เปิดผลสำรวจ บริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ยังกังวล COVID-19 มีเเผนปรับลด ‘จ้างงานใหม่’ ในปีหน้า

Photo : Shutterstock
ผลสำรวจเผย บริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่นกว่า 22% มีเเผนจะปรับลดอัตราการจ้างพนักงานใหม่ ในปีงบประมาณ 2022 เนื่องจากมีความกังวลเรื่องการเเพร่ระบาดของ COVID-19 เเละยังต้องระมัดระวังการใช้จ่าย พร้อมยืดหยุ่นให้ทำงานทางไกล-ใช้เทคโนโลยีออนไลน์มากขึ้น เเละให้ทำงานเสริมได้ เเม้ผ่านพ้นวิกฤตไปเเล้ว 

Kyodo News ทำการสำรวจบริษัทในญี่ปุ่นกว่า 110 เเห่ง พบว่า ส่วนใหญ่บริษัทที่มีเเผนจะปรับลดการจ้างงานใหม่นั้น อยู่ในภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคระบาด เช่น ธุรกิจภาคบริการ การขนส่งและการท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม จากเเรงหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เเละจีน ทำให้บริษัทในภาคการผลิตมีเเผนจะขยายธุรกิจ เเละต้องการจะจ้างงานผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น

ตามปกติเเล้ว บริษัทขนาดใหญ่ในญี่ปุ่นจะมีการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ในช่วงเริ่มปีงบประมาณของแต่ละปี เเละมักจะเริ่มกระบวนการสรรหาล่วงหน้าประมาณหนึ่งปี

ผลสำรวจของ Kyodo News ระบุว่า เอกชน 24 แห่งที่อยู่ในอุตสาหกรรมผลิตวัสดุไปจนถึงพลังงาน มีแผนที่จะลดการจ้างงานในปีงบการเงิน 2022 ขณะที่บริษัทอีก 37 แห่ง คิดเป็น 34% ของบริษัทที่ได้รับการสำรวจ จะยังมีการจ้างงงานในอัตราเท่าเดิมกับปีงบการเงิน 2021

โดยมีเพียงบริษัท 19 แห่ง หรือคิดเป็น 17% ที่มีเเผนจะเพิ่มการจ้างพนักงานใหม่ ส่วนอีก 25 แห่ง หรือคิดเป็น 23% ยังไม่ได้มีการตัดสินใจในเรื่องนี้

นอกจากนี้ ยังมีบริษัทบางเเห่งที่ไม่ได้ปรับเปลี่ยนแผนการจ้างงานในปีงบการเงิน 2022 มากนัก แต่ได้ปรับลดการจ้างพนักงานใหม่ลงในปีงบการเงิน 2021 ไปจนถึงเดือนมี..ปีหน้า

Photo : Shutterstock

สำหรับปีงบการเงิน 2021 บริษัทเอกชนราว 46% ได้ปรับลดการจ้างพนักงานใหม่ลงจากปีก่อนหน้า ขณะที่ 12% เพิ่มการจ้างพนักงานใหม่ ส่วนอีก 37% ยังคงมีการจ้างงานในระดับที่ใกล้เคียงกับปีงบการเงิน 2020

ทั้งนี้ Kyodo News ได้สำรวจข้อมูลดังกล่าวในช่วงต้นเดือนมี.. ถึงกลางเดือนเม.. โดยมีบริษัทยักษ์ใหญ่เข้าร่วมอย่าง Toyota Motor , Nissan Motor , Sony Group , Japan Airlines , Nintendo และ Mizuho Financial Group เป็นต้น

การระบาดของ COVID-19 ยังทำให้วัฒนธรรมองค์กรที่เข้มงวดของญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงไป เเละเริ่มมีรูปแบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

บริษัทส่วนใหญ่ยืนยันว่า พวกเขาจะจัดงานแสดงสินค้าหรือสัมภาษณ์งานทางออนไลน์เพิ่มขึ้น เเละกว่า 52% จะใช้เทคโนโลยีเพื่อทำงานออนไลน์ต่อไป เเม้วิกฤตโรคระบาดจะสิ้นลงก็ตาม

เมื่อถามถึงความท้าทายในการทำงานทางไกล พบว่ากว่า 83% ชี้ให้เห็นถึงการขาดการสื่อสารกันระหว่างพนักงาน ขณะที่ 61% เห็นว่ามีผลกระทบต่อการฝึกอบรมพนักงานด้วย

เเต่อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงผลกระทบต่อผลิตภาพของแรงงาน พบว่ากว่า 55% เห็นว่าไม่เปลี่ยนเเปลงยังสามารถทำงานได้ดี ขณะที่อีก 31% ระบุว่ามีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น

เราต้องการช่วยให้พนักงานของเรามีความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวบริษัทพลังงานแห่งหนึ่งกล่าว

ส่วนบริษัทในอุตสาหกรรมบริการกล่าวว่ามีงานหลายประเภทที่ไม่เหมาะกับทำงานทางไกล ดังนั้นเราจึงต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่

ในจำนวนนี้ กว่า 81 % อนุญาตหรือจะพิจารณาให้พนักงานสามารถทำงานเสริมได้ โดยมองว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพในระยะยาว แต่บางบริษัทต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เนื่องจากพนักงานอาจต้องทำงานนานเกินไปหรืออาจไปรับงานบริษัทคู่แข่งได้