหนี้ ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ทยอยสิ้นสุดลงหลังในเดือนตุลาคมนี้” 

โจทย์ยาก เมื่อ SMEs หมดมาตรการ “พักหนี้”

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เมื่อจบไตรมาส 3/2563 สินเชื่อที่ได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารพาณิชย์จะมีสัดส่วนประมาณ 28.5% ต่อสินเชื่อรวม ลดลงเล็กน้อยจากสัดส่วนประมาณ 31.0% ต่อสินเชื่อรวมในไตรมาส 2/2563 เนื่องจากลูกหนี้บางส่วนกลับมาชำระคืนหนี้ได้ตามปกติหลังมาตรการช่วยเหลือรอบแรกทยอยสิ้นสุดลง

“การประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้บุคคลและลูกหนี้ธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs หลังจากมาตรการพักหนี้สิ้นสุดลง ยังคงเป็นโจทย์ยากและมีความท้าทายสำหรับธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากลูกหนี้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังมีสถานะทางการเงินที่เปราะบาง ขณะที่สัญญาณอ่อนแอทางเศรษฐกิจที่ลากยาวต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้กลุ่มนี้ได้อีกในอนาคต” 

ดังนั้น แม้มาตรการพักชำระหนี้ธุรกิจเป็นการทั่วไปจะทยอยสิ้นสุดลง แต่ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะยังคงให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้ทั้งลูกหนี้ธุรกิจและลูกหนี้รายย่อยในรูปแบบอื่นต่อไป ควบคู่ไปกับการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ตามแนวทางของธนาคาร หรือผ่านโครงการ DR BIZ มาตรการรวมหนี้ ตลอดจนมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 ซึ่งยังสามารถเข้าโครงการได้จนถึงสิ้นปี 2563

โดยหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพิจารณาความสอดคล้องกันระหว่างกระแสรายได้-ภาระหนี้ ซึ่งแยกตามลักษณะของลูกหนี้แต่ละกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและมีจังหวะและโอกาสในการฟื้นธุรกิจแตกต่างกัน

Photo : Shutterstock

ไตรมาสสุดท้าย “ทรุดหนักกว่า” 

การประคองความสามารถในการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ยังคงมีความท้าทายไม่น้อยไปกว่าหลายๆ ไตรมาสที่ผ่านมา เพราะแม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทยอยกลับมาหลังการคลายล็อกดาวน์ แต่ก็เป็นการฟื้นตัวที่เปราะบางมากเพราะแรงขับเคลื่อนพื้นฐานของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ยังไม่สามารถฟื้นกลไกการทำงานกลับมาได้อย่างเต็มที่

“ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ คาดว่าจะยังเป็นช่วงที่ธนาคารมีค่าใช้จ่ายรวมสูงกว่าไตรมาสอื่นๆ เพราะมีทั้งค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ที่น่าจะยังอยู่ในระดับสูง ค่าแคมเปญการตลาด ค่าอุปกรณ์และสถานที่ และรายจ่ายค่าธรรมเนียม ซึ่งท้ายที่สุด คาดว่าจะมีผลกดดันให้กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยติดลบ YoY ต่อเนื่องในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 โดยระดับกำไรสุทธิมีแนวโน้มลดต่ำลงกว่ากำไรสุทธิในไตรมาส 3/2563 ซึ่งคาดไว้ที่ประมาณ 3.08 หมื่นล้านบาท”

 

]]>
1300840
“กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์” รีแบรนด์ใหญ่รอบ 11 ปี เอาใจขาช้อป Gen Y งัดกลยุทธ์สกัด “หนี้เสีย” พุ่ง https://positioningmag.com/1266928 Thu, 05 Mar 2020 15:15:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266928 กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ปรับโฉมใหม่ในรอบทศวรรษ เอาใจ Gen Y – Z งัดกลยุทธ์ดึง DSR 70% กรองลูกค้าใหม่ พักหนี้ช่วยลูกค้าเก่า รับผลกระทบเศรษฐกิจชะลอตัว หวั่นหนี้เสียพุ่งต่อเนื่อง ด้านไวรัส Covid-19 ทำยอดใช้จ่ายผ่านบัตร 2 เดือนเเรกต่ำกว่าเป้า ส่งสัญญาณลูกค้าเริ่มผ่อนชำระหนี้ล่าช้า หวังขยายตลาดใหม่เจาะกลุ่มช่างอิสระ เตรียมลงทุนในฟิลิปปินส์ 

พลิกโฉมแบรนด์-สาขาในรอบ 11 ปี ห่วงคนรุ่นใหม่หนี้ล้น

ในครั้งนี้ถือเป็นการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ มีการปรับโลโก้ และการสื่อสารใหม่ให้ทันสมัยขึ้น ภายใต้แนวคิด “จุดเริ่มต้น คนมีเครดิต” เพื่อเติมความสดใสให้แบรนด์ดูทันสมัย สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ โดยที่กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ได้ทำตลาดมามากกว่า 20 ปี เคยมีการปรับโฉมใหญ่เพียง ครั้งในปี 2009 ภายใต้คอนเซปต์ ‘First Choice เติมเต็มความสุขให้ครอบครัว

เหตุผลที่เลือก “รีเเบรนดิ้ง” ในช่วงนี้ เนื่องจากสภาพปัญหาสังคมในปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มคนไทยเริ่มเป็นหนี้ใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัย Gen Y ซึ่งเป็นลูกค้าส่วนใหญ่ของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ทางแบรนด์จึงตัดสินใจพลิกโฉมแบรนด์ครั้งใหญ่ในช่วงนี้

จากข้อมูลเเนวโน้มการเป็นหนี้ของคนไทย ชี้ว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยสูงถึง 79.1% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้กลุ่มที่น่ากังวล คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มก่อหนี้สูง

โดยข้อมูลสถิติสินเชื่อบุคคลของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ณ สิ้นปี 2561 พบว่า แนวโน้มคนไทยเริ่มเป็นหนี้ใหม่เพิ่มมากขึ้น และอายุน้อยลงโดยเฉพาะกลุ่มคนช่วงอายุ 21 – 24 ปี เพิ่มขึ้นในอัตราเร็วกว่ากลุ่มคนในช่วงอายุอื่น

ข้อมูลนี้สอดคล้องกับข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่ายของกลุ่มคนรุ่นใหม่ของสมาชิกบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ชี้ให้เห็นว่า ลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ (Gen Y & Z) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 68% มีไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายในหมวดกิน ช้อปออนไลน์ ท่องเที่ยวค่อนข้างสูง โดยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรในหมวดท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศสูงเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อเทียบกับหมวดใช้จ่ายอื่น

ณญาณี เผือกขำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด เล่าว่า

“จากประสบการณ์กว่า 20 ปีในภาคการเงินไทย เรามองเห็นความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยที่สูงขึ้นต่อเนื่องในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จึงเป็นที่มาของการตัดสินใจพลิกโฉมแบรนด์ครั้งยิ่งใหญ่ในปีนี้” 

เน้นสไตล์มินิมอล ดึงดูดคนรุ่นใหม่ 

ด้าน อธิป ศิลป์พจีการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริหารธุรกิจกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ กล่าวว่า การพลิกโฉมแบรนด์ครั้งนี้ มีคอนเซ็ปต์ “จุดเริ่มต้น คนมีเครดิต” ปรับให้ดูทันสมัยขึ้นตามไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ เเละต้องการยกระดับภาพลักษณ์ใหม่จากการเป็น “ผู้ให้บริการสินเชื่อ” ไปเป็น “ผู้ช่วยสร้างเครดิต” เพื่ออนาคตทางการเงินที่ดีของลูกค้า โดยจะมีการเปลี่ยนเเปลงเเบรนด์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ หน้าบัตร สาขาเเละยูนิฟอร์มพนักงาน 

“การปรับชุดยูนิฟอร์ม จะเปลี่ยนจากเดิมที่ดูเป็นทางการและเข้าถึงยาก ให้ดูลำลอง ทันสมัย เข้าถึงได้ง่ายขึ้น สวมใส่สบายทั้งสำหรับพนักงานหญิงชาย ส่วนสาขากรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ปรับให้ดูสว่าง มินิมอล ทันสมัย และดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่ โดยทั้งชุดพนักงานและสาขาเริ่มมีการทยอยปรับเปลี่ยนตั้งแต่เดือน ก.. และจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ ปีนี้”

ไฮไลต์สำคัญอีกอย่าง คือการจับมือกับ “ซันเต๋อ ยศนันท์ วุฒิกรสมบัติกุล” นักวาดภาพประกอบชื่อดังให้มาดีไซน์ของสมนาคุณพิเศษเพื่อลูกค้าบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์โดยเฉพาะ

“เป็นครั้งแรกของเฟิร์สช้อยส์ที่จับมือกับนักออกแบบในการออกสินค้าพรีเมียมให้เป็นลิมิเต็ดอิดิชั่น เพื่อให้ตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งคุณซันเต๋อ เป็นเจ้าของลายเส้นที่มีเอกลักษณ์สะท้อนชีวิตของคนยุคนี้ โดดเด่นเรื่องความมินิมอล มีผลงานเป็นที่นิยมเเละเป็นเเรงบันดาลใจในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จึงตอบโจทย์รสนิยมของลูกค้าของเราได้เป็นอย่างดี”  

“โลโก้รูปแบบใหม่ของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ที่เป็นสัญลักษณ์บูมเมอแรงนั้น สะท้อนความเชื่อของแบรนด์ที่ว่า คนที่มีเครดิตทางการเงินที่ดีควรจะได้รับโอกาสและสิ่งดี ๆ กลับคืน”

นอกจากนี้ จะมีการออกบริการใหม่ผ่านแอปพลิเคชัน UCHOOSE เพื่อแจ้งสถานะสุขภาพทางการเงินของลูกค้า และบริการแจ้งเตือนเมื่อมีการใช้จ่ายสูง (Spending Alert) ซึ่งนับครั้งแรกที่มีในบรรดาสถาบันการเงิน หวังช่วยให้ลูกค้าระวังการใช้จ่ายของตนเองได้เเละเห็นความสำคัญของการมีสุขภาพทางการเงินที่ดี

ปรับวิธีอมุมัติสินเชื่อใหม่

ณญาณี เสริมว่า ตั้งเเต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญปัจจัยลบหลายด้าน ทั้งการระบาดของไวรัส Covid-19 ปัญหาฝุ่น PM2.5 ภัยเเล้งเเละภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้คนใช้จ่ายน้อยลงกำลังซื้อในประเทศลด

“ฐานลูกค้าเราส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ บริษัทจึงต้องวางกลยุทธ์เเผนธุรกิจใหม่ ทั้งการปรับภาพลักษณ์ของเเบรนด์ เข้าหาลูกค้าช่องทางอื่น เเละมีนโยบายดูแลลูกค้าไม่ให้มีการสร้างภาระค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น”

โดยกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ จะมีได้ปรับวิธีการอนุมัติสินเชื่อใหม่ (Approve) โดยเพิ่มเกณฑ์การพิจารณาตามสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) อยู่ที่ 70% ซึ่งจะส่งผลให้ยอดอนุมัติบัตรใหม่ลดลง -10% เหลืออยู่ที่ 3.35 แสนบัญชี (ลดลงครั้งเเรกในรอบ 10 ปี) เพื่อคัดสรรลูกค้าที่มีศักยภาพเเละจะไม่ก่อเป็นหนี้เสียในอนาคต รวมถึงเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในกระบวนการอนุมัติสินเชื่อด้วย

การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ สร้างความกังวลเรื่อง “สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้” (NPL) ที่มีเเนวโน้มจะเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันอยู่ที่ 2.8% เพิ่มขึ้นจากปลายปีก่อน 0.14% และยังมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นได้อีก จากปัจจัยลบต่างๆ

“ช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้เราเห็นแนวโน้มว่า มียอดค้างชำระสินเชื่อเพิ่มขึ้น ผลต่อเนื่องจากปีก่อนที่เศรษฐกิจที่ชะลอตัว โรงงานหรือบริษัทหลายเเห่งปิดตัวทำให้ลูกค้าได้รับผลกระทบ โดยคาดว่าจะเป็นเช่นนี้ไปถึงเดือน มี.ค. เเละ เม.ย. จากผลกระทบของ COVID-19 ด้วย”

โดยบริษัทได้ออกมาตรการช่วยเหลือทั้งการพักชำระหนี้ ลดภาระการชำระหนี้ เช่น การพักชำระหนี้ 3 เดือน และลดการผ่อนขั้นต่ำเหลือ 3% ให้ผ่านช่วงนี้ไปได้ “เราเริ่มเห็นสัญญาณว่าลูกค้าบางกลุ่มที่ทำงานในภาคท่องเที่ยว โรงเเรม เริ่มมีการผ่อนชำระลดลง ขณะที่ส่การใช้จ่ายผ่านบัตรหมวดห้างสรรพสินค้าอาจจะปรับลดลงบ้าง เเต่ยอดออนไล์ยังเหมือนเดิม”

สำหรับปี 2563 บริษัทยังตั้งเป้าหมายยอดใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ที่ 1.02 แสนล้านบาท คิดเป็นการเติบโตในอัตรา 11% แบ่งเป็นบัตรเครดิต 20% สินเชื่อผ่อนชำระและกดเงินสดเติบ 8% ส่วนยอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 6.3 หมื่นล้านบาท เติบโต 5% ซึ่งลดลงจากปี 2562 อยู่ที่ 6.04 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตที่ 12%

“การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของประชาชน ถ้ายังต่อเนื่องไปถึงเดือน เม.ย. คาดว่า ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของเราคงเติบโตชะลอลงอยู่ที่ 5% ต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ ซึ่งตอนนี้ก็เริ่มเห็นสัญญาณเเล้วในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาว่าเติบโตเพียง 8% จากเป้า 11%” 

ขณะที่ภาพรวมธุรกิจและการดำเนินงานในปี 2562 ที่ผ่านมา กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ มียอดสินเชื่อและยอดใช้จ่ายผ่านบัตร 91,600 ล้านบาท เติบโต 13% เมื่อเทียบกับปี 2561 มียอดสินเชื่อคงค้าง 60,400 ล้านบาท เติบโต 12% เทียบกับปีก่อน มีสินเชื่อตามแผนผ่อนชำระ 63,800 ล้านบาท เติบโต 10% มีจำนวนบัตรใหม่ 396,000 ล้านบัตร มียอดบัตรรวม 2.34 ล้านบัตร ส่วนยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 27,800 ล้านบาท เติบโต 23% โดยกลุ่มที่มีการเติบโตสูงคือ “กลุ่มท่องเที่ยวเเละช้อปปิ้งออนไลน์”

ขยายเจาะกลุ่มช่างอิสระ-ตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลโต 

เมื่อถามถึงการลงทุนในอาเซียน ผู้บริหารกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ตอบว่าเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพมาก เพราะตลาดในไทยเริ่มอิ่มตัว โดยตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงเจรจากับพาร์ตเนอร์ที่ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีความคืบหน้าไปมาก โดยจะเป็นการลงทุนเเบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture)

ส่วนการขยายกลุ่มลูกค้านั้น ทางกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์กำลังเล็งจะเจาะตลาด “กลุ่มช่าง” ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว ไม่ใช่พนักงานเงินเดือน โดยมีการร่วมมือกับ “เมกาโฮม” ศูนย์วัสดุก่อสร้างเเละของใช้ในบ้าน เพื่อหาลูกค้าใหม่ที่มียอดมาใช้จ่ายซื้อสินค้าอย่างสม่ำเสมอ ข้อมูลการซื้อของเพื่อนำมาพิจารณาการให้สินเชื่อได้ โดยจะเริ่มกลางเดือน มี.ค.นี้ ตั้งเป้าหาลูกค้าใหม่ได้ 2 หมื่นคน จากยอดรวม 2 เเสนคน

ด้านภาพรวมตลาด “สินเชื่อส่วนบุคคล” มียอดเติบโต 8% เทียบกับปีที่แล้ว ส่วนยอดเติบโตของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์มียอดเติบโตกว่า 12% ถือว่าอัตราการเติบโตสูงกว่าตลาดกว่า 50%

]]>
1266928