อเมริกา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 09 Apr 2024 04:58:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รัฐบาลสหรัฐฯ ทุ่ม 6.6 พันล้าน ดึง ‘TSMC’ ผู้ผลิตชิปเบอร์ 1 ของโลก ขยายโรงงานในอเมริกา https://positioningmag.com/1469461 Tue, 09 Apr 2024 03:29:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469461 ไม่ใช่แค่สกัดกั้น จีน ในการเข้าถึงชิประดับสูง แต่ สหรัฐฯ ยังเดินเกมดึงพันธมิตรเข้ามาลงทุนในประเทศ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ วางแผนที่จะมอบเงิน 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง TSMC เพื่อขยายโรงงานในรัฐแอริโซนา

รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่า ได้ลงนามในข้อตกลงที่ไม่มีผลผูกพันกับ TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.) บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อันดับ 1 ของโลกสัญชาติไต้หวัน เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับลงทุนเปิดโรงงานผลิตในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะให้เงินอุดหนุนมูลค่า 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกเหนือจากเงินกู้รัฐบาลประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ จากกฎหมาย Chips and Science Act

ขณะที่ TSMC เองก็ตกลงจะเพิ่มวงเงินลงทุนในสหรัฐฯ อีก 25,000 ล้านดอลลาร์ รวมเป็น 65,000 ล้านดอลลาร์ โดยเตรียมที่จะสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ภายในปี 2030 โดยการลงทุนดังกล่าว ถือเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐแอริโซนา  

“อเมริกาคิดค้นชิปเหล่านี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราเปลี่ยนจากการผลิตเกือบ 40% ของกำลังการผลิตของโลก เหลือเพียง 10% และไม่มีชิปที่ทันสมัยที่สุดเลย นั่นทำให้เราเผชิญกับความเปราะบางทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติอย่างมีนัยสำคัญ” โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าว

ปัจจุบัน TSMC ครองสัดส่วนถึง 90% ของชิปที่ทันสมัยที่สุดในโลก โดย Mark Liu ประธาน TSMC กล่าวว่า การจัดตั้งโรงงานในสหรัฐฯ จะทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงชิปภายในประเทศ ที่สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนไปจนถึงดาวเทียม รวมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ด้วย

ทั้งนี้ โรงงานทั้ง 3 แห่งคาดว่าจะสร้างงานด้านเทคโนโลยีประมาณ 6,000 ตำแหน่ง และงานทางอ้อมมากกว่า 20,000 ตำแหน่ง เช่น ในการก่อสร้างการรักษาความปลอดภัย และซัพพลายเชน รวมถึงจะดึงดูดซัพพลายเออร์เซมิคอนดักเตอร์ 14 ราย ให้กับรัฐ

การที่สหรัฐฯ สามารถดึง TSMC มาลงทุนในประเทศได้นั้น ถือว่า Win-Win ทั้ง 2 ฝ่าย เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องนำการผลิตชิปมาใช้ในประเทศมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการผลิตชิปจากประเทศอื่น หลังจากที่เจอปัญหาชิปขาดแคลนไปในช่วงการระบาดของ COVID-19 จนส่งผลให้ราคาสูงขึ้น

ขณะที่ประเทศไต้หวันก็อยู่ในตำแหน่งที่อ่อนแอเช่นกัน เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านซับพลายเชนและเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กังวลว่า ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจทำให้เกิดการรุกรานทางทหารกับไต้หวัน อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิปที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้ ไต้หวันเพิ่งเจอกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งย้ำให้เห็นถึงความเสี่ยงของอุตสาหกรรมต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สำหรับกฎหมาย Chips and Science Act ได้ผ่านการรับรองในเดือนสิงหาคม 2022 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศของสหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและแข่งขันกับคู่แข่งได้ดีขึ้น เช่น จีน โดยรัฐบาลได้ วางงบอุดหนุนด้านการวิจัยและการผลิตสูงถึง 52,700 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้สมาชิกสภาคองเกรสยังได้อนุมัติวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีก 75,000 ล้านดอลลาร์ด้วย

Source

]]>
1469461
‘จีน’ จวก ‘อเมริกา’ ว่าสร้างอุปสรรคให้กับอุตสาหกรรมชิปมากขึ้น หลังเพิ่มเกณฑ์ควบคุมส่งออกไปยังจีน https://positioningmag.com/1468601 Mon, 01 Apr 2024 11:59:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468601 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้แก้ไขกฎเกี่ยวกับการส่งออกชิป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้จีนเข้าถึงชิปปัญญาประดิษฐ์และเครื่องมือสร้างชิปของสหรัฐฯ ได้ยากขึ้น เนื่องจากข้อกังวลด้านความมั่นคงของชาติ เพรากลัวว่าจีนจะนำชิปไปเสริมประสิทธิภาพให้กองทัพ

ล่าสุด จีน ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กฎเกณฑ์การส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ ที่เข้มงวดขึ้น โดยกล่าวว่า อเมริกากำลังสร้างอุปสรรคในการค้าขายและเพิ่มความไม่แน่นอนในอุตสาหกรรมชิปมากขึ้น โดยความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างบริษัทจีนและบริษัทต่างชาติ และยังเป็นอันตรายต่อสิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของพวกเขา จีนต่อต้านสิ่งนี้อย่างแข็งขัน

สหรัฐฯ ได้ขยายแนวคิดเรื่องความมั่นคงของชาติ แก้ไขกฎเกณฑ์ตามอำเภอใจ และมาตรการควบคุมที่เข้มงวดขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่จะสร้างอุปสรรคมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังสร้างภาระในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่หนักขึ้นสำหรับบริษัทจีนและอเมริกาที่ต้องการทำงานร่วมกันในเชิงเศรษฐกิจและทางการค้าตามปกติ และยังสร้างความไม่แน่นอนอย่างมากให้กับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก” โฆษกกระทรวงพาณิชย์กล่าว

ย้อนไปช่วงเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ กำหนดกฎเกณฑ์ห้ามการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ไปยังจีน ทำให้บริษัทอย่าง Nvidia และ AMD ได้แก้ปัญหาโดยการ ผลิตชิปสำหรับจำหน่ายให้จีนโดยเฉพาะ โดยจะออกแบบให้ตรงตามสเปกที่สหรัฐฯ ตั้งไว้ แต่จากกฎใหม่ที่สหรัฐออกมา จะมาอุดช่องว่างดังกล่าว โดยกฎเกณฑ์ใหม่ซึ่งมีความยาว 166 หน้าจะมีผลบังคับใช้ในวันพฤหัสบดีหน้า (4 เม.ย.) นี้

จีนพร้อมที่จะทำงานร่วมกับทุกฝ่ายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน และส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก”

Source

]]>
1468601
นักเศรษฐศาสตร์มองปี 65 ปัญหา ‘เงินเฟ้อ’ ยิ่งรุนแรงเนื่องจากไม่มีมาตรการช่วยเหลือจากรัฐ https://positioningmag.com/1369196 Thu, 30 Dec 2021 03:59:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369196 การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ได้นำไปสู่ยุคใหม่ของความไม่เท่าเทียมด้วยปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยนักเศรษฐศาสตร์เตือนว่าประชากรที่ยากจนต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนต่าง ๆ ที่เพิ่มสูงขึ้น และในปีหน้าปัญหายิ่งรุนแรง เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของภาครัฐอาจหายไปเนื่องจากการระบาดที่ลดลง

การวิเคราะห์ล่าสุดโดย Penn Wharton พบว่า ในปี 2021 ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยและปานกลางในสหรัฐฯ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 7% หากซื้อสินค้าแบบเดียวกันกับที่พวกเขาซื้อในปี 2020 หรือในปี 2019 ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อครัวเรือน

โดยค่าอาหารเพิ่มขึ้น 6.4% ในปีที่ผ่านมา ขณะที่น้ำมันเบนซินพุ่งขึ้น 58% และตอนนี้หลายคนกำลังเผชิญกับราคาที่สูงขึ้นเนื่องจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลกลางค่อย ๆ หายไป แต่ในทางตรงกันข้าม การใช้จ่ายของครัวเรือนที่ร่ำรวยเพิ่มขึ้นเพียง 6%

ประเมินราคาน้ำมันในไทยพุ่ง 25% กระทบธุรกิจ ครัวเรือนเเบกค่าครองชีพเพิ่ม 340 บาท/เดือน

Kent Smetters กล่าวว่า ความไม่เท่าเทียมกันนี้เป็นเรื่องปกติในช่วงที่เงินเฟ้อ ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่ราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ครัวเรือนที่มีรายได้สูงได้เปลี่ยนการใช้จ่ายจากสินค้าและไปสู่การบริการมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การหยุดชะงักของการผลิตที่เกิดจากการระบาดได้ทำให้ต้นทุนของสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น

“สิ่งที่พวกเขากำลังซื้อได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตอุปทาน” Smetters กล่าว

ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลบัตรเครดิตและบัตรเดบิตโดย Alberto Cavallo นักเศรษฐศาสตร์จาก Harvard Business School โดยในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยประสบปัญหาการขึ้นราคาซึ่งหนักกว่าเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้บริโภคที่ร่ำรวย

ในปี 2019 เอกสารร่วมจากนักวิจัยที่ Columbia และ London School of Economics คาดการณ์ว่า จะมีผู้คนอีกประมาณ 3 ล้านคน ที่ต้องดำรงชีวิตอยู่ในความยากจน หากรายได้ของพวกเขาถูกปรับตามอัตราเงินเฟ้อที่พวกเขาประสบ

‘เทลอาวีฟ-อิสราเอล’ ครองแชมป์เมือง ‘ค่าครองชีพสูงสุดในโลก’ แซง ‘ปารีส’ แชมป์เก่า

]]>
1369196
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงสหรัฐฯ รับ ‘ล้มเหลว’ จากการสกัดโควิดระลอกใหม่ https://positioningmag.com/1345755 Mon, 09 Aug 2021 05:09:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345755 ในช่วงวันที่ 2-6 สิงหาคมที่ผ่านมา ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในสหรัฐฯ ทำสถิติสูงสุดในรอบ 6 เดือน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงได้เตือนว่าประเทศกำลัง ‘ล้มเหลว’ ในการต่อสู้เพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 เนื่องจากตัวแปรเดลตาที่ระบาดอย่างรวดเร็วจนปัจจุบันมีรายงานผู้เสียชีวิตกว่า 6.16 แสนราย ซึ่งสูงสุดของโลก

ยอดผู้ป่วยรายใหม่รายวันในสหรัฐฯ เพิ่มเป็น 118,000 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา ขณะที่อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 89% ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่โรงพยาบาลเด็กในสหรัฐอเมริกา เช่น ฟลอริดา กำลังมีคนไข้มากขึ้น เนื่องจากคนหนุ่มสาวได้รับผลกระทบมากขึ้น

“เราไม่ควรไปถึงที่ที่เราอยู่เลยจริง ๆ และเรากำลังล้มเหลว” ฟรานซิส คอลลินส์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) กล่าว

ปัจจุบัน เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปียังไม่มีสิทธิ์ได้รับวัคซีน แต่ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (CDC) ระบุว่า แม้แต่เด็กที่ไม่แสดงอาการก็สามารถแพร่เชื้อ COVID-19 ได้ ดังนั้น เด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปควรสวมหน้ากากในที่สาธารณะซึ่งรวมถึงโรงเรียนด้วย

อย่างไรก็ตาม มีการเตือนว่าหากเด็กหลายล้านคนที่กลับไปเรียนที่โรงเรียนและไม่สวมหน้ากาก ไวรัสจะ แพร่กระจายไปในวงกว้างมากขึ้น

แม้ความกลัวเกี่ยวกับตัวแปรเดลตาได้ทำให้ประชาชนกระตือรือร้นที่จะฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น แต่คนนับล้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่เอนเอียงไปทางอนุรักษ์นิยมของประเทศยังคงมีข้อกังวลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน

“เราจะไม่อยู่ในจุดที่เราอยู่ตอนนี้แม้จะมีตัวแปรเดลตาที่ระบาดเพิ่มขึ้น ถ้าเรามีประสิทธิภาพมากขึ้นในการฉีดวัคซีนทุกคน”

Photo : Shutterstock

Anthony Fauci ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงอีกคนเตือนว่า ความล้มเหลวในการควบคุมตัวแปรเดลตา อาจจะเพิ่มโอกาสที่เชื้อจะกลายพันธุ์รูปแบบใหม่ซึ่งอาจมีปัญหามากกว่าเดลตา

จากการระบาดอย่างรวดเร็วในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้จัดงาน New Orleans Jazz Fest ได้ประกาศเมื่อวันอาทิตย์ว่างานที่จะจัดขึ้นในวันที่ 8-17 ตุลาคมได้ถูกยกเลิก ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกว่ามีความกลัวที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น

ย้อนไปช่วงเดือนพฤษภาคม ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ ประกาศเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ไม่ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย หลังจากที่มีหลักฐานยืนยันว่าวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดลงอย่างมาก และยังมีประสิทธิภาพต่อไวรัสกลายพันธุ์ จนกระทั่งการมาของสายพันธุ์เดลตา ทำให้ในเดือนกรกฎาคม บางรัฐออกกฎบังคับให้ประชาชนกลับมาสวมหน้ากากอนามัยอีกครั้ง

Source

]]>
1345755
IMF เพิ่มคาดการณ์ ‘จีดีพีสหรัฐฯ’ ปีนี้โต 7% ฟื้นตัวเร็ว บวกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ https://positioningmag.com/1340538 Fri, 02 Jul 2021 13:40:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340538 IMF ปรับคาดการณ์จีดีพีสหรัฐฯ ในปีนี้ ขยายตัวสู่ระดับ 7% จากเดิมที่ 4.6% หลังกระจายวัคซีนได้ผลดี ฟื้นตัวได้อย่างเเข็งเเกร่ง พร้อมเเรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ของประธานาธิบดี ‘โจ ไบเดน’ 

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่า ในปี 2021 เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวได้ถึง 7% ซึ่งเป็นการเติบโตที่เร็วที่สุดนับตั้งเเต่ปี 1984 นอกจากนี้ ยังปรับเพิ่มคาดการณ์จีดีพีสหรัฐฯ ในปี 2022 สู่ระดับ 4.9% เพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมในเดือนเม..ที่ 3.5%

ตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดของ IMF อยู่บนสมมติฐานที่ว่า สภาคองเกรสจะผ่านร่างกฎหมาย ‘American Jobs Plan’ วงเงิน 2.3 ล้านล้านเหรียญ เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน สร้างงานหลายล้านตำแหน่ง และผ่านร่างกฎหมาย ‘American Families Plan’ วงเงิน 1.8 ล้านล้านเหรียญ เพื่อเยียวยาครัวเรือนสหรัฐฯ เเละฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19

โดยโครงการดังกล่าว จะรวมถึงการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต การศึกษา และเพิ่มโอกาสให้ผู้หญิงในตลาดแรงงานอเมริกันมากขึ้น

ร่างกฎหมายเหล่านี้ จะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในระยะสั้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยหนุนจีจกีพีของประเทศได้ราว 5.25% ในช่วงปี 2022-2024 พร้อมเพิ่มรายได้เเละยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นด้วย” Kristalina Georgieva ผู้อำนวยการ IMF ระบุ

ทั้งนี้ การคาดการณ์ของ IMF ครั้งนี้เกิดหลังจากสำนักงานงบประมาณรัฐสภาสหรัฐฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

โดย IMF คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นเข้าใกล้ระดับ 4% ภายในปีนี้พร้อมเเนะว่า รัฐบาลควรจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายไปยังโครงการภาคส่วนต่างๆ ให้ส่งผลดีต่อด้านหารผลิต เพิ่มการมีส่วนร่วมของแรงงาน ลดความยากจน และการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจก

 

ที่มา : Reuters (1) , (2)

]]>
1340538
ชาวไต้หวัน เเห่ไปฉีด ‘วัคซีนโควิด’ ที่อเมริกา สายการบินปรับเพิ่มเที่ยวบิน รับดีมานด์พุ่ง https://positioningmag.com/1335479 Fri, 04 Jun 2021 15:47:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335479 ชาวไต้หวันจำนวนไม่น้อย ตัดสินใจเดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อฉีดวัคซีนโควิด-19’ หลังเจอปัญหาขาดแคลนวัคซีน เเละการระบาดระลอกใหม่ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มต่อเนื่อง บรรดาสายการบินเตรียมเพิ่มเที่ยวบินรับดีมานด์ที่สูงขึ้น

เจ้าหน้าที่สายการบิน ระบุว่า ขณะนี้ความต้องการเดินทางไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีชาวไต้หวันบางส่วนจองตั๋วในเเพ็กเกจทัวร์วัคซีนไปตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพ..ที่ผ่านมา 

ผู้โดยสารหลายรายยอมจ่ายเงินกว่า 7.5 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 8.4 ล้านบาท) ต่อคน เพื่อเช่าเครื่องบินเหมาลำไปสหรัฐฯ ซึ่งถูกจองจนเต็มไปถึงปลายเดือนก..แล้ว

บรรยากาศในสนามบินนานาชาติเถาหยวน กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังไร้วี่แววนักเดินทางมานานกว่า 1 ปี 6 เดือน เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (2 มิ..) มีนักเดินทางกว่า 2,700 คนเข้าใช้บริการสนามบิน ในจำนวนนี้กว่า 1,000 ราย วางแผนมุ่งหน้าไปที่เมืองลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก ซีแอตเทิล และนิวยอร์กของสหรัฐฯ เพื่อรับวัคซีนโควิด-19 และจะพักอาศัยอยู่ที่นั่นอย่างน้อย 1-2 เดือน

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ ทำให้ EVA Air และ China Airlines ซึ่งเป็นสายการบินหลักของไต้หวันประกาศเพิ่มเที่ยวบินไปยังอเมริกา

โดย EVA Air วางเเผนเพิ่มเที่ยวบินไปยังลอสแอนเจลิสเป็นบินทุกวันจากเดิมที่สัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป ส่วน China Airlines วางแผนที่จะใช้เครื่องบินขนาดใหญ่ขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการเเละเพิ่มความสะดวกสบายให้นักเดินทาง

ก่อนวิกฤตโรคระบาด ราคาตั๋วที่นั่งชั้นประหยัดของ EVA Air เที่ยวบินปกลับไทเปลอสแอนเจลิส ช่วงที่ไม่ใช่ไฮซีซั่น มีราคาเพียง 2 หมื่นดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 2.25 หมื่นบาท) เท่านั้น เเต่ตอนนี้ราคากลับพุ่งไปถึง 7 หมื่นดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 7.8 หมื่นบาท) เเล้ว

ดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น มีความเกี่ยวข้องกับยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ในไต้หวันที่พุ่งสูงขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะยอดผู้เสียชีวิตสะสมที่พุ่งตามไปด้วย” Philip Wang พนักงานของบริษัทนำเที่ยวแห่งหนึ่งในไทเปกล่าว

นับตั้งแต่วันที่ 25 เม.. เป็นต้นมา ไต้หวันพบผู้ติดเชื้อในท้องถิ่นมากกว่า 8,000 ราย และมียอดเสียชีวิตนับร้อยคน

Wang เล่าว่า ชาวไต้หวันโพ้นทะเล (ปัจจุบันเป็นพลเมืองอเมริกัน) ที่กลับบ้านเกิดเพื่อหนีโรคระบาดในสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้วตอนนี้กำลังพากันเดินทางกลับไปสหรัฐฯ เพื่อหนีการแพร่ระบาดในไต้หวันหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดเลวร้ายลง

ปัจจุบันมีชาวไต้หวันเพียง 3% จากทั้งหมดกว่า 23.5 ล้านคนของเกาะที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้ว 

ทางการไต้หวัน ได้รับมอบวัคซีนมาแล้ว 870,000 โดส โดย 720,000 โดส ได้รับจาก AstraZeneca ขณะที่อีก 150,000 เป็นวัคซีนต้านโควิด-19 จาก Moderna เเละมีการสั่งซื้อวัคซีนจำนวน 10 ล้านโดสจาก AstraZeneca อีก 5 ล้านโดสจาก Moderna และอีก 4.7 ล้านโดสที่จะได้รับผ่านโครงการ Covax

นอกจากนี้ ยังมีการสั่งซื้อวัคซีนที่ผลิตเองในไต้หวันจากบริษัท Medigen Vaccine Biologics และ United Biomedical อย่างละ 5 ล้านโดส อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง เนื่องจากวัคซีนดังกล่าว ยังอยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิก

ชาวไต้หวันบางคนบอกกับ TVBS ว่า พวกเขากำลังจะเดินทางไปสหรัฐฯ เพราะที่นั่นมีมีวัคซีนที่ดีกว่าเเละเข้าถึงได้ง่ายกว่า เนื่องจากไต้หวันวางเเผนว่าจะฉีดวัคซีนให้บุคลากรทางการแพทย์แถวหน้าก่อนเป็นลำดับแรก

ทั้งนี้ รัฐบาลไต้หวันประกาศว่า กระทรวงสาธารณสุขจะได้รับงบประมาณเพิ่มเติมอีก 7.92 หมื่นล้านดอลลาร์ไต้หวัน (ราว 8.9 หมื่นล้านบาท) สำหรับสู้กับโรคระบาด รวมทั้งการจัดซื้อวัคซีน โดยงบประมาณก้อนใหม่นี้ เป็นงบเพิ่มเติมจากที่เคยอนุมัติไปก่อนหน้านี้ 4.2 เเสนล้านดอลลาร์ไต้หวัน ซึ่งจะใช้ได้จนถึง 30 มิ..ปีหน้า

 

 

ที่มา : SCMP , taiwannews 

]]>
1335479
อัตราผู้ติดเชื้อในทุกรัฐของสหรัฐฯ ลดกว่า 5% หลังประชากร 47.5% ฉีดวัคซีนแล้ว https://positioningmag.com/1332842 Wed, 19 May 2021 06:49:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332842 สถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 เริ่มผ่อนคลายมากขึ้นแล้ว โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (CDC) ได้อนุญาตให้ผู้ฉีดวัคซีน COVID-19 ครบโดส ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยขณะอยู่ในร่ม กลางแจ้ง หรือสถานที่มีผู้คนหนาแน่นอีกต่อไปแล้ว โดยปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ลดลง 5% หรือมากกว่านั้นในเกือบทุกรัฐของสหรัฐฯ หลังจากที่มีการฉีดวัคซีนกว่า 47.5%

จากการวิเคราะห์ข้อมูลของ CNBC ที่รวบรวมโดยมหาวิทยาลัย Johns Hopkins แสดงให้เห็นว่าระดับการติดเชื้อและการเสียชีวิตทั่วประเทศในสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลง หลังจากที่สัปดาห์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ มีการฉีดวัคซีนโดยเฉลี่ยประมาณ 1.8 ล้านครั้งในแต่ละวัน ตามข้อมูลของรัฐบาลกลาง โดย 47.5% ของประชากรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 ครั้ง และประมาณ 37% ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วน

ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา สหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อรายวันโดยเฉลี่ยประมาณ 32,000 ราย ลดลงอย่างมากจากระดับกลางเดือนเมษายนที่มีมากกว่า 71,000 รายต่อวัน และถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน โดยจำนวนผู้ติดเชื้อเฉลี่ยต่อวันลดลง 5% หรือมากกว่าใน 42 รัฐ

บรรยากาศการต่อคิวเข้ารับวัคซีน COVID-19 ในนครนิวยอร์ก สหรัฐฯ

โดยข้อมูลอัตราการเสียชีวิตจากเชื้อ COVID-19 ในสหรัฐฯ ในรอบ 7 วันเฉลี่ยที่ 587 ราย ลดลง 8% จากผู้เสียชีวิตมากกว่า 586,000 รายนับตั้งแต่เริ่มระบาด

ปัจจุบัน ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปเกือบ 60% ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐตั้งเป้าหมายที่จะฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 ครั้งให้ครอบคลุม 70% ของประชากรผู้ใหญ่ภายในวันที่ 4 กรกฎาคมนี้

Source

]]>
1332842
KFC จ้างงานเพิ่ม 20,000 ตำเเหน่งทั่วสหรัฐฯ รับดีมานด์ลูกค้ากลับมา หลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว https://positioningmag.com/1330875 Thu, 06 May 2021 10:38:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330875 KFC เชนฟาสต์ฟู้ดรายใหญ่ของโลก ประกาศจ้างงานในสหรัฐฯ เพิ่ม 20,000 ตำเเหน่ง รองรับความต้องการของผู้บริโภคที่จะกลับมาอีกครั้งในช่วงซัมเมอร์ หลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว 

โดยเครือธุรกิจของ Yum! Brands (เจ้าของ KFC , Pizza Hut , Taco Bell ฯลฯ) กำลังมองหาพนักงานประจำเเละพนักงานพาร์ตไทม์ทั่วประเทศ ครอบคลุมทุกตำแหน่ง ตั้งแต่งานเสิร์ฟ พ่อครัว ไปจนถึงผู้จัดการร้าน

ก่อนการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เครือข่ายเชนฟาสต์ฟู้ดในสหรัฐฯ มักจะเพิ่มการจ้างงานเเบบพาร์ตไทม์หลายหมื่นคนในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของการท่องเที่ยว ที่มีจำนวนลูกค้ามากที่สุดของปี

เเต่วิกฤตโรคระบาดที่ต่อเนื่องมาในปีนี้ ทำให้ธุรกิจร้านอาหารขาดเเคลนพนักงาน ที่เต็มใจออกมาทำงานนอกบ้าน

โดยร้านอาหารและแฟรนไชส์บางแห่งในสหรัฐฯ ต้องเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำหรือให้โบนัสเพื่อจูงใจให้คนสมัครงานแทนการอยู่บ้านและพึ่งพาการช่วยเหลือจากรัฐบาล

KFC มองว่า ปีนี้ลูกค้าจะกลับออกมานั่งกินที่ร้านเเละซื้อกลับบ้านอีกครั้ง หลังมีการกระจายวัคซีนให้ทั่วถึง รวมไปถึงการได้รับเงินช่วยเหลือด้านค่าครองชีพเพิ่มเติม ก็ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เห็นได้ชัดจากการที่ KFC ทำยอดขายเฉลี่ยต่อร้านโต 14% ได้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้

เมื่อร้านสาขาเปิดให้บริการได้ตามปกติอีกครั้ง การเเข่งขันที่ดุเดือดในวงการฟาสต์ฟู้ดก็ยิ่งกลับมาดุเดือดมากขึ้น ตามมาด้วยปัญหาในห่วงโซ่อุปทานอย่างการขาดเเคลนไก่’ ที่หลายเเบรนด์เร่งออกเมนูใหม่มาชิงตลาดผู้บริโภค

สำหรับอัตราว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคมยังอยู่ที่ 6% เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับระดับก่อนการระบาด โดยพนักงานร้านอาหารบางรายบอกว่า ค่าจ้างและทิปของพวกเขาไม่เพียงพอที่จะชดเชยความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด -19 ได้

 

ที่มา : CNBC , prnewswire

]]>
1330875
สหรัฐฯ เพิ่มโควต้ารับ ‘ผู้ลี้ภัย’ ขึ้น 4 เท่าเป็น 62,500 คนในปีนี้ ตั้งเป้า 1.25 เเสนคนในปีหน้า https://positioningmag.com/1330629 Thu, 06 May 2021 05:41:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330629 ‘ไบเดน’ ล้างข้อจำกัดรับผู้ลี้ภัยในยุคทรัมป์ ประกาศเพิ่มโควต้าขึ้น 4 เท่าเป็น 62,500 คน ในปีนี้ ตั้งเป้า 1.25 เเสนคนในปีหน้า

หลังจากที่นโยบายรับผู้ลี้ภัยถูกกีดกันอย่างหนักในสมัยของโดนัลด์ ทรัมป์ เเต่ในสมัยของโจ ไบเดนประธานาธิบดีสหรัฐคนล่าสุด ก็เริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้นอีกครั้ง

โดยไบเดน ได้ประกาศเพิ่มจำนวนการรับผู้ลี้ภัยเข้าสหรัฐฯ สูงสุดเป็น 62,500 คนต่อปี หลังจากที่ก่อนหน้านี้อดีตประธานาธิบดีทรัมป์ ตั้งเพดานการรับผู้ลี้ภัยไว้ที่สูงสุดเเค่ 15,000 คนต่อปี น้อยกว่าสมัยของบารัก โอบามาที่เปิดโควต้ารับผู้ลี้ภัยสูงถึง 1.1 แสนคนต่อปี

นี่จะเป็นการลบล้างการรับผู้ลี้ภัยที่ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ 15,000 คน ที่กำหนดโดยคณะบริหารชุดก่อน ซึ่งไม่ได้สะท้อนถึงค่านิยมของอเมริกา ในฐานะชาติที่ยินดีต้อนรับและสนับสนุนผู้ลี้ภัย ไบเดนระบุ

เป้าหมายนี้ยังมีอุปสรรคหลายประการ ต้องใช้เวลาเเละอาจจะไม่สามารถบรรลุได้ในปีแรก เเต่ไบเดนยืนยันว่า คณะทำงานจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างรวดเร็ว เพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

โดยจะพยายามใช้เครื่องมือทุกอย่างที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้ผู้ลี้ภัยที่ได้รับการตรวจสอบ ให้หนีพ้นจากสภาพเเวดล้อมที่น่ากลัวในบ้านเกิดได้

(Photo by Chip Somodevilla/Getty Images)

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตั้งเป้าว่าจะสามารถขยายโควต้าการรับผู้ลี้ภัยเพิ่มเป็นได้เป็น 1.25 แสนคนต่อปี ในปีงบประมาณ 2022

ทั้งนี้ ปีงบประมาณปัจจุบัน ซึ่งเริ่มมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้ลี้ภัยเพียง 2,000 กว่าคนเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ย้ายถิ่นฐานในอเมริกา

โครงการนี้จะเปิดรับผู้ลี้ภัยที่ได้รับการคัดเลือกเเละตรวจสอบอย่างละเอียดจากสำนักงานความมั่นคงของสหรัฐฯ และหน่วยข่าวกรองจากค่ายขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีกระจายอยู่ทั่วโลก

สำหรับแผนงานปัจจุบันภายใต้การนำของโจ ไบเดนนั้น สหรัฐฯ จะรับผู้ลี้ภัยจากแอฟริการาว  22,000 คน จากเอเชียตะวันออก 6,000 คน จากยุโรปและเอเชียกลาง 4,000 คน จากละตินอเมริกาและเเถบแคริบเบียน 5,000 คน และจากเอเชียใต้อีก 13,000 คน นอกจากนี้ ยังมีโซนที่ยังรอการจัดสรรอีกราว 12,500 คน

อย่างไรก็ตาม หลังรับตำเเหน่งมาเกิน 100 วัน ไบเดนมีคะแนนนิยมต่ำสุดจากการสำรวจความคิดเห็นเรื่องการจัดการปัญหาการอพยพโดยเฉพาะปัญหาในชายแดนสหรัฐฯเม็กซิโก เเละชาวอเมริกันบางส่วนเห็นว่า การลดจำนวนคนการรับผู้ลี้ภัยในสหรัฐฯ การจัดการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย เป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้ รัฐยังต้องจัดการปัญหาการเกลียดกลัวคนต่างชาติเเละเหยียดเชื้อชาติ (xenophobic and racist) ต่างๆ ด้วย

 

 

ที่มา : BBC , Reuters , theguardian

]]>
1330629
‘ไบเดน’ เร่งสปีดฉีดวัคซีน เพิ่มเป้าหมายใหม่ให้ได้ 200 ล้านโดสใน 100 วันแรก หลังรับตำแหน่ง https://positioningmag.com/1325157 Fri, 26 Mar 2021 11:37:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325157 โจ ไบเดนประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ เร่งสปีดกระจายวัคซีน COVID-19 ตั้งเป้าหมายใหม่ ฉีดวัคซีนให้ชาวอเมริกัน 200 ล้านโดส ภายใน 100 วันเเรกหลังเข้ารับตำแหน่ง เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากเดิมที่เคยวางไว้เพียง 100 ล้านโดส

เเม้จะฟังดูเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นการเพิ่มขึ้นสองเท่าจากเป้าหมายเดิมของเรา เเต่ก็ยังไม่มีประเทศไหนทำได้เท่าที่เราอยู่ทำตอนนี้ผมเชื่อว่าเราทำได้

ไบเดนเคยให้คำมั่นไว้เมื่อก่อนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีว่า จะเร่งกระจายวัคซีนเเก่ประชาชนทั่วประเทศให้ได้ 100 ล้านโดส ภายใน 100 วันแรกที่รับตำแหน่ง โดยหลังชนะเลือกตั้งเเละได้เข้ามาบริหารจริง รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ไปได้เเล้วตั้งแต่วันที่ 59

ข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม สหรัฐฯ ฉีดวัคซีนให้ประชาชนไปเเล้วกว่า 133 ล้านโดส อัตราเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านโดสต่อวัน โดยมีการประเมินว่า หากยังมีอัตราการฉีดวัคซีนต่อวันเท่าเดิมไปเรื่อยๆ รัฐบาลจะบรรลุเป้าหมาย (200 โดส) ได้ในวันที่ 23 เมษายน 2564 เร็วกว่าเป้าหมาย 100 วันเเรกของไบเดนราว 1 สัปดาห์

เพื่อเพิ่มจำนวนวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้ทั่วถึง รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ทำข้อตกลงกับJohnson & Johnson’ (J&J) สั่งซื้อวัคซีนเพิ่มอีก 200 ล้านโดส โดยครึ่งเเรกของล็อตนี้ คาดว่าจะจัดส่งได้ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน

วัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาของ J&J ถือเป็นชนิดที่ 3 ที่ผ่านการรับรองให้ใช้ได้ในอเมริกา เป็นกรณีฉุกเฉินสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ต่อจาก Pfizer-Biontech เเละ Moderna 

สำนักงานอาหารและยาหรือเอฟดีเอ (FDA) ระบุว่า วัคซีนของ J&J ที่ฉีดเพียงเข็มเดียวก็มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันผู้ป่วย COVID-19 และสามารถป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้

โดยเมื่อรวมจำนวนวัคซีนของ J&J กับวัคซีนของ Pfizer-Biontech เเละ Moderna จะทำให้สหรัฐฯ มีวัคซีนเพียงพอต่อการฉีดให้กับประชาชนถึง 300 ล้านคน เกือบครอบคลุมประชากรทั้งหมดในประเทศที่มีอยู่ราว 328 ล้านคนในปี 2019

 

 

ที่มา : CNBC , Bloomberg 

]]>
1325157