ออมเงิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 02 Jul 2024 06:58:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แก้แค้นแบบใด? วัยรุ่นจีนหันมา ‘ออมเงิน’ เพื่อแก้แค้น แทนการซื้อของตามอารมณ์ https://positioningmag.com/1480646 Tue, 02 Jul 2024 04:22:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1480646 ช่วงหลังจากการระบาดของโควิด เราน่าจะเคยได้ยินเทรนด์ เที่ยวแก้แค้น หรือ ช้อปแก้แค้น เพื่อระบายความอัดอั้นที่ต้องอยู่แต่บ้านในช่วงเวลานั้น แต่จากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก โดยเฉพาะในจีน ทำให้วัยรุ่นชาวจีนหันมาแก้แค้นแบบใหม่ด้วยการ ออมเงิน

แทนที่จะฟุ่มเฟือยในการ ซื้อของตามอารมณ์ แต่คนรุ่นใหม่ของจีนกลับ ออมเงินอย่างบ้าคลั่ง โดยจะเริ่มเห็นได้จากบนโซเชียลมีเดียในจีน ที่เหล่าวัยรุ่นได้ตั้งเป้าหมายการออมเงินในแต่ละเดือนไว้สูงลิ่ว หลังจากที่ เศรษฐกิจของ จีน ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกยังคงอยู่ในภาวะถดถอย

อาทิ Little Zhai สาวจีนวัย 26 ปี ที่พยายามคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ที่เพียง 300 หยวน/เดือน (ราว 1,500 บาท) โดยผู้ใช้โซเชียลฯ หลายรายก็จะช่วยกันแชร์พิกัดร้านที่ขายสินค้าราคาถูก เช่น การรับประทานอาหารที่โรงอาหารของชุมชน เป็นต้น

“วัยรุ่นจีนในช่วงทศวรรษ 2010 มักจะใช้เงินมากกว่าที่หาได้และกู้เงินมาซื้อของหรูหรา เช่น กระเป๋า Gucci และ iPhone ของ Apple แต่ตอนนี้ วัยรุ่นจีนกลับเริ่มออมเงินมากขึ้น ออมเงินเพื่อแก้แค้น” ชอน เรน กรรมการผู้จัดการของ China Market Research Group กล่าว

สัญญาณอื่น ๆ ที่บ่งบอกว่าชาวจีนรุ่นใหม่กำลังรัดเข็มขัดทางการเงิน ได้แก่ คำศัพท์ที่กำลังเป็นกระแส เช่น ลดการบริโภคลง และ เศรษฐกิจที่ประหยัด ซึ่งหมายถึง การพยายาม ลดการใช้จ่ายอย่างมีสติ มากขึ้น และการ แสวงหาส่วนลด และข้อเสนอพิเศษเมื่อจับจ่ายซื้อของ 

อีกข้อมูลที่บ่งชี้ว่าวัยรุ่นจีนหันมาออมเงินมากขึ้นก็คือ จำนวนเงินฝากรวมที่เพิ่มขึ้น โดยรายงานล่าสุดของ ธนาคารประชาชนจีน ระบุว่า เงินฝากหยวนรวมของครัวเรือนในไตรมาสแรกของปี 2024 เติบโตขึ้น +11.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี 

อย่างไรก็ตาม เทรนด์ดังกล่าวนั้นอาจพูดไม่ได้เต็มปากว่าเกิดจากความต้องการของเหล่าวัยรุ่น เพราะ ตลาดแรงงานจีน อยู่ในภาวะตึงตัว ซึ่งส่งผลเสียต่อคนรุ่นใหม่เป็นพิเศษ ดังนั้น วัยรุ่นบางคนที่หันมาออมเงินมากขึ้นเป็นเพราะ หางานไม่ได้ หรือพบว่า การหารายได้เพิ่มเป็นเรื่องยาก 

“การที่คนไม่ยอมใช้เงินเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงที่จีน โดยกับบางคนเป็นเพราะพวกเขาหางานไม่ได้ หรือพวกเขาพบว่าการเพิ่มรายได้เป็นเรื่องยากขึ้น พวกเขาจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากใช้เงินน้อยลง” เจีย เมียว ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กเซี่ยงไฮ้ กล่าว 

โดยในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา อัตราการว่างงานของเยาวชนอายุ 16-24 ปี ของจีนอยู่ที่ 14.2% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ 5% ขณะที่เงินเดือนเฉลี่ยของนักศึกษาปริญญาตรีที่ได้รับอยู่ที่ 6,050 หยวน (30,000 บาท) เพิ่มขึ้น 1%

อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมขอวัยรุ่นจีนนั้นตรงกันข้ามกับแนวโน้มที่กว้างขึ้นในกลุ่มคน Gen Z ทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ Gen Z ถึง 73% กล่าวว่า พวกเขาอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมากกว่ามีเงินในธนาคารมากขึ้น 

Source

]]>
1480646
การตลาดกับการ์ตูน “PEANUTS” คาแรกเตอร์ มาร์เก็ตติ้งสุดคิวท์ที่ครองใจคนมานานกว่า 70 ปี https://positioningmag.com/1364748 Wed, 01 Dec 2021 11:00:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364748

มีตัวละครการ์ตูนไม่มากบนโลกนี้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก และครองใจคนมาได้ถึง 7 ทศวรรษ แถมยังมีคาแรกเตอร์ที่เหมาะสม สามารถนำไปเป็น “คาแรกเตอร์ มาร์เก็ตติ้ง” ได้กับสารพัดผลิตภัณฑ์ การ์ตูนเรื่อง “PEANUTSคือหนึ่งในคาแรกเตอร์นั้น ด้วยความน่ารักของ ชาร์ลี บราวน์ สนูปปี้ และเหล่าผองเพื่อน ทำให้คนหลงรักพวกเขามาทุกยุค

บนหน้าหนังสือพิมพ์วันอาทิตย์เมื่อปี 1950 ปรากฏการ์ตูนช่องเรื่อง PEANUTS ขึ้นเป็นครั้งแรก และหลังจากนั้นเหล่าผองเพื่อนของ ชาร์ลี บราวน์’ ก็กลายเป็นที่รักของผู้คนมากขึ้นและกว้างขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปี 2000 ปีที่ “ชาร์ลส เอ็ม. ชูลซ์” ศิลปินผู้รังสรรค์การ์ตูนเรื่องนี้เสียชีวิต PEANUTS ก็ถูกเผยแพร่ไปแล้วถึง 75 ประเทศทั่วโลก มีการแปล 21 ภาษา และคาดว่ามีผู้อ่านสะสมถึง 355 ล้านคน!

PEANUTS เป็นการ์ตูนสั้นจบในตอน มีตัวเอกเป็นเด็กๆ และ “สนูปปี้” สุนัขพันธุ์บีเกิลสีขาว เรื่องราวแต่ละตอนเป็นมุกตลกน่ารักๆ ที่เรียกรอยยิ้มให้ผู้อ่าน จนกระทั่งปี 1965 จึงมีการสร้างอนิเมชันภาพเคลื่อนไหวลงบนจอโทรทัศน์ (ปัจจุบัน Apple TV+ นำลิขสิทธิ์กลับมาฉายใหม่ในสตรีมมิ่ง)

“รอซ โนวิสกี้” EVP บริษัท PEANUTS Worldwide เจ้าของลิขสิทธิ์การ์ตูนในปัจจุบัน อธิบาย DNA ของแบรนด์ PEANUTS ไว้ว่า เป็นการ์ตูนที่ “อ่อนโยนและอ่อนหวาน แต่ตรงไปตรงมาอย่างมาก” การ์ตูนสั้นเหล่านี้สร้างความรู้สึกอบอุ่นและเบิกบานใจ แต่ขณะเดียวกันก็มีการจิกกัดแบบแสบๆ คันๆ แฝงอยู่ด้วย


โปรโมตได้หมดตั้งแต่ “มักกะโรนี” จนถึง “ประกัน”

ความน่ารักของเหล่า PEANUTS ทำให้แบรนด์สนใจนำตัวละครไปใช้เป็น “คาแรกเตอร์ มาร์เก็ตติ้ง” เริ่มครั้งแรกเมื่อปี 1955 กล้องถ่ายรูป Kodak ใช้ตัวละคร PEANUTS ประกอบคู่มือการใช้งาน หลังจากนั้นการ์ตูน PEANUTS ก็งานชุกสุดๆ เหล่าผองเพื่อนได้ไปปรากฏบนแคมเปญโฆษณาหรือเป็นลายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ครอบคลุมสารพัดอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ Ford Falcon, ลายการ์ดอวยพรของ Hallmark, มักกะโรนีชีสของ Kraft, รูทเบียร์ของ A&W เป็นต้น

แต่สัญญาการใช้ลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ มาร์เก็ตติ้งที่ยิ่งใหญ่และยาวนานที่สุดของ PEANUTS ต้องยกให้สัญญากับ MetLife Insurance บริษัทประกันที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา คาแรกเตอร์ใน PEANUTS ทำสัญญากับแบรนด์ตั้งแต่ปี 1985 จนถึงปี 2006 ยาวนานถึง 31 ปี! พวกเขาได้เป็นทั้งมาสคอต พรีเซนเตอร์ แสดงหนังโฆษณา เป็นสินค้าพรีเมียม ฯลฯ เรียกว่าเป็นทุกอย่างให้ MetLife จนถึงวันที่ต้องแยกย้ายจากกัน

ตัวอย่างโฆษณา MetLife ที่ใช้คาแรกเตอร์ PEANUTS

เห็นได้ว่า PEANUTS แม้คาแรกเตอร์ในเรื่องจะเป็นกลุ่มเด็กๆ แต่ไม่ใช่การ์ตูนที่เจาะกลุ่มเด็กเท่านั้น แต่เป็นการ์ตูนที่ผู้ใหญ่ก็หลงรัก จนสินค้าที่เป็นสินค้าของผู้ใหญ่อย่างประกันหรือรถยนต์ก็เลือกใช้ เนื่องจากสนูปปี้หรือชาร์ลี บราวน์ทำให้ผู้บริโภครู้สึกดีกับแบรนด์ รู้สึกว่าเป็นแบรนด์ที่เข้าถึงง่าย เป็นมิตร และซื่อตรงนั่นเอง

แม้ว่าการ์ตูนช่อง PEANUTS จะหยุดการผลิตไปพร้อมกับการเสียชีวิตของชูลซ์ แต่เหล่าผองเพื่อนสุดคิวท์เหล่านี้ก็ยังอยู่ในใจคนและโลดแล่นต่อไปในโลกการตลาด โดยมีผู้ติดตาม 13.7 ล้านคนบน Facebook Page ‘Snoopy’ และตัวละคร “สนูปปี้” คือหนึ่งในไม่กี่คาแรกเตอร์บนโลกที่คนจะนึกออกทันทีแม้เห็นแค่เงาตัวละคร United Media บริษัทผู้ดูแลการทำสัญญาลิขสิทธิ์ของ PEANUTS ทั่วโลกยังระบุด้วยว่า ปัจจุบัน PEANUTS ยังมีสัญญาใช้ลิขสิทธิ์อยู่มากกว่า 600 รายการ


“สนูปปี้” กับคอลเลกชันสุดคิวท์ล่าสุดจาก KBank

ในไทยก็มีการนำลิขสิทธิ์จาก PEANUTS มาใช้ในการสร้างคาแรกเตอร์ มาร์เก็ตติ้งเช่นกัน เพราะแบรนด์ที่นำคาแรกเตอร์ของสนูปปี้และแก๊งเพื่อนมาใช้ มักจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกดีกับแบรนด์ ให้ภาพลักษณ์ที่เป็นมิตร ซื่อสัตย์ อบอุ่น เรียกรอยยิ้ม และยังเป็นตัวละครที่คนรู้จักในวงกว้าง มีความน่ารักสุดคิวท์ที่ทำให้แฟนๆ อดใจไม่ไหว ต้องซื้อหาสินค้ามาสะสมในคอลเล็กชัน

คาแรกเตอร์ของแก๊ง PEANUTS เป็นจุดเด่นที่ทำให้ “KBank” เลือกที่จะคอลแลปกับแคมเปญล่าสุด KBank x PEANUTSซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปีที่คาแรกเตอร์ PEANUTS มีการทำแคมเปญการตลาดร่วมกับธุรกิจธนาคารหรือการเงินในทวีปเอเชีย การใช้คาแรกเตอร์นี้ของ KBank จึงสดใหม่ไม่ซ้ำใครในแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการกรุยทางเข้าถึงกลุ่มสาวก PEANUTS หรือแฟนคลับสนูปปี้เท่านั้น แต่การ Collaboration ครั้งนี้ยังน่าจะเปิดการเปิดโอกาสให้ KBank รุกคืบเข้าไปครองใจกลุ่มลูกค้าสายคิ้วท์ได้ด้วย

การคอลแลปกับคาแรกเตอร์การ์ตูนของ KBank ยังมีความต่อเนื่องมาหลายปี ที่ผ่านมา KBank มีแคมเปญบัตรเดบิตลายพิเศษเป็นประจำทุกปี ไม่ว่าจะเป็นลายเครยอน ชินจัง, ONE PIECE, โปเกมอน, โดราเอมอน, Angry Bird ฯลฯ ทำให้ KBank สามารถสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่น่ารัก สนุกสนาน และเป็นมิตร ครองใจผู้บริโภคมาได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับแคมเปญประจำปีนี้ยังมัดใจลูกค้าด้วยความคิวท์กันต่อกับ KBank x PEANUTS” ที่ออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินมาเชื้อเชิญให้ลูกค้าสะสมคาแรกเตอร์สุดคิ้วท์ ด้วยการชวนเข้าแก๊งสมัครบัตรเดบิต KBank X PEANUTS หรือออมเงินกับแก๊ง PEANUTS รายละเอียดมีอะไรบ้าง ตามไปชมกันเลย

1.บัตรเดบิต KBank x PEANUTS

ผู้สมัครบัตรเดบิต KBank x PEANUTS ทุกประเภทจะได้รับ บัตรเดบิตลาย Snoopy 1 ใบ ที่มีให้เลือกถึง 5 แบบ 5 สี, ธีมในแอป K PLUS ลายตามหน้าบัตรที่เลือก ซึ่งต้องบอกเลยว่าน่ารักทุกใบ น่าใช้ทุกธีม และได้สิทธิแลกของพรีเมียม Snoopy Limited Edition บน K+ Market ที่สงวนไว้ให้เฉพาะชาวแก๊ง KBank x PEANUTS เท่านั้น

ทั้งนี้ สำหรับบัตรเดบิตแต่ละประเภทจะได้รับเซ็ตของพรีเมียมและสิทธิพิเศษเพิ่มเติมแตกต่างกันตามประเภทของบัตร ดังนี้

  • บัตรเดบิต KBank x PEANUTS (ค่าแรกเข้า 100 บาท ค่ารายปี 300 บาท) : รับซองใส่บัตรลาย Snoopy
  • บัตรเดบิต KBank x PEANUTS Special (ค่าแรกเข้า 200 บาท ค่ารายปี 300 บาท) : รับกระเป๋าผ้าพับได้และ Card Holder ลาย Snoopy พร้อมคะแนน K Point 500 คะแนน
  • บัตรเดบิต KBank x PEANUTS MAX PLUS (ค่าแรกเข้า 200 บาท ค่ารายปี 700 บาท) : รับกระเป๋าโน้ตบุ๊กลาย Snoopy และ Card Holder ลาย Snoopy พร้อมประกันอุบัติเหตุคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท และคะแนน K Point 1,000 คะแนน

ความพิเศษอีกอย่างของบัตรเดบิต KBank x PEANUTS คือเป็นบัตรเดบิตใบแรกในไทยที่สะสมพ้อยท์ได้ ลูกค้าที่ใช้จ่ายผ่านบัตรสามารถสะสมคะแนน K Point ได้ ยิ่งใช้มากก็ยิ่งได้รับ K Point สะสมมากขึ้น สูงสุด 600 K Point ต่อเดือน โดยคะแนนเหล่านี้สามารถไปแลกรับส่วนลดจากร้านดังมากมายใน K+ market แต่ที่พิเศษเฉพาะชาวแก๊ง KBank x PEANUTS ก็คือสามารถนำไปแลกของพรีเมียมลิมิเต็ดสุดคิวท์ของ Snoopy ใน K+ market ได้

Card Holder สำหรับผู้สมัครบัตรเดบิต KBank x PEANUTS ประเภท Special และ MAX PLUS

2.ออมเงินกับแก๊ง PEANUTS

มีทั้งหมด 2 ประเภทบัญชีที่เข้าร่วมรายการ ดังนี้

  • บัญชี “เงินฝากทวีทรัพย์ KBank x PEANUTS”ป็นบัญชีฝากประจำเท่าๆ กันทุกเดือน เป็นระยะเวลา 24 เดือน ส่งเสริมให้ลูกค้าเริ่มต้นออมเงินง่ายๆ ที่ 500 บาทต่อเดือน พร้อมสมัครบริการหักบัญชีอัตโนมัติจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน ก็จะได้รับดอกเบี้ยไม่เสียภาษี 1.25% ต่อปี: และรับทันทีสมุดบัญชีเงินฝากและธีม K PLUS ลายประจำแก๊ง PEANUTS พร้อม K Point สูงสุด 1,000 คะแนน แล้วยังได้สิทธิใช้ K Point ไปแลกของพรีเมียม Snoopy Limited Edition ใน K+ market ได้เช่นกัน
  • บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ KeSavingsซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากออนไลน์ที่สมัครได้ด้วยตัวเองใน K PLUS รับดอกเบี้ยสูงสุด 1.5% ต่อปี : รับธีม K PLUS ลายประจำแก๊ง PEANUTS ไปใช้คิวท์ๆ เลย

คราวนี้แฟนๆ PEANUTS จะได้มีธีมน่ารักๆ ไว้ใช้งาน ส่งสลิปหรือแคปหน้าจอให้ใครก็จะเป็นลายสนูปปี้สุดคิวท์ ดูแล้วอบอุ่นหัวใจทุกครั้งที่เปิดแอปฯ ใช้งาน แถมยังได้ของพรีเมียมไปสะสมกันอีกด้วยนะ สนใจสมัครเข้าแก๊ง หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://kbank.co/3Ctgc3d

]]>
1364748
เปิดอินไซต์ ‘ออมเงิน’ ของคนรุ่นใหม่ในเเอปฯ ‘Kept’ เเย้มโอกาสเพิ่มบริการออม ‘คริปโต’ https://positioningmag.com/1364775 Wed, 01 Dec 2021 09:29:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364775 เปิดอินไซต์พฤติกรรมผู้ใช้งาน แอปฯ “Kept by krungsri” เเพลตฟอร์มบริหารจัดการเงิน ช่วยคนรุ่นใหม่ ‘ออมเงิน’ ได้ง่ายขึ้น หลังเปิดตัวมาได้ครบ 1 ปี กับฐานลูกค้า 2.2 แสนราย บัญชีใหม่ 5 แสนบัญชี ตั้งเป้าอีก 3 ปีข้างหน้า ดึงลูกค้าเพิ่มเป็น 1 ล้านราย เงินฝากรวมแตะ 3 แสนล้านบาท เเย้มกำลังศึกษาถึงการออกผลิตภัณฑ์การลงทุนทางเลือกใหม่ เมื่อคนหันสนใจคริปโตเคอร์เรนซีมากขึ้น

Kept มีรูปแบบการออมเงิน ตามแนวคิด ‘1 กระเป๋า หลายกระปุก’ ให้ลูกค้าตั้งเป้าหมายการออมได้ เน้นการใช้งานง่าย มีลูกเล่นเพื่อความสนุก และฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การเก็บออมเงินหลากหลาย โดยปัจจุบันกว่า 80% ของผู้ใช้งาน Kept เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Y และ Gen Z จำนวนการทำรายการเติบโตมากกว่า 3 เท่า เเละมียอดเงินฝากอัตราการเติบโต 100% จากสิ้นปีก่อน

ท่ามกลางการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของคนไทยเปลี่ยนไปพอสมควร ‘ดมิศา พิศิษฐวานิช’ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านผลิตภัณฑ์และการตลาดลูกค้ารายย่อย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้ข้อมูลว่า คนไทยเริ่มให้ความสำคัญในการออมมากขึ้น มีการประหยัด ลดการใช้จ่ายและหันมาเก็บออมเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็หันมาใช้ดิจิทัลในการบริหารจัดการเงิน พร้อมๆ กับการมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นในทุกช่วงวัย

จากข้อมูลของ We are Social เเละ Hootsuite พบว่า ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ปี 2563 คนไทยทำธุรกรรมผ่านโมบายเเบงกิ้งเป็นอันดับ 1 ของโลก คิดเป็น 68.1% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต โดยประเด็นที่น่าสนใจคือ 74.7% ตอบว่ามีเงินออม เเต่มีเพียง 38% เท่านั้นที่มีเงินออมเผื่อฉุกเฉินเพียงพอ เเละ 84.7% บอกมีการวางเเผนออมเพื่อเกษียณ เเต่ในจำนวนนี้ มีเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น ที่สามารถทำได้จริงตามเเผน

เก็บเงินฉบับคน Gen Y – Z 

หลังแอปฯ “Kept” ที่เปิดให้บริการมาได้ 1 ปี พบว่ามีรายการเก็บเงินอัตโนมัติสูงถึง 5 ล้านครั้ง โดยฟังก์ชันที่ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากลูกค้ามากที่สุด คือ ‘การได้เห็นดอกเบี้ยทุกวัน’ ทำให้มีกำลังใจในการเก็บเงินมากขึ้น ใช้สนุกเหมือนเล่นเกม เปิดบัญชีได้ง่ายเเละบริการช่วยเหลือด้วย Live Chat

สำหรับพฤติกรรมลูกค้าการใช้แอปฯ Kept และการบริหารเก็บออมที่น่าสนใจ คือ นิยมใช้บริการ NDID เป็น
ช่องทางยืนยันตัวตนที่ไช้ในการสมัครแอปมากที่สุด เเละ Live chat เป็นก็ช่องทางการติดต่อที่ลูกค้านิยมที่สุด

ส่วนสไตล์การออมเงินของ Gen Y พบว่ากว่า 70% ของเงินเก็บมาจากการ ‘ตั้งใจเก็บ’ และ 30% ของลูกค้า
ที่ฝากเงินเข้ากระปุก Grow ไม่เคยถอนเลย ตรงข้ามกับ Gen Z ที่กว่า 70% ของเงินเก็บมาจาก ‘การแอบเก็บไม่รู้ตัว’ เช่นการใช้โหมดเเอบเก็บครั้งละ 10 บาท เเอบเก็บ 10% ในทุกการใช้จ่าย เเละสั่งเก็บวันละ 10 บาท

โดยเฉลี่ยลูกค้า Gen Y จะฝากเงินเฉลี่ย 5 หมื่นบาท ซึ่งสัดส่วนลูกค้าผู้หญิงจะเน้น ‘เก็บเงินบ่อยๆ’ แต่กลุ่มลูกค้าผู้ชายจะเน้น ‘เก็บเยอะ’ ไม่บ่อยเเต่วงเงินสูงกว่า

Kept ตั้งเป้าผู้ใช้ ‘ล้านราย’ ในปี 67

จากแนวโน้มพฤติกรรมการใช้ดิจิทัลเเบงกิ้ง ธนาคารจึงตั้งเป้าจะมีจำนวนผู้ใช้งาน “Kept by krungsri” ภายในปี 2567 เพิ่มเป็น 1 ล้านคน และจำนวนการเปิดบัญชีใหม่อยู่ที่ 3 ล้านบัญชี และมียอดเงินฝากที่ 3 แสนล้านบาท ตามภารกิจสนับสนุนคนไทยให้เก็บออมอย่างเป็นระบบ

“Kept by krungsri” มีฟีเจอร์หลักๆ ได้แก่ บัญชี Kept ที่เอาเงินไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน บัญชี Grow เป็นกระปุกเก็บเงินก้อนรับดอกเบี้ยสูง 1.5% และบัญชี FUN กระปุกไว้เก็บเล็กผสมน้อยสามารถเก็บอัติโนมัติทุกวัน

เเละเพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้งานมากขึ้น ได้มีการได้เปิดตัวบัญชีใหม่ Together savings หรือกระปุก Together เป็นกระปุกที่ดีไซน์ฟีเจอร์ให้ตอบโจทย์การเก็บออมเงินแบบมีเป้าหมายจะเก็บคนเดียว หรือจะเป็นกลุ่ม กับเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก

โดยทุกคนในกลุ่มสามารถดูยอดเงินในกระปุก มองเห็นการเข้าออกของเงินร่วมกัน และยังสามารถใส่ Note เมื่อทำรายการเพื่อช่วยให้รู้ว่าใช้เงินไปกับอะไรบ้าง หรือได้เงินเพิ่มเข้ามาจากอะไร และจะมีการแจ้งเตือนไปยังสมาชิกเมื่อมีเงินออกทุกครั้ง

ทั้งนี้ กระปุก Together ไม่ใช่บัญชีร่วม แต่เปิดให้คนสนิทเข้ามามีส่วนร่วมดูและเก็บออมร่วมกันเพื่อเป้าหมายเดียวกัน

ศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ ‘ออมคริปโต’

เมื่อถามว่า จากเเนวโน้ม ‘เงินเฟ้อ’ ที่เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้คนเลือกออมเงินน้อยลง หรือเลือกไปลงทุนสินทรัพย์อื่นๆ
Kept มีกลยุทธ์การรับมืออย่างไรบ้าง ผู้บริหารกรุงศรีฯ ตอบว่า จะมีการพัฒนานวัตกรรมเเละเพิ่มฟีเจอร์หลากหลาย
ตอบโจทย์ ความสะดวกสะบาย การบริการเเละผลตอบเเทนดอกเบี้ย รวมไปถึงการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนใหม่ๆ ที่ลูกค้าสนใจ เเต่อย่างไรลูกค้าก็ยังต้องการมีกระเป๋าไว้ออมเงินที่มั่นคงเพื่อใช้ยามฉุกเฉินด้วย

โดยธนาคารยังคงดูอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับภาพรวมตลาด และทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ในช่วงที่ผ่านมากลุ่มลูกค้าหลักอย่าง Gen Y และ Gen Z สอบถามถึงการลงทุนเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตเคอร์เรนซีเข้ามามาก ซึ่งทางธนาคารกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาโอกาสและแนวทางการออมคริปโตฯ เพราะในเครือกรุงศรีฯ เองก็มีการลงทุนในอีโคซีสเต็ม อย่าง zipmex , ฟินโนเวต ฯลฯ ซึ่งจะต้องมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การให้บริการเป็นไปตามกฎระเบียบ มองหาโอกาสต่อยอดเงินที่เหมาะสม “ต้องติดตามว่า Kept จะต่อยอดต่อไปอย่างไร เพราะเสียงจากลูกค้าจะเป็นตัวชี้นำให้เรา”

 

]]>
1364775
‘ผ่อนทองผ่านไลน์’ CLICK2GOLD น้องใหม่จากค่ายซิงเกอร์-ออโรร่า จับนิวเจนสายฟรีแลนซ์ https://positioningmag.com/1352182 Thu, 16 Sep 2021 13:10:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352182 ทางเลือกการลงทุนยุคโควิดกับ ‘CLICK2GOLD’ ผ่อนทองผ่านเเพลตฟอร์มไลน์ นานสูงสุด 24 เดือน มุ่งจับตลาดนิวเจนสายฟรีแลนซ์ยูทูบเบอร์อินฟูลฯขยายช่องทางออนไลน์ หาลูกค้าใหม่ต่อยอดฐานเก่าซิงเกอร์ ตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อรวมโตเเตะหมื่นล้านปีนี้

CLICK2GOLD เปิดตัวมาด้วยสโลเเกนผ่อนทองสะดวก รับทองสบายเป็นบริการใหม่ล่าสุดจากเอสจี แคปปิตอลบริษัทในเครือซิงเกอร์ ที่ร่วมมือกับออโรร่าเจ้าของธุรกิจค้าทองคำและเครื่องประดับเพชรรายใหญ่ เปิดให้บริการบนแพลตฟอร์มไลน์ (LINE)

ไม่มีเงินก้อน เลือก ‘ผ่อนทอง’ ช่วงโควิด

อย่างที่ทราบกันดีว่า ‘ทองรูปพรรณ’ เป็นสินค้าที่กลุ่มลูกค้าทั่วไปต้องการ เพราะเป็นเครื่องประดับที่คนไทยนิยมซื้อไว้เพื่อสวมใส่ ควบคู่กับเป็นการเก็บออมทรัพย์สินและการลงทุน

กิตติพงศ์ กนกวิไลรัตน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เอสจี แคปปิตอล จำกัด บริษัทในเครือซิงเกอร์ (SINGER) กล่าวว่า ในสถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อเป็นเวลานาน ก็มีส่วนทำให้คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับการเก็บออมและการลงทุน เพื่อรับความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงกันมากขึ้น เเละหนึ่งในนั้นก็คือทองรูปพรรณที่เป็นทั้งเครื่องประดับ เก็งกำไรเเละเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันที

ด้านปัจจัยที่ส่งผลให้คนไทยหันมาผ่อนทองนั้น อนิพัทย์ ศรีรุ่งธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดบริษัทออโรร่า ดีไซน์ จำกัด อธิบายไว้ว่า

หลักๆ มาจากราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เเละการซื้อทองคำด้วยเงินสดที่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ๆ นั้นไม่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวที่ผู้บริโภคต้องรัดเข็มขัด คนส่วนใหญ่จึงเลือกผ่อนชำระมากกว่า มองหาการวางแผนทางการเงินที่ยืดหยุ่น ปรับ เพิ่ม ลด วงเงินในการจ่ายค่าสินค้าได้

มีน้อยจ่ายน้อย ช่วงไหนมีมากก็จะจ่ายมากขึ้นได้ เเละวิธีการผ่อนยังช่วยลดความเสี่ยงด้านราคาทองในแต่ละช่วงเวลาได้

การที่ลูกค้าสามารถซื้อทองได้ง่ายขึ้นแม้มีรายได้น้อย หรือไม่มีเงินก้อน เลือกผ่อนทองได้ตามกำลังที่เหมาะสม เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขยายช่องทางออนไลน์ของบริษัท เพราะช่องทางขายดังกล่าวสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ตลอดเวลา ใช้งานสะดวก รวดเร็ว เพียงมีบัตรประชาชนใบเดียว ก็สามารถเลือกผ่อนทองตามขนาดและระยะเวลาการผ่อนชำระที่เหมาะสมและยืดหยุ่น ผ่านช่องทาง LINE Official: SINGERCONNECT

โดยการเปิดตัว CLICK2GOLD ผ่านเเอปพลิเคชันไลน์นั้น ก็นับเป็นการปรับบริการเพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ก็ใช้ไลน์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันอยู่เเล้ว

ทั้งนี้ จากรายงาน Global Digital Report 2021 ของ We Are Social และ Hootsuite ระบุว่า มีคนไทยมากถึง 50 ล้านคนเป็นผู้ใช้งานไลน์ เเละด้วยวิกฤตโควิด-19 ก็เป็นปัจจัยเร่งให้คนไทยกว่า 69% เข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์ ซึ่งคนไทยนิยมช้อปปิ้งออนไลน์ติดอันดับ 4 ของโลกเลยทีเดียว

จับใจนิวเจนสาย ‘ฟรีเเลนซ์’ 

สำหรับกลุ่มเป้าหมายของ CLICK2GOLD นั้น จะครอบคลุมผู้บริโภคทุกระดับ ทั้งลูกค้าปัจจุบันของซิงเกอร์ ซึ่งประกอบอาชีพ ค้าขาย เกษตรกร ลูกจ้างรายวัน และผู้ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ปัจจุบันมีมากกว่าหนึ่งล้านราย

รวมไปถึงกลุ่มนิวเจนเนอเรชันที่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือฟรีแลนซ์ นักเรียน นักศึกษา กลุ่มคนคนรุ่นใหม่ประกอบอาชีพบนออนไลน์ เช่น ยูทูบเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ ฯลฯ

โดยช่องว่างโอกาสธุรกิจที่จะเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้ คือ ส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ ไม่สามารถเข้าสู่ระบบสินเชื่อทั่วไป ไม่มีบัตรเครดิตหรือบัตรผ่อนสินค้าอื่นๆ หรือไม่มีใบรับรองเงินเดือน เเต่ในขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้เอง ก็เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการจัดสรรเงินเพื่อผ่อนชำระสินค้าได้เป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถเป็นเจ้าของทองคำ สำหรับเป็นเครื่องประดับ การเก็บออมรวมทั้งเป็นการลงทุนได้ง่ายขึ้น

ดันพอร์ตสินเชื่อซิงเกอร์โตรวมหมื่นล้าน 

บริการ CLICK2GOLD จะให้บริการ ผ่อนทองขั้นต่ำ 450 บาทต่อเดือน โดยสามารถเลือกผ่อนชำระได้นานตั้งแต่ 6 เดือน ไปจนถึงสูงสุด 24 เดือน โดยตั้งเป้ามีผู้ใช้บริการจำนวน 10,000 ราย คิดเป็นพอร์ตสินเชื่อจำนวน 100 ล้านบาท

สำหรับผลประกอบการของเอสจี แคปปิตอลในเครือซิงเกอร์นั้น มีเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยปีละ 50% และในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีพอร์ตสินเชื่อจำนวน 8,569 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 29.8% เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 โดยพอร์ตหลักเป็นพอร์ตสินเชื่อรถทำเงิน (C4C) 4,636 ล้านบาท ส่วนพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ (Hire purchase) อยู่ที่ 3,933 ล้านบาท

การเปิดให้บริการเช่าซื้อใหม่ในกลุ่มทองคำ’ จึงเป็นส่วนสำคัญของกลยุทธ์ก้าวสู่ยุคใหม่ธุรกิจสินเชื่อซิงเกอร์โดยในปีนี้ บริษัทตั้งเป้ามีพอร์ตสินเชื่อรวมทุกกลุ่มเเตะ 10,000 ล้านบาท

 

 

]]>
1352182
จากแนวคิดแบงก์ ‘ล่องหน’ สู่ ‘LINE BK’ อาวุธใหม่ KBank ธุรกรรมครบ จบใน ‘LINE’ https://positioningmag.com/1302429 Tue, 20 Oct 2020 13:28:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302429 หลายคนคงจะเคยได้ยินชื่อ ‘LINE BK’ กันมาบ้าง เพราะเริ่มมีการเปิดใช้งานไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ลึกซึ้งว่าคืออะไร ทำอะไรได้บ้าง และมันแตกต่างจาก ‘Rabbit LINE Pay’ อย่างไร รวมถึงมันเหมือนหรือต่างจากแอป ‘K-Plus’ หรือเปล่า และเป้าหมายของ LINE BK คืออะไร วันนี้ Positioning จะมาสรุปให้ฟัง

LINE BK ทำอะไรได้

ก่อนจะพูดถึงตัว LINE BK ต้องย้อนไปเมื่อปี 2019 ที่ LINE Corp และ KBank ได้เปิดตัวบริษัทร่วมทุนกันในชื่อ ‘บริษัท กสิกร ไลน์’ และในปี 2020 นี้บริษัทก็ได้คลอด LINE BK บริการ ‘Social Banking’ รายแรกของไทย โดยผู้ใช้ไลน์สามารถใช้บริการ LINE BK ได้ เพียงกดไปที่หน้า Wallet ในแอปพลิเคชัน LINE แล้วกดปุ่ม LINE BK เพื่อเริ่มสมัครบริการได้ฟรีไม่จำเป็นต้องโหลดแอปใด ๆ เบื้องต้นมี 4 บริการหลัก ได้แก่

บริการบัญชีเงินฝาก : ครอบคลุมบริการโอน ถอน จ่าย ทำทุกอย่างได้บน LINE ไม่ต้องสลับแอป สามารถโอนเงินได้ในแชทพร้อมการแจ้งเตือนยอดเงินเข้า-ออก เช็กยอดได้เรียลไทม์ และฟีเจอร์อื่น ๆ เช่น การส่งสลิป, บริการขอเรียกเก็บเงินและการหารค่าใช้จ่ายกับเพื่อนใน LINE รวมไปถึงการถอนเงินสดไม่ต้องใช้บัตรได้ที่ตู้ ATM ของธนาคารกสิกรไทยทั่วประเทศ

บริการบัญชีเงินออมดอกพิเศษ : บัญชีเงินฝากดอกเบี้ยพิเศษสูงสุดถึง 1.5% ต่อปี สามารถกำหนดระยะเวลาออมเงินได้เอง ทั้งแบบระยะสั้น 6 เดือน หรือระยะยาว 12 เดือน

บริการบัตรเดบิต : บัตรเดบิตวีซ่า LINE BK ให้เงินคืน 0.5% เมื่อช้อปออนไลน์ 100 บาทขึ้นไป โดยมีบัตรให้เลือก 3 ประเภท ทั้งบัตรเดบิต, บัตรเดบิตออนไลน์ ที่สามารถสมัครและใช้งานได้ทันทีบนแอปไลน์ และบัตรเดบิตคู่วงเงิน ที่พร้อมให้ดึงเงินจากวงเงินให้ยืมมาใช้จ่ายต่อได้

บริการวงเงินให้ยืม : บริการสินเชื่อส่วนบุคคลแบบดิจิทัล โดยพนักงานประจำรายได้ขั้นต่ำ 7,000 บาท, ฟรีแลนซ์ เจ้าของกิจการรายได้ขั้นต่ำ 9,000 บาท) ก็สามารถขอสินเชื่อได้ โดยมีวงเงินสูงสุดไม่เกิน 800,000 บาท ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 18-25% ต่อปีสำหรับสินเชื่อผ่อนชำระที่ระยะเวลา 12-60 เดือน และอัตราดอกเบี้ย 20-25% ต่อปีสำหรับสินเชื่อให้ยืมพร้อมใช้ที่กำหนดเงื่อนไขการจ่ายขั้นต่ำได้ทุกเดือน

“เราเป็นธนาคาร แอปเราไม่มีวันทำให้คนอยู่ได้ถึง 63 นาทีต่อวันเหมือนไลน์ ดังนั้น ในเมื่อเราเก่งเรื่องทรานแซคชัน เราต้องทำให้มันสะดวกที่สุด ทำให้ลูกค้าแชทด้วยโอนเงินไปด้วยได้ พูดง่าย ๆ เราอยากอยู่ทุกที่ที่ลูกค้าอยู่ เราไปหาลูกค้าเอง ลูกค้าไม่ต้องมาหาเรา ธนา โพธิกำจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด

เพิ่มบริการการลงทุนและประกันใน 2 ปี

หากดูจากบริการต่าง ๆ แล้ว แทบจะเรียกได้เรียกได้ว่าเหมือนยกเอาแอป K-Plus มาไว้ในไลน์ แต่สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีบางบริการที่ LINE BK ยังไม่มี เช่น บริการด้านการลงทุน และบริการทางด้านประกัน ซึ่งธนาได้ระบุว่า อดใจรออีกนิด เพราะกำลังศึกษาถึงการทำบริการด้านการลงทุนอยู่ รวมถึงจำเป็นต้องขอไลเซ่นจากทางแบงก์ชาติ โดยคาดว่าภายใน 2 ปีจะได้เห็นแน่นอน

ไม่ได้มาแทนที่ Rabbit LINE Pay

แน่นอนว่าหลังจากการมาของ LINE BK ผู้ที่ใช้งานไลน์เป็นประจำคงสงสัยว่าแล้วจะมาแทนที่ ‘Rabbit LINE Pay’ ที่เป็นบริการทางการเงินของไลน์ที่เอาไว้ใช้จ่าย ซื้อสินค้าต่าง ๆ ซึ่งบริการ LINE BK เองก็สามารถใช้ได้ไม่ต่างกับ Rabbit LINE Pay ซึ่ง ธนา ก็ได้อธิบายในส่วนนี้ว่า ไม่ได้มาแทนที่ แต่มาเสริม เพราะ Rabbit LINE Pay จะต้องคอยเติมเงินเพื่อใช้จ่ายซื้อของ ดังนั้น เมื่อมี LINE BK ก็จะสามารถผูกบัญชีกันได้โดยไม่ต้องไปเติมเงิน อีกทั้งมองว่า Rabbit LINE Pay นั้นเน้นใช้ในการซื้อของ แต่ LINE BK จะเน้นที่การโอนเงินระหว่างกันมากกว่า

“เพนพอยต์ของ Rabbit LINE Pay อยู่ที่การเติมเงิน ซึ่งคนไทยอาจมองว่าไม่สะดวก ดังนั้น LINE BK จะมาเสริมในส่วนนี้ อีกทั้งเราไม่ได้เน้นใช้จ่ายเงินร้านค้า แต่เน้นโอนเงินระหว่างกัน”

5 ปีขึ้นผู้นำด้านสินเชื่อ

สำหรับรายได้จาก LINE BK จะมาจากการปล่อยสินเชื่อบุคคล (Personal Loan) ซึ่ง LINE BK ตั้งเป้าที่จะขึ้นเป็นผู้เล่น Top 5 ในตลาดสินเชื่อภายใน 5 ปี ด้วยจุดแข็งที่ความง่าย สะดวก อนุมัติไว และทำผู้ใช้บริการสามารถขอวงเงินสินเชื่อได้ด้วยตัวเองตลอด 24 ชั่วโมง โดยระบบจะการประเมินความเสี่ยงจากการนำข้อมูลหลายส่วนมารวมกัน อาทิ ข้อมูลจากเครดิตบูโร ข้อมูลจากบัญชีเดินสะพัด และข้อมูลจากการใช้งานต่าง ๆ ของไลน์

อย่างไรก็ตาม ธนายอมรับว่า แม้จะมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์แล้ว แต่ความเสี่ยงด้าน NPL หรือหนี้เสียนั้น ก็เป็นเรื่องที่กังวล เพราะด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ยืนยันว่าจะพยายามควบคุมไม่ให้เกินสัดส่วน 5%

“ไม่ใช่ทุกคนจะมีเงินเดือน อีกทั้งคนไทยที่มีเครดิตสกอร์ยังมีเพียง 33% ส่งผลให้ต้องไปกู้นอกระบบ โดยยอมจ่ายดอกเบี้ยที่สูงถึง 20% ต่อเดือน ซึ่งปัจจุบันเงินกู้นอกระบบคิดเป็น 10% ของสินเชื่อในประเทศไทย ดังนั้น นี่เป็นโอกาสดีที่ LINE BK จะเข้ามาแก้เพนพอยต์นี้”

เป้าใหญ่เปลี่ยนผู้ใช้ไลน์เป็นลูกค้ากสิกร

ไม่ใช่แค่การขึ้นเป็นผู้นำสินเชื่อ แต่การขยายฐานลูกค้าก็เป็นเป้าหมายใหญ่ โดยปัจจุบันฐานลูกค้าธนาคารกสิกรมีทั้งหมด 16.6 ล้านคน ขณะที่แพลตฟอร์มไลน์มีผู้ใช้กว่า 47 ล้านคน ซึ่งเชื่อว่า 99.9% ของลูกค้ากสิกรใช้งานไลน์ ดังนั้น ที่เหลืออีกกว่า 30 ล้านรายจะเป็นโอกาสที่ LINE BK จะเป็นจุดเปลี่ยนให้ผู้ใช้ไลน์มาเป็นลูกค้าธนาคารกสิกรในอนาคต อย่างไรก็ตาม ภายในปีนี้ LINE BK จะต้องมีผู้ใช้งานอย่างน้อยหลักล้านรายให้ได้

“เราคงไม่ได้มาเปลี่ยนอนาคตฟินเทค แต่มาเปลี่ยนรูปแบบ เพราะบางอย่างไม่ต้องทำกับธนาคารตรงได้ ดังนั้นเราจึงพยายามเข้าไปใกล้และทำให้เขาสะดวกขึ้น ธุรกรรมทางการเงินเป็นแค่ทางผ่านในการทำกิจกรรม ดังนั้น เราแค่ไปอยู่ข้างหลัง ไปช่วยอำนวยความสะดวกให้เขา เราเอาการเงินไปเสียบในชีวิตเขา เป็นแบงก์ล่องหนพร้อมเชื่อมต่อกับทุกกิจกรรมที่ทำ”

]]>
1302429
มองธุรกิจประกัน หลังโควิด เบี้ยรับรวมหดตัวลึก คนเลี่ยงซื้อเพื่อออม เพราะผลตอบเเทนต่ำ  https://positioningmag.com/1299102 Mon, 28 Sep 2020 18:20:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299102 COVID-19 ฉุดภาพรวมเบี้ยประกันชีวิตปีนี้หดตัวต่อเนื่อง เบี้ยรับรายใหม่เสี่ยงที่จะหดตัวต่ำเป็นประวัติการณ์แตะเลขสองหลัก คนซื้อประกันเพื่อออมลดลง เพราะผลตอบเเทนต่ำไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปีข้างหน้า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า ประกันชีวิตเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา โดย 7 เดือนแรกของปี 2563 ภาพรวม “เบี้ยประกันชีวิต” อยู่ที่ 5.74-5.99 แสนล้านบาท หดตัวลง 3.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าปีนี้จะหดตัวในกรอบ ติดลบ 2-6% ถือว่าติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

“คาดว่าเบี้ยรับรายใหม่ มีความเสี่ยงที่จะหดตัวต่ำเป็นประวัติการณ์ ที่ระดับติดลบ 10-15% แม้ว่าเบี้ยปีต่ออายุน่าจะมีสัญญาณฟื้นตัวขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้” 

Photo : Shutterstock

โดยปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ธุรกิจประกันภัยในปีนี้ มีการเติบโตที่หดตัว ได้เเก่

1) ปัจจัยเดิม : ฐานธุรกิจเบี้ยจ่ายครั้งเดียว (Single Premium: SP) ที่สูง และบริษัทยังจำเป็นต้องปรับลดพอร์ตประกันประเภทจ่ายครั้งเดียวลง เพื่อลดภาระในการตั้งสำรองประกันภัยเมื่อเข้าสู่มาตรฐานบัญชีใหม่

2) ปัจจัยใหม่ : อัตราผลตอบแทนการลงทุนที่ลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์ ทำให้บริษัทประกันปรับลดอัตราผลตอบแทน (Internal Rate of Return หรือ IRR) ของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ขายในปีนี้ลง เหลือเพียงเฉลี่ย 1% ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในระบบสถาบันการเงินบางประเภทที่มีระยะเวลาการออมสั้นกว่า ลดแรงจูงใจในการออมผ่านการซื้อประกันลง โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าระดับบน และกลุ่มลูกค้าระดับกลางบางส่วนที่ถูกกระทบจากวิกฤต COVID-19  สุดท้ายแล้ว อาจกระทบให้เบี้ยใหม่ในภาพรวม หดตัวแตะเลขสองหลัก

โดยในระยะที่เหลือของปีนี้ คาดว่าเบี้ยรับรวมจะยังหดตัวต่อเนื่อง ทำให้เบี้ยรับรวมของทั้งปี 2563 คาดว่าจะหดตัวในกรอบ -2% ถึง -6% เป็น 5.74-5.99 แสนล้านบาท จากปี 2562 ที่หดตัวลง -2.6% YoY ด้วยเบี้ยรับรวม 6.11 แสนล้านบาท นำโดยทิศทางการหดตัวของเบี้ยรับรายใหม่ (New Business) ที่คาดว่าจะอยู่ในช่วง -10% ถึง -15% ส่วนเบี้ยปีต่ออายุ (RYP) คาดว่าจะอยู่ในระดับประคองตัวหลังปรับฐานลงค่อนข้างมากในปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาบริษัทประกันชีวิตต่างปรับตัวเพื่อเข้าถึงลูกค้าหลายกลุ่ม ทั้งแบบสามัญ (Basic Plan) บำนาญ ยูนิตลิงก์ และยูนิเวอร์แซลไลฟ์ (โดยส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์ประเภทยูนิตลิงก์และยูนิเวอร์แซลไลฟ์ อยู่ที่ระดับประมาณ 5% ปรับตัวลดลงในช่วงปี 2562-2563 จากระดับสูงสุดในปี 2561 ที่ระดับ 7.2%)

โดยมองว่าควรปรับทุนประกันของแผนประกันชีวิตสัญญาหลักให้เล็กลง ให้สอดคล้องกับกำลังซื้อ และขยายโอกาสการเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น เเละคาดว่าในช่วงที่เหลือของปี เบี้ยประกันสุขภาพน่าจะปรับตัวดีขึ้น และผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2/63 

Photo : Shutterstock

ส่วนหนึ่งที่จะทำให้เบี้ยประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น มาจากปัจจัยบวกของการเพิ่มค่าลดหย่อนภาษี สำหรับการซื้อประกันสุขภาพเป็น 25,000 บาทต่อปี รวมถึงความตื่นตัวหลังสถานการณ์ COVID-19 ทำให้บริษัทประกันชีวิตหลายแห่ง ได้ออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยโรคร้ายแรงขึ้นเป็นการเฉพาะ

ประกอบกับภาวะที่ไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์ในปี 2564 ล้วนมีส่วนช่วยกระตุ้นการซื้อใหม่และซื้อเพิ่ม ดังสะท้อนจากสัดส่วนเบี้ยประกันสุขภาพต่อเบี้ยประกันสัญญาหลักรายบุคคล ที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอด 5 ปี และคาดว่าจะแตะระดับ 20% ในปีนี้ จากระดับ 10.3% ในปี 2558

“ปัญหาผลตอบแทนจากการลงทุนที่อยู่ระดับต่ำนี้ ยังน่าจะปรากฏต่อเนื่องในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่จะยังอยู่ในระดับต่ำ ในระหว่างที่เศรษฐกิจไทยยังไม่กลับเข้าสู่ระดับช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19” 

ส่วนประเด็นที่น่าจับตามองต่อไป ข้อเรียกร้องจากบริษัทประกันชีวิตที่ขออนุมัติการขายประกันสุขภาพเดี่ยว โดยไม่ต้องควบคู่กับสัญญาหลัก เหมือนปัจจุบันประกันวินาศภัยขายอยู่เดิม ขณะที่การบริหารต้นทุนของบริษัทประกันภัยโดยเฉพาะค่าคอมมิชชันอาจมีการปรับลดลง ในส่วนของลูกค้าอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้ลูกค้าที่คงเงินปันผลสะสมไว้ในบริษัทด้วย

Photo : Shutterstock

ในอีกทางหนึ่งครึ่งปีแรก 2563 ธุรกิจประกันชีวิต มีตัวช่วยจากค่าใช้จ่ายจากการเคลมสินไหมที่ลดลง จากสถานการณ์การ COVID-19 ที่ทำให้จำนวนการเข้าใช้บริการในโรงพยาบาลลดลงตามไปด้วย

โดยครึ่งแรกปีนี้ธุรกิจประกันชีวิตมีรายจ่ายจากการเคลมสินไหมรวมลดลงกว่า 9% เป็นประมาณ 2.28 หมื่นล้านบาท เทียบกับที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดโดยในปี 2562 มียอดจ่ายสินไหมที่ 5.06 หมื่นล้านบาท แต่ก็เพียงเป็นปัจจัยบวกชั่วคราว ท่ามกลางปัจจัยลบที่กดดันธุรกิจ

“นอกจากตัวผลิตภัณฑ์แล้ว บริษัทประกันชีวิตยังมีโจทย์ในการปรับปรุงช่องทางขายและบริการผ่านดิจิทัลมากขึ้น เพื่อรองรับวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งมีผลกระตุ้นช่องทางขายหลักเดิมทั้งตัวแทนและแบงก์แอสชัวรันส์ ให้ตื่นตัวในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการหลังการขายบนดิจิทัลเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับนายหน้ารายใหม่ที่เน้นเข้าถึงลูกค้าบนโลกออนไลน์เป็นหลัก”

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เเนะว่า ทิศทางที่น่าจะตอบโจทย์ใหม่ของธุรกิจประกันชีวิตหลังจากนี้ จำเป็นต้องพึ่งจุดเด่นของธุรกิจในด้านความคุ้มครองอย่างแท้จริง มากกว่าการกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มลูกค้าที่ซื้อประกันเพื่อผลตอบแทนด้านภาษีและอัตราดอกเบี้ยอย่างที่เคยเป็นมา เมื่อต้องเจออัตราดอกเบี้ยในประเทศที่จะยังทรงตัวต่ำต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปีข้างหน้า

 

]]>
1299102
รู้จัก MAKE เเอปฯ โมบายเเบงกิ้งจาก KBank เจาะใจ “คนรุ่นใหม่” กลยุทธ์ปูทางสู่ธนาคาร 5.0 https://positioningmag.com/1289276 Thu, 23 Jul 2020 11:33:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289276 ในยุคนี้เเอปพลิเคชันโมบายเเบงกิ้งถือเป็นเเอปฯ จำเป็นที่ต้องมีไว้ในสมาร์ทโฟนไปเเล้ว ทำให้ธนาคารต่างๆ กำลังเปิดศึกเเย่งฐานผู้ใช้กันอย่างดุเดือด ไม่ใช่เเค่ในไทยเเต่มีเป้าหมายจะขยายไปทั่วอาเซียน โดยเน้นไปที่การเจาะใจคนรุ่นใหม่

ล่าสุดธนาคารใหญ่ในไทยอย่างกสิกรไทย” (KBank) เปิดตัวแอปพลิเคชัน MAKE by KBank เพื่อมาตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal ที่ใช้ชีวิตเชื่อมโยงกันผ่านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ คาดว่าจะเปิดตัวเป็นทางการได้ในช่วงไตรมาส 4 เเละตั้งเป้าจะมียอดเปิดใช้แสนบัญชีภายในสิ้นปีนี้

เเม้ว่ากสิกรไทยจะมี K PLUS เป็นโมบายแบงกิ้งที่มีลูกค้าใช้บริการ 13 ล้านราย (อันดับ 1 ในไทย) อยู่แล้ว เเต่การมาของ MAKE ครั้งนี้ ทางทีมงานบอกว่าจะเป็นการ Re-imagining ครั้งใหญ่เเละเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การยกระดับเป็นธนาคาร 5.0 เลยทีเดียว

เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวถึงท่ีมาของ MAKE ว่า ต้องการตอบโจทย์การบริหารเงินของคนรุ่นใหม่อย่างดีที่สุด ทำให้ธนาคารต้องคิด ไม่ยึดติดขนบเดิม จึงมีการทดลองสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ธนาคารไปอยู่ทุกที่ในช่วงเวลาของชีวิตของทุกคน

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา KBank เริ่มทยอยเปิดตัวนวัตกรรมทางการเงินยุคดิจิทัล เช่น 6 เทคโนโลยีใหม่แบบไร้สัมผัส เเละ “ขุนทอง” เป็นแชทบอทเหรัญญิกช่วยคิดการแชร์ค่าอาหาร รวมถึง Eatable แพลตฟอร์มจัดการร้านอาหารที่มีทั้งส่วนบริการในร้าน รับออเดอร์ เรียกพนักงานหรือรับชำระเงิน เเละมีบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ด้วย 

สำหรับ MAKE by KBank จะเน้นให้ลูกค้ารู้สึก “สะดวก-สบาย-สนุก” เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ สามารถทำกิจกรรมทางการเงินโดยที่ไม่ต้องจำเลขบัญชี ไม่ต้องมีเบอร์โทร ผ่าน 3 พฤติกรรมหลักอย่าง ได้เเก่ บริการโอนเงินผ่านบลูทูธ บันทึกประวัติการทำธุรกรรมในรูปแบบแชท และช่องทางจัดเก็บเงินตามความต้องการของเเต่ละบุคคล

MAKE อ่านพ้องเสียงไปกับคำในภาษาไทยว่า “เมฆ” ดังนั้นโลโก้จึงเป็นรูปก้อนเมฆที่มีความโค้งมน ไม่สมมาตรเเต่มีไดนามิก มีการดีไซน์เเอปพลิเคชันโดยเเบ่งโหมดค่าใช้จ่ายตามสีของท้องฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ” 

โดยการออกแบบฟีเจอร์ต่างๆ ของ MAKE มีแนวคิดหลักจาก

  • MAKE it Social ตอบรับกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่มีชีวิตกับเทคโนโลยี ให้ผู้ใช้สามารถบริหารจัดการเงินด้วยตัวเอง และสามารถแชร์ร่วมกันระหว่างเพื่อนหรือบุคคลที่ต้องการได้
  • MAKE it Fast พัฒนาเทคโนโลยีและออกแบบฟีเจอร์ที่ทำให้การจัดการการเงินสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
  • MAKE it Scalable สามารถรองรับปริมาณการทำธุรกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มการใช้โมบายแบงกิ้งมากขึ้น

ในเฟสเเรก MAKE by KBank จะประกอบด้วย 3 ฟีเจอร์หลัก ที่เหมาะกับชีวิตประจำวันยุค New Normal ที่ต้องการจัดการทุกอย่างผ่านบัญชีธนาคารเดียว

Pop Pay บริการโอนเงินที่สะดวกและรวดเร็ว เพราะสามารถโอนเงินผ่านบลูทูธ ให้คนที่อยู่ในระยะ 10 เมตรได้เลยโดยไม่ต้องขอเลขบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ หรือ QR Code จากอีกฝ่าย ยกระดับวิธีโอนเงินแบบ Contactless เพียงแค่กดเลือกไอคอนเพื่อนที่มีบัญชี MAKE by KBank เหมือนกันและอยู่ในรัศมีที่กำหนด ก็กดส่งเงินได้เลย (ซึ่งจะมีชื่อจริงของเพื่อนให้เราเช็กก่อนกดโอน)

Chat Banking บันทึกรายการการทำธุรกรรมสไตล์ใหม่ที่ผู้ใช้สามารถเก็บบันทึกประวัติการโอนเงินระหว่างเพื่อนเป็นรูปแบบของโซเชียลแชท (Social Chat) คล้ายคลึงกับบริการส่งข้อความหรือแอปแชทที่ใช้กันทั่วไป โดยผู้โอนเงินสามารถแนบรูปภาพหรือเขียนบันทึกของการโอนนั้นๆ ได้เพื่อให้ง่ายต่อการย้อนดูภายหลัง

Cloud Pocket  สามารถสร้างกระเป๋าเงินย่อยไว้แยกเก็บเงินในบัญชีได้ไม่จำกัดจำนวน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ ได้ สร้างเป็น Cloud Pocket ส่วนตัว เพื่อจัดสรรเงินสำหรับการใช้ส่วนบุคคล เช่น เงินออม ค่าใช้จ่ายรายเดือนของบริการต่างๆ ค่าของขวัญสำหรับคนพิเศษ ค่าช้อปปิ้ง หรือจะชวนเพื่อนมาร่วม Cloud Pocket ของเรา เพื่อเก็บเงินเป็นกองกลางเพื่อใช้ทำกิจกรรม ไปทริป หรือซื้อของร่วมกัน สร้างความเป็น Community-Based มากขึ้นก็ได้เช่นกัน สามารถย้ายเงินข้าม Pocket ได้อย่างสะดวก ไม่จำกัดจำนวนครั้ง รวมทั้งมีการแจ้งเตือนเวลามีเงินโอนเข้า และยังสามารถตั้งค่าโอนอัตโนมัติได้อีกด้วย

 

สำหรับการเปิดบัญชีเพื่อใช้งาน ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ก่อน จากนั้นระบบจะให้ยืนยันตัตนผ่าน KPLUS เหมือนการเปิดบัญชีออมทรัพย์ปกติ โดยผู้ใช้สามารถทำการถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มโดยไม่ใช้บัตรได้ (กดไอคอน MAKE ที่หน้าจอตู้เอทีเอ็ม) หากต้องการโอนเงินก็สามารถทำได้ปกติเพียงมีเลขบัญชีผู้รับปลายทาง

ทั้งนี้ แอปฯ MAKE ยังต้องยืนยันตัวตนผู้ใช้ผ่าน KPLUS ไปก่อนในช่วงนี้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งทั้ง 2 แอปฯ แต่ในอนาคต ทีมงานเตรียมจะพัฒนาให้เป็นแอปฯ ที่สมบูรณ์ในตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาเเอปฯ หลักของธนาคาร

โดยตอนนี้ MAKE ยังอยู่ในช่วงที่ให้พนักงานธนาคารกสิกรไทยและ KBTG (ราว 2 หมื่นคน) ได้ทดลองใช้งานก่อน สำหรับลูกค้าหรือบุคคลที่สนใจร่วมทดลองใช้งานเป็นกลุ่มแรก สามารถลงทะเบียนได้ (ที่นี่) เพื่อช่วยให้ทางทีมพัฒนาสามารถรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการบริการ ก่อนที่จะเปิดให้ลูกค้าทั่วไปได้ใช้งานเต็มรูปแบบในช่วงปลายปี 2563 ในระหว่างนี้ทางธนาคารยังเปิดประกวดไอเดียการสร้างฟีเจอร์ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ชิงเงินรางวัลรวม 60,000 บาทด้วย (อ่านรายละเอียด ที่นี่)

การเปิดตัว MAKE by KBank ในปีนี้ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ของธนาคารที่ต้องการจะเพิ่มยอดการ “เปิดบัญชีใหม่” ในช่วงสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนหันมา “ออมเงิน” มากขึ้น เพราะความไม่เเน่นอนของชีวิตเเละหน้าที่การงาน

ส่วนข้อสงสัยที่ว่า MAKE จะมาทับซ้อนหรือเเย่งฐานลูกค้าของเเอปฯ หลักอย่าง KPLUS หรือไม่นั้น ผู้บริหาร KBTG ตอบว่า เป็นการเชื่อมโยงกันมากกว่า เพราะทั้งสองมีเป้าหมายลูกค้าที่เเตกต่างกันเเน่ชัด โดย KPLUS จะเป็นเเอปฯ ที่ทำเพื่อผู้ใช้ทุกคน ครอบคลุมเเละมีบริการครบวงจรของธนาคาร ส่วน MAKE จะเน้นไปที่คนรุ่นใหม่ Gen Y-Z ที่นิยมเปิดบัญชีหลายบัญชี มีไลฟ์สไตล์เเละกิจกรรมที่หลากหลาย ชื่นชอบการใช้เทคโนโลยี

“ในอนาคตอาจจะมีการนำฟีเจอร์ของ MAKE ไปอยู่ใน KPLUS หรือเเอปฯ ขุนทอง หรือนำฟีเจอร์ของ KPLUS มาใส่ใน MAKE ด้วยก็ได้ เป็นการเชื่อมต่อระหว่างกัน ซึ่งเราจะมีการพัฒนาฟังก์ชั่นใหม่ๆ มาให้ใช้ตลอด นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น KBank ยังจะมีนวัตกรรมใหม่มาเปิดตัวอีก อย่างเร็วก็ในช่วงเดือนหน้านี้” 

 

]]>
1289276
รู้จัก Kept เเอปฯ “ออมเงิน” แก้ปัญหา Gen Y-Z เก็บเงินไม่อยู่ ตั้งเป้าดึงเงินฝากเพิ่ม 4-5 พันล้าน https://positioningmag.com/1285987 Wed, 01 Jul 2020 09:36:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1285987 การเพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้คนหันมาออมเงินมากขึ้น เพราะความไม่เเน่นอนของชีวิตเเละหน้าที่การงาน ขณะเดียวกันเหล่านักลงทุนรายย่อย ก็หลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเเละหันมาฝากเงินมากขึ้นเช่นกัน

จากข้อมูลของธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า การออมของคนไทย มีจำนวนบัญชีเงินฝากรวม 102 ล้านบัญชี มียอดเงินฝากรวม 15 ล้านล้านบาท โดยพบว่ากว่า 86.6% มียอดเงินฝากเฉลี่ยต่ำกว่า 5,000 บาทต่อบัญชีเท่านั้น

ขณะที่บริษัทข้อมูลเครดิตเเห่งชาติ (NCB) ระบุว่า หนี้ครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และคนไทยเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย โดยคนไทยอายุ 30 ปี ถึง 50% มีหนี้ และยิ่งไปกว่านั้นคือ 1 ใน 5 ของคนในช่วงอายุ 29-30 ปี มีหนี้เสีย

พร้อมกันนั้น กลุ่มคนรุ่นใหม่ไทย ยังมีการวางแผนทางการเงินในระดับต่ำ โดยเฉพาะกลุ่ม first jobber ที่มักมีทัศนคติที่ให้ความสำคัญต่อการออมน้อยกว่าคนรุ่นก่อน ดังนั้นวินัยการเก็บเงินของคนรุ่นใหม่ชาว Gen Y เเละ Gen Z จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเเละส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย

ในอีกมุมหนึ่งเมื่อคนไทยมีความระมัดระวังการใช้เงินมากขึ้นในช่วงนี้ ก็เป็นโอกาสของสถานบันการเงินที่จะเข้ามาเพิ่มยอดเงินฝากนั่นเอง

ล่าสุด ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เปิดตัว Kept (เคป) แพลตฟอร์มบริหารเงินที่คำนึงถึง pain point ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการออมเงินอย่างมีระบบ ดึงดูดด้วยดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงกว่าฝากประจำทั่วไป

พงษ์อนันต์ ธณัติไตร ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจลูกค้ารายย่อยและเครือข่ายการขาย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  ตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ผ่านมา มีการออมผ่านบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารกรุงศรีฯ โตถึง 8% ถือเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เงินฝากจะมีอัตราเติบโตเพียง 4-5% เท่านั้น

ขณะที่ตัวเลขผู้ใช้งานโมบายแบงกิ้งของทั้งระบบเพิ่มสูงถึง 63 ล้านคน คิดเป็นการเติบโต 28% จำนวนธุรกรรมมากกว่า 523 ล้านรายการ เติบโต 14% สอดคล้องกับ Krungsri Mobile Application (KMA) ที่เติบโตในแง่ฐานลูกค้า 12% และในแง่จำนวนรายการ 21%

เมื่อยอดการออมเเละการใช้โมบายแบงกิ้งพุ่งสูงขึ้นพร้อมๆ กัน จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะเปิดตัวเเอปฯ Kept ในช่วงนี้ ผ่านแนวคิด small change for BIG FUTURE #ปรับนิดชีวิตเปลี่ยน ช่วยให้การออมเงินเป็นเรื่องง่าย สนุกและสำเร็จจริง

Kept : ระบบ 1 กระเป๋า 2 กระปุก

จุดเด่นคือ Kept จะมาเป็นผู้ช่วยการออมเงินด้วยฟีเจอร์อัตโนมัติที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามรูปแบบการใช้ชีวิตของลูกค้าผ่าน 3 บัญชี คือ บัญชี Kept บัญชี Grow และบัญชี Fun ที่ทำงานร่วมกันในระบบ 1 กระเป๋า 2 กระปุกโดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่สูง 1.7%ต่อปี โดยปีแรกรับ 1.6% และปีที่สอง 1.8% (ปีหลังจากนั้นจะเป็นดอกเบี้ยตามภาวะตลาด) โอน-ถอนได้ทุกเวลา ไม่ต้องมีบัญชีธนาคารกรุงศรีก็ใช้งานได้

โดยมีให้ดาวน์โหลดฟรี ทั้งระบบ iOS และ Android เปิดบัญชีผ่านระบบยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID – NDID) ไม่ต้องมาที่สาขา หรือยืนยันตัวตนผ่านช่องทาง Krungsri i-CONFIRM ซึ่งเป็นจุดบริการยืนยันตัวตน ณ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา ทั่วประเทศ

1.กระเป๋า Kept

เป็นกระเป๋าสตางค์แยกเงินไว้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ลูกค้าสามารถโอนเงินเข้ากระเป๋า Kept และตั้งยอดที่ต้องการใช้เงินในกระเป๋า Kept ไว้ล่วงหน้า ส่วนที่เหลือจะถูกโอนไปเก็บไว้ในกระปุก Grow แบบอัตโนมัติทุกสิ้นวัน ทั้งนี้ หากเงินในกระเป๋า Kept ไม่พอใช้ ระบบก็มีฟีเจอร์โอนกลับอัตโนมัติที่จะหยิบเงินส่วนที่ขาดมาจากกระปุก Grow คืนมายังกระเป๋า Kept  ซึ่งลูกค้าสามารถโอนเงินเข้าออกบัญชี Kept ได้บ่อยเท่าที่ต้องการโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

2.บัญชี/กระปุก Grow

เป็นกระปุกเงินเพื่อเก็บเงินก้อน เก็บเงินก้อนส่วนเกินจากจำนวนที่ได้ตั้งไว้เพื่อใช้จ่ายจากกระเป๋า Kept มาใส่ในกระปุก Grow โดยอัตโนมัติ (ขั้นต่ำ 5,000 บาท) เพื่อรับดอกเบี้ยที่สูง ในปีแรกและสูงขึ้นอีกในปีที่ 2 โดยคิดดอกเบี้ยทุกวัน จ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 28 ของเดือน ซึ่งในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.6% และ 1.8% ตามลำดับ

3.บัญชี/กระปุก Fun

เป็นกระปุกเงินสำหรับการเก็บเล็กผสมน้อย ที่สามารถทำได้ทุกวัน มาพร้อม 2 ฟีเจอร์เด็ดที่ทำให้การออมเงินเป็นเรื่องสนุก คือแอบเก็บที่ช่วยเก็บเงินให้ทุกครั้งที่โอนออกหรือสแกนจ่ายด้วย QR code ด้วยวิธีแอบเก็บที่เลือกได้เอง และสั่งเก็บ ให้เก็บเงินเมื่อไรและจำนวนเท่าใดก็ได้ ช่วยให้มีเงินออมสม่ำเสมอโดยไม่ต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ และเมื่อต้องการใช้เงินในกระปุกนี้ก็สามารถโอนเข้ากระเป๋า Kept ได้

สำหรับ ฟีเจอร์แอบเก็บ เป็นไอเดียมาจากลูกค้าคนหนึ่งที่ชอบการช้อปปิ้งมาก ทุกครั้งที่กดช้อปปิ้งออนไลน์ เขาจะเเบ่งเงินตัวเองเก็บไว้อีก 300 บาททุกครั้ง เพราะไม่อยากรู้สึกผิด (ที่ช้อปปิ้งบ่อย) ดังนั้นเราจึงนำมาพัฒนาให้มีตัวช่วยเเอบเก็บให้ลูกค้า ซึ่งสามารถตั้งจำนวนเงินได้ เช่น สั่งซื้อของ 50 บาท ตั้งไว้ให้หักอีกครั้งละ 50 บาท รวมเป็นตัดบัญชี 100 บาท (ตัดเข้ากระเป๋าออม 50 บาท) หรือจะตั้งให้ปัดเศษได้ เช่น ซื้อของ 137 บาท ตัดเป็น 140 บาท (ตัดเข้ากระเป๋าออม 3 บาท) เป็นต้น

ทั้งนี้ การฝากเงินใน Kept สามารถขอรายการเดินบัญชี (e-statement) ได้ย้อนหลังได้ไม่เกิน 24 เดือน โดยทำรายการผ่านเเอปฯ Kept เช่นเดียวกับการขอรายการเดินบัญชีเเบบทั่วไป

“เป้าหมายของ Kept จะเน้นเจาะกลุ่ม Young Money เเละ Growing Money ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ Gen Y เเละ Gen Z โดยคาดว่าภายใน 1 ปีจะมียอดดาวน์โหลด 2 เเสนรายเเละดึงดูดยอดเงินฝากได้ราว 4-5 พันล้านบาท เฉลี่ยเงินฝาก 20,000 บาทต่อบัญชี” 

 

]]>
1285987
เช็กก่อนลงทุน พันธบัตรรัฐบาล “เราไม่ทิ้งกัน” ผลตอบแทน-ซื้ออย่างไร มีเงื่อนไขอะไรบ้าง? https://positioningmag.com/1278516 Thu, 14 May 2020 06:39:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278516 วันนี้ (14 พ.ค.) เป็นวันเเรกที่กระทรวงการคลังจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” ในปีงบประมาณ 2563 แบบไร้ใบตราสาร วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท เป็นการระดมทุนเพื่อบรรเทาผลกระทบและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตามแผนงานโครงการของรัฐบาล ภายใต้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินวงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท

พันธบัตรรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” เป็นพันธบัตรออมทรัพย์รุ่นพิเศษที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป ใครสนใจ “ออมเงินระยะยาว” ต้องศึกษาข้อมูลก่อนลงทุน โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

มีแบบไหนบ้าง?

พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (แบบไร้ใบตราสาร) วงเงินจำหน่าย 50,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นอายุ 5 ปี เเละรุ่นอายุ 10 ปี

ผลตอบเเทนเเละอัตราดอกเบี้ยเป็นอย่างไร? 

รุ่นอายุ 5 ปี

• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 1 ร้อยละ 2.00
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 2-3 ร้อยละ 2.25
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 4 ร้อยละ 2.50
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 5 ร้อยละ 3.00
พันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี จะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 14 พฤษภาคม 2568

รุ่นอายุ 10 ปี
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 1-3 ร้อยละ 2.50
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 4-8 ร้อยละ 3.00
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 9 ร้อยละ 3.50
• อัตราดอกเบี้ยต่อปี ปีที่ 10 ร้อยละ 4.00
พันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี จะครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 14 พฤษภาคม 2573

ใครซื้อได้บ้าง? 

บุคคลที่มีสิทธิ์ซื้อ
บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ และนิติบุคคลอื่นที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไร

องค์กรที่ไม่สิทธิ์ซื้อ
ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล บรรษัท สำนักงาน ประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โรงพยาบาลเอกชน สถานศึกษาเอกชน และนิติบุคคลที่แสวงหากำไร

ช่วงเปิดขายเเละวงเงินซื้อขั้นต่ำ

เปิดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 – 10 มิถุนายน 2563 แบ่งออกเป็น 3 ช่วงได้เเก่

  • ช่วงที่ 1 วันที่ 14-20 พฤษภาคม 2563 จองซื้อรวมทุกรุ่น ขั้นต่ำ 1,000–2,000,000 บาท/คน/ธนาคาร
  • ช่วงที่ 2 วันที่ 21-27 พฤษภาคม 2563 จองซื้อรวมทุกรุ่น ขั้นต่ำ 1,000–2,000,000 บาท/คน/ธนาคาร (ไม่นับรวมยอดช่วงที่ 1)
  • ช่วงที่ 3 วันที่ 28 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 2563 จองซื้อรวมทุกรุ่น ขั้นต่ำ 1,000 บาท และไม่จำกัดวงเงินจองซื้อ

วันที่ครบกำหนดไถ่ถอน

  • พันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 14 พฤษภาคม 2568
  • พันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี ครบกำหนดไถ่ถอนในวันที่ 14 พฤษภาคม 2573

จ่ายดอกเบี้ยอย่างไร?

จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง คือ ในวันที่ 14 พฤษภาคม และ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี จนกว่าจะครบกำหนดไถ่ถอน โดยเริ่มจ่ายดอกเบี้ยงวดแรกในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563

เสียภาษีเท่าไร?

หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ต่อปี ทุกครั้งที่มีการจ่ายดอกเบี้ย

ซื้อได้ที่ไหน?

  • ผ่าน BOND DIRECT Application และช่องทางของธนาคารตัวแทนจำหน่าย 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์
  • ซื้อผ่านเครื่อง ATM ระบบอินเทอร์เน็ต และ Mobile Application : ธนาคารผู้จัดจำหน่ายจะหักเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ซื้อทันทีเมื่อสิ้นสุดการทำรายการซื้อ
  • ซื้อผ่านเคาน์เตอร์: สามารถชำระได้ทั้งเงินสด หักบัญชีเงินฝาก หรือเช็ค (วันที่ 10 มิถุนายน 2563 ไม่รับชำาระด้วยเช็ค) โดยสั่งจ่าย “บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 5 ปี” “บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง รุ่นอายุ 10 ปี”

วิธีลงทะเบียนซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ (กรณีซื้อครั้งแรก)

ในกรณีที่ไม่เคยซื้อพันธบัตรออมทรัพย์กับธนาคารมาก่อน จะต้องลงทะเบียนซื้อพันธบัตรและเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ที่สาขาธนาคาร โดยใช้หลักฐาน ดังนี้

บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง (กรณีบุคคลธรรมดา) หรือเอกสารหลักฐานการแสดงตนที่ออกโดยหน่วยงานราชการ (กรณีนิติบุคคล) และสำเนาเอกสารดังกล่าว พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง

สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ซื้อที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารนั้น พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ในกรณีที่ไม่มีบัญชีเงินฝาก ผู้ซื้อต้องเปิดบัญชีใหม่ ซึ่งต้องเป็นบัญชีของธนาคารที่ทำรายการซื้อเท่านั้น

คลังตอบ 18 ข้อสงสัย “พันธบัตรรัฐบาล “เราไม่ทิ้งกัน”

ทาง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ได้ออกมาตอบ 18 ข้อสงสัย คำถามที่พบบ่อยของพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษ แบบไร้ใบตราสาร รุ่น “เราไม่ทิ้งกัน” ดังนี้

1. ทำไมการลงทุนในพันธบัตรรุ่นนี้จึงน่าสนใจ หากเทียบกับการฝากเงินแบบประจำ

กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกพันธบัตร โดยมอบอำนาจให้ ธปท. เป็นนายทะเบียน การลงทุนในพันธบัตรจึงเป็นการลงทุนที่มั่นคง ไม่มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินต้นคืน ได้รับดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนในอัตราแบบคงที่ตามระยะเวลากำหนดที่แน่นอน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรในขณะที่ออกจำหน่ายโดยส่วนใหญ่จะกำหนดให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนั้น

2. ข้อดีของการเป็นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) คืออะไร

เมื่อพันธบัตรครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่ต้องคืนใบพันธบัตรให้ ธปท. โดยเงินต้นจะโอนเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์อัตโนมัติ และไม่ต้องมีภาระในการเก็บรักษาใบพันธบัตร ทั้งนี้ให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์นำสมุดบัญชีเงินฝากและ Bond Book ไปปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ที่ธนาคารที่ทำรายการซื้อ

3. สนใจซื้อพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ต้องทำอย่างไร

ผู้สนใจสามารถเลือกวิธีการซื้อพันธบัตรวิธีใดวิธีหนึ่งได้จาก 4 ช่องทาง ดังนี้

3.1 การซื้อผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ผู้ซื้อจะต้องลงทะเบียนและเปิดบัญชีฝากหลักทรัพย์ที่ธนาคาร (ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์) และทำรายการซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2563 – 10 มิถุนายน 2563 หรือจนถึงวันที่จำหน่ายได้ครบวงเงินตามที่แต่ละธนาคารได้รับจัดสรร โดยผู้ซื้อสามารถดาวน์โหลดใบจองซื้อได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 

3.2 การซื้อผ่านเครื่อง ATM ผู้ซื้อจะต้องดำเนินการตามข้อ 3.1 และแจ้งธนาคารเพื่อขอทำบัตร ATM ซึ่งมีข้อดี คือ ผู้ซื้อจะสามารถดำเนินการผ่านเครื่อง ATM ได้ทุกเครื่องของธนาคาร โดยไม่ต้องเดินทางมาที่ธนาคาร

3.3 การซื้อผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ Mobile Application ผู้ซื้อจะต้องดำเนินการตามข้อ 3.1 และลงทะเบียนเพื่อเปิดใช้บริการระบบอินเทอร์เน็ต และ Mobile Application โดยผู้ซื้อจะได้รับความสะดวกในการซื้อและสามารถซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง

3.4 การซื้อผ่าน BOND DIRECT Application ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ผู้ซื้อจะต้องมีบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย และจะต้องชำระเงินผ่าน Mobile Application ของธนาคารกรุงไทย หรือเคาน์เตอร์ของธนาคารกรุงไทย

4. ซื้อแล้วได้หลักฐานอะไรกลับไป

เมื่อผู้ซื้อชำระเงินในการซื้อพันธบัตรแล้ว ทั้ง 4 ช่องทาง มีหลักฐานเพื่อยืนยันการซื้อ ดังนี้

4.1 กรณีซื้อผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ผู้ซื้อจะได้รับเอกสารยืนยันการซื้อพันธบัตร

4.2 กรณีที่ซื้อผ่านเครื่อง ATM ผู้ซื้อจะได้รับใบเสร็จหรือใบแสดงรายการที่พิมพ์จากเครื่อง ATM (Slip) เพื่อเป็นหลักฐานในการชำระค่าซื้อพันธบัตร

4.3 กรณีซื้อผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ Mobile Application ผู้ซื้อจะได้รับหลักฐานการทำรายการตามบริการของแต่ละธนาคารกำหนด

4.4 กรณีซื้อผ่าน BOND DIRECT Application หากชำระเงินผ่าน Mobile Application ของธนาคารกรุงไทย ผู้ซื้อจะได้รับหลักฐานการทำรายการตามบริการที่ธนาคารกำหนด กรณีชำระเงินผ่านเคาน์เตอร์ ผู้ซื้อจะได้รับเอกสารยืนยันการซื้อพันธบัตร

สำหรับผู้ซื้อพันธบัตรรายใหม่ จะได้รับสมุดพันธบัตรรัฐบาล กระทรวงการคลัง (Bond Book) ที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพันธบัตร โดยจะได้รับในวันที่ซื้อหรืออาจได้รับภายหลังไม่เกิน 15 วันทำการ สำหรับผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่มี Bond Book อยู่แล้ว ให้นำ Bond Book ไปปรับปรุงข้อมูลรายการซื้อให้เป็นปัจจุบันได้ที่ธนาคารที่ทำรายการซื้อภายหลังจากวันที่ทำรายการซื้อแล้ว 15 วันทำการ

โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์จะนำไปใช้อ้างอิงสำหรับ การทำธุรกรรมได้ รายการที่ปรากฏอยู่ใน Bond Book เป็นรายการซื้อที่แสดงมูลค่าตามราคาตรา (Par Value) ในวันที่จดทะเบียน และในวันที่ทำรายการจะแสดงมูลค่าตามราคาตลาด (Market Value) ของแต่ละธนาคาร โดยจะถือว่าถูกต้องเมื่อรายการดังกล่าวตรงกันกับรายการที่บันทึกไว้ที่ธนาคาร

ทั้งนี้ จะปรากฏเฉพาะรุ่นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ที่ซื้อผ่านธนาคารเท่านั้น โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์สามารถนำ Bond Book ที่ได้รับตั้งแต่การซื้อพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 จนถึงพันธบัตรรุ่นนี้ไปปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันผ่านธนาคารที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทำรายการซื้อเท่านั้น

สำหรับการจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตรเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน กระทรวงการคลังจะจ่ายคืนตามราคาตรา (Par Value)

Photo : Freepik

5. คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล หรือกองทุนส่วนบุคคลสามารถซื้อพันธบัตรรุ่นนี้ได้หรือไม่

คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล ไม่สามารถซื้อได้ เนื่องจากไม่มีสถานภาพเป็นบุคคล (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะซื้อได้ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงินไม่สามารถซื้อได้

6. คู่สมรสจะต้องให้ความยินยอมหากอีกฝ่ายต้องการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์หรือไม่

ไม่ต้องให้ความยินยอม

7. ซื้อพันธบัตรรุ่นเดียวกัน จำนวนเงินเท่ากัน ทำไมได้รับดอกเบี้ยงวดแรกไม่เท่ากัน

เนื่องจากวันที่ซื้อพันธบัตรต่างกัน ทำให้การนับจำนวนวันเพื่อนำไปคำนวณดอกเบี้ยไม่เท่ากัน โดยมีหลักเกณฑ์การนับวัน ให้นับวันที่ซื้อ ไม่นับวันที่จ่ายดอกเบี้ย เช่น

นาย ก. ซื้อพันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี ชำระด้วยเงินสดจำนวน 500,000 บาท ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 จ่ายดอกเบี้ยงวดแรกวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 การนับวันจะนับวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 จนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 เป็นจำนวน 180 วัน

นาย ข. ซื้อพันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี ชำระด้วยเงินสดจำนวน 500,000 บาท ในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 จ่ายดอกเบี้ยงวดแรกวันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 การนับวันจะนับวันที่ 8 มิถุนายน 2563 จนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 เป็นจำนวน 159 วัน

ทั้งนี้ งวดต่อไปจำนวนวันเพื่อนำไปคำนวณดอกเบี้ยของ นาย ก. และนาย ข. จะเท่ากัน

8. การขอคืนภาษีดอกเบี้ยพันธบัตรรุ่นนี้ทำอย่างไร

เมื่อ ธปท. จ่ายดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากของท่าน ธปท. จะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานขอคืนภาษีประจำปีได้ ในกรณีที่เงินได้สุทธิของท่านเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 15

9. การโอนดอกเบี้ยและเงินต้นพันธบัตรเข้าบัญชีเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่

ในการโอนดอกเบี้ยและเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) เจ้าของบัญชีได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงิน

10. หากต้องการรับดอกเบี้ยและเงินต้นเป็นเงินสดและเช็คจะทำได้หรือไม่

ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจาก ธปท. จะโอนดอกเบี้ยและเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์เท่านั้น

11. หากต้องการแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ บัญชีรับดอกเบี้ยและเงินต้น หรือข้อมูลอื่นๆ จะต้องทำอย่างไร

กรณีพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless)

-ติดต่อธนาคารที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ทำรายการซื้อ โดยนำ Bond Book และหลักฐานอื่นที่ต้องใช้ในการอ้างอิงไปด้วย

กรณีพันธบัตรแบบมีใบตราสาร (Scrip)

-ให้แจ้งโดยตรงที่ ธปท. สำนักงานใหญ่ สำนักงานภาค หรือธนาคาร สำนักงานใหญ่ และสาขาทั่วประเทศ เพื่อส่งต่อให้ ธปท. ดำเนินการต่อไป

12. การขอหนังสือรับรองยอดพันธบัตร (กรณีไร้ใบตราสาร) กับทางสาขาธนาคาร สาขาธนาคารสามารถดำเนินการออกให้ได้เลยหรือไม่ และคิดค่าธรรมเนียมอย่างไร

ธนาคารสามารถออกหนังสือรับรองยอดพันธบัตร (กรณีไร้ใบตราสาร) ให้ได้ โดยคิดค่าธรรมเนียมการจัดทำหนังสือรับรองยอดพันธบัตร ตามอัตราที่แต่ละธนาคารประกาศกำหนด ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่าง 50-200 บาท ต่อฉบับ (สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ธนาคาร)

13. ถ้ามีความประสงค์จะเปลี่ยนพันธบัตรจากแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ให้เป็นแบบมีใบตราสาร (Scrip) ทำได้หรือไม่ เสียค่าใช้จ่ายเท่าใด ใช้เวลาดำเนินการประมาณกี่วัน ลูกค้าถึงจะได้รับใบพันธบัตร

ทำได้ โดยต้องนำ Bond Book ไปติดต่อธนาคารเพื่อขอออกใบพันธบัตร โดยมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการรวมทั้งสิ้นประมาณ 290-370 บาท ต่อรายการ (แล้วแต่กรณี) ประกอบด้วย

– ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายให้กับศูนย์รับฝาก 65 บาทต่อรายการ ไม่รวม VAT

– ค่าธรรมเนียมการออกใบพันธบัตรที่ต้องจ่ายให้ ธปท. กรณีบุคคลธรรมดา 20 บาทต่อฉบับ กรณีนิติบุคคล 100 บาทต่อฉบับ ไม่คิด VAT

– ค่าธรรมเนียมการดำเนินธุรกรรมในการถอนพันธบัตรจากระบบ Scripless ที่ต้องจ่ายให้ธนาคาร 200 บาทต่อรายการ รวม VAT

– ลูกค้าจะได้รับใบพันธบัตรประมาณ 4 – 10 วัน (ยังไม่รวมการจัดส่งใบพันธบัตร) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร

14. การขอออกใบพันธบัตรตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2563 สามารถออกเป็นชื่อบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ซื้อในครั้งแรกได้หรือไม่ เช่น นาย ก. ซื้อ แต่ขอออกใบเป็นชื่อ นาย ข.

นาย ก. จะต้องทำการโอนให้นาย ข. ก่อน โดยต้องนำ Bond Book ไปติดต่อที่ธนาคาร และกรอกแบบฟอร์มแจ้งการโอนกรรมสิทธิ์พร้อมเอกสารประกอบ โดยธนาคารไม่คิดค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างลูกค้ารายเดิมภายในกลุ่มผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ซื้อผ่านธนาคารเดียวกัน

ทั้งนี้ หากเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างลูกค้ารายเดิมให้กับลูกค้ารายใหม่ ธนาคารจะคิดค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์จากลูกค้ารายใหม่ 250 บาท ต่อรายการ รวม VAT แล้วจึงขอออกใบพันธบัตรเป็น นาย ข.

Photo : Shutterstock

15. การโอนเปลี่ยนมือระหว่างธนาคารทำได้หรือไม่

การโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) สามารถกระทำได้โดยอาจเป็นการโอนให้กับลูกค้ารายใหม่หรือลูกค้าเดิมภายในกลุ่มผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ซื้อผ่านธนาคารเดียวกัน แต่ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างธนาคารได้ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องนำ BondBook ไปติดต่อธนาคารที่ได้ฝากพันธบัตรไว้

16. ความเสี่ยงของการถือพันธบัตรรุ่นนี้มีอะไรบ้าง

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรไม่มีความเสี่ยงจากการสูญเงินต้น แต่อาจมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนในพันธบัตรอาจเสียโอกาสที่จะลงทุนในทางเลือกอื่น ๆ ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตร เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอนาคตสูงขึ้นมากกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร จะได้รับดอกเบี้ยคงที่ตามอัตราที่กำหนดไว้บนหน้าพันธบัตร ตลอดอายุพันธบัตร

ในกรณีที่นำพันธบัตรไปขายให้กับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่น ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับเงินต้นคืนไม่เท่ากับ 1,000 บาทต่อหน่วยตามที่ตราไว้ โดยราคาที่ได้อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ณ ขณะนั้นๆ อย่างไรก็ดี หากผู้ลงทุนถือพันธบัตร จนถึงวันครบกำหนดแล้ว จะได้รับคืนเงินต้นเต็มจำนวนเสมอ

ท่านสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ website ต่างๆ ดังนี้

https://www.bot.or.th/Thai/DebtSecurities

https://www.thaibma.or.th

https://www.thaibond.com

17. การไถ่ถอนคืนเงินต้นพันธบัตรเมื่อครบกำหนดต้องดำเนินการอย่างไร

กรณีพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless) ธปท. จะจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตร โดยโอนเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามรายชื่อและข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากศูนย์รับฝาก ซึ่งเป็นรายชื่อ ณ สิ้นวันทำการสุดท้ายก่อนวันปิดสมุดทะเบียนเพื่อจ่ายคืนเงินต้นตามที่ ธปท. ประกาศกำหนด

กรณีพันธบัตรแบบมีใบตราสาร (Scrip) การจ่ายคืนเงินต้นพันธบัตรจะกระทำได้ต่อเมื่อ ธปท. ได้รับคืนใบพันธบัตร โดย ธปท. จะจัดส่งแบบคำขอรับคืนเงินต้นพันธบัตรให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ก่อนวันครบกำหนดไถ่ถอน

เอกสารไถ่ถอน ประกอบด้วย

– คำขอรับคืนเงินต้นพันธบัตร ที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ได้กรอกข้อมูลและลงลายมือชื่อตามตัวอย่างที่ให้ไว้กับ ธปท.

– พันธบัตรฉบับจริงทุกฉบับ ที่ครบกำหนดไถ่ถอน

– สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากของผู้ถือกรรมสิทธิ์ (ยกเว้นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษและบัญชีเงินฝากประจำ) ที่รับรองสำเนาถูกต้อง

– กรณีบุคคลธรรมดา  – ยื่นด้วยตนเอง แสดงบัตรประจำตัวประชาชน

– ไม่มายื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่รับรองสำเนาถูกต้อง

– กรณีนิติบุคคล  แนบ – สำเนาเอกสารแสดงความเป็นนิติบุคคล เช่น หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ออกไว้ไม่เกิน 1 เดือน ใบอนุญาตจัดตั้ง และรายงานการประชุม ประจำปีครั้งล่าสุดของสมาคมมูลนิธิ ฯลฯ ที่รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนาม และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่มีอำนาจลงนาม ที่รับรองสำเนาถูกต้อง

– กรณีไถ่ถอนพันธบัตรของผู้เยาว์  การลงลายมือชื่อในคำขอรับคืนเงินต้นบันธบัตร ให้ดำเนินการดังนี้

ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อ

ผู้เยาว์อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้เยาว์และผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรม ลงลายมือชื่อร่วมกัน

ผู้เยาว์อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ อนุโลมไม่ต้องแจ้งบรรลุนิติภาวะก่อนไถ่ถอน และในคำขอรับคืนเงินต้นพันธบัตรให้ระบุบัญชีรับเงินต้นเป็นชื่อผู้เยาว์เท่านั้น  โดยผู้เยาว์และผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อร่วมกัน

หมายเหตุ – ยื่นด้วยตนเอง ให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชนผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรมและสูติบัตรหรือทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนผู้เยาว์ แล้วแต่กรณี

– ไม่มายื่นด้วยตนเองหรือส่งทางไปรษณีย์ แนบสำเนาบัตรประจาตัวประชาชนผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรม และสำเนาสูติบัตรหรือทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวประชาชนผู้เยาว์ แล้วแต่กรณี ที่รับรองสำเนาถูกต้อง

– ผู้ปกครองหรือผู้แทนโดยชอบธรรม ต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในพันธบัตร

– การไถ่ถอนพันธบัตรของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ถึงแก่กรรม ให้ผู้จัดการมรดกยื่นเอกสารไถ่ถอนแทน พร้อมคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด

18. การโอนพันธบัตรให้แก่ทายาท ในกรณีที่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรถึงแก่กรรม

กรณีพันธบัตรแบบไร้ใบตราสาร (Scripless)

– ผู้จัดการมรดกติดต่อยื่นขอจัดการมรดกที่ธนาคารผู้จัดจำหน่าย

– กรณีพันธบัตรแบบมีใบตราสาร (Scrip) ผู้จัดการมรดกติดต่อ ธปท. โดยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของผู้ถึงแก่กรรม ตามระเบียบที่ ธปท. กำหนด

]]>
1278516