โควิดระลอกสาม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 26 May 2021 11:24:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับตา ‘มาเลเซีย’ หลังการระบาดระลอก 3 ผู้ติดเชื้อพุ่ง 7,000 คนต่อวัน https://positioningmag.com/1333893 Wed, 26 May 2021 11:17:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333893 ผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวันของ ‘มาเลเซีย’ เพื่อนบ้านใกล้ไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ค่าเฉลี่ยผู้ติดเชื้อต่อจำนวนประชากรแซงหน้า ‘อินเดีย’ ไปเรียบร้อยแล้ว

อินเดียต้องเจอกับการระบาดระลอก 2 ที่รุนแรงมาตั้งแต่เดือนเมษายนและมีปริมาณผู้ติดเชื้อ COVID-19 มากเป็นอันดับ 2 ของโลก แม้ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยรายวันเริ่มมีแนวโน้มลดลงแต่สูงขึ้นอยู่ดี ขณะที่ประเทศ ‘มาเลเซีย’ ได้เผชิญการระบาดระลอกที่ 3 กำลังทวีความรุนแรงขึ้น โดยมีผู้ติดเชื้อรายวันทะลุ 7,000 ราย

หากเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันของมาเลเซียต่อประชากรหนึ่งล้านคนในช่วง 7 วันพบว่า มีผู้ติดเชื้อที่ 205.1 ราย/1 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าอินเดียที่เฉลี่ยอยู่ที่ 150.4 ราย/1 ล้านคน โดยปัจจุบัน มาเลเซียมีประชากรประมาณ 32 ล้านคนน้อยกว่าอินเดียมากถึง 1.4 พันล้านคน

โดยทั่วไปจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 จริงจะสูงกว่าที่รายงาน เนื่องจากการทดสอบเชื้อที่ไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่จำนวนผู้ติดเชื้อของมาเลเซียแซงหน้าอินเดีย โดยจำนวนผู้ป่วยรายวันของมาเลเซียต่อประชากรล้านคนสูงกว่าอินเดียตั้งแต่ 15 พฤศจิกายนปีที่แล้วถึง 27 มีนาคมปีนี้

ภาพจาก Shutter Stock

ปัจจุบัน ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียระบุว่า มาเลเซียมีผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัสเพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 7,478 ราย โดยมีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 533,300 ราย มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,300 ราย และผู้ติดเชื้อ 700 คนอยู่ในห้องผู้ป่วยหนัก (ICU)

ทั้งนี้ มาเลเซียได้อนุมัติการใช้วัคซีน COVID-19 ที่พัฒนาโดย Pfizer-BioNTech, Oxford University-AstraZeneca และ Sinovac โดยรัฐบาลกล่าวว่ามีเป้าหมายที่จะฉีดวัคซีน 80% ของประชากรภายในสิ้นปีนี้ แต่มีเพียง 5% เท่านั้นที่ได้รับอย่างน้อยหนึ่งครั้งข้อมูลที่รวบรวมโดย Our World in Data แสดงให้เห็น

Source

]]>
1333893
วิจัยกรุงศรีเลื่อนคาดการณ์ “โควิดรอบสาม” จบเดือนสิงหาคม ปรับลดจีดีพีไทยเหลือ 2% https://positioningmag.com/1332716 Tue, 18 May 2021 10:36:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1332716 ระบาดรอบ 3 จะจบเมื่อไหร่? คือคำถามที่ทุกคนเฝ้ารอคำตอบ ล่าสุด “วิจัยกรุงศรี” พล็อตกราฟใหม่หลังการระบาดมีแนวโน้มรุนแรง คาดจุดพีคของยอดผู้ติดเชื้ออาจเป็นช่วงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ และทำให้การคุมระบาดสำเร็จล่วงเลยไปถึงเดือนสิงหาคม จึงพิจารณาปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยปีนี้เหลือโต 2% โดยไตรมาส 1/64 ยังติดลบอยู่ -2.6% YoY

วิจัยกรุงศรีประเมินใหม่ หลังสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 รอบสามรุนแรงกว่าที่เคยคาดไว้เมื่อเดือนเมษายน คาดว่าระยะที่การระบาดจะกลับมาเป็นปกติ (มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ไม่เกิน 100 คนต่อวัน) จะเลื่อนจากต้นเดือนกรกฎาคมนี้ ไปเป็นเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ ประเมินแยกเป็น 3 กรณี ดังนี้

  • กรณีแรก (เส้นสีเหลือง) สามารถคุมการระบาดของคลัสเตอร์ใหม่ได้ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดยังอยู่ในเดือนพฤษภาคม คาดว่าจะทำให้ผู้ติดเชื้อค่อยๆ ลดลงจนเป็นปกติภายในปลายเดือนกรกฎาคม
  • กรณีที่สอง (เส้นสีส้ม) ยังไม่สามารถคุมการระบาดของคลัสเตอร์ใหม่ได้ ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนพฤษภาคม และทำให้การระบาดกลับเป็นปกติราวปลายเดือนสิงหาคม
  • กรณีที่เลวร้ายที่สุด (เส้นสีแดง) มีการระบาดของคลัสเตอร์ใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปอีก 2-3 เดือน และผู้ติดเชื้อสะสมจะขึ้นไปแตะ 3 แสนรายได้ในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม (จากปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อกว่า 1 แสนราย) โดยวิจัยกรุงศรียังไม่ระบุช่วงที่การระบาดจะคลี่คลาย หากเกิดกรณีนี้ขึ้น
คาดการณ์กรณีความเป็นไปได้ต่างๆ ของการระบาดรอบ 3 โดยวิจัยกรุงศรี

อย่างไรก็ตาม วิจัยกรุงศรีเชื่อว่า สถานการณ์จริงน่าจะอยู่ในช่วงระหว่างเส้นสีเหลืองและเส้นสีส้ม นั่นหมายความว่าการระบาดอาจคลี่คลายช่วงต้นถึงกลางเดือนสิงหาคม

การระบาดที่คลี่คลายช้าลงไปอีกประมาณ 1 เดือน จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายภาคเอกชนถูกจำกัด รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้น่าจะหดตัวลงเหลือ 3.3 แสนคนเท่านั้น วิจัยกรุงศรีจึงปรับคาดการณ์จีดีพีไทยเหลือ 2% (จากเดิม 2.2%)

ขณะที่ สภาพัฒน์ ก็ปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยเช่นกัน โดยลดเหลือกรอบ 1.5-2.5% จากเดิม 2.5-3.5%

สำหรับไตรมาสแรกปี 2564 เศรษฐกิจไทยติดลบต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ห้า โดยติดลบ -2.6% YoY แต่ถือว่าฟื้นตัวขึ้นมาแล้วจากไตรมาสที่สี่ปี 2563 เพราะเมื่อไตรมาสก่อนหน้าเศรษฐกิจติดลบ -4.2%

ส่วนเซ็กเตอร์ที่จะยังช่วยประคองเศรษฐกิจในปีนี้ได้ เป็นภาคการส่งออก การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ และเงินอัดฉีด 2 แสนล้านบาทเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

การควบคุมการระบาดยังขึ้นอยู่กับนโยบายการกระจายวัคซีนด้วย โดยล่าสุดคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติจัดประชุมเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม มีมติที่สำคัญ ดังนี้ 1.ปรับเพิ่มจำนวนจัดหาวัคซีนเป็น 150 ล้านโดสภายในปี 2565 2. ปรับแนวทางเป็นการฉีดวัคซีนเข็มแรกให้ประชาชนให้ได้มากที่สุด 3.เร่งจัดหาวัคซีนให้มากที่สุดและหลากหลายมากขึ้น

]]>
1332716
รอบสามซ้ำ “แผลเศรษฐกิจ” EIC ปรับลดจีดีพีไทยเหลือ 2% คาดใช้เวลาคุมระบาด 3 เดือน https://positioningmag.com/1330913 Fri, 07 May 2021 07:12:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330913
  • COVID-19 ระบาดรอบสามส่อยาว ซ้ำเติมแผลเศรษฐกิจ SCB EIC ปรับลดจีดีพีไทยเหลือโต 2% (เดิมคาดโต 6%)
  • ระลอกสามมีผลกระทบกับการบริโภคภาคเอกชน จำนวนนักท่องเที่ยวคาดการณ์ลดเหลือ 5 ล้านคน แต่ภาคการส่งออกคาดว่าจะโต 8.6% สูงกว่าที่เคยคาดไว้ เพราะเศรษฐกิจการค้าโลกเริ่มฟื้นตัว
  • กรณีฐาน (Base case) คาดจะใช้เวลาคุมการระบาด 3 เดือน กลับมาเป็นปกติช่วงเดือนกรกฎาคมนี้ ใช้เวลามากกว่าปีก่อนเพราะไวรัสสายพันธุ์ใหม่ระบาดได้เร็วกว่าเดิม
  • ส่งผลต่อเนื่องถึงการจ้างงาน การรับสมัครงานลดลงตั้งแต่เดือนเมษายน และมีผู้ว่างงานสูงสุดในรอบ 5 เดือน
  • ชี้ภาครัฐควรเร่งอัดฉีดเงินในระบบตั้งแต่ไตรมาส 2 ก่อนที่จะเกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจซ้ำสอง
  • SCB EIC ออกบทวิเคราะห์เศรษฐกิจไทยหลังเผชิญการระบาดของ COVID-19 ระลอกสาม ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยเหลือ 2.0% (จากเดิมคาดโต 2.6%) เฉพาะไตรมาสที่ 2/2564 การระบาดมีแนวโน้มสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ 2.4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 1.5% ของจีดีพี

    EIC มองว่า การระบาดรอบที่สามจะส่งผลโดยตรงและโดยอ้อมต่อเศรษฐกิจ ดังนี้

    • พฤติกรรมการบริโภค – ทั้งจากความตื่นตัวของประชาชนเองและจากนโยบายรัฐ การบริโภคสินค้าและบริการจะลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มโรงแรมและร้านอาหาร, การเดินทาง และกิจกรรมสันทนาการ
    • นักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่าจะลดลงเหลือ 1.5 ล้านคนในปีนี้ (เดิมคาดการณ์ 3.7 ล้านคน) เนื่องจากการระบาดระลอกสามอาจส่งผลต่อกำหนดการเปิด “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” ที่จะเริ่มวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ รวมถึงมีผลต่อการพิจารณาของประเทศต้นทางนักท่องเที่ยวในการรับคนขากลับเข้าประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร อาจกำหนดให้ไทยเป็นประเทศ ‘สีเหลือง’ ผู้ที่เดินทางจากไทยเข้าสู่อังกฤษต้องกักตัวที่บ้านเป็นเวลา 10 วัน เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์หนึ่งที่ยังพยุงเศรษฐกิจไทยไว้ได้ คือ “ภาคการส่งออก” ซึ่ง EIC คาดว่าจะโตได้ถึง 8.6% ในปีนี้ (ไม่รวมทองคำ) ปรับขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะโต 6.4% เนื่องจากเศรษฐกิจการค้าโลกเริ่มฟื้นตัวแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่สามารถควบคุมการระบาดได้ และฉีดวัคซีนให้ประชากรไปแล้วจำนวนมาก เช่น จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป แต่มีปัจจัยลบที่ต้องระวังคือปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และชิปที่ใช้ในการผลิตสินค้า

     

    ระลอกสามจะจบเมื่อไหร่ ? : EIC คาดการณ์ “3 เดือน”

    EIC ประเมินจากจำนวนผู้ติดเชื้อและการกระจายตัวของโรคที่มากกว่าสองรอบแรก รวมถึงไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้ค่าอัตราการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสสูงขึ้น จากการประเมินคาดว่าจะทำให้ กรณีฐาน (Base Case) ต้องใช้เวลาในการควบคุมระบาด 3 เดือน โดยผู้ติดเชื้อจะเริ่มลดลงเหลือประมาณ 500 รายต่อวันในเดือนมิถุนายน และกลับเป็นปกติ (มีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 100 รายต่อวัน) ราวเดือนกรกฎาคมนี้ โดยมีผู้ติดเชื้อสะสมเฉพาะระลอกที่สามแตะ 93,000 ราย

    แต่ถ้าหากมาตรการรัฐควบคุมได้น้อยเกินไปหรือประชาชนไม่ตื่นตัว อาจทำให้การระบาดยาวนานไปสู่ กรณีที่แย่ (Worse Case) คือใช้เวลาถึง 4 เดือนในการควบคุม นั่นหมายความว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะยังไต่ระดับขึ้น หรือมีการติดเชื้อคลัสเตอร์ใหม่ และขึ้นไปสูงสุดที่เดือนมิถุนายน แล้วค่อยไต่ระดับลงจนเป็นปกติราวเดือนสิงหาคม

     

    ผู้ว่างงานสูงขึ้น บริษัทเปิดรับสมัครน้อยลง

    EIC มองว่าการระบาดรอบนี้เป็นการซ้ำเติมแผลเป็นสำคัญที่มีมาตั้งแต่ปีก่อนคือ “ตลาดแรงงาน” เนื่องจากเห็นสัดส่วนผู้ใช้สิทธิว่างงานของสำนักงานประกันสังคมเพิ่มขึ้นเป็น 3.1% ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นการปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาดที่เคยมีสัดส่วนเพียง 1.4%

    ขณะที่ดาต้าการประกาศรับสมัครงานใหม่จาก JobsDB.com เมื่อเดือนเมษายน พบว่า มีการรับสมัครงานน้อยลงและกินวงกว้างหลายประเภทงานยิ่งกว่าการระบาดรอบสอง มีกลุ่มงานที่รับสมัครลดลงเทียบกับรอบสองที่ยังไม่มีผลกระทบ เช่น ไอที บริการทางการแพทย์ บริการความงาม จัดซื้อ การเงิน ประกัน อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

    ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบ

     

    ชี้ภาครัฐควรอัดฉีดด่วนตั้งแต่ไตรมาส 2/64

    ในส่วนของการใช้จ่ายภาครัฐ ล่าสุด ครม. มีมติออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจวงเงิน 2.4 แสนล้านบาท เป็นการใช้เม็ดเงินในพ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทจนเต็มวงเงินแล้ว

    อย่างไรก็ตาม EIC พบว่าตามแผนของรัฐ เม็ดเงินจะอัดฉีดในไตรมาส 2 นี้เพียง 8.5 หมื่นล้านบาท เทียบกับความเสียหายทางเศรษฐกิจของไตรมาสนี้ที่ EIC ประเมินไว้ 2.4 แสนล้านบาท เม็ดเงินจากภาครัฐสำหรับไตรมาสนี้จึงอาจจะไม่เพียงพอและไม่ทันต่อความต้องการ

    มาตรการภาครัฐ รับมือระบาดรอบสาม

    หากภาครัฐไม่ปรับมาเร่งอัดฉีดงบประมาณโดยเร็ว อาจทำให้ครึ่งปีแรก 2564 เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ (Technical Recession) อีกครั้ง ซ้ำรอยเดิมที่เคยเกิดขึ้นเมื่อไตรมาส 2 ปี 2563

    EIC ยังคาดการณ์ถึงสิ่งที่ต้องจับตาในระยะถัดไปคือ “วัคซีน” ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการคุมการระบาดรอบนี้ และป้องกันการระบาดรอบใหม่ได้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความเร็วในการฉีดวัคซีน และประสิทธิภาพของวัคซีน โดยเฉพาะการควบคุมไวรัสสายพันธุ์ใหม่

    ]]>
    1330913
    ชีวิตต้องสู้! ร้านอาหารในโรงแรมเปิดโปรฯ “จองห้องพักแถมอาหารตามมูลค่าห้อง” https://positioningmag.com/1330290 Sun, 02 May 2021 14:27:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330290 ศบค. สั่งยกระดับ 6 จังหวัดเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม ทำให้ร้านอาหารต้องปิดบริการทานในร้าน แต่กับอาหารบางประเภท เดลิเวอรี่ก็ไม่ตอบโจทย์ ร้านอาหาร Daddy G’s smoke & brew ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงแรม ONYX พระราม 9 ซอย 53 จึงออกโปรโมชันกู้วิกฤต “จองห้องพักแถมอาหารตามมูลค่าห้อง” ขอพยุงธุรกิจเพื่อลูกน้อง

    ร้านอาหาร Daddy G’s smoke & brew ในโรงแรม ONYX พระราม 9 ซอย 53 เปิดโปรโมชันพิเศษรับมือ COVID-19 ระลอกสามและคำสั่งปิดบริการทานในร้าน ให้ลูกค้าสามารถ “จองห้องพักแถมอาหาร” ร้านจะนำอาหารไปเสิร์ฟให้ถึงห้องในลักษณะ room service เริ่มโปรฯ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 64 โดยมีรายละเอียดโปรฯ ดังนี้

    1 ชม. 500 แถมอาหารมูลค่า 500 บาท
    2 ชม. 1,000 แถมอาหารมูลค่า 1,000 บาท
    3 ชม. 1,500 แถมอาหารมูลค่า 1,500 บาท
    4 ชม. 2,000 แถมอาหารมูลค่า 2,000 บาท
    4 ชม. 3,000 แถมอาหารมูลค่า 3,000 บาท
    4 ชม. 4,000 แถมอาหารมูลค่า 4,000 บาท
    1 คืนราคา 5,000 แถมอาหารมูลค่า 5,000 บาท

    บรรยากาศร้าน Daddy G’s smoke & brew ในช่วงเวลาปกติ (Photo: Facebook@DaddyGsSmokeAndBrew)

    โรงแรมมีทั้งหมด 73 ห้องพร้อมรับลูกค้า มีเงื่อนไขสำหรับลูกค้าที่จะเข้ารับบริการห้องพักพร้อมอาหาร คือ

    *รับเฉพาะผู้พำนักในบ้านเดียวกัน หรือ มารถคันเดียวกัน
    *รับไม่เกินจำนวนที่ประกาศรัฐกำหนด (ห้องใหญ่สุดรับได้ 6 ท่าน)
    *ฆ่าเชื้อในห้องทุกครั้งหลังให้บริการด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อมาตรฐาน
    *มีช้อนกลาง แยกภาชนะเครื่องดื่มให้
    *กรุณาลงทะเบียนลงชื่อเข้าใช้ สวมหน้ากากอนามัย ใช้เจลล้างมือฆ่าเชื้อ
    *ไม่รับผู้มีความเสี่ยง ทั้งสัมผัสทางตรงทางอ้อม หรือ มีอาการไข้
    *ถ้าลงทะเบียนให้ข้อมูลเท็จจนเกิดความเสียหายทางร้านขอดำเนินการจนถึงที่สุด

    โพสต์ของร้านครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 เม.ย. 64 เตรียมตัวก่อนปิดบริการหน้าร้าน ระบุว่า โปรโมชันครั้งนี้เพื่อ “เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส ดิ้นเพื่อลูกน้องจะยังได้มีงานทำ มาครับ”

    ตัวอย่างอาหารร้าน Daddy G’s smoke & brew

    หลังจากประกาศโพสต์ไป 3 วัน ปรากฏว่ามีลูกค้าสอบถามและจองเป็นจำนวนมาก ทำให้ร้านแจ้งขอให้ลูกค้าจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 วัน รับจองระหว่างเวลา 11.00-21.00 น. ส่วนการเข้าพักในห้อง หากไม่ค้างคืน สามารถอยู่ได้ถึงเวลา 22.00 น.

    อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ (วันที่ 2 พ.ค. 64) ทางร้านได้ดำเนินการลบโพสต์โปรโมชันนี้ออกจากหน้าเพจแล้วทั้งหมด เมื่อสอบถามผ่านทางเพจร้าน ทางร้านระบุในข้อความตอบกลับอัตโนมัติว่า “ตอนนี้ขออนุญาต ปิดรับจองชั่วคราวเพื่อจัดเตรียมการบริการ ทั้งส่วนของร้าน และ โรงแรมครับ . เมื่อเราพร้อมรับจองจะแจ้งอีกครั้งหน้าเพจ ต้องขออภัยในความไม่สะดวกครับผม”

    ก่อนหน้านี้ในวันเดียวกัน ทางร้านระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาตรวจสอบการดำเนินการของร้าน แต่โพสต์ดังกล่าวถูกลบไปแล้วเช่นกัน

    ร้านอาหาร Daddy G’s smoke & brew นั้นจำหน่ายอาหารสไตล์บาร์บีคิว อเมริกัน และเอเชียนฟิวชัน เช่น เนื้อสัตว์ย่าง/รมควัน เบอร์เกอร์ พาสต้า สลัด ราคาตั้งแต่ 180 บาทจนถึงมากกว่า 1,000 บาทต่อจาน

    บางครั้งร้านอาหารไม่สามารถเดลิเวอรี่ได้เพราะลักษณะอาหารควรทานร้อน การอุ่นซ้ำอาจทำให้รสชาติเสีย และควรมีบรรยากาศของการรับประทานเสริมความอร่อย การถูกปิดระบบทานในร้านจึงทำให้ร้านแทบไม่มีรายได้เข้ามา

    สำหรับไอเดียนี้ยังไม่แน่ว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ แต่สะท้อนให้เห็นความพยายามพลิกแพลงขายสินค้าของกลุ่มธุรกิจร้านอาหาร เพื่อความอยู่รอดท่ามกลางวิกฤตระลอกที่สาม

    ]]>
    1330290
    ซีอีโอ ‘BioNTech’ มั่นใจวัคซีนใช้ได้ผลกับโควิดสายพันธุ์ ‘อินเดีย’ https://positioningmag.com/1330185 Fri, 30 Apr 2021 09:59:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330185 ไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ B.1.617 ที่พบในอินเดีย เป็นสายพันธุ์ที่หลายคนมองว่าเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดการระบาดหนักระลอก 3 ในหลายประเทศ ซึ่งทาง CEO ของ BioNTech ได้ออกมาระบุว่า ‘มั่นใจ’ ว่าวัคซีน COVID-19 ของบริษัทสามารถใช้ได้ผลกับสายพันธุ์ดังกล่าว

    Ugur Sahin CEO ของ BioNTech กล่าวว่า เขา ‘มั่นใจ’ ว่าวัคซีน COVID-19 ของบริษัทที่ร่วมกับ Pfizer บริษัทเภสัชภัณฑ์สัญชาติสหรัฐฯ มีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ B.1.617 ที่พบครั้งแรกในอินเดีย โดยไวรัสกลายพันธุ์ดังกล่าวเป็น ‘ชนิดกลายพันธุ์คู่’ ซึ่งบางคนคิดว่าเป็นสาเหตุหลักของการระบาดหนักในปัจจุบัน

    Sahin กล่าวว่า บริษัทได้ทำการทดสอบวัคซีนกลายพันธุ์กว่า 30 สายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่ประสิทธิภาพของวัคซีนนั้นอยู่ในระดับเดียวกันกับเชื้อไวรัสฯ ชนิดดั้งเดิม ดังนั้น จากข้อมูลเหล่านั้นทำให้มั่นใจว่าวัคซีนจะยังคงป้องกันได้

    “เรากำลังประเมิน และข้อมูลจะพร้อมใช้งานในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งที่ผ่านมา เราได้มีการทดสอบกับไวรัสชนิดกลายพันธุ์คู่ที่คล้ายกันกับของอินเดีย และจากข้อมูลที่เรามีทำให้เรามั่นใจว่าวัคซีนจะสามารถทำให้ไวรัสเป็นกลางได้ แต่เราจะยืนยันได้ก็ต่อเมื่อเรามีข้อมูลอยู่ในมือ”

    Ugur Sahin (Photo by Bernd von Jutrczenka – Pool/Getty Images)

    ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า พวกเขามีความกังวลเกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่กระจายได้ง่าย และอาจมีความสามารถในการหลบต่อต้านการวัคซีนในปัจจุบัน ทำให้อเมริกาเรียกร้องให้ชาวอเมริกันได้รับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุดก่อนที่จะมีสายพันธุ์ใหม่และอาจเป็นอันตรายมากขึ้น

    การศึกษาแสดงให้เห็นว่าวัคซีน Pfizer-BioNTech ยังคงสามารถป้องกันสายพันธุ์อื่น ๆ ได้รวมถึง B.1.526 ซึ่งตรวจพบครั้งแรกในนิวยอร์กและ B.1.1.7 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบในสหราชอาณาจักร ขณะที่การศึกษาของอิสราเอลพบว่า B.1.351 ซึ่งเป็นตัวแปรที่ค้นพบในแอฟริกาใต้สามารถต่อต้านการป้องกันวัคซีน Pfizer-BioNTech ได้บางส่วน แม้ว่าการฉีดจะยังคงมีประสิทธิภาพสูง

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการยิงจะฉีดวัคซีนจะมีประสิทธิภาพ แต่ Sahin กล่าวว่า อาจต้องฉีดวัคซีนเป็น 3 เข็มเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นก่อนหน้านี้ของ Albert Bourla CEO ของ Pfizer โดยในเดือนกุมภาพันธ์ Pfizer และ BioNTech ได้ร่วมกันทดสอบการฉีดวัคซีนครั้งที่ 3 เพื่อให้เข้าใจการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ดีขึ้น

    “เราสามารถขยายการตอบสนองของแอนติบอดีให้สูงกว่าระดับที่เรามีในตอนแรก และนั่นสามารถทำให้เราได้รับความสะดวกสบายอย่างแท้จริงสำหรับการป้องกันเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือนหรือ 18 เดือน”

    Source

    ]]>
    1330185
    รอบ 3 สาหัส! “ฟู้ดแพชชั่น” ลูกค้าลด 50% คนสั่งเดลิเวอรี่เน้น “ประหยัด” มากกว่าตื่นเต้น https://positioningmag.com/1329710 Wed, 28 Apr 2021 10:31:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329710 “ฟู้ดแพชชั่น” ประเมิน COVID-19 รอบ 3 สาหัส เดือนเมษายนลูกค้าลด 50% ปรับเป้าทั้งปีขอแค่เสมอตัว-ไม่ขาดทุน ออกแคมเปญ “มาตรGON” เร่งยอดเดลิเวอรี่ แต่ยอมรับมู้ดผู้บริโภคนาทีนี้เน้น “ประหยัด” มากกว่าสนุกตื่นเต้นกับความแปลกใหม่ของการทานที่บ้าน

    COVID-19 ระบาดรอบสาม ความท้าทายอีกครั้งของธุรกิจร้านอาหาร “บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสร้างโอกาสทางการตลาด กลุ่มธุรกิจอาหาร ฟู้ดแพชชั่น เปิดเผยสถานการณ์ล่าสุดของร้านอาหารในเครือ พบทราฟฟิกเข้าร้านเดือนเมษายน 2564 ลดลง 50% โดยเฉพาะช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์สุดเงียบเชียบ

    แม้ว่าสถานการณ์ยังไม่ย่ำแย่เท่ากับการระบาดครั้งแรกเมื่อปีก่อน เพราะไม่มีคำสั่งล็อกดาวน์ร้านอาหาร แต่ความรู้สึกของผู้บริโภคกังวลสูงมากจากตัวเลขผู้ติดเชื้อมากกว่า 2,000 คนต่อวัน และผู้เสียชีวิตรายวันเป็นตัวเลขสองหลัก ทำให้คนไม่ต้องการทานอาหารในร้าน

    “บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสร้างโอกาสทางการตลาด กลุ่มธุรกิจอาหาร ฟู้ดแพชชั่น

    โดยคาดว่าการระบาดน่าจะยังส่งผลไปตลอดไตรมาส 2 ทำให้เชื่อว่าไตรมาสนี้ ยอดขายของฟู้ดแพชชั่นจะลดลง 30-40%

    “รวมทั้งปีจะเป็นเท่าไหร่คงตอบยาก เราต้องดูเดือนต่อเดือนเลย” บุณย์ญานุชกล่าว “แต่คิดว่าเป้าเดิมที่จะโต 3-5% อาจจะไม่ได้ ตอนนี้ขอแค่เสมอตัว ไม่ขาดทุนก็พอ”

    ทั้งนี้ เธอกล่าวว่าปี 2563 ฟู้ดแพชชั่นรอดตัว ประคองปิดรายได้ไปที่ 2,900 ล้านบาท ตกเป้าไป 20% แต่ยังมีกำไร ส่วนไตรมาส 1 ปี 2564 ถือว่าทำได้ตามเป้า เนื่องจากมีการออกโปรฯ บุฟเฟ่ต์ของบาร์บีคิว พลาซ่า ได้รับความนิยมสูง

     

    เข็นแคมเปญ “มาตรGON” ดึงรายได้ด่วน

    จากสถานการณ์ระลอกสาม ทำให้ฟู้ดแพชชั่นงัดแคมเปญตอบรับทันทีในชื่อ “มาตรGON” แคมเปญนี้จะเน้นสร้างยอดขายเดลิเวอรี่ ต้องการการเติบโต 30% รันแคมเปญยาวถึง 21 พฤษภาคมนี้

    แคมเปญมาตรGON แก้วิกฤตระบาดระลอกสาม

    มาตรGON แตกออกเป็น แคมเปญย่อย 5 แคมเปญ ประกาศทุกวันพุธของสัปดาห์ ใช้ชื่อแคมเปญแบบล้อไปกับมาตรการรัฐบาล ได้แก่ GONช่วยครึ่ง, ไทยฌาณา, หม้อชนะ, ก.333 เรารักกัน และ GON ไม่ทิ้งกัน แต่ละแคมเปญจัดโปรฯ กับแบรนด์ต่างๆ ในเครือ ลดราคาเมนูต่างๆ แจกโค้ดลดราคา หรือสมาชิกแลกคะแนนเป็นคูปองส่วนลด เป็นต้น

    แม้จะมีแคมเปญโปรโมชัน แต่บุณย์ญานุชยอมรับว่า อาจจะได้เพียงแค่ประคองตัวให้ผ่านระลอกสามไป เพราะสินค้าของฟู้ดแพชชั่นส่วนใหญ่เป็นแบบ DIY คือต้องมาทำทานเองที่ร้าน เช่น บาร์บีคิว พลาซ่า, จุ่มแซ่บฮัท, ฌาณา, Red Sun ทำให้การขายเดลิเวอรี่ไม่สามารถชดเชยได้ทั้งหมด

     

    รอบสามผู้บริโภค “ประหยัด” มากขึ้น

    ด้านภาพรวมการระบาดระลอกสาม บุณย์ญานุชกล่าวว่า หากเปรียบเทียบกับสองรอบที่ผ่านมา ในแง่คำสั่งภาครัฐไม่มีอะไรหนักเท่ากับรอบแรกแล้ว เพราะครั้งนั้นมีการปิดล็อกดาวน์ร้านอาหาร แต่รอบสามหนักกว่ารอบสองอย่างชัดเจน เพราะครั้งนั้นคลัสเตอร์จำกัดวงอยู่ใน จ.สมุทรสาครเสียส่วนใหญ่ คำสั่งรัฐและความรู้สึกผู้บริโภคจึงมีผลกับบริษัทค่อนข้างน้อย

    ตัวอย่างชุดปิ้งย่างเดลิเวอรี มีเตาปิ้งย่างให้ยืม แก้ปัญหาลูกค้าไม่มีเตาทานที่บ้าน

    แต่ถ้าวัดมู้ดผู้บริโภคในการใช้จ่าย ค่อนข้างกังวลเพราะวัดจากยอดขายเดือนเมษายน สัดส่วนผู้บริโภคซื้อกลับบ้านมีเพียง 5% เทียบกับช่วงระบาดรอบแรกยังมีถึง 10%

    และสังเกตว่าผู้บริโภคเริ่มตื่นเต้นน้อยลงกับการสั่งเดลิเวอรี่ เทียบกับรอบแรกนั้นโปรดักต์ต่างๆ ยังใหม่ในสายตาผู้บริโภค มีความสนุก ตื่นเต้น เหมือนรอเปิดกล่องของขวัญที่บ้าน แต่รอบนี้ผู้บริโภคต้องการ “ประหยัด” เป็นหลัก เชื่อว่าเกิดจากการคาดการณ์ว่าระบาดรอบนี้จะยาวนาน และต้องเก็บเงินไว้ในกระเป๋า

    “รอบสามนี่โหดมาก เราต้องจำกัดค่าใช้จ่ายบริษัทให้มากที่สุดในส่วนที่จำกัดได้” บุณย์ญานุชกล่าว “แต่ในแง่จิตใจของบริษัทเรายังแข็งแกร่งกว่ารอบแรก”

    ]]>
    1329710
    ‘เยอรมัน’ ประกาศล็อกดาวน์ยาวถึงมิ.ย. หวังชะลอการระบาดระลอก 3 https://positioningmag.com/1329521 Tue, 27 Apr 2021 07:13:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329521 เยอรมนีได้ประกาศล็อกดาวน์รอบใหม่เพื่อลดการติดเชื้อระลอกที่สาม โดยมาตรการดังกล่าวคาดว่าจะมีผลจนถึงเดือนมิถุนายน ส่งผลให้เกิดการประท้วงเกิดขึ้นในหลายเมือง

    เยอรมนีได้ออกมาตรการเคอร์ฟิวเพื่อชะลอการระบาดในระลอกที่สาม ซึ่งการออกมาตรการดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากในช่วง 7 วันที่ผ่านมา อัตราการติดเชื้อทั่วประเทศอยู่ที่สัดส่วน 161 คนต่อประชากร 100,000 คน ทั้งนี้ การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการแพร่กระจายของสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมากขึ้น

    มาตรการดังกล่าวจะเน้นภูมิภาคที่มีอัตราผู้ติดเชื้อมากกว่า 100 คนจากประชากรทั้งหมด 100,000 คน ซึ่งมีถึง 16 รัฐ ที่มีผู้ติดเชื้อสูงเกินเกณฑ์ นอกจากนี้ยังออกมาตรการเคอร์ฟิว ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ 22.00 น. ถึงตี 5 โดยจะอนุญาตให้ออกจากบ้านได้เฉพาะในกรณีที่ต้องไปหรือกลับจากที่ทำงาน, ไปขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ หรือพาสุนัขไปเดินเล่น

    อย่างไรก็ตาม มีประชาชนส่วนหนึ่งที่ไม่พอใจกับมาตรการดังกล่าว ส่งผลให้มีการเดินขบวนเล็ก ๆ เกิดขึ้นในหลายเมือง อาทิ แฟรงก์เฟิร์ตและฮันโนเวอร์ แม้ว่าจะมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นก็ตาม

    ภาพจาก CNBC

    Olaf Scholz รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่า เขาไม่คิดว่ามาตรการต่าง ๆ จะคลี่คลายลงก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคม ขณะที่ Jens Spahn รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า

    “สถานการณ์ร้ายแรง และไม่ได้มีแค่การฉีดวัคซีนที่ลดการแพร่ระบาดได้ แต่ต้องลดการสัมผัสและลดการแพร่เชื้อเท่านั้น ถึงจะสามารถยับยั้งการระบาดรอบที่สามได้”

    ทั้งนี้ มีชาวเยอรมันได้รับวัคซีนแล้ว 606,000 คน และภายในต้นเดือนพฤษภาคม รัฐบาลตั้งเป้าจำนวนผู้ได้รับวัคซีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด และภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม คาดหวังว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 1 ใน 3

    Source

    ]]>
    1329521
    โควิดระลอก 3 ทำพิษ! ฉุด ‘เม็ดเงินโฆษณา’ ปี 64 หมดหวังโต 2 หลัก https://positioningmag.com/1329201 Mon, 26 Apr 2021 08:38:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329201 ย้อนไปในปี 2019 ก่อนจะเกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 เม็ดเงินโฆษณาในประเทศไทยเกือบแตะ 90,000 ล้านบาท แต่ในปี 2020 ที่ COVID-19 ทำให้เม็ดเงินโฆษณาติดลบไปถึง -18.3% มีมูลค่า 73,720 ล้านบาท และในปี 2021 ที่เคยคาดว่าเม็ดเงินโฆษณาจะกลับมา ‘โต’ อีกครั้ง แต่กลายเป็นว่าอาจจะไม่สามารถโตได้อย่างที่คาดเนื่องจากการระบาด ‘ระลอก 3’

    ในช่วงต้นปี 2021 ประเทศไทยเริ่มเห็นสัญญาณต่าง ๆ ที่ดีขึ้น แม้ว่าช่วงปลายปีจะเผชิญกับการระบาดระลอก 2 อาทิ การมีวัคซีน โดย ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด (MI) คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาปี 2021 เติบโตอย่างน้อย 5-10% มีมูลค่า 79,600 ล้านบาท คาดว่าไตรมาส 3-4 จะเป็นช่วงที่มีเม็ดเงินมากที่สุด

    แต่หลังจากเกิดการระบาดระลอก 3 ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดหากเทียบกับ 2 ระลอกที่ผ่านมา ส่งผลให้มีการคาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาใหม่ ซึ่งมีโอกาสที่จะกลับไปสู่ ‘จุดต่ำสุด’ เหมือนกับปี 2020 โดยไม่มีโอกาสที่จะกลับไปเติบโตได้ 2 หลักอย่างที่คาด

    โควิดระลอกสองทำตลาดช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ติดลบ –7.8% แต่มีสัญญาณการทำแคมเปญทางการตลาดที่ดีในช่วงเดือนมีนาคมมีแคมเปญราว 1,300 แคมเปญเติบโต 7% ซึ่งโชคดีที่งานมอเตอร์โชว์ยังจัดได้ เพราะอุตสาหกรรมยานยนต์ใช้งบโฆษณาเยอะสุด”

    ทั้งนี้ บริษัทได้ประเมินสถานการณ์ไว้ 2 รูปแบบ

    1. กรณีที่สามารถควบคุมการระบาดไว้ได้ภายในเดือนพฤษภาคม คาดการณ์ว่าจะเห็นเม็ดเงินเป็นบวกได้ 4% ปิดที่ 78,000 ล้านบาท

    2. ถ้าไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ภายในครึ่งปีแรก คาดว่าเม็ดเงินจะเท่ากับปี 2020 หรือราว 75,000 ล้านบาท โดยยังไม่ถึงขั้นติดลบ

    “ที่เรามองว่าเม็ดเงินโฆษณาคงไม่ติดลบ เพราะฐานตลาดปี 63 ถือว่าเป็นจุดต่ำสุดแล้ว”

    แน่นอนว่าเม็ดเงินที่ลดลง สื่อทุกสื่อต่างได้รับผลกระทบทั้งหมดแต่นอน แต่สื่อหลักที่กินสัดส่วนเยอะสุดยังเป็น ทีวี (50%) ซึ่งแม้ว่าประชาชนต้องอยู่บ้าน แต่การเติบโตของการดูทีวีคาดว่าจะเติบโตแค่ 3-4% เท่านั้น ต่างจากที่รอบแรกเติบโต 10-15% ทั้งนี้ คาดว่ารายการบันเทิง ละคร ซีรีส์ รายการวาไรตี้เผชิญผลกระทบ แต่คอนเทนต์ ข่าวจะกระทบน้อยสุด เพราะผู้บริโภคยังต้องการเสพความน่าเชื่อถือจากสื่อหลัก

    ส่วน ออนไลน์ ที่มีสัดส่วน 30% ของเม็ดเงินโฆษณารวมคาดว่ายังสามารถเติบโตได้ประมาณ 8% ที่น่าเป็นห่วงคือ สื่อ Out of Home มีสัดส่วน 10% ซึ่งคาดว่าหดตัวลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงสื่ออย่าง ‘โรงภาพยนตร์’ ที่น่าจะยิ่งหดตัว

    ]]>
    1329201
    COVID-19 ระลอกสามป่วนเศรษฐกิจปี’64 นักวิเคราะห์ “ปรับลด” จีดีพีไทยถ้วนหน้า https://positioningmag.com/1328555 Wed, 21 Apr 2021 09:12:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328555 รวมข้อมูลจาก 4 สถาบันวิเคราะห์การเงินการลงทุน คาดการณ์ใหม่ “ปรับลด” จีดีพีไทยปี 2564 ถ้วนหน้า “กรุงไทย” ปรับลดฮวบเหลือโต 1.5% ขณะที่ “เอเซีย พลัส” ยังมองบวก คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 2.46% มาตรการรัฐรอบใหม่ไม่รุนแรงเท่าปีก่อน

    Positioning รวบรวมข้อมูลจาก 4 สถาบันวิเคราะห์การเงินการลงทุน ตบเท้ากันออกคาดการณ์ใหม่เศรษฐกิจไทยปี 2564 ปรับลดจีดีพีลงทั้งหมด ดังนี้

    – ศูนย์วิจัยกรุงไทย COMPASS : ปรับลดเหลือ 1.5% จากเดิม 2.5%
    – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย : ปรับลดเหลือ 1.8% จากเดิม 2.6%
    – ศูนย์วิจัยกรุงศรี : ปรับลดเหลือ 2.2% จากเดิม 2.5%
    – เอเซีย พลัส : ปรับลดเหลือ 2.46% จากเดิม 2.6%

    การปรับลดจีดีพีไทย 2564 เกิดขึ้นจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่สาม ซึ่งทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของคนไทยลดลง โดยขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่าการแพร่ระบาดรอบนี้จะผ่อนแรงลงเมื่อใด

     

    “กรุงไทย” : รอบสามกระทบหนักการบริโภค

    ศูนย์วิจัยกรุงไทย COMPASS ปรับลดหนักที่สุด โดยมองว่าผลกระทบ COVID-19 รอบสามจะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำ เหลือ 1.5% จากเดิม 2.5% เพราะกระทบโดยตรงกับการบริโภคภายในประเทศ กระทบการท่องเที่ยว และภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้จำกัด ทำให้เม็ดเงินจะเข้าสู่ระบบได้น้อย

    คาดว่าการฟื้นตัวอาจจะต้องใช้เวลา 3 เดือน เข้าสู่ช่วงไตรมาส 3 กว่าที่จะเห็นการฟื้นตัวได้ มีเพียงปัจจัยภาคส่งออกที่ยังเติบโตได้ดี ช่วยชดเชยจีดีพีได้ แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะพยุงจีดีพีให้เติบโตได้เท่าที่เคยคาดการณ์ไว้

     

    “กสิกรไทย” : กังวลการคุมการระบาด-วัคซีน

    ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่มองค่อนข้างเป็นลบกับสถานการณ์ระบาดรอบสาม โดยปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยเหลือ 1.8% จากเดิม 2.6%

    กสิกรไทยมองว่า ผลของมาตรการของรัฐ แม้จะไม่ได้เข้มงวดมาก แต่จะมีผลต่อความกังวลและทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงอาจมีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดิมคาดว่าจะเข้ามา 2 ล้านคน อาจจะต่ำกว่าที่คาดไว้

    ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

    อีกประเด็นหนึ่งที่กสิกรไทยชี้ให้เห็นคือ “วัคซีน” เป็นตัวแปรสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย เพราะหากการฉีดวัคซีนล่าช้า อาจทำให้การระบาดรอบสามยืดเยื้อ หรือเกิดการระบาดรอบใหม่ได้อีกในไตรมาส 3/64 ซึ่งจะมีผลซ้ำอีกกับการบริโภคภายในประเทศและการท่องเที่ยว

    รวมถึงหากจำนวนผู้ติดเชื้อสูงต่อเนื่อง อาจมีผลทำให้ระบบสาธารณสุขล่ม ซึ่งส่งผลกับเศรษฐกิจอย่างประเมินค่ามิได้

     

    “กรุงศรี” : จีดีพีลดลงเล็กน้อย 0.3%

    ฟากสถาบันที่ยังมองไม่รุนแรงมากคือ ศูนย์วิจัยกรุงศรี มองว่าจีดีพีไทยปีนี้จะลดลงเหลือ 2.2% จากเดิม 2.5% ถือว่าลดลงไม่แรงเทียบกับสถาบันอื่นๆ ที่ปรับคาดการณ์

    จุดที่กรุงศรีมองว่าจะปรับลดลงคือ “การลงทุนภาครัฐ” และ “นักท่องเที่ยว” คาดว่าจะลดจากเดิม 4 ล้านคน เหลือ 3 ล้านคน แต่เนื่องจากการนำเข้า-ส่งออกเติบโตดี และการบริโภคภาคเอกชนน่าจะดีขึ้น ทำให้การปรับลดไม่สูงมาก

    อย่างไรก็ตาม การประเมินข้างต้นตั้งอยู่บนสมมติฐานว่ารัฐจะใช้มาตรการล็อกดาวน์แบบอ่อนๆ ไม่เกิน 2 เดือน คือสถานการณ์เริ่มดีขึ้นในเดือนกรกฎาคม ไทยกลับมามีผู้ติดเชื้อไม่เกิน 100 รายต่อวัน และทำให้นักท่องเที่ยวเข้าประเทศได้ หากการล็อกดาวน์บางส่วนยิงยาวไปถึง 3 เดือน จะทำให้จีดีพีประเทศลดลง 0.75%

     

    “เอเซีย พลัส” : มองบวก กระทบจีดีพีเพียงเล็กน้อย

    สำหรับ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ประเมินว่าจีดีพีไทยน่าจะลดลงจากเดิมที่คาดว่าโต 2.6% เหลือกรณีที่ดีที่สุดเติบโตได้ 2.46%

    ที่มา: เอเซีย พลัส

    เหตุที่มองว่าจะลดลงไม่มาก เพราะมาตรการรัฐคุมระบาดรอบสามไม่รุนแรงเท่ากับเมื่อปีก่อน โดยไม่ได้มีการเคอร์ฟิวห้ามออกนอกเคหสถาน และร้านอาหารกับศูนย์การค้าไม่ถูกปิดชั่วคราวแต่ใช้วิธีควบคุมเวลาเปิดปิดแทน จึงมองว่าจะไม่กระทบการใช้จ่ายมากนัก

    นอกจากนี้ การส่งออกนำเข้าก็ยังเติบโตได้ดี และไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาด อย่างไรก็ตาม หากการระบาดยืดเยื้อยาวนาน กรณีที่แย่ที่สุด เชื่อว่าจีดีพีไทยจะโตเพียง 2.04%

    ]]>
    1328555
    เยอรมนี จ่อออกกฎบังคับให้ ‘บริษัทเอกชน’ ต้องจ่ายค่าตรวจโควิด-19 ให้พนักงานทุกสัปดาห์ https://positioningmag.com/1327860 Thu, 15 Apr 2021 11:53:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327860 รัฐบาลเยอรมนี กำลังร่างแก้ไขกฎระเบียบด้านสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับแรงงาน เตรียมออกข้อบังคับให้บริษัทเอกชนต้องออกค่าใช้จ่ายเเละจัดหาชุดตรวจ COVID-19 ให้กับพนักงานทุกคน อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งสำหรับพนักงานที่ทำงานเสี่ยงสูงอย่างการติดต่อลูกค้าหรือทำงานในห้องปิด

    ร่างแก้ไขดังกล่าว ถูกเสนอเข้าวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีไปเเล้ว คาดว่าจะลงมติเห็นชอบไม่เกินช่วง 2 สัปดาห์นี้ พร้อมกับการอนุมัติมาตรการต่างๆ เพื่อสกัดการระบาดระลอกที่ 3’ ที่กำลังลุกลามในประเทศ

    Olaf Scholz รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า เป็นความจำเป็นที่บริษัททุกเเห่งต้องเข้าร่วม

    โดยหวังจะให้มีการตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาในกลุ่มพนักงานที่ทำงานในออฟฟิศ ทำงานที่บ้านเเละทำงานในโรงงานได้อย่างต่อเนื่อง จากที่ตอนนี้มีพนักงานน้อยกว่า 90% ได้รับการตรวจเชื้ออย่างต่อเนื่องตามเเผน
    ของรัฐ

    ปัจจุบันมีพนักงานภาคเอกชนในเยอรมนีราว 60% ได้รับการตรวจ COVID-19 ฟรีจากนายจ้างเเล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงเป็นที่มาของการออกกฎระเบียบดังกล่าว ให้เป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการเเรงงาน

    ทั้งนี้ รัฐบาลเยอรมนีมีเเนวโน้มขยายมาตรการอื่นๆ ต่อไปอีกไปจนถึงวันที่ 30 มิ.. 2021 รวมถึงกำหนดให้นายจ้างให้ทางเลือกกับพนักงานในการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) เพื่อควบคุมสถานการณ์โรคระบาด

    อย่างไรก็ตาม หลังร่างแก้ไขกฎระเบียบดังกล่าวเผยเเพร่ออกไป ภาคธุรกิจหลายแห่งของเยอรมนี มีท่าที
    ‘ต่อต้าน’ เพราะมองว่าตอนนี้บริษัทก็ให้ความช่วยเหลือพนักงานในการตรวจหาเชื้อ COVID-19 อยู่เเล้ว ทั้งโดยสมัครใจและภาคบังคับ จึงเหมือนเป็นการโยนภาระหน้าที่ของรัฐ ให้กับผู้ประกอบการโดยไม่คำนึงถึงเรื่องภาระค่าใช้จ่าย เเละมองว่า ข้อผูกพันตามกฎหมายที่จะออกมาบังคับบริษัทเอกชนให้ตรวจสอบเชื้อ COVID-19 กับพนักงานนั้นไม่จำเป็นอีกด้วย

     

     

    ที่มา : Reuters , The Local , theedgemarkets

    ]]>
    1327860