ไทยเเอร์เอเชีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 27 Apr 2021 12:40:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 AAV ดึงทุนใหม่ 3,150 ล้าน เเลกปรับโครงสร้างกิจการ นำ ‘ไทยเเอร์เอเชีย’ ขายหุ้น IPO ระดมทุน https://positioningmag.com/1329569 Tue, 27 Apr 2021 10:36:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329569 AAV เเก้เกมพิษโควิดสะเทือนการบิน หลังโดนรัฐ-เเบงก์เมินให้เงินกู้ เตรียมดึงทุนใหม่ให้สินเชื่อ 3,150 ล้านบาท เเลกกับการปรับโครงสร้างกิจการ จ่อนำไทยเเอร์เอเชียเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ขาย IPO ระดมทุน 135.20 ล้านหุ้น 

บริษัท เอเชีย เอวิชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV รายงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 26 เม.. 2564 มีมติอนุมัติแผนการปรับโครงสร้างกิจการและทุนของบริษัท และบริษัทย่อย (บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด)

โดยที่ผ่านมา บริษัทมีการปรับแผนธุรกิจหลายอย่าง ทั้งการลดเวลาการทำงานของพนักงาน ปรับโครงสร้างจำนวนพนักงานให้เหมาะสม รวมถึงการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย 

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าว ยังไม่สามารถทำให้บริษัทหลุดพ้นจากผลกระทบของโควิด-19 เนื่องจากรายได้จากค่าโดยสารนั้น ลดลงอย่างมากตั้งแต่ต้นปี 2563 เเละสถานการณ์ตอนนี้ก็ยังไม่คลี่คลาย มีการระบาดหนักกว่าครั้งที่ผ่านมา

ประกอบกับ บริษัทยังไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากสถาบันการเงิน เเละยังไม่ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) จากภาครัฐแต่อย่างใด 

Photo : Shutterstock

ช่วงต้นปีที่ผ่านมา AAV ได้ติดต่อนักลงทุน เพื่อขอรับการสนับสนุนทางการเงิน เพิ่มสภาพคล่องให้แก่บริษัททั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป เเต่การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการสนับสนุนทางการเงินนั้น บริษัทต้องดำเนินการปรับโครงสร้างกิจการ เพื่อทำให้กิจการมีความน่าสนใจต่อการลงทุนของนักลงทุน สรุปขั้นตอนได้ดังนี้

ออกหุ้นกู้แปลงสภาพ ดึงทุนใหม่

การให้สินเชื่อโดยนักลงทุนใหม่ (ซึ่งไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ และไทยแอร์เอเชีย) จะให้สินเชื่อแก่ ไทยแอร์เอเชีย สูงสุดไม่เกิน 3,150 ล้านบาท โดยไม่คิดดอกเบี้ย ทั้งนี้การให้สินเชื่อจะอยู่ในรูปของสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ โดยไม่มีส่วนลด (Zero Coupon issued at 100% Nominal Value) แล้วแต่กรณี

โดยนักลงทุนสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพสัญญาเงินกู้ หรือหุ้นกู้ เป็นหุ้นสามัญของไทยแอร์เอเชียได้ภายในระยะเวลา และตามราคาที่ตกลงกัน ซึ่งในเบื้องต้นสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี

คาดว่าจะมีระยะเวลาประมาณ 3 ปี นับจากวันได้รับเงินกู้ ระยะเวลาแปลงสภาพ คาดว่าจะเป็นภายหลังจากที่ไทยแอร์เอเชียได้รับอนุมัติให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) และราคาแปลงสภาพคาดว่าจะมีมูลค่าเงินต้นประมาณ 3,150 ล้านบาท สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของไทยแอร์เอเชียได้ที่ราคา 20.3925 บาทต่อหุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.5 บาท)

“เมื่อเงื่อนไขการแปลงสภาพเกิดขึ้นสถานะของนักลงทุนใหม่ จะเปลี่ยนจากเจ้าหนี้เป็นผู้ถือหุ้นของไทยแอร์เอเชีย” 

อย่างไรก็ดี หากเงื่อนไขการแปลงสภาพไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าด้วยเหตุอันใดนักลงทุนใหม่ก็จะถือสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพต่อไปในฐานะเจ้าหนี้ และรับคืนเงินไถ่ถอนสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ ซึ่งประกอบด้วยเงินต้นบวกดอกเบี้ยสะสมประมาณ 3% ต่อปี นับแต่วันได้รับเงินต้น ณ วันครบกำหนดสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี

โดยนักลงทุนใหม่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบกิจการของไทยแอร์เอเชีย (Due Diligence) คาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินกลางเดือนพฤษภาคม 2564 

(Photo by Ezra Acayan/Getty Images)

นำ ‘ไทยแอร์เอเชีย’ เข้าตลาดหุ้นแทน AAV 

จากการหารือกับนักลงทุนในหลายๆ โอกาส บริษัทเห็นว่า นักลงทุนประสงค์จะลงทุนในไทยแอร์เอเชียมากกว่าการลงทุนผ่านการถือหุ้นใน AAV เนื่องจากไทยแอร์เอเชียเป็นบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจ (Operating Company) และได้รับใบอนุญาตต่างๆ ในการให้บริการสายการบินโดยตรง

เเละเพื่อให้ผู้ถือหุ้นของ AAV สามารถเป็นผู้ถือหุ้นของไทยแอร์เอเชียได้โดยตรง บริษัทเห็นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทสมควรมีมติให้เลิกกิจการและชำระบัญชีของบริษัท เพื่อที่บริษัทจะได้สามารถนำทรัพย์สินของบริษัท กล่าวคือ หุ้นไทยแอร์เอเชีย ซึ่งบริษัทถืออยู่ในปัจจุบันจำนวนทั้งสิ้น 23,955,553 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้ ณ ปัจจุบันเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น) หรือ คิดเป็นร้อยละ 55 ของทุนชำระแล้วในปัจจุบันของไทยแอร์เอเชีย มาจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น

เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติแผนการปรับโครงสร้างกิจการในครั้งนี้ ไทยแอร์เอเชียจะรีบดำเนินการหารือกับสำนักงาน ก.ล.ต., ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างกิจการ และจัดเตรียมเอกสารการขออนุญาต แบบแสดงรายการข้อมูล หลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวน เพื่อยื่นขออนุญาตเสนอขายหุ้นไทยแอร์เอเชียต่อประชาชนเป็นครั้งแรกต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ต่อไป คาดใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 6 เดือน 

สำหรับการแปลงหนี้สินของไทยแอร์เอเชียบางส่วนเพื่อลดภาระหนี้สินของไทยแอร์เอเชีย หากแผนการนำไทยแอร์เอเชียเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สำเร็จ

เจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยแอร์เอเชีย กล่าวคือ บริษัท แอร์เอเชีย อินเวสเมนท์ ลิมิเต็ด ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นอยู่ในไทยแอร์เอเชียจำนวนประมาณ 19,600,000 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้ ณ ปัจจุบันเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น) หรือเท่ากับจำนวน 392,000,000 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้ที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเท่ากับ 0.5 บาทต่อหุ้น) หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของทุนชำระแล้วในปัจจุบันของไทยแอร์เอเชีย จะต้องแปลงหนี้สินทั้งหมดซึ่งเป็นหนี้เงินกู้ที่จะใช้ชำระหนี้ จำนวนไม่เกิน 3,900 ล้านบาท เป็นทุน และสามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของไทยแอร์เอเชียได้ที่ราคา 20.3925 บาทต่อหุ้น

โดยการจัดสรรหุ้นใหม่ทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย และการคืนทรัพย์สินของบริษัทฯ (หุ้นในไทยแอร์เอเชียให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท) ในช่วงเวลา IPO หรือใกล้เคียงกับช่วงเวลา IPO คาดว่าจะเป็นดังนี้

  • หุ้นซึ่งบริษัทถืออยู่ในไทยแอร์เอเชียมาแจกจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น (ซึ่งเป็นขั้นตอนของการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการของบริษัทฯ จำนวน 479,111,060 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็น 55% ของทุนชำระแล้วในปัจจุบันของไทยแอร์เอเชีย ในอัตราการ คืน หุ้นเท่ากับ 1 หุ้นของบริษัท ต่อ 0.098785 หุ้นของไทยแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นขั้นตอนของการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการของบริษัท
  • การออกหุ้นใหม่ของไทยแอร์เอเชียให้แก่นักลงทุนใหม่ตามสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี ตามเงื่อนไขการแปลงสภาพ เมื่อเงื่อนไขการแปลงสภาพเกิดขึ้น บริษัทฯ จะจัดสรรหุ้นจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 154,468,555 หุ้น คิดเป็น 11.4% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน) ให้แก่นักลงทุนใหม่ (หุ้นที่ออกใหม่ทั้งหมดจำนวน 480,918,287หุ้น)
  • การแปลงหนี้สินของเจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยแอร์เอเชียเป็นทุน ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของ 1.การจัดสรรหุ้นให้แก่เจ้าหนี้รายใหญ่ตามสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี ตามเงื่อนไขการแปลงสภาพ

โดยการออกหุ้นใหม่เพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายใหญ่ตามโครงการแปลงหนี้เป็นทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 191,246,782 หุ้น (คิดเป็น 14.1% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน) ที่ราคาแปลงหนี้สิน 20.3925 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาเดียวกันกับราคาของการทำาธุรกรรมอื่นในแผนการปรับโครงสร้างกิจกาจในครั้งนี้

ทั้งนี้ รูปแบบการแปลงหนี้สินของเจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยแอร์เอเชียเป็นทุนยังอยู่ในระหว่างการเจรจากับเจ้าหนี้รายใหญ่ และอาจต้องหารือกับสำนักงาน ก.ล.ต. เพิ่มเติม รวมทั้งอาจต้องขอผ่อนผันหลักเกณฑ์การอนุญาตที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ไทยแอร์เอเชียสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

ระดมทุน IPO ไม่เกิน 135.20 ล้านหุ้น

ด้านเสนอขายและจัดสรรหุ้นที่ออกใหม่ของไทยแอร์เอเชียต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 135,202,950 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท (คิดเป็น 10.0% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน) ที่ราคาหุ้นออกใหม่ 20.3925 บาทต่อหุ้น

ภายใต้กรอบและหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.หุ้นจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 68,354,472 หุ้น (คิดเป็น 5.1% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน) ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ (Pre-Emption Offering) ตามสัดส่วนการถือหุ้น และเป็นผู้ถือหุ้นที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) ตามที่คณะกรรมการของบริษัทฯ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทฯ จะเป็นผู้กำหนดต่อไป

2.หุ้นจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 25,166,487หุ้น (คิดเป็น 1.9% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน) ให้แก่บริษัท แอร์เอเชีย อินเวสเมนท์ ลิมิเต็ด

3.หุ้นจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 41,681,991หุ้น และหุ้นในส่วนที่เหลือจากการจัดสรร (หากมี) จะเสนอขายและจัดสรรให้แก่บุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์

โดยรายละเอียดทั้งหมด อ่านได้ที่ https://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=16194806111421&sequence=0

 

]]>
1329569
‘ไทยแอร์เอเชีย’ ให้พนักงานลาหยุดไม่รับเงินเดือน ต่อ 4 เดือน เร่งหาเงินกู้ใหม่พยุงธุรกิจ https://positioningmag.com/1314940 Tue, 19 Jan 2021 07:09:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314940 พิษโควิดกระทบหนัก สายการบิน “ไทยแอร์เอเชีย” ให้พนักงานหยุด ‘โดยไม่รับเงินเดือน’ ต่ออีก 4 เดือน เหลือคนทำงานไว้ 25% พยุงองค์กร เดินหน้าหาแหล่งเงินกู้ใหม่อุ้มธุรกิจ ไม่รอซอฟต์โลนจากรัฐบาลแล้ว

บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชนแจ้งที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชนหรือ AAV ผู้ให้บริการสายการบินไทยแอร์เอเชีย แจ้งว่า บอร์ดบริษัทมีมติให้ใช้มาตรการปรับลดค่าใช้จ่ายองค์กรอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบทำให้ความต้องการเดินทางลดลง โดยให้บริษัทฯ ขอความร่วมมือให้พนักงานเข้าร่วมโครงการหยุดงานโดยไม่รับค่าจ้าง (Leave Without pay) เป็นระยะเวลา 4 เดือน คือตั้งแต่ ก.. – .. 2564

การดำเนินการดังกล่าว จะมีการแบ่งพนักงานเป็น 2 ส่วน คือ กลุ่มที่เข้าโครงการต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเดิมจะสิ้นสุดเดือนมีนาคมนี้ และให้ต่อไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 และกลุ่มพนักงานที่ยังทำงานอยู่ในปัจจุบัน โดยให้หัวหน้างานคัดเลือกพนักงานให้หยุดงาน โดยไม่รับค่าจ้างเป็นระยะเวลา 4 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไปเช่นกัน

หากบริษัทสามารถดำเนินการตามแผนดังกล่าวได้ จะทำให้สายการบินมีจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานเหลือเพียง 25% ของทั้งบริษัท ซึ่งมาตรการขอความร่วมมือให้มีการหยุดงานโดยไม่รับค่าจ้างนั้น เป็นมาตรการที่สายการบินต้องการที่จะรักษาพนักงานและองค์กรไว้ให้สามารถเดินต่อไปได้ในช่วงวิกฤต โดยไม่ต้องมีการปลดพนักงาน

ก่อนหน้านี้ ธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น กล่าวกับรายการ กรุงเทพธุรกิจ BIZ Insight ว่า ขณะนี้ทั้ง 7 สายการบินที่ทำธุรกิจในไทย ได้หารือที่จะหา ‘แหล่งเงินกู้ใหม่’ เพื่อช่วยสภาพคล่องของธุรกิจหลังได้รับจากผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาด

โดยจะไม่รอซอฟต์โลนจากรัฐบาลแล้ว เพราะแม้ว่าจะหารือกับระดับกระทรวงหลายรอบ และหารือกับนายกรัฐมนตรีอยู่หลายครั้ง แต่จนถึงขณะนี้สายการบินก็ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล

ดังนั้นสายการบินคงต้องช่วยตัวเอง หวังพึ่งรัฐไม่ได้ ซึ่งในส่วนของสายการบินแอร์เอเชียได้มีการหารือกับแหล่งเงินกู้ทั้งสถาบันในประเทศและต่างประเทศ โดยจะมีข่าวดีในเร็วๆ นี้ ถึงแหล่งเงินประมาณ 3-4 พันล้านบาท ที่จะเข้ามาเป็นกระแสเงินสดให้กับแอร์เอเชียไปจนถึงสิ้นปี 2564 นี้ พร้อมยืนยันว่า สายการบินไทยแอร์เอเชีย และจะอยู่คู่กับประเทศไทยไปอีกนาน

 

Source
Source

]]>
1314940
“ศูนย์การค้า” ปี 2564 ทำเลกลางเมืองแนวโน้มปรับลดค่าเช่า 3-4% นอกเมืองตรึงราคายาว https://positioningmag.com/1314691 Mon, 18 Jan 2021 05:40:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314691 “สถานการณ์แบบนี้ไม่มีใครกล้าขึ้นราคา มีแต่ต้องรักษาผู้เช่าให้อยู่กับตัวเอง” คือมุมมองจาก “เน็กซัส” ต่อพื้นที่รีเทลกรุงเทพฯ ปี 2564 ซึ่งยังได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ต่อเนื่อง โดย “ศูนย์การค้า” กลางเมืองจะได้รับผลกระทบหนักกว่าเพราะยังคงขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ คาดอาจปรับลดค่าเช่าลง 3-4%

ธีระวิทย์ ลิ้มทองสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด เปิดข้อมูลพื้นที่รีเทลกรุงเทพฯ ปี 2563 โดยประมวลผลเฉพาะพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ (ซีบีดี) ได้แก่ สยาม แยกราชประสงค์-เพลินจิต และพร้อมพงษ์ พบว่าซัพพลายย่านซีบีดีไม่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการเช่าอยู่ที่ 94% ลดลงเล็กน้อย และราคาค่าเช่าเฉลี่ยที่ 3,915 บาทต่อตร.ม. ไม่ปรับเพิ่มและไม่ลดลง

สำหรับปี 2564 ธีระวิทย์กล่าวว่า ศูนย์การค้าใจกลางเมืองอาจจะมีการปรับลดค่าเช่าเล็กน้อย 3-4% ขึ้นอยู่กับการต่อรอง และอัตราการเช่ามีแนวโน้มจะลดลงอีก

อัตราการเช่าของศูนย์การค้าย่านซีบีดีที่ลดลง มีผลสำคัญจากห้างสรรพสินค้าใหญ่ของญี่ปุ่นที่ทยอยออกจากประเทศไทย ตั้งแต่ปีก่อนที่ “อิเซตัน” ไม่ต่อสัญญาเช่ากับเซ็นทรัลเวิลด์ และปีนี้ห้างฯ “โตคิว” ก็กำลังจะหมดสัญญากับมาบุญครองสิ้นเดือนมกราคม 2564

ทั้งนี้ ธีระวิทย์กล่าวว่าการหมดสัญญาเช่าของทั้งอิเซตันและโตคิว เป็นแผนงานที่เจ้าของศูนย์การค้ารับทราบมานานแล้ว และมีการเตรียมปรับเปลี่ยนพื้นที่หลังจากผู้เช่าย้ายออก เพียงแต่สถานการณ์ไม่คาดฝันจาก COVID-19 อาจจะทำให้การหาผู้เช่าใหม่ตามแผนงานได้รับผลกระทบ

ดังที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ยังไม่คลี่คลาย ทำให้ศูนย์ฯ บริเวณซีบีดีได้รับปัจจัยลบสองต่อ หนึ่งคือ ลูกค้าคนไทยเข้าศูนย์การค้าลดลงเมื่อเกิดกระแสการระบาดสูงขึ้นหรือมีการล็อกดาวน์ห้างฯ สองคือ ลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เคยเข้าประเทศปีละเกือบ 40 ล้านคน ปีก่อนแทบจะเป็นศูนย์ และปีนี้ที่เคยหวังไว้ว่าจะกลับมาเปิดประเทศรับชาวต่างชาติได้บ้างช่วงไตรมาส 3 หรือ 4 แต่ขณะนี้มีความไม่แน่นอนว่าจะเปิดประเทศได้หรือไม่

Photo : Shutterstock

สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ศูนย์การค้ากลางเมืองได้รับผลกระทบหนัก ยอดขายร้านค้าบางร้านในศูนย์ฯ ลดลงมากกว่า 50% ตั้งแต่ปีก่อน นำมาสู่การเจรจาต่อรองเพื่อลดค่าเช่า

ธีระวิทย์กล่าวว่า ศูนย์การค้ากลางเมืองมีแผนปรับตัว ที่เริ่มเดินหน้าไปแล้วตั้งแต่ปีก่อนคือการมุ่งเน้นลูกค้าคนไทยทดแทน และหันไปโหมการค้าออนไลน์สูงขึ้น ปรับตนเองให้เป็นสถานที่การพบปะสังสรรค์มากกว่าช้อปปิ้ง ร้านขายสินค้ามีลักษณะเป็น ‘โชว์รูม’ ให้ลูกค้ามาชมของจริงก่อนตัดสินใจซื้อออนไลน์

ส่วนศูนย์การค้านอกพื้นที่ซีบีดีนั้นอาจจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าเพราะพึ่งพิงนักท่องเที่ยวไม่มากนัก แต่ก็ยังได้รับผลกระทบเมื่อเกิดกระแสการระบาดสูงขึ้น ดังนั้น ปีนี้น่าจะยังตรึงราคา ไม่ขึ้นค่าเช่า

“สถานการณ์แบบนี้ไม่มีใครกล้าขึ้นราคา มีแต่ต้องรักษาผู้เช่าให้อยู่กับตัวเอง” ธีระวิทย์กล่าว พร้อมเสริมว่า อสังหาริมทรัพย์ประเภทพาณิชยกรรม กลุ่มพื้นที่รีเทลถือเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูงสุดท่ามกลาง COVID-19 เมื่อเทียบกับกลุ่มสำนักงานให้เช่าหรือนิคมอุตสาหกรรม

]]>
1314691