แบน TikTok – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 06 Sep 2024 13:24:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 หรือไม่ต้องแล้วก็ได้? ผลสำรวจพบคนอเมริกันสนับสนุนนโยบาย “แบน TikTok” น้อยลง https://positioningmag.com/1489089 Fri, 06 Sep 2024 13:24:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1489089 ผลสำรวจพบคนอเมริกันเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบาย “แบน TikTok” จากเมื่อ 18 เดือนก่อนมีถึงครึ่งหนึ่งที่พร้อมสนับสนุน แต่ปัจจุบันคนที่ยังสนับสนุนอยู่ลดเหลือเพียง 32%

สำนักข่าว Bloomberg รายงานผลสำรวจจาก Pew Research ที่ออกมาเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2024 พบว่า คนอเมริกันวัยผู้ใหญ่ที่ทำการสำรวจมีเพียง 32% ที่สนับสนุนนโยบาย “แบน TikTok” ลดลงจากผลสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม 2023 ที่มีถึง 50% ที่ต้องการให้แบน

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบด้วยว่า 50% ของคนอเมริกันปัจจุบันคิดว่าการแบน TikTok ‘อาจจะหรือไม่น่าจะเกิดขึ้นจริงได้’

ในการสำรวจนี้ Pew เก็บตัวอย่างสำรวจจากผู้ใหญ่อเมริกัน 10,658 คน ระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2024

ผลสำรวจนี้ทำให้เห็นว่า คนอเมริกันเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับ TikTok ไปแล้วในรอบ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา โดยประเด็นการแบน TikTok ปะทุขึ้นหลังประธานาธิบดี โจ ไบเดน เซ็นกฎหมายที่บีบให้ ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok จะต้องขายหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทออกมา หรือมิฉะนั้นจะถูกแบนการใช้งานในประเทศสหรัฐฯ เหตุที่รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องการจะแบน TikTok เพราะหวั่นเกรงว่าความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของชาวอเมริกันจะลดลงเพราะแอปพลิเคชันนี้มีเจ้าของเป็นบริษัทจีน

แบน TikTok
ทั้งโดนัลด์ ทรัมป์ และ กมลา แฮร์ริสต่างก็เปิดบัญชี TikTok เพื่อใช้หาเสียง

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจไม่ได้ถามเจาะจงว่าทำไมชาวอเมริกันจึงเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการแบน TikTok แต่จะเห็นได้ว่าปัจจุบันไม่ได้มีแต่ชาวบ้านทั่วไปที่เปลี่ยนความคิด เพราะแม้แต่นักการเมืองอเมริกันก็หันมาใช้โซเชียลมีเดียนี้ในการสื่อสารและหาเสียง

อดีตประธานาธิบดี “โดนัลด์ ทรัมป์” ผู้เคยพยายามจะแบน TikTok มาแล้วระหว่างดำรงตำแหน่งในช่วงปี 2020 ล่าสุดดูเหมือนทรัมป์จะเปลี่ยนความคิดแล้วเพราะเขาเพิ่งจะเปิดบัญชี TikTok ไปเมื่อช่วงต้นปี 2024 ด้านคู่แข่งของทรัมป์คือ “กมลา แฮร์ริส” เองก็มีบัญชี TikTok เหมือนกัน และใช้ช่องทางนี้ในการหาเสียง

ในการสำรวจครั้งนี้ของ Pew มีการแบ่งกลุ่มผู้ถูกสำรวจตามจุดยืนทางการเมืองด้วย โดยพบว่าคนอเมริกันที่เลือกพรรครีพับลิกันหรือมีแนวโน้มจะเลือกรีพับลิกันมักจะมองว่า TikTok เป็นภัยความมั่นคงของชาติมากกว่า พวกเขามีแนวโน้มจะสนับสนุนนโยบาย “แบน TikTok” มากกว่าผู้ที่เลือกพรรคเดโมแครตถึง 2 เท่า อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมแล้วผู้ที่สนับสนุนการแบน TikTok นั้นลดลงเกือบ 20% ใกล้เคียงกันทั้งสองขั้วการเมือง

ไทม์ไลน์ทางกฎหมายเส้นตายที่ ByteDance จะต้องขาย TikTok ออกไปนั้นคือเดือนมกราคม 2025 และเส้นตายนั้นจะสามารถขอขยายได้อีก 90 วันหากดีลการขายดูเหมือนอยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ นอกจากนี้ การต่อสู้ทางกฎหมายของ TikTok ก็อาจจะทำให้การแบนจริงขยายเวลาออกไปอีกได้

Source

]]>
1489089
ผู้บริหาร TikTok ในสหรัฐฯ แห่ลาออก การแยกบริษัทไม่มีผล “จีน” ยังควบคุมการตัดสินใจทั้งหมด https://positioningmag.com/1401670 Mon, 26 Sep 2022 04:21:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401670 ผู้บริหารอาวุโสของ TikTok สหรัฐฯ ทยอยลาออกไปอย่างน้อย 5 คนในรอบ 2 ปี หลังจากพบว่าตนเอง “ไม่มีอำนาจตัดสินใจ” ฝ่ายบริหาร ByteDance จาก “จีน” ยังคงควบคุมการดำเนินงานทั้งหมด สะท้อนภาพว่าการที่สหรัฐฯ พยายามบังคับให้แอปฯ นี้แยกการบริหารเด็ดขาดจากจีนนั้นไม่มีผลจริง

สำนักข่าว Forbes สหรัฐฯ รายงานพิเศษสัมภาษณ์แหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน 3 ราย โดยพวกเขา/เธอเคยเป็นผู้บริหารระดับสูงใน TikTok สหรัฐฯ แต่ลาออกมาเพราะพบว่า ByteDance บริษัทแม่ในจีนยังคงควบคุมทิศทางการทำงานทุกอย่าง วิธีบริหารนี้เกิดขึ้นกับทุกแผนก จนทำให้ผู้บริหารอาวุโสพากันลาออก เพราะไม่ได้ทำหน้าที่ตัดสินใจใดๆ

“พวกเขาแค่ต้องการเบี้ยตัวหนึ่ง หรือคนที่ตอบ ‘ได้ครับ/ค่ะ’ อยู่ตลอด เขาแค่อยากได้คนเดินเอกสาร แค่ฟันเฟืองตัวหนึ่งในระบบ ซึ่งนั่นไม่ใช่ตัวผม/ฉันเลย” หนึ่งในอดีตระดับหัวหน้าที่ TikTok สหรัฐฯ กล่าว

ทำไมการลาออกของผู้บริหาร TikTok สหรัฐฯ จึงสำคัญ? ย้อนกลับไปในยุคอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เคยมีคำขู่จะ “แบน” แอปพลิเคชัน TikTok ออกจากตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากเกรงว่าแอปฯ นี้จะเป็นภัยความมั่นคง มีการส่งข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าอเมริกันกลับไปที่จีน

ทำให้ในปี 2019 บริษัทต้องออกมาชี้แจงว่า บริษัทไม่ได้มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของชาวอเมริกันไว้ในประเทศจีน

บริษัทยังเริ่มเปิดโปรเจกต์ Project Texas มีวัตถุประสงค์เพื่อจะแยกการดำเนินงานของ TikTok สหรัฐฯ ออกจากบริษัทแม่ ByteDance ที่จีน เพื่อจะทำให้รัฐสภาของสหรัฐฯ มั่นใจว่ารัฐบาลจีนไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของคนอเมริกัน

ByteDance
ก่อนหน้านี้บริษัทแม่ที่จีนทำเหมือนกับให้ TikTok สหรัฐฯ ได้บริหารแยกเป็นอิสระแล้ว แต่มาพบในภายหลังว่า ByteDance ยังคงควบคุมเบ็ดเสร็จ (Photo: Shutterstock)

แต่สุดท้ายความก็แตกในช่วงต้นปี 2022 เมื่อสำนักข่าว BuzzFeed News ออกรายงานว่า แม้ว่าสถานที่เก็บข้อมูลของ TikTok สหรัฐฯ จะไม่อยู่ในจีน แต่พนักงาน ByteDance จากจีนก็เข้าถึงข้อมูลผู้ใช้อเมริกันได้อยู่ดีและมีการเข้าถึงเป็นประจำด้วย ข้อมูลนี้ต่อมาได้รับการยืนยันเป็นจดหมายจากตัวบริษัทส่งถึงวุฒิสภา

รวมถึงพนักงานคนในของบริษัทก็ยืนยันตรงกันว่า แม้ภายนอก TikTok จะทำเหมือนลดความสัมพันธ์กับบริษัทแม่ที่จีน แต่จริงๆ แล้วภายในก็ยังบริหารเสมือนเป็นบริษัทเดียวกันด้วยซ้ำ

ย้อนไปเมื่อเดือนกันยายน 2021 พนักงานตรวจสอบภายในจาก ByteDance ยังเคยให้คำแนะนำกับทีมงานที่สหรัฐฯ ว่า ควรจะสร้างสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างทีมอเมริกันกับจีน เพราะอย่างไรทางจีนก็เป็นผู้ควบคุมเครื่องมือในการทำงานของ TikTok สหรัฐฯ อยู่ดี หากไม่มีความร่วมมือกัน การทำงานให้สำเร็จก็จะยากขึ้น

 

สหรัฐฯ กลับมาเข้มกับการควบคุม TikTok

หลังจากรายงานดังกล่าว สหรัฐฯ มีความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่อีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายน 2022 คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (FCC) กลับมาร้องขอให้ Apple และ Google ลบแอปฯ TikTok ออกจากแอปสโตร์อีกครั้ง

หน่วยงานสืบสวนของวุฒิสภาเริ่มเปิดการสืบสวนว่า TikTok บิดเบือนข้อมูลที่ให้แก่รัฐสภาสหรัฐฯ หรือไม่ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ก็ออกคำสั่งผู้บริหารให้คณะกรรมการกำกับการลงทุนจากต่างประเทศในสหรัฐฯ ดูแลความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์และการเก็บข้อมูลคนอเมริกันของ TikTok ให้รัดกุมยิ่งขึ้น

สมาชิกสภาคองเกรสจากพรรครีพับลิกัน 5 รายยังเข้าชื่อกันเสนอกฎหมายที่จะทำให้การที่พนักงาน TikTok จากจีนเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้อเมริกันได้ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย รวมถึงจะแบนการดาวน์โหลดแอปฯ นี้ลงบนอุปกรณ์ใดๆ ของรัฐบาล

ดัสตี้ จอห์นสัน ส.ส.จากรัฐเซาท์ดาโกตา หนึ่งในคนที่เสนอกฎหมายดังกล่าว หวังว่า หากรัฐบาลแบนการใช้ TikTok บนเครื่องมือของรัฐ น่าจะทำให้คนอเมริกันตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด

การที่ผู้บริหารระดับอาวุโส TikTok สหรัฐฯ พากันลาออกเพราะ “ไม่มีอำนาจตัดสินใจ” จึงสะท้อนว่า ความพยายามที่จะแยกการบริหารออกจากกัน ไม่ให้จีนเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการที่ดำเนินอยู่ในสหรัฐฯ นั้น เป็นการกระทำที่ไม่ได้ผล

Source

]]>
1401670
TikTok โซเชียลมีเดียที่โตเร็วที่สุดในโลก จะถูกสกัดดาวรุ่งจาก “การเมืองระหว่างประเทศ” หรือไม่ https://positioningmag.com/1391241 Tue, 05 Jul 2022 03:56:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391241 โซเชียลมีเดีย TikTok เป็นแอปฯ ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยใช้เวลาเพียง 5 ปีในการดึงดูดผู้ใช้แตะ 1,000 ล้านคน และไม่ได้มีฐานผู้ใช้เฉพาะใน “จีน” แต่สามารถบุกไปเอาชนะได้ถึงถิ่นโลกตะวันตก อย่างไรก็ตาม ปัญหา “การเมืองระหว่างประเทศ” อาจจะเป็นอุปสรรคสำคัญสกัดดาวรุ่งแอปฯ นี้จนสูญเสียผู้ใช้หรือชะลอการเติบโต

ย้อนไปเมื่อเดือนกันยายน 2016 แอปพลิเคชันชื่อ “A.me” ถือกำเนิดขึ้นในจีนหลังจากการพัฒนาไม่ถึง 200 วัน และหลังจากเปิดตัวเพียง 3 เดือน แอปฯ มีการรีแบรนด์เปลี่ยนชื่อเป็น “Douyin” ใช้เวลาเพียงปีเดียวในการกวาดผู้ใช้ 100 ล้านคนในจีน มีคนเข้าชมวันละมากกว่า 1,000 ล้านครั้ง

หลังจากนั้นบริษัท ByteDance ตัดสินใจออกแอปฯ ในเวอร์ชันสากลเมื่อปี 2017 ภายใต้อีกชื่อหนึ่งคือ “TikTok” ใช้เวลาเพียง 5 ปีในการไล่ตามโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ของโลกจนทัน ในแง่ของความนิยมและผลกระทบต่อสังคม

 

แอปฯ จีนที่เอาชนะตลาดโลกได้

ความโดดเด่นของ TikTok มาจากการเป็นโซเชียลมีเดียแบบคลิปวิดีโอสั้น เริ่มต้นความนิยมมาจากคลิปลิปซิงก์และการเต้น ก่อนจะขยายความยาวของวิดีโอให้สามารถลงได้ยาวขึ้นในปัจจุบัน

แม้จะเกิดมาทีหลัง YouTube ถึง 12 ปี แต่ TikTok ก็ไล่กวดได้ทันแล้วในโลกตะวันตก โดยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 แอปฯ TikTok มีเวลาการเข้าชมต่อเดือนต่อคน (Monthly Screen Time) มากกว่า YouTube ไปแล้วในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร (ข้อมูลจาก App Annie)

  • ในสหรัฐฯ TikTok มีการเข้าชม 24 ชั่วโมงต่อเดือนต่อคน ขณะที่ YouTube มีการเข้าชม 22.6 ชั่วโมงต่อเดือนต่อคน
  • ในสหราชอาณาจักร TikTok มีการเข้าชม 26 ชั่วโมงต่อเดือนต่อคน ขณะที่ YouTube มีการเข้าชม 16 ชั่วโมงต่อเดือนต่อคน

ปกติแอปฯ จากจีนมักจะไม่ประสบความสำเร็จในตลาดโลก ก่อนหน้า TikTok มีเพียงบางแอปฯ ที่ทำได้ เช่น WeChat จาก Tencent หรือแอปฯ ร้องลิปซิงก์ชื่อ Musical.ly ของ ByteDance ซึ่งได้ผู้ใช้ไป 80 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ (และถูกนำมาเป็นฟีเจอร์สำคัญใน TikTok)

ขณะที่แอปฯ TikTok กลายเป็นตำนานการเติบโตบทใหม่ของจีนในระดับโลก โดยในปี 2019-2020-2021 แอปฯ นี้ขึ้นแท่นมียอดดาวน์โหลดสูงที่สุดในโลก (ข้อมูลจาก Apptopia)

 

ตกเป็นเป้าการโจมตี

TikTok ก็เหมือนกับโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย นั่นคือมีเรื่องราวตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของตนเอง

เริ่มจากวันที่ 29 มิถุนายน 2020 รัฐบาลอินเดียสั่งแบนแอปฯ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศจีน 58 รายการ เช่น WeChat, PUBG, UC Browser และรวมถึง TikTok ด้วย โดยทางกระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และไอทีของอินเดียรายงานว่าที่ต้องแบนแอปฯ จีนเหล่านี้เพราะ “เป็นผลเสียหายต่ออธิปไตยและความมั่นคงของอินเดีย การป้องกันประเทศอินเดีย ความปลอดภัยของรัฐและการจัดการสาธารณะ”

เเอปพลิเคชัน TikTok

ในขณะที่ถูกแบนนั้น TikTok มีผู้ใช้ในอินเดีย 190 ล้านคน เป็นประเทศอันดับสองรองจากจีนที่มีผู้ใช้มากที่สุด

การแบนมีผลอย่างถาวรตั้งแต่เดือนมกราคม 2021 และทำให้ TikTok ต้องเลย์ออฟพนักงานในอินเดียทั้งหมด 2,000 คน

ในปี 2020 เช่นกัน สหรัฐฯ เริ่มส่งสัญญาณแบน TikTok ผ่านคำร้องขอของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีในขณะนั้น ทางบริษัท ByteDance จึงเริ่มวางแผนจะขายหุ้นบางส่วนของบริษัทฝั่งสหรัฐฯ ให้กับผู้ถือหุ้นอเมริกัน เพื่อป้องกันการถูกแบน

ในเดือนมิถุนายน 2021 เหมือนว่าสถานการณ์ของ TikTok จะดีขึ้น เมื่อ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนใหม่เซ็นคำสั่งพิเศษให้ปลดแบนออกไปก่อน แต่สั่งใหม่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไปสืบสวนว่าแอปฯ มีความเสี่ยงจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติสหรัฐฯ หรือไม่

การสืบสวนกินเวลาหนึ่งปี จนถึงเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2022 หรือเมื่อสัปดาห์ก่อน มีการเปิดเผยจดหมายจาก เบรนดัน คาร์ หัวหน้าคณะกรรมการกลางด้านการสื่อสารสหรัฐฯ (FCC) ส่งถึง Apple และ Google ในเนื้อหามีการกล่าวถึง TikTok ว่าเป็น “เครื่องมือสอดส่องสมัยใหม่ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวและดาต้าที่อ่อนไหวไปจำนวนมาก” ทำให้เขา ร้องขอให้ทั้งสองบริษัท “ถอดถอน” แอปฯ TikTok ออกไปจากร้านค้าของทั้งคู่

 

ถ้าถูกถอดจากสหรัฐฯ จะกระทบ TikTok แค่ไหน

TikTok ทำสถิติเป็นแอปฯ โซเชียลที่มีผู้ใช้แตะ 1,000 ล้านคนได้ในเวลาเพียง 5.1 ปี เมื่อเทียบกับ Instagram ซึ่งใช้เวลา 7.7 ปี หรือ YouTube ที่ใช้เวลา 8.1 ปี ถือว่าแอปฯ นี้เติบโตได้เร็วมาก

ข้อมูลจาก Company Data ช่วงไตรมาส 4 ปี 2021 ระบุว่า ผู้ใช้งานเป็นประจำต่อเดือน (Monthly Active Users) ของ TikTok ยังตามหลังห่างจากแอปฯ รุ่นพี่อยู่ ดังนี้

  • Facebook 2,900 ล้านคนต่อเดือน
  • YouTube 2,500 ล้านคนต่อเดือน
  • Instagram 2,100 ล้านคนต่อเดือน
  • TikTok 1,200 ล้านคนต่อเดือน

แต่อย่าลืมว่า TikTok เป็นน้องใหม่ที่กำลังมาแรงมากๆ และบริษัทคาดว่าจะมีผู้ใช้ประจำพุ่งขึ้นเป็น 1,800 ล้านคนต่อเดือนภายในสิ้นปี 2022

ถ้าหาก TikTok ถูกแบนจากสหรัฐฯ บริษัทจะสูญเสียแค่ไหน? ข้อมูลจาก SensorTower ระบุว่า แอปฯ มีการดาวน์โหลดในสหรัฐฯ ไปแล้ว 321.6 ล้านครั้ง และทำเงินจากการใช้จ่ายในแอปฯ ไป 694.3 ล้านเหรียญ (ประมาณ 24,800 ล้านบาท) นั่นแปลว่า Apple และ Google จะได้ค่าธรรมเนียมไปด้วยราว 208.3 ล้านเหรียญ (ประมาณ 7,400 ล้านบาท) การถอนแอปฯ นี้จึงไม่ได้กระทบแต่บริษัทจีนฝั่งเดียว

ต้องรอดูว่า “การเมืองระหว่างประเทศ” จะกระทบ TikTok เข้าอย่างจังอีกครั้งหรือไม่ หลังจากเคยกระทบมาแล้วในตลาดอินเดีย และแอปฯ ที่เปิดตัวอย่างสวยงามในเวลาเพียง 5 ปี จะมี 5 ปีต่อไปเป็นอย่างไร หากถูกค่ายตะวันตกแบนการใช้งาน

Source

]]>
1391241
ศาลสหรัฐฯ ยันคำสั่งแบน TikTok ยังไม่มีผลบังคับใช้ จนกว่ากระบวนการกฎหมายสิ้นสุด https://positioningmag.com/1305840 Fri, 13 Nov 2020 03:35:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305840 สหรัฐฯ ประกาศว่ามาตรการแบน TikTok แอปฯ แชร์วิดีโอสั้นยอดนิยมสัญชาติจีนจะยังไม่มีผลบังคับใช้ในตอนนี้ โดยเป็นไปตามคำตัดสินของศาลแขวงรัฐเพนซิลเวเนียซึ่งได้ยับยั้งคำสั่งแบนของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อปลายเดือน .. ที่ผ่านมา

คณะบริหารของ ทรัมป์ พยายามบังคับให้ TikTok ขายกิจการในสหรัฐฯ โดยอ้างว่าแอปฯ สุดฮิตที่มีผู้ใช้งานในอเมริกากว่า 100 ล้านคนเป็นภัยต่อความมั่นคง ทว่าล่าสุดกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ยืนยันว่าชะลอมาตรการแบนออกไปก่อนตามคำสั่งผู้พิพากษาศาลแขวงเมื่อวันที่ 30 ..

กระทรวงพาณิชย์จะปฏิบัติตามเงื่อนไขของคำสั่งศาล” ถ้อยแถลงจากกระทรวงฯ ระบุ และย้ำว่า คำสั่งแบน TikTok ได้ถูกห้าม และจะยังไม่มีผลบังคับจนกว่ากระบวนการทางกฎหมายจะสิ้นสุด

ก่อนหน้านี้ มีรายงานว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของผู้พิพากษาเพนซิลเวเนียเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พ.ย.

ความเคลื่อนไหวล่าสุดนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการฟ้องร้องที่มีมาอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ ทรัมป์ ออกคำสั่งบริหารเมื่อวันที่ 14 .. บังคับให้ TikTok ต้องขายกิจการแก่นักลงทุนอเมริกันภายใน 90 วัน หรือไม่ก็ถูกแบน

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้พัฒนาแอปฯ นี้ได้ยื่นฟ้องคัดค้านคำสั่งของทรัมป์ และศาลแขวงรัฐเพนซิลเวเนียได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 30 ..ห้ามมิให้รัฐบาล ทรัมป์ แบนกิจการของแอปฯ TikTok ในวันที่ 12 ..

เมื่อปลายเดือน ก.. ศาลกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ยังได้ระงับคำสั่งของ ทรัมป์ ที่ห้ามการดาวน์โหลด TikTok จากแอปฯ สโตร์ของบริษัทแอปเปิล และกูเกิล

Photo : Shutterstock

ก่อนหน้านี้ คณะบริหารของ ทรัมป์ ประกาศจะให้เวลาแก่ไบต์แดนซ์ (ByteDance) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ TikTok จนถึงวันพฤหัสบดีที่ 12 .. เพื่อปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นในสหรัฐฯ และตอบสนองความกังวลเรื่องภัยความมั่นคงของวอชิงตัน ทว่าไบต์แดนซ์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลในสัปดาห์นี้เพื่อขอให้ชะลอการบังคับเลิกกิจการออกไปก่อน

ไบต์แดนซ์แถลงเมื่อวันอังคารที่ 10 พ.ย. ว่าเคยร้องขอให้รัฐบาล ทรัมป์ ชะลอคำสั่งออกไปอีก 30 วันเนื่องจากเราเผชิญข้อเรียกร้องใหม่ๆ ตลอดเวลา แต่กลับไม่มีความชัดเจนว่าทางออกที่เราเสนอไปนั้นจะถูกตอบรับหรือไม่ ทว่าคำร้องดังกล่าวก็ไม่ได้รับการอนุมัติ

ไบต์แดนซ์ และ TikTok ได้เสนอแผนจัดตั้งบริษัทใหม่ในนาม TikTok Global ขึ้นในสหรัฐฯ ซึ่งจะมีออราเคิล (Oracle) เป็นหุ้นส่วนทางเทคโนโลยีและถือหุ้น 12.5% ส่วนวอลมาร์ท (Walmart) เป็นหุ้นส่วนในด้านธุรกิจ ถือหุ้น 7.5%

แผนที่ว่านี้ดูเหมือนจะสร้างความพอใจให้กับคณะบริหาร ทรัมป์ ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้รับไฟเขียวอย่างเป็นทางการ

ทรัมป์ ยืนยันว่า TikTok จะต้องกลายเป็นบริษัทที่ควบคุมโดยนักลงทุนอเมริกันเท่านั้นจึงจะสามารถดำเนินกิจการในสหรัฐฯ ต่อได้ ทว่าแผนปรับโครงสร้างใดๆ ก็ตามจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งรัฐบาลวอชิงตันและปักกิ่ง

รัฐบาล ทรัมป์ อ้างว่าข้อมูลส่วนตัวของชาวอเมริกันราว 100 ล้านคนที่ใช้แอปฯ นี้อาจจะถูกส่งต่อให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่ง TikTok ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง

Source

]]>
1305840