วัลลภ เฉลิมวงศาเวช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ในปี 2567 ที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์ฮุนไดลดลง -27% อยู่ที่ 3,780 คัน โดยสัดส่วน 55-60% เป็นรถตู้ H1 และ Staria
สำหรับแผนของฮุนไดในปีนี้ จะเปิดตัวรถใหม่อย่างน้อย 6 รุ่น โดยเริ่มจากเปิดตัว IONIQ 5 N Line และจะเปิดตัวเพิ่มอีก 2 รุ่น ภายในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 46 หรือ มอเตอร์โชว์ 2025 (Motor Show 2025) และในช่วง กลางปี จะเปิดตัวรุ่นใหม่อีก 3 รุ่น โดยทั้ง 6 รุ่นที่จะเปิดตัวมีทั้งรถสันดาป (ICE) รถยนต์ไฟฟ้า 100% (BEV) และ รถยนต์ไฮบริด (HEV)
ในส่วนของเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย หรือ ดีลเลอร์ ปัจจุบัน ฮุนไดมีทั้งหมด 36 แห่ง โดยรวมทั้งดีลเลอร์ฮุนได และ IONIQ ที่มีจำนวน 20 แห่ง ซึ่งเติบโตจาก 8 แห่งในปีที่ผ่านมา โดยปีนี้คาดว่าจะมีจำนวนดีลเลอร์เพิ่มขึ้นอีก 3-4 แห่ง รวมเป็น 40 แห่ง และในอนาคตมีแผนจะให้ทุกดีลเลอร์สามารถขายรถยนต์ไฟฟ้าได้
“เพราะดีลเลอร์ฮุนไดเขามี Khow how ในการดูแลรถไฟฟ้ากันอยู่แล้ว ดังนั้น จากนี้คงจะหาดีเลอร์เพิ่มได้ไม่ยาก แต่ปัญหาคือ เราต้องการโชว์รูมที่สวยหน่อย ซึ่งหลายคนอาจยังไม่พร้อมลงทุนในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ แต่เราก็มีงบช่วยประมาณ 50% ถ้าจะรีโนเวต”
วัลลภ อธิบายว่า ที่ปีนี้ฮุนไดเปิดตัวรถถึง 6 รุ่น ถือเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยสร้างการเติบโตให้ถึงเป้าหมาย 4,100 คัน หรือเติบโต +10% เนื่องจากที่ผ่านมา ฮุนไดเปิดตัวรถใหม่น้อย และรถที่ขายได้คือ รถตู้ ทำให้กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็น กลุ่มครอบครัวที่ลูกเริ่มโต
ดังนั้น การเปิดตัวรถรุ่นใหม่ ๆ มากขึ้น นอกจากจะเป็นการสร้างสีสันให้กับแบรนด์แล้ว ยังช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าอายุน้อยลง และมีตัวเลือกให้ได้ลองสัมผัสกับแบรนด์ฮุนไดง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม มองว่ายอดขายครึ่งหนึ่งในปีนี้คาดว่าจะยังคงเป็น รถตู้
“เราต้องมองทุกมุมว่าเรามีโอกาสตรงไหน ที่คู่แข่งเราทำไม่ได้ แต่ปัญหาคือ ในอดีตเรายึดติดกับรถตู้ ทำให้ภาพแบรนด์เลยดูแก่ ดังนั้น โจทย์คือต้องทำภาพแบรนด์ให้ทันสมัยขึ้น ผ่านการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ ๆ มากขึ้น และอนาคตสัดส่วนยอดขายรถตู้จะค่อย ๆ ลดลง เพราะระยะยาวตลาดรถตู้ในไทยน่าจะอยู่ไม่เกิน 4,000 คัน”
หลังบริษัทได้เข้าร่วมมาตรการ EV 3.5 เต็มรูปแบบ บริษัทก็เดินหน้าจัดตั้ง บริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) เพื่อเปิดโรงงานประกอบรถยนต์ของฮุนไดโดยลงทุนไป 1,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตในช่วงต้นปี 2026 ตั้งเป้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 5,000 คัน/ปี/กะการทำงาน
“ถ้าทำงานเพิ่ม 2 กะ จะสามารถผลิตได้สูงสุด 10,000 คัน/ปี แต่ตอนนี้เราโฟกัสที่ผลิตใช้ในประเทศก่อน ไม่ได้มองถึงการส่งออก เพราะมันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น”
สำหรับภาพรวมตลาดในปีนี้ คาดว่าตลาดจะหดตัวประมาณ -5% คิดเป็นจำนวนประมาณ 5.7 แสนคัน เนื่องจากยังไม่เห็นปัจจัยบวกจากภายนอกในตอนนี้ ส่วน ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า คาดว่าจะมียอดขายอยู่ 7-8 หมื่นคัน ทั้งนี้ทั้งนั้น อาจขึ้นอยู่กับผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามา ซึ่งอาจดันยอดให้เติบโตกว่านี้
“ปีที่ผ่านมาตลาดหดตัวประมาณ 27% ถือว่าเหนื่อยทุกค่าย เพราะทุบราคากันหมด โดยยอดขายเราก็หดตัวใกล้เคียงตลาด ปีนี้มองว่ายังต้องช่วยเหลือตัวเองต่อไป เพราะยังไม่เห็นปัจจัยบวก โดยในเดือนมกราคมที่ผ่านมาตลาดหดตัว -7%”
สำหรับปัญหา หนี้เสีย ตอบยากว่า ดีขึ้น หรือไม่ เพราะภาครัฐมีมาตรการ คุณสู้เราช่วย ขณะที่ภาพรวมการอนุมัติสินเชื่อยานยนต์ในตลาดเฉลี่ยอยู่ที่ 60% ขณะที่อัตราของฮุนไดอยู่ที่ 80% ซึ่งถือว่าดีกว่าตลาด แต่เมื่อเทียบกับอดีต ถือว่าลดลง จากเดิมที่อยู่ 95%
“ตอนนี้เราบอกไม่ได้ว่า NPL ดีขึ้นไหม แต่เราก็ต้องช่วยตัวเองไปก่อน เช่นออกโปรผ่อน 0% นาน 84 เดือน ซึ่งลูกค้าค่อนข้างดี ทำให้แบงก์กล้าปล่อย”
]]>ทั้งสองบริษัทร่วมกันประกาศความร่วมมือนี้เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า “Waymo Driver” เทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติเจนเนอเรชันที่ 6 ของ Waymo จะถูกนำมาใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า IONIQ 5 ของ Hyundai ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปีและด้วยจำนวนรถยนต์จำนวนมากอย่างมีนัยยะ เพื่อช่วยให้บริษัท Waymo ภายใต้บริษัทแม่คือ Alphabet สามารถพัฒนาธุรกิจแท็กซี่ไร้คนขับให้เติบโตต่อไป
ข้อตกลงนี้ถูกประกาศขึ้นหลังจากเมื่อ 2 เดือนก่อน Waymo เพิ่งจะแถลงข่าวเกี่ยวกับรายละเอียดเทคโนโลยีเจนเนอเรชันที่ 6 ดังกล่าว และในครั้งนั้นมีการประกาศด้วยว่าบริษัทได้สร้างความร่วมมือกับรถยนต์ไฟฟ้า Zeekr ของบริษัทจีน Geely เพื่อจะนำเทคโนโลยีเจนฯ ใหม่นี้ไปใช้กับรถ Zeekr ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ เทคโนโลยีเจนฯ 6 ของ Waymo เป็นการอัปเกรดให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนในสภาพอากาศที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นได้ โดยไม่ต้องติดตั้งกล้องและเซ็นเซอร์ซึ่งมีราคาแพงไปมากมายเท่ากับเจนฯ ก่อนหน้า
ปัจจุบัน Waymo มียานพาหนะในฟลีตรถของบริษัทราว 700 คัน และถือว่าเป็นรายเดียวในสหรัฐฯ ที่ดำเนินธุรกิจแท็กซี่ไร้คนขับในเชิงพาณิชย์อยู่ขณะนี้ภายใต้ชื่อบริการ Waymo One มีผู้ใช้โดยสารจริงแล้วประมาณ 100,000 เที่ยวต่อสัปดาห์ในสหรัฐฯ
ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้า IONIQ 5 ของ Hyundai นั้นจะถูกผลิตขึ้นในโรงงาน “Metaplant America” ของบริษัทในรัฐจอร์เจีย และจะนำรถยนต์ที่ผลิตเสร็จแล้วไปติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีไร้คนขับของ Waymo อีกครั้ง โดยรถยนต์ที่จะผลิตให้ Waymo จะมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดรถบางอย่างเพื่อให้พร้อมกับการนำไปติดระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ
ทั้งสองบริษัทคาดการณ์ว่ารถยนต์ IONIQ 5 ภายใต้ Waymo จะเริ่มมาทดสอบบนถนนจริงได้ภายในปลายปี 2025 ก่อนจะเริ่มให้บริการจริงกับ Waymo One ได้หลังจากนั้น
อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดด้านการเงินของดีลในครั้งนี้ แต่ทาง Waymo ยืนยันว่าจะเป็นการซื้อขาดของบริษัทและจะถือกรรมสิทธิ์รถทุกคันเอง
Waymo มีการพาร์ทเนอร์กับบริษัทรถยนต์มาหลายราย เช่น Chrysler และ Jaguar ซึ่งผลิตและลงระบบของ Waymo และนำมาใช้รับส่งผู้โดยสารจริงอยู่ขณะนี้
José Muñoz ซีโอโอของ Hyundai Motor North America เปิดเผยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นก้าวแรกของการจับมือกัน และทั้งสองบริษัทยังคงสำรวจและมองหาโอกาสที่จะได้ทำงานร่วมกันในด้านอื่นๆ อีกต่อเนื่อง
รถยนต์รุ่น IONIQ 5 นั้นปัจจุบันมีบริษัทสตาร์ทอัพ “Motional” นำไปใช้เป็นฐานการออกแบบรถยนต์ไร้คนขับอยู่แล้ว และสตาร์ทอัพแห่งนี้มีผู้ลงทุนร่วมกันคือ Hyundai เองและ Aptiv ซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนรถยนต์ ทาง Hyundai ระบุว่าการร่วมงานกับ Waymo “จะไม่ส่งผล” ต่อการทำงานของ Motional
]]>Korea Herald รายงานข่าวว่า ฮุนได (Hyundai) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากเกาหลีใต้ ตั้งเป้ารุกตลาดในอาเซียนมากขึ้น โดยมองถึงการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้าในหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ขณะเดียวกันก็มองประเทศใหญ่อย่างอินโดนีเซียเป็นฮับสำคัญของบริษัท
ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ Hyundai ต้องหันมามองตลาดในอาเซียนคือ ไทย และ มาเลเซีย ถือเป็น 2 ประเทศที่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนจากรถยนต์ที่ใช้เครื่องสันดาปมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ขณะเดียวกันอินโดนีเซียและเวียดนามเองก็ไล่หลังตามมาติดๆ เช่นกัน
ในอินโดนีเซียซึ่งเป็นตลาดสำคัญนั้น Hyundai ได้จับมือกับ LG Energy Solution ในการวางเครือข่ายสถานีชาร์จ อย่างไรก็ดีการรุกตลาดอินโดนีเซียถือว่ามีอุปสรรคไม่น้อยเนื่องจากผู้เล่นรายใหญ่ที่ครองตลาดคือผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ Hyundai ต้องกลับมามองตลาดอาเซียน คือ การพึ่งพาตลาดรถยนต์ในประเทศจีนมากเกินไปในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบต่อบริษัทมหาศาลนับตั้งแต่ปี 2017 หลังจากที่ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับจีนลดระดับลงจากปัญหาที่เกาหลีใต้ได้ติดตั้งระบบป้องกันภัยขีปนาวุธ THAAD ของสหรัฐอเมริกา
สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลทำให้ยอดขายรถยนต์ของ Hyundai ในจีนลดลง จนทำให้ปัจจุบันบริษัทเหลือโรงงานผลิตเพียงไม่กี่โรงงานเท่านั้น และบริษัทเองยังพร้อมที่จะขายโรงงานที่มีอยู่ในประเทศจีนให้กับผู้ที่สนใจด้วย
ไม่เพียงเท่านี้ตลาดรัสเซียซึ่ง Hyundai เป็นผู้เล่นรายใหญ่ มีส่วนแบ่งการตลาดราวๆ 25% ก็พบกับปัญหาเนื่องจากรัสเซียได้บุกยูเครน ทำให้เกิดมาตรการคว่ำบาตรจากหลายประเทศ ทำให้ท้ายที่สุดบริษัทต้องตัดสินใจขายโรงงานในแดนหมีขาวซึ่งสามารถผลิตรถยนต์ได้ราวๆ 230,000 คันต่อปี ซึ่งโรงงานดังกล่าวเริ่มดำเนินกิจการในปี 2011
ความล้มเหลวใน 2 ประเทศดังกล่าว Korea Herald ได้สัมภาษณ์ผู้ที่อยู่ในแวดวงยานยนต์เกาหลีได้ชี้ว่าปัจจัยความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ดังกล่าวนั้นอยู่เหนือการควบคุมของ Hyundai และทำให้ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตยานยนต์จากเกาหลีเองจะต้องหาตลาดใหม่ๆ ทดแทน
นอกจากอาเซียนแล้ว Hyundai ยังเตรียมรุกตลาดในประเทศอินเดียเพิ่มขึ้นด้วย โดยเตรียมส่งรถยนต์หลายรุ่นเข้าสู่ตลาด เนื่องจากจำนวนประชากรที่มากถึง 1,400 ล้านคน ทำให้อินเดียกลายเป็นตลาดรถยนต์ใหญ่อันดับ 3 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งปัจจุบันบริษัทครองตำแหน่งเบอร์ 2 ของตลาด รองจากทาทา ซึ่งเป็นแบรนด์อินเดีย
]]>Amazon ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ เปิดเผยว่า ในปีหน้า แพลตฟอร์มจะเริ่ม ขายรถยนต์ ใหม่ในสหรัฐอเมริกา โดย Hyundai บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ จะเป็นแบรนด์แรกที่ขายบนเว็บไซต์ โดย Amazon ระบุว่า ลูกค้าสามารถเลือกรุ่น, สี และคุณสมบัติที่ต้องการได้ และสามารถเลือกได้ว่าจะรับรถที่ตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่หรือให้จัดส่งถึงบ้าน
“Hyundai เป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมมาก และยังมีความหลงใหลเช่นเดียวกับ Amazon คือการพยายามทำให้ชีวิตของลูกค้าดีขึ้นและง่ายขึ้นทุกวัน” Andy Jassy ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Amazon กล่าว
นอกจาก Hyundai จะเป็นแบรนด์รถยนต์แบรนด์แรกที่ขายบน Amazon แล้ว ทั้ง 2 บริษัทยังร่วมมือในการพัฒนา Alexa ลำโพงอัจฉริยะ Alexa ในรุ่นที่จะจำหน่ายในปี 2568
ดูเหมือนเทรนด์การขายรถตรงด้วยตัวเองโดยไม่ผ่านคนกลางจะกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ Tesla เป็นแบรนด์ที่ขายรถยนต์ตัวเองผ่านออนไลน์ ทำให้บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าอื่น ๆ เริ่มหันมาทำตามบ้าง อาทิ Ford ที่กำลังพยายามลดการพึ่งพาตัวแทนจำหน่ายในรถอีวี เนื่องจากจะทำให้บริษัทมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้รถยนต์มีราคาแพงขึ้นตาม
ทั้งนี้ หลังจากที่ Amazon ประกาศว่าจะเริ่มขายรถยนต์บนแพลตฟอร์มตัวเอง ราคาหุ้นของบรรดาบริษัทขายรถมือ 2 ออนไลน์ต่างพากันดิ่งลงหมด เพราะการที่ยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ซึ่งมีฐานลูกค้ามหาศาล ถือเป็นเรื่องที่น่าจับตา
]]>บริการดังกล่าวนี้ Hyundai เองได้กล่าวว่าเหมาะกับหลายกลุ่มผู้ใช้งาน ตั้งแต่กลุ่มนักศึกษาที่กำลังท่องเที่ยวในช่วงหน้าร้อนที่จะถึงนี้ ผู้ที่ทำงานรีโมตในบ้าน แต่ต้องการใช้รถยนต์ ลูกค้าที่ลังเลใจว่าจะเปลี่ยนรถยนต์ไฟฟ้าดีหรือไม่ นอกจากนี้บริษัทยังโปรโมตว่าบริการดังกล่าวสามารถสมัครแบบระยะสั้นก็ได้
สำหรับบริการเริ่มต้นนั้น รถยนต์ไฟฟ้าที่ผู้ใช้งานสามารถนำไปขับขี่ได้จะได้ระยะทางเริ่มต้นที่ 1,000 ไมล์ มีบริการซ่อมแซม รวมถึงประกันภัยคุ้มครอง ซึ่งถ้าหากใช้งานมากขึ้นก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งแตกต่างกับการเช่ารถที่ไม่มีบริการดังกล่าวให้
อย่างไรก็ดีทาง Hyundai ได้กล่าวว่าบริการดังกล่าวไม่ได้รวมถึงค่าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และไม่มีที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้านแถมมาให้
ผู้ที่สนใจบริการดังกล่าวในสหรัฐอเมริกาสามารถสมัครผ่านแอป Evolve+ ได้ และยังสามารถเลือกเวลารับรถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงเลือกรุ่นของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งรุ่น Kona Electric จะมีราคาต่ำที่สุด 699 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ขณะที่รุ่น Ioniq 5 ที่กำลังได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาจะมีราคาอยู่ที่ 899 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน
ก่อนหน้านี้ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายได้ทดลองโมเดล Subscriptions มาแล้ว ในปี 2017 ทาง GM ที่เคยมีบริการเช่ารถยนต์ยี่ห้อ Cadillac ซึ่งราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน และมีประกันภัย รวมถึงบริการซ่อมบำรุง แต่ท้ายที่สุดบริการดังกล่าวกลับต้องปิดตัวลงไปหลังเปิดให้บริการมาเป็นระยะเวลา 2 ปี
ขณะที่ Volvo เองก็เคยเปิดบริการดังกล่าว แต่ก็ต้องปิดตัวลงภายในระยะเวลา 5 เดือนเท่านั้น
ท้ายที่สุดแล้วต้องมาดูกันว่าโมเดล Subscriptions ของ Hyundai นั้นจะสามารถตีตลาดรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาได้หรือไม่
ที่มา – CNN, Business Insider
]]>การจับมือร่วมกันครั้งนี้ต่อยอดมาจากความร่วมมือที่ทั้ง 2 บริษัทได้จับมือกันในปี 2017 ที่ผ่านมา ซึ่งทาง Michelin ได้พัฒนายางรถยนต์ให้กับรถยนต์ไฟฟ้าของ Hyundai ในรุ่น Ioniq 5 มาแล้ว โดยยางสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าหลังจากนี้ที่ทั้ง 2 บริษัทวางเป้าหมายคือ ขับขี่ได้นุ่มนวล ลดเสียงและการสั่นสะเทือน ขณะเดียวกันก็ต้องมีความทนทานที่มากขึ้น
ในการพัฒนายางรถยนต์รุ่นใหม่ทั้ง 2 บริษัทตั้งเป้าที่จะนำวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาเป็นส่วนประกอบมากถึง 50% ซึ่งมากกว่าในยางรถยนต์รุ่นก่อนหน้านี้ที่ใช้สัดส่วนเพียงแค่ 20%
ขณะเดียวกันทั้ง 2 บริษัทก็ตั้งเป้าที่จะพัฒนายางสำหรับรถยนต์ไร้คนขับ โดยระบบสามารถที่จะดูสภาพยาง ณ เวลานั้นได้ทันที
ที่มา – Electrive
]]>“ฮุนได” เตรียมลงทุนโรงงานบนที่ดินขนาดเกือบ 7,400 ไร่ ในรัฐจอร์เจีย ใกล้กับเมืองท่าซาวานนาห์ เพื่อผลิต “รถยนต์ไฟฟ้า” กำลังผลิตสูงสุด 300,000 คันต่อปี คาดว่าโรงงานจะมีการจ้างงานในพื้นที่กว่า 8,000 คน และน่าจะเริ่มการผลิตได้ในปี 2025
“สหรัฐฯ มีความสำคัญเสมอมาต่อแผนการตลาดระดับโลกของเครือเรา เรามีความยินดียิ่งที่จะได้เป็นพันธมิตรกับรัฐจอร์เจียเพื่อไปสู่เป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและสร้างความยั่งยืนในสหรัฐฯ” ชุงอึยซุน ประธานบริษัท Hyundai Motor Group กล่าวในงานแถลงข่าว โดยโรงงานแห่งนี้จะเป็นโรงงานสำหรับผลิตอีวีแห่งแรกของฮุนไดในทวีปอเมริกาเหนือ
ก่อนหน้านี้ฮุนไดมีการตั้งฐานผลิตโรงงานรถยนต์สันดาปอยู่แล้วในรัฐอะลาบามา ส่วนโรงงานแห่งนี้ที่จะผลิตรถอีวี จะมีการตั้งสายผลิตแบตเตอรีรถร่วมด้วย แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเป็นการผลิตเพื่อซัพพลายแบตเตอรีรถให้กับ Kia แบรนด์ในเครือที่ตั้งฐานผลิตรถอีวีอยู่ในรัฐจอร์เจียด้วยเหมือนกัน
กระแสการลงทุนโรงงานรถยนต์ไฟฟ้าในสหรัฐฯ ของบริษัทต่างๆ มีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น General Motors หรือ Ford ต่างก็ทุ่มเงินหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างใหม่หรือขยายโรงงานเดิมตอบรับรถอีวี ท่ามกลางเทรนด์โลกที่ต้องการจะลดผลจากภาวะโลกร้อนน
สำหรับฮุนไดนั้นวางเป้าหมายว่าบริษัทต้องการจะเป็น Top 3 กลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายดีที่สุดในสหรัฐฯ ภายในปี 2026 ซึ่งจะทำให้บริษัทมียอดขายรถอีวีแตะ 3.2 ล้านคันต่อปีภายในปี 2030 คู่แข่งของฮุนไดไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็น Tesla ที่เหมาตลาดรถยนต์ไฟฟ้าสหรัฐฯ ไปกว่า 75% เมื่อปี 2021
การเลือกตั้งโรงงานในจอร์เจียครั้งนี้ ทำให้ฮุนไดเป็นบริษัทรถอีวีแห่งที่สองที่เลือกรัฐจอร์เจีย หลังจาก Rivian สตาร์ทอัพรถอีวีที่เน้นด้านรถกระบะ ประกาศไปเมื่อปลายปีก่อนว่าจะมีการตั้งโรงงานมูลค่า 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทางตะวันออกของเมืองแอตแลนตา
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกมองสหรัฐฯ เป็นเป้าหมาย เป็นเพราะนโยบายแข็งขันของ “โจ ไบเดน” ที่ต้องการให้สหรัฐฯ เปลี่ยนมาใช้รถอีวีโดยด่วน เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และทำให้การผลิตภายในประเทศสูงขึ้นด้วย
]]>โดยฮุนไดจะประเดิมจำหน่ายรถยนต์ SUV ไฟฟ้าพลังงานไฮโดรเจนรุ่น Nexo และรถยนต์ไฟฟ้าครอสโอเวอร์ ขนาดกลางรุ่น Ioniq 5 ในญี่ปุ่น ตามเป้าหมายที่จะครองส่วนเเบ่ง 10% ของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกให้ได้ภายในปี 2025
“ตอนนี้เรายังไม่ได้ตั้งเป้าหมายยอดขาย (ในญี่ปุ่น) แต่บริษัทจะเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม หลังเริ่มเปิดรับคำสั่งซื้อทางออนไลน์ในเดือนพ.ค.นี้” Shigeaki Kato ประธาน Hyundai Mobility Japan กล่าวในงานเปิดตัวที่กรุงโตเกียว
โดยครั้งนี้ ฮุนไดจะมุ่งเน้นไปที่การทำตลาดเพื่อขายออนไลน์ และกำลังร่วมมือกับบริการ ‘car sharing’ ที่ดำเนินการโดย DeNA บริษัทเกมออนไลน์ และบริษัทประกันภัย Sompo Holdings
‘ฮุนได’ เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ที่มีเเบรนด์ในเครืออย่าง Kia ครองส่วนแบ่งการตลาดรถยนต์ในเกาหลีใต้มากที่สุด เคยเข้ามาทำธุรกิจในญี่ปุ่น เมื่อปี 2001 แต่ทว่าสามารถทำยอดขายได้เพียง 15,000 คันเท่านั้น จึงตัดสินใจถอนธุรกิจออกไปในปี 2009 ทั้งนี้ ปัจจุบันมีรถยนต์ยี่ห้อฮุนไดเพียง 600 คันที่ยังคงขับอยู่ในญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นมียอดขายรถยนต์ใหม่ราว 5 ล้านคันต่อปี เเละในจำนวนนี้ประมาณ 9 ใน 10 เป็นแบรนด์ญี่ปุ่น โดยแบรนด์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ ‘โตโยต้า’ ซึ่งครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่มากถึง 40%
อย่างไรก็ตาม กระแสความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น ได้เปิดโอกาสให้เเบรนด์ใหม่เข้ามาทำตลาดได้อย่าง Tesla รวมไปถึงผู้ผลิตรถยนต์เก่าเเก่อย่าง Volkswagen เเละ Stellantis (เเบรนด์ Peugeot) ด้วย
แม้ว่าในปีที่แล้ว ญี่ปุ่นจะมียอดขายรถยนต์ EV เพียง 20,000 คัน แต่กลุ่มนี้ก็เติบโตขึ้นเกือบครึ่งจากปีก่อนหน้า ขณะที่ยอดขายรถยนต์โดยรวมจะลดลง ตามสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาทั่วโลก เเต่สมาคมผู้นำเข้ารถยนต์แห่งญี่ปุ่น (JAIA) เปิดเผยว่า การนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้ากลับพุ่งขึ้นเป็นประวัติการณ์เกือบ 3 เท่า เป็น 8,610 คันทีเดียว
]]>
‘Boston Dynamics’ ก่อตั้งเมื่อปี 1992 เป็นธุรกิจที่แยกออกมาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) โดยในปี 2013 ทาง Google ได้เข้ามาซื้อกิจการเป็นเจ้าเเรก ต่อมาได้ขายให้กลุ่ม SoftBank จากญี่ปุ่นในช่วงปี 2017
ทั้งนี้ หลังการเข้ามาของ Hyundai ทาง SoftBank จะยังคงถือหุ้นอยู่ราว 20%
Boston Dynamics โด่งดังมาจากการพัฒนา ‘Spot’ หุ่นยนต์สุนัขสีเหลืองขาลุย ที่สามารถสำรวจพื้นที่ต่างๆ เข้าไปในที่เเคบเเละมืด เเละปีนที่สูงในอย่างคล่องเเคล่ว ถูกนำไปใช้ในหลายอุตสาหกรรม อย่างธุรกิจขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ สำรวจป่า เหมืองเเร่ หรือเเม้กระทั่งตอนจับคนไม่ใส่หน้ากากในช่วงโควิด-19
นอกจากนี้ ยังได้เปิดตัว ‘Stretch’ หุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ตัวแรกของบริษัท ที่ออกแบบมาเฉพาะ สำหรับคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า
การเข้าซื้อกิจการ Boston Dynamics ของ Hyundai ในครั้งนี้ มีเป้าหมายใหญ่ คือการสร้าง ‘Robotics Value Chain’ ที่ครอบคลุมเครือข่ายทั้งการผลิตส่วนประกอบเเละสร้างหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติต่างๆ
พร้อมทรานส์ฟอร์มบริษัทสู่ผู้ให้บริการโซลูชัน ‘Smart Mobility’ การสัญจรอัจฉริยะ รองรับเทรนด์ในอนาคต ซึ่งก่อนหน้านี้ Hyundai ได้ทุ่มลงทุนไปในหลายเทคโนโลยี เช่น ระบบขับเคลื่อนด้วยตนเอง ปัญญาประดิษฐ์ โรงงานอัจฉริยะ ฯลฯ
“ในด้านวิทยาการหุ่นยนต์ บริษัทมีเป้าหมายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงที่ช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนและส่งเสริมความปลอดภัย เพื่อความก้าวหน้าของมนุษยชาติ”
ข้อตกลงนี้คาดว่าจะช่วยให้ Hyundai และ Boston Dynamics ใช้ประโยชน์จาก ‘จุดแข็ง’ ของกันและกัน ทั้งในด้านการผลิต โลจิสติกส์ การและระบบอัตโนมัติ ขยายไลน์สินค้า การบริการ และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก
เมื่อไม่นานมานี้ Boston Dynamics ถูกวิจารณ์เรื่องการนำหุ่นยนต์สุนัข Spot ไปใช้ในกองทัพ เเต่อย่างไรก็ตาม ในคลิปโปรโมตความร่วมมือใหม่ล่าสุดกับ Hyundai จะเป็นการนำหุ่นยนต์สุนัขมา ‘ช่วยนำทาง’ สำหรับคนตาบอดและเป็นผู้ช่วยในโรงพยาบาล เป็นต้น
ที่มา : Engadget , Techcrunch , hyundainews
]]>สำหรับต้นเเบบสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเเห่งอนาคตของ Hyundai นี้ มีชื่อว่า ‘E-pit’ ได้รับเเรงบันดาลใจจากจุด ‘Pit stop’ ในการแข่งขันรถ Formula 1 ที่เหล่าทีมงานของเเต่ละทีม สามารถซ่อมเเซม เปลี่ยนยางหรือปรับปรุงรถ ได้ภายในไม่กี่นาที สะท้อนให้เห็นความรวดเร็วเเละมีประสิทธิภาพ
Hyundai จึงนำเเนวคิดนี้มาใช้กับจุดชาร์จ ‘E-pit’ เพื่อให้เจ้าของรถยนต์ยี่ห้อ Hyundai และ Kia สามารถทำการชาร์จรถไฟฟ้าได้อย่างทันใจ เเละชำระเงินค่าบริการเเบบดิจิทัลผ่านสมาร์ทโฟนได้
การชาร์จเเบบ ‘เร็วพิเศษ 800V’ นั้นจะสามารถชาร์จแบตได้ 80% ในเวลา 18 นาที และหากใช้เวลาชาร์จเพียง 5 นาที ก็สามารถวิ่งรถได้ไกลราว 100 กิโลเมตร ส่วนการชาร์จเเบบปกตินั้นจะสามารถชาร์จแบตได้ 80% ในเวลาประมาณ 40 นาที
สถานีชาร์จแห่งใหม่นี้ สร้างขึ้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของผู้บริโภคที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ โดย Hyundai และ Kia มีเเผนจะเปิดตัว EV รุ่นใหม่ที่รองรับการชาร์จแบบ 800V อย่างรุ่น Ioniq 5 และ EV6 ในเร็วๆ นี้
Hyundai ตั้งเป้าที่จะติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ‘E-pit’ ในเกาหลีใต้ให้ได้ 20 เเห่ง (ที่ชาร์จในสถานีรวม 120 เครื่อง) ภายในปีนี้ เเบ่งเป็นตามจุดพักรถบนทางหลวง จำนวน 12 แห่ง และอีก 8 แห่งในเขตเมืองต่างๆ พร้อมการดีไซน์ที่สวยงามเเละทันสมัย เพื่อให้เป็นจุดพักรถเเละพักผ่อนไปในตัว
]]>