Citigroup – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 13 Feb 2024 05:58:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Fed สั่งให้ Citi ปรับปรุงระบบการจัดการด้านความเสี่ยงภายในอีกครั้ง แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้วก็ตาม https://positioningmag.com/1462385 Tue, 13 Feb 2024 02:04:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462385 ‘ธนาคารกลางสหรัฐฯ’ ได้สั่งให้ ‘ซิตี้’ สถาบันการเงินรายใหญ่ ปรับปรุงระบบการทำงานภายในองค์กรอีกครั้ง โดยเฉพาะวิธีวัดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของคู่ค้า โดยในช่วงที่ผ่านมาปัญหาการจัดการด้านความเสี่ยงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าว โดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้สั่งให้ Citi สถาบันการเงินรายใหญ่ ปรับปรุงระบบการทำงานภายในองค์กรอีกครั้ง โดยเฉพาะวิธีวัดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของคู่ค้า

Fed ได้ส่งหนังสือแจ้ง Citi ถึง 3 ครั้งเพื่อสั่งให้ธนาคารจัดการว่าจะวัดความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้โดยคู่สัญญาในธุรกรรมอนุพันธ์อย่างไรในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยก่อนหน้านี้ฝ่ายตรวจสอบภายในพบว่างานบางส่วนที่ทำเพื่อปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งธนาคารยังไม่เพียงพอ

แหล่งข่าวของ Reuters ยังกล่าววอีกว่า ฝ่ายตรวจสอบภายในยังพบว่าสถาบันการเงินรายนี้ล้มเหลวในการปฏิบัติตามขั้นตอนข้อกำหนด เพื่อให้แน่ใจว่าคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงได้รับรายงานที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความเสี่ยงทั่วทั้งบริษัท

Citi อยู่ในช่วงเวลาที่ต้องแก้ไขปัญหาด้านกฎระเบียบที่หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐอเมริกาได้สั่งลงมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการด้านความเสี่ยง การจัดการด้านข้อมูล ไปจนถึงการควบคุมภายในสถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินรายนี้ได้รับปากที่จะแก้ปัญหา รวมถึงจ่ายค่าปรับถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 ที่ผ่านมา

ในช่วงที่ผ่านมา Jane Fraser ซึ่งเป็น CEO ของ Citi ได้ปรับโครงสร้างของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการปลดพนักงาน หรือแม้แต่การปรับโครงสร้างการบริหารภายใน รวมถึงการยกระดับการจัดการด้านความเสี่ยง

สถาบันการเงินรายใหญ่ของสหรัฐฯ รายนี้ต้องการที่จะเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ราคาหุ้นของ Citi ตามหลังคู่แข่งรายใหญ่ เนื่องจากแรงกดดันจากการปรับโครงสร้างองค์กร รวมถึงปัญหาการจัดการด้านความเสี่ยงที่ยังแก้ไขไม่แล้วเสร็จ

และคำเตือนจาก Fed ที่ส่งให้ Citi นั้นอาจทำให้แผนการปรับปรุงโครงสร้างนั้นต้องใช้เวลายาวนานกว่าที่คาด

]]>
1462385
HSBC ซื้อธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของลูกค้ารายย่อยในจีนจาก Citi คาดปิดดีลเสร็จครึ่งปีแรกของปี 2024 https://positioningmag.com/1447657 Wed, 11 Oct 2023 12:48:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447657 เอชเอสบีซีได้ประกาศซื้อธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของลูกค้ารายย่อยในจีนจาก Citi โดยไม่ได้ระบุมูลค่าการซื้อกิจการ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของเอชเอสบีซีที่วางแผนขยายธุรกิจเพิ่มในทวีปเอเชีย คาดว่าดีลดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2024 ได้

เอชเอสบีซี (HSBC) สถาบันการเงินรายใหญ่ ได้ประกาศเข้าซื้อธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของลูกค้ารายย่อยในประเทศจีนของ Citi โดยไม่ได้ระบุมูลค่าการเข้าซื้อกิจการแต่อย่างใด ซึ่งสถาบันการเงินรายดังกล่าวตั้งเป้าที่จะรุกธุรกิจการเงินในทวีปเอเชียเพิ่มมากขึ้น

ดีลดังกล่าว HSBC จะได้พอร์ตธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของลูกค้ารายย่อยใน 11 มณฑลในประเทศจีน มีทรัพย์สินภายใต้การดูแลรวมถึงเงินฝากเป็นมูลค่า 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ Citi ต้องออกจากธุรกิจกลุ่มลูกค้ารายย่อยของจีนเนื่องจากแรงกดดันจากคู่แข่งนั่นก็คือธนาคารในประเทศจีนหลายแห่ง นอกจากนี้ยังรวมถึงคู่แข่งอย่างธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดที่มีสาขาในประเทศจีน ซึ่งคู่แข่งเหล่านี้ก็มีบริการบริหารความมั่งคั่งให้กับลูกค้ารายย่อยเช่นกัน

ก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายนปี 2021 ทาง Citi ประกาศแผนออกจากธุรกิจกลุ่มลูกค้ารายย่อยของจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงกลยุทธ์ของสถาบันการเงินรายดังกล่าว โดยธุรกิจดังกล่าวในจีนได้ให้บริการลูกค้ามั่งคั่งเป็นหลักด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝาก กองทุน หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้แผนการดังกล่าวของ Citi ที่ได้ประกาศออกจากธุรกิจกลุ่มลูกค้ารายย่อยในจีนนั้นยังรวมถึงในประเทศไทยที่ธุรกิจดังกล่าวได้ UOB ซื้อธุรกิจดังกล่าวไปในท้ายที่สุด ซึ่งดีลล่าสุดนี้ทำให้ Citi ขายธุรกิจไปแล้วถึง 9 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นจีน ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย บาห์เรน อินเดีย ไต้หวัน เวียดนาม

Citi ได้กล่าวในแถลงการณ์ว่า กลยุทธ์ดังกล่าวนั้นทำให้โครงสร้างของ Citi นั้นดูเรียบง่ายมากขึ้น นอกจากนี้การขายธุรกิจดังกล่าวในจีนยังเหมาะสมกับลูกค้าที่อยู่ในประเทศจีน ซึ่งหลังจากนี้พนักงานกว่า 400 รายจะโอนย้ายไปเป็นพนักงานของ HSBC หลังจากนี้

หลังจากนี้ Citi ได้กล่าวว่าเตรียมที่จะปิดดีลการขายธุรกิจในอินโดนีเซียภายในปีนี้ และเตรียมที่จะนำธุรกิจในประเทศเม็กซิโกเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นด้วย ซึ่งการปรับโครงสร้างดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในแผนของ Jane Fraser ซึ่งเป็น CEO ที่ต้องการทำให้สถาบันการเงินรายนี้มีโครงสร้างเรียบง่ายขึ้น

ตรงข้ามกับกลยุทธ์ของ HSBC ที่วางแผนขยายธุรกิจเพิ่มในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจบริหารความมั่งคั่งที่สถาบันการเงินรายนี้ได้รุกธุรกิจดังกล่าวอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2023 มีเม็ดเงินเข้าในธุรกิจดังกล่าวมากถึง 27,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเม็ดเงินดังกล่าวเติบโตมากถึง 21% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา

คาดว่าดีลดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2024 และทาง Citi เองได้กล่าวว่าหลังจากนี้จะให้บริการลูกค้าชาวจีนที่มีความมั่งคั่งสูงผ่านสาขาในประเทศสิงคโปร์และฮ่องกงแทน

]]>
1447657
Citigroup ใช้ไม้เเข็ง ‘no-jab , no job’ เลิกจ้างพนักงานที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด https://positioningmag.com/1369833 Sun, 09 Jan 2022 10:07:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369833 Citigroup สถาบันการเงินรายใหญ่ของโลก ใช้มาตรการเข้มงวด ‘no-jab , no job’ เลิกจ้างพนักงานที่ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด

พนักงาน Citigroup ในสหรัฐอเมริกาที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ภายในวันที่ 14 .. จะต้องถูกพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง เเละจะถูกยุติสัญญาการจ้างงานภายในสิ้นเดือนนี้

โดยนับเป็นคำเตือนครั้งสุดท้ายหลังบริษัทเริ่มใช้นโยบายบังคับฉีดวัคซีนมาตั้งแต่เดือนต..ปีที่แล้ว อีกทั้งยังระบุให้เป็นข้อกำหนดในการจ้างพนักงานใหม่ด้วย

Citigroup เป็นสถาบันการเงินชั้นนำในวอลล์สตรีทแห่งแรกที่ใช้มาตรการ “no-jab, no job” หรือไม่ฉีดก็ไม่มีงานขณะที่ธนาคารอื่นๆ อย่าง Goldman Sachs , Morgan Stanley และ JPMorgan เเม้จะมีมาตรการเรื่องวัคซีน อย่างการให้พนักงานที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนทำงานจากที่บ้าน แต่ยังไม่มีถึงขั้นไล่ออก 

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นในช่วงที่อุตสาหกรรมการเงิน กำลังพิจารณาหนทางให้พนักงานสามารถกลับเข้าทำงานในสำนักงานได้อย่างปลอดภัย ท่ามกลางความเสี่ยงของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว 

ก่อนหน้านี้ เอกชนใหญ่รายใหญ่ในสหรัฐฯ เริ่มใช้มาตรการวัคซีนภาพบังคับมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง Google และ United Airlines ซึ่งก็มีระดับความเข้มงวดที่แตกต่างกันไป

ปัจจุบันมีพนักงานของ Citigroup กว่า 90% เข้ารับการวัคซีนโควิดเเล้ว ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยบริษัทได้พิจารณาข้อยกเว้นทางการแพทย์ให้พนักงานบางรายที่ไม่อาจเข้ารับวัคซีนได้เป็นกรณีพิเศษ

ในประกาศของ Citigroup ระบุว่า ธนาคารจะปฏิบัติตามนโยบายของการบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำหนดให้พนักงานทุกคนที่ทำงานภายใต้โครงการที่มีการทำสัญญากับรัฐจะต้องฉีดวัคซีนโควิดให้ครบโดส เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐถือเป็นลูกค้ารายใหญ่และสำคัญ

หากคุณไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เราขอแนะนำให้คุณรับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด

การฉีดวัคซีนภาคบังคับ กลายเป็นประเด็นที่สร้างความแตกแยกในสหรัฐฯ เช่นเดียวกับในหลายประเทศทั่วโลก หลังจากมีกระเเสต่อต้านอย่างรุนแรงเเละมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อบังคับของอำนาจรัฐบาลและภาคธุรกิจ ที่ถูกมองว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ขณะฝ่ายที่สนับสนุนก็มองว่าการฉีดวัคซีนโควิดนั้น ถือการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อหยุดโรคระบาด

 

ที่มา : Reuters 

 

 

]]>
1369833
มองทิศทาง “ซิตี้” หลังปรับใหญ่ เน้นกลุ่มสถาบัน ยันลูกค้าได้สิทธิประโยชน์ตามเดิม https://positioningmag.com/1328024 Fri, 16 Apr 2021 15:25:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1328024 กลายเป็นข่าวใหญ่ในวงการการเงินและธนาคาร เมื่อ “ซิตี้กรุ๊ป” ประกาศเปลี่ยนแปลงการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ในกลุ่มธนกิจบุคคลระหว่างประเทศ (Global Consumer Banking) เป็นการถอนตัวจาก 13 ประเทศที่ทำตลาดอยู่ แต่เน้นกลุ่มลูกค้าสถาบันมากขึ้น

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการตัดสินใจยุติการทำตลาดกลุ่มลูกค้ารายย่อยที่ดำเนินการอยู่ในภูมิภาคเอเชีย ภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) รวมทั้งหมด 13 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรเลีย บาห์เรน จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ รัสเซีย ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม

ให้คงเหลือการดำเนินธุรกิจผ่าน Global Wealth Management Center ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ การดำเนินการเชิงกลยุทธ์ใหม่ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนเชิงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องของซิตี้ เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทางการลงทุน และทรัพยากรในระยะยาวให้กับธุรกิจสายสถาบันธนกิจ หรือ ICG (Institutional Clients Group) ที่ปัจจุบันมีการขับเคลื่อนสูงและศักยภาพการเติบโตที่แข็งแกร่ง

ซิตี้ได้เน้นธุรกิจสายสถาบันธนกิจ หรือ ICG (Institutional Clients Group) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของเครือข่ายทั่วโลกให้กับลูกค้าทั่วเอเชียแปซิฟิก และในประเทศไทย ที่ปัจจุบันมีศักยภาพการเติบโต ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ซิตี้มีเงินทุน และเน้นการลงทุนที่จำเป็นเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว รวมถึงการลงทุนในเครือข่ายซิตี้ ตลอดจนการเพิ่มความสามารถด้านดิจิทัลเพื่อพัฒนาการนำเสนอบริการด้านการเงินการค้า และหลักทรัพย์ระดับโลกที่ดีที่สุด

สำหรับการให้บริการ รวมถึงสิทธิประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของซิตี้แก่ลูกค้าในประเทศไทยยังคงดำเนินต่อไป และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ลูกค้ายังคงจะได้รับบริการเช่นเดียวกับที่เคยได้รับตลอดมา หากมีการเปลี่ยนแปลงจะแจ้งให้ทราบในลำดับถัดไป

ปีเตอร์ บาเบจ ประธานกรรมการบริหาร ซิตี้ เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า

“ตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายทั่วโลกของซิตี้ และเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตและคุณค่าของซิตี้ ซึ่งซิตี้ยังคงลงทุนในเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนลูกค้าในทุกตลาด เพื่อมอบความสามารถระดับโลกที่เป็นเอกลักษณ์ของซิตี้ พร้อมยืนยันว่าตลาดเอเชียแปซิฟิกถือเป็นตลาดที่มีความสำคัญต่อกลยุทธ์ขององค์กร”

ทางด้าน ทีบอร์ พานดิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า

“ซิตี้มีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี ด้วยธุรกิจกลุ่มลูกค้าบุคคลธนกิจที่น่าสนใจ และดำเนินไปด้วยดีผ่านทีมงานที่ทุ่มเท และฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งซึ่งมีส่วนร่วมในความสำเร็จของซิตี้มาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงานของซิตี้แบงก์ ประเทศไทยในทันที และไม่มีผลกระทบต่อพนักงานอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเช่นกัน โดย ซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ยังคงพร้อมให้บริการลูกค้าด้วยความเอาใจใส่และความทุ่มเทเช่นเดียวกับที่ได้ดำเนินการมาโดยตลอด”

]]>
1328024
“ซิตี้แบงก์” ขายธุรกิจรายย่อย 13 ประเทศ “ไทย” โดนด้วย! เตรียมถอนตัวจากตลาด https://positioningmag.com/1327892 Fri, 16 Apr 2021 04:12:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327892 “ซิตี้กรุ๊ป” ประกาศขายกิจการลูกค้ารายย่อยใน 13 ประเทศทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออก จากแรงกดดันของนักลงทุนที่ต้องการให้ธนาคารลดต้นทุน โดยหนึ่งในประเทศที่อยู่ในรายชื่อตัดขายคือประเทศ “ไทย” ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อ เงินฝากจะถูกขายออกทั้งหมด และซิตี้จะหันไปเน้นธุรกิจบริหารความมั่งคั่งแทน

The Financial Times รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 เม.ย. 2021 ถึงความเคลื่อนไหวดังกล่าวของ “ซิตี้กรุ๊ป” โดยเป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นหลังซีอีโอคนใหม่ “เจน เฟรเซอร์” เข้ารับตำแหน่งได้กว่า 1 เดือน เฟรเซอร์เข้าประชุมร่วมกับนักลงทุนรายใหญ่ของธนาคารหลายครั้งก่อนจะเกิดการตัดสินใจครั้งนี้ขึ้น

“แม้ว่าธุรกิจใน 13 ประเทศเหล่านี้ต่างทำได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ตลาดไม่สามารถขยายตัวได้อย่างที่เราต้องการเพื่อจะแข่งขันต่อ” เฟรเซอร์กล่าว “ฉันวางนโยบายอย่างชัดเจนถึงการให้ความสำคัญสูงสุดของเรา นั่นคือการให้ผลตอบแทนกับนักลงทุน”

ซิตี้กรุ๊ป เป็นธนาคารสัญชาติอเมริกันที่ขยายตัวไปยังลูกค้ารายย่อยต่างประเทศได้มากที่สุด หากเปรียบเทียบกับธนาคารอเมริกันอื่นๆ

13 ประเทศเหล่านี้จะถูกตัดขายกิจการรายย่อยออกไป ได้แก่ ออสเตรเลีย บาห์เรน เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม โปแลนด์ และรัสเซีย

(Photo : Shutterstock)

ซิตี้กรุ๊ปประกาศด้วยว่า ธนาคารจะหันไปมุ่งเน้นธุรกิจบริหารจัดการความมั่งคั่งแทน โดยมีศูนย์กลางการดำเนินกิจการเพียง 4 แห่ง คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง UAE และลอนดอน (อังกฤษ)

“เราได้ตัดสินใจว่า เราจะเสี่ยงทุ่มลงทุนในธุรกิจความมั่งคั่ง” เฟรเซอร์กล่าว

ทั้งนี้ ธุรกิจลูกค้ารายย่อยของ 13 ประเทศที่ซิตี้จะออกจากตลาด ทำรายได้รวมกันอยู่ที่ 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นสัดส่วนที่ไม่สูงมากหากเทียบกับรายได้รวมทั้งเครือปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 7.43 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยปีก่อนซิตี้กรุ๊ปมีผลขาดทุน

ธุรกิจลูกค้ารายย่อยของธนาคารซิตี้แบงก์ในไทยนั้น มีบริการประกอบด้วย บัตรเครดิต สินเชื่อ และเงินฝาก สำหรับธุรกิจบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ เมื่อปี 2561 ซิตี้แบงก์เคยรับซื้อพอร์ตบัตรเครดิตกว่า 1 แสนรายมาจากธนาคารทิสโก้ โดยธนาคารทิสโก้เองก็รับซื้อจากสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดมาเมื่อปี 2559 แต่ตัดสินใจขายให้ซิตี้แบงก์เพราะมองว่าไม่ใช่ความถนัดของธนาคาร

ไมค์ มาโย นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก Wells Fargo สนับสนุนการตัดสินใจครั้งนี้ของซิตี้กรุ๊ป โดยมองว่าเป็นการพัฒนาที่ชัดเจนที่สุดของธนาคารในรอบทศวรรษ

เขายังให้ความเห็นด้วยว่า เฟรเซอร์ตัดสินใจขายกิจการภายในระยะเวลาแค่ 46 วันหลังรับตำแหน่ง นั่นทำให้เห็นสัญญาณว่าธนาคารกำลังรับมือกับปัญหาด้วยความรู้สึกของ “ความฉุกเฉิน”

Source

]]>
1327892
กลยุทธ์การบุก “พอดคาสต์” ของ Spotify กำลังไปผิดทางหรือเปล่า? https://positioningmag.com/1314559 Fri, 15 Jan 2021 16:35:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1314559 Citi เตือนการลงทุนของ Spotify ในกลุ่มคอนเทนต์ “พอดคาสต์” ว่าอาจจะกำลังไปผิดทางและไม่ได้ผลอย่างที่คิด หลังจากบริษัททุ่มทุนรวมไปมากกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อจะเป็นเจ้าตลาดพอดคาสต์ โดยเชื่อว่าคอนเทนต์กลุ่มนี้จะช่วยดึงให้สมาชิกสมัครระบบพรีเมียมเพิ่มขึ้นแน่นอน แต่ผ่านมาแล้วเกือบ 2 ปีก็เหมือนจะยังไม่เกิดผล

Citi ร่อนบทวิเคราะห์ให้ลูกค้านักลงทุนเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2021 ถึงกลยุทธ์ของ Spotify ที่ทุ่มลงทุนซื้อบริษัทผลิตคอนเทนต์พอดคาสต์ไปหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐมาตั้งแต่ปี 2019 ว่าอาจจะไม่ได้ผล

“แนวโน้มกำไรจากการสมัครสมาชิกประเภทพรีเมียม (ช่วงไตรมาส 3/2020) และยอดดาวน์โหลดแอปฯ (ช่วงไตรมาส 4/2020) ไม่ได้แสดงให้เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนจากการลงทุนในพอดคาสต์ (ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี 2019)” บทวิเคราะห์รายงาน และบริษัทยังเคาะ “ขาย” หุ้นตัวนี้จากเดิมที่แนะนำให้ “เก็บ” ทั้งนี้ ราคาหุ้น Spotify ปรับลงมาแล้ว 3.5%

บริษัท Spotify เริ่มทุ่มซื้อกิจการ “พอดคาสต์” ในช่วงต้นปี 2019 เริ่มจากการไล่ซื้อกิจการ Gimlet Media,  Anchor และ Parcast กลุ่มนี้เป็นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตคอนเทนต์พอดคาสต์ โดยใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 396 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากนั้นเข้าซื้อบริษัท The Ringer ซึ่งทำคอนเทนต์ข่าวกีฬาและบันเทิงด้วยเม็ดเงิน 196 ล้านเหรียญ ตามด้วยการซื้อ Megaphone ในราคา 235 ล้านเหรียญ โดยบริษัทนี้จะมาเสริมทัพด้านเทคโนโลยี “โฆษณา” ในพอดคาสต์

สิริรวมการลงทุนในธุรกิจพอดคาสต์ของ Spotify พุ่งไปมากกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐแล้ว ทั้งที่ในปี 2019 บริษัทเพิ่งจะมีกำไร 107 ล้านเหรียญเท่านั้น นี่ยังไม่นับการเข้าเซ็นสัญญา ‘exclusive’ กับคนดังจำนวนมากให้มาลงพอดคาสต์ใน Spotify เพียงแห่งเดียว เช่น คิม คาร์เดเชียน เวสต์, มิเชล โอบามา, เจ้าชายแฮร์รี่และเมแกน มาร์เคิล ซึ่งคาดกันว่าจะต้องใช้เงินทำสัญญาอีกหลายล้านเหรียญทีเดียว

ตัวอย่างคอนเทนต์ exclusive จาก มิเชล โอบามา อดีตสตรีหมายเลข 1 แห่งสหรัฐฯ

กลยุทธ์แต่ดั้งเดิมของ Spotify ในการกว้านซื้อธุรกิจพอดคาสต์คือ บริษัทมองว่าพอดคาสต์ ‘กำลังมา’ และถ้าบริษัทมีคอนเทนต์ระดับ exclusive แต่เพียงผู้เดียว บริษัทจะมีฐานรายได้โฆษณาที่แข็งแรงขึ้น พร้อมกับการดึงสมาชิกให้
สมัครพรีเมียมได้มากขึ้นด้วย

ครั้งนั้นนักลงทุนพอใจในกลยุทธ์ของบริษัท ทำให้หุ้นราคาพุ่งขึ้น 31.76% ในปี 2019 และยิ่งทะยานขึ้นอีก 110.4% ในปี 2020

เริ่มแรกดูเหมือนกลยุทธ์จะสำเร็จ เพราะมีรายงานจาก Voxnest พบว่า รอบ 5 เดือนแรกของปี 2020 นั้น Spotify วิ่งแซงเป็นผู้นำในตลาดพอดคาสต์ประมาณ 60 ประเทศทั่วโลก แทนที่เจ้าตลาดเดิมคือ Apple Podcasts

แต่ขณะนี้นักวิเคราะห์เริ่มร้อนรนที่จะเห็นความสำเร็จที่แท้จริง นั่นคือ “ตัวเลข” ผลประกอบการที่ดีขึ้น “จนถึงบัดนี้ เรายังไม่เห็นการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในแง่ของจำนวนสมาชิกพรีเมียมหรือยอดดาวน์โหลดเลย” นักวิเคราะห์จาก Citi เขียนในรายงาน

“เรากังวลว่า ถ้าหากการลงทุนพอดคาสต์ไม่สามารถเปิดเส้นทางใหม่ให้ Spotify เปลี่ยนตัวเองจากการพึ่งพิงเฉพาะคอนเทนต์ดนตรี นักลงทุนตลาดหุ้นน่าจะมีการปรับการตีมูลค่าบริษัทใหม่ และนั่นจะเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายของ Spotify” Citi กล่าว

Source

]]>
1314559
บริติช แอร์เวย์ส แต่งตั้งซิตี้กรุ๊ปเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน https://positioningmag.com/27357 Mon, 23 Jan 2006 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=27357

นิวยอร์ก–(บิสิเนสไวร์)— บริติช แอร์เวย์ส (บีเอ) ประกาศแต่งตั้ง Citigroup Depositary Receipt Services เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน (successor depositary) บีเอเป็นหนึ่งในสายการบินนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยเครือข่ายที่ให้บริการเที่ยวบินและผู้โดยสารไปยัง 149 ที่หมาย ใน 72 ประเทศทั่วโลก บริษัทมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร โดยมีฐานปฏิบัติงานหลักอยู่ที่สนามบินฮีทโธรว์ กรุงลอนดอน

ตราสาร BA American Depositary Receipt (ADR) มีการซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก (NYSE) ภายใต้เครื่องหมาย BAB (CUSIP #110419306) โดยหุ้น American Depositary Share (ADS) แต่ละหุ้นที่ออกภายใต้โปรแกรมมีค่าเท่ากับหุ้นสามัญจำนวน 10 หุ้นที่มีการซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้นลอนดอน

“เรายินดีที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริติช แอร์เวย์สให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และรอคอยที่จะให้การสนับสนุนเป้าหมายของบริษัทในการยกระดับฐานนักลงทุนสหรัฐฯ” แนนซี่ ลิสมอร์ ผู้บริหาร Citigroup Depositary Receipt Services กล่าว

บริติช แอร์เวย์ส คือหนึ่งในสายการบินนานาชาติชั้นนำของโลก โดยเป็นผู้ประกอบการเครือข่ายการขนส่งแบบครบวงจร และในฐานะที่เป็นหนึ่งในสายการบินที่เก่าแก่ที่สุดของโลก บริติช แอร์เวย์สยังคงได้รับการยกย่องเป็นผู้นำอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง บริติช แอร์เวย์ส ดูแลฝูงบินขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ซึ่งประกอบด้วยเครื่องบิน 288 ลำ ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-30 ก.ย. 2548 ผู้คนเกือบ 19 ล้านคนเลือกบินกับบริติช แอร์เวย์ส ในบางช่วง สายการบินยังบรรทุกสินค้าหนักถึง 382,000 ตันด้วย บริติช แอร์เวย์ส เป็นสมาชิกจัดตั้งของ Oneworld Alliance หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาดูที่ www.bashares.com

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม Citigroup ADR รวมถึงการพัฒนาและแนวโน้มของอุตสาหกรรม สามารถดูได้ที่ www.citigroup.com/adr

เกี่ยวกับ ซิตี้กรุ๊ป
ซิตี้กรุ๊ป (NYSE: C) เป็นบริษัทชั้นนำในด้านการให้บริการทางการเงินทั่วโลกโดยมีบัญชีลูกค้า 200 ล้านบัญชีและดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ บริษัทให้บริการแก่ผู้บริโภค บริษัท รัฐบาล และสถาบันต่างๆด้วยผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงบริการธนาคารและสินเชื่อผู้บริโภค, บริการธนาคารลูกค้าสถาบันและวาณิชธนกิจ, นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการบริหารสินทรัพย์ บริษัทชั้นนำที่อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปร่มสีแดงของซิตี้กรุ๊ปประกอบด้วย ซิตี้แบงก์ (Citibank), ซิตี้ไฟแนนเชียล (CitiFinancial), ไพร์มเมริกา (Primerica), สมิธ บาร์นีย์ (Smith Barney) และบานาเม็กซ์ (Banamex) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้ที่ www.citigroup.com

เกี่ยวกับ ซิตี้กรุ๊ป คอร์ปอเรท แอนด์ อินเวสเมนต์ แบงก์กิง
กลุ่มคอร์ปอเรท แอนด์ อินเวสเมนต์ แบงก์กิง (Corporate and Investment Banking) ของเรามอบบริการที่พิเศษสุดให้แก่ลูกค้าทั่วโลก โดยไม่มีสถาบันการเงินรายใดมุ่งมั่นที่จะทำความเข้าใจและสนับสนุนเป้าหมายต่างๆ ต่อลูกค้ามากไปกว่านี้ พนักงานที่มีพรสวรรค์และมีความหลากหลายของเราใน 100 ประเทศ จะให้คำแนะนำแก่บริษัท รัฐบาล และนักลงทุนสถาบันต่างๆ ในวิถีทางที่ดีที่สุดเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์ เราสร้างสรรค์โซลูชั่น และจัดหาตลาดและเงินทุนที่มีความเป็นไปได้ในวงกว้างที่สุดแก่ลูกค้าที่เป็นผู้ออกหุ้นและที่เป็นนักลงทุนจำนวนหลายพันราย และไม่มีสถาบันการเงินรายใดที่ดำเนินการได้ดีกว่านี้เกี่ยวกับโซลูชั่นการจัดการเงินสดและการรับชำระที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งเป็นที่ต้องการในเศรษฐกิจระดับโลกในทุกวันนี้ กลุ่มธุรกิจหลักภายใต้ซิตี้กรุ๊ป คอร์ปอเรท แอนด์ อินเวสเมนต์ แบงก์กิงได้แก่ โกลบอล แคปิตอล มาร์เก็ตส์ (Global Capital Markets), โกลบอล แบงกิง (Global Banking) และ โกลบอล ทรานแซคชัน เซอร์วิสเซส (Global Transaction Services)

ติดต่อ: Citigroup
Nina Das, 212-816-9267

]]>
27357
ซิตี้กรุ๊ป คอร์ปอเรท แอนด์ อินเวสเมนต์ แบงก์กิงเปิดตัว TreasuryVision(SM) บริการข้อมูลการบริหารเงินสด https://positioningmag.com/25722 Tue, 18 Oct 2005 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=25722

นิวยอร์ก–(บิสิเนส ไวร์)—17 ต.ค. 2548 – ซิตี้กรุ๊ป คอร์ปอเรท แอนด์ อินเวสเมนต์ แบงก์กิง ซึ่งเป็นผู้นำโลกในด้านกลุ่มลูกค้าธุรกิจและวาณิชธนกิจ ประกาศในวันนี้ว่า บริษัทจะเปิดตัว TreasuryVision(SM) ซึ่งเป็นเครื่องมือการบริหารเงินสดผ่านเว็บที่มีเอก ลักษณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินขององค์กรธุรกิจเพื่อจะได้มีวิสัยทัศน์ในการพิจารณาสถานะเงินสดของบริษัท ซึ่งจะทำให้สามารถบริหารจัดการสภาพคล่องและเงินสดระดับโลกทั่วทั้งองค์กรธุรกิจได้

TreasuryVision ซึ่งเป็นบริการข้อมูลทางการเงินของซิตี้กรุ๊ป เป็นเครื่องมือที่รวบรวมข้อมูล (เงินสด, การลงทุนและหนี้) ของหลายธนาคาร หลายสินทรัพย์ รวมทั้งการรายงานเชิงวิเคราะห์และเวิร์คโฟลว์ทางการเงินเช่นการคาดการณ์กระแสเงินสด ผลิตภัณฑ์ตัวนี้นับเป็นตัวแรกในภาคอุตสาหกรรมที่สามารถรวบรวมข่าวสารข้อมูลให้อยู่ในแพลตฟอร์มเชิงวิเคราะห์ที่ทันสมัยได้

นายพอล กาแลนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการบริหารเงินสดทั่วโลกของซิตี้กรุ๊ป คอร์ปอเรท แอนด์ อินเวสเมนต์ แบงก์กิงกล่าวว่า “ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดที่ลูกค้าจะได้รับจากการใช้ TreasuryVision(SM) ก็คือการได้รับข้อมูลที่สามารถดำเนินการได้ ขณะที่บริษัทต่างๆก็สามารถดูสถานะโดยรวมแบบเรียล-ไทม์ได้ และสามารถบริหารเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเนื่องจากข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ได้จาก TreasuryVision(SM)”

TreasuryVision(SM) เป็นบริการที่สามารถปรับขยายและสามารถกำหนดค่าเริ่มต้นเองได้ ซึ่งทำให้ฝ่ายการเงินทุกระดับสามารถเห็นภาพรวมที่ชัดเจนและถูกต้องมากขึ้นของบัญชีและฐานะทางการเงินโดยรวมของบริษัทได้ ผลิตภัณฑ์ตัวนี้มี dashboard frame ที่ยืดหยุ่นและชุดเครื่องมือการวิเคราะห์ที่ลูกค้าสามารถนำไป ใช้ดู สอบถาม และวิเคราะห์สถานะทางเงินสด, การลงทุนและหนี้ข้ามซิตี้กรุ๊ปและธนาคารอื่นๆล่วงหน้าได้

บริการหลักของ TreasuryVision(SM) อยู่บนพื้นฐานของปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ 3 ประการคือการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการให้ข้อมูล

การรวบรวมข้อมูล

ข้อมูลจากบัญชีธนาคาร, การลงทุนและหนี้ในธนาคารของลูกค้าถูกรวบรวมมาจากแหล่งต่างๆทั้งหมดและถูกจัดเก็บไว้ในคลังข้อมูลโลก โดยสามารถรวบรวมข้อมูลได้ทั้งจากบัญชีของซิตี้กรุ๊ปรวมทั้งจากธนาคารอื่น

การวิเคราะห์

TreasuryVision(SM) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่ลูกค้าสามารถนำไปใช้เพื่อเข้าใจถึงสถานะของพวกเขาที่ได้จากข้อมูลที่รวบรวมแล้วซึ่งครอบคลุมเรื่องเงินสด, การลงทุนและหนี้ ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่การเงินสามารถดูสถานะเงินสดทั่วโลก รวมทั้งข้อมูลที่แบ่งตามภูมิภาค ประเทศ สถาบันการเงินหรือองค์กรที่มีิสิทธิ์ตามกฎหมาย

การให้ข้อมูล

การใช้บริการเหล่านี้ทำให้ลูกค้าสามารถบริหารการคลังที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการรายงาน การขอและการอนุมัติที่เกี่ยวกับการคาดการณ์เงินสด การรายงานความเสี่ยงจากค่าเงิน สกุลเงินต่างประเทศภายในบริษัท และเวิร์คโฟลว์ด้านเงินกู้และเงินฝาก นอกจากนี้ ยังมีโมดูลเพิ่มเติมซึ่งได้แก่การบริหารบัญชีธนาคาร

TreasuryVision(SM): Data In/Information Out

นายแกรี่ กรีนวอลด์ ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ข้อมูลการบริหารเงินสดจากซิตี้กรุ๊ป คอร์ปอเรท แอนด์ อินเวสเมนต์ แบงก์กิงกล่าวว่า “TreasuryVision(SM) ทำให้วิสัยทัศน์และอำนาจการควบคุมเพิ่มขึ้น ดังนั้น เจ้า หน้าที่ฝ่ายการเงินจึงสามารถตัดสินใจจากข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวกับสถานะทางการเงินโดยรวมได้ นอกจาก TreasuryVision(SM) จะรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์แล้ว ยังเป็นเครื่องมือวัดเชิงวิเคราะห์ที่เสถียร ซึ่งทำให้ลูกค้าของเราสามารถพุ่งความสนใจไปที่การเพิ่มผลการดำเนินทางการเงินขึ้นถึงขีดสูง ไม่ใช่การรวบรวมข้อมูล”

ผลิตภัณฑ์การบริหารเงินสดตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของบริการธุรกรรมโลก ซึ่งเป็นผู้นำในการให้บริการครบวงจรในด้านการบริหารเงินสด, สินเชื่อการค้า, หลักทรัพย์และโซลูชั่นบัตรเชิงพาณิชย์ให้แก่บริษัท, สถาบันการเงินและรัฐบาลทั่วโลก

เกี่ยวกับซิตี้กรุ๊ป

ซิตี้กรุ๊ป (NYSE: C) เป็นบริษัทให้บริการทางการเงินทั่วโลกโดยมีบัญชีลูกค้า 200 ล้านบัญชีในกว่า 100 ประเทศ บริษัทให้บริการลูกค้ารายย่อย, บริษัท, รัฐบาลและสถาบันด้วยผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงบริการธนาคารและสินเชื่อผู้บริโภครายย่อย, บริการธนาคารลูกค้าสถาบันและวาณิชธนกิจ, การประกัน, นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และการบริหารสินทรัพย์ บริษัทชั้นนำที่อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าที่เป็นรูปร่มสีแดงของซิตี้กรุ๊ปประกอบด้วย ซิตี้แบงก์ (Citibank), ซิตี้ไฟแนนเชียล (CitiFinancial), ไพร์มเมริก้า (Primerica), สมิธ บาร์นีย์ (Smith Barney), บานาเม็กซ์ (Banamex) และ ทราเวลเลอร์ส ไลฟ์ แอนด์ แอนนุยตี้ (Travelers Life and Annuity) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ www.citigroup.com

เกี่ยวกับ ซิตี้กรุ๊ป คอร์ปอเรท แอนด์ อินเวสเมนต์ แบงก์กิง

กลุ่มคอร์ปอเรท แอนด์ อินเวสเมนต์ แบงก์กิงของเรามอบบริการที่พิเศษให้แก่ลูกค้าทั่วโลก โดยไม่มีสถาบันการเงินรายใดที่มีพันธะสัญญาด้านความเข้าใจและสนับสนุนเป้าหมายต่างๆ ต่อลูกค้ามากไปกว่านี้ – พนักงานที่มีพรสวรรค์และมีความหลากหลายของเราใน 100 ประเทศ จะให้คำแนะนำแก่บริษัท, รัฐบาลและนักลงทุนสถาบันต่างๆ ในวิถีทางที่ดีที่สุดเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางกลยุทธ์ เราสร้างสรรค์โซลูชั่น และจัดหาตลาดและเงินทุนที่มีความเป็นไปได้ในวงกว้างที่สุดแก่ลูกค้าที่เป็นผู้ออกหุ้นและที่เป็นนักลงทุนจำนวนหลายพันราย และไม่มีสถาบันการเงินรายใดที่ดำเนินการได้ดีกว่านี้เกี่ยวกับโซลูชั่นการจัดการเงินสดและการรับชำระที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งเป็นที่ต้องการในเศรษฐกิจระดับโลกในทุกวันนี้ สายธุรกิจหลักในสังกัดของซิตี้กรุ๊ป คอร์ปอเรท แอนด์ อินเวสเมน์ แบงก์กิงได้แก่ตลาดทุนทั่วโลก, บริการธนาคารระดับโลกและบริการธุรกรรมโลก

ติดต่อ: ซิตี้กรุ๊ป
นิน่า แดส, 212-816-9267
[email protected]

]]>
25722
โฟกัส มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด แต่งตั้ง Citigroup Depositary ดูแลโครงการ ADR https://positioningmag.com/23858 Mon, 18 Jul 2005 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=23858

นิวยอร์ก–(บิสิเนส ไวร์)–14 ก.ค. 2548 Citigroup Depositary Receipt Services ซึ่งเป็นธนาคารรับฝากหลักทรัพย์ชั้นนำ ประกาศในวันนี้ว่า ทางธนาคารได้จัดตั้งโครงการตราสารอเมริกัน (American Depositary Receipt – ADR) สำหรับบริษัทโฟกัส มีเดีย โฮลดิ้ง จำกัด (Focus Media Holding, Ltd.) ซึ่งเป็นเครือข่ายโฆษณานอกที่พักอาศัย (out-of-home) ที่ใช้จอโทรทัศน์เป็นสื่อที่ใหญ่ที่สุดของจีนเมื่อพิจารณาจากทำเลที่ตั้งและปริมาณโทรทัศน์จอแบนในเครือข่ายของบริษัท

ตราสาร Focus Media American Depositary (ADSs) จดทะเบียนในตลาด Nasdaq ภายใต้สัญลักษณ์ FMCN (CUSIP 34415v 109) โดยแต่ละตราสารที่ซื้อขายในตลาด Nasdaq นั้น เท่ากับหุ้นสามัญจำนวน 10 หุ้น

“ขณะที่เราเริ่มต้นสร้างธุรกิจโฟกัส มีเดียในจีน เราก็ตั้งเป้าที่จะยกระดับวิสัยทัศน์ระดับโลกของเราในตลาดทุนสหรัฐฯ” เจสัน นานชัน เจียง ประธานกรรมการและซีอีโอกล่าว “ตราสาร ADR ในตลาด Nasdaq ของเราเป็นกุญแจไปสู่ความสำเร็จระดับโลก และการสนับสนุนของซิตี้กรุ๊ปก็เป็นกลไกสำคัญ”

ขณะที่โรเบิร์ต เฮทเซนเรเธอร์ หัวหน้าระดับโลกของ Citigroup Depositary Receipt Services กล่าวว่า “เราตั้งตารอที่จะได้เป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับโฟกัส มีเดีย เมื่อบริษัทเปิดตัวโครงการ ADR ในตลาด Nasdaq ซึ่งสร้างรากฐานให้กับพันธะสัญญาระยะยาวที่เรามีต่อนักลงทุนในตลาดทุนสหรัฐฯ”

โฟกัส มีเดีย ดำเนินงานเครือข่ายโฆษณานอกที่พักอาศัยซึ่งใช้จอโทรทัศน์เป็นสื่อที่ใหญ่ที่สุดของจีนเมื่อพิจารณาจากทำเลที่ตั้งและปริมาณโทรทัศน์จอแบนในเครือข่ายของบริษัท โฆษณาของบริษัทปรากฏในทำเลการค้ามากกว่า 10,000 แห่ง และในร้านค้าปลีก 400 ร้านใน 44 เมืองใหญ่ ทั้งนี้ จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2548 โฟกัส มีเดีย ได้ติดตั้งโทรทัศน์จอแบนในพื้นที่ที่มีการสัญจรไปมาสูง อาทิ ลิฟต์บริเวณห้องโถงในอาคารพาณิชย์, ร้านค้าปลีก, ร้านเสริมสวย และสโมสรต่างๆ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโฟกัส มีเดีย กรุณาเข้าไปที่ ir.focusmedia.cn

เกี่ยวกับ Citigroup Depositary Receipt Services
Citigroup Depositary Receipt Services เป็นผู้นำในการสรรหาผู้ออกตราสารที่มีคุณภาพสู่ตลาดสหรัฐฯ และส่งเสริมให้ตราสารของอเมริกา (ADRs) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในตลาดทุน โดยซิตี้แบงก์ได้เริ่มเสนอขาย ADR ในปี 2471 และในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในการให้บริการแก่บริษัทที่ไม่ใช่ของสหรัฐฯ ด้วยช่องทางสู่แหล่งระดมทุนของซิตี้กรุ๊ป และวิธีการต่างๆ ในการขยายฐานผู้ถือหุ้นให้หลากหลายและในการเพิ่มสภาพคล่อง นอกจากนี้ ความแข็งแกร่งทางการเงินและการดำเนินธุรกิจในระดับโลกของซิตี้กรุ๊ปยังช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงธุรกิจที่น่าสนใจและความรอบรู้อย่างลึกซึ้งของซิตี้กรุ๊ปเกี่ยวกับตลาดท้องถิ่น 90 แห่ง

Depositary Receipt Services เป็นสายธุรกิจหนึ่งภายในหน่วยงานให้บริการด้านธุรกรรมระดับโลกของซิตี้กรุ๊ป (Citigroup(R) Global Transaction Services) ซึ่งเป็นผู้นำในด้านการจัดการเงินสดโดยรวม, การให้บริการด้านการเงิน และหลักทรัพย์สำหรับองค์กร, สถาบันการเงิน, กลุ่มตัวแทน และรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลก ด้วยทรัพย์สินเฉลี่ยกว่า 1.39 แสนล้านดอลลาร์, สินทรัพย์ภายใต้การดูแลมูลค่ากว่า 7.98 ล้านล้านดอลลาร์ และเครือข่ายสาขาที่ใหญ่ที่สุด ระบบการดำเนินงานที่ได้รับรางวัลของซิตี้กรุ๊ป และช่องทางการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าสามารถที่จะจัดการ, ตรวจสอบทุนการดำเนินงาน และการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น, ปรับกระบวนการทำธุรกรรม และปรับโครงสร้างกระบวนการเกี่ยวกับรายรับและรายจ่าย หน่วยบริการด้านธุรกรรมระดับโลกของซิตี้กรุ๊ป จะทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงศักยภาพและโซลูชั่นต่างๆ อย่างครบวงจรของซิตี้กรุ๊ป พร้อมด้วยธุรกิจที่น่าสนใจ และความรอบรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับตลาดท้องถิ่นกว่า 90 แห่ง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.transactionservices.citigroup.com

เกี่ยวกับซิตี้กรุ๊ป
ซิตี้กรุ๊ป (NYSE: C) เป็นบริษัทผู้ให้บริการทางการเงินระดับโลกซึ่งมีบัญชีลูกค้า 200 ล้านรายในกว่า 100 ประเทศ โดยให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อย, องค์กร, รัฐบาล และสถาบันต่างๆ ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงธนาคารและสินเชื่อรายย่อย, ธนาคารด้านการลงทุนและองค์กร, การประกัน, โบรกเกอร์หลักทรัพย์ และการจัดการสินทรัพย์ สำหรับธุรกิจที่อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าร่มสีแดง ของซิตี้กรุ๊ป ประกอบด้วยซิตี้แบงก์, ซิตี้ไฟแนนเชียล, ไพรม์เมริกา, สมิธ บาร์นีย์ และบานาเม็กซ์ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้ที่เว็บไซต์ www.citigroup.com

]]>
23858