IATA – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 05 Jan 2023 04:06:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 IATA ประณามประเทศต่างๆ ที่ให้นักท่องเที่ยวจีนต้องตรวจโควิด ชี้สร้างผลเสียต่อภาคธุรกิจ https://positioningmag.com/1414593 Thu, 05 Jan 2023 03:58:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1414593 สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ได้ออกแถลงการณ์ประณามประเทศต่างๆ ที่ให้นักท่องเที่ยวจีนต้องตรวจโควิดก่อนเดินทาง ชี้มาตรการดังกล่าวสร้างผลเสียทั้งในเรื่องการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างกัน ผลเสียต่อภาคธุรกิจ รวมถึงเรียกร้องให้จีนยกเลิกมาตรการดังกล่าวเช่นกัน

Willie Walsh ผู้อำนวยการทั่วไปของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ได้ออกแถลงการณ์ประณามประเทศต่างๆ ที่ให้นักท่องเที่ยวจีน ถ้าหากจะเข้าประเทศจะต้องมีผลตรวจโควิดเป็นลบเท่านั้น โดยชี้ว่ามาตรการดังกล่าวนี้ไม่อยู่บนเหตุผลของวิทยาศาสตร์ และเขายังชี้ว่ามาตรการดังกล่าวไม่ช่วยทำให้การแพร่ระบาดของโควิดนั้นลดลงอย่างใด

โดยในช่วงที่ผ่านมาหลายประเทศนั้นได้ออกมาตรการต่อนักท่องเที่ยวจีน ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น หรือหลายประเทศในยุโรปได้ให้นักท่องเที่ยวจีนนั้นต้องมีผลตรวจโควิดที่เป็นลบเท่านั้นสามารถที่จะออกมาจากประเทศได้ ซึ่งผู้อำนวยการทั่วไปของ IATA มองว่ามาตรการดังกล่าวเป็น “วิทยาศาสตร์การเมือง”

นอกจากนี้เขายังแนะนำให้ควรฟังแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงใช้มาตรการขององค์การอนามัยโลกที่ให้ข้อแนะนำในการเดินทางในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เขายังชี้ว่าปัจจุบันโลกมีเครื่องมือในการจัดการโควิด-19 โดยที่ไม่ต้องหันไปใช้มาตรการที่อื่นๆ ไม่ได้ผล ซึ่งมาตรการของแต่ละประเทศที่ทำนั้นไม่ได้ทำให้การแพร่ระบาดลดลงจากจุดสูงสุดแต่อย่างใด แต่ช่วยให้การแพร่ระบาดลดลงช้าไปแค่ 2-3 วันเท่านั้น

ไม่เพียงเท่านี้ผู้อำนวยการทั่วไปของ IATA ยังเรียกร้องให้จีนยกเลิกมาตรการให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าประเทศตรวจหาเชื้อโควิดและมีผลตรวจเป็นลบ เนื่องจากจีนมีมาตรการผ่อนคลายโควิดเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ

ปัจจุบันสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ มีสมาชิกสายการบินรวมกันราวๆ 300 สายการบิน คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 83% ของปริมาณการบินทั่วโลก และมีบทบาทในการผลักดันนโยบายกี่ยวกับด้านการบินในช่วงต่างๆ รวมถึงในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วย

]]>
1414593
สายการบิน Qantas เจอมรสุมใหญ่ในรอบ 100 ปี พิษไวรัสทำขาดทุนหนัก 4 หมื่นล้านบาท https://positioningmag.com/1293537 Thu, 20 Aug 2020 11:59:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293537 ธุรกิจการบินยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ เเละใช้เวลานาน ล่าสุด สายการบินเเห่งชาติของออสเตรเลียอย่าง Qantas ประสบภาวะขาดทุนครั้งใหญ่ นับเป็นวิกฤตหนักที่สุดในรอบ 100 ปี  พร้อมมองว่าไม่น่าจะกลับมาบินระหว่างประเทศได้ทันก่อนเดือนก.. 2021 นี้

Alan Joyce ซีอีโอของ Qantas สายการบินแห่งชาติของออสเตรเลีย เปิดเผยผลประกอบการของบริษัทในปีงบประมาณ 2563 สิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 มิ..ที่ผ่านมาว่า ขาดทุนสุทธิ 1,960 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 4.4 หมื่นล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่เเล้ว ที่เคยทำกำไร  ถึง 840 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 1.8 หมื่นล้านบาท) ซึ่งความเปลี่ยนเเปลงนี้ถือว่าเป็นการสูญเสียรายได้มากถึง 91% เลยทีเดียว

โดยการดำเนินงานระหว่างเดือนเม.. ถึง มิ..ที่ผ่านมา นับว่าเป็นช่วงที่หนักหนาสาหัสที่สุด ตั้งเเต่มีการเเพร่ระบาดของ COVID-19 จากการที่รัฐบาลทั่วโลกรวมถึงออสเตรเลีย ต้องเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการล็อกดาวน์

สำหรับในช่วงครึ่งปีหลัง 2020 นั้น ซีอีโอ Qantas บอกว่าเป็นเงื่อนไขในสถานการณ์ที่ยากที่สุดของสายการบินในรอบ 100 ปีส่วนปัจจัยที่จะทำให้เที่ยวบินภายในประเทศ กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะเปิดชายแดนทั่วประเทศเมื่อใด

ก่อนหน้านี้ สายการบิน Qantas เริ่มปรับโครงสร้างองค์กร หนึ่งในนั้นคือเเผนการที่จะปลดพนักงานอย่างน้อย 6 พันคนทั่วโลก หรือคิดเป็นประมาณ 20% จากที่มีอยู่ราว 2.9 หมื่นคนในปัจจุบัน นอกเหนือจากพนักงานอีกอย่างน้อย 1.5 หมื่นคน ต้องพักงานอย่างไม่มีกำหนดต่อไปด้วย

ด้านความเคลื่อนไหวของคู่เเข่งรายสำคัญอย่าง Virgin Australia หลังต้องเข้าระบวนการฟื้นฟูกิจการเมื่อเดือนเม..ที่ผ่านมา ล่าสุดต้องจำใจยุติกิจการของ Tigerair Australia สายการบินต้นทุนต่ำในเครือ เพื่อปรับโครงสร้างองค์กรภายใต้การบริหารของเจ้าของใหม่อย่าง bain capital โดยจะมีการปลดพนักงานออกราว 1 ใน 3 ของทั้งหมดราว 3,000 คน เเต่ทางบริษัทจะจะยังคงเก็บใบอนุญาตทำการบินไว้ เผื่อในอนาคตจะสามารถกลับมา “ฟื้นกิจการ” ได้อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์โลกเข้าสู่ภาวะปกติ เเละการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่

ในช่วงนี้ สายการบินต่างๆ ต้องประสบภาวะขาดทุนอย่างหนักจาก COVID-19 เเม้จะเคยเป็นสายการบินที่มีผลประกอบการดีมาหลายปีก็ตาม ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ยังมีอีกหลายสายการบินที่ยังมีความเสี่ยงจะล้มละลายเเละปิดกิจการในช่วงนี้ โดยทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาปรับคาดการณ์ใหม่ว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เเละต้องรอไปจนถึงปี 2024 

 

ที่มา : CNN , BBC 

]]>
1293537
ยื้อไม่ไหว ! สายการบินราคาประหยัด “Tigerair Australia” ประกาศเลิกกิจการ หลังเจอมรสุม COVID-19 https://positioningmag.com/1291362 Thu, 06 Aug 2020 07:45:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291362 โบกมือลาอุตฯการบินไปอีกราย เมื่อสายการบินราคาประหยัดอย่าง “Tigerair Australia” ประกาศหยุดกิจการหลังดำเนินธุรกิจมากว่า 13 ปี สาเหตุหลักมาจากผลกระทบของ COVID-19 ที่สะเทือนการเดินทางของคนทั่วโลก

Tigerair Australia ระบุในเเถลงการณ์ว่า นับเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว ด้วยผลกระทบอย่างรุนเเรงจากการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้สายการบินมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการ หลังเปิดให้บริการมานาน 13 ปี ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้นำเสนอทางเลือกของการเดินทางราคาประหยัดให้กับลูกค้ามากกว่า 30 ล้านคน เเละขอขอบคุณทุกคนที่คอยให้การสนับสนุนตลอดมา

ความต้องการในการเดินทางของผู้คนลดลงอย่างมาก จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เพียงพอต่อการเปิดให้บริการต่อได้ โดยคู่เเข่งรายสำคัญอย่าง Jetstar ก็กำลังประสบปัญหานี้เช่นกัน ทั้งนี้ Tigerair Australia ต้องหยุดบินมาตั้งเเต่เดือนมี..

สำหรับสายการบินโลว์คอสต์ Tigerair Australia เป็นบริษัทลูกของสายการบินใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลียอย่าง Virgin Australia ที่กลายเป็นสายการบินแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียเเปซิฟิก ที่เข้าสู่กระบวนการล้มละลาย” ในช่วงวิกฤต COVID-19 ตั้งเเต่เดือนเม.. ที่ผ่านมาจึงต้องมีการปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่

โดยเเผนการฟื้นฟูกิจการในเครือ Virgin ภายใต้เข้าของใหม่ bain capital จะมีการปลดพนักงานออกราว 1 ใน 3 ของทั้งหมดราว 3,000 คน รวมถึงการยุบธุรกิจย่อยอย่าง Tigerair Australia ด้วย อย่างไรก็ตาม บริษัทจะยังคงเก็บใบอนุญาตทำการบินไว้ เผื่อในอนาคตจะสามารถกลับมาฟื้นกิจการได้อีกครั้ง เมื่อสถานการณ์โลกเข้าสู่ภาวะปกติ เเละการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศกลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่

ยังคงมีอีกหลายสายการบินที่ยังมีความเสี่ยงจะล้มละลายเเละปิดกิจการในช่วงนี้ โดยทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาปรับคาดการณ์ใหม่ว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เเละต้องรอไปจนถึงปี 2024 กว่าที่จำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะกลับมาเท่าช่วงก่อนโรคระบาด โดยการฟื้นตัวของการเดินทางระยะสั้น จะฟื้นตัวเร็วกว่าการเดินทางระยะไกล เเละคาดว่าจำนวนผู้โดยสารทางอากาศทั่วโลกจะลดลง 55% เมื่อเทียบกับปี 2019 เเย่กว่าที่คาดไว้ในเดือนเมษายนที่ 46%

ขณะที่ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทราฟฟิกของผู้โดยสารลดลง 86.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าดีขึ้นจากการหดตัวถึง 91% ในเดือนพฤษภาคม หลังได้รับอานิสงส์การเดินทางที่เพิ่มขึ้นบ้างในตลาดจีน เเละเเม้อัตราการเดินทางทางอากาศได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเเล้ว เเต่อุตสาหกรรมการบินจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ เเละยังถือว่าอ่อนแออยู่มาก

 

ที่มา : Tigerair Australia  , flightglobal

]]>
1291362
ปิดฉาก “ราชินีแห่งท้องฟ้า” เลิกผลิต Boeing 747 ในปี 2022 จากพิษไวรัส-เทรนด์ประหยัดพลังงาน https://positioningmag.com/1290152 Thu, 30 Jul 2020 09:44:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290152 หลังมีกระเเสการเลิกผลิตเครื่องบินเครื่องบินโดยสาร Boeing 747 “จัมโบ้เจ็ตสัญลักษณ์ของการเดินทางระยะไกล มาสักระยะหนึ่ง ล่าสุดทาง Boeing ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการเเล้วว่าจะยุติการผลิตภายในปี 2022 นี้ จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การเดินทางทั่วโลกต้องหยุดชะงัก เเละปัจจุบันสายการบินต่างๆ ก็หันมาใช้เครื่องบินรุ่นประหยัดเชื้อเพลิงกันมากขึ้น ตามเทรนด์ของยุคสมัย

ธุรกิจการบินกำลังเผชิญวิกฤตครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ เมื่อยอดผู้โดยสารลดฮวบเเละต้องปลดพนักงานเพื่อความอยู่รอด บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินก็ได้รับผลกระทบจากคำสั่งซื้อที่ลดลงอย่างมาก เรียกได้ว่าสะเทือนไปทั้งอุตสาหกรรม

โดยผลประกอบการไตรมาส 2 ในปีนี้ของ Boeing ขาดทุนไปกว่า 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่รายได้ดิ่งลง 25% เหลือ 11,800 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการผลิตเครื่องบินลดลงในหลายรุ่น รวมถึง Boeing 787 และ 777 ด้วย

เเม้ช่วงนี้การเดินทางท่องเที่ยวจะซบเซา เเต่อุปสงค์สำหรับเครื่องบินขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ไม่มีคำสั่งซื้อ Boeing 747-8F เข้ามาเลย นับตั้งเเต่มีการส่งมอบเครื่องบินรุ่น 747 ให้สายการบินลุฟต์ฮันซา ตั้งเเต่เดือนเมษายน ปี 2015 โดยตอนนี้ Boeing ยังเหลือเครื่องบิน 747-8F ที่ยังค้างอยู่ในสต๊อกถึง 15 ลำ

สำหรับ Boeing 747 เป็นตำนานจัมโบ้เจ็ต ที่มีอายุนานกว่า 50 ปี รองรับผู้โดยสารได้ถึง 400 คน มีฉายาว่าราชินีแห่งท้องฟ้า และครองตำแหน่งเจ้าการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ

ก่อนจะถูกซ้ำเติมด้วย COVID-19 เครื่องบิน Boeing 747 ก็เริ่มไม่ได้รับความนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายสายการบิน เริ่มปลดระวางเเละนำไปใช้เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าหรือคาร์โกเเทน

ขณะเดียวกัน การมาของเทรนด์ประหยัดพลังงาน ทำให้สายการบินส่วนใหญ่หันไปใช้เครื่องบินที่มีขนาดเล็กกว่าเเละประหยัดเชื้อเพลิงกว่าอย่าง Boeing 787 Dreamliner, Boeing 737 เเละ Airbus A350

Boeing ระบุในแถลงการณ์ว่า บริษัทจะยังคงให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานและซ่อมบำรุงเครื่องบิน 747 ต่อไปในอนาคต โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากสายการบินใหญ่อย่าง British Airways เเละ Qantas ได้ประกาศยุติการใช้งาน Boeing 747 เป็นที่เรียบร้อย  

Photo : Shutterstock

เหล่าผู้ผลิตเครื่องบินต้องปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อพยุงธุรกิจ โดยล่าสุด Boeing ได้ส่งข้อความที่ส่งถึงพนักงานว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดการจ้างงานเพิ่มเติม หลังช่วงต้นปี เคยประกาศว่าจะลดพนักงานลง 10% พร้อมลดกำลังผลิต Boeing 787 และ 777 ส่วน 737 Max แม้จะปรับเพิ่มการผลิต แต่ก็เป็นการปรับขึ้นอย่างช้าๆ กว่าแผนเดิมที่เคยวางเอาไว้

ด้านสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาปรับคาดการณ์ใหม่ว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เเละต้องรอไปจนถึงปี 2024 กว่าที่จำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะกลับมาเท่าช่วงก่อนโรคระบาด

โดยการฟื้นตัวของการเดินทางระยะสั้น จะฟื้นตัวเร็วกว่าการเดินทางระยะไกล เเละคาดว่าจำนวนผู้โดยสารทางอากาศทั่วโลกจะลดลง 55% เมื่อเทียบกับปี 2019 เเย่กว่าที่คาดไว้ในเดือนเมษายนที่ 46% สำหรับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทราฟฟิกของผู้โดยสารลดลง 86.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าดีขึ้นจากการหดตัวถึง 91% ในเดือนพฤษภาคม หลังได้รับอานิสงส์การเดินทางที่เพิ่มขึ้นบ้างในตลาดจีน

เเม้อัตราการเดินทางทางอากาศได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเเล้ว เเต่อุตสาหกรรมการบินจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ เเละยังถือว่าอ่อนแออยู่มาก

 

ที่มา : Aerotime , BBC

]]> 1290152 อุตสาหกรรมการบิน “ฟื้นตัวช้า” IATA คาดต้องรอถึงปี 2024 กว่าจะกลับมาได้เท่าช่วงก่อน COVID-19 https://positioningmag.com/1289890 Wed, 29 Jul 2020 11:13:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289890 อุตสาหกรรมการบิน ยังต้องสะบักสะบอมต่อไปอีกหลายปี จากพิษของ COVID-19 ล่าสุดทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาปรับคาดการณ์ใหม่ว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เเละต้องรอไปจนถึงปี 2024 กว่าที่จำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะกลับมาเท่าช่วงก่อนโรคระบาด

การฟื้นตัวของการเดินทางระยะสั้น จะฟื้นตัวเร็วกว่าการเดินทางระยะไกล โดยคาดว่าจำนวนผู้โดยสารทางอากาศทั่วโลกจะลดลง 55% เมื่อเทียบกับปี 2019 เเย่กว่าที่คาดไว้ในเดือนเมษายนที่ 46%

ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทราฟฟิกของผู้โดยสารลดลง 86.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าดีขึ้นจากการหดตัวถึง 91% ในเดือนพฤษภาคม หลังได้รับอานิสงส์การเดินทางที่เพิ่มขึ้นบ้างในตลาดจีน

รายงานของ IATA ระบุว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมการบินฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดนั้น มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิเช่น

การควบคุมการแพร่ระบาดได้ไม่ดีนักของสหรัฐฯ เเละในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ  : เเม้ว่าจะมีหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จในการควบคุมการเเพร่ระบาดได้ดีในช่วงเเรก เเต่ก็เกิดการระบาดซ้ำ ขณะที่อเมริกานั้นยังมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มในอัตราที่สูงต่อเนื่อง เเละที่ไม่มีท่าทีลดลง โดยสหรัฐฯ มีสัดส่วน 40% ของอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจึงส่งผลกระทบในวงกว้างเเละยาวนานกว่า

การเดินทางเพื่อเจรจาธุรกิจลดลงอย่างมาก : ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ไม่เเน่นอน บรรดาบริษัทต่างๆ ต้องตัดงบค่าใช้จ่ายเเม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นเเล้ว เเต่บริษัทยังคงต้องอยู่ภายใต้ความกดดันทางการเงิน ดังนั้นการตัดงบการเดินทางจึงเป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ ขณะเดียวกัน การประชุมออนไลน์ผ่านวิดีโอคอล ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงนี้ก็ยิ่งทำให้การเดินทางลดลงไปกว่าเดิม

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังอ่อนแอ : ความต้องการที่จะเดินทางไปเยี่ยมญาติเเละเพื่อนฝูง เเละการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อนยังมีน้อย เพราะผู้คนมีความกังวลในเรื่องความมั่นคงในหน้าที่การงาน จากอัตราว่างงานที่สูงขึ้นทั่วโลก โดยผลสำรวจพบว่า มีผู้คนจำนวนมากไม่ได้วางเเผนที่จะเดินทางไปไหนเลยในปี 2020

ด้านความต้องการเดินทางของตลาดผู้โดยสารภายในประเทศ ในเดือนมิถุนายนลดลงอยู่ที่ 67.6% ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนพฤษภาคมที่ลดลง 78.4% โดยในจีนมีเเนวโน้มที่จะฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่น เเละในญี่ปุ่นก็มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น หลังยกเลิกมาตรการล็อกดาวน์

ส่วนความต้องการเดินทางของตลาดผู้โดยสารระหว่างประเทศ ในเดือนมิถุนายนลดลงอยู่ที่ 96.8% เมื่อเทียบช่วงเวลลาเดียวกันของปีที่เเล้ว เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากการลดลงถึง 98.3% ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพราะประเทศส่วนใหญ่ยังคงมีการปิดพรมเเดนอยู่

Alexandre de Juniac ซีอีโอของ IATA ชี้ว่าตัวเลขในเดือนเมษายน แสดงให้เห็นว่าอัตราการเดินทางนั้นได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเเล้ว เเละอุตสาหกรรมการบินกำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่ถือว่ายังอ่อนแออยู่มาก รัฐบาลชาติต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการช่วยเหลือธุรกิจการบินต่อไป อย่างไรก็ตาม หากมีการพัฒนาวัคซีนสำเร็จก็อาจจะช่วยให้มีการฟื้นตัวเร็วขึ้น เเต่ก็ยังมีความไม่เเน่นอนในอีกหลายปัจจัย

 

อ่านรายงานฉบับเต็มของ IATA (ที่นี่)

]]> 1289890 COVID-19 ทำพิษสายการบิน Singapore Airlines ขาดทุนรายปีครั้งแรกในรอบ 48 ปี https://positioningmag.com/1278716 Fri, 15 May 2020 03:52:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278716 ถึงคิวของสายการบินที่ผลประกอบการดีมาโดยตลอดอย่าง Singapore Airlines เมื่อเจอพิษไวรัส COVID-19 ที่ทำให้ต้องหยุดบินทั่วโลก ทำให้สายการบินต้อง “ขาดทุน” เป็นครั้งเเรกในรอบ 48 ปี

Singapore Airlines สายการบินแห่งชาติของประเทศสิงคโปร์ แจ้งผลประกอบการปี 2019 ซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2020 ที่ผ่านมา ต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า บริษัทขาดทุนสุทธิ 212 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 4,772 ล้านบาท) ลดลงจากปีก่อนหน้าที่มีกำไรสุทธิถึง 683 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 15,376 ล้านบาท) สาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลต่อธุรกิจการบินทั่วโลก

ในรายงานของ Singapore Airlines ระบุว่าในช่วง 9 เดือนเเรกของผลประกอบการปี 2019/20 บริษัทมีผลการดำเนินงานที่เเข็งเเกร่ง ก่อนที่จะได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. ต้นปี 2020 เที่ยวบินจากประเทศจีนถูกยกเลิกในเดือน ก.พ. ตามมาด้วยเดือน มี.ค.ที่ได้รับผลกระทบหนักเนื่องเที่ยวบินในเส้นทางระหว่างประเทศที่ถูกยกเลิกจากมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ

นอกจากนี้ อีกสาเหตุยังมาจากผลกระทบจากการทำประกันราคาน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันได้ลดลงอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา

โดยรัฐบาลทั่วโลก ได้ออกคำสั่งห้ามเดินทางเพื่อป้องกันการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ในช่วงเดือน ม.ค. ถึง มี.ค.นี้ Singapore Airlines ขาดทุนถึง 732 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 16,480 ล้านบาท) ทั้งที่ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้นสามารถทำกำไรได้ 203 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 4,570 ล้านบาท)

ขณะที่กำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit) ของสายการบินอยู่ที่ 59 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ลดลง 94.5% จากปีก่อนที่ทำได้ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

สายการบินระบุว่าในเดือนเมษายน-มิถุนายน จำนวนผู้โดยสารจะลดลงมากถึง 96% จากการระงับให้บริการของทั้ง Singapore Airlines เเละบริษัทลูกอย่าง Silk Air ส่วน Scoot ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำในเครือ ได้ลดการให้บริการลงถึง 98% ของเที่ยวบินทั้งหมด

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ Singapore Airlines คาดการณ์ว่าในงบไตรมาส 1 ของปี 2020/21 ที่จะสิ้นสุดปลายเดือน มิ.ย.นี้ ยังคงจะขาดทุนจากการดำเนินงานต่อเนื่อง เพราะสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ยังคงอยู่ ซึ่งจะมีเจรจากับบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินเพื่อเลื่อนการส่งมอบเครื่องบิน และเจรจากับซัพพลายเออร์เรื่องการปรับเวลาจ่ายค่าจัดซื้อด้วย

ด้านกลุ่มทุน Temasek กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในสายการบิน Singapore Airlines กำลังจะเพิ่มทุนช่วยเหลือให้สายการบินเพื่อประคองธุรกิจผ่านช่วง COVID-19 ไปได้

ทั้งนี้ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ประเมินว่า ธุรกิจสายการบินที่ให้บริการในภูมิภาคเอเชียเเปซิฟิกจะขาดทุนรวมกันในปีนี้ ราว 27,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 8.2 เเสนล้านบาท) ขณะที่คาดว่าธุรกิจการบินทั่วโลกอาจจะสูญเสียรายได้สูงสุดถึง 1.13 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3.56 ล้านล้านบาท)

 

ที่มา : singaporeair , channelnewsasia

]]>
1278716
สายการบินระส่ำทั่วโลก! IATA ประเมินธุรกิจนี้ต้องการให้ “รัฐช่วยอุ้ม” 2 แสนล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1268812 Wed, 18 Mar 2020 11:32:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268812
  • การระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารลดฮวบ IATA คาดว่าสายการบินทั่วโลกจะต้องการเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลรวมกันประมาณ 1.5-2.0 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มิฉะนั้นวิกฤตครั้งนี้จะทำให้บางสายการบินต้องปิดตัวลง
  • หากสายการบินจะรอดพ้นวิกฤต จำเป็นต้องได้รับเงินและมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาล ซึ่งบางประเทศเริ่มช่วยเหลือธุรกิจสายการบินแล้ว เช่น อิตาลีที่ซื้อคืนสายการบิน Alitalia กลับมาเป็นของรัฐอย่างสมบูรณ์
  • ก่อนหน้านี้ IATA ประเมินว่าสายการบินทั่วโลกจะมีรายได้ลดลงมากกว่า 1.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และมีเพียง 30 สายการบินที่มีกระแสเงินสดแข็งแรงพอที่จะพยุงตัวเองได้
  • สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ประเมินว่าอุตสาหกรรมการบินทั่วโลกจะต้องการมาตรการช่วยเหลือและเงินสนับสนุนจากรัฐมูลค่าประมาณ 1.5-2.0 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้รอดพ้นวิกฤตครั้งนี้ มิฉะนั้นแล้วการระบาดของไวรัส COVID-19 จะส่งผลให้หลายสายการบินต้องล้มละลาย หรือเกิดการควบรวมกิจการ

    โดยขณะนี้มีบางสายการบินที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐแล้ว เช่น Alitalia ซึ่งรัฐบาลอิตาลีประกาศแผนเข้าซื้อคืนกลับมาเป็นของรัฐอย่างสมบูรณ์ (ก่อนหน้านี้ Alitalia ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องอยู่แล้ว และรัฐบาลพยายามหาผู้ลงทุนเพื่อผลักสายการบินให้กลับไปเป็นธุรกิจเอกชน) ขณะที่สายการบิน SAS สายการบินหลักของแถบสแกนดิเนเวียก็กำลังจะได้รับสินเชื่อที่รัฐบาลสวีเดนและเดนมาร์กค้ำประกันให้รวม 300 ล้านเหรียญสหรัฐ มาช่วยต่อลมหายใจ

    IATA ยังกล่าวถึงความเคลื่อนไหวของรัฐบาลประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และจีนที่มีมาตรการออกมาแล้ว ส่วนรัฐบาลสหรัฐฯ อังกฤษ และสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะให้การช่วยเหลือสายการบิน

    ฟากบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินอย่าง Airbus ของฝรั่งเศส และ Boeing ของสหรัฐฯ ก็กำลังเจรจากับรัฐบาลประเทศตนเองเพื่อขอมาตรการช่วยเหลือ เนื่องจากบริษัทน่าจะได้รับผลกระทบหากหลายสายการบินชะลอหรือยกเลิกคำสั่งซื้อเครื่องบิน ทั้งนี้ บริษัท Airbus ปิดสำนักงานและไลน์การผลิตในฝรั่งเศสและสเปนแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายปิดเมืองของรัฐบาล

    Alexandre De Juniac ซีอีโอของ IATA กล่าวว่าสมาคมมีความพึงพอใจมากต่อการตอบรับของรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก “เรากำลังกดดันอย่างหนัก และรัฐบาลต่างรับฟังเรา”

    Photo : Shutterstock

    ก่อนหน้านี้ IATA ซึ่งมีสมาชิกสายการบิน 290 แห่ง ประเมินไว้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2563 ว่าสายการบินทั่วโลกจะสูญเสียรายได้รวมกันมากกว่า 1.13 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปีนี้ แต่ข้อมูลดังกล่าวอาจจะต้องประเมินใหม่เพราะขณะนั้น IATA ยังไม่ได้ประเมินถึงความเสี่ยงของการปิดประเทศและแบนไฟลท์บินเข้าออกของหลายๆ ประเทศ

    IATA ยังประเมินด้วยว่า มีสายการบินเพียง 30 แห่งทั่วโลกที่สมาคมคาดว่ามีสุขภาพทางการเงินที่ดีพอจะรอดพ้นจากวิกฤตครั้งนี้ไปได้ แต่ถึงเช่นนั้น กระแสเงินสดที่มีก็ทำได้เพียงพยุงตัวให้รอดไปได้ไม่กี่เดือนหากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ และยังคงเสี่ยงต่อการล้มละลาย

    สมาคมมองว่าธุรกิจสายการบินต้องการมาตรการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่ออุ้มกิจการ การค้ำประกันเงินกู้ หรือการยกเว้นภาษีชั่วคราว และแม้แต่หลังจากวิกฤตได้ผ่านพ้นไปแล้ว De Juniac กล่าวว่าสายการบินจะยังคงอยู่ในสถานะอ่อนแอทางธุรกิจ และวอนขอให้รัฐบาลช่วยลดภาระให้ธุรกิจต่อไปก่อน

    ขณะนี้หลายๆ สายการบินถูกลดระดับเครดิตในการลงทุนไปแล้ว เช่น Lufthansa ของเยอรมนี ถูก Moody’s สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือลดระดับจากเกรดลงทุนไปอยู่ในกลุ่มเก็งกำไร ทำให้หุ้นกู้ของบริษัทที่มีกำหนดไถ่ถอนในปี 2567 ลดราคาลงไป 10 เซนต์เหลือ 78 เซนต์ต่อหุ้น Moody’s ยังลดระดับเครดิตของสายการบิน EasyJet แล้ว และกำลังพิจารณาเครดิตของสายการบิน British Airways รวมถึง IAG บริษัทแม่ของสายการบินด้วย

    Source

    ]]>
    1268812