Aviation – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 08 Jul 2024 10:45:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Boeing สารภาพข้อหาสมรู้ร่วมคิดฉ้อโกงรัฐบาลสหรัฐฯ ในคดีเครื่องบิน 737 MAX ตกในอินโดนีเซียและเอธิโอเปีย https://positioningmag.com/1481765 Mon, 08 Jul 2024 05:12:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1481765 ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่อย่าง โบอิ้ง (Boeing) ได้สารภาพข้อหาสมรู้ร่วมคิดฉ้อโกงรัฐบาลสหรัฐฯ ในคดีเครื่องบิน 737 MAX ตกในอินโดนีเซียและเอธิโอเปียในปี 2018 และ 2019 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และยังสร้างผลกระทบต่อความเชื่อถือของบริษัท

Boeing ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้รับสารภาพข้อหาสมรู้ร่วมคิดฉ้อโกงรัฐบาลสหรัฐฯ ในคดีเครื่องบิน 737 MAX 8 ตกในอินโดนีเซียและเอธิโอเปีย ในปี 2018 และ 2019 ตามลำดับ ซึ่งกรณีดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันมากถึง 346 ราย

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นต่อเนื่องมาจากคดีในปี 2021 ที่ Boeing ถูกดำเนินคดีอาญาจากกระทรวงยุติธรรม เนื่องจากพบว่าบริษัทละเมิดข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุร้ายแรง

อัยการสหรัฐฯ ชี้ว่านักบินของ Boeing สองคนปกปิดข้อมูลสำคัญจากหน่วยงานกำกับด้านการบินของสหรัฐฯ เกี่ยวกับระบบควบคุมอัตโนมัติใหม่ หรือ MCAS ในเครื่องบินรุ่น 737 MAX ซึ่งตัวระบบดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุขัดข้องของเครื่องบินที่ตกในอินโดนีเซียและเอธิโอเปีย

เจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมยังกล่าวว่า ผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้ยังจะต้องจ่ายค่าปรับทางอาญาจำนวน 243.6 ล้านดอลลาร์ และบริษัทตกลงที่จะลงทุนอย่างน้อย 455 ล้านดอลลาร์ในช่วง 3 ปีข้างหน้า เพื่อที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงการด้านความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

กรณีเครื่องบิน 737 MAX 8 ตกในอินโดนีเซียและเอธิโอเปียห่างกันในระยะเวลา 5 เดือน สร้างผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของบริษัทไม่น้อย เนื่องจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินทั่วโลกได้สั่งให้เครื่องบินรุ่นดังกล่าวต้องจอดไว้ชั่วคราว เพื่อที่จะตรวจสอบและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ได้มีการซื้อกิจการของ Spirit AeroSystems เพื่อแก้ปัญหาผลิตเครื่องบินไม่ทัน เนื่องจากปัญหาของคุณภาพชิ้นส่วนในการผลิต หรือแม้แต่เรื่องความปลอดภัย

ขณะเดียวกันหน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินเองก็ห้าม Boeing เพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่น 737 MAX จนกว่าจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย

การสารภาพข้อหาสมรู้ร่วมคิดฉ้อโกงรัฐบาลสหรัฐฯ ของ Boeing นั้นยิ่งทำให้เพิ่มความยากลำบากในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้กลับมา แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาบริษัทพยายามในเรื่องดังกล่าวแล้วก็ตาม

ที่มา – Reuters, CNBC, BBC

]]>
1481765
Qatar Airways ผลประกอบการปีล่าสุด กำไรพุ่ง 39% จากจำนวนผู้โดยสารที่ยังเติบโตต่อเนื่อง ขยายเส้นทางบิน https://positioningmag.com/1480844 Wed, 03 Jul 2024 05:02:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1480844 สายการบินรายใหญ่อย่าง ‘กาตาร์ แอร์เวย์ส’ รายงานผลประกอบการปีล่าสุด 2023/24 นั้นกวาดกำไรไปมากถึง 61,560 ล้านบาท เติบโต 39% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จากปัจจัยสำคัญคือจำนวนผู้โดยสารที่ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

Qatar Airways สายการบินยักษ์ใหญ่จากตะวันออกกลางอีกราย ได้รายงานผลประกอบการประจำปี 2023/24 โดยสายการบินรายนี้ทำกำไรได้มากถึง 6,100 ล้านริยาลกาตาร์ หรือคิดเป็นเงินไทยมากถึง 61,560 ล้านบาท เติบโตมากถึง 39% เมื่อเทียบกับปี 2022

สายการบินได้รายงานถึงผลประกอบการประจำปี 2023/24 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รายได้รวมของสายการบินเติบโตมากถึง 6% อยู่ที่ 81,000 ล้านริยาลกาตาร์ และขนส่งผู้โดยสารไปแล้วมากกว่า 40 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 26%

ตัวเลขอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร หรือ Load Factor ของ Qatar Airways นั้นสูงมากถึง 83% หลังจากสายการบินได้พยายามกลับมาเพิ่มเส้นทางการบินมากขึ้น ซึ่งเส้นทางการบินทั้งหมดมีมากถึง 170 เส้นทาง ขณะเดียวกันก็ยังรวมถึงความต้องการในการเดินทางที่ยังสูงทั่วโลกยังส่งผลดีต่อสายการบินด้วย

ขณะที่ธุรกิจคาร์โก้ของ Qatar Airways ในรายงานผลประกอบการประจำปีชี้ว่าสายการบินมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทำให้ล่าสุดนั้นสายการบินมีส่วนแบ่งการตลาดที่ 7.4%

Badr Mohammed Al-Meer ได้กล่าวถึงผลประกอบการของ Qatar Airways ว่า รายได้และกำไรที่ทำสถิติของสายการบินนั้นมาจาก การมุ่งเน้นในเรื่องความสามารถในการทำกำไร ประสิทธิภาพ รวมถึงประสบการณ์ของลูกค้า ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายเส้นทางการบิน หรือแม้แต่การขยายฝูงบิน

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ Qatar Airways คือสายการบินกำลังสนใจที่จะซื้อหุ้นสัดส่วน 20% ของ​ Virgin Australia หลังจากที่สายการบินพยายามที่จะเจาะตลาดในแถบดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าจะมีสิทธิ์โดนรัฐบาลออสเตรเลียขวางไม่ให้ซื้อหุ้นก็ตาม

]]>
1480844
Boeing ซื้อกิจการซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนเครื่องบิน Spirit AeroSystems เพื่อแก้ปัญหาผลิตเครื่องบินไม่ทัน https://positioningmag.com/1480550 Mon, 01 Jul 2024 15:29:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1480550 ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง ‘โบอิ้ง’ ล่าสุดได้ควักเงินมากถึง 4,700 ล้านเหรียญสหรัฐ ซื้อกิจการซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนเครื่องบิน Spirit AeroSystems เพื่อแก้ไขปัญหาที่บริษัทผลิตเครื่องบินไม่ทัน รวมถึงความปลอดภัยในชิ้นส่วนเครื่องบิน ซึ่งส่งผลกับความน่าเชื่อถือของบริษัทในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

Boeing ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ประกาศเข้าซื้อกิจการของ Spirit AeroSystems ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนเครื่องบิน โดยดีลดังกล่าวนั้นมีมูลค่า 4,700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 172,480 ล้านบาท

Pat Shanahan ซึ่งเป็น CEO ของ Spirit AeroSystems ได้กล่าวว่า ดีลการซื้อกิจการดังกล่าวทำให้ทั้ง 2 บริษัทสามารถร่วมกันทำงานในด้านวิศวกรรมและด้านการผลิตได้อย่างเต็มที่ รวมถึงในเรื่องของคุณภาพและความปลอดภัยของชื้นส่วนเครื่องบิน

สำหรับ Spirit AeroSystems เคยเป็นส่วนหนึ่งของ Boeing ก่อนที่จะมีการแยกกิจการออกไปในปี 2005 โดยซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนเครื่องบินรายนี้มีลูกค้าที่คิดเป็นสัดส่วนรายได้มากกว่า 70% ของบริษัทนั่นก็คือ Boeing รองลงมาคือ Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินจากยุโรปที่ 25%

ขณะที่ธุรกิจของ Spirit AeroSystems ในทวีปยุโรปนั้นทาง Airbus จะซื้อกิจการดังกล่าว เพื่อที่จะทำให้บริษัทสามารถผลิตเครื่องบินรุ่น A220 และ A350 ได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมาผู้ผลิตเครื่องบินจากสหรัฐรายนี้ประสบปัญหาในการประกอบเครื่องบิน โดยในปี 2023 บริษัทได้กล่าวว่าปัญหาใหญ่มาจากเรื่องของ Supply Chain ส่งผลทำให้การผลิตและส่งมอบเครื่องบินเป็นไปอย่างล้าช้ากว่าที่คาดไว้

ขณะเดียวกัน Boeing ยังประสบปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือของเครื่องบิน ในเรื่องความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เครื่องบินรุ่น 737 MAX 8 ตก 2 ครั้ง จนทำให้หน่วยงานด้านการบินทั่วโลกสั่งหยุดบินเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะไฟเขียวให้เครื่องบินรุ่นนี้กลับมาบินได้อีกครั้ง

หรือแม้แต่กรณีชิ้นส่วนหลุดออกจากเครื่องบินรุ่น 737 MAX 9 ของสายการบิน Alaska จนทำให้หน่วยงานกำกับดูแลการบินของสหรัฐอเมริกาต้องออกมาสั่งให้ Boeing ห้ามเพิ่มกำลังการผลิตเครื่องบินรุ่นดังกล่าว จนกว่าจะทำให้หน่วยงานกำกับดูแลพึงพอใจในเรื่องของความปลอดภัย

การตัดสินใจดังกล่าวดำเนินการขึ้นในขณะที่ Boeing พยายามที่จะแก้ไขวิกฤตองค์กรและภาพพจน์ของอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งท้ายที่สุดบริษัทได้เลือกการซื้อกิจการของ Spirit AeroSystems กลับมา

ที่มา – The Guardian, CNN, CBS News

]]>
1480550
Airbus อาจผลิตเครื่องบินไม่ได้ตามเป้า สาเหตุสำคัญมาจากชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินยังขาดแคลนจากปัญหา Supply Chain https://positioningmag.com/1476158 Sun, 02 Jun 2024 08:20:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1476158 แหล่งข่าวของสำนักข่าว Reuters รายงานว่าแอร์บัส (Airbus) ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากทวีปยุโรปนั้นอาจผลิตเครื่องบินได้ล่าช้ากว่าเดิม ปัญหาสำคัญนั้นมาจากชิ้นส่วนประกอบเครื่องบินยังขาดแคลน ซึ่งเป็นผลจาก Supply Chain และยังรวมถึงปัญหาแรงงานขาดแคลน

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากทวีปยุโรป อาจผลิตเครื่องบินไม่ได้ตามเป้า นั้นมาจากสาเหตุสำคัญคือชิ้นส่วนสำหรับประกอบเครื่องบินยังขาดแคลน ขณะเดียวกันปัญหาการขาดแคลนแรงงานก็ซ้ำเติมปัญหาดังกล่าวด้ว

แหล่งข่าวของสื่อรายดังกล่าวได้ชี้ว่า Airbus นั้นยังมีการดำเนินงานล่าช้ากว่าเป้าหมายราวๆ 1.5 เดือน ในการส่งมอบเครื่องบิน คาดว่าเครื่องบินจำนวนหนึ่งที่จะต้องส่งมอบในครึ่งปีแรกของปี 2024 นั้นกลับกลายเป็นว่าอาจต้องส่งมอบในครึ่งปีหลัง

ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่จากทวีปยุโรปได้แก้ปัญหาดังกล่าว โดยพูดคุยกับเหล่าซัพพลายเออร์ที่ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินที่มีจำนวนมาก ซึ่งชิ้นส่วนของเครื่องบินนั้นถ้าหากมีคำสั่งซื้อแล้วจะต้องใช้เวลารอชิ้นส่วนนานถึง 12-13 เดือนด้วยกัน และถ้าหากเป็นชิ้นส่วนที่ต้องการผลิตแบบพิเศษอาจต้องรอนานถึง 2 ปี

ปัญหาของชิ้นส่วนที่ผลิตไม่ทันนั้นมาจากทั้งผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด ขณะเดียวกันความต้องการชิ้นส่วนเครื่องบินเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการนำชิ้นส่วนมาเปลี่ยนให้กับเครื่องบินที่จอดไว้ในช่วงการแพร่ระบาด และยังรวมถึงชิ้นส่วนที่ต้องนำไปผลิตเครื่องบินลำใหม่

โฆษกของ Airbus กล่าวได้ปฏิเสธความคิดเห็นเพิ่มเติมกับ Reuters และยังย้ำเป้าหมายการส่งมอบเครื่องบินปี 2024 ที่ 800 ลำเช่นเดิม โดยตัวเลขการส่งมอบเครื่องบินล่าสุดจนถึงเดือนเมษายน Airbus ส่งมอบเครื่องบินไปแล้ว 204 ลำด้วยกัน

ก่อนหน้านี้สายการบินหลายแห่ง หรือแม้แต่บริษัทให้เช่าเครื่องบินได้กล่าวถึงปัญหา Supply Chain ส่งผลกระทบทั้งอุตสาหกรรมการบิน โดยคาดว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายลงไปได้อาจใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี

นอกจากชิ้นส่วนขาดแคลนแล้วนั้น Airbus เองยังประสบปัญหาแรงงานขาดแคลน ยิ่งซ้ำเติมปัญหาให้หนักมากขึ้นกว่าเดิม ผลดังกล่าวยังทำให้การส่งมอบเครื่องบินนั้นอาจล่าช้าต่อไปได้อีก กระทบต่อสายการบินที่เป็นลูกค้าทั่วโลกที่ยังต้องใช้เครื่องบินรุ่นเดิมต่อไปอีกระยะ

]]>
1476158
Scoot ประกาศยกเลิกบางเที่ยวบินเดือนพฤษภาคมในสิงคโปร์ จากปัญหาด้าน Supply Chain ที่ยังไม่กลับมาปกติ https://positioningmag.com/1473139 Sun, 12 May 2024 15:56:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1473139 Scoot สายการบินราคาประหยัดจากสิงคโปร์ ได้ประกาศยกเลิกเที่ยวบินบางเที่ยวในเดือนพฤษภาคม โดยสาเหตุสำคัญคือปัญหาการขาดแคลนอะไหล่ซ่อมเครื่องบิน นอกจากนี้ยังรวมถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการซ่อมแซมเครื่องบิน

สายการบิน Scoot ได้แจ้งกับสื่อมวลชนในสิงคโปร์ว่า เที่ยวบินหลายเที่ยวบินที่กำหนดในเดือนพฤษภาคมได้ถูกยกเลิกเนื่องจากเหตุผลด้านการปฏิบัติงานหลายประการ รวมถึงเครื่องบินไม่พร้อมให้บริการเนื่องจากการขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่เนื่องจากปัญหาด้าน Supply Chain

นอกจากนี้สายการบินยังให้รายละเอียดว่า การขาดแคลนซึ่งเป็นผลจาก Supply Chain กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินโดยรวม แต่ Scoot ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับชิ้นส่วนอะไหล่และประเภทเครื่องบินที่ได้รับผล กระทบ โดยกล่าวว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องอ่อนไหวทางการค้า

ขณะเดียวกันสายการบินเองก็ได้กล่าวขอโทษในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน และจะมีการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างรวดเร็ว

โดยสื่อในประเทศสิงคโปร์อย่าง The Strait Times รายงานว่าเที่ยวบินของ Scoot จากสนามบินชางงีในช่วงวันที่ 2-6 พฤษภาคมที่ผ่านมามีการยกเลิกเที่ยวบินไปถึง 33 เที่ยวบิน

ล่าสุดปัญหาดังกล่าวไม่ได้เกิดแค่กับสายการบินอย่าง Scoot เท่านั้น แต่สายการบินราคาประหยัดอย่าง Jetstar ที่มีเส้นทางบินจากสนามบินในสิงคโปร์ก็มีเที่ยวบินล่าช้า การเปลี่ยนเวลาทำการบิน หรือแม้แต่การยกเลิกเที่ยวบิน โดยสายการบินได้ให้เหตุผลในเรื่องดังกล่าวคล้ายคลึงกัน

ปัญหา Supply Chain ทำให้การผลิตเครื่องบินของบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง Airbus และ Boeing มีการผลิตเครื่องบินได้ช้ากว่าคาด ส่งผลกระทบต่อทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งสร้างผลกระทบในช่วงที่ผ่านมาต่อทั้งสายการบินในไทยและต่างประเทศ หรือแม้แต่บริษัทให้เช่าเครื่องบิน

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้หลายสายการบินต้องใช้เครื่องบินเก่าที่มีอยู่ เนื่องจากความต้องการเครื่องบินรุ่นใหม่ยังสูง

ไม่เพียงเท่านี้การนำเครื่องบินไปเก็บรักษาและนำกลับมาใช้งานใหม่ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิดยังส่งผลทำให้ความต้องการชิ้นส่วนอะไหล่จำนวนมากในคราวเดียวกัน ซึ่งผู้ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่เหล่านี้ไม่สามารถที่จะผลิตได้ทัน และยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานในการซ่อมบำรุงเครื่องบินที่ไม่ได้บินเป็นระยะเวลาหลายเดือนให้กลับมาบินได้ปกติอีกด้วย

แม้ว่าความต้องการในการเดินทางในหลายส่วนของโลกจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง แต่ปัญหา Supply Chain หรือแม้แต่ความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวนั้นกลับยังไม่สามารถกลับมาให้บริการได้เท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดได้ดีเท่าที่ควรมากนัก ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นอาจต้องใช้เวลายาวนานกว่าคาด

ที่มา – CNA, The Strait Times

]]>
1473139
Etihad ปูทาง IPO ภายในปี 2024 นี้ และเป็นสายการบินรายใหญ่รายแรกของ UAE ที่เตรียมเข้าตลาดหุ้น https://positioningmag.com/1472830 Thu, 09 May 2024 11:58:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472830 สายการบินเอทิฮัด (Etihad) เตรียมตัวที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว โดยสายการบินได้สถาบันการเงินหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศเพื่อที่จะช่วยในการเป็นผู้จำหน่ายหลักทรัพย์ และถ้าหากเข้า IPO แล้วก็จะกลายเป็นสายการบินรายใหญ่ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รายแรกที่จะเข้าตลาดหุ้นด้วย

สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า สายการบิน Etihad เตรียมเข้า IPO ในตลาดหุ้นภายในปีนี้ โดยคาดว่าจะระดมทุนมากถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 37,000 ล้านบาท

สถาบันการเงินที่สายการบินรายดังกล่าวเลือกมีทั้ง Abu Dhabi Commercial Bank และ First Abu Dhabi Bank ซึ่งเป็นสถาบันการเงินในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ขณะที่สถาบันการเงินต่างชาติ ได้แก่ Citi และ Bank Of America รวมถึง Morgan Stanley จากสหรัฐอเมริกา รวมถึง BNP Paribas และ HSBC จากทวีปยุโรป

เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Antonoaldo Neves ซึ่งเป็น CEO ของกลุ่มสายการบิน Etihad ให้สัมภาษณ์กับ CNBC โดยเขาได้ส่งสัญญาณว่าการเข้า IPO นั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ถือหุ้น นั่นก็คือ ADQ กองทุนความมั่งคั่งของอาบูดาบีซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด

ถ้าหากสายการบิน Etihad รายดังกล่าวเข้า IPO ภายในปีนี้จริงๆ ก็จะเป็นสายการบินรายใหญ่แห่งแรกของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่เข้าระดมทุนในตลาดหุ้น และยังเป็นสายการบินรายใหญ่กลุ่มประเทศในละแวกอ่าว (GCC) ที่เข้าระดมทุนรายแรกด้วย

ข้อมูลจาก Flightradar24 ปัจจุบันสายการบิน Etihad มีฝูงบินมากถึง 88 ลำ มีเส้นทางการบินทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกาเหนือ

สายการบินรายใหญ่จากอาบูดาบีรายนี้รายงานผลประกอบการไตรมาส 1 ของปี 2024 อยู่ที่ 526 ล้านเดอร์แฮมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 5,290 ล้านบาท หลังจากความต้องการในการเดินทางได้พุ่งสูงมากขึ้น

]]>
1472830
หน่วยงานกำกับการบินในสหรัฐฯ สอบ Boeing กรณีผลิตเครื่องบินรุ่น 787 อาจมีการปลอมแปลงผลการทดสอบ https://positioningmag.com/1472226 Tue, 07 May 2024 04:43:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1472226 องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศเข้าตรวจสอบโบอิ้ง (Boeing) ในกรณีการผลิตเครื่องบินรุ่น 787 ซึ่งเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ของบริษัท อาจมีการการปลอมแปลงผลการทดสอบ ขณะเดียวกันบริษัทยังกล่าวว่าสายการผลิตเครื่องบินดังกล่าวอาจผลิตได้ช้าลง

องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) ได้ประกาศเข้าตรวจสอบ Boeing ในกรณีการผลิตเครื่องบินรุ่น 787 ซึ่งเป็นเครื่องบินรุ่นใหม่ของบริษัท อาจมีการการปลอมแปลงผลการทดสอบ หลังจากในช่วงที่ผ่านมาผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้กำลังประสบปัญหาเรื่องของความเชื่อมั่น

FAA ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่ากำลังตรวจสอบว่า Boeing ได้ทำการตรวจสอบเครื่องบินเสร็จสิ้นหรือไม่ เพื่อยืนยันว่าการยึดเกาะและการต่ออุปกรณ์ต่างๆ ในตำแหน่งที่ปีกเชื่อมต่อกับลำตัวของเครื่องบินรุ่น 787 Dreamliner บางลำนั้นดีเพียงพอ

กรณีดังกล่าวตามมาหลังจากผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาได้กล่าวกล่าวว่าพนักงานบางคนได้ประพฤติมิชอบ โดยอ้างว่าการทดสอบบางอย่างเสร็จสิ้นแล้ว และทีมวิศวกรของบริษัทได้ประเมินเรื่องดังกล่าว และได้แจ้งกับ FAA ทันที

โดย Boeing ได้เตรียมตรวจสอบเครื่องบินรุ่น 787 ที่กำลังอยู่ในสายการผลิตของบริษัท และยังเตรียมที่จะมีแผนตรวจสอบเครื่องบินที่ผลิตแล้วเสร็จและใช้งานโดยสายการบินต่างๆ ด้วย แต่ตัวแทนของบริษัทได้กล่าวว่าการปลอมแปลงผลการทดสอบอาจไม่สัมพันธ์กับเรื่องความปลอดภัยแต่อย่างใด

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา วิศวกรของ Boeing ได้เข้าให้การในการไต่สวนของสภาคองเกรส กรณีการตรวจสอบด้านความปลอดภัยในส่วนการผลิตเครื่องบินในรุ่นต่างๆ ซึ่งรวมถึงเครื่องบินในรุ่น 787 นี้ด้วย โดยมีการกล่าวถึงวัฒนธรรมในองค์กรที่พยายามปกปิดสิ่งเหล่านี้

สำหรับกรณีของ Boeing นั้นไม่ใช่ครั้งแรกที่หน่วยงานกำกับดูแลได้เข้ามาตรวจสอบการผลิตของบริษัท แต่กรณีของเครื่องบินรุ่น 737 MAX ของบริษัท ก็มีคำสั่งให้ผู้ผลิตเครื่องบินรายนี้งดเพิ่มกำลังการผลิต เนื่องจากปัญหาการควบ คุมคุณภาพการผลิต คล้ายกับกรณีของเครื่องบินรุ่น 787

นอกจากนี้ Boeing เองยังกล่าวว่า การผลิตเครื่องบินในรุ่น 787 อาจมีการผลิตและส่งมอบเครื่องบินให้กับสายการบินต่างๆ ช้าลง เนื่องจากบริษัทขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตที่สำคัญ 

ที่มา – NPR

]]>
1472226
บริษัทแม่ AirAsia ที่มาเลเซีย ปรับโครงสร้างเตรียมควบกิจการ AirAsia X เป็นกิจการเดียว เตรียมระดมทุนเพิ่ม https://positioningmag.com/1471340 Mon, 29 Apr 2024 10:49:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471340 Capital A บริษัทแม่ AirAsia ที่มาเลเซีย ได้ปรับโครงสร้างโดยที่จะเตรียมควบกิจการ AirAsia X กับ AirAsia เป็นกิจการเดียว เพื่อความสะดวกในการบริหาร และบริษัทยังมีแผนที่จะเตรียมระดมทุนเม็ดเงินเพิ่มเติมด้วย

Capital A บริษัทแม่ของสายการบินราคาประหยัดอย่างแอร์เอเชีย (AirAsia) ได้ปรับโครงสร้างกิจการอีกครั้ง โดยจะมีการควบรวมกิจการของ AirAsia และ AirAsia X ให้เป็นกิจการเดียว นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะระดมทุนเพิ่มเติม เพื่อที่จะใช้ในการดำเนินธุรกิจด้วย

การปรับโครงสร้างดังกล่าวจะทำให้ AirAsia และ AirAsia X เป็นกิจการใต้ชายคาเดียวกัน ตามแผนที่บริษัทได้แจ้งไว้ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งแตกต่างกับในอดีตที่ทั้ง 2 บริษัทนั้นมีแผนการดำเนินธุรกิจคนละรูปแบบ โดย AirAsia เองจะเน้นเส้นทางการบินระยะสั้น ขณะที่ AirAsia X เน้นการบินระยะยาว

ไม่เพียงเท่านี้การควบรวมกิจการยังทำให้บริษัทโอนเครื่องบินที่สั่งจองไว้จาก Capital A มากถึง 362 ลำ มาเป็นของบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการนี้ด้วย และบริษัทใหม่ที่ควบรวมกิจการสายการบินราคาประหยัดทั้ง 2 รายยังมีแผนที่จะระดมทุนเพิ่มด้วย

ปัจจุบันสายการบินราคาประหยัดรายนี้มีฝูงบินมากกว่า 200 ลำ ซึ่งให้บริการกับนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่เดินทางในอาเซียน และยังสามารถเดินทางไปยังประเทศอื่นในทวีปเอเชียอีกหลายเส้นทาง รวมถึง ออสเตรเลีย เป็นต้น

Tony Fernandes ซึ่งเป็น CEO ของ Capital A ได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวใน Linkedin ของเขาว่า การควบรวมกิจการของ 2 สายการบินจะทำให้ AirAsia กลายเป็นสายการบินราคาประหยัดรายใหญ่ของทวีปเอเชีย ขณะเดียวกันการควบรวมกันยังทำให้มีเครื่องบินไซส์เดียวที่สามารถลงจอดสนามบินขนาดเล็กได้ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสตามเมืองรองต่างๆ ส่งผลทำให้ค่าการเดินทางลดลง 30%

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเขาได้กล่าวเสริมเรื่องดังกล่าวว่า เมื่อโควิดมา สิ่งใดที่ไม่ฆ่าคุณ จะทำให้คุณกลับมาแข็งแกร่งขึ้นได้ เราไม่เคยยอมแพ้และวันนี้เรากำลังแสดงให้เห็นว่าเราจะแข็งแกร่งขึ้น

ปัจจุบันรายได้หลักของ Capital A ยังมาจากสายการบิน AirAsia ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 75% ของรายได้รวมทั้งหมดของบริษัท ขณะที่รายได้อื่นๆ นั้นมาจาก โลจิสติกส์ บริการโทรศัพท์มือถือ ประกันภัย ไปจนถึงบริการผ่าน SuperApp ของบริษัท

นอกจากนี้หัวเรือใหญ่ของ Capital A เองยังกล่าวว่า เขาพยายามที่จะทำให้อัตราส่วนทางการเงินกลับมาเป็นบวกให้ได้ หลังจากที่บริษัทประสบปัญหาขาดทุนซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งก่อนหน้านี้นักวิเคราะห์มองว่าผลประกอบการของบริษัทจะกลับมาเป็นบวกได้ในปีนี้

]]>
1471340
Cathay Pacific กลับมาอู้ฟู่อีกรอบ มีกำไรสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2010 จ่ายโบนัสพนักงานเกิน 1.5 เดือนได้สบายๆ https://positioningmag.com/1466092 Thu, 14 Mar 2024 08:14:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1466092 คาเธ่ย์ แปซิฟิค (Cathay Pacific) รายงานผลประกอบการในปี 2023 นั้นมีกำไรมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาสายการบินจะประสบปัญหาจากการล็อกดาวน์ในฮ่องกง จนกระทบกับธุรกิจ รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสายการบินอย่างการขาดแคลนแรงงานไปจนถึงเรื่องของ Supply Chain ก็ตาม

Cathay Pacific สายการบินรายใหญ่ของฮ่องกง ได้รายงานผลประกอบการของปี 2023 ที่ผ่านมา โดยสายการบินรายใหญ่นี้มีกำไรมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา โดยสายการบินได้กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาเราได้ทิ้งการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ไว้ข้างหลังได้ในที่สุด

ในปี 2023 สายการบินจากฮ่องกงรายนี้มีรายได้รวม 94,485 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือคิดเป็นเงินไทย 431,482 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2022 ถึง 85.1% ขณะที่กำไรอยู่ที่ 9,789 ล้านเหรียญฮ่องกง หรือคิดเป็นเงินไทย 44,705 ล้านบาท

สาเหตุที่ทำให้สายการบินมีกำไรทำสถิติสูงสุดคือปริมาณผู้โดยสารที่ฟื้นตัว โดยปลายปี 2023 นั้นปริมาณผู้โดยสารรวมของ Cathay Pacific คิดเป็น 70% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด ขณะเดียวกันยังรวมถึงราคาตั๋วเครื่องบินที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ส่งผลทำให้สายการบินรายใหญ่รายนี้มีกำไรจากการดำเนินงานที่เพิ่มมากขึ้น

สายการบินยังคาดว่าปริมาณผู้โดยสารรวมคาดว่าจะเติบโตที่ 80% ได้ภายในไตรมาส 2 และจะกลับมาเติบโตเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดได้ภายในไตรมาส 1 ของปี 2025 ช้ากว่าที่บริษัทคาดไว้ในตอนแรกถึง 3 เดือน

การฟื้นตัวของสายการบินนั้นสอดคล้องกับการท่องเที่ยวของฮ่องกง เนื่องจาก Cathay Pacific เป็นสายการบินหลักประจำสนามบินฮ่องกง และยังเป็นสายการบินรายหลักที่พานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาฮ่องกง

อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินในประเทศจีนที่เป็นไปอย่างล่าช้ายังได้สร้างผลกระทบต่อ Cathay Pacific ไม่น้อย เนื่องจากเส้นทางการบินนั้นมุ่งตรงสู่หลายเมืองในประเทศจีน และธุรกิจสายการบินยังประสบปัญหาแรงงานขาดแคลนรวมถึงปัญหาเรื่อง Supply Chain

Ronald Lam Siu-por ซึ่งเป็น CEO ของ Cathay Pacific ได้กล่าวถึงการยกเลิกเที่ยวบินในช่วงที่ผ่านมาว่าบริษัทจะจดจำเป็นบทเรียน และปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้น

โดยสายการบินยังกล่าวว่าจะมีการรับพนักงานเพิ่มขึ้นอีก 20% เพื่อตอบสนองกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นด้วย สายการบินยังได้กล่าวว่านักบินของสายการบินยังมีจำนวนที่ขาดแคลน และถ้าหากสายการบินจะกลับมาเติบโตเท่ากับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดจะต้องมีการรับพนักงานเพิ่มเติม

นอกจากนี้กำไรที่แตะระดับสูงสุดของสายการบินยังสามารถทำให้มีการจ่ายโบนัสให้กับพนักงานได้มากถึง 7.2 อาทิตย์ หรือคิดเป็นเกือบ 2 เดือน เพื่อที่จะสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน

ที่มา – South China Morning Post, Reuters, HKFP

]]>
1466092
ตั๋วแพงยังคงอยู่! ผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินมองว่า “ปัญหา Supply Chain ต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปีถึงจะคลี่คลาย” https://positioningmag.com/1463852 Fri, 23 Feb 2024 11:42:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463852 ผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินมองว่า ปัญหา Supply Chain ต้องใช้เวลาเกือบ 2 ปีถึงจะคลี่คลาย เนื่องจากหลากหลายปัจจัย ปัญหาดังกล่าวยังทำให้สายการบินได้เครื่องบินล่าช้าลง ส่งผลทำให้ตั๋วยังมีราคาแพงอยู่

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า ผู้ผลิตเครื่องบินหลายราย กล่าวในงาน Singapore Airshow ซึ่งเป็นงานแสดงด้านการบินที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ว่าปัญหา Supply Chain ที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินในช่วงเวลานี้ อาจต้องใช้เวลา 2 ปี สถานการณ์ดังกล่าวถึงจะคลี่คลายลงไปได้

Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินจากทวีปยุโรป ได้กล่าวว่าบริษัทต้องส่งวิศวกรระดับหลายสิบคนเพื่อที่จะช่วยแก้ปัญหา Supply Chain เกิดปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้น ขณะที่ Boeing เองก็ต้องเร่งการผลิตเนื่องจากการส่งมอบล่าช้าไปถึง 9 เดือนนับจากเวลาในสัญญาส่งมอบ

บริษัทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินหลายแห่ง ได้บอกกับสำนักข่าว Reuters ว่า ระยะเวลาในการจัดหาชิ้นส่วนต่างๆ เช่น โลหะบางชนิดและกระจกบังลมอาจนานขึ้น 2 ถึง 5 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด เนื่องจากการผลิตวัสดุการบินและอวกาศลดลง การสูญเสียกำลังคนที่มีทักษะในช่วงโควิด รวมถึงแหล่งผลิตชิ้นส่วนที่ลดลงจากการบุกยูเครนโดยรัสเซีย

ปัญหา Supply Chain ยังกระทบกับบริษัทซ่อมเครื่องบินยักษ์ใหญ่อย่าง Lufthansa Technik ซึ่งเป็นบริษัทลูกของสายการบิน Lufthansa จากเยอรมัน ที่ต้องกักตุนอะไหล่ซ่อมเครื่องบินมากขึ้น เพื่อที่จะลดปัญหาการรออะไหล่ยาวนาน

Roberto Tonna ผู้บริหารจาก ALA บริษัทบริหารห่วงโซ่อุปทานด้านการบินกล่าวว่า โลหะไทเทเนียมเกรดการบินนั้นประสบปัญหาขาดแคลนอย่างหนักหลังการบุกยูเครนโดยรัสเซีย ซึ่งปกติชิ้นส่วนไว้ผลิตเครื่องบินนั้นบริษัทจะได้รับชิ้นส่วนไม่เกิน 40 สัปดาห์ แต่ตัวเลขล่าสุดนั้นยาวนานถึง 72 สัปดาห์

ผู้บริหารจาก ALA ยังมองว่ากว่าที่ Supply Chain จะกลับไปเป็นปกตินั้นอาจใช้เวลา 18-24 เดือนเป็นอย่างน้อย

ความต้องการการเดินทางหลังการแพร่ระบาดโควิดนั้นเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้สายการบินต่างๆ ต้องสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อขยายเครือข่ายและลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าน้ำมันเครื่องบิน ซึ่งปกติแล้วเครื่องบินรุ่นใหม่จะมีอัตราการใช้เชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพมากกว่ารุ่นเก่า

ความล่าช้ายังทำให้หลายสายการบินต้องจำใจหันกลับไปเช่าเครื่องบินรุ่นเก่ากว่า เนื่องจากปริมาณเที่ยวบินนั้นเติบโตอย่างต่อเนื่อง Cirium บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้านการบินคาดว่าสถานการณ์เครื่องบินไม่เพียงพอจะคลี่คลายไปได้ต้องรออย่างน้อยถึงปี 2027

ผลที่เกิดขึ้นคือปริมาณเครื่องบินที่ผลิตไม่ทัน ขณะที่สายการบินแม้จะมีความต้องการเครื่องบินรุ่นใหม่ ก็ไม่สามารถได้เครื่องบินที่เร็วตามความต้องการ ตรงข้ามกับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลกที่ต้องการเดินทาง แน่นอนว่าราคาตั๋วของสายการบินนั้นราคาอาจยังคงสูงต่อไป

]]>
1463852