อัตราดอกเบี้ย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 31 Oct 2023 11:13:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ธนาคารกลางญี่ปุ่นส่งสัญญาณยกเลิกนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย ดอกเบี้ยต่ำ หลังมองเงินเฟ้อสูงขึ้น https://positioningmag.com/1450043 Tue, 31 Oct 2023 06:54:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450043 ธนาคารกลางญี่ปุ่นส่งสัญญาณยกเลิกนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย ดอกเบี้ยต่ำ และคาดการณ์ว่าตัวเลขเงินเฟ้อสูงขึ้น 2% หลังจากนี้ สาเหตุสำคัญในการปรับนโยบายครั้งนี้คือส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นที่ห่างกันมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อค่าเงินเยนด้วย

ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันนี้ (31 ตุลาคม) ได้มีการส่งสัญญาณที่จะค่อยๆ ยกเลิกนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย หลังจากที่ใช้นโยบายดังกล่าวมาเป็นระยะเวลานานนับสิบปี เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศออกจากปัญหาเงินฝืด

นโยบายที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เตรียมนำมาใช้หลังจากนี้คือจะปล่อยให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นระยะ 10 ปีแต่เดิมมีอัตราผลตอบแทนที่ 0% จะปรับให้มีการเคลื่อนไหวสูงสุดที่ 1% แม้ว่าสภาวะภายนอกจะมีความไม่แน่นอนสูง BoJ จะเพิ่มความยืดหยุ่นในการควบคุมผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ย

BoJ ยังได้ปรับคาดการณ์ตัวเลขเงินเฟ้อมาอยู่ในระดับ 2% เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานที่มีราคาสูงขึ้น รวมถึงต้นทุนการนำเข้าสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และมองว่าหลังจากนี้ตัวเลขเงินเฟ้อจะปรับเข้ามาสู่ตัวเลขเป้าหมายที่วางไว้ได้

นอกจากนี้ BoJ ยังประกาศว่าจะยังมีการซื้อสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ETF หุ้นญี่ปุ่น พันธบัตรรัฐบาล หรือกองทรัสต์ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่อไป แต่มีลดปริมาณการซื้อลง โดยให้เหตุผลว่าเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจทำให้เกิดสภาวะการขึ้นอัตราค่าจ้างในช่วงหลังจากนี้ รวมถึงจะตรวจสอบพัฒนาการทางเศรษฐกิจเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ BoJ ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินก็คือส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกา ขณะที่ญี่ปุ่นยังใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 1% ทำให้ช่องว่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างมากกว่า 5% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา ปัจจัยดังกล่าวยังทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมาจนต้องมีการเข้าแทรกแซงหลายครั้ง

ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ประสบปัญหาเงินฝืดมาโดยตลอด จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากประชาชนไม่จับจ่ายใช้สอย

ปัญหาเงินฝืดที่เกิดขึ้นทำให้ ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าว ได้ออกมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และมีการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากปัญหาเงินฝืดเป็นระยะเวลานับ 10 ปี ก่อนที่นโยบายดังกล่าว BoJ เตรียมจะยกเลิกหลังจากนี้

ที่มา – Reuters, NHK

]]>
1450043
ดอกเบี้ยนโยบายไทยสูงสุดในรอบ 10 ปีแล้ว หลัง กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ล่าสุดอยู่ที่ 2.5% https://positioningmag.com/1445736 Wed, 27 Sep 2023 07:46:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445736 ดอกเบี้ยนโยบายไทยสูงสุดในรอบ 10 ปีแล้ว หลัง กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ล่าสุดอยู่ที่ 2.5% ขณะเดียวกันก็ยังมีการปรับตัวเลขเป้าหมายของ GDP ไทย ซึ่งปีนี้คาดว่าจะเติบโตต่ำกว่า 3% แล้ว 

กนง. ได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% โดยให้เหตุผลถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องนั้นสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ทำให้ล่าสุดอัตราดอกเบี้ยไทยอยู่ที่ 2.5% และเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงสุดในรอบ 10 ปี

โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ 2.5% นี้ต้องย้อนไปถึงปี 2013 และไทยไม่เคยมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าตัวเลขดังกล่าวเลยหลังจากปีดังกล่าว ก่อนที่จะ กนง. จะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคมปี 2022 ที่ผ่านมา

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลากหลายสถาบันการเงินนั้นต่างให้มุมมองทั้งมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้แบบเสียงแตก ต่างกับหลายครั้งก่อนหน้านี้ โดยผลสำรวจของ Bloomberg นั้นนักเศรษฐศาสตร์ 11 คนคาดว่าจะมีการคงอัตราดอกเบี้ย แต่ 10 คนมองว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ผลการประชุม กนง. เศรษฐกิจไทยในภาพรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัว แม้จะขยายตัวชะลอลงในปีนี้จากอุปสงค์ต่างประเทศ โดยอัตราการขยายตัวในปี 2567 จะเพิ่มสูงขึ้นจากทั้งอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ ด้านอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2567

ในการประชุม กนง. ยังมีการปรับคาดการณ์ GDP ไทยในปีนี้เติบโต 2.8% และปี 2024 ที่ 4.4% (ดูได้จากรูปด้านล่าง) ปัจจัยสำคัญมากจากการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้ ขณะที่ในปีหน้าได้ปัจจัยมาจากอุปสงค์ในประเทศ ภายใต้บริบทที่ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง และภาคการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว รวมถึงนโยบายภาครัฐ

ขณะที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อนั้น กนง. คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 1.6% ในปีนี้ และ 2.6% ในปีหน้า แต่มองความเสี่ยงถึงผลกระทบจากเอลนีโญ รวมถึงผลกระทบของนโยบายภาครัฐ

อย่างไรก็ดี ในการประชุมครั้งนี้ กนง. มีมุมมองว่าการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าจะพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ท่ีอาจได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐ

บทวิเคราะห์ของ Citi ที่วิเคราะห์เศรษฐกิจไทยเมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา มองว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยจะมีระดับสูงสุดที่ 2.50% โดยอ้างอิงการประชุมของ กนง. ในรอบที่ผ่านมา และจะมีการคงอัตราดอกเบี้ยจนถึงปี 2025 และไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงเร็วๆ นี้

ทางด้าน Goldman Sachs ได้ออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอาเซียน โดยมองว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5% ยาวไปถึงปี 2025 จากเดิมที่คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาส 3 ของปี 2024 โดยให้เหตุผลจากการคงดอกเบี้ยเป็นระยะยาวของธนาคารกลางสหรัฐฯ

Note: เพิ่มบทวิเคราะห์จาก Goldman Sachs และอัพเดตมุมมองจาก Citi

]]>
1445736
รัสเซีย ขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 20% จาก 9.5% หลังเงินรูเบิลร่วงหนัก-คนเเห่ถอนเงิน https://positioningmag.com/1375733 Mon, 28 Feb 2022 11:23:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375733 ธนาคารกลางรัสเซีย ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวดเดียวสู่ระดับ 20% จากเดิม 9.5% เป็นกรณีฉุกเฉิน รับมือกับค่าเงินรูเบิลร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หลังการคว่ำบาตรเเละเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ยังมีคำสั่งให้ภาคเอกชนในรัสเซีย ขายสกุลเงินต่างประเทศที่ถือครองอยู่ในอัตราส่วน 80% ของรายได้ที่ได้จากการซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศ เเละสั่งให้โบรกเกอร์ห้ามชาวต่างชาติขายหลักทรัพย์ เพื่อควบคุมผลกระทบในตลาดเงิน

ค่าเงินรูเบิลแตะระดับต่ำสุดที่ 120 ต่อดอลลาร์บนแพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงิน EBS หลังจากประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน สั่งให้กองกำลังนิวเคลียร์ของรัสเซียอยู่ในการสถานะแจ้งเตือนพิเศษ ที่ถือเป็นสถานะการเตรียมพร้อมขั้นสูงสุด

ขณะเดียวกันประเทศตะวันตก กำหนดมาตรการคว่ำบาตรอย่างรุนแรงต่อรัสเซียมากขึ้น เช่น การตัดธนาคารกลางรัสเซียจากระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ (SWIFT) ซึ่งจะทำให้ภาคธุรกิจและบริษัทต่างๆ ของรัสเซียจะไม่สามารถทำธุรกรรมได้แบบเรียลไทม์จากบริการของ SWIFT โดยเฉพาะภาคธุรกิจด้านการเกษตรและพลังงานที่มีมูลค่าการค้าจำนวนมหาศาล 

ธนาคารกลางรัสเซีย ตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อไว้ที่ 4% และย้ำว่าจะทำทุกวิถีทางที่จำเป็นเพื่อประกันเสถียรภาพทางการเงิน อย่างการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับที่พอจะชดเชยค่าเสื่อมราคาที่เพิ่มขึ้นและความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ สิ่งนี้จำเป็นเพื่อรองรับความมั่นคงทางการเงิน และปกป้องเงินออมของประชาชนจากการเสื่อมราคา” 

หลังความตึงเครียดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเเละความกังวลเรื่องผลกระทบการคว่ำบาตร ก็ปรากฏภาพประชาชนในรัสเซียตามพื้นที่ต่างๆ ได้เข้าคิวแห่ ‘ถอนเงินสด’ ออกจากตู้ ATM ทั่วประเทศ

รัสเซียเคยมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับที่สูงกว่า 17% ในปี 2014 เมื่อครั้งรัสเซียเผนวกรวมไครเมียมาจากยูเครน

มาตรการเหล่านี้อาจช่วยลดอารมณ์ของตลาดที่กำลังปะทุขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็บ่อนทำลายรากฐานของนโยบายการเงินรัสเซียไปด้วย” BCS Global markets กล่าว

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1375733
Goldman Sachs คาดเฟดจะประกาศ ‘ขึ้นดอกเบี้ย’ ถึง 7 ครั้งในปีนี้ https://positioningmag.com/1373697 Fri, 11 Feb 2022 08:18:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373697 Goldman Sachs วาณิชธนกิจรายใหญ่ คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 7 ครั้งภายในปีนี้ เพื่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ หลังตัวเลข CPI สูงกว่าที่คาดไว้

ก่อนหน้านี้ Goldman Sachs ประเมินว่า เฟดจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 5 ครั้งในปีนี้ เเต่มุมมองนี้เปลี่ยนไป หลังดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ หรือ CPI ประจำเดือนม.. แตะที่ระดับ 7.5% สูงสุดในรอบ 40 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 1982 สร้างแรงกดดันให้เฟดต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจัง

ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ก็พุ่งขึ้น 6.0% ในเดือนม.. เมื่อเทียบรายปี

นักเศรษฐศาสตร์ของ Goldman Sachs ประเมินว่า ในการประกาศขึ้นดอกเบี้ยของเฟดทั้ง 7 ครั้ง อาจจะมีการขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.25% อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย ‘0.50%’ ในการประชุมนโยบายการเงินเดือนมี..นี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงมาก รวมไปถึงการปรับเพิ่มของค่าจ้างในตลาดเเรงงาน

เช่นเดียวกับความเห็นของนักวิเคราะห์จาก Citi ที่คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมี..นี้ เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ

ตอนนี้เราคาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในเดือนมีนาคม ตามด้วยการปรับขึ้น 0.25% สี่ครั้งในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปี 2033 หลังจากที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 1.50% ในปีนี้

ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าเฟดจะคงแนวทางนโยบายการเงินเเบบ ’ค่อยเป็นค่อยไปแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงเกินคาดก็ตาม

 

ที่มา : Straitstimes , Reuters , CNBC 

]]>
1373697
ประธาน “เฟด” มอง อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะอยู่ “ระดับต่ำ” อีกนานหลายปี เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1295743 Mon, 07 Sep 2020 11:25:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295743 เศรษฐกิจอเมริกาเเละทั่วโลกกำลังเผชิญความยากลำบาก จากผลกระทบของ COVID-19 ล่าสุด ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) มองว่า อัตราดอกเบี้ยควรอยู่ในระดับต่ำต่อไป “อีกนานหลายปี” เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว

Jerome Powell ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว NPR ว่าเราคิดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จำเป็นต้องใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ที่จะช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมันอาจจะต้องนานเป็นปีๆ

ไม่ว่าจะนานแค่ไหน เราจะไปที่นั่น เราจะไม่ถอนการสนับสนุนก่อนเวลาอันควร ตราบใดที่เราคิดว่าเศรษฐกิจยังต้องการอยู่

ความเห็นของ Powell เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับความเห็นของเจ้าหน้าที่ Fed คนอื่นๆ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ Fed ได้เปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งใหญ่ เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอเมริกา โดยกำหนดให้อัตราเงินเฟ้อสามารถเคลื่อนตัวขึ้นเหนือระดับ 2% ของ Fed ในช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากเคลื่อนตัวต่ำกว่าเป้าหมายตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่า Fed ไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบเป้าหมาย 2% เหมือนสมัยก่อน

เราได้ทำหลายอย่างที่เราทำได้ แต่เรายังทำได้มากกว่านี้ และเราก็จะทำหากมองว่าจำเป็นต้องทำ” 

ด้านสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่บอบช้ำจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างมาก ตอนนี้เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรล่าสุด เพิ่มขึ้น 1.37 ล้านตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงานลดลงมาเหลือ 8.4%

ประธาน Fed มองว่า เป็นตัวเลขรายงานที่ดี แม้ว่าอัตราว่างงานยังสูงกว่าช่วงแรกๆ ของการฟื้นตัวจากวิกฤตการเงินโลก เมื่อปี 2008-09 แต่ก็ถือว่าดีขึ้นจากที่เคยพุ่งแตะระดับสูงสุดที่ 14.7% ในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 พร้อมขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัย อย่างการสวมหน้ากากอนามัย และรักษาระยะห่างทางสังคม เพราะการร่วมมือกันของคนทั้งชาติ จะเป็นประโยชน์มหาศาลกับเศรษฐกิจ

 

ที่มา : CNBC , Reuters

]]>
1295743
ผู้ว่าฯ ธปท. มองไทยคุม COVID-19 กรณีทหารอียิปต์ได้ พร้อมอัดมาตรการเพิ่ม หากระบาดรอบ 2 https://positioningmag.com/1287716 Tue, 14 Jul 2020 10:05:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287716 ผู้ว่าฯ ธปท. เชื่อมั่นรัฐบาลบุคลากรด้านสาธารณสุข คุมการเเพร่ระบาดของ COVID-19 กรณีทหารอียิปต์ได้ เเต่หากรุนเเรงถึงขั้นระบาดหนักรอบ 2 เเบงก์ชาติพร้อมอัดมาตรการเพิ่มเติม รับปีนี้เศรษฐกิจชะลอกว่าที่คาด แต่ยืนยันไทยผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 มาแล้ว มองโอกาสอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0% “เกิดขึ้นยาก”

ในการประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting) ครั้งที่ 2/2563 เพื่อสรุปแนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการเงินรายไตรมาส (14 .. 63)

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หลังมีมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID 19 ในประเทศได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มทยอยปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งการเดินทาง การจับจ่ายใช้สอยและการผลิต

อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีนโยบายด้านอุปทานเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ หลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลง ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อเสริมสร้างให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและช่วยรักษาระดับศักยภาพการเติบโตให้สามารถกลับมาเติบโตได้ในระยะต่อไป

โดยในช่วงไตรมาส 3 จะเริ่มเห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมา และมองว่าไตรมาส 3-4 ปี 2563 จะฟื้นตัวขึ้น แต่ยังมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือ “การจ้างงาน” เพราะภาคบริการยังไม่เปิดทำกิจกรรมได้เต็มที่ ส่วนภาคการผลิตเเละอุตสาหกรรมยังมีกำลังการผลิตส่วนเกิน รวมถึงกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ที่เสี่ยงว่างงานจำนวนมาก

 

วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุถึงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 จากการกรณีทหารอียิปต์ ที่กำลังสร้างความกังวลให้ประชาชนในขณะนี้ว่า เชื่อว่ารัฐบาลและบุคลากรด้านสาธารณสุขจะรับมือได้ โดยไม่ต้องออกมาตรการควบคุมแรงเหมือนรอบแรก แต่หากเกิดการระบาดรอบ 2 ในไทยขึ้นมาจริงๆ ทางธปท.ก็พร้อมออกมาตรการเพิ่มเติมในการเข้ามาดูแลเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งการออกมาตรการต่าง ๆ ต้องมีการพิจารณาและชั่งน้ำหนักถึงผลดีผลเสีย เพราะทุกนโยบายไม่ฟรี

ด้านเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. มองว่า ความเป็นไปได้ที่ไทยจะใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0% นั้น  เกิดขึ้นยากที่ผ่านมาได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 3 ครั้งและมีสัญญาณตอบกลับที่ดีจากสถาบันการเงิน ซึ่งไทยไม่สามารถดำเนินอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำมากเหมือนต่างประเทศได้ เพราะมีบริบทและโครงสร้างที่ต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อผู้ออมเงินได้

 

ที่มา : ธนาคารเเห่งประเทศไทย , mgronline 

]]>
1287716
“เฟด” คงอัตราดอกเบี้ย 0-0.25% อัดฉีดเงินฟื้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจีดีพี Q1 ติดลบ 4.8% https://positioningmag.com/1276201 Thu, 30 Apr 2020 06:33:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276201 ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีมติคงดอกเบี้ยอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0-0.25% โดยพร้อมจะใช้ “เครื่องมือทางการเงินทุกรูปแบบ” เพื่อกระตุ้นเเละเยียวยาเศรษฐกิจที่ได้รับกระทบอย่างหนัก จากโรคระบาด COVID-19

ความเคลื่อนไหวนี้ เป็นไปพร้อมกับการเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐฯ ประจำไตรมาส 1/2563 โดยเศรษฐกิจติดลบถึง 4.8% แย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะติดลบ 3.5% เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่จีดีพีในไตรมาส 4/2008 ในช่วงวิกฤตการเงินที่เคยติดลบ 8.4%

ในช่วงไตรมาสเเรก การใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯ ลดลง 7.6% การใช้จ่ายด้านสินค้าคงทนลดลง 16.1% และการใช้จ่ายในภาคบริการดลดลง 10.2% ด้านการส่งออกหดตัวลง 8.7% และการนำเข้าหดตัวลง 15.3%

ขณะที่ผลกระทบจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สหรัฐฯ มียอด “ผู้ว่างงาน” สูงเป็นประวัติการณ์ โดยจำนวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงาน นับตั้งแต่เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 26.5 ล้านคน เเละคาดว่าจะบวกเพิ่มอีก 3.5 ล้านคน เป็นราว 30 ล้านคนในสิ้นเดือน เม.ย. ทำให้อัตราว่างงานของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 14%

Jerome Powell ประธานเฟด ระบุระหว่างแถลงผลการประชุมว่า อัตราการจ้างงานในสหรัฐฯ คงไม่สามารถฟื้นกลับมาสู่ระดับต่ำสุดของเดือน ก.พ. ที่ 3.5% ได้ในเร็ววันนี้ ยังต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับมามีการจ้างงานในระดับสูงสุดได้อีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม เขามองว่า มาตรการห้ามออกนอกเคหะสถาน เป็นการ “ลงทุนเพื่อสุขภาพ” ทั้งในระดับบุคคลและส่วนรวม เเม้จะทำให้มีความยากลำบากทางเศรษฐกิจ

ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เฟดได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่ระดับใกล้ 0% พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเศรษฐกิจ ทั้งการอัดฉีดเม็ดเงินหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเพื่อรักษาสภาพคล่องของตลาดสินเชื่อ
ซื้อพันธบัตรและปล่อยเงินกู้ให้กับภาคธุรกิจ รวมถึงซื้อคืนหลักทรัพย์ที่อยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ที่จดจำนองด้วย

โดยเเผนการถัดไป ประธานเฟด ระบุว่า จะมีการใช้ “เครื่องมือทางการเงินทุกรูปแบบ” เพื่อขยายโครงการความช่วยเหลือฉุกเฉินที่จำเป็น ช่วยเหลือครัวเรือนเเละภาคธุรกิจในสหรัฐฯิ ให้สามารถรับมือกับสภาพเศรษฐกิจที่อยู่ในสภาวะวิกฤต เเละยืนยันว่าเฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจนกว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัว เเละเงินเฟ้อกลับเข้าสู้เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2%

 

ที่มา : CNN 

]]>
1276201
กางเเผน 2563 “กรุงศรี” เจาะลูกค้าด้วยดิจิทัล จ่อหั่นเป้าสินเชื่อ พิษไวรัสฉุด GDP ไม่ถึง 2.5% https://positioningmag.com/1264209 Thu, 13 Feb 2020 10:34:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264209 เปิดแผนปี 2563 ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา กังวลไวรัส COVID-19 กระทบเศรษฐกิจไทย จ่อปรับลด GDP ลงไม่ถึง 2.5% เน้นรักษาพอร์ตสินเชื่อรายย่อย-สินเชื่อธุรกิจ 50% เพื่อลดผลกระทบดอกเบี้ยขาลง ย้ำพยายามคุมหนี้ NPL ไม่เกิน 2.5% วางกลยุทธ์การเงินดิจิทัลเต็มตัว เผยสนใจลงทุนเวียดนาม อินโดฯ

เซอิจิโระ อาคิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ในปี 2563 ยังเป็นความท้าทายในการทำธุรกิจ โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเเบบชะลอตัว เเละต่ำกว่าศักยภาพ ส่วนเศรษฐกิจโลกมีทิศทางที่ดีขึ้น เเต่การฟื้นตัวยังคงเปราะบาง

“ในปีนี้กรุงศรีฯ ตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อที่ระดับ 5-7% และมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิที่ 3.4-3.6% การเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอยู่ในช่วง -3% ถึง 3% และอัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2.5%”

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกำลังทบทวนปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP เพราะก่อนหน้านี้ ธนาคารไม่ได้รวมการคำนวณปัจจัยผลกระทบการระบาดไวรัสโคโรนา COVID -19 ในแผนธุรกิจปี 2563 จากเดิมที่เคยตั้งเป้าการเติบโตสินเชื่ออยู่ที่ 5-7% ภายใต้ GDP 2.5% ซึ่งจะมีการประกาศตัวเลขใหม่เร็วๆ นี้ 

ทั้งนี้ เป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อ 5-7% แบ่งเป็น สินเชื่อรายใหญ่เติบโต 4-6% ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) 5-7% และธุรกิจรายย่อยตั้งเป้าเติบโต 5-7% ซึ่งแบ่งเป็น สินเชื่อรถยนต์ 6-8% สินเชื่อที่อยู่อาศัย 4-6% และสินเชื่อบัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล 4-6%

สำหรับ “หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้” (NPL) อาคิตะ มองว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเเตะระดับ 2.5% จากปีที่เเล้วอยู่ที่ 1.98% ซึ่งมาจากปัจจัยเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเเละสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เเต่ทางธนาคารเชื่อว่าจะบริหารให้เป็นไปตามกรอบที่วางไว้ได้

ขณะที่ “รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย” (ค่าธรรมเนียมต่างๆ) ที่ทางธนาคารตั้งเป้าไว้ที่ -3 ถึง 3% คาดว่าสามารถรักษาให้อยู่ในกรอบนี้ได้ เเม้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะออกหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเรื่องค่าธรรมเนียมออกมาก็ตาม โดยกรุงศรีมีเเนวทางดูเเลความสมดุลของ “พอร์ตสินเชื่อ” ระหว่างสินเชื่อรายย่อย 50% และสินเชื่อธุรกิจ 50% ซึ่งทำให้ธนาคารรักษารายได้ดีและมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ที่ 3.4-3.6%

สำหรับแผนเชิงยุทธศาสตร์ของกรุงศรีในปีนี้ จะมี 3 ด้านที่ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม ได้เเก่

  • ยกระดับประสบการณ์ลูกค้า

ธนาคารจะเน้นเรื่อง Digital Transformation ให้มาอยู่ในผลิตภัณฑ์การเงินต่างๆ เช่นสินเชื่อดิจิทัล ผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับสกุลเงินต่างประเทศ การนำระบบติดตามขั้นตอนการทำงานของพนักงานในการให้บริการของลูกค้า รวมถึงจะมีการเข้าถึงลูกค้าเเบบ Omni Channel มากขึ้น

  • ใช้ประโยชน์จากศักยภาพด้านข้อมูล

จะมีการนำเทคโนโลยี AI เเละ Machine Learning มาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อที่จะเข้าใจลูกค้ามากยิ่งขึ้น รวมถึงการใช้ ระบบ Automation ต่างๆ เพื่อทำให้ระบบการทำงานรวดเร็วมากขึ้น เเละธนาคารยังจะบริหารความเสี่ยงโดยใช้ AI มาช่วยอีกด้วย

  •  เน้นกลยุทธ์ความร่วมมือกับพันธมิตร

ปีนี้กลยุทธ์ของกรุงศรีจะให้ความสำคัญการพัฒนา Ecosystem เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น มีการ
พัฒนาเเพลตฟอร์ม “พร้อมสตาร์ท” ที่เป็นไลฟ์สไตล์ของคนใช้รถ ของกรุงศรี ออโต้ที่ให้บริการสินเชื่อยานยนต์

นอกจากนี้ ในปี 2563 กรุงศรีตั้งเป้าหมายลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 7.5 ล้านกิโลกรัมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ในการดำเนินงานในทุกกิจกรรมของธนาคาร รวมทั้งการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำของประเทศ

ส่วนเป้าหมายการขยายธุรกิจไปต่างประเทศนั้น ผู้บริหารกรุงศรี ตอบว่า ตอนนี้มีความร่วมมือกับธนาคารพันธมิตรที่อยู่ในเครือข่าย MUFG ที่เป็นบริษัทเเม่ เเละมีพันธมิตรที่ร่วมลงทุนในประเทศฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว และเมียนมา โดยกำลังมองหาโอกาสลงทุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกำลังสนใจเวียดนาม กับอินโดนีเซีย

“เเผนการขยายไปต่างประเทศ เราดูไว้ทุกแนวทาง ไม่ได้เน้นว่าจะต้องซื้อกิจการแต่อย่างเดียว”

ทั้งนี้ ผลประกอบการของธนาคารกรุงศรี ในปี 2562 มีกำไรสุทธิ 32.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 32% จากปี 2561

ด้านการขยายสาขาเเละการเพิ่มหรือลดพนักงานนั้น อาคิตะ ตอบว่า “ปีนี้จะไม่เพิ่มและไม่ลด ทั้งสาขาเเละพนักงาน” โดยจากข้อมูลของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ล่าสุดมีช่องทางการให้บริการ (Service Outlets) เเบ่งเป็น
• 650 สาขาที่ให้บริการทางการเงินในรูปแบบปกติ
• 40 สาขาที่ให้บริการเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
• 6,750 ATMs
• 83 เคาน์เตอร์แลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ
• 6 ศูนย์บริการ และห้องรับรอง KRUNGSRI EXCLUSIVE
• 5 ศูนย์บริการ Krungsri The Advisory
• 62 ศูนย์บริการ Krungsri Business Centers
• จำนวนสาขา BANKING AGENTS 142,100+ touch points

 

]]>
1264209
เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ กนง. ประกาศคงดอกเบี้ย 1.25% หั่นเป้าจีดีพีปีนี้เหลือเเค่ 2.5% https://positioningmag.com/1257564 Wed, 18 Dec 2019 09:03:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257564 เป็นไปตามคาด วันนี้ (18 ธ.ค.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% เช่นเดิม ขณะที่คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตเพียงแค่ 2.5% จากที่เคยคาดไว้ที่ 2.8% ส่วนปีหน้านั้น กนง. คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเพียงแค่ 2.8% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.3%

โดยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมและต่ำกว่าระดับศักยภาพ จากการส่งออกที่ลดลง ส่งผลไปสู่การจ้างงานและอุปสงค์ในประเทศเเละอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ

ด้านภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลาย ซึ่งเป็นผลจากการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายสองครั้งในช่วงที่ผ่านมา ส่วนเสถียรภาพระบบการเงินได้รับการดูแลไปแล้วบางส่วน แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม

“ปีหน้าจะขยายตัวดีกว่าปีนี้มาอยู่ที่ 2.8% เห็นสัญญาณของเศรษฐกิจโลกดีขึ้น อาจจะส่งผลให้การส่งออกของไทยปรับตัวดีขึ้น” ทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารเเห่งประเทศไทยกล่าว

กนง. มองว่า แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่งผลให้การส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มทยอยปรับดีขึ้นในปีหน้า อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าระดับศักยภาพและต่ำกว่าที่ประมาณการไว้เดิม

โดยมองทิศทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ ดังนี้

การส่งออกสินค้า

ที่ผ่านมาหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้และจะมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาด ตามปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลงจากสภาวะการกีดกันทางการค้า รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในภาคการผลิตที่มีผลต่อความสามารถ
ในการแข่งขันของภาคการส่งออก

ภาคการท่องเที่ยว 

มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง

อุปสงค์ในประเทศ

การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ ส่วนหนึ่งจากการเลื่อนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจและโครงการร่วมลงทุนของรัฐและเอกชนในโครงสร้างพื้นฐานบางโครงการ

การบริโภคภาคเอกชน

มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากรายได้ของครัวเรือนและการจ้างงานที่ปรับลดลงโดยเฉพาะในภาคการผลิตเพื่อส่งออก ประกอบกับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงจะเป็นแรงกดดันการบริโภคภาคเอกชนในระยะต่อไป

อัตราเงินเฟ้อ

โดยเฉลี่ยทั้งปี 2562 และปี 2563 มีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ จากราคาพลังงานที่ต่ำกว่าคาดตามเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวในระดับต่ำและอุปทานพลังงานที่จะเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มทยอยปรับสูงขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อาทิ ผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจ e-commerce การแข่งขันด้านราคาที่สูงขึ้น รวมถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ช้ากว่าในอดีต

อัตราแลกเปลี่ยน- ค่าเงินบาท

แม้เงินบาททรงตัวจากการประชุมครั้งก่อน แต่ในช่วงที่ผ่านมาเคลื่อนไหวทั้งสองทิศทางและสอดคล้องกับสกุลเงินภูมิภาคมากขึ้น คณะกรรมการฯ กังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่ยังแข็งค่าอยู่เมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าคู่แข่ง จึงเห็นควรให้ติดตามสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิดท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านต่างประเทศที่มีอยู่สูง รวมถึงให้ติดตามประสิทธิผลของการผ่อนคลายกฎเกณฑ์กำกับดูแลการแลกเปลี่ยนเงินเพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกและความจำเป็นในการดำเนินมาตรการเพิ่มเติม

ติดตามความเสี่ยง : การกีดกันทางการค้า

จากสภาวะการกีดกันทางการค้าและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังมีความไม่แน่นอน รวมทั้งจะติดตามผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการใช้จ่ายของภาครัฐ ความคืบหน้าของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและผลต่อเนื่องไปยังการลงทุนภาคเอกชน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง
เชิงโครงสร้างในตลาดแรงงานที่จะส่งผลต่อการจ้างงานในระยะต่อไป

ติดตามความเสี่ยง : สินเชื่อของธุรกิจ SMEs ด้อยลง – หนี้ของภาคครัวเรือน

กนง. มองว่า ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังต้องติดตามความเสี่ยงที่อาจสร้างความเปราะบางให้เสถียรภาพระบบการเงินได้ในอนาคตโดยเฉพาะคุณภาพสินเชื่อของธุรกิจ SMEs ที่ด้อยลง เเละเห็นว่ามาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ได้ดำเนินการไปช่วยดูแลการสะสมความเปราะบางในระบบการเงินได้ในระดับหนึ่ง

แต่ยังต้องติดตามพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้นในภาวะดอกเบี้ยต่ำ พฤติกรรมการก่อหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและธุรกิจ SMEs การขยายสินทรัพย์และความเชื่อมโยงภายในของสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมถึงการก่อหนี้ของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาจนำไปสู่การประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร

ที่มา : ธนาคารเเห่งประเทศไทย

 

]]>
1257564